Epson – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Feb 2024 01:19:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาถูกทาง! ‘เอปสัน’ คาดโต 8% แม้ตลาดติดลบ หลังเดินหน้าลุยตลาด B2B พร้อมมองเทรนด์ ‘ซับสคริปชัน’ โอกาสใหม่ https://positioningmag.com/1463069 Sun, 18 Feb 2024 10:13:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463069 หากพูดถึงภาพรวมตลาดไอทีไทยในปี 2023 ที่ผ่านมามีมูลค่า 28,618 ล้านบาท หดตัวถึง 14.7% และหากเจาะไปในตลาดปริ้นเตอร์มูลค่า 2,720 ล้านบาท ลดลง 4% และเชิงปริมาณ 669,000 เครื่อง ลดลง 7% อย่างไรก็ตาม เอปสัน คาดว่าผลประกอบการจะสามารถเติบโตได้ 8% สวนทางตลาด เพราะว่าการเบนเข็มไปจับตลาด B2B

มั่นใจโต 8%

ตามปีปฏิทินของ เอปสัน (Epson) จะปิดปี 2023 ที่ไตรมาส 1 ปี 2024 หรือประมาณอีก 1 เดือน ซึ่ง ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เชื่อว่าเอปสันประเทศไทยจะสามารถเติบโตได้ 8% แม้ว่าภาพรวมตลาดไอทีจะติดลบก็ตาม เพราะโปรดักส์หลายอย่างสามารถเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา ได้แก่

  • เครื่องพิมพ์ป้ายโฆษณา Epson SureColor S-series เติบโต 37% เนื่องจากสื่อ Out Of Home กลับมาถูกเลือกใช้มากขึ้นหลังวิกฤตโควิด อีกทั้ง บริษัทฯ สามารถดึงผู้ประกอบการที่เคยใช้เครื่อง Non-brand
  • เครื่องพิมพ์มินิแล็บ Epson SureLab ที่โตขึ้นในปีนี้เกือบ 10% ซึ่งเป็นผลจากธุรกิจรับพิมพ์ภาพขนาดย่อมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ได้แรงหนุนจากกระแสการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการลงทุนซื้อในกลุ่ม Startup และ SME
  • เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสำหรับองค์กร Epson WorkForce โตเกือบ 30% โดยเป็นการการชิงส่วนแบ่งตลาดจากเครื่องถ่ายเอกสารตามสำนักงานที่เคยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์
  • สแกนเนอร์ เติบโตขึ้น 37% ซึ่งได้รับอานิสงค์จากการที่ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ ทำให้หน่วยงานราชการหลายแห่งจำเป็นต้องทำเอกสารดิจิทัล เพื่อให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงธนาคาร ห้องสมุด และสถาบันศึกษาที่ต้องการเก็บข้อมูลถาวรในรูปแบบดิจิทัล และองค์กรธุรกิจที่เริ่มทำงานผ่านระบบเครือข่ายมากขึ้น
  • โปรเจคเตอร์ เติบโตเกือบ 20% โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูงตั้งแต่ 5,000 ลูเมนขึ้นไปและสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ และเลเซอร์โปรเจคเตอร์เพื่อธุรกิจ เช่น Epson 2000-series

อย่างไรก็ตาม มีสินค้าบางกลุ่มที่เติบโตได้น้อย อาทิ เครื่องพิมพ์อิงค์แท็งค์ ที่ตลาดมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในด้านราคา อย่างไรก็ตาม เอปสันยังคงเป็นผู้นำตลาดโดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 57% นอกจากนี้ กลุ่มเครื่องพิมพ์สิ่งทอ และ กลุ่มหุ่นยนต์แขนกล ก็ไม่เติบโต

กลุ่มหุ่นยนต์ปีก่อนไม่เติบโต แม้มีออเดอร์แต่มีการระงับการติดตั้ง เพราะต้องยอมรับว่าการลงทุนเปิดโรงงานในไทยปีก่อนนั้นไม่ค่อยดี แต่หวังว่าปีนี้จะฟื้น เพราะเห็นเทรนด์ของแบรนด์อีวีที่เข้ามา อย่างไรก็ตาม สินค้าของเอปสันจะเป็นแขนกลสำหรับผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ระดับสูง ดังนั้น จะเน้นที่ความซับซ้อนและคุณภาพ ไม่ได้ใช้ในงานทั่วไป”

เติบโตเพราะเน้น B2B

สำหรับตลาดที่หดตัวลงของตลาดไอทีปีที่ผ่านมาเกิดจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือนที่สูง ทำให้กลุ่ม B2C (Business to Consumer) นั้นชะลอการจับจ่าย และสำหรับเครื่องพิมพ์ก็ต้องยอมรับว่าลูกค้าในกลุ่ม B2C ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนนักศึกษากับ SME ดังนั้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทิศทางของเอปสันจึงเน้นไปที่กลุ่ม B2B (Business to Business) ซึ่งทำให้ปี 2023 บริษัทสามารถเติบโตได้ โดยปัจจุบัน สัดส่วนรายได้ B2C ในอดีตคิดเป็น 80% แต่ปัจจุบันเหลือ 60%

“เราเปลี่ยนทิศทางไปโฟกัสที่ตลาด B2B ตั้งแต่ปี 2018 แต่มาปี 2020-2022 ก็ชะงักไปเพราะเกิดวิกฤตโควิด หลายบริษัท Work From Home ปิดออฟฟิศ แต่พอหลังโควิด ทุกบริษัทกลับมาทำงานปกติ ตลาด B2B ก็เติบโต”

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ตลาด B2B ของเอปสันเติบโตก็คือ Sales Model ที่สามารถซื้อขาดหรือใช้ในรูปแบบ ซับสคริปชัน ด้วยบริการ EasyCare ที่ลูกค้าสามารถควบคุมต้นทุนการพิมพ์ของตัวเองได้ ไม่ต้องสต๊อกหมึก เพราะเอปสันจะส่งหมึกให้โดยคำนวณค่าใช้จ่ายจากจำนวนพิมพ์รายแผ่น เป็นต้น นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ของเอปสันมีการลดใช้พลังงาน ซึ่งก็เป็นอีกจุดที่องค์กรให้ความสำคัญกับเรื่อง Sustainability

“เราเห็นเลยว่าองค์กรส่วนใหญ่สนใจที่จะใช้รูปแบบซับสคริปชันมากขึ้น เพราะเขาจ่ายเท่าที่ใช้ ไม่ต้องมากังวลเรื่องเครื่องเรื่องหมึก เราเองก็ชอบเพราะเราจะได้ทำธุรกิจกับเขายาว ๆ ไม่ได้ซื้อครั้งเดียวแล้วจบ ซึ่งเราเชื่อว่าอนาคตรายได้จากซับสคริปชันจะเติบโตมากขึ้น”

มั่นใจปี 2024 ตลาดดีขึ้น

สำหรับภาพรวมตลาดไอทีปีนี้คาดว่าจะ ติดลบ 3-5% ทั้งในด้านจำนวนและมูลค่าตลาด เนื่องจากยังมีปัญจัยลบ ด้านหนี้ครัวเรือนและสภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เอปสันตั้งเป้าที่จะเติบโตให้ได้ 8% เหมือนกับปี 2023 โดยกลุ่มสินค้าที่เติบโตยังใกล้เคียงกับปี 2023

ทั้งนี้ เอปสันมีแผนจะยกระดับ บริการ ให้ดีขึ้น โดยปัจจุบัน เอปสันมีสาขาทั้งหมด 182 สาขา ทั่วประเทศ และมี 140 สาขาที่ให้บริการ onsite service ซึ่งปีนี้เอปสันจะเพิ่มเป็น 150 สาขา ที่ให้บริการ onsite service นอกจากนี้ เอปสันได้ลงทุนกว่า 30 ล้านบาท สร้าง Solution Center แห่งใหม่บนพื้นที่มากกว่า 600 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นที่จัดแสดงและสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ทุกกลุ่มของเอปสัน เพื่อสร้างประสบการณ์จริงให้กับลูกค้าก่อนตัดสินใจซื้อ

“ปกติตลาดไอทีพอหดตัวหนักแล้ว ปีต่อไปมันจะดีขึ้น ดังนั้น ปีนี้เราเลยคิดว่าน่าจะดีขึ้น ส่วนเทรนด์การพิมพ์เรามองว่ามันคงไม่หายไป แต่จะทรงตัวอยู่แบบนี้ เพราะออฟฟิศก็ยังมีการใช้งานอยู่” ยรรยง ทิ้งท้าย

]]>
1463069
‘เอปสัน’ ประกาศเลิกขาย ‘เครื่องพิมพ์เลเซอร์’ ภายในปี 2023 หวังช่วยลดโลกร้อน https://positioningmag.com/1412667 Fri, 16 Dec 2022 05:43:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412667 จากผลการสำรวจปริมาณการใช้พลังงานของสำนักงานทั่วไปพบว่า การใช้เครื่องพิมพ์ นั้นกินพลังงานมากเป็นอันดับ 4 รองจากเครื่องปรับอากาศ ไฟ และคอมพิวเตอร์ ขณะที่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ นั้นใช้พลังงานมากกว่า เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ดังนั้น เอปสัน (Epson) จึงประกาศว่าจะยุติการจัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2023

จุนคิชิ โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจเครื่องพิมพ์ บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น อธิบายว่า หนึ่งในเหตุผลที่ เอปสัน ตัดสินใจยุติการจำหน่ายและกระจายสินค้าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ก็เพราะวิสัยทัศน์ใหม่ Epson 25 Renewed รวมถึงเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เป็นลบและไม่มีการใช้ทรัพยากรใต้ดินให้ได้ภายในปี 2050

ดังนั้น เอปสันจึงพยายามที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ การให้บริการ และซัพพลายเชน รวมทั้งนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ และลงทุนกับกระบวนการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ที่ผ่านมา เอปสันหันไปพัฒนาเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้มากกว่า

สำหรับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทของเอปสันนั้นมีเทคโนโลยี Heat-Free ที่สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ได้มากถึง 85% ดังนั้น เอปสันจึงเตรียมยุติการจำหน่ายและกระจายสินค้าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในสิ้นเดือนธันวาคมปี 2023 โดยจากนี้จะขายเฉพาะเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเท่านั้น

ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมตลาดเครื่องพิมพ์ทั่วโลกกำลังไปที่ตลาดอิงค์เจ็ท มีเพียงตลาดเกิดใหม่ที่เครื่องพิมพ์เลเซอร์ยังเติบโตได้ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ลูกค้ายังไม่เปลี่ยนจากเครื่องพิพม์เลเซอร์มาเป็นอิงค์เจ็ทเพราะ ภาพจำ เนื่องจากผ่านมา อิงค์เจ็ทมีข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นความเร็วที่น้อยกว่าเลเซอร์ คุณสมบัติกันน้ำต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีของอิงค์เจ็ทล้ำหน้าเลเซอร์แล้ว และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เอปสันพยายามสื่อสารไปยังตลาด หรือลูกค้าให้เปลี่ยนมาใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท

“เราคงฟันธงไม่ได้ว่าอิงค์เจ็ทจะแทนที่เลเซอร์ 100% ได้เมื่อไหร่ แต่สินค้าเราตอนนี้มีพร้อมที่จะแทนที่ได้ ตอนนี้ขึ้นอยู่กับลูกค้าแล้วว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนไปอิงค์เจ็ทได้เมื่อไหร่ ซึ่งปัจจุบันความสามารถของอิงค์เจ็ทมันดีกว่าเลเซอร์ไปแล้ว และไลน์อัพสินค้าเรามีครบ สามารถทดแทนเครื่องพิมพ์เลเซอร์ได้ 100%”

แม้ว่าเอปสันจะตั้งเป้ายกเลิกการจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ แต่บริษัทจะยังซัพพอร์ตลูกค้าเดิม โดยจะซัพพอร์ตหมึกไปอีก 7 ปี และซัพพอร์ตอะไหล่อีก 6 ปี อย่างไรก็ตาม เอปสันมองว่าคงออกมาตรการใหม่ ๆ มารองรับลูกค้าเรื่อย ๆ จนกว่าสินค้าจะหมดอายุขัย

“ทั่วโลกพูดถึง Paperless มานาน แต่ปัจจุบันก็ยังทำไม่ได้ และในหลายส่วนมีการพิมพ์ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความต้องการในหลายอุตสาหกรรม อาทิ โลจิสติกส์ การเงิน และการศึกษา ที่ยังไม่สามารถไปดิจิทัลได้ 100% ดังนั้น เราจึงพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเทคโนโลยีการสแกน เทคโนโลยีการรีไซเคิลกระดาษที่ใช้น้ำน้อยกว่าคู่แข่งถึง 99%”

]]>
1412667
‘วัด-พิพิธภัณฑ์’ น่านน้ำใหม่ขาย ‘โปรเจคเตอร์’ ตัวแพงของ ‘เอปสัน’ https://positioningmag.com/1410119 Sun, 27 Nov 2022 05:43:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410119 หากพูดถึงตลาด ‘โปรเจคเตอร์’ หลายคนคงหวนนึกถึงตอนเป็นนักเรียน-นักศึกษา แต่เมื่อปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาทดแทน อย่าง จอกระดานอัจฉริยะ เอปสัน ที่เป็นเบอร์ 1 ในตลาดเลเซอร์โปรเจคเตอร์ ก็ได้ออกมายอมรับว่าตลาดกลุ่มการศึกษานั้นหดตัวอย่างมาก ดังนั้น เอปสันจึงหันไปโฟกัสที่ตลาดพรีเมียม ที่เอาไปใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น

ตลาด Entry ดร็อป บอลโลกก็ไม่ช่วย

ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน ตลาดเลเซอร์โปรเจคเตอร์กำลังเข้ามาแทนที่โปรเจคเตอร์แบบหลอดภาพ จากในปี 2558 เลเซอร์โปรเจคเตอร์มีสัดส่วนเพียง 4% แต่ปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 86%

โดยตลาดเลเซอร์โปรเจคเตอร์ปีนี้คาดว่าจะมีจำนวน 42,500 เครื่อง โดยจะแบ่งตลาดตามความสว่าง ได้แก่

  • ความสว่าง 2,000-5,000 ลูเมน (ความสว่างต่ำ, Entry) 76%
  • ความสว่าง 5,000 ลูเมนขึ้นไป 8%
  • ความสว่าง 5,000 ลูเมนขึ้นไป เปลี่ยนเลนส์ได้ (High Brightness) 2%
  • ใช้ภายในบ้าน (Home) 6%
  • อื่น ๆ 6%

ในด้านการเติบโตของจำนวน คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5% เนื่องจากตลาด Entry ที่มีสัดส่วนใหญ่สุดนั้นเริ่มดร็อป เนื่องจากส่วนใหญ่จะใช้ในโรงเรียน, ห้องประชุม แต่ตอนนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาทดแทน นอกจากนี้ก็มีกลุ่มร้านอาหาร เช่น ร้านหมูกระทะ ซึ่งปกติช่วงบอลโลกจะกระตุ้นยอดมาก แต่ปีนี้กลับไม่ค่อยหวือหวา

“เมื่อก่อนตลาดโปรเจคเตอร์ใหญกว่านี้ เพราะมีตลาดการศึกษา แต่ตอนนี้ลดลงเรื่อย ๆ เพราะเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอื่น หรือปกติมีบอลโลกร้านอาหารจะเปลี่ยนใหม่เลย เพราะเครื่องละไม่กี่หมื่นบาท แต่บอลโลกปีนี้ไม่แน่ใจว่าคนไม่ค่อยสังสรรค์หรือร้านหมูกระทะปิดตัว ทำให้ตลาดไม่ค่อยหวือหวา”

‘วัด-พิพิธภัณฑ์’ น่านน้ำใหม่

แม้ในด้านจำนวนจะเติบโตน้อย แต่ในด้าน มูลค่า คาดว่าจะเติบโตได้ 10% มีมูลค่าราว 1,340 ล้านบาท เนื่องจากกลุ่ม High Brightness เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตมากที่สุด โดยปัจจุบันกลุ่ม High Brightness แม้จะมีสัดส่วนในด้านจำนวนเพียง 2% แต่ในแง่มูลค่ามีสัดส่วนถึง 31% ส่วนกลุ่ม Entry มีสัดส่วนด้านมูลค่า 40%

“กลุ่ม High Brightness แม้มีจำนวนน้อยแต่มูลค่าสูงมาก เพราะราคาเริ่มต้นที่ 5 แสน – 10 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตเรื่อย ๆ”

ปัจจุบันที่ทำให้กลุ่ม High Brightness เติบโตขึ้นเนื่องจากภาคการ ท่องเที่ยว ฟื้นตัว เนื่องจากโปรเจคเตอร์กลุ่ม High Brightness ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถฉายภาพบนพื้นผิวที่ไม่เรียบได้ ดังนั้น จะถูกนำไปใช้ในการแสดงแสง สี เสียง เพิ่มความตื่นตาตื่นใจ ดึงดูดผู้ชม อาทิ การ Mapping อาคารต่าง ๆ

สำหรับกลุ่มลูกค้าของเอปสันในปัจจุบัน หลัก ๆ จะเป็นโรงแรม, พิพิธภัณฑ์, ศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ และ วัด นอกจากนี้ยังเห็นเทรนด์ในอีกหลายอุตสาหกรรม เช่น รีเทล และ ร้านอาหาร

“ตอนนี้เราเห็นวัดใช้ไปฉายภาพบนกำแพงหรือโบราณสถานเพื่อบอกเล่าเรื่องราว นอกจากนี้ เทรนด์ของกลุ่มรีเทลก็กำลังมา อย่างในอิเกียต่างประเทศก็มีการใช้ฉายภาพลงบนเฟอร์นิเจอร์ เพื่อจำลองแนวทางการออกแบบการตกแต่งบ้าน”

จากการเติบโตดังกล่าว ดังนั้น ทิศทางของเอปสันจากนี้จะเน้นเจาะไปที่กลุ่ม High Brightness เพื่อรักษาตำแหน่ง เบอร์ 1 ในตลาดเลเซอร์โปรเจคเตอร์ ครองส่วนแบ่งตลาด 38% ล่าสุดได้เปิดตัวโปรเจกเตอร์พร้อมกัน 3 รุ่นในซีรีส์ EB-PU2200 ได้แก่ รุ่น EB-PU2213B ที่มีความสว่าง 13,000 ลูเมน, รุ่น EB-PU2216B ความสว่าง 16,000 ลูเมน และรุ่นไฮไลต์ EB-PU2220B ความสว่าง 20,000 ลูเมน

]]>
1410119
เปิด 3 สาเหตุ ทำไม ‘SME’ ถึงไม่ ‘ทรานส์ฟอร์ม’ ก่อนเจอ COVID-19 https://positioningmag.com/1281304 Sat, 30 May 2020 08:00:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281304 ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ กระบวนการสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทรานส์ฟอร์เมชั่นของเหล่า SME ยังคงดำเนินไปอย่างช้า ๆ แม้ว่า SME ส่วนใหญ่จะตระหนักดีว่าการทรานส์ฟอร์เมชั่นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร

‘เอปสัน’ ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจของกลุ่มธุรกิจ SME ใน 6 ประเทศอาเซียน พบว่า 3 ใน 4 ของ SME เริ่มมีการดำเนินงานในเรื่องดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นภายในองค์กรแล้ว และ 1 ใน 5 ของ SME ได้นำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นไปใช้กับหลายแผนกและหลายกิจกรรมในธุรกิจของตนเอง

แต่ที่การทรานซ์ฟอร์มยังชะลอตัวเป็นเพราะ SME จำนวน 3 ใน 10 ยังลังเลในการลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา จนทำให้ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงธุรกิจในกระบวนการใดก่อน รวมถึงการขาดความรู้และทักษะในการนำเทคโนโลยีไปใช้

นอกจากนั้น ข้อมูลจาก Ernst & Young ยังระบุว่า SME ในอาเซียนมากกว่าครึ่งมีการกำหนดแผนงานในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจสู่ระบบดิจิทัลไว้แล้ว แต่กลับไม่ได้มุ่งไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์ทางการตลาดหรือมีกลยุทธ์หลายอย่างที่ดำเนินการทับซ้อนกันอยู่แล้วในองค์กรตนเอง

“SME ในอาเซียนคิดเป็น 89-99% ของวงการธุรกิจ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรเหล่านี้ที่จะนำเอาดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจ โดยเจ้าของธุรกิจจะต้องได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีโครงการระหว่างประเทศมากมายที่ยังคงต้องได้รับความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล และสถาบันการศึกษา ที่จะช่วยเป็นสะพานเชื่อมต่อในการช่วยลดช่องว่างเดิมที่มีอยู่”

ในส่วนปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอสเอ็มอีประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถรองรับการใช้งานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สำหรับประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 10 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

และอีกปัจจัยหนึ่ง คือ การศึกษา รัฐบาลในทุกประเทศอาเซียนล้วนแต่ผลักดัน SME ให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยการให้ความรู้ควบคู่ไปกับการให้แรงจูงใจด้านอื่น ๆ รวมถึงสร้างศูนย์บ่มเพาะความรู้ด้านเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่ม SME อย่างเอปสันเองพยายามให้ความรู้ในส่วนนี้ โดยได้จัดงาน Epson’s B2B Ignite educational event ในสิงคโปร์ขึ้นเพื่อแสดงให้ SME เข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของนวัตกรรมต่อธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม มีผลสำรวจจาก Accenture พบว่า SME จำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของออนไลน์แพลตฟอร์ม จึงไม่เน้นลงทุนในส่วนงานขาย การตลาด งานบริการลูกค้า หรือแม้แต่เครื่องมือด้านอีคอมเมิร์ซ ดังนั้น ในช่วงวิกฤติ COVID-19 นี้ จึงเห็นว่าจะมี SME บางรายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันรับมือกับวิกฤตินี้

“เศรษฐกิจดิจิทัล คือโอกาสสำคัญสำหรับภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นพนักงาน คือหัวใจสำคัญ ที่จะต้องได้รับการฝึกฝนในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงโซลูชั่นที่เลือกมาใช้ภายในองค์กรเองต้องสามารถยกระดับการทำงานของพนักงานได้”

]]>
1281304