brushing scam – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 15 Feb 2021 01:21:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก Brushing Scam ส่งพัสดุแบบสุ่มให้คนไม่ได้สั่ง หวังปั้นรีวิวปลอมให้สินค้า https://positioningmag.com/1316400 Sun, 14 Feb 2021 15:26:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316400 คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) เปิดโปงภัยอีกรูปแบบในวงการอีคอมเมิร์ซ พบมีขบวนการส่งพัสดุสินค้าแบบสุ่มที่ไม่มีใครสั่งซื้อไปให้ถึงหน้าประตูบ้าน หวังเพิ่มความนิยมให้สินค้ารวมถึงการปั้นรีวิวปลอม เบื้องต้นประเมินความเสียหายของผู้รับพัสดุยังต่ำ แต่เหยื่อตัวจริงคือนักช้อปตัวจริงที่อาจหลงเชื่อข้อมูลปลอมบนหน้าสั่งซื้อสินค้า

Federal Trade Commission ออกประกาศเตือนประชาชนชาวอเมริกันว่า พัสดุที่ไม่มีใครสั่งซื้อเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงที่ชื่อ Brushing Scam ภัยนี้จะมี Brusher หรือขบวนการที่หวังเพิ่มความนิยมให้กับรายการสินค้า ทั้งในตลาดอีมาร์เก็ตเพลสทั่วไป หรือบนขายสินค้าอื่น

ภัย Brushing Scam เริ่มต้นที่การจ่ายเงินให้มีการโพสต์รีวิว หรือบทวิจารณ์ปลอมที่ปั้นแต่งขึ้นมาเอง แต่ด้วยข้อกำหนดที่ว่าการเขียนรีวิวจะต้องอิงกับบันทึกว่ามีการทำธุรกรรม และมีหมายเลขติดตามพัสดุจริง

ดังนั้นเหล่า “Brusher” จึงใช้วิธีลักลอบเข้าไปลงทะเบียนบัญชีปลอมด้วยการกรอกข้อมูลชื่อ และที่อยู่ของใครก็ได้ แล้วจึงส่งพัสดุไปให้บุคคลนั้นโดยที่ไม่ได้มีการสั่งซื้อจริง

Photo : Pixabay

ฝั่งผู้รับนั้นจะไม่ได้รับสินค้าจริงตามที่ประกาศขาย เพราะ Brusher จะส่งสินค้าขนาดเล็ก และราคาถูกไปให้แทน สินค้าที่ถูกรายงานเบื้องต้นมีทั้งเมล็ดพืช ที่ชาร์จพกพาสำหรับใช้ในรถ ปัตตาเลี่ยนตัดผม และแว่นตากันแดด

การประเมินพบว่าผู้ที่ได้รับพัสดุเหล่านี้มีความเสี่ยงได้รับความเสียหายในระดับต่ำ แต่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อที่แท้จริงมักจะเป็นนักช้อปที่ซื้อสินค้าโดยหลงเชื่อความคิดเห็นหรือรีวิวสินค้าปลอม

อย่างไรก็ตาม คริส แมคเคบ (Chris McCabe) ที่ปรึกษาด้านอีคอมเมิร์ซตั้งข้อสังเกตว่ายังมีโอกาสที่นักต้มตุ๋นอาจแชร์ข้อมูลของนักช้อปออนไลน์ จนมีการเข้าถึงบัญชีโดยที่เจ้าของตัวจริงไม่รู้ตัว ดังนั้น FTC จึงแนะนำให้นักช้อปทุกคนจับตาดูบัญชีการซื้อของออนไลน์อย่างละเอียด และหากพบธุรกรรมที่ไม่ได้ทำเอง ควรรายงานไปที่เว็บไซต์อีมาร์เก็ตเพลสทันที พร้อมกับเปลี่ยนรหัสผ่านที่คาดเดายาก

สำหรับกรณีที่ร้านค้าตัดสินใจส่งสินค้าไปโดยที่ไม่มีการสั่งซื้อ แม้จะไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่การเขียนรีวิวปลอมนั้นมีความผิดที่อาจเข้าข่ายการล่อลวง แน่นอนว่าทั้ง Amazon และ eBay ผู้ค้ารายใหญ่ในวงการอีคอมเมิร์ซจะพยายามใช้มาตรการป้องกันไม่ให้เกิดกลโกง Brushing แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจสอบกิจกรรมประเภทนี้ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่สามารถตัดสินได้ชัดว่ารีวิวใดถูกต้องหรือถูกปั้นแต่งขึ้น รวมถึงการหลอกลวงอื่นที่ผู้บริโภคไม่ได้รายงานให้สาธารณชนได้รับรู้

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

ในส่วนของ Amazon โฆษกระบุว่ามีมาตรการห้ามไม่ให้ผู้ขายส่งผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้สั่งซื้อไปยังลูกค้า ซึ่งหากเว็บไซต์พบว่ามีผู้ขายรายใดทำเช่นนี้ ก็อาจทำให้บัญชีของผู้ขายถูกลบ เบื้องต้นมีการดำเนินการกับผู้ที่ละเมิดนโยบาย เช่น การหักเงิน ณ ที่จ่าย การระงับหรือลบการขาย รวมถึงการตัดสิทธิพิเศษ หรือการประสานงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่น

ด้าน eBay ก็มีนโยบายลักษณะเดียวกัน โดยย้ำว่าภัยหลอกลวง Brushing นั้นไม่ได้แพร่หลายมากที่ eBay

ที่สุดแล้ว ผู้รับควรรายงานทุกครั้งหากมีกรณีที่ได้รับพัสดุที่ไม่ได้สั่งซื้อ เพื่อเป็นการตัดกลไกไม่ให้นักต้มตุ๋นสร้างรีวิวปลอมต่อไป ซึ่งจะเป็นการปิดทางไม่ให้ผู้ขายที่ไร้ความซื่อสัตย์ มีโอกาสเข้าถึงนักช้อปตัวจริง

Source

]]>
1316400