Climate change – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 02 Jun 2024 12:19:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 น้ำส้มราคาทำสถิติสูงสุดใหม่ ผลจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผู้ผลิตต้องดิ้นรนหาผลไม้อื่นผสมทดแทน https://positioningmag.com/1476146 Fri, 31 May 2024 08:24:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476146 ใครที่ชื่นชอบอาหารเช้า หนึ่งในเครื่องดื่มสำคัญนั่นก็คือ ‘น้ำส้ม’ อาจมีราคาที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในประเทศบราซิล ซึ่งถือเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ส่งผลทำให้ผลผลิตส้มลดลงอย่างมาก

ราคาน้ำส้มได้ทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง จากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้มีผลผลิตที่น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตส้มรายใหญ่นั้นประสบปัญหาสภาวะร้อนจัด ส่งผลทำให้ราคาของผลส้มมีราคาที่สูงมากขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี

ศูนย์วิจัย Fundecitrus ในประเทศบราซิลได้ออกรายงานว่า คลื่นความร้อนในประเทศในช่วงปี 2023 ได้ส่งผลต่อการเก็บเกี่ยวส้มในฤดูกาลล่าสุด และคาดว่าผลผลิตในประเทศบราซิลจะมีปริมาณที่ต่ำสุดในรอบ 30 ปี

ปัจจุบันบราซิลถือว่าเป็นผู้ส่งออกน้ำส้มรายใหญ่ โดยกำลังการผลิต 70% ของประเทศนั้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก

นอกจากนี้พายุเฮอริเคนที่พัดพาเข้าสู่มลรัฐฟลอริดาซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกส้มที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคกรีนนิ่งในส้ม ยังทำให้ผลผลิตส้มลดลง

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในบราซิลและสหรัฐอเมริกา ทำให้ราคาน้ำส้มเข้มข้นแช่แข็งซื้อขายล่วงหน้าในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กนั้นมีราคาขึ้นมาแล้วมากถึง 200% ล่าสุดอยู่ที่ 4.77 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์ เป็นราคาทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี

ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ผลิตน้ำส้มหลายแห่งต้องเริ่มนำน้ำผลไม้อื่นเข้ามาผสม เพื่อที่จะลดการพึ่งพาน้ำส้มแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นการผสม น้ำส้มแมนดาริน น้ำองุ่น น้ำลูกแพร์ หรือแม้แต่น้ำแอปเปิล เข้าไปในขั้นตอนการผลิต

ไม่ใช่แค่ราคาน้ำส้มเท่านั้น แต่ในช่วงที่ผ่านมา ราคากาแฟ ซึ่งมีแหล่งการผลิตในบราซิลเช่นกันนั้น ก็ประสบปัญหาผลผลิตลดลงจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จนสร้างความปวดหัวให้ทั้งผู้ผลิต หรือแม้แต่ผู้บริโภคที่ต้องแบกรับราคาจากเรื่องดังกล่าว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นย่อมทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้นเพิ่มมากขึ้นไม่มากก็น้อย

ที่มา – The Guardian, CNBC

]]>
1476146
UN เผย ‘เอเชีย’ ขึ้นแท่นทวีปที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา ‘สภาพอากาศสุดขั้ว’ มากที่สุดในปี 2023 https://positioningmag.com/1471267 Fri, 26 Apr 2024 08:45:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471267 เชื่อว่าคนไทยทุกคนต่างก็สัมผัสได้กับ ความร้อน ที่สูงขึ้นทุกปี ๆ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียต่างก็เจอกับปัญหา สภาพอากาศสุดขั้ว ที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ซึ่ง UN ได้เปิดเผยว่า เอเชีย ถือเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในปีที่ผ่านมา

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก World Meteorological Organization : WMO) ซึ่งเป็นหน่วยงานสภาพอากาศของสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา เอเชียเป็นภูมิภาคที่ประสบภัยพิบัติมากที่สุดในโลก เนื่องจากสภาพอากาศที่รุนแรงและภัยคุกคามด้านสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน

“ในปีที่ผ่านมา หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียเผชิญกับปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ควบคู่ไปกับสภาวะที่รุนแรง ตั้งแต่ภัยแล้ง คลื่นความร้อน ไปจนถึงน้ำท่วมและพายุ” เซเลสต์ เซาโล เลขาธิการ WMO กล่าว

ประชาชนมากกว่า 9 ล้านคน บนทวีปได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและพายุ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 ราย ขณะเดียวกันแนวโน้มคลื่นความร้อนที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคยังคงดำเนินต่อไป โดยรายงานเตือนว่า ตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ เช่น อุณหภูมิพื้นผิว การละลายของธารน้ำแข็ง และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ส่งสัญญาณถึงสภาวะที่เลวร้ายลงและความจำเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่เพิ่มมากขึ้นในเอเชีย

ในปี 2023 อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วเอเชียสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ เนื่องจากแนวโน้มภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่านับตั้งแต่ช่วงปี 1960-1990 ซึ่งทำให้เอเชียร้อนขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยมีผู้เสียชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยรายงานพบว่า อุณหภูมิในพื้นที่ตั้งแต่ไซบีเรียตะวันตกไปจนถึงเอเชียกลาง และจากจีนตะวันออกไปจนถึงญี่ปุ่นนั้นสูงขึ้นเป็นพิเศษ ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่นและคาซัคสถานเผชิญกับความร้อนที่ร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์

แม้ว่า WMO พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในเอเชียได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนฝนอย่างมาก แต่ก็มีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากมายที่ทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วม ตามรายงานล่าสุดพบว่า น้ำท่วมรุนแรงในจีนและความแห้งแล้งในอินเดียทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกมูลค่า 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว

น้ำท่วมหนักทางตอนเหนือของจีนในเดือนกรกฎาคม ซึ่งประสบพายุที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายปี ในขณะที่เมืองหลวงของปักกิ่งมีฝนตกหนักที่สุดในรอบ 140 ปี ส่วนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนประสบปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าปกติเกือบทุกเดือนของปี 2023 

อินเดียยังต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมและความแห้งแล้ง และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อินเดียมีเดือนที่ร้อนที่สุดในโลกนับตั้งแต่เคยบันทึกไว้ และอินเดียยังเผชิญกับคลื่นความร้อนในเดือนเมษายนและมิถุนายน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดมากกว่า 100 ราย 

Source

]]>
1471267
ญี่ปุ่นเปลี่ยนแผนมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง หลังเชื้อเพลิงราคาสูง ลดปัญหาโลกร้อน https://positioningmag.com/1413706 Fri, 23 Dec 2022 06:30:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413706 รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเปลี่ยนแผนด้านพลังงานอีกครั้ง โดยยืดอายุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ออกไปอีกหลายสิบปี เพื่อที่จะทำให้ประเทศสามารถมีความมั่นคงด้านพลังงาน ท่ามกลางราคาพลังงานสูงขึ้นรวมถึงสภาวะขาดแคลน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

แผนการของรัฐบาลญี่ปุ่นก็คือเตรียมที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ปลดประจำการแล้ว นำกลับมาใช้งานอีกครั้ง นอกจากนี้ยังเตรียมที่จะยืดอายุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปอีก 60 ปี และพัฒนาเตาปฏิกรณ์รุ่นต่อไปเพื่อทดแทนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นเก่า

คำแถลงของรัฐบาลญี่ปุ่นได้กล่าวถึง บทบาทสำคัญของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฐานะแหล่งพลังงานที่ปราศจากก๊าซเรือนกระจก และยังทำให้ญี่ปุ่นบรรลุเสถียรภาพด้านพลังงาน รวมถึงความเป็นกลางทางคาร์บอน (Net Zero) ภายในปี 2050 ไม่เพียงเท่านี้ญี่ปุ่นยังให้คำมั่นว่าจะใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาบริษัทผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่นได้ยื่นขอเปิดเตาปฏิกรณ์ 27 เครื่อง 17 รายผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว และมีเพียง 10 รายเท่านั้นที่กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ

ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยมากกว่า 30 ปี

ขณะที่สัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ปัจจุบันอยู่ที่ 7% ซึ่งรัฐบาลวางเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนให้ได้ 20 ถึง 22% ภายในปี 2030 ซึ่งจะทำให้ญี่ปุ่นต้องกลับมาเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ได้ 27 โรงหลังจากนี้

ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นนั้นเตรียมที่จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2030 หลังจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2011 และเกิดแรงต่อต้านจากประชาชนจากผลกระทบดังกล่าว จึงทำให้รัฐบาลเตรียมปลดระวางโรงไฟฟ้าเหล่านี้

ความไม่แน่นอนด้านพลังงานหลังจากการบุกยูเครนโดยรัสเซียได้สร้างผลกระทบเหล่านี้ต่อญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นอีกประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานจำนวนมหาศาล และราคาพลังงานที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้นได้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศอย่างมาก จนทำให้รัฐบาลต้องเปลี่ยนแผนดังกล่าวอีกรอบ

ที่มา – NPR, ABC

]]>
1413706
บริษัทญี่ปุ่นไอเดียดี เตรียมขายประกันโรคลมแดด หลังอากาศในประเทศร้อนจัด https://positioningmag.com/1393933 Tue, 26 Jul 2022 08:49:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393933 หลังจากที่หลายประเทศประสบปัญหาอากาศร้อนจัด ซึ่งญี่ปุ่นเองก็เป็นหนึ่งในประเทศดังกล่าว ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันนั้นมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคลมแดดที่คร่าชีวิตผู้คนในช่วงนี้ จึงทำให้บริษัทประกันของญี่ปุ่นเกิดไอเดียนำประกันดังกล่าวมาวางขาย

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่าบริษัทประกัน 2 แห่งของญี่ปุ่นได้แก่ Sompo และ Sumitomo Life ได้ออกประกันสุขภาพสำหรับโรคลมแดด (Heatstroke) โดยถ้าหากผู้ทำประกันเกิดเป็นโรคดังกล่าวขึ้นมา ประกันดังกล่าวก็จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดให้

โดยอากาศในกรุงโตเกียวได้ทำสถิติร้อนถึง 35 องศาเป็นเวลาติดต่อกัน 6 วัน คลื่นความร้อนดังกล่าวยังทำให้มีประชาชนเข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรคลมแดดมากถึง 14,000 รายในช่วงอาทิตย์แรกของเดือนกรกฎาคม

สำหรับเบี้ยประกันของ Sumitomo Life ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ราวๆ 100 เยนต่อวัน ถ้าหากทำประกันในช่วงก่อน 9 โมงเช้าของวัน จะมีผลประกันภายใน 10 โมงเช้า นอกจากนี้ประกันตัวดังกล่าวนั้น โฆษกของ Sumitomo Life ได้ชี้ว่าเป็นรายแรกในญี่ปุ่นที่มีประกันประเภทนี้ และยังสามารถซื้อผ่านแอปพลิเคชันของ PayPay ได้

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ Yomiuri ได้รายงานว่าประกันภัยโรคลมแดดของ Sumitomo Life ขายได้มากถึง 6,900 กรมธรรม์

ขณะที่ของ Sompo นั้นเพิ่งจะออกประกันประเภทนี้ออกมา โดยเริ่มต้นในเด็ก แต่เนื่องด้วยสภาวะอากาศร้อนในญี่ปุ่นและการสวมใส่หน้ากากอนามัย ส่งผลทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมแดดสูงขึ้น ทำให้บริษัทประกันภัยรายดังกล่าวได้ออกประกันสำหรับทุกช่วงอายุตามมา โดยตัวแทนของ Sompo ได้กล่าวว่ายอดขายของประกันดังกล่าวถือว่าขายดีกว่าที่คาดไว้ในตอนแรก

]]>
1393933
‘ศูนย์พยากรณ์อากาศ’ ชี้ อีก 5 ปีโลกมีโอกาสที่จะ ‘ร้อนเกินเกณฑ์’ https://positioningmag.com/1384743 Tue, 10 May 2022 13:39:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384743 ศูนย์พยากรณ์อากาศซึ่งนำโดย UK Met Office เปิดเผยว่า มีโอกาส 50% ที่อุณหภูมิโลกจะร้อนเกินขีดจำกัด ซึ่งเสี่ยงเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว

ในปี 2558 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศคาดว่า อุณหภูมิโลกมีโอกาสจะร้อนเพิ่มมากขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า และแนวโน้มที่จะเกินระดับนี้ได้รับการเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2560-2564 เป็นเกือบ 50% ในช่วงปี 2565-2569

ทางด้านคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ UN ได้เคยออกมาเตือนว่า ทั่วโลกต้องการต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้โลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนจะไม่มีโอกาสให้แก้ตัวอีกต่อไป โดยนักวิทยาศาสตร์ของ IPCC ได้เรียกร้องให้มีการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อควบคุมความร้อนของโลก ซึ่งขณะนี้อยู่สูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมที่ 1.1 องศาเซลเซียส

“ตัวเลข 1.5 องศาเซลเซียส นั้นบ่งชี้ว่าผลกระทบจากสภาพอากาศจะเป็นอันตรายต่อผู้คนและโลกทั้งใบมากขึ้น” Petteri Taalas เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าว

Taalas ของ WMO เตือนว่า อุณหภูมิโลกจะยังคงไต่ระดับต่อไปตราบเท่าที่มนุษยชาติยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ มหาสมุทรของเราจะยังคงอุ่นขึ้นและเป็นกรดมากขึ้น น้ำแข็งในทะเลและธารน้ำแข็งจะละลายต่อไป ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสภาพอากาศของเราจะรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ หากอุณหภูมิโลกจะร้อนเกินขีดจำกัด โลกจะยิ่งเสี่ยงเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ตัวอย่างเช่น คลื่นความร้อนรุนแรงได้พัดผ่านบางส่วนของอินเดียและปากีสถาน หรืออิรักอยู่ที่เผชิญกับพายุทรายปกคลุมประเทศ และชั้นน้ำแข็งขนาดเท่ามหานครนิวยอร์กได้ถล่มในแอนตาร์กติกาตะวันออก หลังจากอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์

โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่าขณะนี้ใกล้จะแน่นอนว่าอย่างน้อยหนึ่งปีระหว่างปี 2565-2569 จะเป็นปีที่ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ แซงหน้าปี 2559 นอกจากนี้ยังมีโอกาสถึง 93% ที่ค่าเฉลี่ยความร้อนที่พุ่งสูงขึ้นในปี 2565-2569 จะสูงกว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

Source

]]>
1384743
โลกร้อน ทำให้เกิด ‘ภัยพิบัติ’ เพิ่ม 5 เท่าในช่วง 50 ปี ระบบเตือนภัย ช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น https://positioningmag.com/1350254 Fri, 03 Sep 2021 14:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350254 ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อ ‘ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศ เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา การพัฒนา ‘ระบบเตือนภัยล่วงหน้า’ ช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น เเต่ยังไม่ครอบคลุมในประเทศยากจน 

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO เปิดเผยข้อมูลว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดภัยพิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและน้ำ เช่น น้ำท่วม คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง ไฟป่า พายุโซนร้อนรุนแรงขึ้น’ เเละบ่อยครั้งขึ้น’ 

ตลอด 5 ทศวรรษ ระหว่างปี 1970 ถึง 2019 มีภัยพิบัติดังกล่าวมากกว่า 11,000 ครั้ง คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 2 ล้านคนเเละสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจกว่า 3.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยมากกว่า 90% ของการเสียชีวิตจากภัยพิบัติทางสภาพอากาศ เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา’ เเละสถานการณ์ภัยเเล้งที่รุนเเรงต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 650,000 คน

เเต่ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติโดยรวมก็ลดลงอย่างรวดเร็ว

ศาสตราจารย์ Petteri Taalas เลขาธิการ WMO กล่าวว่า ท่ามกลางตัวเลขสถิติที่เลวร้ายเราก็ยังมีความหวังอยู่

ระบบเตือนภัยล่วงหน้า ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย นำไปสู่การลดอัตราการตายอย่างมีนัยสำคัญ พูดง่ายๆ ก็คือ เราช่วยชีวิตคนได้ดีกว่าในอดีต

ขณะที่การปรับปรุงระบบเตือนภัยกำลังช่วยชีวิตผู้คนได้มากขึ้น เเต่ก็ยัง ‘ไม่ทั่วถึง’ มากนัก โดยเฉพาะในประเทศยากจน เช่น ในทวีปแอฟริกา บางพื้นที่ของละตินอเมริกา ฯลฯ

ปัจจุบันมีเพียงครึ่งหนึ่งจาก 193 ประเทศที่เป็นสมาชิกของ WMO เท่านั้น ที่มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าให้ประชาชน

อีกมุมหนึ่ง จำนวนผู้ที่ต้องเสี่ยงต่อภัยพิบัติก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตของประชากรในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งมีความรุนแรงและความถี่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนเเปลงของสภาพอากาศ

องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อจัดการกับปัญหาเรื้อรังหลังผู้คนจำนวนมากที่ต้องพลัดถิ่นด้วยอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง โดยจะต้องมีการลงทุนมากขึ้น เพื่อจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้ครอบคลุม รวมไปถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะต้องเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในเเผนระดับชาติและระดับท้องถิ่น

 

ที่มา : BBC , WMO 

 

]]>
1350254