ais5G – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 Mar 2021 10:41:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดมุมมอง ‘สมชัย เลิศสุทธิวงค์’ CEO ‘AIS’ เมื่อโจทย์ของ ‘ปลาใหญ่’ ในยุคโควิดไม่ใช่กิน ‘ปลาเล็ก’ แต่ต้อง ‘โต’ ไปด้วยกัน https://positioningmag.com/1323939 Thu, 18 Mar 2021 12:00:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323939

องค์กรธุรกิจในหลายประเทศกำลังฟื้นตัว โดยมีปัจจัยเรื่อง ‘วัคซีน’ มาเป็นตัวจุดประกายความหวังอีกครั้ง สำหรับในไทยเอง สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมจัดงานเสวนาในหัวข้อ ‘วัคซีนมา’ ธุรกิจไทยจะฟื้นไวหรือไต่ช้า ซึ่งคุณ ‘สมชัย เลิศสุทธิวงค์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ‘เอไอเอส’ ที่พึ่งคว้ารางวัล BEST CEO กลุ่มเทคโนโลยี ปี 2020 ก็ได้มาแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งแนะแนวทางเพื่อการอยู่รอดในโลกยุคนี้อย่างน่าสนใจ

โควิดก็กระทบเอไอเอส

คุณสมชัย เล่าว่า แม้คนภายนอกอาจมองว่าธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจพื้นฐานที่ ‘ต้องใช้’ ดังนั้น คงไม่โดนผลกระทบจาก โควิด-19 แต่ในความจริงแล้ว ‘เอไอเอส’ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ถึงแม้ว่าการใช้งานจะเพิ่มขึ้น 30-40% แต่รายได้กลับลดลง 5% เนื่องด้วยภาวะทางเศรษฐกิจที่กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถ จับจ่ายได้เหมือนเดิม

“โควิดกระทบทุกอุตสาหกรรมไม่ต่างกัน เพียงแต่จะมากหรือน้อย แต่ข้อดีของโควิดก็มี เพราะเร่งให้องค์กรทรานซ์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัลเร็วขึ้น ทำให้องค์กรดีขึ้นและแข็งแรงขึ้นในระยะยาว เพราะการใช้ดิจิทัลจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ดังนั้น อย่ามองแต่แง่ลบ แต่ใช้ให้เป็นโอกาส โดยใช้ดิจิทัลไลเซชั่น (digitization) เข้ามาช่วย”

สำหรับเอไอเอสเอง ได้เตรียมตัวเรื่องทรานซ์ฟอร์มก่อนหน้าที่จะเจอ โควิด-19 แต่เพราะการระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้เอไอเอสต้องปรับแผนต่างๆ ให้เร็วขึ้น ที่เห็นชัดเจนคือ เทคโนโลยี ‘5G’ ที่เคยมองว่า ไทยอาจต้องรออีก 2 ปี 5G ถึงจะเกิดการใช้งานจริง แต่เพราะโควิดทำให้ต้องเร่ง ในอนาคต ธุรกิจเอไอเอสจะไม่ใช่แค่โทรคมนาคม แต่เป็น ‘ดิจิทัลเซอร์วิส’ ดังนั้น ปีที่ผ่านมา บางบริษัทอาจจะชะลอการลงทุน แต่เอไอเอสมีการลงทุนเพิ่ม

“3G-4G เราอาจจะช้า แต่ 5G ไม่แพ้ใครในโลก เราถือเป็นประเทศต้นๆ ที่ทำ เป็นรองแค่ประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐ, จีน และญี่ปุ่น และแม้ไทยไม่ใช่ผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยี แต่ผู้บริโภคชาวไทยก็เรียนรู้และปรับใช้เทคโนโลยีได้เร็ว”

ทรานซ์ฟอร์มไม่ง่าย แม้แต่เอไอเอสก็ต้องใช้เวลา

หลายคนมองว่าองค์กรแข็งแรงแล้ว เลยยังไม่คิดที่จะทรานซ์ฟอร์มจริงจัง แต่ไม่ใช่สำหรับเอไอเอส เพราะได้เริ่มทรานซ์ฟอร์มมาแล้ว 6 ปี ตั้งแต่ตอนที่ยังแข็งแกร่งอย่างมากด้วยซ้ำ โดยเอไอเอสมีเป้าหมายในการก้าวข้ามบริษัทโทรคมนาคมสู่การเป็น ‘ดิจิทัล เซอร์วิส โพรไวเดอร์’

อย่างไรก็ตาม เอไอเอส ยังตั้งเป้าว่าจะทรานซ์ฟอร์มให้สำเร็จใน 5 ปี แต่ปัจจุบันทำได้เพียงครึ่งเดียว โดยที่สำเร็จแล้วคือ บริการ Fixed Broadband หรือ AIS Fibre ที่แม้จะยังเป็นอันดับ 3-4 ในตลาด แต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกส่วนที่ไปได้ดีคือ บริการ Enterprise Business แต่ส่วนที่ยังไม่สำเร็จคือ การทำ ‘ดิจิทัลแพลตฟอร์ม’ แต่ไม่ใช่แค่เอไอเอส แต่ในประเทศไทยยังไม่มีใครสำเร็จ เพราะผู้ให้บริการที่ยึดตลาดก็คือ Google, Facebook, และ YouTube

“อย่างผู้บริโภคไทยที่ดู YouTube 80% ดูคอนเทนต์ไทย แต่กลับต้องไปพึ่งแพลตฟอร์ม YouTube ดังนั้น ถ้าเราสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองได้แล้วคนไทยยอมเข้ามาดู ผู้ผลิตคอนเทนต์เราอาจจะได้ประโยชน์มากกว่าด้วย ดังนั้น โพซิชั่นเราไม่ได้แข่งขันกับคนในประเทศ แต่แข่งกับคู่แข่งรายใหญ่จากต่างชาติในสนามของเรา

เติบโตพร้อมพาร์ทเนอร์

เอไอเอส มี 3 แนวคิดสำหรับการทำธุรกิจในยุคใหม่ ได้แก่

1. ต้องหา Business Model แบบใหม่ โดยธุรกิจดั้งเดิมอาจจะคำนวณต้นทุน เพื่อจะหากำไรจากการขาย แต่ในยุคใหม่นี้ ต้องมองถึงโอกาสอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เหมือนธุรกิจ OTT

2. มองหา Skill Set ใหม่ๆ แม้คนของเอไอเอสเก่ง แต่อาจจะเก่งในด้านโทรคมนาคม ดังนั้น ต้องเพิ่มสกิลเซ็ตให้กับคนในองค์กร แต่ถ้าบางสกิลไม่สามารถเรียนรู้ได้ ก็ต้องหาบุคลากรที่มีความสามารถเข้ามา

3. สร้าง Ecosystem เอไอเอส อาจจะเก่งด้านโทรคมนาคม แต่ให้ทำเรื่องใหม่ เอไอเอสอาจไม่ถนัด ดังนั้น ต้องหา ‘Right partner’ ที่จะเติบโตไปด้วยกัน

“แม้ว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะมีโอกาสเติบโตอยู่มาก แต่แวร์ลู่ที่โทรคมนาคมเข้าไปในอุตสาหกรรมอื่นๆ มีมูลค่ามากกว่าโทรคมนาคมถึง ‘13 เท่า’ ดังนั้น เอไอเอสจึงมีแนวคิดที่จะ ‘ร่วมมือ’ โดยนำเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มไปช่วยในการทำงานแล้วแบ่งรายได้กัน โดยธุรกิจโทรคมนาคมเต็มที่ก็โตกว่า GDP 12% แต่ถ้าหาพาร์ทเนอร์และทำธุรกิจใหม่ ๆ ได้เราจะโตได้อีกเท่าตัว”

ปลาใหญ่ต้องพาปลาเล็กโตไปด้วย

วันนี้ เอไอเอส ไม่ได้แข่งกับผู้ประกอบการในไทย แต่กำลังแข่งขันกับผู้เล่นรายใหญ่จากต่างประเทศ ดังนั้น โอเปอเรเตอร์ก็ต้องพยายามปรับตัวเองเหมือนอย่างที่เอไอเอสทำ แต่การันตีได้ว่ายังไงก็ ‘สู้ไม่ได้’ เพราะสกิลเซ็ตต่างกัน ดังนั้นหากอยากจะชนะก็ต้องชนะในสนามบ้านเรา

ปัจจุบัน ทุกอุตสาหกรรมต้องการดิจิทัล แพลตฟอร์มมาก เอไอเอสก็พยายามเสนอตัวเข้าไปช่วยทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น ถ้าเอไอเอสทำได้ ทุกองค์กรก็จะมีเครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งเอไอเอสไม่ต้องการเป็นปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ปลาใหญ่ต้องช่วยปลาเล็ก เพราะถ้าในระยะยาวองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนได้จริงสุดท้ายก็จะตายหมด

“ถ้ารายเล็กตายหมด รายใหญ่อย่างเราจะตายตาม ดังนั้น องค์กรที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องเป็นพี่ใหญ่ช่วยน้องเล็กให้ได้ ต้องเป็นปลาใหญ่พาปลาเล็กว่ายผ่านคลื่นที่จะถาโถมเข้ามา ถ้าทำได้ทุกคนจะแข็งแรงทั้งหมด ถ้าเราไม่ช่วยรายเล็กการเติบโตจะไม่ยั่งยืน”

]]>
1323939
กางแผนฟื้นศก.ไทยฉบับ ‘เอไอเอส’ ที่ขอใช้ ‘5G’ เป็นแกนกลางสร้างโอกาส ‘ใหญ่’ ให้ประเทศ https://positioningmag.com/1285774 Wed, 01 Jul 2020 04:00:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285774

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของ COVID-19 ทำให้สภาพเศรษฐกิจทุกประเทศย่ำแย่ อย่างประเทศไทยเอง IMF ปรับลดประมาณการ GDP อยู่ที่ -7.7% ขณะที่ ‘โอเปอเรเตอร์’ เองแม้การใช้งานเติบโตขึ้นจริงถึง 20% แต่รายได้กลับ ‘ไม่โตตาม’ ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา รายได้ลดราว 2-3% เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว ห้างร้านที่ปิดตัว และกำลังซื้อที่หายไป ดังนั้น โจทย์ของประเทศไทยในตอนนี้คือ จะฟื้นเศรษฐกิจในยุค COVID-19 นี้อย่างไร

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ‘เอไอเอส’ ได้เผยถึงแนวคิดในการฟื้นเศรษฐกิจไทย โดยใช้ ‘5G’ เนื่องจาก 3 จุดแข็งของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยว, การส่งออกและการลงทุนของภาครัฐ อาจจะไม่สามารถทำได้ในปัจจุบันนี้ ขณะที่ สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้คนไทยปรับตัวใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลหรือการ Digitalization ได้อย่างรวดเร็วกว่าที่คาด

“ไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นดิจิทัล เพราะดิจิทัลเป็นอย่างเดียวที่ทำให้รายเล็กชนะรายใหญ่ได้ ขณะที่ไทยไม่ใช่ประเทศใหญ่ ดังนั้น 5G เป็นโอกาสมหาศาลของประเทศเล็ก ๆ ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติหากเรารู้จักใช้ดิจิทัล จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีอย่างกูเกิล เฟซบุ๊ก สามารถฆ่าบริษัทใหญ่ ๆ ได้ก็ด้วยเทคโนโลยีทั้งนั้น”

ด้วย 3 คุณสมบัติหลักของ 5G ทั้งความเร็วสูง การหน่วงเวลาต่ำ และการเชื่อมต่อที่ปรับปรุงดีขึ้น ทำให้ 5G สามารถใช้งานในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เช่น สมาร์ทซิตี้, อุตสาหกรรม 4.0, เครือข่าย IoT (Internet of Things) และรองรับการสตรีมวิดีโอความละเอียดสูง การนำเสนอคอนเทนต์แบบอินเทอร์แอคทีฟด้วย Augmented Reality และ Virtual Reality (AR/VR) ดังนั้น 5G ถือเป็นแกนกลางในการทำให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบ

ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ร่วมมือกับ 10 บิ๊กอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนประเทศ โดยเริ่มจากการปูพรมเครือข่าย 5G ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งภาคพื้นดิน ทะเล และอากาศ ในนิคมอุตสาหกรรม EEC โดยเป็นพันธมิตรกับ นิคมอมตะ, สหพัฒนา, ดับบลิวเอชเอ, กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอสที่ร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก, ท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ 5G ในการบริการจัดการด้านโลจิสติกส์และโรงงานอุตสาหกรรม, Smart Industry, Smart Terminal, Smart Seaport เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนของกลุ่มประเทศอาเซียน

ในส่วนของอุตสาหกรรมค้าปลีกที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากถึง 2 ใน 3 ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศ เอไอเอสก็ได้ร่วมกับเครือเซ็นทรัลนำ 5G ไปใช้ในธุรกิจ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ของการช้อปปิ้งแบบเรียลไทม์ รวมถึงด้านการท่องเที่ยว ก็ได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเตรียมนำ 5G ร่วมกับเทคโนโลยี VR ฟื้นฟูและกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ก่อนขยายสู่ตลาดต่างประเทศในระยะต่อไป เมื่อมาตรการต่างๆ พร้อมรองรับอย่างปลอดภัย

5G จะเข้ามาเติบเต็มเทคโนโลยี VR ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ใหม่ที่เรียกว่า Immersive Experience หรือให้ประสบการณ์เสมือนจริง นอกเหนือจากการประยุกต์ในแวดวงการศึกษา ท่องเที่ยว และความบันเทิง แต่เป็นส่วนสำคัญในการใช้ขยายความสามารถในการผลิตคอนเทนต์เพื่อแข่งขันกับตลาดโลก โดยเราได้เตรียมสร้างสตูดิโอไว้รองรับเหล่าครีเอเตอร์หน้าใหม่ให้มาใช้งานในอนาคต” นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป กล่าวเสริม

นอกจากนี้ เอไอเอสยังร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำ 5G สร้างโมเดลการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยนำอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี บนพื้นที่ 100 ไร เป็นต้นแบบร่วมศึกษาวิจัยการนำเทคโนโลยี 5G, IoT พัฒนาระบบขนส่ง ระบบรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ การบริหารจัดการพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

“ความสำเร็จของการฟื้นฟู ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกัน เราเองก็เป็นส่วนหนึ่ง และในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เราก็ต้องร่วมมือกับทุกส่วนเพื่อให้เกิดอีโคซิสเต็มส์ ประเทศไทยผ่านจุด Fall มาแล้ว กำลังอยู่ในช่วง Fight ซึ่งเชื่อมั่นว่าภายในไตรมาส 4 ไทยจะก้าวสู่ Future”

ทั้งนี้ ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยไปแล้วกว่า 1.1 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบัน เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด คือ LOW BAND (700-900 MHz) 50 MHz, MID BAND (1800-2600 MHz) 170 MHz และ HIGH BAND (26 GHz) 1200 MHz และในปีนี้ เอไอเอสได้ขยายการลงทุนจากปกติจะลงทุนประมาณปีละ 1 หมื่นล้านบาทเป็น 3.5 – 4 หมื่นล้านบาทในปีนี้ ทั้งการขยายคาปาซิตี้เดิมและ 5G ซึ่งปัจจุบันครอบคลุม 77 จังหวัดแล้ว

“3G ไทยอาจช้ากว่าประเทศ 10 ปี ส่วน 4G ช้ากว่า 5 ปี แต่ 5G เราไม่น้อยหน้าใคร และเอไอเอส 5G จะเป็น Infrastructure ใหม่ของไทย อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูประเทศ ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ความร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นการพลิมโฉมภาคอุตสาหกรรมที่น่าจับตามอง ทำให้เห็นศักยภาพของ 5G ที่จะสร้างการเติบโตของประเทศได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป”

]]>
1285774
จับตา AIS นำเทคโนโลยีติดอาวุธ สาธารณสุขไทย ส่งแอป “อสม. ออนไลน์” พลิกวิถีการทำงานใหม่ให้นักรบเสื้อเทา เฝ้าระวังโควิดระบาดซ้ำ https://positioningmag.com/1281896 Thu, 04 Jun 2020 12:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281896 “เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยในทุกอุตสาหกรรม ยิ่งในส่วนของสาธารณสุขยิ่งเห็นได้ชัด AIS มีการพัฒนาแอป ‘อสม.ออนไลน์’ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน วิเคราะห์ วางแผน ปกป้องคนป่วย และลดค่าใช้จ่าย เป็นหัวใจหลักในการช่วยวงการสาธารณสุข


CEO แห่ง AIS “สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ควงผู้ว่าราชการฉะเชิงเทรา “ระพี ผ่องบุพกิจ” ลงพื้นที่บางคล้า ให้กำลังใจเหล่าบรรดาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรืออสม. นักรบเสื้อเทายุคดิจิทัล ที่เป็นด่านแรกในการเผ้าระวังกลุ่มเสี่ยงเชื้อไวรัส COVID-19 พร้อมนำเทคโนโลยี และแอปพลิเคชัน “อสม.ออนไลน์” เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีขึ้น

นำร่องแอปฯ อสม. ออนไลน์ เสริมฟีเจอร์ COVID-19 เฝ้าระวังผู้เสี่ยง!

ถ้าหากเปรียบบุคลาทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่โรงพยาบาลเป็น “นักรบเสื้อกราวน์” ที่ต่อสู้กับเชื้อไวรัส COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก และในประเทศไทย คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่สุด เพราะเป็นกลุ่มด่านหน้าที่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และมีแนวโน้มติดเชื้อ

ทั้งนี้ยังมีกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือรู้จักกันอย่างดีในชื่อ “อสม.” เปรียบเป็น “นักรบเสื้อเทา” ที่เป็นด่านแรกในการคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระดับชุมชน และหมู่บ้าน คอยเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงติด COVID-19

เอไอเอสมีส่วนร่วมในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในวงการสาธารณสุข ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “อสม.ออนไลน์” มาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว มีจุดประสงค์หลักๆ คือปรับวิธีการทำงานจากการจดข้อมูลในกระดาษ มาอยู่บนระบบออนไลน์ 100% และยังเป็นแพลตฟอร์มที่แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสาธารณสุขได้ เพื่อให้อสม.เป็นกระบอกเสียงในการดูแลชาวบ้าน

สมชัยเล่าว่า “ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาเอไอเอสได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับ อสม. ทุกพื้นที่ เพื่อจะทำให้การทำงานอาสาสมัครมีความสะดวก สบาย รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์เสมอ จึงเกิดเป็นแอปพลิเคชัน อสม. ออนไลน์ ขึ้น ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากรูปแบบกระดาษมาเป็นออนไลน์ 100% ทั้งการสนทนา การส่งรายงานประจำเดือน ก็สามารถทำผ่านแอปฯ ได้ทันที รวมถึงในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ เราก็มีอัปเดตฟีเจอร์เพิ่มขึ้นมา อาทิ รายงานลูกน้ำยุงลาย และ คัดกรองและติดตาม COVID-19 นอกจากนี้เรายังได้อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของ อสม. ด้วยมอบซิมพิเศษ “ซิมฮีโร่” และประกันภัย COVID-19 เพื่อให้พี่ๆ อสม. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้น”

ช่วงที่มีการระบาดของไวรัส COVID-19 ทางเอไอเอสได้พัฒนาฟีเจอร์คัดกรองและติดตาม COVID-19 ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ อสม. เฝ้าระวัง และติดตามผู้ป่วยCOVID-19 ได้อย่างใกล้ชิด ทั้งยังมีโปรแกรมวิเคราะห์ว่ามีแนวโน้มเป็นกลุ่มเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน จะมีวิธีดูแลเพิ่มเติมอย่างไร ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะไม่ได้อยู่แค่กับอสม. แต่จะส่งไปที่ส่วนกลางระดับตำบล และจังหวัด ทำให้เห็นภาพรวม แล้ววิเคราะห์ วางแผนการป้องกันได้

ปัจจุบันในประเทศไทยในมีอสม.รวมทั้งหมด 1.05 ล้านคน และมีอสม.ใช้งานแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์จำนวน 3 แสน ซึ่งคาดการณ์ว่าฟีเจอร์ติดตาม COVID -19 จะทำให้มีการใช้งานมากขึ้น

บางคล้าโมเดล! สานต่อภารกิจ “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด-19”

เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมาเอไอเอสได้ลงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสม็ดใต้ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้กำลังใจและเยี่ยมชมการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ที่อยู่เบื้องหลังและมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสาธารณสุขไทย

เหตุผลที่เลือกกลุ่ม “อสม. เสม็ดใต้” นั่นเป็นเพราะว่า กลุ่มนี้นับได้ว่าเป็นอสม.อีกหนึ่งกลุ่ม ที่ทุ่มเททั้งแรงกาย และแรงใจ ออกปฏิบัติงานเชิงรุกเพื่อคนในชุมชนเสม็ดใต้ที่มีอยู่กว่า 1,000 ครัวเรือน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปลอดภัยจาก COVID-19

ที่นี่ได้มีการใช้งานแอปพลิเคชัน อสม. ออนไลน์ ทำให้กลุ่มอสม.และรพ.สต. เสม็ดใต้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างใกล้ชิด ไร้รอยต่อ และรวดเร็วทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในรอบวัน

อสม.ยุคดิจิทัล!

เมื่อทำการสำรวจความคิดเห็นของเหล่านักรบเสื้อเทาแห่งเสม็ดใต้แล้ว พบว่าแต่ละคนมีความประทับใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์อย่างมาก ส่วนใหญ่ชอบฟีเจอร์อัปเดตข่าว เพราะสามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ เพื่อที่จะนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงแจ้งข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่คนในชุมชน

โดยที่ได้พูดคุยกับ “ฉวีวรรณ พุ่มพวง” อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เสม็ดใต้ เป็นนักรบเสื้อเทามาแล้วกว่า 10 ปี ได้เล่าถึงความประทับใจในการใช้แอปพลิเคชันนี้ว่า

“หลังจากใช้งานแอปนี้ทำให้อสม.ได้รับความรู้ใหม่ๆ เพื่อแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดให้แก่คนในชุมชนได้ และเป็นช่องทางในการสอบถามเรื่องสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาการใช้เทคโนโลยี และแพลตฟอร์มดิจิทัลของชาวอสม. เมื่อต้องลงพื้นที่กับคนในชุมชน ก็ทำให้รู้ข้อมูลว่องไว คนในชุมชนก็ยอมรับการเป็นอสม. มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น”

ฉวีวรรณ เสริมอีกว่า ที่ผ่านมามีการใช้แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ในหลากหลายสถานการณ์ เช่น การแนะนำเรื่องไข้เลือดออก เพราะตอนนี้ไม่ได้เป็นประจำฤดูกาลแล้ว สามารถเป็นได้ตลอดทั้งปี ในแอปจะมีแนะนำข้อมูลต่างๆ ก็มาถ่ายทอดให้ชาวบ้านให้ทราบว่าต้องนอนกางมุ้ง บริเวณบ้านต้องเก็บให้สะอาดปลอดโปร่ง เพื่อไม่ให้ยุงมาวางไข่ รวมถึงแนะนำการใช้สารเคมีต่างๆ จะแนะนำให้ปลูกผักครัวเรือนเพื่อปลอดภัยจากสารเคมี และในช่วงนี้มีไวรัส COVID-19 ได้ใช้แอปนี้ไปสำรวจ ถ้ามีกลุ่มเสี่ยงในชุมชนก็จะแนะนำให้เฝ้าระวังอยู่ที่บ้าน ไม่ออกไปไหนมาไหนเป็นเวลา 14 วัน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องสุขภาพอื่นๆ ได้อีกด้วย

“กรณีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของ อสม. เสม็ดใต้ เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสภาพพื้นที่ประกอบกับจำนวนครัวเรือนในชุมชนที่มีมากกว่า 1,000 ครัวเรือน แต่ด้วยการวางแผนที่รัดกุม รวมไปถึงการทำงานเชิงรุกที่มุ่งเน้นตรวจสอบประชาชนที่เดินทางเข้าพื้นที่แบบ 100% โดยยึดหลักจะต้องผ่านการตรวจสุขภาพและแสดงใบรับรองแพทย์ พร้อมทั้งมีการติดตามบ้านเรือนที่ต้อนรับประชาชนต่างถิ่นอย่างใกล้ชิด ทำให้ที่ผ่านมามียอดติดเชื้อสะสมเพียง 21 ราย ถือเป็นผลงานของชาวฉะเชิงเทราทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจ สู้ภัย COVID-19 กันอย่างเต็มที่”

สนับสนุนห้องผู้ป่วยความดันลบ

ในโอกาสที่ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทา เอไอเอสยังได้สนับสนุนห้องผู้ป่วยความดันลบ (Negative Pressure Room) แก่โรงพยาบาลพุทธโสธร เป็นอุปกรณ์เสริมพิเศษ ที่ติดตั้งในห้องพักผู้ป่วยแยกโรคที่มีการติดเชื้อแบบ Airborne เช่น COVID-19, วัณโรค, ซาร์ส, อีโบล่า, ไข้หวัดใหญ่ และหัดเยอรมัน เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาล ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

เอไอเอสได้นำนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมด้วยขีดความสามารถของเครือข่าย 5G เข้าเสริมประสิทธิภาพงานด้านสาธารณสุขไทย เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ภายใต้โครงการ “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด-19” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม และมีส่วนช่วยให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ทั้งการติดตั้งเครือข่าย 5G ในโรงพยาบาลที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วย COVID-19 ทั่วประเทศ, ตั้งศูนย์ AIS Robotic Lab by AIS NEXT เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรมการแพทย์, การพัฒนาหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์อีกด้วย

ดิจิทัล เทคโนโลยี อนาคตแห่งวงการสาธารณสุข

จะเห็นได้ว่าเอไอเอสมีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริม และผลักดันนวัตกรรมทางการแพทย์ให้มีประสิทธภาพมายิ่งขึ้น โดยวิสัยทัศน์หลักของเอไอเอสต้องการที่จะนำเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกอุตสาหกรรม ต้องการทำเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในวงการสาธารณสุขไทยได้ด้วย

สมชัยให้ความเห็นว่า “มีความเชื่อว่าดิจิทัล เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยในทุกอุตสาหกรรม ในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ยิ่งในส่วนของสาธารณสุขจะเห็นได้ชัดเจนที่สุด เทคโนโลยีต้องเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายจะเป็นหัวใจหลักในการช่วยวงการสาธารณสุข”

สมชัยได้ยกตัวอย่างการใช้งานแอปอสม.ออนไลน์ เป็นกรณีศึกษาที่เห็นว่าได้ประสิทธิภาพจริงๆ แต่ก่อนทำงานด้วยกระดาษจะไม่ค่อยแม่นยำ อาจจะผิดพลาด ไม่มีการเก็บข้อมูลต่างๆ แต่เมื่อทุกอย่างอยู่ในแอปพลิเคชัน จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในองค์รวมได้ เมื่ออสม.ไปเก็บข้อมูลผู้ป่วยแล้ววิเคราห์จากแอป ทำให้ส่วนกลางวางแผนได้ทันเวลา สามารถปกป้องคนป่วย และคนที่มีความเสี่ยงได้ดีกว่าเดิม

สุดท้ายแล้วสมชัยมองว่า เป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ เพื่ออยากให้เป็นเครื่องมือของอสม.ทุกคนทั่วประเทศ ไม่ได้จำกัดแค่คนใช้เอไอเอสเท่านั้น ใช้ค่ายไหนก็สามารถใช้ได้หมด ต้องการพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยจริงๆ และเห็นว่าเป็นเรื่องของสาธารณะประโยชน์ของประเทศด้วย

]]>
1281896
เจาะเบื้องหลัง ‘หุ่นยนต์ 5G’ สู้ COVID-19 ของ AIS ที่จะเป็น New Normal ใหม่ของวงการแพทย์ https://positioningmag.com/1273882 Fri, 17 Apr 2020 07:31:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273882 หลังจากที่นายใหญ่เอไอเอส คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส ได้ประกาศว่า AIS ทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เพื่อทำ 3 ภารกิจ ‘AIS 5G สู้ภัย COVID-19’ เพื่อคนไทย ซึ่งประกอบไปด้วย 1.ติดตั้งเครือข่าย 5G ใน รพ.ที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วย COVID-19 2.ตั้งศูนย์เฉพาะกิจ AIS Robotic Lab เพื่อผลักดันนวัตกรรมการแพทย์ และ 3.พัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ 5G Telemedicine เวอร์ชั่นใหม่ โดยเราจะมาเจาะลึกถึงเบื้องหลังว่ากว่าจะได้หุ่นยนต์ 5G ที่เข้าไปช่วยลดความเสี่ยงให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า สำหรับ AIS การพัฒนาหุ่นยนต์ ‘ไม่ใช่เรื่องใหม่’ เพราะที่ผ่านมา AIS มีหุ่น Alex หรือ Lisa ที่ให้บริการลูกค้าในช็อป มีหุ่น Hugo ที่เคยโชว์ในงานวิชั่นเดย์ แต่การจะนำหุ่นยนต์ที่ไปใช้ช่วยเพื่อลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์นั้น จำเป็นต้องลงตลาดไปเก็บข้อมูล เพราะไม่รู้จริง ๆ ว่าต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง

ดังนั้น AIS จึงรวบรวมทีมงานที่อยู่ในส่วนของ AIS Next ที่เป็นส่วนที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ตั้งทีมใหม่ขึ้นมาเป็นทีม AIS Robotic Lab เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ ROC หรือ Robot for Care โดยทีมต้องไปพูดคุยกับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อศึกษาความต้องการและปัญหาที่เคยมี เพื่อที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ให้ตรงตามความต้องการที่สุด

“ในการทดสอบหุ่นด้านเฮลท์แคร์ เราเคยทำหุ่นยนต์เจาะกระดูก หุ่นยนต์กายภาพบำบัด แต่ในกรณี COVID-19 เราก็ต้องคุยกับหมอเพื่อศึกษาความต้องการและเพนพอยต์ต่าง ๆ เพราะเดิมเราตั้งใจพัฒนาหุ่นมาใช้ในช็อป ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการส่งมอบ เพราะหุ่นยนต์แต่ละตัวต้องปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละโรงพยาบาล”

อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส กล่าวเสริมว่า สำหรับหุ่นยนต์ ROC มีเทคโนโลยีที่หลากหลาย อาทิ เทคโนโลยีอินฟราเรดไว้ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย, เทคโนโลยี 3D Mapping ใช้กำหนดเส้นทางเดินของหุ่นยนต์, Telemedicine ระบบปรึกษาทางไกลระหว่างแพทย์และผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอล และเทคโนโลยี Cloud computing ในการประมวลผลจัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

นอกจากนี้ ยังได้เสริมฟีเจอร์ต่าง ๆ ได้ตามแต่ละโรงพยาบาลต้องการ อาทิ ตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือด, ส่งยาให้ผู้ป่วยถึงเตียง, บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือเคลื่อนที่ เป็นต้น โดย ทีม AIS Robotic Lab มองว่ายังสามารถที่จะปรับปรุงความสามารถให้ดียิ่งขึ้นไปอีกได้ เช่น เพิ่มการสั่งงานด้วยเสียงเพื่อลดการสัมผัส, การสร้างหุ่นยนต์ที่ใช้ทำความสะอาดหุ่นยนต์และห้องต่าง ๆ รวมถึงการนำ Machine Learning มาใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติ เพื่อลดความผิดพลาดของการตั้งค่าด้วยมนุษย์ เป็นต้น

“อนาคต AIS กำลังมองถึงการทำเรื่องอัตลักษณ์ทางดิจิทัล เพราะนี่ยังเป็นส่วนที่มีปัญหาอาทิ การบันทึกข้อมูลซ้ำ, บางคนไม่มี หรือไม่รู้ว่าของจริงหรือของปลอม ดังนั้นนี่เป็นเรื่องสำคัญและต้องเร่งพัฒนา และต้องเปิดให้หลาย ๆ ภาคส่วนเข้ามาช่วยกัน”

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน AIS เตรียมส่งมอบส่งมอบหุ่นยนต์ 5G ไปแล้ว 7 แห่ง และคาดว่าจะส่งมอบหุ่นยนต์ในเฟสแรกทั้ง 23 ตัว ให้แก่ 22 โรงพยาบาลได้ภายในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ส่วนการติดตั้งเครือข่าย 5G AIS ได้ติดตั้งแล้วใน 20 รพ. และกำลังขยาย Coverage 5G ให้ครอบคลุมพื้นที่ รพ. ใน กทม.และปริมณฑลอีก 130 รพ. และในต่างจังหวัดอีก 8 รพ. รวมทั้งสิ้น 158 รพ. ภายในเดือนเมษายน 2563

“COVID-19 เหมือนมาถูกเวลา เพราะเรามี 5G ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน และนี่จะเป็น NEW Normal มากขึ้น เพราะตอนนี้คนเริ่มมีความต้องการที่จะตรวจที่บ้าน โดยใช้ Telemedicine แทน ซึ่งอนาคตเทคโนโลยีถูกลง เราอาจจะไม่ต้องไปโรงพยาบาล แต่พบแพทย์ผ่าน Telemedicine จ่ายยาผ่านหุ่นยนต์ และใช้ Wearable ในการวัดค่าต่าง ๆ แทน” 

]]>
1273882