Creator Marketing – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 May 2024 08:18:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดแนวคิด Creator Marketing สูตรสำเร็จการตลาดยุคใหม่ ติดสปีดได้ไกลถึงตลาดโลก https://positioningmag.com/1474453 Tue, 21 May 2024 09:34:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474453

ต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันนี้มีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายคนสามารถเป็นสื่อ หรือเป็นคนผลิตคอนเทนต์เองได้ Content Creator จึงได้จัดว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สามารถหารายได้ และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในตอนนี้

มีการสำรวจว่า ในประเทศไทยมี Content Creator อยู่ราวๆ 2 ล้านคนเลยทีเดียว มีทั้ง Influencer คนมีชื่อเสียง คนที่มีอิทธิพลต่อบุคคลทั่วไป, KOL หรือจะเป็น Micro Influencer และ Nano Influencer ยิ่งในทุกวันนี้ทุกคนมีโซเชียลมีเดีย ทุกคนสามารถสร้างคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น

หลายปีที่ผ่านมานี้เราได้เห็นการมาของแพลตฟอร์ม TikTok เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งแตกต่างจากโซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมที่เน้นติดตามคนรู้จัก คนที่สนใจ แต่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก มีคอนเทนต์หลากหลาย ร้อง เล่น เต้น แสดง เรียกได้ว่าได้เห็น “ดาวติ๊กต็อก” เกิดขึ้นมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

แต่การที่จะเป็น Content Creator มีความยากง่ายแค่ไหน โอกาสที่จะแจ้งเกิด และหารายได้เป็นอย่างไร ทาง AIS ได้รวมทุกข้อสงสัย พร้อมฟังประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟจาก Content Creator ระดับตัวท็อปของประเทศมาเผยแรงบันดาลใจ สูตรเด็ด เคล็ดลับ สร้างครีเอเตอร์สู่อาชีพที่สามารถต่อยอดให้เติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน ภายในงาน Global Creator

Culture Summit งานนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

งานนี้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตร อีกทั้งยังเล่นใหญ่เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกามาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทย พร้อมกับได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย ได้แก่ ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต (Uppercuz Creative), อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9), วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) และธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเคล็ดลับการเป็น Content Creator ให้ประสบความสำเร็จCulture Summit งานนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

งานนี้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตร อีกทั้งยังเล่นใหญ่เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกามาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทย พร้อมกับได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย ได้แก่ ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต (Uppercuz Creative), อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9), วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) และธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเคล็ดลับการเป็น Content Creator ให้ประสบความสำเร็จ

ด้าน Professor David Craig กล่าวว่า “วันนี้ครีเอเตอร์ คือ กลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เพราะมีศักยภาพเป็นได้ทั้ง “แบรนด์” ด้วยตัวเอง, เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์, สร้างรายได้แบบ O2O ทั้งจากพื้นที่ตัวเอง-แพลตฟอร์ม-ช่องทางอื่น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมแวดล้อมอื่นๆ ได้อีกด้วย อาทิ มีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

นี่คือสิ่งยืนยันที่ว่า ครีเอเตอร์คือศูนย์กลางการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์ม และอีโคซิสเท็มที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก ดังตัวอย่างจาก วัฒนธรรมหว่างหง (Wanghong Culture) หรือเน็ตไอดอล ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของจีน ที่สร้างโซเชียลคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะที่จีน ไม่ว่าใคร แม้แต่แรงงานเกษตรกร ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังได้ เพราะได้รับการสนับสนุนให้เป็นหว่างหงครีเอเตอร์ ดังนั้นการเดินทางมาแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยในครั้งนี้ของผม จึงเชื่อว่าจะได้แนวทางชัดเจน ที่ทำให้เราสามารถสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมครีเอเตอร์ระดับโลก และสามารถกำหนดอนาคตและทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน”

พร้อมกันนี้ภายในยังได้เชิญกูรูด้าน Content Creator ซึ่งเป็นหนึ่งในอีโคซิสเท็มในการขับเคลื่อน Creator Culture ของไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาร่วมแลกเปลี่ยนบนเวทีนี้อีกด้วย Positioning ขอสรุปประเด็นเด็ดที่เหล่า Content Creator ไม่ควรพลาดดังนี้

ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ CEO YDM Thailand กลุ่มบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ต แชร์ข้อมูลในหัวข้อ “กลยุทธ์ Creator Marketing สูตรสำเร็จใหม่ของธุรกิจยุคดิจิทัล”

YDM Thailand เป็นเอเจนซี่ไทยที่ดูแลด้านดิจิทัล มาร์เก้ตติ้ง และดูแลเกี่ยวกับ Content Creator ให้กับแบรนด์ต่างๆ จากข้อมูลผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมี Content Creator มากกว่า 2 ล้านคน ตอนนี้มีแพลตฟอร์มที่หลากหลาย มีการแยกย่อยเยอะหลายเซ็กเมนต์ บางคนเป็นบล็อกเกอร์สายอาหารก็มีแยกย่อยหลายแขนงลงไปอีก เช่น รีวิวคาเฟ่อย่างเดียว รีวิวอาหารญี่ปุ่นอย่างเดียว เพราะฉะนั้นในการวางกลยุทธ์ให้กับแบรนด์จะมีการผสมผสาน Content Creator หลายระดับทั้งคนตัวเล็ก กลาง และตัวท็อป ซึ่งอยู่ที่โจทย์ของลูกค้าว่าต้องการอะไร บางแคมเปญใช้ Content Creator ถึง 50 คนก็มี

4 ขั้นตอนในการเลือก Content Creator ให้เหมาะสมกับแบรนด์

  1. เข้าใจตัวเองก่อนว่าตอบโจทย์อะไร : บางแบรนด์เป็นแบรนด์ขนาดใหญ่ ต้องการแบรนด์เลิฟ ก็เลือก KOL ที่มีแฟนคลับสนับสนุนเขา สมมติว่าทำอาหารเสริมแบรนด์หนึ่ง สามารถทำโฆษณาทางโทรทัศน์ได้แค่ 15-30 วินาทีก็ต้องหาครีเอเตอร์ทำคอนเทนต์ให้ความรู้เพิ่ม บวกกับทำ SEO เสริม หรือถ้าอยากขายของเลือกครีเอเตอร์สายรีวิวเลย เน้นขายของอย่างเดียวเลย
  1. เข้าใจ Content Creator : เป็นเรื่องสำคัญมาก บางทีแบรนด์คิดว่าตัวเองมีเงิน มีของที่อยากจะพูดแล้วยัดเยียดสิ่งที่ตัวเองอยากพูด ต้องรู้ก่อนว่า Content Creator แต่ละคนคือใคร เพราะมีทั้ง Influencer คือ ผู้มีอิทธิพล, KOL คือ ความคิดของเขามีอิทธิพล มีความน่าเชื่อถือ พูดอะไรไปคนฟังเขา แต่สำหรับ Content Creator บางคนอาจจะไม่ได้ดังมาก แต่จุดแข็งคือการสร้างคอนเทนต์
  2. การใช้เทคโนโลยีเลือก : ในการเลือก Content Creator แต่ละครั้ง ไม่ได้เลือกแค่คนดังๆ ท็อปๆ เท่านั้น คนกลางๆ เล็กๆ ก็เลือก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากขึ้น มีการเลือกจากข้อมูล จากเทคโนโลยี เพราะระบบมีการเก็บข้อมูลของ KOL ทุกคน เก็บผู้ติดตาม เอ็นเกจเมนต์ ดูว่ารีวิวแบรนด์อะไร รีวิวคู่แข่งหรือเปล่า
  3. การวัดผล : สามารถดึงข้อมูล ดึงการวัดผลได้ทุกเรื่อง เอ็นเกจเมนต์ ตัวเลขต่างๆ แล้วเอามาแมทช์กับยอดขายของสินค้าได้

นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากทางแพลตฟอร์ม โดย กวิน ภาณุสิทธิกร Head of Seller Management Thailand, TikTok Shop มาร่วมแชร์ข้อมูลในหัวข้อ “จาก Seller สู่ Creator สร้างรายได้จาก TikTok”

TikTok เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มาแรงที่สุดแห่งยุค เพราะหลายๆ เรื่องราวที่เป็นไวรัลในสังคม ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจาก TikTok ด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก ใครๆ ก็สามารถสร้างวิดีโอได้ง่ายๆ ทำให้กลายเป็นที่นิยมไปโดยปริยาย

โดยที่ TikTok ทำตลาดในประเทศไทยได้ 7 ปี แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้มีอีกหนึ่งฟีเจอร์เกิดขึ้น นั่นก็คือ TikTok Shop เรียกว่า ได้สร้างความสั่นสะเทือนวงการอีคอมเมิร์ซอยู่ไม่น้อย กลายเป็นว่ากระแสของ Live Commerce กลายเป็นช่องทาการขายใหม่ของแบรนด์ ซึ่งการขายของใน TikTok Shop มีความยากง่ายแค่ไหน สร้างโอกาสอย่างไร และแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่างไรบ้าง มีจุดแข็งอยู่ 4 ข้อด้วยกัน

  1. Decentralize (ให้ลูกค้าตัดสินใจ) มากกว่า Social Signal (ตัวชี้วัดด้านโซเชียล)

ในทุกๆ วันที่เข้าในแอปพลิเคชั่น TikTok จะพบว่า คอนเทนต์จะแตกต่างกัน ไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือนโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่เน้นติดตามพื่อน ครอบครัว คนรู้จัก ซึ่งแอปฯ พยายามหาคอนเทนต์ให้โดนใจผู้ใช้มากที่สุด ข้อดีของแพลตฟอร์มนี้ก็คือ ถ้าเป็นครีเอเตอร์จะแจ้งเกิดง่าย ทำให้มีดาวติ๊กต็อกเกิดขึ้นเยอะ แต่ต้องอัพเดตตัวเองตลอดเวลา ถ้าเป็นเจ้าของแบรนด์ ก็เป็นโอกาสมากๆ สามารถหาคนที่เป็นพันธมิตรช่วยขายเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ไม่เคยเข้าถึงได้

  1. Entertainment (ความบันเทิง) มากกว่า Social Media

ผู้ใช้ไม่ได้ตั้งใจเข้าแอปฯ เพื่อไปดูความเคลื่อนไหวของเพื่อน หรือครอบครัว แต่เข้าไปเพื่อหาความบันเทิงใหม่ๆ คล้ายๆ กับการดูทีวี หรือเรียลลิตี้โชว์

  1. Shoppertainment (การขายผ่านความบันเทิง) มากกว่า eCommerce

พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนไป มีทั้งที่ตั้งใจเข้ามาซื้อของ และไม่ตั้งใจ หลายคนชอบดูไลฟ์สตรีมในการขายของ หรือดูคนดังต่างๆ ขายของ มีความสนุก ความบันเทิง มากกว่ากดใส่ตะกร้าตามเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

  1. Localization มากกว่า Global-One-Size-Fit-All

TikTok มีความพยายามในการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ให้เข้ากับตลาดท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมผู้ใช้ในประเทศนั้นๆ ไม่ได้นำเอานโยบายในระดับโกบอลมาปรับใช้กับทุกตลาด ทำให้มีความเข้าถึงผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

 

ปัจจุบันการขายของบน TikTok มี 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. ไลฟ์สตรีม 2. วิดีโอสั้น 3. แท็บร้านค้า และ 4. โปรแกรมพันธมิตร ขายผ่านครีเอเตอร์ โดยที่ร้านค้าที่เปิดโปรแกรมพันธมิตรขายผ่านครีเอเตอร์ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากกว่า มีข้อมูลว่า กลุ่มที่เปิดโปรแกรมโอกาสที่จะขายสินค้าออกชิ้นแรกสูงกว่า 60% ยกตัวอย่างร้าน Mr. K ร้านขายกิมจิ สินค้าปรุงอาหารเกาหลี อาหารญี่ปุ่น เปิดให้บริการมา 2 ปี ปัจจุบันมียอดขายเกิน 20 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่มาจากครีเอเตอร์ถึง 80%

สำหรับงาน Global Creator Culture Summit ได้ปิดฉากลงด้วยความประทับใจไปแล้วเรียบร้อย AIS ในฐานะแม่งาน และในฐานะผู้พัฒนา Digital Infrastructure ของประเทศ นอกเหนือจากเป้าหมายในการส่งมอบประสบการณ์และเทคโนโลยีเพื่อลูกค้าและคนไทยแล้ว ยังพร้อมสนับสนุนด้วยเครื่องมือต่างๆ ตลอดจน เชื่อมโยง องค์ความรู้ ทักษะ ให้แก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ตามแนวคิด Ecosystem Economy หรือ เศรษฐกิจแบบร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Content Creator ที่ถือเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และยังเป็นศูนย์กลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในทุกแง่มุม ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

]]>
1474453