Daimaru – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Dec 2019 03:48:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 หวังดีจริงๆ! ฟังแนวคิดห้าง Daimaru ทำไมปิ๊งไอเดียให้พนักงานติดป้าย “เมนส์มา” https://positioningmag.com/1255465 Sun, 01 Dec 2019 20:39:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255465 กลายเป็นประเด็นที่ร้อนแรงในวงการค้าปลีกแดนปลาดิบ เมื่อห้างสรรพสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง Daimaru ประกาศว่าจะทบทวนแนวคิดที่ให้พนักงานที่มีประจำเดือนสามารถติดตราสัญลักษณ์บนเสื้อระหว่างปฏิบัติหน้าที่

โดยย้ำว่าแนวคิดนี้เน้นความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อบอกให้ลูกค้าทราบถึงความแดงเดือดของพนักงานเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะความตั้งใจของโครงการนี้คือพนักงานที่มีวันนั้นของเดือนจะได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรือยืดเวลาพักได้นานขึ้นหากติดสัญลักษณ์นี้

สัญลักษณ์เจตนาดีแต่เป็นประเด็นนี้ถูกแจ้งเกิดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดย Daimaru ได้เปิดตัวตราสัญลักษณ์ประจำเดือนเป็นตัวการ์ตูนในชื่อ Miss Period จุดพลุเฟสแรกที่สาขา Osaka Umeda ประเดิมก่อนที่พนักงานแผนกสตรีจำนวน 500 คน

โฆษก Daimaru ย้ำว่าบริษัทไม่เคยตั้งใจใช้สัญลักษณ์นี้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับประจำเดือนของพนักงานกับลูกค้า แต่บริษัทต้องการให้พนักงาน มีสิทธิ์เลือกที่จะให้ข้อมูลเพื่อรับความช่วยเหลือในวันที่ร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ ซึ่งสัญลักษณ์และแนวคิดนี้เป็นข้อเสนอแนะจากพนักงานที่ Daimaru ได้รับมากับมือ แถมยังเชื่อมโยงกับการเปิดแผนกใหม่ของห้าง Daimaru ด้วย

มาสคอตน้องเมนส์

ป้ายสัญลักษณ์ที่สื่อถึงเลือดประจำเดือนของพนักงาน Daimaru นั้นมีเนื้อหา 2 ด้าน ด้านแรกคือการเอี่ยวถึงแผนกใหม่ของ Daimaru ซึ่งเน้นแนวคิด ”women’s wellbeing” ที่เปิดตัวไปแล้วเมื่อ 22 พฤศจิกายนเพื่อสื่อถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้หญิง ขณะที่อีกด้านเป็นรูป Seiri-chan มาสคอตน้องเมนส์ที่ใช้ชื่อตรงไปตรงมาว่า seiri ภาษาญี่ปุ่นแปลว่าระดูหรือประจำเดือน

เบื้องหลังแนวคิดโครงการนี้คือการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน โดย Yoko Higuchi โฆษก Daimaru ย้ำกับผู้สื่อข่าว BBC ว่าการปรับนี้จะส่งผลดีกับพนักงานเมื่อมีการแบ่งปันข้อมูลส่วนตัว

ปรากฏว่ามาสคอตน้องเมนส์กลับถูกวิพากษ์หลายทิศทางตั้งแต่การเปิดตัวตราสัญลักษณ์นี้ในวันที่ 21 พฤศจิกายน โดยบางสื่อรายงานอย่างไม่ถูกต้องว่า จุดประสงค์ของ Daimaru คือเพื่อให้ลูกค้า รวมถึงเพื่อนร่วมงานได้ทราบว่าผู้หญิงคนใดมีประจำเดือนอยู่

เจตนาดีแต่คนไม่เข้าใจ

ผู้บริหาร Daimaru ยอมรับว่ามีการร้องเรียนจำนวนมากทั้งจากสื่อและสาธารณชน โดยบางรายมองว่า Daimaru กำลังล่วงละเมิดพนักงาน ขณะที่พนักงานบางคนไม่เข้าใจแนวคิดของตรานี้และไม่เต็มใจที่จะติดป้ายไว้ที่อกเสื้อ

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารย้ำว่ามีพนักงานหลายคนที่แสดงออกในเชิงบวก และมองว่าเป็นวิธีการทำงานแบบยืดหยุ่นที่ทำได้ง่ายและได้ผลจริง เนื่องจากหากใครเห็นเพื่อนร่วมงานที่กำลังมีประจำเดือน ก็สามารถเสนอตัวช่วยยกสิ่งของหนัก ขณะที่หัวหน้างานอาจยอมอนุญาตให้พนักงานที่ปวดท้องหรือเพลียหยุดพักนานกว่าเดิม

สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ Daimaru ยืนยันว่าไม่ได้ยกเลิกนโยบายสัญลักษณ์มาสคอตน้องเมนส์ แต่บริษัทกำลังคิดใหม่เพื่อให้มีวิธีการแบ่งปันข้อมูลแบบเฉพาะที่ไม่แสดงข้อมูลโจ่งแจ้งให้สาธารณชนทราบ ซึ่งจะสอดรับกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่คล้ายกับหลายประเทศที่การมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงมักไม่ค่อยพูดถึงในที่สาธารณะ

ที่มา : Japan Today, BBC

]]>
1255465