Contactless – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 02 Mar 2022 09:18:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 COVID-19 ติดสปีดไทยเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” Visa เร่งการใช้งานในระบบขนส่ง-อีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1376071 Wed, 02 Mar 2022 08:54:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376071
  • Visa เปิดผลสำรวจคนไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” เร็วขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจาก COVID-19 คนไทยถึง 9 ใน 10 เคยทดลองใช้จ่ายแบบไร้เงินสดในชีวิตประจำวัน
  • ธุรกิจของ Visa ช่วงหลังเกิดโรคระบาดยอมรับว่า ‘เหนื่อย’ กว่าที่ผ่านมา เพราะการล็อกดาวน์จะลดการใช้ “เงินก้อนใหญ่” เช่น ทริปท่องเที่ยว
  • อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เพิ่มจุดใช้งานร่วมกับขนส่งสาธารณะมากขึ้น ล่าสุดคือรถไฟฟ้า MRT และจัดโปรโมชันร่วมกับอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นช่องทางซื้อสินค้ามาแรงของคนไทย
  • “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” ผู้จัดการ วีซ่า (Visa) ประจำประเทศไทย เปิดเผยผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับการชำระเงิน ประจำปี 2564 ซึ่งสำรวจในคนไทย 1,000 คน อายุ 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา โดยมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

    • เกือบ 9 ใน 10 ของคนไทยเคยลองใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแบบไร้เงินสด
    • 6 ใน 10 ของคนไทยพกเงินสดน้อยลง เทียบกับปี 2562 อัตราอยู่ที่ 3.5 ใน 10 คนเท่านั้น
    • คนไทย 79% มั่นใจว่าสามารถใช้ชีวิตได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องพกเงินสด เทียบกับปี 2563 อยู่ที่ 68% เท่านั้น
    • คนไทย 87% รู้จักการใช้บัตรแบบคอนแทคเลส เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มี 74%
    สังคมไร้เงินสด Visa
    คนไทยกำลังเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด”

    สถิติที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่าเมืองไทยกำลังเข้าใกล้สังคมไร้เงินสดมากขึ้นเรื่อยๆ และเร็วขึ้นใน 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีการระบาดของโรค COVID-19 เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ วัดจากสถิติคนไทย 54% ให้เหตุผลที่ลดการใช้จ่ายด้วยเงินสดเพราะกังวลเรื่องการติดต่อของโรคระบาด

    สำหรับความคาดหวังของผู้บริโภคต่อธุรกรรมที่มองว่าควรจะมีระบบชำระแบบไร้เงินสด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1)ร้านสะดวกซื้อ 2)ชำระบิล 3)ซูเปอร์มาร์เก็ต 4)ขนส่งสาธารณะ และ 5)ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม

    VISA สังคมไร้เงินสด

    สุริพงษ์กล่าวว่า ดัชนีชี้วัดความเป็นสังคมไร้เงินสดนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องตัดเงินสดออกจากระบบทั้งหมด แต่วัดจากจุดชำระเงินทุกแห่งมี “ตัวเลือก” ให้เลือกชำระด้วยระบบไร้เงินสดได้ โดยมีสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย

     

    Visa รุกกลุ่มขนส่งสาธารณะ

    ขนส่งสาธารณะเป็นภาคธุรกิจอันดับที่ 4 ที่คนไทยคาดหวังว่าจะชำระเงินแบบไร้เงินสดได้ เมื่อมองภาพระดับสากลของ Visa เองก็มีการรุกเข้าไปเป็นระบบชำระเงินให้กับขนส่งสาธารณะประเทศต่างๆ ปัจจุบันมีโครงการขนส่งที่ใช้ Visa ชำระเงินแล้วมากกว่า 500 โครงการทั่วโลก

    ส่วนในประเทศไทย มีทั้งหมด 4 โครงการที่ Visa วางระบบแตะจ่ายแบบคอนแทคเลสแล้ว (สามารถใช้บัตรของค่ายอื่นที่มีคอนแทคเลสได้เช่นกัน) ได้แก่ รถประจำทาง ขสมก., ทางพิเศษ 5 สายในกรุงเทพฯ, ดอนเมืองโทลเวย์ และล่าสุด รถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงินและสีม่วง)

    การใช้รถไฟฟ้า MRT สามารถแตะบัตรเครดิตแบบคอนแทคเลสได้แล้ว (Photo: MRT)

    สุริพงษ์กล่าวว่า การขยายไปใช้ระบบคอนแทคเลสกับขนส่งสาธารณะมีส่วนสำคัญมากในการส่งเสริมสังคมไร้เงินสด และบริษัทต้องการสนับสนุนให้มีการใช้ได้ทั้งระบบขนส่งของกรุงเทพฯ และขยายไปยังต่างจังหวัดในอนาคต ขณะนี้มีการเจรจากับทุกบริษัทผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกสายในไทย นอกเหนือจาก MRT ที่มีการใช้งานแล้ว

    “การใช้คอนแทคเลสแตะจ่ายค่าเดินทางทำให้ผู้โดยสารสะดวกมาก และส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวด้วย เพราะนักท่องเที่ยวต่างรู้จักและถือบัตร Visa โดยปัจจุบันเรามีผู้ถือบัตร 3,600 ล้านใบทั่วโลก การเดินทางจะลดขั้นตอนการซื้อตั๋ว สามารถแตะเข้าระบบได้เลย ทำให้นักท่องเที่ยวสะดวกมากขึ้น” สุริพงษ์กล่าว

     

    2 ปีโรคระบาด ‘เหนื่อย’ แต่เชื่อว่าปีนี้ปรับตัวดีขึ้น

    ด้านการดำเนินงานของ Visa ประเทศไทยในช่วง COVID-19 สุริพงษ์ยอมรับว่าค่อนข้างเหนื่อย เพราะมูลค่าการใช้จ่ายลดลง เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้จ่าย “เงินก้อนใหญ่” อย่างเคย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อไปทริปท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมถึงการปิดประเทศทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายน้อยมาก แต่เชื่อว่าปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากไทยเปิดระบบ Test & Go ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา และคนไทยน่าจะเริ่มกลับไปเที่ยวต่างประเทศกันเร็วๆ นี้

    “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

    ส่วนการเติบโตของอีคอมเมิร์ซนั้น Visa ได้อานิสงส์ในส่วนนี้เช่นกัน เพราะเป็นช่องทางชำระเงินผ่านมาร์เก็ตเพลสต่างๆ และปีนี้จะยิ่งรุกหนักในตลาดอีคอมเมิร์ซ จะมีการจัดโปรโมชันมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้งาน

    นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าไปผลักดัน SMEs ที่ต้องการขยายตลาดต่างประเทศ เนื่องจากการรับโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารจะทำให้ตลาดจำกัดอยู่ในไทย แต่ถ้าหากรับชำระด้วย Visa จะสามารถขายออนไลน์สู่ต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

     

    คนไทยสนใจ “คริปโต” แต่รัฐยังไม่สนับสนุน

    ด้านประเด็นเงินคริปโต จากการสำรวจข้างต้นมี คนไทย 69% ที่ตอบว่าสนใจมากหรือค่อนข้างสนใจการลงทุนในสกุลเงินคริปโต โดยส่วนใหญ่ที่ตอบว่าสนใจจะเป็นคนเจนวาย รองมาเป็นเจนซี และตามด้วยเจนเอ็กซ์ จะเห็นได้ว่าคนวัยไม่เกิน 40 ปีจะเป็นกลุ่มที่สนใจมากที่สุด

    ไม่เพียงแต่ลงทุนเท่านั้น คนไทย 85% ตอบว่าสนใจมากหรือค่อนข้างสนใจที่จะใช้คริปโตชำระเงิน

    อย่างไรก็ตาม สุริพงษ์ระบุว่าเนื่องจากรัฐบาลไทยยังไม่สนับสนุนให้ใช้คริปโตชำระเงิน Visa ประเทศไทยจึงยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ขณะที่ในต่างประเทศบางประเทศที่ส่งเสริมคริปโต บริษัทจะมีการเชื่อมเน็ตเวิร์กแปลงเงินคริปโตเป็นเงินเฟียต (คำเรียกรวมของสกุลเงินดั้งเดิมประจำประเทศต่างๆ) ลูกค้าสามารถใช้บัตรชำระเงินให้ร้านค้า และร้านค้าจะได้รับชำระเป็นเงินเฟียตตามปกติ ยังไม่มีระบบจ่ายเป็นคริปโตโดยตรง ต้องแปลงสกุลเงินเป็นเงินเฟียตก่อนเท่านั้น

    ]]>
    1376071
    เปิดอินไซต์ พฤติกรรม ‘Contactless’ ของคนไทย ใช้จ่ายโดยไม่พึ่ง ‘เงินสด’ ได้นานถึง 8 วัน https://positioningmag.com/1324731 Thu, 25 Mar 2021 09:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324731 วิกฤตโรคระบาด กระตุ้นให้ผู้คนปรับไลฟ์สไตล์เข้ากับดิจิทัลมากขึ้น หลายคนได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดเเละมีทัศนคติในการชำระเงินที่เปลี่ยนไปจากเดิม

    ผลสำรวจล่าสุดจากวีซ่า’ (VISA) ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society ได้ในปี 2026 หรือเพียง 4-5 ปี นับจากนี้ ถือว่าเร็วขึ้น’ จากเดิมที่คาดว่าจะใช้เวลานานถึง 10 ปี หรือปี 2030

    จากความเห็นของผู้บริโภคจำนวน 1,000 คน อายุระหว่าง 18-65 ปี รายได้ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน พบว่ากว่า 4 ใน 5 หรือประมาณ 82% ของกลุ่มตัวอย่างได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด โดยเฉลี่ยคนไทยเห็นว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างไร้เงินสดได้นานถึง 8.1 วัน เพราะสามารถสั่งอาหารเเบบเดลิเวอรี่ รถเมล์เเละร้านสะดวกซื้อก็แตะบัตรจ่ายได้ 

    เมื่อเจาะลึกลงไป เห็นได้ชัดว่าการมาของ COVID-19 มีผลต่อการใช้จ่ายอย่างมาก โดยสัดส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตโดยไร้เงินสด 1 สัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 19% จากปีก่อนที่ 17% และเมื่อเพิ่มระยะเวลาเป็น 1 เดือนจะมีสัดส่วนที่ 4% จากปีก่อนหน้าที่ 3%

    โดยมีคนไทยพกเงินสดน้อยลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 51% จากเดิมอยู่ที่ 30% เนื่องจากหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเห็นว่ามีความสะดวก ไม่ต้องต่อคิว เช็กความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่าย เเละที่สำคัญกว่า 61% มองว่าช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ด้วย


    ไทยเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของวีซ่า สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ระบุ

    วีซ่าเป็นผู้ให้บริการชำระเงินรายใหญ่ ครอบคลุม 200 ประเทศทั่วโลก ที่มีฐานลูกค้า 3,500 ล้านบัญชี ทั้งบัตรเครดิต เดบิต และพรีเพด มีธนาคารพาณิชย์พันธมิตร 15,300 แห่ง ร้านค้า 70 ล้านร้านค้า จำนวนธุรกรรมกว่า 1 แสนล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ปัจจุบัน ประเทศไทย มีจำนวนผู้ถือบัตรทั้งเครดิตเเละเดบิตกว่า 70-80 ล้านใบ และมีประชากรที่เข้าถึงบัญชีธนาคารสัดส่วนค่อนข้างสูงถึง 83% ทำให้สัดส่วนการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สูงตามไปด้วยที่ 72% และใช้เงินสดเพียง 28%

    ปัจจัยที่สนับสนุนต่อ Cashless Society หลักๆ มาจากความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีเเละการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 78% มีสมาร์ทโฟน 134% และการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก 79%

    พร้อมๆ กับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กระตุ้นการใช้ผ่านบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อพร้อมเพย์ให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

    ผู้บริหารวีซ่า บอกว่า จุดเด่นการใช้จ่ายของคนไทย คือ ชื่นชอบการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุดถึง 94% ตามด้วยวิธีการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน 92% และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (Contactless) 89%

    ส่วนในด้านของการใช้งานจริงนั้น 45% ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด ตามมาด้วยการสแกนชำระผ่านคิวอาร์โค้ด 42% และแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตร 41%

    คนไทยคุ้นเคยกับการจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด หรือโอนเงินเพื่อจ่าย มากกว่าในต่างประเทศที่นิยมแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตร เพราะคิดว่าการพกบัตรก็ไม่ได้ลำบากมากนัก ขณะเดียวกันช่วงอายุของลูกค้าก็มีผลต่อการเลือกใช้ โดยกลุ่มผู้ใหญ่ยังนิยมพกบัตร ส่วนคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีก็จะถนัดจ่ายทางสมาร์ทโฟนมากกว่า

    ส่วนในอนาคตนั้นมองว่า การชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน จะเข้ามาเเทนที่การใช้จ่ายผ่านบัตรในทึ่สุด เเต่ยังไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ โดยบัตรที่ทำจากพลาสติกจะยังคงมีต่อไปอีกสักระยะ เเต่จะค่อยๆ ลดลง ตามเจเนอเรชันที่เปลี่ยนไปของสังคม

    Photo : Shutterstock

    เตรียมบุก ‘เเตะเพื่อจ่าย’ ทางเรือ ส่วน MRT ยังต่อรอไปก่อน 

    เหล่านี้ ทำให้กลยุทธ์ของวีซ่าในปี 2021 จะมุ่งไปที่การเพิ่มสัดส่วนธุรกรรมการจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลสเป็น 20% ของธุรกรรมทั้งหมด จากเดิมที่อยู่ราว 15% เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 1 ปี จากก่อนหน้าที่มีแค่ 0.1% เท่านั้น

    นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกรรมนั้น มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนบัตรเดบิตเครดิตที่หมดอายุของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากบัตรรุ่นใหม่จะมีฟังก์ชันการใช้งานเเบบคอนแทคเลสได้ทันที รวมไปถึงความก้าวหน้าของเครื่องรับบัตร (EDC) ที่สามารถรับชำระได้ 4 in 1 ได้ โดยล่าสุดยอดการใช้ธุรกรรมการใช้ผ่านคอนแทคเลสในไทยมีมากกว่า 2 ล้านรายการต่อเดือน

    นอกจากนี้ วีซ่าจะมีแคมเปญส่งเสริมการใช้จ่ายเเบบคอนแทคเลส โดยการร่วมมือกับพันธมิตรเช่น ผู้ให้บริการทางเรือและรถไฟฟ้าใต้ดิน เเละจับมือกับธุรกิจ e-Wallet รวมไปถึงการทำโปรเจกต์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะนำข้อมูล Big Data อย่างพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้จ่ายต่างๆ มาพัฒนาร่วมกัน โดยจะเริ่มใน 2-3 เดือนนี้

    บริการเเตะเพื่อจ่ายในบริการขนส่งทางเรือ คาดว่าจะได้เห็นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ส่วนการเเตะเพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น ยังต้องรอการเจรจาจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐเเละเอกชน ซึ่งมีความพยายามจะทำมานานเเล้ว เเต่ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุระยะเวลาได้ว่าจะใช้ได้จริงเมื่อใด

    โดยที่ผ่านมา หลังจากมีบริการเเตะเพื่อจ่ายบนรถเมล์ในไทยกว่า 3,000 คันนั้น พบว่ามีกระเเสตอบรับที่ดี เเต่เมื่อต้องเจอกับการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การเดินทางต้องมีช่วงหยุดชะงักชั่วคราว ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน เเต่ก็หวังว่าประชาชนจะกลับมาใช้เพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายเเละมีการกระจายวัคซีนทั่วถึง

    เเม้จะมีปัจจัยหนุนมากมายที่จะทำให้ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดเร็วขึ้นตามยุคสมัย เเต่ในอีกมุมเมื่อถามว่าอะไรเป็นอุปสรรคบ้าง สุริพงษ์มองว่าคือปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตก็ยิ่งมีผลต่อการใช้จ่ายของผู้คนด้วย

     

     

    ]]>
    1324731
    เปิด 5 กลยุทธ์ พิชิตยอดขายสุดปังช่วงเทศกาลวันหยุดยุค COVID-19 https://positioningmag.com/1308753 Thu, 03 Dec 2020 10:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308753
    เข้าสู่เดือนธันวาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาแห่งเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ อีกทั้งยังมีช่วงวันหยุดยาวให้ได้พักผ่อนกันอย่างเต็มที่ สมกับที่ทำงานมาเหนื่อยๆ ทั้งปี เชื่อว่าถ้าใครที่ไม่ได้ไปเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว ก็ต้องอยู่บ้านพักผ่อน เล่นโซเชียลมีเดีย และช้อปปิ้ง กลายเป็นว่าช่วงหยุดยาวก็เป็นอีกหนึ่งช่วงที่จะโกยยอดขายได้เช่นกัน

    ยิ่งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยิ่งทำให้พฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง หลายคนใช้เวลากับการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น รวมไปถึงการใช้จ่ายผ่านบัตร Contactless เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสต่อกัน

    เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการไม่ว่าจะรายใหญ่ หรือรายเล็กต้องเตรียมปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภค และสถานการณ์ในปัจจุบัน หากใครที่กำลังมาหาเคล็ดลับ หรือเทรนด์ของการช้อปปิ้งในยุค New Normal แล้วละก็ คุณมากถูกทางแล้ว

    มีผลสำรวจของวีซ่าเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจภาคฮอลิเดย์อิดิชั่น (The Visa Back to Business Study, Holiday Edition) ได้เผยให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงพร้อมที่จะจับจ่ายในช่วงเทศกาลวันหยุด

    สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย
    • โดย 88% ของผู้ทำแบบสำรวจยังคงวางแผนที่จะซื้อและมอบของขวัญให้กันในช่วงการแพร่ระบาด
    • ธุรกิจขนาดเล็ก60%กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาได้เริ่มเตรียมพร้อมสำหรับเทศกาลนี้ ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอล หรือแม้กระทั่งเปิดให้บริการนานขึ้น

    ทั้งนี้ จากผลวิจัยของวีซ่า ชี้ให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิด 5 เทรนด์ใหม่ ซึ่งหากเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กสามารถปรับตัวตามกระแสได้ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลก็จะช่วยเพิ่มโอกาสเพิ่มยอดขายและเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้

    1. อีคอมเมิร์ซ “ในชีวิตจริง”

    การสำรวจของวีซ่า เกี่ยวกับการทำธุรกิจในช่วงเทศกาลวันหยุดแสดงให้เห็นว่า 59% ของผู้บริโภคที่ใช้จ่ายออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดหนักของ COVID-19 จะยังคงเลือกใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของการจับจ่ายทั้งหมดในช่วงเทศกาลวันหยุด และ “ในชีวิตจริง” ยังมีนักช้อปอีกไม่น้อยที่ยังคงชอบที่จะไปซื้อสินค้าในร้านอยู่

    48% ของผู้บริโภคยังวางแผนที่จะออกไปช้อปปิ้งในห้างร้านตามปกติ โดยวีซ่าเชื่อว่าเส้นบางๆ ที่กั้นระหว่างการช้อปออนไลน์หรือที่ร้านค้าได้หายไปอย่างถาวร ดังนั้น สิ่งสำคัญสำหรับร้านค้าไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ ควรพิจารณาการทำดำเนินธุรกิจที่ผสมผสานระหว่างออนไลน์ และการมีหน้าร้าน หรือเรียกว่า Omnichannel

    2. โซเชียล คอมเมิร์ซกลายเป็นกระแสอย่างเต็มตัว

    โซเชียลคอมเมิร์ซเป็นที่นิยมมากทั้งในตลาดเมืองไทยและเอเชีย และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในซีกโลกตะวันตก โดยมันทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมและก่อให้เกิดการพูดคุยกันทางออนไลน์พร้อมๆ กับการซื้อขายโดยผู้ซื้อไม่ต้องสลับแอพพลิเคชั่นมีการคาดการณ์ว่ามากกว่า 10% ของออเดอร์จากโทรศัพท์มือถือในช่วงเทศกาลวันหยุดจะเกิดจากการซื้อขายผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ

    โดย 66% ของกลุ่มคน GEN Z พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาเคยซื้อสินค้าบนโซเชียลในช่วงการแพร่ระบาดที่ผ่านมา อ้างอิงจากผลสำรวจของวีซ่า ชี้ให้เห็นว่า 28%ของธุรกิจขนาดเล็ก ได้เคยพยายามทำโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการเข้าถึงลูกค้าใหม่

    3. สร้างความแตกต่างด้วยการชำระเงินแบบ Contactless

    ผลสำรวจของวีซ่า ระบุว่า 78% ของผู้บริโภคได้เปลี่ยนวิถีการชำระเงินไปแล้ว โดยหันมาใช้จ่ายผ่านดิจิตอลคอมเมิร์ซและพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างการชำระเงินในรูปแบบ Contactless มากขึ้นเพราะเป็นช่องทางที่ปลอดภัยที่สุดในช่วง COVID19

    การเติบโตของการใช้จ่ายในรูปแบบ Contactless เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เพียงแตะเพื่อจ่าย และได้กลายเป็นทางที่ลูกค้าเลือกใช้มากกว่าวิธีการเดิมๆ และธุรกิจขนาดเล็กเองควรให้ความสำคัญของประสบการณ์การซื้อและการชำระเงินที่เอื้อต่อลูกค้า

    เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาในประเทศไทยได้มีการ “แตะเพื่อจ่าย” ผ่านบัตร Visa Contactless มากกว่าสองล้านครั้งในหนึ่งเดือนเป็นครั้งแรกของวีซ่าในประเทศไทย และ 2 ใน 3 ของผู้บริโภคทั่วโลกคาดว่าจะใช้บริการธุรกิจที่นำเสนอทางเลือกในการจ่ายผ่านบัตร Contactless

    4. บัตรของขวัญกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น

    ผลสำรวจของวีซ่า ได้คาดการณ์ว่าผู้บริโภค 32% จะมอบบัตรของขวัญในรูปแบบดิจิตอลมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยบัตรชนิดอื่นๆ กิจกรรมต่างๆ หรือทริปท่องเที่ยว ที่มีสัดส่วน 19% และดิจิตอลเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 18% ร้านค้าที่คิดว่าตัวเองเป็นมากกว่า “ร้านค้า” จะมีโอกาสมากกว่าในการเตรียมพร้อมเพื่อเทศกาลช้อปปิ้งที่จะมาถึง

    5. กันไว้ดีกว่าแก้

    ก่อนหน้าการเกิดโรคระบาดครั้งนี้ เป็นเรื่องง่ายที่จะสันนิษฐานว่าอาชญากรทั้งหลายพยายามที่จะโจรกรรมผู้ค้า และองค์กรขนาดใหญ่ น่าเสียดายที่พวกเขาพบว่าบรรดาผู้ประกอบขนาดกลาง และขนาดย่อมกลับไม่ค่อยใส่ใจดูแลป้องกันตัวเองเท่าที่ควร ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาตกเป็นเป้าให้กับมิจฉาชีพเหล่านี้

    ร้านค้าจำเป็นต้องมีวิธีการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสมดุลไม่ทำให้ประสบการณ์การใช้จ่ายของลูกค้าสะดุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดที่คาดว่าจะมีการค้าขายมากกว่าปกติ

    ทางที่ดีที่สุดคือการใช้เครื่องมือตรวจจับการทุจริตที่สามารถใช้งานได้จริง แนะนำให้คุณปรึกษากับธนาคารผู้ให้บริการทางการชำระเงินของคุณ เพื่อหาหนทางที่จะช่วยเพิ่มการอนุมัติธุรกรรมที่ดี ในขณะเดียวกันลดจำนวนธุรกรรมที่น่าสงสัย

    Photo : Pixabay

    ต้องบอกว่าธุรกิจ SME มีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก มีการจ้างงานมากกว่า 1 ใน 3 ทั่วโลก ขณะที่ COVID-19 ไม่เพียงแต่พิสูจน์ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของร้านค้าขนาดเล็ก มันยังเผยให้เห็นถึงจุดอ่อนของธุรกิจเหล่านั้นด้วย

    เพราะฉะนั้นการใช้ความสร้างสรรค์ และการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ได้ช่วยให้ร้านค้าขนาดเล็กมากมายประสบความสำเร็จมาแล้วมานับไม่ถ้วน ในความเป็นจริงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก 75% ยังคงมีมุมมองที่ดีต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ซึ่งนั่นไม่ใช่เป็นความเพียงความฝัน แต่บางทีการมีทัศนคติที่ดีอาจจะเป็นเคล็ดลับที่ดีที่สุดในการทำธุรกิจก็ว่าได้

    เรียกได้ว่า 5 เทรนด์ของวีซ่าล้วนมีประโยชน์แก่ผู้ประกอบการอย่างมาก ทำให้ได้เห็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังทราบความต้องการที่แท้จริง ร้านค้าควรเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ เพื่อสร้างยอดขายสุดปังในช่วงเทศกาลหยุดยาวไปด้วยกัน

    ]]>
    1308753