Donald Trump – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 07 Jun 2021 08:19:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Facebook’ ประกาศแบน ‘บัญชีทรัมป์’ ยาวถึงมกราคม 2023 https://positioningmag.com/1335644 Mon, 07 Jun 2021 07:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335644 Facebook ประกาศว่าจะแบนบัญชีของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยาวจนถึง 7 มกราคม 2023 เป็นอย่างน้อย หรือเป็นเวลาถึง 2 ปีนับจากที่บัญชีได้ถูกระงับในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก่อนจะประเมินสถานการณ์อีกครั้งเพื่อดูว่าควรได้รับอนุญาตให้กลับมาหรือไม่

ย้อนไปเมื่อเดือนวันที่ 7 มกราคมได้เกิดเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้ Facebook ต้องออกมาระงับการใช้งานบัญชีของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ที่มีผู้ติดตามกว่า 10 ล้านคนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากทรัมป์ได้ส่งข้อความให้ผู้ประท้วงออกมาต่อต้านการลงมติรับรองชัยชนะของ ‘โจ ไบเดน’ ในสภาคองเกรส

‘Facebook’ ประกาศ ‘แบน’ บัญชีทรัมป์ จนกว่าไบเดนจะรับตำแหน่ง ป้องกันการปลุกปั่น

แต่ดูเหมือนคำว่าชั่วคราวจะนานกว่าที่คิด เพราะเพื่อป้องกันช่วงการเลือกตั้งกลางเทอมปี 2022 โดยจะแบนบัญชีของทรัมป์ยาว ๆ จนถึงมกราคมปี 2023 อย่างไรก็ตาม จากระยะเวลาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่การแบนอาจถูกยกเลิกก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2024

Nick Clegg รองประธานฝ่ายกิจการระดับโลกของบริษัท กล่าวว่า เมื่อครบสองปี Facebook จะมองหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินว่าความเสี่ยงต่อความปลอดภัยสาธารณะของทรัมป์ว่าลดลงหรือไม่ เราจะประเมินปัจจัยภายนอกรวมถึงกรณีต่าง ๆ ทั้งความรุนแรง ข้อจำกัดในการชุมนุมโดยสงบ และสัญญาณบ่งชี้ความไม่สงบอื่น ๆ หากเราพิจารณาว่ายังคงมีความเสี่ยงร้ายแรงต่อความปลอดภัยสาธารณะ เราจะขยายข้อจำกัดดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่งและประเมินใหม่ต่อไปจนกว่าความเสี่ยงนั้นจะลดลง

Computer screen showing the website for social networking site, Facebook (Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

Clegg ยังประกาศกฎใหม่สำหรับ “โปรโตคอลการบังคับใช้ที่จะใช้ในกรณีพิเศษเช่นนี้” เนื่องจากที่ผ่านมา นักการเมืองมักได้รับการผ่อนปรนจาก Facebook เนื่องจากบริษัทดำเนินการบนสมมติฐานว่าโพสต์ของพวกเขามีคุณค่าในการบอกใบ้เรื่องข่าวและเป็นส่วนหนึ่งของการอภิปรายสาธารณะ ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงไม่ได้ใช้กฎเกณฑ์ปกติในการขัดกรองโพสต์ แต่ตอนนี้ Facebook จะไม่ถือว่าข่าวสำหรับโพสต์ของผู้นำโลกอีกต่อไป

“เมื่อเราประเมินเนื้อหาสำหรับความเหมาะสมในการเป็นข่าว เราจะไม่ปฏิบัติต่อเนื้อหาที่โพสต์โดยนักการเมืองต่างไปจากเนื้อหาที่โพสต์โดยบุคคลอื่น และจากนี้นักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะที่ละเมิดกฎด้วยการปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบหรือความรุนแรงนั้นจะถูกระงับการใช้งานบัญชีเป็นเวลา 1 เดือน หรือมากกว่านั้นในกรณีร้ายแรง สูงสุดถึง 2 ปี” Clegg เขียนไว้ในโพสต์

บริษัทยังกล่าวอีกว่ามีแผนจะพัฒนาคู่มือสำหรับวิกฤตการณ์พิเศษที่จะเปิดใช้งานในยามฉุกเฉินหรือในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งนโยบายที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น หรือที่เรียกว่า Crisis Policy Protocol จะช่วยให้บริษัทตัดสินใจได้ว่าเมื่อใดควรใช้นโยบายเฉพาะบริบทที่มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

Source

]]>
1335644
‘โจ ไบเดน’ คว้าชัยเลือกตั้งอเมริกา เตรียมขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 https://positioningmag.com/1305018 Sat, 07 Nov 2020 17:21:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305018 ‘โจ ไบเดน’ คว้าชัยเลือกตั้งอเมริกา เตรียมขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 เเต่ส่อเเววมีปัญหายืดเยื้อ หลังทรัมป์ฟ้องศาลในหลายรัฐ

สูสีเเละดุเดือดมาก กับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ‘โจ ไบเดน’ เฉือนชนะ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ไปหวุดหวิด โดยไบเดนมีคะเเนนเสียงคณะผู้เลือกตั้งล่าสุดที่ 284 เสียง (เกินครึ่งที่ 270 เสียงเเล้ว)

ไบเดน จากพรรคเดโมเเครต พลิกเอาชนะทรัมป์ จากรีพับลิกัน ได้ในพื้นที่ “สวิงสเตท” สำคัญๆ เช่น รัฐวิสคอนซิน รัฐมิชิแกน รัฐแอริโซนา โดยเฉพาะ “รัฐเพนซิลเวเนีย” ที่ต้องลุ้นกันอย่างใจระทึก

ขณะที่โดนัลด์ ทรัมป์ มีคะแนนตามอยู่ที่ 214 เสียง โดยรัฐที่ตอนนี้ยังนับคะแนนอยู่ได้แก่ เนวาดา อลาสกา นอร์ท แคโรไรนา และจอร์เจีย

ก่อนหน้านี้ ทีมงานหาเสียงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในกรุงวอชิงตัน ขอให้ระงับการนับ “คะแนนทางไปรษณีย์” ที่มาถึงหน่วยเลือกตั้งหลังวันลงคะแนน 3 พ.ย. ในรัฐเพนซิลเวเนีย หลังศาลสูงของรัฐเพนซิลเวเนียอนุญาตให้นับคะแนนจากบัตรทั้งหมด ที่มาถึงภายในวันที่ 6 พ.ย. โดยมีข้อยกเว้นคือ ต้องประทับตราไปรษณีย์ “ภายในวันที่ 3 พ.ย.”

ฝ่ายทรัมป์ ยังยื่นเรื่องต่อศาลรัฐมิชิแกน ขอให้ระงับการนับคะแนน จนกว่าคณะผู้สังเกตการณ์จะสามารถเข้าถึงครบทุกหน่วยลงคะแนน เเละยังขอนับคะแนนใหม่ในรัฐวิสคอนซินเเละจอร์เจียด้วย เนื่องจากพบความผิดปกติหลายอย่าง เเต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อกังขาในเรื่อง “คะแนนทางไปรษณีย์” ดังกล่าว มีขึ้นเนื่องจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2020 มีประชาชนใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้ามากเป็นประวัติการณ์ เกิน 103 ล้านคน โดยเน้นการส่งบัตรลงคะแนนทางไปรษณีย์ เนื่องจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

การที่กฎหมายและระบบไปรษณีย์ของแต่ละรัฐ มีรายละเอียดแตกต่างกัน ส่งผลให้บัตรลงคะแนนเดินทางมาถึงทางการช้ากว่าวันที่ 3 พ.ย. ซึ่งทรัมป์ต้องการไม่ให้มีการนับบัตรส่วนนี้

ขณะที่บางความเห็นมองว่า ชาวอเมริกาที่เลือก “โหวตทางไปรษณีย์” เป็นผู้ที่มีความกังวลในโรคระบาด จะมีเเนวโน้มจะเลือกไบเดนมากกว่า เนื่องจากไม่พอใจต่อการจัดการวิกฤต COVID-19 ของรัฐบาลทรัมป์ที่สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก

พรรคเดโมแครต รักษาเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ แต่ส่วนต่างเหนือพรรครีพับลิกันลดลง หลังแพ้เหนือความคาดหมายหลายที่นั่ง ขณะที่พรรครีพับลิกันคาดว่าจะยังคงรักษาเสียงข้างมากในวุฒิสภาได้อีกหนึ่งสมัย

การชนะเลือกตั้งของ “ไบเดน” ครั้งนี้ ยังสร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ เพราะ “คามาลา แฮร์ริส” จะได้ก้าวขึ้นเป็น “รองประธานาธิบดีหญิง” คนแรกของสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งรัฐบาลใหม่มีกำหนดเข้าทำงานในทำเนียบขาว ช่วงเดือนม.ค.ปีหน้า

อ่านเพิ่มเติม : คำสัญญาเเละนโยบายของ “โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46…ทิศทางใหม่อเมริกา

 

]]>
1305018
“ทรัมป์” ยันไม่บังคับชาวอเมริกัน “สวมหน้ากาก” ท่ามกลางผู้ติดเชื้อใหม่ทุบสถิติเกิน 7 หมื่น https://positioningmag.com/1288431 Sat, 18 Jul 2020 06:30:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288431 สหรัฐฯ พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 70,000 คนต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ขณะที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยืนกรานจะไม่ออกคำสั่งบังคับให้ชาวอเมริกันสวมหน้ากากเพื่อชะลอการแพร่ระบาดของไวรัส

จากการรวบรวมข้อมูลของรอยเตอร์พบว่า ยอดผู้ป่วยใหม่ในสหรัฐฯ วันที่ 17 ก.ค. อยู่ที่ 70,674 ราย หลังจากพุ่งสำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 77,499 รายเมื่อช่วง 24 ชั่วโมงก่อนหน้า และนับเป็นตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันสูงที่สุดยิ่งกว่าประเทศใดๆ นับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด

ขณะเดียวกัน ยอดผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯ ก็เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 912 รายในวันที่ 17 ก.ค. ซึ่งนับเป็นวันที่ 4 ต่อเนื่องที่ยอดเสียชีวิตพุ่งเกินกว่า 900 ศพ

อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยังยืนกรานเสียงแข็งกว่าจะไม่ออกคำสั่งบังคับให้ชาวอเมริกันทุกคนต้องสวมหน้ากากปิดใบหน้า-จมูก

“ผมต้องการให้เสรีภาพกับประชาชนบ้าง และผมเองก็ไม่เชื่อเรื่องนั้นด้วย… ไม่” ทรัมป์ ให้สัมภาษณ์กับพิธีกร คริส วอลเลซ ในรายการฟ็อกซ์นิวส์ซันเดย์

ทรัมป์ ยังแสดงท่าทีกังขาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของหน้ากากในการป้องกัน COVID-19 โดยอ้างไปถึงคำพูดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในช่วงที่ไวรัสระบาดใหม่ๆ ว่าหน้ากากนั้นไม่จำเป็นสำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง

Photo : Shutterstock

“ผมไม่เชื่อคำกล่าวอ้างที่ว่า ถ้าทุกคนสวมหน้ากาก ไวรัสจะหายไปเอง” ทรัมป์ กล่าว เมื่อถูกถามถึงคำพูดของผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) ซึ่งเคยออกมาบอกว่าสหรัฐฯ จะสามารถคุมการระบาด COVID-19 ได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ หากประชาชนทุกคนพร้อมใจกันสวมหน้ากาก

“ดร. แอนโธนี เฟาซี (ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐฯ) เคยพูดว่าไม่ต้องสวมหน้ากาก, ศัลยแพทย์ใหญ่ของเราซึ่งเป็นคนที่ยอดเยี่ยมสุดๆ ก็บอกว่าไม่ต้องสวม ทุกคนพูดเหมือนกันหมดว่าไม่ต้องสวม แต่แล้วจู่ๆ ทุกคนก็เกิดจำเป็นต้องสวมหน้ากากขึ้นมาซะงั้น แต่ถึงยังไงผมก็ยังเชื่อในหน้ากากนะ ผมเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ดี”

CDC ได้ออกคำแนะนำในเดือน เม.ย. ให้ชาวอเมริกันหันมาสวมหน้ากากเพื่อชะลอการระบาดของ COVID-19 หลังมีหลักฐานยืนยันว่า ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการสามารถแพร่เชื้อไวรัสสู่ผู้อื่นได้

ทรัมป์ ยอมสวมหน้ากากต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรกขณะไปเยี่ยมโรงพยาบาลทหารวอเตอร์รีดที่ชานกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่ดื้อดึงปฏิเสธมาโดยตลอด โดยเมื่อตอนที่รัฐบาลสหรัฐฯ ออกคำแนะนำเรื่องการสวมหน้ากากเมื่อเดือน เม.ย. ทรัมป์ ก็ออกตัวทันทีว่าตนเองจะไม่สวม โดยอ้างว่าจะทำให้มองหน้าผู้นำต่างชาติไม่ถนัด

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ คนในพรรครีพับลิกันและบุคลากรสื่อสายอนุรักษนิยมเริ่มหันมารณรงค์ให้ชาวอเมริกันสวมหน้ากากเพื่อยับยั้ง COVID-19 โดยชี้ว่าวิธีนี้จะทำให้ภาคธุรกิจมีโอกาสกลับมาเปิดได้อีกครั้ง และเป็นหนทางฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้ผล

Photo : Shutterstock

ผู้ว่าการรัฐต่างๆ ในอเมริกา ตลอดจนผู้นำท้องถิ่นและภาคธุรกิจ เริ่มออกกฎบังคับให้คนสวมหน้ากาก หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อกลับมาพุ่งสูงขึ้นในหลายรัฐ

ไบรอัน เคมป์ ผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นคนของพรรครีพับลิกัน สนับสนุนให้ประชาชนสวมหน้ากากโดยสมัครใจ แต่ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นออกคำสั่งบังคับ โดยเมื่อวันที่ 16 ก.ค. เคมป์ ประกาศจะยื่นฟ้อง เคชา แลนซ์ บอตทอมส์ นายกเทศมนตรีเมืองแอตแลนตา โทษฐานออกกฎบังคับพลเมืองให้สวมหน้ากาก ทั้งที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในรัฐแห่งนี้ก็พุ่งสูงอย่างน่ากังวล

รัฐฟลอริดาซึ่งจะเป็นสถานที่จัดการประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกันในเดือน ส.ค. เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ในสหรัฐฯ ซึ่ง COVID-19 แพร่ระบาดหนัก แต่ถึงกระนั้นผู้ว่าการรัฐ รอน เดอซานทิส ก็ยังคงปฏิเสธที่จะบังคับให้ประชาชนสวมหน้ากาก ขณะที่รัฐอื่นๆ ซึ่งเผชิญวิกฤตแบบเดียวกันอย่างเทกซัส และแคลิฟอร์เนียได้ออกคำสั่งสวมหน้ากากแล้วเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19

มาร์ค เมโดว์ส ประธานคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ระบุเมื่อต้นเดือนนี้ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่มีแผนที่จะออกคำสั่งระดับชาติให้ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัย และยกให้เป็นการตัดสินใจของแต่ละรัฐ

Source

]]>
1288431
จลาจลลามทั่วสหรัฐฯ 40 เมืองประกาศใช้เคอร์ฟิว “ทรัมป์” ลั่นพร้อมส่งทหารจัดการม็อบ https://positioningmag.com/1281819 Tue, 02 Jun 2020 16:15:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281819 “ทรัมป์” ส่งทหารปราบผู้ก่อความวุ่นวายในวอชิงตัน ดี.ซี. ขู่พร้อมระดมกำลังเข้าจัดการในรัฐที่ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ขณะการประท้วงต้านการเหยียดผิว และความโหดเหี้ยมของตำรวจ ซึ่งลุกลามเป็นความรุนแรงทั่วสหรัฐฯ มาหลายวันแล้ว ยังคงทำให้กว่า 40 เมือง ต้องประกาศเคอร์ฟิว ส่วนผลชันสูตรจากผู้เชี่ยวชาญอิสระยืนยัน “จอร์จ ฟลอยด์” เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ

ในคืนวันที่ 1 มิ.ย. ซึ่งนับเป็นคืนที่ 7 ติดต่อกันแล้วที่ทั่วสหรัฐฯ เกิดเหตุจลาจลรุนแรง รายงานระบุว่า พวกผู้ประท้วงจุดไฟเผาศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในลอสแองเจลิส และห้างร้านหลายแห่งในนิวยอร์กซิตี้ ถูกฝูงชนบุกเข้าไปฉกชิงขโมยข้าวของ

การประท้วงที่ลุกลามกลายเป็นการจลาจลในหลายพื้นที่คราวนี้ เกิดขึ้นหลังการตายของ ฟลอยด์ ชายผิวดำ ไม่มีอาวุธที่ถูกตำรวจจับ และใช้เข่าทับคอจนขาดอากาศหายใจในเมืองมินนิอาโปลิส รัฐมินนิโซตา เมื่อวันที่ 25 พ.ค. กำลังนำไปสู่เหตุการณ์ไม่สงบครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทั้งในนครนิวยอร์ก แอลเอ และอีกนับสิบเมืองทั่วอเมริกา

หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่ได้แสดงความป็นผู้นำของประเทศกับวิกฤตอันเลวร้ายครั้งนี้ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้กล่าวปราศรัยด้วยน้ำเสียงดุดันจากสวนกุหลาบของทำเนียบขาว เวลาเดียวกับที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ประท้วง ซึ่งชุมนุมอย่างสันติที่ด้านนอกของรั้วทำเนียบ

ทรัมป์ประกาศว่า กำลังส่งทหารติดอาวุธหนัก เจ้าหน้าที่ทางทหาร และเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายรวมหลายพันคนออกไปหยุดยั้งการจลาจล การปล้นชิง การทำลายทรัพย์สินและสถานที่ต่างๆ และประณามสิ่งที่เกิดขึ้นในกรุงวอชิงตันเมื่อคืนวันอาทิตย์ (31 พ.ค.) ว่า “น่าอัปยศ”

ประมุขทำเนียบขาวสำทับว่า หากเมืองหรือรัฐที่ไม่ยอมดำเนินการที่จำเป็นเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตนจะส่งทหารเข้าไปจัดการปัญหาอย่างรวดเร็ว และประณามว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นการก่อการร้ายภายในประเทศ

แต่หลังการปราศรัยของทรัมป์ ฝูงชนยังออกไปประท้วง ซึ่งส่วนมากเป็นไปอย่างสันติในเมืองใหญ่หลายแห่ง แม้มีรายงานการปล้นห้างร้านในนิวยอร์กและแอลเอก็ตาม

(Photo by Stephen Maturen/Getty Images)

นอกจากนั้น ระหว่างการปราศรัยของผู้นำสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่รวมถึงสารวัตรทหาร ใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมหน้าทำเนียบขาวเพื่อเคลียร์ทางให้ทรัมป์ข้ามถนนไปยังโบสถ์เซนต์จอห์น ที่ถูกพ่นสีและถูกไฟเผาได้รับความเสียหายบางส่วนระหว่างการจลาจลเมื่อวันอาทิตย์

กระแสการประท้วงคราวนี้ ถือเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางที่สุดในอเมริกานับจากปี 1968 เมื่อเมืองต่างๆ ลุกเป็นไฟจากการลอบสังหาร มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้นำชาวผิวดำที่ต่อสู้เรียกร้องสิทธิพลเมือง

หลายๆ พื้นที่ การประท้วงเป็นไปอย่างสงบ บางแห่งมีภาพตำรวจสวมกอดหรือคุกเข่าอยู่ข้างๆ ผู้ประท้วงที่กำลังร้องไห้ แต่อีกหลายแห่งมีการปะทะรุนแรง ระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจ นอกจากนั้น ยังมีการทำลายอาคารสถานที่หลายแห่ง รวมถึงบุกเข้าฉกชิงสินค้าในห้างร้าน เช่น บนถนนฟิฟธ์อะเวนิวในเขตแมนฮัตตันของนิวยอร์กซิตี้ และมีคนถูกยิงตายหนึ่งรายในเมืองหลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี

กว่า 40 เมืองต้องประกาศเคอร์ฟิว เฉพาะคืนวันจันทร์ บิลล์ เดอ บลาสิโอ นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ประกาศห้ามประชาชนออกจากบ้านระหว่างเวลา 20.00 น. จนถึงเช้าวันที่ 2 มิ.ย. หรือเริ่มใช้เร็วขึ้นจากคำสั่งเดิม 3 ชั่วโมง

Source

]]>
1281819
ประธานาธิบดีก็ไม่เว้น! Twitter เตรียมขึ้นข้อความเตือนข้อมูลปลอมของ COVID-19 แม้จะมาจาก ‘ทรัมป์’ ก็ตาม https://positioningmag.com/1278751 Fri, 15 May 2020 08:55:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278751 แม้ว่ากลุ่มบริษัทโซเชียลมีเดียรายใหญ่ของโลก อาทิ Facebook, Google, LinkedIn, Microsoft, Reddit, Twitter และ YouTube ประกาศจะร่วมมือกันต่อสู้กับข้อมูลผิด ๆ หรือ FAKE NEWS เกี่ยวกับ COVID-19 แต่ดูเหมือนจะยังไม่เพียงพอ ล่าสุด Twitter ประกาศว่ามีแผนที่จะใส่ป้ายกำกับและข้อความเตือนในทวีตบางรายการที่มีข้อมูลที่ขัดแย้งหรือทำให้เข้าใจผิดที่เกี่ยวข้องกับ Covid-19

Twitter ได้เคยประกาศเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่าจะลบทวีตที่มีข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับ Covid-19 ที่อาจทำให้เกิด “ความเสี่ยงโดยตรงต่อสุขภาพของผู้คนหรือความเป็นอยู่ที่ดี” แต่ดูเหมือนมาตรการดังกล่าวจะไม่เพียงพอในการสกัดกั้น ล่าสุด Twitter มีแผนจะใช้ป้ายกำกับและข้อความเตือน “เพื่อให้คำอธิบายเพิ่มเติมหรือคำชี้แจงเพิ่มเติมในสถานการณ์ที่ความเสี่ยงของอันตรายที่เกี่ยวข้องกับทวีตนั้น”

“ป้ายกำกับเหล่านี้จะนำไปใช้กับทุกคนที่แบ่งปันข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดที่ตรงตามข้อกำหนดของนโยบายของเรารวมถึงผู้นำโลก อย่าง โดนัลด์ ทรัมป์ เองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎเช่นเดียวกัน” Yoel Roth หัวหน้าฝ่ายไซต์ของ Twitter กล่าว

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา ถือเป็นผู้ที่ชื่นชอบใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่ง โดยแต่ละทวีตนั้นสร้างความปั่นป่วนให้กับโลกไม่น้อย ซึ่งที่ผ่านมาในการบรรยายสรุปของทำเนียบขาวในเดือนเมษายน ทรัมป์ได้แนะนำว่าการใช้ยาฆ่าเชื้อที่เป็นอันตรายอาจช่วยรักษา COVID-19 ได้ อีกทั้งยังได้ส่งเสริมการรักษาด้วยยาที่ไม่ได้รับการพิสูจน์นี้ รวมถึงกรณีที่เคยแย้งกลุ่มข่าวกรองของอเมริกาว่า เคยเห็นหลักฐานที่แสดงว่า COVID-19 เกิดขึ้นจากห้องแล็บในจีน ทั้งที่หน่วยสืบราชการลับที่ใช้ร่วมกันระหว่างพันธมิตรสหรัฐระบุว่ามีแนวโน้มว่าไวรัสจะมาจากตลาดในอู่ฮั่นไม่ใช่ห้องแล็บ

(Photo by Doug Mills-Pool/Getty Images)

อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทสื่อโซเชียลใหญ่ ๆ ของโลกจะพยายามที่จะลบข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับ COVID-19 เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย แต่ดูเหมือนจะยังไม่สามารถกำจัดได้หมด เพราะที่ผ่านมามีวิดีโอที่ชื่อ “Plandemic” ซึ่งมีเนื่องหาที่ผิดเกี่ยวกับ COVID-19 ได้กลายเป็นวิดีโอไวรัลที่มีจำนวนการดูและคลิกกว่า 3 ล้านครั้งทั่วทั้ง Facebook และ YouTube และมีการแสดงความคิดเห็นกว่า 10 ล้านครั้ง ดังนั้นนอกจากมาตรการของเหล่าแพลตฟอร์มโซเชียลแล้ว ผู้คนควรระมัดระวังเมื่ออ่านหรือแบ่งปันเนื้อหาบนโซเชียลมีเดีย

Source

Source

]]>
1278751
สหรัฐฯ มีแผนแจกเงินประชาชน 1,000 เหรียญ! เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจสู้วิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1268745 Wed, 18 Mar 2020 04:48:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268745 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แถลงแผนส่งเงินถึงมือพลเมืองอเมริกาในทันที เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากวิกฤตไวรัส พร้อมย้ำเรียก “ไวรัสจีนแม้มีเสียงประท้วงดุเดือดมาจากปักกิ่ง โหมกระพือสงครามน้ำลายรอบใหม่ระหว่างสองชาติ

หลังจากปฏิเสธความรุนแรงของโรคระบาดใหญ่ COVID-19 มานานหลายสัปดาห์ ทรัมป์ร้องขอความสนับสนุนจากทั้งรีพับลิกัน และเดโมแครต สำหรับเร่งรัดแจกเงินสดถึงมือครอบครัวอเมริกันชนในทันที

เราไม่ต้องการเห็นคนตกงานและไม่มีเงินประทังชีวิตประธานาธิบดีสหรัฐฯ เปิดแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ร่วมด้วย สตีฟ มนูชิน รัฐมนตรีคลัง พร้อมระบุว่าแพกเกจนี้เป็นตัวเลขมหาศาล เป็นแพกเกจที่ใหญ่โตมาก

ในขณะที่ ทรัมป์ ไม่ได้ระบุอย่างเจาะจงว่าแพกเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ใช้เงินมหาศาลแค่ไหน แต่หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์บอกว่ามันน่าจะเป็นจำนวนกว่า 850,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะมีการแจกเงินให้ประชาชนคนละ หรือครอบครัวละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ

มนูชิน กล่าวเสริมว่า ในขณะที่ธุรกิจกำลังถูกปิดตายทั่วประเทศสืบเนื่องจากโรคระบาดไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ชาวอเมริกาต้องการเงินสดในตอนนี้เรากำลังพิจารณาส่งเช็คถึงอเมริกันชนในทันที ที่ผมหมายถึงคือในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า” 

Photo : Shutterstock

ขณะเดียวกัน มนูชินกล่าวว่า ในส่วนของภาคธุรกิจสามารถเลื่อนการชำระภาษีเป็นจำนวนเงินมากถึง 10 ล้านดอลลาร์ ส่วนบุคคลธรรมดาสามารถเลื่อนการชำระภาษีเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านดอลลาร์ โดยทรัมป์ได้อนุมัติให้มีการเลื่อนการชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากรสหรัฐฯ คิดเป็นวงเงินรวม 300,000 ล้านดอลลาร์

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ยังรวมไปถึงเงินสนับสนุนสายการบินต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดใหญ่อย่างหนัก เพราะว่าสถานการณ์ถือว่าเลวร้ายกว่าเมื่อครั้งโศกนาฏกรรม 9/11 เนื่องจากการเดินทางแทบตกอยู่ในภาวะชะงักงัน

วอชิงตันโพสต์ระบุว่าในแพกเกจกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม เงิน 50,000 ล้านดอลลาร์จะถูกจัดสรรสำหรับช่วยเหลือสายการบินต่างๆ ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับที่ทางอุตสาหกรรมการบินร้องขอ

ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ มุ่งเน้นไปที่ระงับเก็บภาษีเงินเดือนพลเมืองอเมริกาทุกคนไปอย่างน้อยจนถึงศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนพฤศจิกายน แต่พวกเดโมแครตและนักเศรษฐศาสตร์บอกว่าการมุ่งเน้นเฉพาะภาษีเงินเดือน อาจทำให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง, คนว่างงาน และคนงานรายชั่วโมง ไม่ได้รับประโยชน์

ทั้งนี้ ทรัมป์ โหมกระพือความขุ่นเคืองจากจีน ด้วยการทวีตข้อความเรียกไวรัส COVID-19 ว่าไวรัสจีนกระตุ้นให้ทางการปักกิ่งออกมาตอบโต้ โดยบอกว่ามันเป็นการสร้างมลทินให้แก่ประเทศจีน และกล่าวว่ารัฐบาลจีนขอคัดค้านอย่างเต็มที่กับการที่ทรัมป์ใช้ถ้อยคำดังกล่าว

ทรัมป์ยืนกรานคำพูดของดังกล่าวอีกครั้ง โดยไม่สนใจต่อเสียงประท้วงของจีนมันมาจากจีน ดังนั้นผมคิดว่ามันจึงถูกต้องที่สุด

ทรัมป์ บ่งชี้ว่า แรงจูงใจของเขาในครั้งนี้คือการตอบโต้การทำสงครามบิดเบือนข่าวสารของจีนที่กล่าวโทษกองทัพสหรัฐฯ ว่าเป็นต้นตอของไวรัสจีนกำลังแพร่กระจายข่าวสารอันเป็นเท็จ ผมไม่พอใจกับข้อเท็จจริงที่ว่า จีนกล่าวหาว่าทหารของเราแพร่เชื้อให้พวกเขา ทหารของเราไม่ได้แพร่เชื้อให้ใครเลย

Source

]]>
1268745
ถอดถอน “ทรัมป์” รอดหรือร่วง…เเละทำไม “บลูมเบิร์ก” รวยเเซงหน้าทรัมป์ ถึง 17 เท่า https://positioningmag.com/1257976 Fri, 20 Dec 2019 09:40:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257976 ในยามที่กำลังลุ้นว่า “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 45 จะถูกถอดถอนออกจากตำเเหน่ง ไปไม่ถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงปลายปีหน้าหรือไม่ Positioning พามาดูขุมทรัพย์ของมหาเศรษฐี 2 ตัวเต็งชิงผู้นำอเมริการะหว่างเจ้าพ่อสื่อ ไมเคิล บลูมเบิร์ก VS โดนัลด์ ทรัมป์ เเละวิเคราะห์โอกาสในการถอดถอน “ทรัมป์” ว่ามีมากน้อยเเค่ไหน

ทำไม “บลูมเบิร์ก” รวยเเซงหน้า “ทรัมป์” ถึง 17 เท่า

ทุกคนรู้ดีว่าปัจจุบันช่องว่างของความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยเเละคนจนมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยเละประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ขณะเดียวกันช่องว่างนี้ก็เกิดขึ้นระหว่างคนรวยกับคนรวยด้วย เมื่อมองไปถึงการชิงตำเเหน่งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะกำลังจะมีขึ้นในปี 2020

“โดนัลด์ ทรัมป์” (Donald Trump) ผู้นำสหรัฐฯ คนปัจจุบันจากพรรครีพับลิกัน ได้รับการประเมินว่ามีความมั่งคั่งอยู่ที่ 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.37 หมื่นล้านบาท) ติดอันดับ 715 ของทำเนียบมหาเศรษฐีโลกปีนี้ จากการจัดอันดับของ Forbes ถือว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่บนโลก

แต่ทรัพย์สินของทรัมป์ กลับดูน้อยมากหากเทียบกับทรัพย์สินของผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีตัวเต็งจากพรรคเดโมเเครตอย่าง “ไมเคิล บลูมเบิร์ก” (Michael Bloomberg) ผู้ครองความมั่งคั่งกว่า 5.3 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 1.64 ล้านล้านบาท ) ติดอันดับ 9 ของทำเนียบมหาเศรษฐีโลกปีนี้ 

บลูมเบิร์ก สามารถบริหารจัดการธุรกิจและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม เเละเพิ่มความมั่งคั่งได้เป็นทวีคูณ โดยติดอันดับ 400 บุคคลที่รวยที่สุดในอเมริกาหรือ Forbes 400 เป็นครั้งแรกได้ในปี 1992 ซึ่งคนที่จะติดอันดับได้ต้องมีสินทรัพย์ 350 ล้านเหรียญขึ้นไปในขณะนั้น หลังจากบริษัทของเขาที่ให้บริการข้อมูลหุ้น พันธบัตร และอื่นๆ เริ่มเป็นที่นิยมในวอลสตรีท

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ฟาก “ทรัมป์” ต้องฝ่าวิกฤตเพื่อรักษาอาณาจักรของครอบครัวไว้ หลังมีหนี้สินก้อนโตจนเกือบล้มละลาย

ฟ้าหลังฝน ทรัมป์ฝ่าวิกฤตได้และกลับเข้ามาสู่ทำเนียบ Forbes 400 ได้ในปี 1996 ด้วยความมั่งคั่งราว 450 ล้านเหรียญ ขณะที่ บลูมเบิร์ก ตอนนั้นมีความมั่งคั่งอยู่ราว 1 พันล้านเหรียญ เเล้ว จากมูลค่าหุ้นในธุรกิจข้อมูลทางการเงินของเขา

ตลอดช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ความมั่งคั่งสุทธิของทรัมป์ เพิ่มขึ้นในอัตรา 8.8% ต่อปี มากกว่าผลตอบแทนของดัชนีหุ้น S&P 500 ซึ่งอยู่ที่ 6.7% ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยผลตอบแทนของทรัมป์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในปี 1996-1997 ซึ่งทำให้เขาก้าวกระโดดจาก 450 ล้านเหรียญมาเป็น 1.4 พันล้านเหรียญ

ขณะที่ความมั่งคั่งของบลูมเบิร์ก มีการเติบโตเเละมีความเสถียรมากกว่า ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 18.8% ต่อปี

ผลตอบแทนเเละการเติบโตทางธุรกิจที่โดดเด่น การขยายกิจการเเละเข้าซื้อธุรกิจสื่อ ทำให้บลูมเบิร์กรวยขึ้นมหาศาล เเซงหน้าเหล่ามหาเศรษฐีที่ธุรกิจส่วนใหญ่ยังเป็นการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์เก่าดั่งเช่นทรัมป์

โดยช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา บริษัท Bloomberg LP เติบโตขึ้นจากการขยายการรายงานข่าวธุรกิจและการเงินเข้ามาด้วย จากเดิมที่เพียงให้บริการข้อมูลด้านการเงินเท่านั้น

จากนั้น Bloomberg LP ได้เข้าซื้อกิจการหนังสือ BusinessWeek ซึ่งกำลังประสบปัญทางการเงินอย่างหนักจาก McGraw-Hill ด้วยมูลค่า 5 ล้านเหรียญ และรับโอนหนี้สินมาอีกเกือบ 32 ล้านเหรียญในปี 2009

ปัจจุบัน ประเมินว่า Bloomberg LP มีรายได้อยู่ที่ 1 หมื่นล้านเหรียญและ “ไมเคิล บลูมเบิร์ก” ผู้ก่อตั้งนั้นถือครองหุ้นอยู่ 88% ของบริษัท

ไมเคิล บลูมเบิร์ก นักธุรกิจผู้ท้าชืงตำเเหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ในปี 2020 – AFP Photo/Olivier Douliery

นอกจากนี้เจ้าพ่อสื่ออย่างบลูมเบิร์ก ยังมีชื่อเสียงจากการเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีที่บริจาคเงินเพื่อการกุศล โดยเขาบริจาคเงิน 8 พันล้านเหรียญให้กับองค์การกุศลและกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ รวมถึงมหาวิทยาลัย Johns Hopkins
และกิจกรรมที่ผลักดันการควบคุมอาวุธปืน

เเม้การเอาชนะใครบางคนได้ในสนามธุรกิจ กับการเอาชนะใครบางคนได้ในสนามเลือกตั้งนั้นต้องใช้ทักษะที่แตกต่างกัน ซึ่งในปีหน้านี้ บลูมเบิร์ก ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กมาเเล้ว 3 สมัย จะได้รับโอกาสพิสูจน์ตัวเองว่าเขาจะสามารถต่อสู้กับทรัมป์บนเวทีการเมืองได้หรือไม่เเละอย่างไร

ทุ่มเงินซื้อโฆษณาเลือกตั้ง 2020

มีรายงานจาก Advertising Analytics บริษัทด้านสำรวจโฆษณาในสหรัฐฯ เผยว่าบลูมเบิร์กได้ทุ่มเงินจำนวนอย่างน้อย 33 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 990 ล้านบาท) ซื้อโฆษณารณรงค์ประชาสัมพันธ์การสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาในหลายรัฐ

เป็นที่น่าสนใจว่า เงินดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกลงไปกับการซื้อโฆษณาหาเสียงในรัฐที่เป็นฐานเสียงของพรรคคู่เเข่งอย่างรีพับลิกัน และถือเป็น “Swing State” ที่มีจำนวน Electoral College หลายที่นั่ง เช่น รัฐฟลอริดา โอไฮโอ มิชิแกน ยูทาห์ และเท็กซัส

เเม้ข้อมูลตัวเลขของเเคมเปญดังกล่าวจะยังไม่ชัดเจน เเต่ก็นับว่าสูงกว่าสมัยที่อดีตประธานธิบดี “บารัค โอบามา” เคยใช้เงินซื้อโฆษณาที่ 24 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า ทีมหาเสียงของมหาเศรษฐี “บลูมเบิร์ก”
อาจใช้เงินในการรณรงค์แคมเปญหาเสียงสูงเลือกตั้งครั้งนี้ถึง 100 ล้านเหรียญเลยทีเดียว

ถอดถอน “ทรัมป์” รอดหรือร่วง?

ล่าสุดกับข่าวใหญ่ของการเมืองสหรัฐและการเมืองโลกในช่วงปลายปีนี้ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ลงมติด้วยคะแนน 230 :197 ถอดถอน (impeachment) ประธานาธิบดีทรัมป์ใน 2 ข้อกล่าวหาคือ ข้อหาการใช้อำนาจในทางมิชอบ และขัดขวางกระบวนการสอบสวนของสภาคองเกรส โดยพรรคเดโมแครตมี ส.ส. จำนวน 232 เสียง ซึ่งโหวตเห็นชอบเกือบหมด ส่วนพรรครีพับลิกันมี ส.ส. จำนวน 195 เสียงเเละโหวตคัดค้านทุกคน

เเฟ้มภาพ – โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45

ส่งผลให้ทรัมป์กลายเป็นผู้นำคนที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่ถูกพิจารณาถอดถอนในขั้นตอนของสภาผู้แทนราษฎร ถัดจากแอนดรูว์ จอห์นสัน และ บิล คลินตัน

อย่างไรก็ตาม การถอดถอนประธานาธิบดีไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องอาศัยเสียงโหวตในสภา โดยการเสนอถอดถอนต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง (1/2) ของสภาล่าง (ผ่านเเล้ว) แต่การโหวตตัดสินว่าผิดจริงหรือไม่ต้องใช้เสียงถึง 2/3 ของสภาสูงหรือวุฒิสภา ที่มีจำนวน 100 ที่นั่ง หรือเท่ากับต้องมี 67 เสียงขึ้นไปถึงจะถอดถอนได้

เเละเมื่อมองดูจากสถานการณ์ ตอนนี้พรรครีพับลิกันนั้นครองเสียงข้างมากในสภาสูงคือ 53 เสียง พรรคเดโมแครตมี 45 เสียง และวุฒิสมาชิกอิสระอีก 2 เสียง ทำให้การที่พรรคเดโมเเครตจะมีคะเเนนโหวตถึง 2/3 ของสภาสูงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้การเมืองสหรัฐฯ มีการเเบ่งขั้วชัดเจน (ดูจากพรรครีพับลิกันมี ส.ส. จำนวน 195 เสียงก็โหวตคัดค้านพร้อมเพรียงกันทุกคน)

อย่างไรก็ตาม หากเกิดการ “พลิกล็อก” ขึ้นมาจริงๆ ในกรณีทรัมป์ถูกถอดถอนสำเร็จ รองประธานาธิบดี “ไมค์ เพนซ์” (Mike Pence) ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลพรรครีพับลิกันก็ยังคงบริหารต่อไป โดยขึ้นมารับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน

นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าการยื่นถอดถอนทรัมป์ของพรรคเดโมเเครตครั้งนี้ เป็นเทคนิคทางการเมืองที่ทำให้คู่เเข่งอย่างรีพับลิกันไขว้เขวเเละไม่โฟกัส การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะมาถึงในช่วงปลายปีหน้า เพราะกระบวนการต่อสู้ต้องใช้ทรัพยากรมากทั้งการเตรียมข้อมูล การหักล้างฟาดฟันกัน

ในมุมกลับกันก็อาจเป็นการสร้างเเนวร่วมให้กับฐานเสียงของทรัมป์ด้วย ซึ่ง The Wall Street Journal ออกมาวิเคราะห์ว่าการยื่นถอดถอนทรัมป์ครั้งนี้ อาจเป็นการยืนยันว่าทรัมป์จะชนะเลือกตั้งสมัยหน้าอีกก็เป็นได้ (อ่านเพิ่มเติมใน The Democrats Could Re-Elect Trump in 2020) 

ที่มา

 

]]>
1257976