emoji – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 30 Sep 2020 11:04:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ย้อนรอยเทรนด์ ‘Avatar’ ฟีเจอร์เก่าที่กลับมา ‘ฮิต’ ใหม่ในโลก Social https://positioningmag.com/1299329 Wed, 30 Sep 2020 09:58:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299329 หากย้อนไปประมาณช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ใครที่ไถ Facebook อยู่คงจะได้เห็นเพื่อน ๆ หลายคนแชร์รูป ‘ตัวการ์ตูน’ ที่เป็น อวาตาร์ แทนตัวคนนั้น ๆ กันเต็มฟีด ซึ่งก็ไม่ต้องไปหาแอปอะไรมาสร้าง แต่ Facebook นี่แหละที่เปิดให้ผู้ใช้สร้างกันได้เองผ่านฟีเจอร์อวาตาร์ (Avatar) และมาปลายเดือนนี้ LINE ก็เปิดให้ผู้ใช้ได้สร้างอวตาร์ของตัวเองด้วยเช่นกัน ดังนั้น Positioning จะพาไปย้อนรอยถึงเทรนด์การสร้างอวตาร์กัน ว่ามันเริ่มต้นมาได้อย่างไร

อย่างที่หลายคนรู้ ว่าเทรนด์การสร้างอวาตาร์นี่ไม่ใช่อะไรที่ใหม่เลย เพราะหากย้อนไปเมื่อปี 2018 ที่เป็นช่วงเริ่มต้นของยุคทองแห่งแอปพลิเคชันจดจำใบหน้าด้วยเทคโนโลยี AI ส่งผลให้สมาร์ทโฟนตัว Top ก็มีฟีเจอร์ให้สร้างอวาตาร์ได้ อย่าง Samsung Galaxy S9 และ S9+ ที่มีฟีเจอร์สร้าง ‘AR Emoji’ ไว้ใช้งานได้ด้วยตัวเอง หรืออย่างฝั่ง iOS ที่สามารถให้ผู้ใช้สร้าง ‘Memoji’ ได้เช่นกัน (ตั้งแต่ iOS 12 ขึ้นไป) แน่นอนว่าฟีเจอร์ดังกล่าวสามารถสร้างความ ‘ว้าว’ ให้กับสินค้าได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

จากนั้นในปีเดียวกัน ก็มีแอปพลิเคชันอย่าง ‘ZEPETO’ (เซ็ปเพ็ตโต้) แอปสัญชาติเกาหลีที่ใช้สร้างอวาตาร์ไว้เล่นกับเพื่อน แต่ไม่ใช่แค่สร้างมาเป็นสติกเกอร์ไว้เอามาแชร์บน Social เท่านั้น แต่เพราะสามารถทำวิดีโอภาพเคลื่อนไหวได้ สามารถใช้อวาตาร์สร้างปฏิสัมพันธ์ พบปะผู้คนที่เข้ามาเล่นด้วยกันกับเพื่อนได้ เช่น ถ่ายภาพร่วมกัน และมีเกมให้เล่นเพื่อเก็บเหรียญเพื่อซื้อชุดต่าง ๆ ส่งผลให้ในขณะนั้น ZEPETO มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดในจีนและไทยเลยทีเดียว

นอกจากนี้ก็มี Bitmoji ของ Snapchat ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน จากความฮิตดังกล่าว ส่งผลให้เจ้าพ่อ Social Media อย่าง Facebook ก็หันมาเพิ่มฟีเจอร์อวาตาร์อย่างที่เรา ๆ กำลังเล่นกันอยู่ โดยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อกลางปี 2019 โดยเริ่มที่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ก่อนจะมาเปิดตัวที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอีกหลายประเทศไปเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา และล่าสุดก็มาถึงคิวของ ‘LINE’ ที่เพิ่มฟีเจอร์อวาตาร์ให้ได้เล่นกัน โดยสามารถนำอวาตาร์มาทำเป็นภาพนิ่งหรือวิดีโอได้ แถมสามารถเอาตัวอวาตาร์ไปถ่ายภาพแบบ AR ได้ด้วย

จะเห็นว่าฟีเจอร์อวาตาร์ไม่ใช่อะไรที่ ‘ใหม่’ แต่ก็ถือว่าเป็นอะไรที่ออกมาสร้างสีสันบนโลก Social ได้ดี แถมมีโอกาสสร้างรายได้ในอนาคต เช่น ซื้อชุดหรือสกินเสริม อย่างไรก็ตาม เพราะไม่ได้มีการต่อยอดอะไรเหมือนกับ ‘เกม’ ที่จะทำให้ผู้ใช้ยอมจ่าย แต่ใช้แค่สร้างอวาตาร์ของตัวเองไว้เป็นสติกเกอร์เพื่อสร้างสีสันเท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่กระแสการสร้างอวาตาร์จะมาไวและไปไว (มาก) ไม่ว่าจะมาในยุคไหนสมัยไหนก็ตาม

]]>
1299329
emoji แห่งปี 2018 อะไรมา อะไรเอาต์ https://positioningmag.com/1152339 Wed, 03 Jan 2018 03:47:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152339 โปรดแซ่บ รูปการ์ตูนอีโมจิ (emoji) มาใหม่ ซึ่งอยู่ในรายการมาตรฐาน emoji แห่งปี 2018 เพื่อให้ชาวดิจิทัลเริ่มใช้แทรกในข้อความดิจิทัลปีจอนี้ คือ รูปขนมเบเกิล (Bagels), จิงโจ้ (Kangaroos) และผู้ชายผมแดง (Redheads) ขณะที่รูปอุนจิ “Frowning Pile Of Poo” กำลังเสี่ยงถูกโหวตออกจนอาจหลุดมาตรฐานไป เบื้องต้น ต้องรอการตัดสินใจครั้งสุดท้ายในงานประชุมเดือน ม.ค. นี้

ท่ามกลาง emoji ใหม่หลายสิบรูปที่ถูกวางแผนเริ่มใช้งานปี 2018 รูปที่ได้รับความนิยมแล้วในขณะนี้คือ Redheads โดยรูปนี้ถือเป็นหนึ่งในหลาย emoji ที่ถูกเรียกร้องให้มีการพัฒนาตามมาตรฐานโลกอย่างเป็นทางการ โดยภาพ emoji คนผมขาว และคนไม่มีผม จะเปิดให้ใช้งานในปีนี้เช่นกัน

เจเรมี เบิร์ก (Jeremy Burge) แห่งคณะอนุกรรมการยูนิโค้ด (Unicode Emoji Subcommittee) หน่วยงานภายใต้การดูแลของ Unicode Consortium ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน emoji ทั่วโลก ให้ความเห็นว่า ในช่วงที่โลกมี emoji คนผมทอง และผมดำ ผู้ที่มีผมแดงบางรายรู้สึกว่า ตัวเองถูกมองข้ามไป โดยข้อเรียกร้องให้โลกมี emoji รูปคนผมแดง ถือเป็นข้อเรียกร้องที่คณะกรรมการ Unicode Consortium ได้รับมากที่สุดอันดับ 1 ทำให้คณะกรรมการพยายามแข็งขันจนทำให้เกิด emoji รูปคนผมแดง

ความเห็นของ Unicode Consortium นี้ถูกเปิดเผยผ่านบทความ ซึ่ง Burge ให้สัมภาษณ์กับสื่อรายสัปดาห์เครือเอ็นพีอาร์ (NPR) อย่าง Weekend All Things Considered โดยกล่าวติดตลกว่า emoji รูปคนผมแดงไม่ได้เกิดขึ้น เพราะทีมผู้สร้างมีผมสีแดงแต่อย่างใด

นอกจาก emoji รูปคนผมแดง ยังมี emoji รูป softball ซึ่งต่างจาก emoji รูป baseball ที่ขนาดใหญ่กว่าและสีเหลือง ไม่ใช่สีขาว รวมถึง emoji รูป kangaroo และ emoji รูปใบหน้าที่มีสายตายิ้มแย้มพร้อมแตรปาร์ตี้ Party Horn และหมวก Party Hat

ใน 67 emoji ที่อยู่ในรายการมาตรฐานใหม่ พบว่ามี 3 รูปที่ไม่ได้ถูกบรรจุในรายการมาตรฐานนี้ กรณีนี้ Michael Everson หนึ่งในผู้ให้ความเห็นหรือ commenter ซึ่งเป็นเสียงหลักในการสกัดดาวรุ่งอย่าง “Frowning Pile Of Poo” ระบุว่า เหตุผล คือ เพราะ emoji รูปอุจจาระนั้นน่ารังเกียจ ไม่สื่อความหมาย ไม่น่ารัก ไม่ใช่เรื่องตลก เรียกว่า emoji รูปอุจจาระไม่มีอะไรดีในสายตาของนักวิจารณ์คนนี้

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับรายการ emoji ปี 2018 จะมีขึ้นที่การประชุม Unicode Technical Meeting ในเดือนมกราคม ก่อนจะพร้อมส่งไปพัฒนาต่อบนแพลตฟอร์มหลักของโลก เช่น ระบบปฏิบัติการไอโอเอส และแอนดรอยด์ ช่วงครึ่งหลังของปี 2018.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000000441

]]> 1152339