E-Waste – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 06 Dec 2023 09:20:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เอไอเอส x กลุ่มเซ็นทรัล สานภารกิจความยั่งยืน ปั้นโมเดลการจัดการขยะแบบครบวงจร https://positioningmag.com/1454593 Wed, 06 Dec 2023 08:46:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454593 เอไอเอส ร่วมกับ กลุ่มเซ็นทรัล เดินหน้าสานพันธกิจ ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม สร้างโมเดลด้านการจัดการขยะทุกประเภทให้ถูกวิธีด้วยการร่วมมือกันของ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ เร่งการเปลี่ยนแปลงผ่านการสร้างความร่วมมือส่งเสริมทุกภาคส่วนให้เกิดการจัดการขยะแบบ 100 % เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมที่เริ่มต้นได้ง่ายๆ จากตัวเรา

ทั้งนี้การยกทีมผู้บริหารลงพื้นที่ ณ หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เกาะชินโชกุประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการซึมซับแนวคิด Zero Waste และกระบวนการจัดการขยะที่ทรงประสิทธิภาพและต่อเนื่องอย่างการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท ผ่านหลักการพื้นฐานที่ทุกคนทำได้โดยการลดขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) จนกลายเป็นเมืองต้นแบบปลอดขยะระดับโลกพร้อมนำมาต่อยอดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า

“นโยบายหลักของเรา นอกจากสร้างมาตรฐานของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าอย่างเป็นเลิศแล้ว ยังมีภารกิจในการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม สนับสนุนสู่ Sustainable Nation โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ใน 2 แกนหลัก คือ 1) ลดผลกระทบผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ 2) ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัด E-Waste อย่างถูกวิธี เพราะการมาถึงของ Digital ส่งผลให้เกิดขยะ E-Waste มากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาระดับโลก เช่นกรณีมูลค่าขยะ E-Waste ที่ถูกเผาทำลายมีมากถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ปริมาณที่สูญหายในระหว่างทางนั้นมีอยู่มหาศาลและสามารถส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหากกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง”

“จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนภารกิจคนไทยไร้ e-waste ในปี 2562 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี 2563 รณรงค์และเป็นช่องทางรับทิ้ง E-Waste ได้สะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น ผ่านศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัลที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 37 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงร้าน Power Buy ผู้นำธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที มือถือ แกดเจ็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร รวม 40 สาขาทั่วประเทศ และผ่าน Application E-Waste Plus ที่เพิ่มเติมเข้ามา อันเป็นการร่วมเสริมพลังกับ 190 องค์กร ขับเคลื่อน HUB of e-waste ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแห่งแรกของไทย ที่มีทั้งความรู้ เครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ การขยายจุดรับทิ้งให้ครอบคลุม การบริการด้านการขนส่ง และการรีไซเคิลสู่กระบวนการ Zero e-waste to landfill ได้ในท้ายที่สุด”

พิชัย  จิราธิวัฒน์  กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า

การจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากตัวเราเองที่ต้องทำทุกวันและต่อเนื่องจนเป็นนิสัย และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสำเร็จได้ต้องร่วมมือกันทำจากทุกภาคส่วน จึงเป็นที่มาของการผนึกกำลังกันระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล และ เอไอเอส ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการสานต่อจากโครงการ การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ซึ่งทางกลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นสานต่อเจตนารมณ์ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ – ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ” โครงการเพื่อความยั่งยืนดำเนินการโดยกลุ่มเซ็นทรัลผ่าน 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน

  1. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทาสาธารณภัย (Community & Social Contribution)
  2. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาส อย่างเท่าเทียม (Inclusion) การศึกษา (Education)
  3. พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development)
  4. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (Circular Economy & Waste Management)
  5. ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Reduction)
  6. ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน (Climate Action)ทำให้เรามีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร และขับเคลื่อนการลดการสร้างขยะให้เป็นศูนย์ผ่านแคมเปญ Journey to Zero เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 เพื่อสร้างคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมทุกมิติ เป็นรีเทลแห่งแรกของไทยที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์ต้นแบบในด้านการจัดการขยะทั่วประเทศ เราพร้อมที่จะเร่งปรับและเปลี่ยนเพื่อโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน

การเดินหน้าภารกิจศึกษาแนวคิด และกระบวนการจัดการขยะในครั้งนี้ ทั้ง 2 บริษัทเห็นพ้องตรงกันว่า เราจะร่วมมือกันทำ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเห็นประเทศไทยมีโมเดลต้นแบบในการ คัด แยก ทิ้งขยะ ได้อย่างถูกที่และถูกวิธีและยังเป็นการลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกมากมาย พร้อมสร้างพฤติกรรมการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นถัดไป

กรณีศึกษา Kamikatsu Zero Waste เมืองคามิคัตสึ

คามิคัตสึ เป็นเมืองในจังหวัดโทคุชิมะ ที่ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น มีประชากรเพียง 1,401  คน หรือ 734 ครัวเรือน (ตัวเลข ณ วันที่ 1 ต.ค. 2023) โดยมีสัดส่วนเป็นผู้สูงอายุ เป็น 52.25%

เมืองคามิคัตสึ มีพื้นที่ขนาด 109.63 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ป่าไม้ 88% และ 80% เป็นป่าปลูก) มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-700 เมตร

โดยที่เมืองคามิคัตสึ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องปลอดขยะ และการจัดการขยะอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นต้นแบบการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่เรียนรู้ของคนที่รักสิ่งแวดล้อม เริ่มทำโครงการ Zero Waste ตั้งแต่ปี 2003 มีการแยกขยะอย่างจริงจัง ส่งไปรีไซเคิล หรือรียูสได้

ในปี 2020 สามารถทำให้ขยะเป็นศูนย์ได้ราว 80% โดยมีกระบวนการเอาไปรียูส รีไซเคิล ส่วนอีก 19% ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องนำไปฝังกลบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหนังยางรัดแกง รองเท้า ของที่แยกชิ้นส่วนไม่ได้ และขยะอันตราย เช่น ผ้าอ้อม หน้ากากอนามัย ทิชชู และขยะปนเปื้อนต่างๆ

Zero waste หรือขยะเป็นศูนย์ หมายถึง การกำจัดของเสียและขยะ แต่สำหรับเมืองคามิคัตสึไม่เพียงหมายถึงการจัดการขยะเท่านั้น แต่ยังหมายถึงวิธีคิดที่จะไม่สร้างขยะตั้งแต่เริ่มแรก

ประวัติศาสตร์ของ เมืองคามิคัตสึ

1974       โรงบำบัดดินส่วนเกินฮิบิกาทานิถูกใช้เป็นโรงบำบัดขยะชั่วคราว

1991       มีการให้เงินอุดหนุนสำหรับซื้อถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 3,100 เยน) จนถึงปี 1999

1994       จัดทำแผนเมืองรีไซเคิลคามิคัตสึ

1995       มีการอุดหนุนการซื้อเครื่องกำจัดขยะไฟฟ้า (Gomi nice) สำหรับครัวเรือน (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 10,000 เยน)

1996       ปิดโรงบำบัดขยะฮิบิกาทานิบางส่วน (ยกเลิกในส่วนการฝังกลบขยะที่เผาไม่ได้และขยะขนาดใหญ่)

1997       เปิดสถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิ และเริ่มการคัดแยกขยะออกเป็น 9 ประเภท

1998       ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก 2 แห่ง และปิดสถานที่เผาขยะฮิบิกาทานิ (เผาขยะกลางแจ้ง)

2001       ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก เริ่มจัดระบบการคัดแยกเป็น 33 หมวดหมู่ (หลังจากปีนี้ไม่นานก็ได้เพิ่มเป็น 35 หมวดหมู่) ที่สถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน

2003       ออกปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)

2005       เปิดตัวองค์กรไม่แสวงหากำไร (NPO) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ขยะเป็นศูนย์ ชื่อ Zero Waste Academy

2006       เปิดศูนย์ส่งเสริมการซื้อสินค้าใช้ซ้ำ Kurukuru Shop

2007       เปิดร้านรีเมค Kurukuru Kobo แหล่งรวบรวมสินค้ารีไซเคิล

2008       เริ่มมีการให้เช่าอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่ใช้แล้วนำไปใช้ซ้ำ

2013       เริ่มแคมเปญสะสมคะแนน Chiritsumo (เป็นคะแนนที่ได้จากจากการคัดแยกกระดาษต่างๆ ฯลฯ และดัดแปลงเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน)

2016       เปลี่ยนจำนวนหมวดหมู่การคัดแยกขยะอย่างเป็นทางการ จาก 34 ประเภทเป็น 13 ประเภท และ 45 หมวดหมู่สามารถทำยอดรีไซเคิลขยะได้ในอัตราสูงกว่า 80% เป็นครั้งแรก

2017       ริเริ่มการให้การรับรองขยะเป็นศูนย์เริ่มการทดสอบการขายขยะตามน้ำหนักเริ่มนำเสนอเซ็ตผ้าอ้อมที่ทำจากผ้า

2018       เริ่มรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก

2020       ก่อสร้างศูนย์ Kamikatsu-cho Zero Waste Center เพื่อช่วยกำจัดขยะเมืองคามิคัตสึให้เป็นศูนย์เสร็จสมบูรณ์

ปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ของเมืองคามิคัตสึ

17 ปีหลังจากออกปฏิญญา Zero Waste ในปี 2003 คนในชุมชนทุกคนได้ร่วมกันลดขยะในเมืองคามิคัตสึและได้พิสูจน์ตนเองด้วยสถิติรีไซเคิลขยะได้ในอัตรามากกว่า 80% ซึ่งความท้าทายในการร่วมกันกำจัดขยะของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ได้ดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลก และได้ปูทางเมืองแห่งนี้ไปสู่สังคมที่ยั่งยืนโดยเมืองคามิคัตสึมีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้มีความงามทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่ทำให้ทุกคนมีความสุข และสามารถเติมเต็มความฝันของพวกเขาได้ และในฐานะผู้บุกเบิกเรื่องขยะเป็นศูนย์ เมืองคามิคัตสึก็ได้ประกาศนโยบายขยะเป็นศูนย์อีกครั้ง ผ่านเป้าหมายหลัก “การคิดถึงอนาคตของสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลาน ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล และส่งเสริมผู้อื่นให้ร่วมลงมือ” โดยตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030

เมืองคามิคัตสึดำเนินโครงการริเริ่มการรีไซเคิลอย่างทั่วถึงเพื่อบรรลุสังคมขยะเป็นศูนย์ โดยสื่อสารปรัชญาและความคิดริเริ่มขยะเป็นศูนย์ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มเปอร์เซ็นต์คนที่มีความคิดไปในแนวเดียวกันในสังคม

]]>
1454593
สรุปเวทีสัมมนา “AIS Greenovation The Road Towards Digital World” ที่ยิ่งตอกย้ำว่าปัญหา ‘สิ่งแวดล้อม’ ต้องเร่งช่วยกันแก้ https://positioningmag.com/1451302 Fri, 10 Nov 2023 01:43:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451302

หนึ่งในพาย 3 ชิ้นที่ เอไอเอส (AIS) ยึดเป็นแนวทางในการทำงานก็คือ ความยั่งยืน ทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ รวมถึง สิ่งแวดล้อม ที่เอไอเอสให้ความสำคัญมาโดยตลอด ล่าสุดเอไอเอสเปิดเวทีสัมมนา AIS Greenovation The Road Towards Digital World เชื่อมต่อนวัตกรรมสู่การเติบโตในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน” ชวนพาร์ทเนอร์และ Stake Holder มาถกประเด็นถึงด้านสิ่งแวดล้อมและแนวทางการทำงานเพื่อร่วมกันลด และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน


ไทยสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 6 แสนล้านบาทจากโลกร้อน

ภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ได้มาเล่าให้ฟังว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม พื้นที่กรุงเทพฯ มีอุณหภูมิทะลุเกิน 40 องศา ที่ 42-44 องศาเลยทีเดียว ส่วนในยุโรปเองอุณหภูมิก็สูงขึ้น 5 องศาต่อเนื่อง 5 วัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนเเปลงทางสภาพภูมิอากาศถึง 6 ราย และการที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3-5 องศา ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 7 เมตร เลยทีเดียว

โดยนับตั้งแต่ปี 2011 ประเทศไทยได้สูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 6 แสนล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น เป็น 2.89 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่างบของประเทศทั้งหมดกว่า 3 ล้านล้านบาท


มี E-Waste ในไทยเพียง 10% ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้อง

เอื้อง สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS เล่าถึงสาเหตุที่เอไอเอสริเริ่มโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ว่า ในช่วง 6 ปีหลังมานี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) มีส่วนทำให้ก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นกว่า 53% โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกเผาทำลายคิดเป็นมูลค่าถึง 57,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมีมูลค่าเพียง 10,000 ล้านดอลลาร์ เท่านั้น ขณะที่ประเทศไทย มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 10% เท่านั้น

จากการคาดการณ์ของ GSMA พบว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกถือครองโทรศัพท์ราว 5.4 พันล้านเครื่อง และภายในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 9 พันล้านเครื่อง หรือเกือบเท่าตัว หรือเฉลี่ยแล้วแต่ละคนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 8 กิโลกรัม และปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นเป็น 110 เมตริกตัน ภายในปี 2050

โดยจากการสำรวจพบว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วไว้กับตัว หรือทิ้งแบบผิด ๆ ได้แก่

  • ไม่รู้จะทิ้งที่ไหน (83%)
  • ไม่รู้ว่ารีไซเคิลได้ (60%)
  • กลัวข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล (52%)

ดังนั้น ในแกน ลดและรีไซเคิลของเสีย จากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เอไอเอสและพาร์ทเนอร์กว่า 190 องค์กรทั่วประเทศ ร่วมกับเป็น Hub of E-Waste ที่จะเป็นพื้นที่สร้างการตระหนักรู้ สร้างจุดดร็อปพ็อยต์รับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ สร้างกระบวนการคัดแยก จัดส่ง และนำไปรีไซเคิลโดยปราศจากการฝังกลบ รวมถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามายกระดับการจัดการโดยแอปฯ E-Waste Plus ที่ช่วยให้ติดตามเส้นทางการกำจัดและคำนวนคาร์บอนสกอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต และลูกค้าเอไอเอสจะได้รับพ็อยต์เมื่อทิ้ง E-Waste กับเอไอเอส

“ยิ่งโลกเข้าสู่โลกดิจิทัลแค่ไหน อุปกรณ์ก็ยิ่งเพิ่มเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เอไอเอสตระหนักและทำให้เกิดเป็นวาระที่ต้องพูดคุยว่าจะทำอย่างไรกับมัน และเราไม่เหนื่อยที่จะสร้างอแวร์เนสหรือเอดดูเขตผู้คน เราพร้อมที่จะร่วมกับทุกหน่วยงาน เราพร้อมมาก” สายชล ย้ำ


ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจเสียหาย ตัวมนุษย์เองยิ่งเสีย

สมปรารถนา นาวงษ์ ผู้ก่อตั้ง “เพจอีจัน” กล่าวต่อว่า การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบไม่ถูกวิธีส่งผลเสียมากกว่าการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจหรือทรัพยากรในการนำไปรีไซเคิล แต่ขยะอิเล็กทรอนิกส์หากนำไปเผาทำลายหรือทำลายไม่ถูกวิธีจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกาย เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งตะกั่ว, ปรอท และสารพิษอื่น ๆ ซึ่งมันก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย หรือถ้าไปอยู่ในดินหรือแหล่งน้ำ มันก็จะกลับมาสู่ห่วงโซ่ระบบนิเวศและมาสู่ร่างกายคนเราในที่สุด

“คนไทยหลายคนเลือกขายให้กับซาเล้ง เขาก็ไปชำแหละหาของที่นำไปขายได้ อะไรขายไม่ได้เขาก็เผาทิ้ง ซึ่งก็ไปทำลายชั้นบรรยากาศ ตัวเขาเองก็สูดดมควันพิษ มีการสุ่มเจาะเลือดแรงงานหลายคนพบว่ามีสารตะกั่วปนในเลือด บางรายเกินมาตรฐาน หรือในดินที่มีการเผาหรือฝังขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสารตะกั่วเกินมาตรฐาน 20 เท่า สารหนู 5 เท่า” สมปรารถนา กล่าว


เดินหน้าสร้างเน็ตเวิร์กสีเขียว

ไม่ใช่แค่แกนลดและรีไซเคิลของเสีย แต่เอไอเอสก็มีแผน ลดผลกระทบผ่านการบริหารจัดการกระบวนการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โดย วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไปแล้วถึง 131,752 ตัน หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้รวม 17 ล้านต้น

โดยหนึ่งในกิจกรรมที่เอไอสทำคือ เปลี่ยนสถานีฐานมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 8,884 สถานี โดยสามารถ ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 39,832 ตัน โดยเอไอเอสมีแผนเปลี่ยนสถานีฐานมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้น 4,000 สถานี  รวมถึงมีแผนการนำ AI มาใช้จัดการเครือข่ายอัตโนมัติ Autonomous Network  โดยตั้งเป้าพัฒนาเครือข่าย  Autonomous Network ไปสู่มาตรฐาน L3 (Level 3) ในปีนี้และ L5 ในปี 2025

“หากนับเฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมคอนซูเมอร์ มีการใช้พลังงาน 0.4% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั่วโลก อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการโทรคมนาคมกว่า 50% รวมถึงเอไอเอสก็มีความพยายามลดใช้พลังงาน สร้างกรีนเน็ตเวิร์ก และต้องการไป  Net Zero” วสิษฐ์ ทิ้งท้าย

 

 

]]>
1451302
AISยกระดับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ เป็นรายแรกในอาเซียน https://positioningmag.com/1412315 Wed, 14 Dec 2022 13:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412315

เมื่อปัญหาโลกร้อน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหัวข้อใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ หลายองค์กรต่างมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความยั่งยืน หรือกำหนดเป็นนโยบายใหญ่เลยก็มี เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกัน ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

AIS เป็นหนึ่งในองค์กรยักษ์ใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและ Sustainability มาโดยตลอด เรียกว่าให้ความสำคัญควบคู่กันไปทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในภาคส่วนของสิ่งแวดล้อมนั้น ทาง AIS ได้โฟกัสทั้งในแง่ของ Emission ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคธุรกิจให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการช่วยสิ่งแวดล้อม ทั้งการใช้ e-Bill การส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชั่น เพื่อลดการใช้กระดาษ และลดทราฟิกของลูกค้าในการเดินทางมาที่สาขา เป็นการลดขยะ และลดค่าน้ำมันได้พร้อมๆ กัน

นอกจากนี้ AIS ยังได้เริ่มพัฒนาอีโคซิสเท็มในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2562 ภายใต้ภารกิจ “คนไทยไร้ E-Waste” เรียกว่าเป็นองค์กรอันดับต้นๆ ที่ตื่นตัวในเรื่องการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ก็ว่าได้

โครงการนี้เป็นการการรับรู้ให้คนไทยต่อขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่สร้างองค์ความรู้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกวิธี ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในการสร้างความตระหนักรู้ในการทิ้งขยะ และเปิดจุดบริการฝากทิ้งทั่วประเทศ เพื่อเป็นการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธี รวมไปถึงกระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมาโครงการคนไทยไร้ E-Waste มีพาร์ทเนอร์ทั้งหมด 142 ราย มีจุดดร็อปให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2,484 จุด และมีจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 397,376 ชิ้น

ถ้าเปรียบโครงการคนไทยไร้ E-Waste อยู่ในเฟสที่ 1 ในปีนี้ AIS ก็พร้อมยกระดับเข้าสู่เฟสที่ 2 ด้วยแพลตฟอร์ม E-Waste+ พร้อมกับการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาพัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ ตั้งแต่ผู้ทิ้งจนถึงโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการขยะ E-Waste ได้ง่ายขึ้น เห็นผลลัพธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่สำคัญแพลตฟอร์มนี้ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มนำร่องกับ 6 องค์กรพันธมิตร

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า

“จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกภาคส่วน สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากขึ้น เราจึงขยายผลไปอีกขั้นด้วยการ Redesign Ecosystem เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถลงมือบริหารจัดการ E-Waste ในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Waste+ โดยเทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่”

ถ้าให้อธิบายให้เห็นภาพยิ่งขึ้น ก็คือ ในเฟสที่ 1 โครงการคนไทยไร้ E-Waste เป็นการตั้งจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงจุดทิ้งได้ง่ายขึ้น และเริ่มตระหนักถึงการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จากเดิมที่ไม่มีเจ้าภาพ หรือไม่มีใครที่ให้ความรู้ในด้านนี้อย่างจริงจัง

แต่ในเฟสที่ 1 ก็มี Pain Point หลายจุด ที่ทำให้การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก็คือ เมื่อเป็นจุดที่ตั้งทิ้งเฉยๆ ทำให้ผู้บริโภคทิ้งขยะอื่นๆ ลงไป แทนที่จะมีแค่ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียว แต่ในเฟส 2 เป็นเวอร์ชั่นอัพเกรด ถ้าในภาษาวัยรุ่นต้องบอกว่า “แบบใหม่แบบสับ” เมื่อเรานำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งแล้วสามารถแทร็คกิ้งแบบเรียลไทม์ได้ว่าตอนนี้ขยะอยู่ในกระบวนการใดและเปลี่ยนเป็นคาร์บอนสกอร์เท่าไหร่ทำให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตนเองมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณเท่าไหร่บ้าง

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS เล่าว่า

“แพลตฟอร์ม E-Waste + เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยทำให้ผู้ทิ้งมั่นใจว่าขยะ E-Waste จะถูกนำส่งไปยังกระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใส สามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลก Metaverse ได้”

อราคินยังกล่าวเสริมอีกว่า โดยปกติแล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 4 แสนตัน แต่มีการจัดเก็บอย่างถูกต้องเพียงแค่ 1% เท่านั้น แต่เดิมการตั้งที่ให้คนทิ้งเฉยๆ อย่างเดียวไม่ค่อยได้ผล ต้องมีการให้ความรู้ผู้บริโภค ควบคู่กับการสร้าง Incentive ไปด้วย

โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้คาร์บอนสกอร์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย แรกเริ่มอาจจะเริ่มจากการเปลี่ยนคาร์บอนสกอร์ เป็น AIS Point ก่อน จากนั้นจะเริ่มเปลี่ยนเป็น Utility Token อื่นๆ ที่สามารถใช้ได้สำหรับผู้บริโภคทุกคน ไม่ได้จำกัดแค่ลูกค้า AIS อย่างเดียว

เบื้องต้น AIS ได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กร ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย ที่จะเข้ามาเริ่มใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อส่งต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคลากรในองค์กรและสังคม

สายชลยังได้เสริมถึงการเป็นพันธมิตรของทั้ง 6 องค์กรนี้ว่า เป็น “อารีย์ คอมมูนิตี้” เริ่มต้นจากองค์กรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเส้นถนนพหลโยธินก่อน เป็นย่านเดียวกันกับ AIS นั้นเอง ทั้งธนาคารออมสิน, ธนาคารกสิกรไทย, เด็นโซ่, เงินติดล้อ ล้วนมีสำนักงานอยู่ในระแวกเดียวกัน ย่านอารีย์นี้จึงกลายเป็นแซนด์บ็อกซ์ในการนำร่องโครงการนี้ ก่อนจะขยายไปยังที่อื่น

ความสำคัญอีกหนึ่งสิ่งของแพลตฟอร์ม E-Waste+ ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ AIS ที่ต้องการยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาบูรณาการได้อย่างตรงจุด สามารถสร้างระบบการจัดการ E-Waste แบบใหม่ได้ด้วย Blockchain เป็นการกาวข้ามขีดจำกัดแบบเดิมๆ พร้อมกันนี้ยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจในการช่วยจำกัดขยะอิเล็คทรอนิกส์ได้อย่างยั่งยืน

“แพลตฟอร์ม E-Waste+เปิดตัวเป็นครั้งแรกในอาเซียนสามารถเอาจุดแข็งของโครงข่ายอัจฉริยะของ AISและเอาเทคโนBlockchainมาพัฒนาเพื่อบริหารจัดการให้ดีขึ้นจึงอยากให้มีหลายองค์กรมาร่วมมือกันมากขึ้นไม่ใช่การเพิ่มจำนวนขยะแต่ช่วยสร้างการรับรู้ช่วยกันเปลี่ยนพฤติกรรมเชื่อว่าทุกองค์กรมีเป้าหมายด้านยุทธศาสตร์ความยั่งยืนทุกองค์กรพูดเรื่อง ESGแต่เวลาลงมือทำจะทำคนเดียวไม่ได้ต้องทำร่วมกันถึงจะประสบความสำเร็จ” สายชลกล่าวทิ้งท้าย

สำหรับองค์กรใดสนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: [email protected] หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://ewastethailand.com/ewasteplus

กระบวนการทำงานของ E-Waste+

  • E-Waste+ สามารถดาวน์โหลดรองรับทุกเครือข่ายและทั้งระบบ Android และ IOS โดยกดค้นหาคำว่า “E-Waste+” เพื่อดาวน์โหลด หลังจากนั้นลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกผู้รักษ์โลก โดยกรอกชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และตั้งรหัสผ่าน หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบ (โดยสามารถลงทะเบียนได้ทุกเครือข่าย)สามารถโหลดแอปE-Waste+ ได้ทาง https://m.ais.co.th/ApH8dgAi8
  • การทำงานของทั้งระบบจะใช้เพียง Application เดียว ลงทะเบียนและนำขยะ E-Waste มาทิ้งที่จุดรับ E-Waste+ โดยมีเจ้าหน้าที่ในการรับขยะ E-Waste ถ่ายภาพและใส่ข้อมูล ระบบก็จะบันทึกการทิ้งขยะ โดยผู้ใช้งานก็จะเห็นได้ว่าขณะนี้ E-Waste ของคุณอยู่ในขั้นตอนไหน
  • เมื่อขยะ E-Waste ที่ถูกรวบรวมถึงโรงงานแยกขยะ จะทำการตรวจสอบเมื่อพบว่ามีขยะดังกล่าวจริงก็จะยืนยัน และแสดงผลลัพธ์การส่งขยะเสร็จสมบูรณ์ถึงโรงงานที่ได้มาตราฐานเพื่อทำการจัดการอย่างถูกวิธีแก่ผู้ทิ้งขยะจนออกมาเป็น Carbon Score

ประเภทของที่รับในการทิ้งผ่านแอปพลิเคชันE-Waste+

  • โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
  • อุปกรณ์เสริมมือถือ และแท็บเล็ตเช่นหูฟัง, ลำโพง, สายชาร์จ, อะแดปเตอร์
  • ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, เมาส์, คีย์บอร์ด, ฮาร์ดดิส, ลำโพง
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป, เครื่องเล่นดีวีดี, จอยเกมส์, วิทยุสื่อสาร, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์บ้าน, รีโมทคอนโทรล, เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น

ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่, พาวเวอร์แบงค์, ถ่านไฟฉายทุกประเภท

]]>
1412315
‘ออปโป้’ ประกาศวิสัยทัศน์ ‘Inspiration Ahead’ พร้อมยกระดับเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน https://positioningmag.com/1377922 Thu, 17 Mar 2022 10:00:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377922

ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟน ได้กลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของคนทั่วโลกไปเรียบร้อยแล้ว โดยในแต่ละปีมียอดขายรวมกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่ตามมาก็คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และกำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของโลก


e-waste จะเพิ่มเป็น 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030

จากรายงานของ The Global E-Waste Monitor 2020 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nation University, UNU) คาดการณ์ว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมากถึง 53.6 ล้านเมตริกตัน ในปี 2019 และจะสูงขึ้นถึง 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030 โดยทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดกว่า 24.9 ล้านเมตริกตัน ในปริมาณขยะทั้งหมดมีเพียง 17.4% ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ที่เหลืออีกกว่า 82.6% ไม่สามารถติดตามได้

แน่นอนว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีล้วนตระหนักถึงปัญหาและพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยหนึ่งในนั้นก็คือ ออปโป้ (OPPO) ซึ่ง OPPO ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์สมาร์ทโฟนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ Eco Rating Labeling Scheme ซึ่งจะประเมินประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของสมาร์ทโฟนใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ ความทนทาน ความสามารถในการซ่อมแซม ความสามารถในการรีไซเคิล ประสิทธิภาพด้านความเป็นมิตรต่อสภาพอากาศ ซึ่ง OPPO ก็สามารถทำผลงานออกมาได้เป็นอย่างดี

ล่าสุด OPPO พึ่งประกาศ Brand proposition ใหม่ ‘Inspiration Ahead’ โดย OPPO ให้คำมั่นว่าจะใช้แนวทางเชิงบวกและดำเนินการยกระดับประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายระดับโลกในปัจจุบัน โดยเน้นมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญและประสบการณ์เทคโนโลยีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจมาสู่ผู้ใช้งานทั่วโลก


ไม่ใช่แค่ลด e-waste แต่ต้องลดขยะทุกด้าน

นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนให้ใช้งานได้ดีขึ้นและนานขึ้น OPPO ได้มีการจัดตั้งระบบรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ โดยให้บริการแลกเปลี่ยนในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลและนำสมาร์ทโฟนที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ จนถึงปัจจุบัน ในประเทศจีนมีสมาร์ทโฟนมากกว่า 1.2 ล้านเครื่องถูกรีไซเคิล ผ่านโครงการนี้ คิดเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 216 ตัน

ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ OPPO ก็ใช้หลัก ‘3R+1D’ หรือการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ใหม่ และการใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในบรรจุภัณฑ์ เริ่มจากตลาดในยุโรปในปี 2020 OPPO ได้ลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนลงถึง 24% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยบรรจุภัณฑ์ประมาณ 45% ทำจากเส้นใยรีไซเคิล ช่วยให้ยอดการใช้พลาสติกโดยรวมของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนลดลงถึง 95%

นอกจากนี้ OPPO ได้พัฒนาเทคโนโลยี SUPER VOOC flash charge ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 220 ล้านคนทั่วโลก ให้เป็น 150W SUPERVOOC flash charge ที่มาพร้อม Battery Health Engine โดยช่วยให้ชาร์จแบตเตอรี่ 4,500 mAh ได้ถึง 50% ในเวลาเพียง 5 นาที และชาร์จได้เต็ม 100% ในเวลาเพียง 15 นาที และช่วยรักษาระดับแบตเตอรี่ได้ที่ 80% ของความจุเดิมหลังจากมีรอบการชาร์จ 1,600 รอบ ซึ่งเพิ่มเป็นสองเท่าของมาตรฐานปัจจุบันที่อยู่ 800 รอบ ช่วยให้ใช้งานสมาร์ทโฟนได้นานขึ้นซึ่งถือเป็นการ ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไปในตัว


เดินหน้าสร้างความยั่งยืนต่อเนื่อง

นอกจากการดำเนินงานของตัวเองแล้ว OPPO ยังได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรรายอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมด้านความยั่งยืน เช่น การร่วมกับ National Geographic เพื่อสนับสนุนการปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ผ่านแคมเปญ OPPO Endangered Color Campaign ซึ่งทำมาแล้วกว่า 2 ปี

นอกเหนือจากความพยายามด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อม OPPO ยังได้มีการดำเนินการมาอย่างยาวนานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่ประเด็นสำคัญอย่างความเท่าเทียมทางดิจิทัล สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และพลังเยาวชน ตัวอย่างเช่น OPPO ได้พัฒนาฟีเจอร์ Color Vision Enhancement เพื่อเป็นทางออกให้แก่ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นสี เป็นต้น


ไม่หยุดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

ภายในงาน MWC 2022 Barcelona ที่ผ่านมา OPPO ได้เปิดตัวเทคโนโลยีการชาร์จ 240W SUPERVOOC ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่ 4,500mAh ได้เต็ม 100% ในเวลาประมาณ 9 นาที รวมถึงได้เปิดตัว OPPO 5G CPE T2 ที่สามารถแปลงสัญญาณ 5G เป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi หรือ LAN

นอกจากนี้ OPPO FIND N สมาร์ทโฟนจอพับรุ่นแรกของแบรนด์ยังได้รับรางวัล Disruptive Device Innovation Award จาก GLOMO โดยปัจจุบัน Find N มีการสั่งซื้อมากกว่า 1 ล้านรายการ และตลอดปี 2021 OPPO มีอัตราการเติบโต 22% ในการส่งออกสมาร์ทโฟนทั่วโลก มีส่วนแบ่งตลาด 11% เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับ 4 ของโลก และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟน Android 5G อันดับ 2 ของโลก 2 ปีติดต่อกัน

และปลายปีที่ผ่านมา ในงาน OPPO INNO DAY 2021 ได้มีการเปิดตัว MariSilicon X ซึ่งเป็น Imaging NPU ที่ OPPO ดีไซน์เองครั้งแรกจากเทคโนโลยีการผลิตที่มีขนาดเพียง 6nm เพื่อยกระดับการถ่ายภาพขั้นสุด รวมไปถึง OPPO Air Glass แว่นตาอัจฉริยะ ที่มีฟังก์ชันสุดล้ำอย่างแปลภาษาเป็นข้อความได้แบบเรียลไทม์ นับว่า OPPO เป็นแบรนด์ที่ไม่เคยหยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาให้ผู้ใช้งานจริงๆ ว่าแล้วในตลาดไทยของเราจะมีอะไรที่น่าสนใจจาก OPPO มาเพิ่มเติม ต้องรอติดตามกัน

]]>
1377922
AIS เปิดโครงการ ฝากทิ้ง E-Waste ขยะอิเล็กทรอนิกส์ กับพี่ไปรษณีย์ได้ฟรี! https://positioningmag.com/1319766 Wed, 17 Feb 2021 06:01:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319766 ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ถือเป็นอีก 1 ประเด็นที่หลายภาคส่วนต่างออกมารณรงค์ให้คนไทยตระหนักและให้ความสำคัญกับการทิ้งอย่างถูกที่ และถูกวิธี เพราะขยะประเภทนี้นอกจากจะไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติแล้ว ยังปลดปล่อยสารพิษลงสู่สภาพแวดล้อม ซึ่งท้ายที่สุดก็จะย้อนกลับมาทำร้ายพวกเราได้อีกด้วย

ที่ผ่านมา แม้จะมีหลายหน่วยงานออกมาตั้งจุดรับทิ้ง E-Waste แต่ก็อาจจะยังไม่ทั่วถึงอยู่ดี รวมถึงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ที่แม้จะทำให้เราควรต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติกันมากขึ้น แต่บริการรับ/ส่ง จดหมายหรือพัสดุจากไปรษณีย์ไทยไม่เคยหยุด

จึงเป็นที่มาของบริการ “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กับพี่ๆ ไปรษณีย์ นับเป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส กับ ไปรษณีย์ไทย หลังจากร่วมกันตั้งจุดรับทิ้ง E-Waste ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ในโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” มาก่อนหน้านี้ ดีเดย์วันแรก 15 กุมภาพันธ์

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เล่าว่า

“เชื่อว่าวันนี้พวกเราตื่นตัวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น แต่ Pain Point คือ ไม่สะดวกที่จะนำไปทิ้ง ณ จุดรับทิ้ง ดังนั้นการเข้าไปรับฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงที่บ้านเพื่อส่งต่อให้เอไอเอส ทุกๆ คนสามารถมั่นใจได้ว่าเราจะนำไปกำจัด และ Recycle อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลในรูปแบบของ Zero Landfill จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งต้องขอขอบคุณทางไปรษณีย์ไทย ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับเอไอเอส ในการรณรงค์ และเป็นช่องทาง “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ผ่านบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากที่บ้านได้ง่ายๆ สะดวก และที่สำคัญไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสามารถฝากทิ้งได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”

2 ขั้นตอนง่ายๆ “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กับบุรุษไปรษณีย์

  1. เตรียม E-Waste ทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, สายชาร์จ, หูฟัง, พาวเวอร์แบงก์ และแบตเตอรี่มือถือ ให้พร้อม และนำใส่กล่อง พร้อมเขียนหน้ากล่อง “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์”
  2. ฝากทิ้ง กับพี่ไปรษณีย์ ที่มาส่งจดหมาย หรือพัสดุ ที่บ้านได้เลย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
]]>
1319766
‘AIS’ ผุดแคมเปญ ‘E-Waste ทิ้งรับพอยท์’ แก้ปัญหาคนไม่อยากทิ้ง https://positioningmag.com/1295113 Wed, 02 Sep 2020 08:59:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295113 จากรายงานของ The Global E-Waste Monitor 2020 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nation University, UNU) คาดการณ์ว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมากถึง 53.6 ล้านเมตริกตัน ในปี 2019 และจะสูงขึ้นถึง 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030 โดยทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดกว่า 24.9 ล้านเมตริกตัน ในปริมาณขยะทั้งหมดมีเพียง 17.4% ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ที่เหลืออีกกว่า 82.6% ไม่สามารถติดตามได้

ด้วยปัจจัยในปัจจุบัน อาทิ วิกฤติ COVID-19 และการมาของ 5G ที่ขับเคลื่อนให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้น กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีก็จะยิ่งมีความสำคัญ และในฐานะที่ ‘เอไอเอส’ (AIS) เป็น Digital Life Service Provider ที่จำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และให้บริการโครงข่าย ดังนั้น เอไอเอสตระหนักดีว่าต้องเป็นส่วนหนึ่งที่จะชักชวนให้คนนำ E-Waste มาทิ้งอย่างถูกวิธีเพื่อนำไปรีไซเคิลและนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ และป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีลงสู่แผ่นดินและแหล่งน้ำอันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

“ความยั่งยืนเป็นเรื่องยาวมาก เวลาเราคุยกันมันคือความเสี่ยงเกิน 10 ปีขึ้นไป ซึ่งตอนนี้องค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาตื่นตัวเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงกองทุนต่าง ๆ ที่มองว่าเรื่องความยั่งยืนเป็นจุดตั้งต้น ดังนั้นเชื่อว่าภายในปี 2030 คาดว่าทุกองค์กรจะนำเรื่องความยั่งยืนเข้าหลอมรวมมาอยู่ในกระบวนการการดำเนินงานอย่างชัดเจน รวมถึงผลอย่างเป็นรูปธรรม” นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าว

ที่ผ่านมา เอไอเอสเริ่มเก็บข้อมูลการกำจัดขยะตั้งแต่ปี 2016-2019 โดยทำการกำจัดขยะจากโครงข่ายไปกว่า 700 ตัน โดยมีสัดส่วนที่นำไปรีไซเคิลถึง 96% และตั้งเป้าที่รีไซเคิลให้ได้ 97% ในอนาคต ขณะที่ส่วนของการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์จากผู้บริโภคอยู่ที่ 3 ตัน สามารถรีไซเคิลได้ 100% และตั้งเป้าที่จะกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบ Zero Landfill หรือไม่มีการฝังกลบให้ได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เอไอเอสและหลาย ๆ องค์กรพบคือ คนไทยมักไม่ทิ้งหรือทิ้งกับซาเล้ง ดังนั้น การสร้างการรับรู้และการปลูกฝังจิตสำนึกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เอไอเอสต้องการเน้นย้ำ โดยที่ผ่านมาเอไอเอสได้ขยายจุดรับขยะโดยร่วมกับพันธมิตรกว่า 52 องค์กร เพื่อขยายจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมเป็น 2,000 จุดทั่วไทย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างเอนเกจเมนต์ อาทิ มีการจัดเกมและผลิตสื่อต่าง ๆ

ล่าสุด เอไอเอสออกแคมเปญใหม่ ‘เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์’ ที่ร่วมภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญไปกับเอไอเอส เปลี่ยนทุกการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นคะแนน AIS Points เพื่อเป็นสิ่งจูงใจ และเมื่อหลังจากที่เอไอเอสนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปรีไซเคิลแล้ว เงินที่ได้จากการรีไซเคิล เอไอเอสจะนำไปบริจาคเพื่อให้เกิดกระบวนการกำจัดขยะที่ยั่งยืนต่อไป

“เรื่อง E-Waste เราทำอย่างจริงจังต่อเนื่องตลอด แม้เราจะใช้วิธีเหมือนการตลาดแต่วัตถุประสงค์ต่างกัน เพราะต้องยอมรับว่าเมื่อผลกระทบยังเห็นไม่ชัดเนื่องจากเป็นเรื่องระยะยาว แรงกระตุ้นที่ให้คนตระหนักจึงมีน้อยมาก ดังนั้น จุดรับขยะที่มีจำนวนมากขึ้นเราก็หวังว่าจะช่วยสร้างการรับรู้และปรับวิธีคิดให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม และภายใน 1 ปีจากนี้ เราจะต้องมีแผนงานอีกหลายอย่าง เพื่อให้เกิดกระแสต่อเนื่องจนเกิดการเปลี่ยน”

อย่างไรก็ตาม เอไอเอสไม่ได้มุ่งเน้นแค่ด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการจัดตั้งแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อดูแลโดยเฉพาะ และที่ผ่านมาได้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนศูนย์ DATA Center แล้ว 2 แห่ง จากทั้งหมด 9 แห่ง และติดตั้งตามสถานีฐาน 1,000 แห่งจากทั้งหมด 3 หมื่นแห่ง โดยคาดว่าจะติดตั้งได้ประมาณ 6,000 แห่งภายใน 3 ปี นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์การประหยัดพลังงานในองค์กร รวมถึงการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของเอไอเอสช็อปแต่ละสาขาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อโลก เช่น เปลี่ยนจากขวดน้ำพลาสติกเป็นกระดาษ เป็นต้น

สำหรับแคมเปญ เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์ ทำได้ใน 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, สายชาร์จ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์ ไปยังเอไอเอสช็อปใกล้บ้าน

2.แจ้งกับพนักงานว่าต้องการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้ง

3.นำขยะหย่อนลงถัง และสแกน QR Code เพื่อรับ AIS Points จากแท็บเล็ตของพนักงาน ซึ่งจะแสดงผลจำนวน AIS Point ที่ได้รับทันทีผ่าน Notification โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดรวม AIS Point ได้ที่ App My AIS

โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชิ้นมีค่า 5 คะแนน 1 หมายเลขสามารถรับ AIS Points ได้สูงสุด 10 คะแนนต่อวัน ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563

]]>
1295113