Bank – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 26 May 2023 12:25:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘True Money’ พร้อมเป็น ‘เวอร์ชวล แบงก์’ วางเป้าใหญ่ปี 2025 คนไทย ‘ครึ่งประเทศ’ ใช้แพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1431798 Thu, 25 May 2023 13:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431798 หลังจากที่ ดอลฟิน วอลเล็ท (Dolfin Wallet) โบกมือลาตลาดไทยตามรอย เจดี เซ็นทรัล (JD CENTRAL) ตลาดอีวอลเล็ทก็เหลือผู้เล่นหลัก ๆ เพียง 3-4 รายเท่านั้น และเบอร์ 1 ของตลาดในนาทีนี้คือ ทรูมันนี่ (True Money) ที่ให้บริการมาแล้ว 8 ปี และก้าวต่อไปจากนี้ของทรูมันนี่ คือการเทียบชั้นกับ ธนาคาร และกำลังมองถึงความเป็นไปได้ของ เวอร์ชวล แบงก์ (Virtual Bank)

ดันแพลตฟอร์มเป็นมากกว่าอีวอลเล็ท

อยู่ในตลาดมานานถึง 8 ปี สำหรับ ทรูมันนี่ (True Money) จนปัจจุบันมีผู้ใช้ในไทยถึง 27 ล้านราย โดยมีแอคทีฟยูสเซอร์ราว 17-18 ล้านคน/เดือน มีจุดรับชำระของแพลตฟอร์มมีกว่า 7 ล้านจุดมากสุดในประเทศไทย และสามารถใช้จ่ายบนร้านค้าออนไลน์กว่า 1.3 ล้านร้านค้าทั่วโลก นอกจากนี้ ยังสามารถใช้จ่ายในต่างประเทศได้กว่า 40 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, เกาหลี และจีน ที่จะสามารถชำระได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

ปัจจุบัน สามารถแบ่งบริการของทรูมันนี่ได้ 3 กลุ่ม ซึ่งครอบคลุมแทบไม่ต่างจากธนาคาร ได้แก่

  • บริการในกลุ่มใช้จ่าย: ทั้งการจ่ายออนไลน์ ออฟไลน์ โอนเงิน ใช้จ่ายต่างประเทศ และวงเงินใช้ก่อนจ่ายทีหลัง
  • บริการในกลุ่มการเงิน: บริการด้านการออม ลงทุน ประกัน และสิทธิประโยชน์หลากหลาย
  • บริการสนับสนุนธุรกิจ: บริการสนับสนุน SME และผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ระบบสมาชิก และฟีเจอร์โปรโมตร้านค้า เป็นต้น

แม้จะมีบริการทางการเงินที่หลากหลาย มีธุรกรรมต่อวันหลายสิบล้านผ่านแอปพลิเคชัน แต่การใช้บริการหลักจะเป็น ดิจิทัลเพย์เมนต์ เช่น การซื้อแอปพลิเคชัน, ชำระค่าบริการคอนเทนต์ต่าง ๆ , เติมเงินเกม รวมถึงการซื้อสินค้าบนอีมาร์เก็ต ส่วนผู้ที่เปิด บัญชีเงินฝากและลงทุนมีเพียง 2.5 ล้านบัญชี เท่านั้น ส่วนบริการ ใช้ก่อนโอนที่หลัง มีลูกค้า 1.2-.1.3 ล้านราย

ดังนั้น ภารกิจของทรูมันนี่คือ ดันบริการอื่น ๆ ให้ผู้ใช้เก่าได้ใช้ ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มฐานผู้ใช้ใหม่ ซึ่งปัจจุบัน ลูกค้ากลุ่มใหญ่ของทรูมันนี่จะเป็นกลุ่ม Gen Y มีสัดส่วนมากถึง 40% เฉลี่ยมีการเติมเงินเข้าระบบราว 3-4 พันบาท มีการใช้งานเฉลี่ย 20 ครั้ง/เดือน

ทุ่มงบดึงลิซ่าหวังเพิ่มผู้ใช้เป็น 35 ล้านราย

มนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา การเติบโตของทรูมันนี่เป็นแบบออร์แกนิกซึ่งเกิดจากการแนะนำบอกต่อแบบปากต่อปาก เนื่องจาก ทรูมันนี่ยึดหลักว่า ต้องทำให้การเข้าถึงทำได้ง่าย มีข้อจำกัดให้น้อยที่สุด และต้องเกิดคุณค่าในทุก ๆ การใช้งาน รวมถึงแพลตฟอร์มต้องมีความปลอดภัย นอกจากนี้ การมาของโควิดก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้คนใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายปีนี้ของทรูวอลเล็ทคือ เพิ่มผู้ใช้เป็น 35 ล้านรายภายในสิ้นปี และมีแอคทีฟยูซเซอร์ 20% โดยมนสินี ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่สูงแต่มั่นใจว่าเป็นไปได้ เพราะในปีนี้แบรนด์ได้ดึง ลิซ่า แบล็กพิงก์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น

“เราต้องการสื่อว่าแบรนด์เราก็ใหญ่ เป็นระดับ Top เหมือนกับลิซ่า และเชื่อว่าภาพของลิซ่านั้นเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม โดยการดึงลิซ่ามาเราลงทุนหนักมาก และเราจะเข้าถึงทุกช่องทางทั้งออนไลน์ ออฟไลน์”

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ทรูมันนี่ต้องการเข้าถึงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • เด็ก วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 13 ปี: ที่จะเป็นรากฐานใหม่ของแพลตฟอร์ม
  • เฟิร์สจ็อบเบอร์: เพื่อขยายการเข้าถึงการลงทุน
  • sme รายย่อย: เพื่อขยายบริการกลุ่มสินเชื่อ

นอกจากนี้ ทรูมันนี่มองว่ากลุ่ม ต่างจังหวัด เป็นอีกส่วนที่ยังเติบโตได้ แต่ที่ปัจจุบันผู้ใช้งานหลักของทรูมันนี่เป็นคนกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ เพราะมีจุดชำระที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังพร้อมที่จะใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ

“เรามองว่ามันเป็นจังหวะเวลาที่ใช่สำหรับการใช้พรีเซ็นเตอร์ระดับโลกครั้งแรก เพราะที่ผ่านมา 90% ลูกค้าใช้เราโดยไม่เกี่ยวกับแคมเปญการตลาด ซึ่งตอนนี้เราไม่ใช่แค่ต้องการดึงลูกค้าใหม่ แต่โจทย์ต้องทำให้ลูกค้าเก่ารู้ว่าเรามีบริการที่หลากหลาย และลอยัลตี้จะยิ่งแข็งแกร่งกว่านี้ ถ้ารู้ว่าเรามีเฟีเจอร์เยอะ ไม่ใช่แค่จ่ายเงิน แต่เป็นไฟแนนเชียลแพลตฟอร์ม”

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด, นางสาวณัฐวดี แซ่เอี้ย ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรมทางธุรกิจ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด และนางอนัณทินี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด

ก้าวข้ามวอลเล็ทสู่การเป็น เวอร์ชวล แบงก์

แม้ว่าจำนวนผู้เล่นในตลาดอี-วอลเล็ทจะลดลง แต่ไม่ได้ทำให้นัยการแข่งขันแตกต่างไป เพราะแพลตฟอร์มก้าวข้ามการเป็นอีวอลเล็ทไปแล้ว และปัจจุบันก็มีจำนวนการใช้งานไม่ต่างจาก ธนาคาร ซึ่งแพลตฟอร์มพยายามจะหา ช่องว่างที่ธนาคารไม่มี มาพัฒนาเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อมาตอบสนองลูกค้า

“ในตลาดอี-วอลเล็ทเราคิดว่าเราเป็นอันดับ 1 มีมาร์เก็ตเเชร์เกิน 90% และตอนนี้เราไม่ได้เทียบตัวเรากับตลาดวอลเล็ท แต่เราเทียบกับธนาคาร จะบอกว่าเป็นซูเปอร์แอปฯ ก็ได้ แต่เป็นซูเปอร์แอปฯ ทางด้านไฟแนนซ์”

เป้าหมายภายในของทรูมันนี่ ก็คือการทำ IPO รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะผันตัวเป็น เวอร์ชวล แบงก์ (Virtual Bank) ซึ่งทรูมันนี่มองว่าแพลตฟอร์มีหลายคุณสมบัติที่จะทำเวอร์ชวล แบงก์ได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการต่าง ๆ ที่คล้ายกับธนาคาร รวมถึงฐานลูกค้าที่แข็งแรง ดังนั้น ทรูมันนี่จึงต้องเร่งสร้างการเติบโตที่แข็งแรงมากพอที่จะทำ IPO และการเป็นเวอร์ชวล แบงก์ในอนาคต

เป้าใหญ่ดึงคนไทยครึ่งประเทศเป็นแอคทีฟยูสเซอร์

ปัจจุบัน รายได้จากกลุ่มเพย์เมนต์ถือเป็นสัดส่วนหลัก ส่วนกลุ่มอื่น ๆ อาทิ การกู้ยืม, การลงทุน อยู่ในจุดที่สามารถทำกำไรให้กับบริษัทได้แล้ว นอกจากนี้ อัตราหนี้เสียก็ยังน้อยมาก โดยมองว่า ภายใน 2 ปี กำไรจากบริการทางการเงินจะมีสัดส่วนถึง 50% จากปัจจุบันคิดเป็น 10% นอกจากนี้ 50% ของประชากรไทยต้องเป็นแอคทีฟยูสเซอร์ที่ใช้งานทรูมันนี่วอลเล็ททุกเดือน และ 20% ต้องใช้บริการทางการเงินของแพลตฟอร์ม

“แน่นอนว่าเราอยากเป็นเวอร์ชวล แบงก์ แต่ตอนนี้กฎยังไม่ชัดเจน ถ้าเกณฑ์กำหนดมันไม่ยากเกินไป เราก็มีโอกาส ซึ่งถ้าเราได้ทำเวอร์ชวล แบงก์ ในแง่ประโยชน์ของลูกค้าปลายทางก็จะได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ และเราก็สามารถขยายความเสี่ยงในการปล่อยกู้ไปยังกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น เซกเมนต์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น”

]]>
1431798
ใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ “6 บิ๊กธนาคาร” ในไทย? https://positioningmag.com/1297995 Mon, 21 Sep 2020 06:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297995 ธนาคารมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเเละเป็นธุรกิจที่อยู่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก เมื่อทุกคนต้องใช้เงินทั้งฝากถอนโอนกู้ลงทุนเเละอีกมากมาย

ผลกระทบของ COVID-19 ตั้งเเต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์อยู่ในทิศทางขาลงโดยภาพรวมยังมีแรงกดดัน จากความกังวลต่อหนี้ NPL ที่อาจสูงขึ้นอีกในอนาคต บวกกับความระอุของการเมืองที่ปลุกกระเเสการเเบน การถอนเงินเเละปิดบัญชีในบางเเบงก์ขึ้นมา ยิ่งทำให้ถูกแนะนำว่าเป็นกลุ่มหุ้นที่ควรเลี่ยงการลงทุน

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธนาคารพาณิชย์อยู่ทั้งหมด 30 แห่ง เเต่บิ๊กเเบงก์ที่มีมูลค่ากิจการเเตะ 1 เเสนล้านบาทนั้นมีอยู่ 6 เเห่งด้วยกัน เรามาดูกันว่า ธนาคารใหญ่ๆ ในประเทศไทย…มีใครเป็นเจ้าของกันบ้าง

ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB

เริ่มจากธนาคารที่เก่าเเก่ที่สุดในไทย ที่มีอายุกว่า 115 ปีอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด “มากที่สุด” ในวงการธนาคารไทยที่ 228,353.45 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 9.29% โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้

  1. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนหุ้น 793,832,359 คิดเป็น 23.38%
  2. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  3. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 346,262,309 คิดเป็น 10.20%
  5. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 109,198,100 คิดเป็น 3.22%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา BAY

ตามมาด้วย เเบงก์สีเหลืองอย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 144,908.51 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 4.31% โดยในส่วนของ BAY ที่มีเจ้าของคือ MUFG Bank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ถือหุ้นกว่า 76.88% ถือว่าเป็นทุนต่างชาติที่ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนที่มากกว่าธนาคารอื่นมาก ซึ่งทำให้ BAY มีสัดส่วนผู้ถือหุ้น “รายย่อย” น้อยกว่าธนาคารใหญ่อื่นๆ มากด้วย

  1. MUFG BANK, LTD. จำนวนหุ้น 5,655,332,146 คิดเป็น 76.88%
  2. บริษัท สตรองโฮลด์ แอสเซ็ทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,536,980 คิดเป็น 2.26%
  3. บริษัท ทุนมหาโชค จำกัด จำนวนหุ้น 166,478,940 คิดเป็น 2.26%
  4. บริษัท จี แอล แอสเซทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,414,640 คิดเป็น 2.26%
  5. บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด จำนวนหุ้น 166,151,114 คิดเป็น 2.26%

อีกหนึ่งเเบงก์ใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,793.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 6.93% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ค่อนข้างกระจายตัว ทั้งบริษัทไทย บริษัทต่างชาติ กองทุนและบริษัทนอมินี โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 448,535,678 คิดเป็น 23.50%
  2. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 98,649,920 คิดเป็น 5.17%
  3. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,852,300 คิดเป็น 4.50%
  4. UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED – Client Account จำนวนหุ้น 39,837,220 คิดเป็น 2.09%
  5. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 36,715,127 คิดเป็น 1.92%
Photo : Shutterstock
ฝั่งธนาคารทหารไทย มีมูลค่ากิจการตามราคาตลาด 87,732.57 ล้านบาท (ปรับลดจากระดับเเสนล้านบาทในช่วงต้นปีนี้) เงินปันผลล่าสุดเท่ากับ 3.54% ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย ธนาคาร ING จากเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ดีลใหญ่วงการธนาคารที่ TMB เข้าควบรวมกับธนาคารธนชาต ทำให้บริษัททุนธนชาตหรือ TCAP เข้ามาถือหุ้นด้วยในสัดส่วน 20.12% โดยตอนนี้ TMB ยังมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. ING BANK N.V. จำนวนหุ้น 22,190,033,791 คิดเป็น 23.03%
  2. บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 19,389,891,967 คิดเป็น 20.12%
  3. กระทรวงการคลัง จำนวนหุ้น 11,364,282,005 คิดเป็น 11.79%
  4. THE BANK OF NOVA SCOTIA จำนวนหุ้น 5,023,611,111 คิดเป็น 5.21%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,658 คิดเป็น 5.11%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,657 คิดเป็น 5.11%

ธนาคารกรุงไทย KTB

กรุงไทย มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 132,772.58 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 7.93% โดยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีลูกค้าเป็นข้าราชการจำนวนมาก มีโครงการรัฐต่างๆ ผ่านธนาคารนี้ อย่างเช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นต้น

  1. กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวนหุ้น 7,696,248,833 คิดเป็น 55.07%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 834,921,543 คิดเป็น 5.97%
  3. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 362,902,099 คิดเป็น 2.60%
  4. สหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวนหุ้น 326,090,300 คิดเป็น 2.33%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,658 คิดเป็น 2.19%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,657 คิดเป็น 2.19% 
Photo : Shutterstock

ธนาคารกสิกรไทย KBANK

เเบงก์ใหญ่สีเขียวที่มีอายุกว่า 75 ปีอย่าง KBANK มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,059.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 6.24% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่กระจายตัวทั้งบริษัทไทย กองทุน บริษัทต่างชาติเเละบริษัทนอมินี

  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 443,939,592 คิดเป็น 18.55%
  2. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 203,656,972 คิดเป็น 8.51%
  3. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 142,055,420 คิดเป็น 5.94%
  4. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,905,100 คิดเป็น 3.59%
  5. BNY MELLON NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 78,949,299 คิดเป็น 3.30%
  6. THE BANK OF NEW YORK MELLON จำนวนหุ้น 55,954,035 คิดเป็น 2.34%
Photo : Shutterstock
ข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ค่าสถิติสำคัญ ณ วันที่ 18 ก.ย. 2563)
]]>
1297995