Digital Lending – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Dec 2022 13:51:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 MONIX เผยแผนธุรกิจ ปั้นแอปสินเชื่อ FINNIX สู่ Top 3 มองเป้าขยายธุรกิจไปยังอาเซียนหลังจากนี้ https://positioningmag.com/1411447 Wed, 07 Dec 2022 13:23:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411447 มันนิกซ์ เผยแผนธุรกิจในปี 2023 ปั้นแอปฯ FINNIX สู่ผู้เล่น 1 ใน 3 ของตลาดนาโนไฟแนนซ์ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ รวมถึงแผนที่จะ IPO ภายในปี 2025 ด้วย

ถิรนันท์ อรุณวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท มันนิกซ์ จำกัด (MONIX) ได้กล่าวถึงตลาดสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ยังถือว่าเติบโต โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นปัจจุบันมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ราว 31,000 ล้านบาท และมีผู้เล่นในตลาด 52 ราย แต่ถิรนันท์ก็ได้ชี้ว่าแม้ว่าจะมีผู้เล่นมากขึ้น แต่ก็มีผู้เล่นรายเก่าที่ออกจากตลาดออกไปด้วย

สำหรับ MONIX ก่อตั้งขึ้นในปี 2020 เป็นบริษัทร่วมทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน SCBX ถือหุ้น 60% และ Abakus Group ฟินเทคยูนิคอร์นจากประเทศจีนถือหุ้น 40%

เธอได้กล่าวถึง ฟินนิกซ์ (FINNIX) แอปพลิเคชันให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ของ MONIX นั้นปัจจุบันมีให้บริการผ่าน 3 แอปสโตร์แล้ว หลังจากเริ่มต้นธุรกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้วกว่า 650,000 ราย เติบโตมากถึง 58% มีสินเชื่อรวมกว่า 15,000 ล้านบาทเติบโตมากถึง 117% จากปี 2021

บริการของ FINNIX นั้นได้แยกออกมาจากบริการสินเชื่อของ SCB โดยเธอได้กล่าวว่าแอปพลิเคชันให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น

กลุ่มลูกค้าสำคัญของแพลตฟอร์มส่วนใหญ่นั้นเป็นกลุ่มอาชีพอิสระ หรือผู้ที่มีรายได้น้อย ฐานลูกค้าคือรายได้เฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ราวๆ 10,000 บาท จุดเด่นของ FINNIX คือลูกค้าสามารถเลือกจ่ายหนี้เท่าไหร่ก็ได้ตามใจ และเป็นการลดต้นลดดอก ซึ่งแตกต่างกับสินเชื่อนอกระบบ ขณะเดียวกันถ้าหากสถานการณ์ของลูกค้าเปลี่ยนไป เช่น ลูกค้าอยู่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาก็สามารถปรับเปลี่ยนวงเงินหรือดอกเบี้ยได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ FINNIX ยังมีการนำระบบ AI มาใช้ในการอนุมัติสินเชื่อจากข้อมูลของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ เช่น การดู SMS หรือสมุดโทรศัพท์ของลูกค้า โดยลูกค้าเป็นคนให้สิทธิ์มอบข้อมูลให้กับแอปพลิเคชัน ขณะเดียวกันทาง MONIX เองก็พยายามที่จะลดต้นทุนผ่านการใช้ระบบไอทีให้มากที่สุดรวมถึง

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ MONIX ยังกล่าวว่ามีกำไรตั้งแต่กลางปี 2021 และ NPL ยังถือว่าอยู่ในเป้าหมายของบริษัท

สำหรับเป้าหมายของ MONIX ในปี 2023 ที่ตั้งเป้าไว้ เช่น

  • ยอดดาวน์โหลดแอป FINNIX 12 ล้านครั้ง
  • จำนวนลูกค้า 1 ล้านราย ซึ่งมองลูกค้าในต่างจังหวัดไว้มากยิ่งขึ้น
  • มีบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เช่น การคิดอัตราดอกเบี้ยหรือวงเงินที่แตกต่างกันตามความเสี่ยงของลูกค้า
  • มีระบบการให้รางวัลกับลูกค้าถ้าหากเล่นเกมภายในแอปฯ หรือส่วนลดในการซื้อสินค้า
  • มีการขยายพันธมิตรใหม่ๆ หรือการเพิ่มโอกาสให้กับลูกค้า เช่น การหางานใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เป็นต้น
  • การให้ความรู้ทางด้านการเงิน

เธอยังชี้ว่าตลาดนาโนไฟแนนซ์ของไทยนั้นมีโอกาสเติบโตแน่นอน อย่างไรก็ดีเธอชี้ว่าผู้ประกอบการกลับต้องระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น รวมถึงการประเมินความเสี่ยงของลูกค้า และมองว่าถ้าหากปัจจัยทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปก็อาจทำให้มั่นใจในการปล่อยสินเชื่อได้

ถิรนันท์ ยังได้กล่าวว่าเป้าหมายของบริษัทหลังจากนี้คือเป็นผู้เล่น 1 ใน 3 ของตลาดสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ที่ลูกค้าคิดถึง นอกจากนี้เธอยังกล่าวว่ามีแผนที่จะขยายธุรกิจไปในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ ไม่เพียงเท่านี้บริษัทยังต้องการที่จะ IPO ภายในปี 2025 อีกด้วย

]]>
1411447
กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ เปิดตัว Snap Cash สินเชื่อออนไลน์ จับกลุ่มลูกค้าฟรีแลนซ์ ผู้เป็นหนี้นอกระบบ https://positioningmag.com/1404446 Mon, 17 Oct 2022 12:09:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404446 กรุงศรี First Choice ได้เปิดตัวสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เน้นจับกลุ่มลูกค้าฟรีแลนซ์ ผู้ที่มีอาชีพอิสระ หรือแม้แต่ผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบ อนุมัติไวภายใน 5 นาที วงเงิน 10,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้นานถึง 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 25% ต่อปี

พัทธ์หทัย กุลจันทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด ได้กล่าวว่าสภาพเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวจริง บริษัทไม่ได้ปล่อยสินเชื่อแบบเร่งการเติบโต หนี้เสียของบริษัทไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด อยู่ที่ราวๆ 2% เท่านั้น เธอยังชี้ว่าทิศทางของสินเชื่อส่วนบุคคลยังเติบโตได้ดี

ล่าสุดทางบริษัทได้เปิดตัว First Choice Snap Cash โดยพัทธ์หทัย กล่าวว่าถ้านึกถึงบริการสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์อยากให้นึกถึงแบรนด์นี้ด้วย ซึ่ง First Choice Snap Cash นั้นได้ลดความยุ่งยากในการขอสินเชื่อ และยังทราบผลรวดเร็วภายใน 5 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่ต้องใช้เอกสารยืนยันรายได้อีกด้วย

เธอชี้ว่า First Choice Snap Cash เหมาะกับ ฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ แม้แต่คนที่มีอาชีพหลากหลาย โดยให้วงเงินสูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนั้นเป็นธรรมตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ และสามารถผ่อนชำระหนี้ได้นานสุดถึง 12 เดือน

แม้ว่าจะมีความกังวลในเรื่องของสัดส่วนหนี้ในครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น พัทธ์หทัย ยังชี้ว่า First Choice Snap Cash ถือเป็นการเข้ามาตอบโจทย์ให้ลูกค้าที่เป็นหนี้นอกระบบมากกว่าเป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้ ซึ่งการนำกลุ่มลูกค้าที่เป็นหนี้นอกระบบที่ยังเข้าไม่ระบบเข้ามาสู่ระบบจะเป็นการลดภาระให้ลูกหนี้มากกว่า และเมื่อเขามีข้อมูลให้ระบบเครดิตแล้ว ยังสามารถต่อยอดไปสู่สินเชื่อ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

ผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อ สามารถขอสินเชื่อได้จาก Application U Choose ซึ่งการพิจารณานั้นใช้ข้อมูลทางเลือกต่างๆ ที่บริษัทใช้ โดยข้อมูลที่ลูกค้ากรอกลงไป รวมถึงการให้ความยินยอมให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า

พัทธ์หทัย ได้ชี้ว่า First Choice Snap Cash เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดสินเชื่อออนไลน์ที่กำลังดุเดือดนั้น แพลตฟอร์มของบริษัทสามารถโอนเงินเข้าได้ทุกธนาคาร รวมถึงเปิดกว้างเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เพราะไม่ต้องเป็นลูกค้าสถาบันการเงินก็ขอสินเชื่อได้

เป้าหมายของ First Choice Snap Cash นั้น พัทธ์หทัย ได้คาดการณ์ว่าภายใน1 ปีคือมีลูกค้า 55,000 ราย ปล่อยสินเชื่อได้ 500 ล้านบาท

]]>
1404446
“ณญาณี เผือกขำ” แม่ทัพผู้ทรานส์ฟอร์ม “กรุงศรี คอนซูมเมอร์” สู่โลกการเงินยุคใหม่ https://positioningmag.com/1390448 Thu, 30 Jun 2022 11:00:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390448

ปัจจุบันทุกอุตสาหกรรมต่างต้องเจอความท้าทายรอบด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลก สิ่งแวดล้อม โรคระบาด “โลกดิจิทัล” ที่หมุนอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ชั่วข้ามคืน อุตสาหกรรมการเงินเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลายคนมองว่าถูก Disrupt อย่างหนัก แต่จริง ๆ แล้วดิจิทัลและนวัตกรรมกลับเข้ามาช่วยเปิดประตูสู่ยุคการเงินแห่งอนาคตมากกว่า

“กรุงศรี คอนซูมเมอร์” เป็นอีกหนึ่งผู้เล่นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ปัจจุบันทำตลาดแบรนด์บัตรเครดิตกรุงศรี, บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์, บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน, และบัตรเครดิตโลตัส

เมื่อปี 2563 กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้จัดทัพองค์กรครั้งใหญ่ แต่งตั้ง ‘ณญาณี เผือกขำ’ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสายงานการเงินมากว่า 20 ปี และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ณญาณีช่วยนำธุรกิจของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้เติบโตอย่างมั่นคงและแข็งแกร่งในฐานะผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลชั้นนำของไทย

แน่นอนว่ามิชชั่นสำคัญของณญาณีคือการทรานส์ฟอร์มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้ก้าวสู่โลกการเงินยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมสร้างความเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในภาวะที่ต้องเจอกับความท้าทายรอบตัว


ก้าวทันโลกการเงินยุคใหม่

หลายคนอาจนิยมคำว่า “โลกการเงินยุคใหม่” แตกต่างกันไป อาจรวมไปถึงโลกของบิทคอยน์ หรือสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ แต่ในมุมมองของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ โลกการเงินยุคใหม่ ก็เหมือนกับโลกใบใหม่ของลูกค้า โลกในการใช้จ่ายเงินที่มีประสบการณ์ใหม่ ๆ ตามไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของลูกค้า

สถานการณ์การระบาดของCOVID-19 ทำให้โลกการเงินเปลี่ยนแปลงเร็วยิ่งขึ้น เป็นตัวเร่งปฎิกิริยาการใช้จ่ายเงินเข้าสู่สังคมไร้เงินสดไปโดยปริยาย ณญาณีมองว่าโลกการเงินเปลี่ยนไปในเชิงที่ว่าลูกค้าไม่ได้เข้ามาใช้บริการตามจุดบริการเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป รวมถึงพฤติกรรมการใช้ “บัตรพลาสติก”ก็เปลี่ยนไป หันมาทำธุรกรรมผ่านโลกออนไลน์มากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อคนรุ่นใหม่เปิดรับเทคโนโลยีมากขึ้น “ข้อมูล” ก็มีบทบาทสำคัญขึ้นในการประกอบธุรกิจ ทั้งในแง่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์และเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพื่อที่จะได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจ รวมถึงการใช้ข้อมูลมาประกอบการพิจารณาสินเชื่อ และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป

“โลกการเงินยุคใหม่การใช้จ่ายไม่ได้หมายถึงการเดินไปช้อปปิ้งที่ห้างหรือหน้าร้านเพียงอย่างเดียว แต่ลูกค้านิยมสั่งของทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น ยอดใช้จ่ายออนไลน์เติบโตสูงมาก ปัจจุบันภาพรวมของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโต 13% ซึ่งถือว่ากลับมาค่อนข้างดีขึ้น ยอดการใช้จ่ายในต่างประเทศก็เริ่มเติบโต เชื่อว่าโอกาสที่คนไทยได้เดินทางจะทำให้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ เทรนด์การใช้จ่ายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาจมีช่วงที่ดรอปไปบ้างจากมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ บวกกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่น้อยลง แต่ภาพรวมของการช้อปปิ้งออนไลน์ช่วงต้นปีนี้เติบโตสูงถึง 19% เทียบกับปีที่แล้ว อีกกลุ่มหนึ่งที่เติบโตอย่างน่าสนใจไม่แพ้กันก็คือกลุ่มฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เติบโตสูงถึง 72%”

ณญาณีเริ่มฉายภาพวิธีคิดในการทำธุรกิจของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ว่าต้องปรับเปลี่ยนตามสภาวะการดำเนินธุรกิจและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป มีการเน้นระบบดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งนำเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูล เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดีไซน์ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงใจ

“การลงทุนในช่วง 3 ปีนี้จะเน้นพัฒนาระบบดิจิทัลและ Data เป็นส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น ให้บริการผ่านระบบอัตโนมัติ นำเรื่อง Data และ AI มาเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการทุกอย่างของเรา รวมถึงปรับทัศนคติของคนในองค์กรให้เข้าใจโลกอนาคตด้วย ต่อไปถึงลูกค้าจะไม่พกบัตรเครดิตที่เป็นบัตรพลาสติกก็ยังช้อปปิ้งได้ตลอดเวลา ทุกวันนี้ใช้วิถีใหม่สามารถสแกนจ่ายด้วย QR Code บัตรเครดิตได้เลย ลดการสัมผัสเพิ่มความสะดวกสบาย ไม่ต้องพกบัตรหลายใบ และก็ไม่ลืมที่จะนำเสนอโปรโมชันคุ้มค่าที่ตอบโจทย์ลูกค้าด้วยและแน่นอนว่าเมื่อลูกค้าก็หันมาใช้จ่ายผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เทคโนโลยีการชำระเงินและบริการต่าง ๆ ของเราก็ต้องพัฒนาให้ก้าวทัน”


ปรับตัวสู่โลกดิจิทัล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้ความสำคัญและลงทุนที่เกี่ยวกับ Data และดิจิทัลอย่างมาก เพื่อมุ่งสู่การเป็น Data-Driven Company เช่น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการตลาด การบริการ และการดำเนินธุรกิจ มีการจัดทำ Data Lake เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่งและหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Demographic Data, Behavioral Data, Social Data เป็นต้น ซึ่งแต่ละ Data Point จะถูกนำมารวมและวิเคราะห์เพื่อจัดกลุ่มลูกค้ารวมทั้งยังมีการนำ Marketing AI มาใช้เพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตรงใจและตรงตามความต้องการลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม

ณญาณีเล่าว่า “เรามีบัตรเครดิตหลากหลาย โปรโมชันของเราก็มีมากมาย  แต่ก่อน ถ้าเราทำการตลาดโดยที่ไม่วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า โปรโมชันที่เราส่งไปอาจจะไม่ตอบโจทย์ วันนี้เราเห็น Data ว่าลูกค้าใช้อะไร ชอบอะไร เราก็สามารถนำเสนอสิ่งที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้น ๆ ได้แบบ Personalized กระบวนการทำงานและการให้บริการของเราก็เช่นกัน ต้องปรับให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของลูกค้าด้วย ตอนนี้ ถ้าลูกค้าอยากได้บัตรเครดิต ถ้าไม่สะดวกเดินทางมาที่สาขา ก็สมัครทางออนไลน์ ทางแอป UCHOOSE ได้เลย  นอกจากนี้ เรายังออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเน้นตอบโจทย์คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ เช่น บัตร Krungsri NOW ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือน พ.ย. 2564 ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี ปัจจุบันมียอดสมัครบัตรใหม่อยู่ที่ 25,000 ใบ ในปีนี้ตั้งเป้า 36,000 ใบ ส่วนแอปพลิเคชัน UCHOOSE มีอัตราการใช้งานของลูกค้าอยู่ที่ 80% ส่วน UCASH บริการเบิกเงินสดจากวงเงินบัตรผ่านแอปโดยโอนเข้าบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์มีการปล่อยสินเชื่อแล้ว 30,000 ล้านบาท”

นอกจากนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังเปิดช่องทางบริการใหม่เช่น Krungsri Consumer Line OA และ Facebookรวมทั้งพัฒนาบริการใหม่ เช่น บริการยืนยันตัวตนด้วยเสียง, บริการสอบถามข้อมูลบัญชีบัตรผ่านทาง FB Messenger รวมถึง AI MANOW สำหรับให้ข้อมูลแก่ลูกค้าผ่านคอลเซ็นเตอร์ เพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้า ให้สามารถตรวจสอบข้อมูลและทำรายการเกี่ยวกับบัญชีบัตรได้ง่าย ๆ ด้วยตนเองในหลากหลายช่องทาง

ในปีนี้กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังเตรียมขยายแพลตฟอร์ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลให้มากขึ้น โดยหนึ่งไฮไลท์สำคัญในปีนี้ก็คือ การทำ Digital Lending หรือการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ให้ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ได้เลย เพียงแค่สแกนเอกสารประกอบการสมัครเข้าไปในระบบผ่านแอปจากนั้นก็จะทราบผลการอนุมัติภายในเวลาไม่นาน

“สำหรับ Digital Lending เรามีแผนจะร่วมมือกับ Partner ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล ครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีราวสองสามรายที่ทำงานร่วมกัน การทำธุรกิจยุคใหม่จะเป็นลักษณะของความร่วมมือ เชื่อมต่อ สร้าง Digital Ecosystem พันธมิตรของเรามีลูกค้าจำนวนมาก ส่วนเรามีความเชี่ยวชาญในการปล่อยสินเชื่อและการทำธุรกิจบัตรเครดิต มีระบบและเทคโนโลยีต่าง ๆ พร้อมให้บริการ เรามีแผนจะร่วมมือกันออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งคาดว่า ยอดสินเชื่อ Digital Lending น่าจะเติบโตไปเรื่อย ๆ คาดว่าใน3 ปี จะเติบโตคิดเป็น 50%ของยอดสินเชื่อรวม”

นอกจากนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังมีแผนในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ เช่น บริการ Collection as a Service  ซึ่งน่าจะเริ่มให้บริการให้กับพันธมิตรที่สนใจได้ในช่วงปลายปีนี้


ทำงานแบบ Flexi Workplace

นอกจากการลงทุนด้านดิจิทัลแล้ว การลงทุนด้านบุคลากรก็ไม่แพ้กัน ณญาณีบอกว่า ต้องเปลี่ยนการทำงานจาก ‘Manual’ เป็น ‘Digital’ ต้องพัฒนาศักยภาพของบุคลากรมารองรับการทำงานในโลกอนาคต

ด้วย COVID-19 ทำให้วิถีการทำงานเปลี่ยนไป หลายองค์กรอาจจะเรียกการทำงานรูปแบบใหม่ว่า Work from Anywhere บ้าง หรือการทำงานแบบ Hybrid บ้าง แต่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้ปรับวิถีการทำงานรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด  “Flexi Workplace, Flexi Work-Life”โดยพนักงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและมีลักษณะงานที่เหมาะสม จะได้รับสิทธิ์ให้ทำงานแบบ Hybrid ได้

“ที่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จะเรียกว่าการทำงานแบบ Flexi Workplaceสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เราซัพพอร์ตเขา มีการทำประเมินว่าพนักงานอยากเข้าทำงานที่ออฟฟิศกี่เปอร์เซ็นต์ ผลออกมาว่าไม่มีใครอยากเข้ามาออฟฟิศ 100% เลยต้องปรับการทำงานให้ตรงใจ จะทำงานที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ แต่อาจจะต้องมีเข้าออฟฟิศมาเจอกันบ้าง เพื่อความสัมพันธ์ในทีม นอกจากนี้เรายังเตรียมดีไซน์ออฟฟิศใหม่ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์การทำงานแบบใหม่ด้วย เรื่องการสื่อสารภายในองค์กรและความสัมพันธ์ในทีมเราก็ให้ความสำคัญ เรามี แอป WE Connectเป็นช่องทางสื่อสารหลักของคนในองค์กร เป็นแหล่งรวมข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งเป็นช่องทางในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้าน HR เช่น แจ้งลาป่วย-ลากิจ-ลาพักร้อน เป็นต้น เรียกว่าถ้าต้องการติดต่องานด้านบุคคล สามารถใช้งานผ่านเครื่องมือนี้ได้เลย รวมทั้งยังมี AI CHATBOT ชื่อ สายฟ้าคอยให้บริการตอบคำถามพนักงานที่เกี่ยวกับเรื่อง HR ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชม. อีกด้วย”

นอกจากการดีไซน์การทำงานให้ตอบโจทย์คนทำงานแล้ว ยังต้องมีการเพิ่มทักษะ Upskill และ Reskill อย่างต่อเนื่อง กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงมีคอร์สฝึกอบรมต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ชื่อ ‘UpVel by Krungsri Consumer’ ทำให้พนักงาน ได้ปรับสู่การเรียนผ่านดิจิทัลมากขึ้น ลดข้อจำกัดต่าง ๆ ไปได้

“อย่างแต่ก่อนจัดฝึกอบรมแต่ละครั้งสามารถเรียนได้ครั้งละ 40 คน ทำให้พนักงานไม่สามารถเรียนได้ครบถ้วน ปัจจุบันปรับมาเป็นเรียนทางออนไลน์ รองรับได้ 5,000-6,000 คน ได้อย่างสบาย ๆ ยืดหยุ่นมากขึ้นทำให้เราสามารถพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เพิ่มศักยภาพให้พนักงานของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ” 


ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศดิจิทัล เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและเข้าใจลูกค้า

เนื่องจากข้อมูลและความสามารถในการเข้าถึงลูกค้านับเป็นสิ่งสำคัญ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงมุ่งสร้างความเติบโต โดยมุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตร สร้างแพลตฟอร์มทางการเงินเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น พร้อมเพิ่มโอกาสทางการตลาดและสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน

โดยความร่วมมือดังกล่าว เป็นความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในธุรกิจต่าง ๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์-บริการ-และโปรโมชันที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า รวมไปถึงความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรี ภายใต้กลยุทธ์ ‘Krungsri One Retail’ ที่มุ่งเน้นผสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในเครือกรุงศรี โดยมุ่งเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ และช่องทางการขาย โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ณญาณีเล่าถึงยุทธศาสตร์ยิ่งใหญ่ Krungsri One Retail ว่า “กรุงศรีมีธุรกิจในเครือมากมาย ทั้งส่วนของธนาคาร, เงินฝาก, สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต, สินเชื่อยานยนต์, ผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมถึงผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ วันนี้ เรามีการคุยกันเป็นทิศทางของกรุ๊ป ทำให้ต่อจากนี้เราจะทำงานแบบยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ลูกค้ารายย่อยทั้งหมดในเครือราว 12 ล้านราย ทุกหน่วยธุรกิจภายใต้กลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคล ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร, กรุงศรี คอนซูมเมอร์, กรุงศรี ออโต้, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด จะร่วมมือกัน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อยกระดับประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าแบบไร้รอยต่อ”

“สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมดีต่อวงการการเงิน รวมถึงดีต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน เพราะมีการให้บริการอย่างเหมาะสม มีบริการที่ตรงใจ ลูกค้าเองก็จะได้รับโปรโมชันดี ๆ จากการวิเคราะห์ว่าลูกค้าต้องการอะไร ต้องเสริมผลิตภัณฑ์อะไร ร่วมมือทำงานเป็น ‘One Team’ ที่มอบบริการและผลิตภัณฑ์ที่ดี ถูกที่ ถูกเวลา ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง ทำให้เราตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินของลูกค้าได้ทุกมิติ”

นอกจากนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังเดินหน้าผสานความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรีในภูมิภาค เพื่อขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยสู่ภูมิภาคอาเซียน เช่น ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพื่อก้าวสู่การเป็นสถาบันการเงินหลักสำหรับลูกค้าบุคคลอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าภายใต้สภาวะการดำเนินธุรกิจ และความท้าทายรอบด้าน รวมไปถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในฐานะผู้นำในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาและยังปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวให้ทันโลกการเงินยุคใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรังสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

]]>
1390448
เอสซีบี ดีแบงก์ x เคาน์เตอร์เซอร์วิส เปิดสินเชื่อหมุนเวียน “ShopJai ผ่านแอปฯ 7-Eleven” รู้ผลไวสุดใน 5 นาที ด้วยพลัง AI https://positioningmag.com/1368651 Fri, 24 Dec 2021 11:00:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368651

การขอสินเชื่อหมุนเวียนจะง่ายกว่าที่เคย เพราะ เอสซีบี ดีแบงก์ (SCB DBANK) หน่วยงานด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ เคาน์เตอร์เซอร์วิส เปิดตัวสินเชื่อหมุนเวียน ShopJai ผ่านแอปฯ 7-Eleven รู้ผลไวสุดใน 5 นาที ด้วยเทคโนโลยี AI วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ทำให้ไม่ต้องส่งเอกสาร ไม่ต้องไปหน้าสาขา ผนึกความร่วมมือฐานลูกค้าไทยพาณิชย์และลูกค้าเคาน์เตอร์เซอร์วิส เสริมการเติบโตกลุ่ม “Digital Lending” ปี 2567 คาดทั้งกลุ่มขึ้นไปแตะ 1 แสนล้านบาท!

“ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม” รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB DBANK) เปิดตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อหมุนเวียน ShopJai” (ชอบใจ) สินเชื่อแบบ Digital Lending ที่ลูกค้าสามารถสมัครขอสินเชื่อ ทราบผล และรับวงเงินได้ผ่านระบบดิจิทัล

โดย เอสซีบี ดีแบงก์ (SCB DBANK) ผนึกความร่วมมือกับ เคาน์เตอร์เซอร์วิส เปิดให้ลูกค้าสมัครสินเชื่อ ShopJai ผ่านแอปฯ 7-Eleven และรับวงเงินผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY ได้เลย โดยมีรายละเอียดความพิเศษของสินเชื่อ ดังนี้

  • สมัครง่ายเพียงกรอกข้อมูลผ่านแอปฯ 7-Eleven
  • ไม่ต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม ไม่ต้องไปหน้าสาขา
  • รู้ผลการอนุมัติไวสุดใน 5 นาที
  • ผ่อนได้สูงสุด 36 เดือน
  • วงเงินตั้งแต่ 2,500-50,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
  • รับวงเงินผ่าน SCB EASY หรือกดเงินสดผ่านตู้ ATM ได้ทันที
  • เงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

ธนาคารไทยพาณิชย์ยังให้โปรโมชันพิเศษสำหรับผู้ที่สมัครและได้รับอนุมัติสินเชื่อ ShopJai ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2564 – 31 มกราคม 2565 จะได้รับ “ดอกเบี้ย 0%” ระยะ 3 รอบบัญชี**

สำหรับเฟสแรกที่ยังอยู่ใน ‘แซนด์บ็อกซ์’ สินเชื่อนี้จะยังสงวนไว้สำหรับผู้ที่มีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้รับเชิญให้สมัครบริการสินเชื่อเท่านั้น แต่เฟสต่อไป จะขยายให้กับผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์สามารถสมัครขอสินเชื่อได้เช่นกัน

**อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและวิธีการสมัครได้ที่นี่ >> https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/personal-loans/shopjai/shopjai-7-eleven.html


AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล แก้ปัญหาให้ลูกค้า

ดร.ชาลีกล่าวเพิ่มเติมว่า ความสามารถที่ทำให้สินเชื่อ ShopJai อนุมัติรู้ผลได้ง่ายและเร็ว เนื่องจากเอสซีบี ดีแบงก์ (SCB DBANK) มี เทคโนโลยี AI และแมชชีน เลิร์นนิ่ง ที่ช่วยประเมินความสามารถชำระหนี้ของลูกค้าด้วยโมเดลใหม่ วิเคราะห์ทั้งจากการเคลื่อนไหวในบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ และข้อมูลที่ได้จากแอปฯ 7-Elevenด้วย

การประเมินความเคลื่อนไหวบัญชีจะทำให้ทราบว่าสุขภาพการเงินลูกค้าเป็นอย่างไร มีรายได้เฉลี่ยเดือนละเท่าใด มีค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน และใช้จ่ายกับสิ่งใดบ้าง ซึ่งสะท้อนให้เห็นวินัยทางการเงินของลูกค้า

การวิเคราะห์ที่พิจารณาจากบัญชีธนาคารได้โดยตรง จะเป็นประโยชน์กับลูกค้าที่ทำงานอิสระ เช่น ฟรีแลนซ์ ขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งไม่ได้มีรายได้ประจำเท่ากันทุกเดือน ทำให้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้นกว่าการขอสินเชื่อแบบเดิมๆ

(จากซ้าย) “ปิติพร พนาภัทร์” รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Digital Platform and Products SCB DBANK, “ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม” รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking SCB DBANK และ “วีรเดช อัครผลพานิช” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด


เอสซีบี ดีแบงก์ ผนึก เคาน์เตอร์เซอร์วิส เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ง่ายขึ้น

“ปิติพร พนาภัทร์” รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Digital Platform and Products ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB DBANK) กล่าวถึงความร่วมมือกับ เคาน์เตอร์เซอร์วิสว่า ธนาคารมีความร่วมมือกันมานานตั้งแต่ริเริ่มโครงการ Banking Agent ให้สาขาของ 7-Eleven เปรียบเสมือนหน้าสาขาธนาคาร สามารถเปิดบัญชี SCB ได้ด้วยระบบ e-KYC ที่หน้าเคาน์เตอร์ ทำให้มีการต่อยอดความร่วมมือมาสู่การเป็นช่องทางปล่อยสินเชื่อผ่านแอปฯ 7-Elevenในครั้งนี้ และ เคาน์เตอร์เซอร์วิส จะยังเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ไทยพาณิชย์เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น

ด้าน “วีรเดช อัครผลพานิช” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ผู้ให้บริการผ่านช่องทางแอปฯ 7-Eleven กล่าวว่า บริษัทมองว่าจะสามารถช่วยเติมเต็มระบบนิเวศนี้ได้ เปรียบเสมือนแอปพลิเคชันเข้ามาเป็นช่องทางให้กับ SCB เพิ่มจากเดิมที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสเป็น Banking Agent มาแล้วในร้าน 7-Eleven 12,800 จุดทั่วประเทศ

ฐานลูกค้าปัจจุบันของ 7-Eleven หากนับเฉพาะยอดดาวน์โหลด 7-Eleven App มีถึง 20 ล้านดาวน์โหลด โดยมี Active Users ถึง 90% และในจำนวนนี้มีผู้ที่เป็นสมาชิก All Member แล้ว 15 ล้านคน ฐานลูกค้าเหล่านี้จะช่วยเสริมให้ SCB เป็นผู้นำในตลาด และเชื่อว่า ShopJai ผ่านแอปฯ 7-Eleven จะสามารถรองรับกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายขึ้นจาก 7-Eleven


Digital Lending ทะยานสู่ 1 แสนล้าน

ปิติพร เปิดเผยว่า สำหรับเป้าหมายของสินเชื่อหมุนเวียน ShopJai ผ่านแอปฯ 7-Eleven ปี 2565 ตั้งเป้าดึงลูกค้า 15,000 รายต่อเดือน และคาดว่าจะปล่อยวงเงินแตะ 300 ล้านบาทในปีหน้า

โดยสินเชื่อนี้เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม Digital Lending ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ดร.ชาลีกล่าวว่า เมื่อปี 2563 สินเชื่อกลุ่ม Digital Lending มีมูลค่าวงเงินปล่อยสินเชื่อ 9,000 ล้านบาท และคาดว่าปี 2564 นี้จะโตถึง 60% ขึ้นไปแตะ 15,000 ล้านบาท

เอสซีบี ดีแบงก์ ยังตั้งเป้าด้วยว่าวงเงินสินเชื่อที่ปล่อยผ่าน Digital Lending จะไปแตะ 1 แสนล้านบาทได้ภายในปี 2567 ซึ่งหมายถึงการขยายตัว 10 เท่าภายในเวลา 3 ปี จากเทรนด์การก้าวสู่โลกดิจิทัลของลูกค้า และเทคโนโลยีที่รุดหน้าของธนาคารที่ทำให้การปล่อยสินเชื่อผ่านดิจิทัลแม่นยำและรวดเร็ว

]]>
1368651
“Digital Lifestyle Ecosystem” โมเดลสำคัญของ K PLUS พร้อมทะยานเป็นแอประดับภูมิภาค พร้อมเปิดตัว K PLUS Vietnam https://positioningmag.com/1367217 Thu, 16 Dec 2021 08:00:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367217

ตลอด 23 ปีที่ผ่านมา เคแบงก์ทุ่มพัฒนาศักยภาพของ K PLUS ในฐานะเบอร์ 1 ของแอปฯ โมบายแบงกิ้งในประเทศไทย จนทำให้ทุกวันนี้ K PLUS เป็นมากกว่าโมบายแบงกิ้งแล้ว ผลจากการต่อจิ๊กซอว์สร้าง Digital Lifestyle Ecosystemกับพาร์ทเนอร์ยักษ์ใหญ่ในแต่ละธุรกิจ ด้วยรูปแบบการเป็น Open Banking Platform เปิดทางให้ K PLUS เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของลูกค้า เรียกว่า ถ้าลูกค้าใช้งานแอปอื่นๆ K PLUS ก็อยู่ในนั้น เพื่อทำให้ทุกคนสะดวกสบายทั้งการใช้จ่าย ช้อปออนไลน์ กู้เงิน สะสมแต้ม ลงทุน และอื่นๆ อีกเพียบ โดยเคแบงก์มีแผนพัฒนา K PLUS อีกหลายด้านเพื่อทำให้ K PLUS เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายที่สุดทั้งในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคอีกด้วย

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้งาน “โมบายแบงกิ้ง” ของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นมาก ด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น,สถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกับการเดินทาง และเสริมแรงบวกด้วยโครงการรัฐต่างๆ เช่น คนละครึ่ง, เราเที่ยวด้วยกัน, โครงการเยียวยาผู้ประกันตน เป็นตัวเร่งให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้โมบายแบงกิ้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอย่างกลุ่มคนต่างจังหวัด และกลุ่มเยาวชนวัย 15-22 ปี

ท่ามกลางการเติบโตของโมบายแบงกิ้ง ผู้นำในเทคโนโลยีด้านนี้คือ K PLUS จากเคแบงก์ครองอันดับ 1 ของตลาดเมื่อวัดจากจำนวนธุรกรรม (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2564) รวมถึงมีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศอยู่ที่ 16.9 ล้านราย (ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน 2564) โดยเคแบงก์ยังมุ่งมั่นรักษาความเสถียรของระบบใช้งาน มีความปลอดภัย รวมถึงสร้างความสะดวกในการใช้งาน และมีสิทธิประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่ากับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม  เคแบงก์มองอนาคตว่าในโลกยุคใหม่ ผู้บริโภคจะใช้จ่ายผ่านดิจิทัลหลายด้านยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สินค้าและบริการต่างๆ จะยิ่งรวมศูนย์อยู่บน ดิจิทัล แพลตฟอร์ม แม้แต่การใช้ชีวิตก็อาจจะเข้าไปอยู่ในโลกแห่ง ‘เมตาเวิร์ส’ ก็เป็นไปได้

เคแบงก์จึงพัฒนา K PLUS ให้พร้อมตอบสนองลูกค้าในทุกที่ที่ลูกค้าต้องการ ด้วยการสร้าง Digital Lifestyle Ecosystem สามารถเชื่อมโยงกับทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ และรองรับจำนวนผู้ใช้ที่จะเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแค่ในไทยแต่รวมถึงลูกค้าระดับภูมิภาค ตามวิสัยทัศน์ของเคแบงก์ที่จะเป็น Regional Digital Banking ในอนาคตอันใกล้ 


วางพื้นฐาน Open Banking Platform เพื่อผนึกพันธมิตร

บริการข้างต้นเป็นจุดเริ่มต้นจากภายในของ เคแบงก์ แต่ปัจจุบันธนาคารได้ขยายเครือข่าย Digital Lifestyle Ecosystem ให้กว้างขึ้นและเร็วขึ้นผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง

การจะเชื่อมต่อ K PLUS เข้ากับบริการของพันธมิตรได้ ต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐาน API (Application Programing Interface) ให้สามารถเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ได้ โดย K PLUS มีการเปิดให้ ‘ต่อท่อ’ เป็น Open Banking Platform ทำให้การเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชันของพันธมิตรกับ K PLUS ทำได้ลื่นไหล ลดขั้นตอนจบได้ในไม่กี่คลิก เพราะถ้าการใช้งานมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน ลูกค้าอาจไม่เลือกใช้ รวมถึงความต้องการของลูกค้ามีรอบด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ดีที่สุด เคแบงก์และพันธมิตรจึงได้ร่วมมือกันเพื่อให้เกิด Super Ecosystemที่แข็งแรงและเติบโตไปด้วยกัน

ยกตัวอย่างความร่วมมือกับพันธมิตรที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการต่อท่อเพื่อใช้จ่ายผ่านหน้าอินเตอร์เฟซของพันธมิตรได้สะดวกขึ้น เช่น GrabPay Wallet สามารถเติมเงินได้ในแอปฯ เลยเมื่อใช้ K PLUS ไม่ต้องสลับมาที่แอปฯ ธนาคารอีก หรือเหล่าเกมเมอร์ค่าย Garena สามารถเติมเงินในเกมผ่านเว็บไซต์ Termgame.com และใช้ K PLUS จ่ายได้โดยตรง


K PLUS ตอบโจทย์การเงินบนโลก “ดิจิทัล”

ปัจจุบัน K PLUS เริ่มออกสตาร์ทเพื่อรองรับเทรนด์ Digital Lifestyle Ecosystem ไปแล้วหลายด้าน โดยมีการพัฒนาฟีเจอร์ให้รองรับกับไลฟ์สไตล์ทางการเงินของยุคใหม่ เช่น

  • K Pointลอยัลตี้โปรแกรมบนโลกดิจิทัล โดยลูกค้าที่ใช้บริการของธนาคารกสิกรไทยตามที่กำหนดจะได้รับ K Point เป็นคะแนนสะสมสำหรับใช้แทนเงินสดได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายบิลค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าบริการมือถือ เติมเงินใน e-Wallets เติมเกม เติม Easy Pass หรือใช้โอนแลกเป็นคะแนนสะสมของระบบ CRM แบรนด์ดังอื่นๆ เช่น The 1, PTT Blue Card, AIS Points, True Point รวมไปถึงใช้จ่ายแทนเงินสดที่หน้าร้านค้าที่ร่วมรายการด้วยการสแกน QR Code อีกทั้งยังสามารถนำคะแนนไปแลกซื้อสินค้าบน K+ market ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถทำได้เลยทันทีบน K PLUS
  • Wealth PLUS – บริการตัวช่วยวางแผนลงทุนส่วนตัวบน K PLUS ทำงานเสมือน ROBO Advisor แต่เหนือกว่าด้วยการมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยวางแผนการลงทุนและเลือกกองทุนที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ วิเคราะห์จากเป้าหมายการลงทุน เงินลงทุน ระยะเวลา และระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ พร้อมระบบอัจฉริยะช่วยแจ้งเตือนและปรับแผนการลงทุนให้เหมาะกับสภาวะตลาดขณะนั้น โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาทเท่านั้น รวมถึงมีบริการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ (DCA) ก็เริ่มต้นเพียง 500 บาท บริการอัตโนมัติเหล่านี้ทำให้ Wealth PLUS เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้โจทย์ให้ลูกค้าที่ยังไม่กล้าลงทุน ไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลการลงทุน หรือกังวลเวลาเห็นข่าวตลาดผันผวนรุนแรง
  • โอนเงินต่างประเทศK PLUS ร่วมมือกับพันธมิตร FinTech แก้ pain point ของการโอนเงินต่างประเทศแบบเดิมๆ ที่ใช้เวลานานกว่าเงินจะถึงปลายทาง ค่าธรรมเนียมแพง และต้องไปที่ทำธุรกรรมหน้าสาขา ด้วยเทคโนโลยีนี้ทำให้ลูกค้าโอนเงินถึงปลายทางได้รวดเร็วแบบเรียลไทม์ ถึงภายใน 3 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับประเทศและธนาคารปลายทาง) ค่าธรรมเนียมถูกกว่า สามารถโอนเงินเองได้ผ่าน K PLUS รองรับแล้ว 14 สกุลเงินใน 32 ประเทศที่คนในไทยนิยม เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ปอนด์ ยูโร เยน วอน และล่าสุด สกุลเงินหยวน เป็นต้น
  • Digital Lending บริการสินเชื่อดิจิทัลที่ธนาคารเน้นให้กลุ่มคนตัวเล็กที่ไม่เคยกู้เงินได้เพราะไม่มีสลิป ไม่มีรายได้แน่นอน ให้สามารถยื่นกู้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการใช้ AI และ Machine Learning ประกอบกับความเชี่ยวชาญของธนาคารในการพิจารณาเครดิตภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถสมัครสินเชื่อได้ด้วยตัวเองผ่าน K PLUS ใช้เวลาสมัครไม่เกิน 15 นาทีก็ทราบผลอนุมัติ และรับเงินทันที

ที่สำคัญคือ เคแบงก์กำลังนำแนวคิดธุรกิจนี้ขยายไปยังเวียดนาม เดินหน้าด้วยดิจิทัล แบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบเป็น “K PLUS Vietnam” โมบายแบงกิ้งที่ต่อยอดจากต้นแบบ K PLUS ในประเทศไทย และเตรียมแผนขยายการลงทุนด้านดิจิทัลในธุรกิจต่างๆ ด้วยเป้าหมายเพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มจำนวนพันธมิตรทางธุรกิจ สู่การเป็น Super Ecosystem ทางการเงินในระดับภูมิภาค

]]>
1367217
แรบบิท เปิดตัว ‘แรบบิท แคช’ ลุยตลาด ‘Digital Lending’ ปักเป้าปล่อยสินเชื่อ 3,000 ล้านในปีแรก https://positioningmag.com/1358843 Thu, 28 Oct 2021 04:20:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358843 เมื่อเทียบสัดส่วนประชากรกับการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง คนไทยถือว่ามีการใช้งานมากที่สุดในโลก โดยมีการผูกบัญชีกว่า 76 ล้านบัญชี ในแต่ละเดือนมียอดธุรกรรมกว่า 1.4 หมื่นล้านรายการ/เดือน มีการใช้งานเฉลี่ย 19 ครั้ง/เดือน ในขณะที่หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยมีเกือบ 90% คิดเป็นมูลค่า 14 ล้านล้านบาท โดยธุรกรรมเล็ก ๆ คิดเป็น 50% และอย่างน้อย 5% เป็นหนี้นอกระบบ

จากตัวเลขดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่หลายบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารหันมาจับตลาด Digital Lending ที่เห็นชัด ๆ น่าจะเป็น Grab, Line เป็นต้น โดย รัชนี แสนศิลป์ชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แรบบิท แคช จำกัด กล่าวว่า ที่เห็นว่ามีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มหลายรายทำ Digital Lending ส่วนหนึ่งก็เพื่อ เสริมลูกค้าของตัวเอง เพราะลูกค้าของหลาย ๆ แพลตฟอร์มทำงานอิสระมากขึ้น ดังนั้น เมื่อไม่มีเงินเดือนการเข้าถึงเงินทุนก็ยาก

ดังนั้น แรบบิท ที่มีข้อมูลของลูกค้าในมืออยู่แล้ว จึงร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และมี บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน), บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นและพันธมิตร โดยจัดตั้งบริษัท ‘แรบบิท แคช’

ทั้งนี้ บริษัท บีเอสเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด ในเครือของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จะถือหุ้น 77%, บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 8% และบริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 5% ทุนจดทะเบียนประมาณ 800 ล้านบาท และมีแผนจะเพิ่มทุนอีก 800 ล้านบาท

สำหรับบริการสินเชื่อของแรบบิท แคชนั้นได้ถูกออกแบบให้ทำผ่านช่องทางดิจิทัล 100% ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยจะใช้ Alternative Data หรือข้อมูลทางเลือกที่แสดงถึง Digital Footprint และ Behavioral Footprint ต่าง ๆ ของผู้บริโภคมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงและพิจารณารูปแบบสินเชื่อที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน

“เนื่องจากแรบบิท แคชเป็นบริษัทในเครือบีทีเอส ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การซื้อสินค้าหรือบริการ การแลกคะแนนแรบบิท รีวอร์ด แต่ทุกอย่างอยู่ภายใต้การได้รับความยินยอมจากลูกค้า”

เบื้องต้น วงเงินสินเชื่อจะเป็นไปตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท จะกู้ได้ไม่เกิน 1.5 เท่า ส่วนผู้ที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท จะได้รับวงเงิน 5 เท่าของรายได้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 1.25% ต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าจะได้ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจสินเชื่อจาก ธปท. ในช่วงไตรมาสแรกปี 2565 ดังนั้น จะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเวลาดังกล่าว โดยจะมีทั้งสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย หรือสินเชื่อนาโน, สินเชื่อสวัสดิการ, สินเชื่อ Payday Loan, สินเชื่อผ่อนชำระ Buy Now Pay Later

ทั้งนี้ บริษัทได้เริ่มทดลองนำเสนอสินเชื่อเพื่อลูกค้าของเคอรี่ โดยเลือกจากกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ที่เป็นสมาชิกเคอรี่ เอ็กซ์เพรส โลยัลตี้ คลับ ที่มีประวัติในการจัดส่งสินค้าพัสดุกับทางเคอรี่เป็นประจำ โดยพบว่าได้รับการตอบรับจากสมาชิกเข้ามามาก และในปีหน้าจะเริ่มปล่อยสินเชื่อให้พนักงานเคอรี่

“ปัจจุบันเคอรี่มีลูกค้ากว่า 10 ล้านราย มีพนักงานส่งของทั้งหมด 20,000-30,000 ราย ซึ่งเราพบว่าลูกค้าเราส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต้องการใช้สินเชื่อ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ หรือการจัดการสภาพคล่องเป็นการชั่วคราว” วราวุธ นาถประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าว

ทั้งนี้ แรบบิท แคชตั้งเป้าหมายว่าจะเห็นยอดสินเชื่อในปี 2565 ประมาณ 2-3 พันล้านบาท และในปี 2566 จะปล่อยสินเชื่อได้ถึง 5 พันล้านบาท

]]>
1358843