Digital ID – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 10 Sep 2023 09:24:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยุโรปทดลอง “ดิจิทัล พาสปอร์ต” โชว์ในสมาร์ทโฟนผ่าน ตม. ได้เลย นำร่องก่อนที่ฟินแลนด์ https://positioningmag.com/1443896 Sat, 09 Sep 2023 12:00:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443896 ครั้งแรกในโลกที่มีการข้ามพรมแดนด้วยการใช้ “ดิจิทัล พาสปอร์ต” บนสมาร์ทโฟน เริ่มนำร่องครั้งแรกในกลุ่มประชากรฟินแลนด์ โดยสหภาพยุโรป (EU) คาดหวังว่าในอนาคตจะสามารถผลักดันให้ประชากร 80% สามารถข้ามพรมแดน 27 ประเทศด้วยดิจิทัล พาสปอร์ตได้ภายในปี 2030

ตั้งแต่สิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โครงการนำร่อง “ดิจิทัล พาสปอร์ต” ในทวีปยุโรปเริ่มทดลองใช้กับกลุ่มประชากร “ฟินแลนด์” ก่อนเป็นกลุ่มแรก โดยมีการใช้งานในกลุ่มพาร์ทเนอร์ 3 ฝ่าย คือ สนามบินเฮลซิงกิ, สายการบิน Finnair และสนามบินอีก 3 แห่งในสหราชอาณาจักร

ประชากรฟินแลนด์ที่บินด้วย Finnair ผ่านเข้าออกระหว่างสนามบินเฮลซิงกิกับ 3 สนามบินในสหราชอาณาจักร สามารถเลือกใช้บริการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ด้วยระบบ “Digital Travel Credential” (DTC) ได้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2024

สำหรับระบบ DTC จะทำให้ผู้เดินทางสามารถผ่าน ตม. ได้เร็วขึ้นและสะดวกขึ้นกว่าปกติ ไม่ต้องต่อคิวอีกต่อไป

โครงการนี้เกิดขึ้นจากการสนับสนุนเงินทุนของ EU ด้วยเม็ดเงิน 2.3 ล้านยูโร (ประมาณ 88 ล้านบาท) หลังจากผ่านช่วงทดลอง 6 เดือนแรกในฟินแลนด์ไปแล้ว EU จะเดินหน้าขยายการนำร่องต่อไปที่สนามบินซาเกร็บ ฟรานโจ ทุดจ์มัน ในประเทศโครเอเชีย และสนามบินสคิปโพล กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

โครงการนี้เป็นโครงการสืบเนื่องมาจากกฎหมาย eIDAS ที่ EU ผ่านกฎหมายออกมาเมื่อปี 2014 ระเบียบนี้สนับสนุนให้เกิดการสร้างระบบ ‘Digital ID’ ร่วมกันของทั้งสหภาพยุโรป เพื่อทำให้การทำธุรกิจและธุรกรรมระหว่างบุคคลสามารถทำได้ง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องกังวลว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในส่วนใดของ EU

ระบบ DTC ของยุโรปที่เริ่มใช้นี้ จะไม่เหมือนกับระบบ “หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์” หรือ “ไบโอเมตริกพาสปอร์ต” เพราะ DTC เป็นการเก็บข้อมูลตรวจสอบตัวตนบุคคลไว้ในมือถือ แต่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการฝังไมโครชิปไว้ในตัวเล่มหนังสือเดินทางเลย และในไมโครชิปจะมีการบรรจุข้อมูลทางชีวภาพที่ระบุตัวตนเจ้าของเล่มหนังสือเดินทาง

ประเทศส่วนใหญ่ในโลกปัจจุบันนี้เปลี่ยนมาใช้ไบโอเมตริกพาสปอร์ตกันแล้ว เพราะเมื่อเปลี่ยนมาฝังไมโครชิปไว้ในเล่ม จะทำให้การปลอมแปลงหนังสือเดินทางทำได้ยากขึ้น เนื่องจากบริเวณหน้าที่ฝังไมโครชิปจะผลิตขึ้นในลักษณะคล้ายกับบัตรเครดิต ทำด้วยพลาสติกเป็นชั้นๆ ที่อัดติดกัน จนไม่สามารถแยกชิ้นส่วนออกมาได้โดยไม่สร้างความเสียหายต่อหน้าพาสปอร์ตนั้นทั้งแผ่น

Source

]]>
1443896
คุยเรื่อง “ไบโอเมตริก” กับ ETDA เทคโนโลยี “ยืนยันตัวตน” ที่ช่วยพัฒนาประเทศให้สะดวกปลอดภัย https://positioningmag.com/1386067 Fri, 20 May 2022 04:00:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386067

การใช้งาน “ไบโอเมตริก” เพื่อพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลกำลังแพร่หลายมากขึ้นด้วยอุปกรณ์ซอฟต์แวร์ทันสมัยในราคาที่ถูกลง หน่วยราชการไทยเองมีการนำมาใช้แล้วในหลายกิจกรรม เช่น การทำพาสปอร์ต การยืนยันตัวตนแรงงานประมง และยังกำหนดเป็นการดำเนินงานในแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564-2565 เกี่ยวกับการผลักดันการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ “Digital ID” ทำให้ ETDA เข้ามาสนับสนุนจัดทำมาตรฐานอุปกรณ์-ซอฟต์แวร์ไบโอเมตริก และร่วมส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้พัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้ด้วยตนเอง

เทคโนโลยีชีวมิติ หรือ “ไบโอเมตริก” (Biometrics Technology) อาจจะฟังดูเป็นคำใหม่ที่ไม่คุ้นชิน แต่จริงๆ เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตของคนไทยมานานนับตั้งแต่ไทยมีการเก็บข้อมูล “ลายนิ้วมือ” ของประชาชนด้วยหมึกพิมพ์ลงบนกระดาษ หรือเอกสารยืนยันต่างๆ ใช้วิธีลง “ลายเซ็น” เป็นหลักฐาน เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีชีวมิติ เพราะใช้ “ข้อมูลชีวภาพ” ที่คนคนหนึ่งจะมีไม่ซ้ำกับผู้อื่นเพื่อพิสูจน์ตัวตนของบุคคลนั้น

อย่างไรก็ตาม ยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาดีขึ้น ทำให้การยืนยันตัวตนด้วยไบโอเมตริกสามารถใช้อุปกรณ์และซอฟต์แวร์มาแทนที่ดุลยพินิจของมนุษย์ การยืนยันตัวตนบุคคลแม่นยำและรวดเร็วกว่าเดิมมากด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ ปลดล็อกความเป็นไปได้ที่จะนำไบโอเมตริกไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย

เราจึงไปพูดคุยกับ “ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด” ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เพื่อให้เห็นภาพการใช้งานไบโอเมตริกในไทย และโอกาสการพัฒนาในอนาคต รวมถึงบทบาทของ ETDA ในการเข้ามาวางมาตรฐานการใช้งาน และส่งเสริมผู้ประกอบการไทยด้านเทคโนโลยีไบโอเมตริก


“ไบโอเมตริก” คืออะไร?

ดร.ศักดิ์อธิบายโดยสังเขปว่า เทคโนโลยีชีวมิติ หรือ ไบโอเมตริก คือการพิสูจน์ตัวตนบุคคลด้วย “ข้อมูลชีวภาพ” ของบุคคลนั้น ซึ่งข้อมูลชีวภาพคือสิ่งที่แต่ละบุคคลมีไม่ซ้ำกันหรือซ้ำกันได้ยาก เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ ม่านตา เสียง ลายเซ็น ท่าเดิน ดีเอ็นเอ

เมื่อสามารถยืนยันตัวบุคคลได้ ก็นำมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมได้หลายอย่างที่ต้องการรู้ว่า ‘คนคนนั้นคือใคร’ เช่น การผ่านเข้าออกอาคารหรือพื้นที่เฉพาะ การทำเอกสารสำคัญ การพิสูจน์ตัวตนคนร้าย การติดตามตัวบุคคลในที่สาธารณะ

การจะนำไปใช้ทำกิจกรรมอะไร คือ โจทย์ที่กำหนดว่า การใช้ข้อมูลชีวภาพส่วนใดของมนุษย์มาพิสูจน์ตัวตนจึงจะเหมาะสมที่สุด เพราะการพิสูจน์ข้อมูลชีวภาพแต่ละส่วนใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ต่างกัน ค่าใช้จ่ายต่างกัน และให้ความแม่นยำในระดับที่แตกต่างกันด้วย

ดร.ศักดิ์อธิบายว่า ปัจจุบันข้อมูลชีวภาพที่นิยมใช้มากที่สุดคือ “ใบหน้า” รองลงมาคือ “ลายนิ้วมือ” ตามด้วย “ม่านตา” ซึ่งเป็นเพราะค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ในการสแกนใบหน้ามีราคาถูกที่สุด แม้แต่ในสมาร์ทโฟนปัจจุบันก็สามารถทำได้

อย่างไรก็ตาม ใบหน้าเป็นระบบที่ยังมีช่องโหว่ที่ทำให้พิสูจน์ตัวตนคลาดเคลื่อนได้ เช่น ฝาแฝดที่ใบหน้าคล้ายกัน บุคคลที่ทำศัลยกรรมหลายจุดจนอัตราส่วนใบหน้าเปลี่ยนไป หรือกระทั่งสภาพแวดล้อมการใช้งานก็ต้องการแสงที่เพียงพอ ทำให้ระบบที่ถูกที่สุดอย่างใบหน้าไม่ใช่คำตอบของทุกกิจกรรม บางกิจกรรมที่ไม่ต้องการความแม่นยำสูงสุด เช่น การเข้าออกสำนักงาน อาจจะใช้การสแกนใบหน้าได้ แต่ถ้าหากเป็นการยืนยันตัวคนร้ายของตำรวจ อาจจะต้องใช้ทั้งใบหน้าและลายนิ้วมือ เพราะลายนิ้วมือเป็นสิ่งที่มีโอกาสซ้ำกับผู้อื่นครบทั้งสิบนิ้วยากมาก


เพิ่มความสะดวกและปลอดภัยให้กับประชาชน

เทคโนโลยีชีวมิติที่ใช้อุปกรณ์สมัยใหม่และใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการนั้น เริ่มนำมาใช้แล้วในบางกิจกรรมของไทย เช่น หนังสือเดินทาง มีการถ่ายภาพและพิมพ์นิ้วมือไว้ เมื่อเราเดินทางเข้าออกประเทศจึงสามารถใช้เครื่องสแกนอัตโนมัติตรวจสอบได้ หรือล่าสุดเมื่อไทยต้อง ขึ้นทะเบียนแรงงานประมงถูกกฎหมาย ก็มีการนำระบบสแกนม่านตามาใช้งาน ซึ่งเหตุที่ต้องใช้ม่านตาเพราะแรงงานประมงมักไม่เหลือลายนิ้วมือเนื่องจากการทำงานหนัก เป็นอีกกรณีที่ทำให้เห็นว่าบริบทของการนำไปใช้มีความสำคัญต่อการเลือกข้อมูลชีวภาพที่จะใช้งาน

อีกโครงการที่ประเทศไทยโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กำลังเป็นแม่งานจัดทำคือ ระบบ “Digital ID” เป้าหมายของโครงการนี้คือ ให้ประชาชนพิสูจน์ตัวตนด้วยระบบไบโอเมตริกในสมาร์ทโฟนของตนเอง ซึ่งจะทำให้ประชาชนไม่ต้องเดินทางไปสถานที่ราชการเพื่อติดต่อธุรกรรมต่างๆ เช่น ย้ายทะเบียนบ้าน โอนบ้าน-ที่ดิน เพราะระบบสามารถตรวจสอบตัวตนจริงของผู้ยื่นคำร้องได้ผ่านการสแกนใบหน้าและลายนิ้วมือบนมือถือแล้ว

ดร.ศักดิ์ ยังกล่าวถึงอนาคตด้วยว่า หากระบบ Digital ID ทำสำเร็จและใช้กันอย่างแพร่หลาย จะทำให้บริการอื่นๆ สามารถใช้ฐานข้อมูลเดียวกันในการทำงานได้ เช่น ระบบ Telemedicine (พบแพทย์ทางไกล) จะยืนยันตัวตนได้ว่าเป็นคนไข้ตัวจริง และเป็นแพทย์ตัวจริง สร้างความอุ่นใจให้ผู้ใช้บริการ

ขณะที่ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในต่างประเทศ ดร.ศักดิ์ยกตัวอย่าง “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ซึ่งมีระบบรู้จำใบหน้า (Facial Recognition) ร่วมกับเครือข่ายกล้อง CCTV ที่แข็งแกร่ง จากประชากรที่มีถึงกว่า 1,400 ล้านคน แต่ระบบซอฟต์แวร์ของจีนสามารถสแกนใบหน้าประชาชนและตรวจสอบจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่นี้ได้ภายใน 15 นาทีเพื่อหาว่าคนผู้นั้นเป็นใคร ซึ่งทำให้การติดตามคนร้ายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับประเทศ


ช่องโหว่ของ “ไบโอเมตริก”

โดยหลักการแล้ว ดร.ศักดิ์ มองว่าการใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกแทนการตรวจสอบโดยมนุษย์ จะมีความแม่นยำมากกว่าและรวดเร็วกว่า เพราะเลี่ยงการใช้อคติส่วนตัวของมนุษย์ที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาด

อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์เบื้องหลังของเทคโนโลยีนี้ต้องใช้ระบบ AI และ แมชชีน เลิร์นนิ่ง และผู้ที่ป้อนข้อมูลตั้งต้นให้ AI ก็คือมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิด ‘ช่องโหว่’ มาตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เช่นกัน

ตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เช่น ในสหรัฐอเมริกามีซอฟต์แวร์สแกนใบหน้าหลายบริษัทที่เผชิญปัญหา “อคติเหยียดสีผิว” ซอฟต์แวร์ไม่สามารถแยกความต่างของใบหน้าคนแอฟริกันอเมริกันได้ เพราะข้อมูลตั้งต้นที่ AI ได้รับมาใช้เป็นพื้นฐานนั้นส่วนใหญ่เป็นภาพคนอเมริกันผิวขาว

อีกกรณีที่คล้ายกันในออสเตรเลีย พบว่าซอฟต์แวร์สแกนใบหน้าไม่รู้จักใบหน้าตาชั้นเดียวแบบคนเอเชีย และออกคำสั่งให้คนเอเชีย ‘ลืมตาเพื่อถ่ายภาพ’ กลายเป็นการเหยียดเชื้อชาติโดยไม่ตั้งใจ เนื่องจากผู้ดูแลระบบ AI ลืมคิดถึงความหลากหลายด้านเชื้อชาติ

เหล่านี้คือสิ่งที่ ดร.ศักดิ์ มองว่าวงการไบโอเมตริกจะต้องใช้ความระมัดระวังในการพัฒนาเครื่องมือและซอฟต์แวร์ ขณะที่ผู้นำไบโอเมตริกไปใช้ต้องระวังเรื่องการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และการนำไปใช้ในทางที่ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วย


มาตรฐานไบโอเมตริกที่แนะนำจาก ETDA

สำหรับความเกี่ยวข้องของ ETDA ต่อเทคโนโลยีไบโอเมตริก ดร.ศักดิ์ระบุว่า ล่าสุด ETDA ร่วมกับ      ม.เกษตรศาสตร์ ได้ริเริ่มจัดทำ “(ร่าง) ข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการใช้งานเทคโนโลยีชีวมิติสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน” ข้อเสนอชิ้นนี้จะครอบคลุมหลายด้าน ตั้งแต่การพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีชีวมิติ การจัดเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม จนถึงข้อแนะนำการประยุกต์ใช้

แต่ส่วนที่เป็นไฮไลต์ของร่างข้อเสนอแนะนี้คือ การเสนอมาตรฐานอุปกรณ์และซอฟต์แวร์เทคโนโลยีไบโอเมตริกว่าควรจะแม่นยำแค่ไหน จึงจะถือว่านำมาใช้งานได้จริง

โดยเรื่องนี้ ETDA จะร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จัดตั้ง “ศูนย์ทดสอบไบโอเมตริก” ขึ้น เพื่อใช้เป็นหน่วยงานกลางในการทดสอบเทคโนโลยีว่ามีความแม่นยำกับข้อมูลชีวภาพของคนไทยหรือไม่ เริ่มต้นจากการพิสูจน์ตัวตนด้วย “ใบหน้า” ก่อนเป็นส่วนแรก ซึ่ง ดร.ศักดิ์ คาดว่าจะเริ่มการทดสอบได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565

นอกจากการจัดทำมาตรฐานแล้ว ดร.ศักดิ์กล่าวว่า ETDA มีหน้าที่ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้คิดค้นวิจัยเทคโนโลยีไบโอเมตริกของตนเองด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีนี้นับว่าเกี่ยวพันกับข้อมูลอ่อนไหวของประชากร ถ้าหากว่าประเทศไทยต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศเท่านั้น อาจจะสะเทือนต่อความมั่นคงของชาติได้!

]]>
1386067