ESG – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 05 Aug 2024 05:16:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KBank ESG Highlight กับการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1485029 Mon, 05 Aug 2024 03:22:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485029 ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรที่วางใจได้ สร้างคุณค่า และส่งมอบความยั่งยืนให้กับทุกคน ด้วยการดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน โดยดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม พร้อมให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรมบนหลักธรรมาภิบาลที่ดีและบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักการแนวคิด ESG ที่ธนาคารนำมาผนวกเข้ากับทุกการดำเนินงาน

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ธนาคารจึงไม่หยุดที่จะพัฒนาการทำงาน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและสากล เกิดเป็นผลการดำเนินงานดังนี้

Environmental – มุ่งมั่นสู่การเป็น Net Zero และสนับสนุนให้ทุกคนสามารถปรับตัวสู่สังคมไร้คาร์บอนและอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ

  • สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ลดได้ 74% จากปีฐาน (ปี 2563) และมีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต ส่งผลให้ได้รับการรับรองความเป็นกลางทางคาร์บอนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) มาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (2561-2566)
  • สนับสนุนสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะมียอดสะสมเป็น 94,670 ล้านบาท (2565-มิถุนายน 2567) และมียอดสะสมเป็น 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2567 นี้
  • วางแผนกลยุทธ์ลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด
  • พัฒนา Climate Solutions อย่างครบวงจรในทุกมิติที่มากกว่าการเงิน ทั้งเรื่องความรู้ด้าน ESG เพื่อธุรกิจ ให้คำปรึกษาเชิงเทคนิค และการจับคู่ธุรกิจกลุ่ม ESG บูรณาการศักยภาพทั้งโซลูชัน องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของภาคธุรกิจไปสู่โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อใน Carbon Ecosystem ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต
  • ผนึกกำลังร่วมกับ 25 องค์กรชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เชื่อมโยงการทำงานของทั้ง 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคการเงินและการธนาคาร องค์กรและธุรกิจต่างประเทศ จัดตั้ง “เครือข่ายธุรกิจเพื่อการจัดการสภาพภูมิอากาศประเทศไทย” (Thailand Climate Business Network: ThaiCBN) เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน

Social – มอบความรู้และส่งเสริมวินัยทางการเงินบนพื้นฐานของการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ หรือResponsible Lending รวมทั้งการให้ความสำคัญแก่การดูแลพนักงานและสังคม ภายใต้การดำเนินงานที่เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกท่าน

  • ให้ความรู้ทางการเงินการลงทุน สิ่งแวดล้อม และทักษะต่าง ๆ แก่ผู้ด้วยโอกาส 53,886 คน ในปี 2566
  • ให้ความรู้ด้าน Cyber Security สื่อสารผ่านช่องทางโซเชียล มีเดียของธนาคาร เข้าถึงผู้อ่าน 2 ล้านคน
  • ส่งเสริมความหลากหลายและการปฏิบัติด้านแรงงานอย่างเท่าเทียม มีการพัฒนาศักยภาพและทักษะพนักงานผ่าน หลักสูตรต่าง ๆ รวมทั้งดูแลด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
  • ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างเหมาะสม
  • มีการประเมินสิทธิมนุษยชนแบบรอบด้าน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินงานของธนาคารตั้งอยู่บนแนวทางของการเคารพสิทธิมนุษยชน

Governance – ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกด้านของลูกค้า

  • ยอดสินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ผ่านการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% มูลค่า 389,240 ล้านบาท
  • ประเมินและบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงด้านความยั่งยืนESG และ Climate Risk
  • ดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และหลักธรรมาภิบาลที่ดี โดยปฏิบัติตามมาตรฐานและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งของประเทศไทยและระดับสากล
  • รวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการของธนาคารให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน

ธนาคารกสิกรไทย พร้อมเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคธุรกิจ ลูกค้า  ผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรแหล่งความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนภาคการเงินและตลาดทุน บูรณาการศักยภาพ ต่าง ๆ เพื่อสร้างสมดุลให้เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ช่วยขับเคลื่อนทุกความต้องการของลูกค้า รวมถึงคว้าโอกาสที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

 

]]>
1485029
“สยามพิวรรธน์” เปิดตัว ONESIAM Drinking Water น้ำดื่มกระป๋องอะลูมิเนียม ย้ำภาพพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1455735 Fri, 15 Dec 2023 09:55:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455735

ต้องบอกว่านโยบายด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ESG ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป ภาคธุรกิจไม่ว่าจะหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน สร้างผลกระทบต่อโลกให้น้อยที่สุด ไปจนถึงเป้าหมาย Net Zero กันถ้วนหน้า

ในประเทศไทยเราเริ่มเห็นหลายองค์กรที่มีนโยบายที่จริงจังต่อการดูแลสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นก็คือ “สยามพิวรรธน์” ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ได้มีพันธกิจในการพัฒนาจุดหมายปลายทางระดับโลกสู่ความยั่งยืน

ล่าสุดสยามพิวรรธน์ได้เปิดตัว ONESIAM Drinking Water เป็นน้ำดื่มกระป๋องอะลูมิเนียม ที่นำไอเดียน้ำดื่มรักษ์โลกด้วยบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มจากอะลูมิเนียม เป็นวัสดุที่ขึ้นชื่อว่าสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% ด้วยกระบวนการรีไซเคิลเพื่อเปลี่ยนขยะเป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ถือว่าเป็นผู้เล่นค้าปลีกรายแรกในไทยที่เปิดตัวน้ำดื่มรักษ์โลก

เบื้องหลังของ ONESIAM Drinking Water ได้จับมือร่วมกับพาร์ทเนอร์อีก 2 ราย ผลงานการออกแบบโดยสมชนะ กังวารจิตต์ Executive Creative Director ของ Prompt Design นักออกแบบผู้คว้ารางวัลออกแบบระดับโลกกว่า 200 รางวัล และผลิตโดย Greenery Water ผู้ผลิตน้ำดื่มกระป๋องอะลูมิเนียมแบรนด์แรกของไทย

นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฎิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า

“สยามพิวรรธน์เตรียมเปิดศักราชปี 2567 ด้วย ONESIAM Drinking Water ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทำขึ้นภายใต้นโยบายบริหารจัดการขยะแบบ 360 องศาอย่างครบวงจร มุ่งสู่เป้าหมายการขับเคลื่อนสู่องค์กรขยะเป็นศูนย์ หรือ Zero Waste โดยการรังสรรค์น้ำดื่มในบรรจุภัณฑ์กระป๋องอะลูมิเนียมที่ดีไซน์ลวดลายบนกระป๋องแบบพิเศษ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยการรีไซเคิลได้อย่างไม่รู้จบ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่จากการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตวัตถุดิบอะลูมิเนียมได้ถึง 95% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการรีไซเคิลอะลูมิเนียม 1 กิโลกรัม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 9.13 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2eq) อีกทั้งตัวกระป๋องสามารถบีบอัดง่าย ทำให้ช่วยลดพื้นที่จัดเก็บเพื่อเตรียมนำกลับไปรีไซเคิล”

โครงการน้ำดื่ม ONESIAM ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของสยามพิวรรธน์ เพื่อบรรลุเป้าหมายลดปริมาณการฝังกลบขยะจากการดำเนินงาน 50% ภายในปี 2030 และเดินหน้าสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2050 ซึ่งการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์น้ำดื่มเป็นอะลูมิเนียมนี้ จะเพิ่มศักยภาพในการนำขยะกระป๋องไปรีไซเคิล ช่วยลดการจัดการขยะแบบฝังกลบอย่างเป็นระบบ ช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากรในการผลิตใหม่

สำหรับกระป๋องน้ำดื่ม ONESIAM Drinking Water เป็นผลงานการออกแบบโดย “สมชนะ กังวารจิตต์” Executive Creative Director ของ Prompt Design นำแนวคิดที่สะท้อนตัวตนของ ONESIAM ที่เปรียบเสมือน Single Planet นำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งในด้านความมั่นใจ ความกระตือรือร้น และความอัศจรรย์ ผสมผสานกับลายเส้นที่หลากหลายให้ความรู้สึกสนุกสนาน เกิดพลังงานในการสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการพิมพ์แบบเปิดให้เห็นสีเนื้อกระป๋อง เพิ่มลูกเล่นความโดดเด่นคล้ายการปั๊มนูน และสร้างความแตกต่างให้ผู้พบเห็นสนุกไปกับงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว

สมชนะ กล่าวเสริมว่า”โจทย์ในการดีไซน์กระป๋องน้ำดื่ม ONESIAM Drinking Water เป็นการตอบโจทย์เทรนด์โลกที่หันมาใช้กระป๋องกันมากขึ้น เรียกได้ว่าต่อไปกระป๋องจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยมีการดีไซน์ในการพิมพ์สีน้อยลง ใช้เพียงแค่สีเงิน และสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีของ ONESIAM  SuperApp และใช้ซูเปอร์เทคนิคในการเล่นกับไฟมากขึ้น ทำให้เรียบหรู ดูแพง รับเทรนด์ Quiet luxury”

นอกจากนี้ยังมีพาร์ทเนอร์คนสำคัญอีกหนึ่งรายนั่นก็คือ Greenery Water ผู้ผลิตน้ำดื่มกระป๋องอะลูมิเนียมแบรนด์แรกของไทย ที่มีเป้าหมายในการลดขยะจากขวดน้ำดื่มพลาสติกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมากถึง 6,000 ล้านขวดต่อปี ซึ่ง Greenery ได้เริ่มเปิดตัวน้ำดื่มกระป๋องมาได้ 3 ปีแล้ว

ONESIAM Drinking Water ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิลไม่ต่ำกว่า 70% ในการผลิต ส่วนอีก 30% เป็นอะลูมิเนียมใหม่ เนื่องจากประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ ซึ่งอะลูมิเนียมเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ชั่วชีวิต เป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างไม่รู้จบ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดของเสียตกค้างในระบบนิเวศ จากการนำบรรจุภัณฑ์กระป๋องอะลูมิเนียมใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นกระป๋องใบใหม่อีกครั้ง ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพ 100%

นอกจากนี้ ลูกค้าและประชาชนทั่วไป สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูและส่งต่อโลกที่น่าอยู่สำหรับทุกคน โดยนำกระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาทิ้งที่เครื่องอัดกระป๋องที่ตั้งในศูนย์การค้าในเครือของสยามพิวรรธน์  หรือนำกระป๋องมาคัดแยกแล้วนำมาฝากที่ Recycle Collection Center หรือ RCC จุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดแบบไดร์ฟทรู (Drive-Thru) ที่บริเวณจุดจอดรถทัวร์ หลังสยามพารากอน และบริเวณทางออก 4 ชั้น G (ฝั่งธนาคารกรุงเทพ) สยามพารากอน และจะเริ่มดำเนินการที่ไอคอนสยาม ในต้นปี 2567

น้ำดื่ม ONESIAM Drinking Water จะนำร่องใช้ในองค์กรสำหรับพนักงาน และเริ่มวางจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2566 ที่ร้าน Loft ชั้น 2 สยามดิสคัฟเวอรี่ และ ชั้น 3 ไอคอนสยาม, Grab & Go ชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ และผ่าน ONESIAM SuperApp รวมทั้งยังมีแผนวางขายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending machine) ในสยามพารากอน และ สยามเซ็นเตอร์ ในต้นปี 2567

]]>
1455735
บางจากเผยแบรนด์ไอเดีย “สมดุลธรรมชาติ สรรค์พลังไม่สิ้นสุด” ในการเปลี่ยนผ่านสู่นวัตกรรมสีเขียว https://positioningmag.com/1451469 Sun, 12 Nov 2023 15:37:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451469 บางจาก ได้เผยแบรนด์ไอเดีย “สมดุลธรรมชาติ สรรค์พลังไม่สิ้นสุด” ในการเปลี่ยนผ่านสู่นวัตกรรมสีเขียว ผู้บริหารสูงสุดมีมุมมองเรื่องของกระบวนการธรรมชาติที่ยั่งยืน ทำให้มีการเปลี่ยนผ่านที่ดีขึ้น รวมถึงการรักษาสมดุลในเรื่องต่างๆ

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงการสื่อสารแบรนด์ไอเดีย “Greenovate to Regenerate สมดุลธรรมชาติ สรรค์พลังไม่สิ้นสุด” 

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ ของบางจากได้กล่าวว่า แบรนด์บางจากได้ให้ความสำคัญกับการรักษา ‘สมดุล’ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมดุลระหว่างมูลค่าในการดำเนินธุรกิจ และคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมและสังคม สมดุลในการคำนึงถึงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลกิจการอย่างมีความรับผิดชอบ รักษาสมดุลระหว่างความท้าทายด้านพลังงาน เป็นต้น

โดย ชัยวัฒน์ ได้กล่าวถึงเรื่องของ Greenovate นวัตกรรมสีเขียว ที่ผ่านมาบริษัทได้ทำเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำ B5 หรือ B7 ที่นำน้ำมันดีเซลมาผสมไบโอดีเซล ขณะเดียวกันบริษัทก็ได้ทำ Solar Farm ขนาดใหญ่ รวมถึงในปีที่ผ่านมายังได้ทำน้ำมันเครื่องบินโดยใช้น้ำมันจากการปรุงอาหารแล้วด้วย

CEO ของบางจากยังได้กล่าวว่าบริษัทมองว่าเรื่องสีเขียวคือเรื่องการประกอบธุรกิจ ไม่ใช่แค่การทำ CSR หรือแม้แต่เรื่องของ ESG ซึ่งบริษัทคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวนับตั้งแต่อดีต ที่มีการตั้งปั๊มน้ำมันตามสหกรณ์ต่างๆ มาแล้ว เป็นต้น

ขณะที่ในเรื่องของ Regenerate หรือที่บริษัทได้กล่าวถึงเรื่องการสรรค์พลังใหม่ๆ เพื่อการเดินทางอย่างยั่งยืน และพลังงานสะอาด ไปจนถึงพลังที่เติมให้กับชีวิตผ่านเครื่องดื่มต่างๆ และพลังแห่งความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อร่วมบรรเทาวิกฤตสภาวะภูมิอากาศ โดยมองกระบวนการธรรมชาติที่ยั่งยืน ทำให้มีการเปลี่ยนผ่านที่ดีขึ้น

ภาพจากบริษัท

นอกจากนี้บางจากเองยังมองถึงเรื่องความ ‘สมดุล’ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมดุลระหว่างมูลค่าในการดำเนินธุรกิจ และคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมและสังคม สมดุลในการคำนึงถึงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลกิจการอย่างมีความรับผิดชอบ รักษาสมดุลระหว่างความท้าทายด้านพลังงาน

ปัจจุบันบางจากมีธุรกิจหลัก 5 ธุรกิจได้แก่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน กลุ่มธุรกิจการตลาด กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้า กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ รวมถึงกลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ โดยผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 บริษัทมีรายได้รวม 252,250 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 14,210 ล้านบาท

ชัยวัฒน์ ยังมองถึงการเปลี่ยนผ่านไปยังนวัตกรรมสีเขียว เปรียบเหมือนใบไม้ใบไม้ใหม่  และบริษัทยังได้เปลี่ยน Vision Mission รวมถึง Core Value ของบริษัทในช่วงที่ผ่านมาด้วย เพื่อสอดรับกับเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้บริษัทเองยังได้เปิดตัวโฆษณาชุดใหม่ความยาว 5 นาที ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านเด็กชายตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นและลงมือทำตามความฝันของตน สะท้อนพลังและจิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่งของบริษัทด้วย

ขณะที่เรื่องของการส่งต่อเรื่อง DNA ของความเป็นบางจากนั้น ชัยวัฒน์มองว่าเหมือนเป็นการซึมซับมาจากพนักงานต่างๆ และเขายังกล่าวว่าบางจากเป็นเป็นไม่กี่บริษัทที่มี KPI เกี่ยวกับด้าน ESG ให้กับพนักงานด้วย หรือให้พนักงานทำ CSR ในส่วนหนึ่งของการทำงานได้ เช่น การซื้อน้ำมันพืชจากเพื่อนบ้าน เพื่อที่จะเอาไปทำน้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น

]]>
1451469
Beacon VC มอง ESG มีความสำคัญกับทุกภาคส่วนมากขึ้น สตาร์ทอัพไทยจะปรับตัวได้อย่างไร https://positioningmag.com/1447453 Tue, 10 Oct 2023 03:50:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447453

ปัจจุบัน ESG มีความสำคัญอย่างมากในโลกธุรกิจ เราเห็นข่าวด้านธุรกิจเริ่มพูดถึงประเด็นของ ESG เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเองก็อาจสงสัยว่าเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร ปัจจัยดังกล่าวทำให้ธุรกิจหรือแม้แต่สตาร์ทอัพเองก็อาจสงสัยว่าทำไมบริษัทของตนจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

Positioning และ Beacon VC จะพาไปหาคำตอบว่าเรื่องของ ESG กับสตาร์ทอัพนั้นเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร และประเด็นใดที่สตาร์ทอัพไทยควรจะรู้


ESG คืออะไร

ESG นั้นย่อมาจาก Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นแนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว ถ้าหากธุรกิจยุคใหม่จะเติบโตก็ต้อง Do Good Do well ไปด้วยกัน เป็นโจทย์ที่ธุรกิจต้องคิดว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปอย่างยั่งยืนพร้อมกับยังคงความสามารถในการสร้างกำไรให้กับองค์กรตัวเองไปได้พร้อมกัน

การคำนึงถึง ESG ในการทำธุรกิจ เป็นการชวนให้ทุกคนกลับมาทบทวนการดำเนินงานตลอดทั้ง Supply Chain ของตนเองว่ามีผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลในส่วนใดบ้าง เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนกับบริษัทที่ส่งผลกระทบต่อเรื่อง ESG กล่าวคือแม้บริษัทจะมีกำไรสูง แต่หากมีกิจกรรมที่ส่งผลกระทบกับกติกาที่โลกกำลังให้ความสำคัญอย่าง ESG ก็จะถูกมองในแง่ลบและอาจไม่มีใครอยากลงทุนด้วย


เมื่อนักลงทุนสนใจ ESG มากขึ้น สตาร์ทอัพเองก็ต้องปรับตัว

สตาร์ทอัพที่กำลังมองหาการลงทุนจากเหล่านักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการนำ ESG มาปรับใช้กับนโยบายและการดำเนินงานของตน แม้ว่าการกระทำดังกล่าวอาจดูเหมือนเป็นการเพิ่มภาระให้กับธุรกิจของตัวเอง แต่หากมองในระยะยาว จะเห็นว่าการเริ่มปรับตัวให้เข้ากับหลักเกณฑ์ด้าน ESG ตั้งแต่ตอนนี้ถือเป็นเรื่องที่สตาร์ทอัพควรทำเป็นอย่างมาก เนื่องจากกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะถูกบังคับใช้และมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในอนาคต

จากข้อมูลของ EY ในปี 2565 ที่ผ่านมานั้น ได้แสดงว่า มีนักลงทุนถึง 26% เลือกที่จะไม่ลงทุนกับธุรกิจที่ไม่สามารถให้ความชัดเจนในนโยบายด้าน ESG นอกจากนั้นยังพบว่า 56% ของ Hedge Funds และ Private Equity และ 20% ของ Venture Capital ได้นำเกณฑ์ ESG มาเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญในการพิจารณาลงทุน

เรื่องของสิ่งแวดล้อม หนึ่งในประเด็นของ ESG ที่กำลังถูกจับตามองอย่างมาก – ภาพจาก Unsplash


โอกาสที่จะได้ ถ้าสตาร์ทอัพหันมาสนใจเรื่อง ESG  

จากงานวิจัยของ McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก พบว่าบริษัทที่นำแนวคิดด้าน ESG มาประกอบในการดำเนินธุรกิจนั้น จะเพิ่มความสามารถให้บริษัทนั้นเปิดตลาดใหม่ๆ ในทวีปยุโรปที่กำลังมองหา Sustainability Index จากบริษัทที่จะเข้าไปทำตลาดมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจหากเลือกที่จะใส่ใจเรื่อง ESG ก่อนคนอื่น นอกจากนั้นการให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG จะช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตและแข่งขันได้ในระยะยาว มากกว่าการแสวงหากำไรระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน และแน่นอนที่สุดคือจะได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น รวมถึงยังช่วยป้องกันการโดนลงโทษจากกฎหมายตามมาตรฐานของประเทศต่างๆ ที่จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ดังนั้นในฐานะคนทำธุรกิจไม่เว้นแม้แต่สตาร์ทอัพเองก็ควรจะต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ไม่เพียงเท่านี้ คนรุ่นใหม่ยังให้ความสนใจกับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นรวมถึงมองหาโอกาสในการ ทำงานกับองค์กรที่แสดงให้เห็นได้ว่าไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว ดังนั้นบริษัทที่ทำเรื่อง ESG ได้ดี ก็จะมีโอกาสที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้มากขึ้น พนักงานในองค์กรเองก็จะภูมิใจที่องค์กรจัดการกับประเด็นเหล่านี้ได้ดี

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director จาก Beacon VC เจ้าของโครงการ KATALYST By KBank ได้กล่าวในงานสัมมนา ESG A Lasting Game Changer ว่าเรื่องของ ESG เป็นสิ่งที่กำลังมาและมีความสำคัญจริง ๆที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงเรื่องของเทรนด์ใหม่ๆ บางครั้งคนอาจจะกลัวว่าเป็นแค่ Buzz Words คือเรื่องที่มีการพูดถึงมากๆ แต่มาไม่นานแล้วก็หายไป คนกลัวว่าESG จะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ แต่จากที่ได้ไปงานสัมนาด้าน ESG ต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศถ้าเราเข้าไปดูในฝั่งนักลงทุน จะเห็นว่านักลงทุนที่มาในงาน ESG จะเป็นนักลงทุนจากสถาบันที่มีการก่อตั้งมานานแล้วและมีความที่จริงจังในการลงทุนมาก เชื่อได้ว่าเรื่อง ESGจะเป็นการลงทุนที่เป็น Long Term Investment มากๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือเรื่อง ESG ยังเป็นเรื่องใหม่มากๆ โดยเฉพาะในประเทศไทย

ดังนั้น กฎ ระเบียบต่างๆ และด้านตลาดยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มากๆ ถ้าเรายังไม่เข้าใจเรื่องทั้งหมดดีพอ เราจะเข้าไปจับโอกาสนั้นได้ยาก

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง – กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC)


สตาร์ทอัพจะปรับตัวกับ ESG ได้อย่างไร  

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาคธุรกิจจะมีทางเลือกในการดำเนินการเพื่อรับมือต่อประเด็นความยั่งยืนที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน อาทิ ความพร้อมของกิจการทั้งความรู้ความเข้าใจ สภาพคล่องและเงินลงทุน เป็นต้น และปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ฐานลูกค้า มาตรการของคู่ค้าและทางการ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ซึ่งแต่ละธุรกิจคงต้องชั่งน้ำหนักถึงผลบวกและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งผลที่จะตามมาจากการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการต่อผลการดำเนินการในช่วงเวลาต่างๆ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่า ธุรกิจหรือสตาร์ทอัพอาจเริ่มต้นจากการลดส่วนสูญเสียในกระบวนการผลิต แยกขยะและนำวัสดุอุปกรณ์เหลือทิ้งมาใช้ซ้ำ หรือ รีไซเคิล วางแผนก่อนการใช้สิ่งต่างๆ เลือกใช้วัสดุ หรือวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการประหยัดไฟฟ้าและน้ำ การใช้ไฟฟ้าช่วง Off-Peak ที่มีค่าไฟต่อหน่วยต่ำ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน การออกแบบเส้นทางการใช้รถยนต์ การเปลี่ยนรถยนต์น้ำมันเป็นรถยนต์ไฟฟ้า การลดการขนส่งเที่ยวเปล่า การใช้โซลูชั่นหรือเทคโนโลยีเพื่อลดความสิ้นเปลือง เป็นต้น แนวทางเหล่านี้ธุรกิจอย่างสตาร์ทอัพหรือแม้แต่ธุรกิจทั่วไปก็น่าจะทยอยปรับเปลี่ยนเมื่อถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสมได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง และยังมีเคล็ดลับจากงาน ESG A Lasting Game Changer ได้แนะนำให้สตาร์ทอัพเริ่มจากศึกษาเรื่อง ESG และดูว่าคนที่อยู่ใน Ecosystem นี้ทำอะไรอยู่บ้าง เราสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งดีๆ เพื่อเป็นแนวทางและนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองก่อน

ถ้ามองภาพรวมใหญ่ของบริษัท เรื่อง ESG มีการทำในบริษัทอยู่แล้ว แต่บางเรื่องอาจจะยังไม่นึกมาก่อนว่านี่ก็คือการทำ ESG เช่น การดูแลพนักงานดีหรือไม่ การดูแลสวัสดิการต่างๆ เป็นอย่างไร นี่คือสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่อาจจะยังไม่เคยมอง ให้เลือกทำในสิ่งที่อยากทำ และโดดเด่นจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นด้านไหนของ ESG โดยอยากเน้นย้ำว่าถึงแม้ในปัจจุบันตลาดโดยรวมอาจจะให้ความสำคัญหลักไปที่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือตัว E แต่ในเรื่องของ S หรือการปฏิบัติต่อพนักงานและสังคมรอบข้าง และเรื่องของ G หรือความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อธรรมภิบาลที่ดี ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนมองหาและมีสำคัญไม่แพ้กัน

งานสัมมนา ESG A Lasting Game Changer โดย Beacon VC


Beacon VC มีส่วนช่วยเหลือธุรกิจสตาร์ทอัพในด้าน ESG ได้อย่างไร

ปัจจุบัน Beacon VC ส่งเสริมให้สตาร์ทอัพปรับตัวและมองหาโอกาสจากเทรนด์ด้าน ESG โดยส่งมอบการสนับสนุนในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การให้ความรู้เรื่อง ESG ผ่านการจัดงานสัมมนาและหลักสูตรอบรมเข้มข้นประจำปี KATALYST Startup Launchpad 2023 การร่วมมือกับพันธมิตรจัดตั้ง Climate Tech Club เป็นต้น และการจัดอบรมร่วมกับ Wavemaker Impact เพื่อให้ความรู้กับกลุ่มสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับ Climate Tech เป็นต้น

รวมถึงการสนับสนุนเงินลงทุนผ่านกองทุน Beacon Impact Fund ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น ราว 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการลงทุน 3 ปี โดยมุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่แสวงหาผลกำไร ที่มีแนวคิดดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างผลกระทบเชิงบวกในมิติต่างๆ ของ ESG สามารถวัดผลได้ พร้อมศักยภาพที่จะขยายผลไปในวงกว้าง โดยกองทุน Beacon Impact Fund มีนโยบายลงทุนในบริษัทที่อยู่ในช่วงที่บริษัทสามารถสร้างรายได้แล้ว มีฐานลูกค้าที่ชัดเจน และสามารถเติบโตได้ดี

พอร์ตการลงทุนของ Beacon VC – ภาพจาก Beacon VC

ซึ่งพอร์ตการลงทุนของ Beacon Impact Fund นั้นมีบริษัทที่ลงทุนอยู่ เช่น Algbra ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงินเพื่อให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศอังกฤษสามารถเข้าถึงบริการทา งการเงินที่สอดคล้องกับหลักทางศาสนาได้ Wavemaker Impact ธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก หรือแม้แต่ กองทุน Siam Capital ซึ่งเป็นกองทุนที่มุ่งเน้นที่จะช่วยเป็นส่วนนึงในการทำให้การบริโภคอย่างยั่งยืน ผ่านการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ หลากหลายแขนง อาทิ วัสดุที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการซื้อขายที่ลดการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น

คุณธนพงษ์ยังได้กล่าวว่า Beacon VC หวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงผลักดันและให้การสนับสนุนผู้คิดค้นนวัตกรรมรุ่นใหม่ที่มีปณิธานในการแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ที่พวกเราทุกคนและโลกใบนี้กำลังเผชิญ ตามเจตนารมณ์ของธนาคารกสิกรไทยที่มีความมุ่งมั่นจะยกระดับการดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปูทางให้สังคมไทยและโลกใบนี้มุ่งสู่ความยั่งยืนที่แท้จริงไปด้วยกัน

]]>
1447453
กสิกรไทยร่วมผลักดัน ASEAN taxonomy ผ่านการประชุมสุดยอดสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน https://positioningmag.com/1444261 Fri, 15 Sep 2023 10:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444261

กสิกรไทยเป็นตัวแทนสถาบันการเงินภาคเอกชนไทย ร่วมการประชุมสุดยอดสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council Summit Week) เมื่อต้นเดือนกันยายน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และร่วมการเสวนาหัวข้อ Decarbonizing Southeast Asia: Charting ASEAN’s Pathway to a Net-Zero Future แลกเปลี่ยนมุมมอง บทบาท แนวคิดของภาคเอกชน ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของแรงขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) พร้อมเชิญชวนกลุ่มประเทศอาเซียนจับมือกันทำเรื่องการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Decarbonization ให้เป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาค สร้างมาตรฐานร่วมกัน ผลักดันการเกิด ASEAN Taxonomy

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยเป็นตัวแทนสถาบันการเงินภาคเอกชนไทย เข้าร่วมงานสัปดาห์การประชุมสุดยอดสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยภายในงานมีกิจกรรม การประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน (ASEAN Business and Investment Summit หรือ ABIS 2023) ที่จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “ASEAN Centrality: Innovating Towards Greater Inclusivity” มีตัวแทนทั้งจากภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ ผู้นำ และผู้บริหารระดับสูงจากภาคธุรกิจทั่วโลกกว่า 2,000 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้ผู้นำธุรกิจได้มีส่วนร่วมในการเจรจาอย่างสร้างสรรค์กับผู้กำหนดนโยบาย

นอกจากนี้ ธนาคาร ยังได้เข้าร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อ Decarbonizing Southeast Asia: Charting ASEAN’s Pathway to a Net-Zero Future เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง บทบาท แนวคิดของภาคเอกชน ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของแรงขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) รวมถึงแนวทางการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ด้านการธนาคาร ที่จะผลักดันให้ธนาคารและลูกค้าทุกภาคส่วน คำนึงถึงการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความยั่งยืนในระดับภูมิภาค โดยแสดงมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกชนิด อื่น ๆ สู่ชั้นบรรยากาศ หรือ Decarbonization ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายเรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละประเทศในการปรับตัว ทั้งด้านการเงิน ความสามารถทางเทคโนโลยี และองค์ความรู้ ประเทศที่มีความพร้อม เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศจีน จะเป็นผู้กำหนดแนวทางและกฎเกณฑ์ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนมากเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีความพร้อมที่แตกต่างกัน แต่ยังพึ่งพากันได้ดีผ่านการค้าและการลงทุน ด้วยมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN intra-trade) ที่มีสัดส่วนสูงถึง 23%

ภายใต้บริบทดังกล่าว กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถหาโอกาสใหม่ ๆ ร่วมกัน โดยการสร้างความร่วมมือเพื่อทำให้ Decarbonization เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในระดับภูมิภาค (Regional Progressive Dialogue) และสอดรับกับพลวัติการค้าการลงทุนที่เกิดขึ้น โดยการสร้างมาตรฐานการทำงานด้าน Decarbonization เดียวกัน ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (Hard Infrastructure) ที่แต่ละประเทศสามารถเติมเต็มแหล่งทรัพยากรซึ่งกันและกันได้ และโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน (Soft Infrastructure) เช่น การกำหนดให้มี ASEAN Taxonomy ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องของ Decarbonization ในกลุ่มประเทศอาเซียน แล้ว จะสามารถทำให้อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืนในระดับเวทีโลกเช่นกัน

ทั้งนี้ สถานการณ์ปัจจุบันของภาคธุรกิจในอาเซียน เรื่องการปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ (Large Corporates) มีความสามารถในการปรับตัว และปฏิบัติตามกติกาในระดับนานาชาติได้อย่างทันท่วงที ด้วยความพร้อมด้านทรัพยากร เทคโนโลยี เงินทุน และความรู้ ขณะที่กลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ยังไม่สามารถปรับตัวได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ต้องมีการช่วยเหลือจากรัฐบาลและธนาคาร หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี (Multi Development Banks) เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถเอาตัวรอดได้ สุดท้ายในส่วนของกลุ่มลูกค้ารายย่อย ก็ต้องมีการผลักดันให้เกิดการตระหนักรู้ และสร้างแนวคิดที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิดระบบคุณค่าใหม่ (New Value System) ที่จะคอยผลักดันให้เอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

นายพิพิธ กล่าวในตอนท้ายว่า การส่งเสริมการสร้างมาตรฐานร่วมกันด้าน Decarbonization ในภูมิภาคเศรษฐกิจอาเซียน ถือเป็นการตอกย้ำแนวคิดการทำงานตามหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) ของธนาคารกสิกรไทย ที่พร้อมจะก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยธนาคารจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและผลักดันลูกค้า ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Decarbonization ในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ธนาคารกสิกรไทยมีที่ตั้งอยู่ เพื่อให้เป็นตามนโยบายเป้าหมาย Net Zero Commitment ของแต่ละประเทศต่อไปในอนาคต

]]>
1444261
งานเพื่อเยาวชน! ทิพยประกันภัย จัด “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” สานฝันเด็กไทยที่รักกีฬาวอลเลย์บอล ภายใต้แนวคิด ESG มิติช่วยเหลือสังคม https://positioningmag.com/1434668 Wed, 28 Jun 2023 04:00:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434668

ในขณะที่แฟนๆ วอลเลย์บอลชาวไทยกำลังลุ้นตัวโก่งกับแมทช์วอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก 2023 ที่เปิดศึกแข่งเดือดไปเมื่อสิ้นเดือนที่ผ่านมา แต่แวดวงธุรกิจบ้านเราก็ไวกับกระแสนี้ไม่แพ้กัน

ล่าสุด บิ๊กเนมแห่งวงการประกันภัยอย่าง ทิพยประกันภัย ได้ผนึกพลังกับ สโมสรวอลเลย์บอลสุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค แชมป์ไทยแลนด์ลีก 3 สมัย และแชมป์สโมสรเอเชีย 2 สมัย จัดโครงการ “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานการเล่นวอลเลย์บอลที่ถูกต้อง และสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการฝึกซ้อม ตอกย้ำความเป็นบริษัทประกันภัยไทยแห่งแรกที่มุ่งสร้างแรงบันดาลใจสานฝันให้กับเยาวชนไทยที่รักในกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อยกระดับฝีมือไปถึงระดับแข่งขันอีกทั้งยังเป็นการต่อยอดแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืนของบริษัทอีกด้วย


ต่อยอดธุรกิจเพื่อสังคมด้วยแนวคิด ESG

สำหรับโครงการ “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” นี้เป็นหนึ่งในแนวทางตามกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG ในมิติด้านการช่วยเหลือสังคม นับเป็นก้าวแรกของวงการประกันภัยไทยที่นำการสนับสนุนกีฬาให้กับเยาวชนไทย มาร่วมผสานกับแนวคิด ESG ที่คำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) ด้านสังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ภายใต้การบริหารงานอย่างมืออาชีพ พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการด้านประกันภัยให้ตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเสมอภาคทางสังคม และสร้างความสุขให้กับทุกคน


ทีมเวิร์ค สามัคคี แข็งแรง

โดยที่มาของโครงการและแรงบันดาลใจในการสนับสนุนกีฬาวอลเลย์บอล ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

“ทิพยประกันภัย เป็นบริษัทที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเล่นกีฬาที่ส่งเสริมผู้เล่นให้รู้จักการมีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีความสามัคคี รู้จักการทำงานเป็นทีม รวมถึงการมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางร่างกาย ความคิด และจิตใจ ทิพยประกันภัย จึงให้การสนับสนุนกีฬาหลากหลายประเภท อาทิ ฟุตบอล ฟุตซอล มวยสากล กอล์ฟ ฯลฯ มาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดมามุ่งเน้นที่กีฬาวอลเลย์บอล จนเกิดเป็นโครงการ “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” ขึ้นมา”

“ปัจจุบัน วอลเลย์บอล เป็นอีกหนึ่งประเภทกีฬาที่คนไทยรวมถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ และเป็นที่นิยมในอันดับต้นๆ เนื่องจากทีมนักกีฬาวอลเลย์บอลไทยได้ไปสร้างชื่อระดับนานาชาติ สร้างแรงบันดาลใจต่อเยาวนชนคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก โดย ทิพยประกันภัย นอกจากจะสนับสนุนสโมสรและนักกีฬาในด้านต่างๆ แล้ว ยังส่งเสริมในด้านพัฒนานักกีฬาคลื่นลูกใหม่ที่กำลังขึ้นมาให้มีโอกาสได้พัฒนาฝีมือเพื่อก้าวเข้าสู่ทีมชาติ และสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยต่อไปในอนาคต”

ส่วนโครงการ “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” ล่าสุดที่เพิ่งผ่านไปนั้น ทิพยประกันภัย จับมือกับ สโมสรวอลเลย์บอลสุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค ร่วมกันพัฒนาและต่อยอดแนวคิดผลักดันโครงการ “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” โดยทิพยประกันภัยสนับสนุนอุปกรณ์กีฬา และมีสุดยอดนักวอลเลย์บอลจากทีมสุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค ร่วมกันฝึกสอนทักษะการเล่นกีฬาพื้นฐานที่ถูกต้องให้กับเด็กไทยรวมถึงผู้ฝึกสอน โดยหวังว่าจะเป็นการถ่ายทอดอย่างยั่งยืนต่อไป ให้เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลที่ครบเครื่อง รวมทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กนักเรียนที่เข้ามาร่วมโครงการนี้ด้วย


สร้างแรงบันดาลใจ + สานฝันเยาวชน

“นี่เป็นครั้งแรกของวงการประกันภัยไทยที่เข้ามาพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลด้วยการเปิดคลินิกกีฬาขึ้นมา ซึ่งนอกจากการถ่ายทอดเทคนิคความรู้ผ่านการฝึกซ้อมขั้นพื้นฐานแล้ว ทีมสุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค ที่มีเหล่า “ไอดอล” ของวงการด้านวอลเลย์บอลอย่างอดีต 7 เซียน มาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น กิ๊ฟ -วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ หน่อง – ปลื้มจิตร์ ถินขาว และ ปู-มลิกา กันทอง มาช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กรุ่นใหม่หันมาเอาดีด้านกีฬา ยิ่งในช่วงนี้กระแสวอลเลย์บอลบ้านเรากำลังได้รับความนิยมสูง จึงเป็นเสมือนแรงส่งให้เด็กๆ อยากเข้ามาเล่นวอลเลย์บอลอย่างจริงจังมากขึ้น หรือจะเรียกได้ว่าเป็นการนำ 7 เซียนวอลเลย์บอล มาช่วยปั้นเซียนรุ่นเล็กเลยก็ว่าได้” ดร.สมพรกล่าว

นอกจากนี้การเปิดคลินิกวอลเลย์บอล ยังเป็นการถ่ายทอดเทคนิคให้กับโค้ชหรือผู้ฝึกสอนของแต่ละโรงเรียนไปในตัว ในรูปแบบ “Train the Trainer” เพื่อแนะแนวทางการฝึกซ้อมที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาทักษะการเล่น การวางแผนการฝึกซ้อม ซึ่งผู้ฝึกสอนก็จะได้นำเทคนิคต่างๆ กลับไปสอนเด็กๆ รุ่นต่อไปได้อีก รวมทั้งมอบอุปกรณ์กีฬา เช่น ลูกวอลเลย์บอล สนับเข่า ให้กับ 11 โรงเรียน ให้นำกลับไปใช้ฝึกซ้อมต่อกันที่โรงเรียนอีกด้วย ซึ่งจะช่วยต่อยอดโครงการไปสู่เด็กรุ่นต่อไป ไม่หยุดอยู่เพียงแค่เด็กรุ่นนี้ จึงเป็นการส่งผ่าน “จากพี่สู่น้อง พัฒนา เพื่อยั่งยืน” อย่างแท้จริง

สำหรับโครงการ “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” ได้จัดประเดิมที่แรกที่ อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ส่วนหนึ่งมีที่มาจาก “กิ๊ฟ-วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์” ที่เคยเป็นนักเรียนเรียนอยู่ที่โรงเรียนชุมชนหนองหัวฟาน เรียกว่าที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตนักวอลเลย์บอลของเธอเลยก็ว่าได้ โดย ดร.สมพร ยังได้เผยถึงแพสชันที่ได้รับมาเต็มๆ จากคุณกิ๊ฟ จนนำไปสู่โครงการ “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” ครั้งแรกนี้ว่า

“ทิพยประกันภัยดีใจที่ได้ร่วมมือกับทีมสุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค ส่วนหนึ่งก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณกิ๊ฟ-วิลาวัณย์ซึ่งเป็นคนโคราช และจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ให้ความสำคัญ ส่งเสริมการเล่นกีฬามาก เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่ผลิตนักกีฬาเก่งๆ สู่ระดับประเทศ ซึ่งการมาเพิ่มทักษะให้กับเด็กๆ ที่โคราช น่าจะนำไปสู่การผลิตนักกีฬาเก่งๆ ได้อีกมากและยังเป็นโอกาสให้นักตบลูกยางรุ่นน้องได้เห็น “โค้ชกิ๊ฟ” หรือเส้นทางสายนักกีฬาอาชีพได้อย่างแท้จริง

ที่สำคัญ “ทิพยประกันภัย” ยังมุ่งเน้นลดช่องว่างให้เด็กไทยในต่างจังหวัดที่ยังขาดโอกาส ทั้งที่มีฝีมือและพรสวรรค์ด้านกีฬา แต่กลับไม่รู้ว่า จะต้องไปฝึกฝนที่ไหน หรือจะต้องไปเรียนต่อสายกีฬาได้อย่างไร ทำให้ต้องหยุดเล่นจบความฝันไว้เพียงแค่วัยเรียน แต่การที่ “ทิพยประกันภัย” จัดโครงการ “ทิพย วอลเลย์บอล คลินิก” ขึ้นมาโดยหวังว่าจะเป็นการส่งมอบโอกาสแก่เด็กไทย ด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้กีฬาชั้นเลิศ และเพื่อมอบโอกาสเส้นทางลัดสู่ความสำเร็จนั่นเอง”

ดร.สมพร สืบถวิลกุล ผู้บริหารแห่งทิพยประกันภัยได้กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า “ภายใต้สโลแกน ห่วงใยทุกชีวิตในสังคม เราใส่ใจทั้งลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงให้ความสำคัญและดำเนินธุรกิจควบคู่กับการช่วยเหลือสังคมในหลากหลายมิติ เพื่อให้สังคมได้พัฒนาดีขึ้นพร้อมกันอย่างยั่งยืน”

]]>
1434668
“Beacon Impact Fund” ประเดิมเงินลงทุน 1,200 ล้าน กองทุนเพื่อ “สตาร์ทอัพ” ที่ทำธุรกิจด้าน ESG https://positioningmag.com/1423092 Thu, 16 Mar 2023 04:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423092

“เรากำลังยืนอยู่บนทางแยกของการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสังคม อยู่ที่เราเลือกว่าจะแก้ไขอย่างไร” ด้วยมายด์เซ็ทนี้ทำให้ “บีคอน วีซี” ในเครือ KBank เปิดตัวกองทุนใหม่ “Beacon Impact Fund” มูลค่าเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท เพื่อลงทุนกับ “สตาร์ทอัพ” ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ ESG โดยตรง หวังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนธุรกิจที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงโลก

“ในฐานะ Global Citizen เราจะทำอะไรให้กับโลกนี้ เมื่อเราเป็นเจนเนอเรชันที่รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และเราจะเป็นเจนเนอเรชันสุดท้ายที่ยับยั้งได้ทัน” ธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด กล่าวเปิดถึงที่มาของการก่อตั้ง Beacon Impact Fund ขึ้น

ESG นั้นเป็นมิติทางสังคมที่หลายองค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญ บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งต่างมีนโยบายด้าน ESG เช่น Unilever, Walmart, Salesforce, HSBC, Citibank รวมถึง ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ก็เช่นกัน ล่าสุดธนาคารมีนโยบายที่จะใช้งบลงทุนสนับสนุนด้าน ESG ทั้งภายในองค์กรตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธนาคาร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1-2 แสนล้านบาท จากนี้ไปจนถึงปี 2573

สำหรับ ESG นั้นเป็นตัวย่อของมิติทางสังคมแบ่งเป็น 3 ประเด็นคือ Environment, Social และ Governance ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องซึ่งกันและกัน เมื่อโลกของเรามีสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ทรัพยากรบนโลกลดลง ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางสังคม เพราะประชากรบนโลกบางส่วนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่มีจำกัด ขณะที่บางส่วนไม่ได้รับและต้องอาศัยอยู่บนความแร้นแค้นยากจน จนในที่สุดถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม

ขณะที่ผลตอบรับจากผู้บริโภคปลายทางต่อบริษัทที่มีนโยบายด้านนี้ก็มีแนวโน้มไปในทางที่ดี เนื่องจากมีการวิจัยพบว่า 79% ของผู้บริโภคพร้อมที่จะอุดหนุนสินค้าและบริการของบริษัทที่มีนโยบาย ESG และมีถึง 49% ที่ตอบว่าตนเคยหันมาเลือกใช้สินค้าและบริการของบริษัทที่มีนโยบาย ESG แล้วเพื่อเป็นการสนับสนุนอีกด้วย


Beacon Impact Fund อัดงบ 1,200 ล้านบาท

จากนโยบายของ KBank ที่จะสนับสนุนด้าน ESG ส่วนหนึ่งของนโยบายนี้จะลงทุนผ่านกองทุนบีคอน วีซี ทำให้บริษัทจัดตั้ง “Beacon Impact Fund” ขึ้น ด้วยเม็ดเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท หรือประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ กรอบระยะเวลา 3 ปี (2566-68)

จุดประสงค์ของกองทุนนี้ต้องการลงทุนในระดับ “Impact Investing” คือลงทุนกับสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ ESG โดยตรง และต้องเป็นสตาร์ทอัพในช่วง Post-revenue หมายถึงอยู่ในช่วงที่สร้างรายได้ได้แล้ว พิสูจน์โมเดลธุรกิจว่ามีแนวโน้มทำกำไร เนื่องจากการทำธุรกิจย่อมต้องมีกำไรเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวด้วย

โดยการชี้วัดว่าธุรกิจใดจะถือว่ามีจุดประสงค์ด้าน ESG ทางบีคอน วีซี จะยึดหลักการของสหประชาชาติ UN SDGs (United Nation’s Sustainable Development Goals) ซึ่งมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย เช่น ขจัดความยากจน, รับรองการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี, รับรองพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน เป็นต้น

จากเป้าหมายเหล่านี้ บีคอน วีซี ยกตัวอย่างธุรกิจที่ถือว่าเข้ากรอบการลงทุนใน Beacon Impact Fund เช่น ธุรกิจพลังงานสะอาด, ธุรกิจเกี่ยวกับ Circular Economy, ธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการลดคาร์บอน, ธุรกิจเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบสาธารณสุข, ธุรกิจเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเงิน และธุรกิจเพื่อปกป้องสิทธิผู้บริโภค เป็นต้น

ทั้งนี้ กองทุนนี้พร้อมที่จะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพทั่วโลก แต่จะเน้นเลือกการลงทุนในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่

ธนพงษ์คาดว่า เฉลี่ยแล้วบริษัทสามารถลงทุนร่วมกับสตาร์ทอัพได้ปีละประมาณ 5 บริษัท ร่วมลงทุนบริษัทละประมาณ 2-3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้มีบริษัทสตาร์ทอัพที่สนใจลงทุนบ้างแล้ว โดยจะเป็นสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจสอดคล้องกับจุดประสงค์กองทุน เช่น พัฒนาเทคโนโลยีแปลงรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า, เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร, เทคโนโลยีลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรม เป็นต้น

ปัจจุบันบีคอน วีซีมีงบลงทุนรวมทุกกองทุนนับตั้งแต่เปิดบริษัทสะสม 265 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8,000 ล้านบาท มีการลงทุนแล้ว 160 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5,000 ล้านบาท

“การลงทุนกับบริษัทที่เน้นด้าน ESG จะเป็นสัญญาณไปสู่ธุรกิจที่ยังมีเป้าหมายมุ่งเน้นแต่ด้านกำไรด้วยว่า หากหันมาให้ความสำคัญกับ ESG ด้วยก็จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเดิม รวมถึงส่งสัญญาณไปถึงผู้บริโภคเพื่อมาช่วยกันอุดหนุนสินค้าและบริการจากบริษัทที่ส่งเสริมด้าน ESG อีกทางหนึ่ง เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนช่วยเหลือกันได้จริง” ธนพงษ์กล่าวปิดท้าย

]]>
1423092
Frasers Property ตั้งเป้าปี 2025 ขึ้น Top 5 แบรนด์อสังหาฯ ไทย ชูกลยุทธ์ Real Estate as a Service มัดใจลูกค้า https://positioningmag.com/1420190 Tue, 21 Feb 2023 13:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1420190 เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ประกาศเป้าภายในปี 2025 ขึ้นแท่น Top 5 แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ในไทย หลังจากได้ปรับโครงสร้างธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังชูกลยุทธ์ Real Estate as a Service มัดใจกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่มของบริษัท รวมถึงนำเรื่อง ESG เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจด้วย

ธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงทิศทางของบริษัทในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าหลังจากนี้ หลังจากบริษัทได้รวมธุรกิจของอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละบริษัท (เช่น Golden Land หรือแม้แต่ TICON) เข้ามาภายใต้ชายคาเดียวกันเป็นที่เรียบร้อยในช่วงที่ผ่านมา

เขาได้กล่าวถึงธุรกิจของบริษัทแม่ก็คือ Fraser Property ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ TCC Group ว่าปัจจุบันมีทรัพย์สินในการบริหารราวๆ 1 ล้านล้านบาทอยู่ใน 22 ประเทศทั่วโลก และทำให้เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ได้เรียนรู้การทำธุรกิจจากต่างประเทศผ่านบริษัทแม่ด้วย

และเขายังย้ำว่าประเทศไทยเป็น Strategic Location สำคัญของ Fraser Property อีกด้วย

เศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายในปีนี้

ธนพลมองว่าประเทศไทยยังมีความท้าทาย และต้องเดินหน้าทางธุรกิจแบบระมัดระวัง โดยปัจจัยสำคัญคือเรื่องเงินเฟ้อ แล้วก็การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศ เขาได้กล่าวถึงการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ จากประเด็นของเงินเฟ้อนั้นอาจกระทบกับบริษัท

เขายังกล่าวเสริมว่า การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางรวมถึงแบงก์ชาติของไทยทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้บริษัทต้องระมัดระวังมากขึ้น ไม่เพียงเท่านี้เขายังชี้ว่าคู่แข่งทางธุรกิจก็เพิ่มมากขึ้น หลายธุรกิจเริ่มหันมาทำธุรกิจแข่งกับบริษัทเช่นกัน

มองแต่ละธุรกิจนั้นมีช่วงเวลาดี-แย่ ต่างกันไป

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ได้กล่าวว่าธุรกิจของบริษัทที่ประกอบไปด้วย 3 ธุรกิจย่อยๆ ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม รวมถึง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมนั้นมีช่วงเวลาดี-แย่ต่างกันไป

โดยกลุ่มที่กำลังได้รับผลดีนั้นไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมนั้นได้รับผลดีจากการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้ามา จากช่วงก่อนหน้านี้ขณะที่กลุ่มสำนักงานให้เช่าอาจมีช่วงเวลาที่ดี แต่ก็พบกับคู่แข่งที่เข้ามาเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมได้รับผลดีจากตลาด E-commerce บูม แต่ก็กำลังจะเป็นจุดสูงสุด

ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยนั้น สินค้าอย่างบ้านเดี่ยวกำลังกลับมาเติบโตอีกครั้ง ขณะที่กลุ่มทาวน์โฮมนั้นเพิ่งจะฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด เนื่องจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและหนี้ในครัวเรือน

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยยังคงเป็นรายได้หลักของบริษัทในปี 2023 นี้

เป้าธุรกิจในปี 2023 นี้

ธนพลได้กล่าวถึงแต่ละธุรกิจในปี 2023 ในแต่ละกลุ่มธุรกิจของบริษัท

  1. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัทเตรียมที่จะขยายธุรกิจไปยังบ้านเดี่ยวราคา 60-120 ล้านบาท รวมถึงบุกตลาดคอนโดมีเนียมแบบโลว์ไรส์ ราคาราวๆ 3-5 ล้านบาท
  2. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้ลูกค้าอีกราวๆ 150,000 ตารางเมตร รวมถึงเมืองอุตสาหกรรมพื้นที่มากถึง 4,600 ไร่ในจังหวัดสมุทรปราการ คาดว่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงกลางปีนี้
  3. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม เตรียมเปิดตัว Silom Edge ในช่วงไตรมาส 2

ปัจจุบันรายได้หลักของบริษัทอยู่ที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 75% รองลงมาคืออสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมอยู่ที่ 17% และอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมที่ 8%

ผลักดัน Real Estate As A Service เพิ่มคุณค่าให้กับแต่ละโครงการ

นอกจากนี้ในแผนปี 2025 ทางบริษัทยังมีกลยุทธ์ Real Estate As A Service มาใช้ในทุกธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น ด้านความปลอดภัยมีระบบแสกนใบหน้า ระบบอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการจอดรถยนต์ เป็นต้น หรือแม้แต่การจับมือกับพาร์ตเนอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อช่างอาคาร เป็นต้น

ขณะที่อสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมรวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมก็จะมีโมเดลในเรื่องของความยืดหยุ่น ลูกค้าสามารถจ่ายเงินได้ตามการใช้งานที่ต้องการ เช่น ในกรณีการใช้คลังสินค้าก็มีการคิดค่าใช้จ่ายทั้งแบบการใช้รายครั้ง ไปจนถึงการใช้งานตามพาเลทของสินค้า

อสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมรวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม จะมีสัดส่วนต่อรายได้รวมของบริษัทเพิ่มมากขึ้นในปี 2025

แผนงานบริษัทหลังจากนี้

ธนพลยังได้กล่าวถึงแผนงานของบริษัทเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าของปี 2025 นั้นประกอบไปด้วย

  1. Peopleด้วยเป้าหมายในการมุ่งสู่การเป็น Employer of Choice หรือบริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วย บริษัทได้มุ่งดูแลพนักงานซึ่งเป็นหัวใจหลักขององค์กร เพื่อเพิ่มความสามารถและขยายศักยภาพ ควบคู่กับการสนับสนุนให้ทุกคนในองค์กรมีเส้นทางการเติบโตในอาชีพอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการลาไปดูแลลูก หรือแม้แต่การลาไปผ่าตัดแปลงเพศ การทำงานแบบ Flexible มากขึ้น รวมถึงการทำให้พนักงานรวมถึงครอบครัวมีความภูมิใจในงานที่ทำ เช่น จดหมายจาก CEO เป็นต้น
  2. Planet – ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นและคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ซึ่งธนพลมองว่าเรื่องนี้มีอิทธิพลในการทำธุรกิจมากขึ้น และลูกค้าหลายรายเริ่มต้องการสิ่งนี้ โดยเฉพาะลูกค้าจากฝั่งตะวันตก ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการไปในหลายด้าน เช่น ความพยายามในการปรับปรุงอาคารให้ได้อาคารสีเขียว การสร้างสัมพันธ์กับชุมชน เป็นต้น
  3. Purpose – เพิ่มเติมจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ และสร้างแบรนด์ให้คนจดจำ

สร้างแบรนด์ติด Top 5 ให้ได้ภายในปี 2025

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) มองว่าที่ผ่านมาจากผลสำรวจแบรนด์อสังหาฯ ไม่ค่อยมีใครนึกถึงเฟรเซอร์สฯ เท่าไหร่นัก และจะเริ่มสร้างแคมเปญให้ผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์ของบริษัทเพิ่มมากขึ้นหลังจากนี้

ขณะที่รายได้นั้นในเป้าหมายปี 2025 เขามองว่าบริษัทจะเติบโตได้เฉลี่ยปีละ 15% มองถึงความยั่งยืนและคุณภาพของรายได้เป็นหลัก

นอกจากนี้ในระยะยาวบริษัทตั้งเป้าที่จะมีสัดส่วนรายได้จากอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมรวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะบาลานซ์รายได้ให้กับบริษัท ซึ่งปัจจุบันเขาชี้ว่ารายได้ของคลังสินค้าบางแห่งนั้นมากกว่ารายได้ของ Office ให้เช่าบางโครงการด้วยซ้ำ

ธนพลได้กล่าวว่าบริษัทตั้งเป้าว่าต้องการให้บริษัทเป็น Top 5 แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ภายในปี 2025 และต้องการมีมูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านบาทหลังจากนี้ด้วย

]]>
1420190
กสิกรไทยเปิดแผน “KBank ESG Strategy 2566” พร้อมผสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อความยั่งยืน https://positioningmag.com/1409532 Thu, 24 Nov 2022 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409532

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สภาพภูมิอากาศทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราจะเห็นข่าวพายุที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ฝนตกหนักมากขึ้นในหลายพื้นที่แบบไม่เคยเป็นมาก่อน หรือแม้แต่คลื่นความร้อนที่ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

ทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเหลื่อมล้ำ การที่ประชาชนยังเข้าไม่ถึงบริการต่างๆ ฯลฯ หลายปัญหาที่ยังต้องแก้ไขในระยะยาว

สถาบันการเงินเองก็ต้องปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจจากปัจจัยเหล่านี้เช่นกัน

แต่หลายคนอาจสงสัยว่าสถาบันการเงินนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) หรือเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สถาบันการเงินถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้โลกเรานั้นดีขึ้นได้

เราจะเห็นข่าวว่าหลายสถาบันการเงินทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนนโยบายแทบจะพลิกฝ่ามือ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปโดยเริ่มมองปัจจัย ESG หรือแม้แต่ผู้จัดการกองทุนก็ให้ความใส่ใจในเรื่อง ESG โดยนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการลงทุนด้วย

ซึ่งธนาคารกสิกรไทยเองก็เป็น 1 ในสถาบันการเงินที่ต้องการเห็นหลายภาคส่วนในประเทศไทยก้าวเดินไปสู่สภาวะแวดล้อมที่ดีมากขึ้น รวมถึงเรื่องของความยั่งยืน

Positioning จะพาไปดูว่าธนาคารกสิกรไทยวางกลยุทธ์ในเรื่องดังกล่าวยังไง


คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวว่าปัจจุบัน ESG เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก และลูกค้าของธนาคารหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างสนใจในเรื่องนี้อย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเขาได้ยกตัวอย่างว่ากองทุนจากต่างประเทศได้สอบถมนโยบายเกี่ยวกับเรื่อง ESG ของธนาคารอย่างเข้มข้น แตกต่างจากในอดีตที่ส่วนใหญ่มักสอบถามถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจ หรือเป้าหมายการทำกำไร

นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าหน่วยงานกำกับดูแลของแต่ละประเทศเริ่มหันมาออกมาตรการภาษีด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภาษีคาร์บอน ฯลฯ ฉะนั้นแล้วถ้าหากธนาคารกสิกรไทยไม่สนใจเรื่อง ESG  หรือแม้แต่ลงมือทำช้าไป ตัวของธนาคารเองก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน

ธนาคารกสิกรไทยเป็นอีกสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการวางยุทธศาสตร์เรื่องการขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักการ ESG โดยกำหนดกลยุทธ์การทำงานที่เป็นระบบ เน้นการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินงานตามหลักการและมาตรฐานสากล

กลยุทธ์ด้าน ESG ของธนาคารกสิกรไทยใน 3 ด้านของปี 2566  (KBank ESG Strategy 2566) ประกอบด้วย

ด้านสิ่งแวดล้อม ธนาคารกสิกรไทยประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) จากการดำเนินงานของธนาคารภายในปี 2573 โดยธนาคารได้วางแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่น การปรับเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การทยอยปรับเปลี่ยนรถยนต์ของธนาคารให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า การทยอยติดตั้งแผงโซลาร์บนดาดฟ้าของอาคารสำนักงานและสาขาของธนาคารที่มีพื้นที่เป็นของตนเอง

KLOUD by KBank หนึ่งในอาคารที่ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์

ขณะที่พอร์ตสินเชื่อของธนาคาร เริ่มมีการประเมินในเรื่องปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงจัดทำแผนกลยุทธการลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมกลุ่มแรกที่ทางธนาคารได้เริ่มดำเนินการเข้าไปวางแผนในการป รับเปลี่ยนร่วมกับลูกค้าแล้วคือ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและกลุ่มเหมืองถ่านหิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร (Portfolio Emission) และเตรียมขยายการทำงานร่วมกับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ ตามลำดับ

คุณกฤษณ์ ยังได้กล่าวถึงโครงการใช้แนวความคิดแบบ Win-Win ในเรื่องพลังงานสะอาดอย่าง SolarPlus ซึ่งช่วยให้ประชาชนประหยัดค่าไฟและได้ใช้ไฟจากแหล่งพลังงานสะอาด และยังสามารถขายไฟในส่วนที่เหลือคืนให้กับธนาคารได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น การให้สินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ไปจนถึงการที่ธนาคารได้ส่งเสริมการเช่าใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า EV Bike สนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลายมากขึ้น และช่วยให้ไรเดอร์กลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสในการประกอบอาชีพด้วยต้นทุนต่ำ เนื่องจากสามารถเช่า EV Bike ได้ในราคาถูก

สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ EV Bike ในพื้นที่สาขาของธนาคาร

ด้านสังคม คุณกฤษณ์ได้กล่าวถึงเรื่องทำให้คนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้นยังไง โดยเฉพาะสินเชื่อของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงกระบวนการขอสินเชื่อที่ทำได้รวดเร็วมากขึ้น เกิดผลลัพธ์ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยสินเชื่อให้คนตัวเล็กกว่า 5 แสนรายในปี 2565 และตั้งเป้าในปี 2568 จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ 1.9 ล้านราย

นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ความเข้าใจความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับลูกค้า ซึ่งเราจะเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว เช่น คอลเซ็นเตอร์จากต่างประเทศที่หลอกลวงเงินลูกค้า โดยธนาคารตั้งเป้าในการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจด้านการเงินและไซเบอร์แก่ลูกค้า 10 ล้านรายในปี 2566 รวมถึงยกระดับการให้บริการที่ปลอดภัย และดูแลอย่างทันท่วงที ด้วยบริการของธนาคารที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง

ด้านธรรมาภิบาล คุณกฤษณ์ได้กล่าวถึงประเด็นหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อตามหลัก ESG เพื่อดูแลให้สินเชื่อที่ปล่อยไปไม่สร้างผลกระทบเชิงลบแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และป้องกันประเด็นการฟอกเขียว (Greenwashing) โดยธนาคารได้มีการกำหนดให้ทุกสินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ต้องเข้าสู่กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% โดยข้อมูล 9 เดือนแรกของปี 2565 มีสินเชื่อผ่านกระบวนการดังกล่าวไปแล้วกว่า 340,000 ล้านบาท

นอกจากนี้คุณกฤษณ์ยังได้กล่าวว่า ภารกิจด้านความยั่งยืนนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด รวมถึงอยากเชิญชวนให้ทุกฝ่ายมาแข่งขันกันในเรื่อง ESG นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกฝ่าย และเขาได้ย้ำว่าหลายฝ่ายเองก็ต้องจับมือเดินไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทต่างๆ รัฐบาล หรือแม้แต่หน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งธนาคารกสิกรไทยพร้อมที่จะประสานความร่วมมือดังกล่าว เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับของธนาคารและระดับโลก

]]>
1409532
กรุงศรีเดินหน้า Race to Net Zero เพิ่มสินเชื่อ ESG เป็น 15% ของพอร์ต https://positioningmag.com/1391464 Wed, 06 Jul 2022 10:13:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391464 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ได้ต่อยอดโครงการ Krungsri Zero Waste ด้วยแนวคิดและแนวปฏิบัติ Race to Net Zero รณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ ขณะเดียวกันธนาคารได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อโครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย

พูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ในปี 2565 ปฏิบัติการ Krungsri’s Race to Net Zero จึงได้ถือกำเนิดบนวิสัยทัศน์ดังกล่าวและได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการด้านความยั่งยืน คณะผู้บริหาร ตลอดจนความร่วมมือจากพนักงานกรุงศรี กรุ๊ป ทุกระดับ ในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของกรุงศรี ด้วยการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัลให้มากขึ้น ใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่าพร้อมๆ กับการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันพูนสิทธิ์ยังได้กล่าวว่า ทางธนาคารยังต่อยอดปฏิบัติการ Krungsri’s Race to Net Zero ด้วยการตั้งเป้าหมายลดขยะ RDF (Refuse-Derived Fuel) ให้เหลือศูนย์ภายในสิ้นปีนี้ และจะขยายแนวคิดนี้สู่วงกว้างด้วยการผนึกกำลังกับพันธมิตรองค์กรต่างๆ ในการรณรงค์ลดขยะ RDF ในปี 2566 โดยจะเริ่มจากองค์กรระดับประเทศที่ตั้งอยู่บนถนนเพลินจิต” ซึ่งปัจจุบันซึ่งขยะดังกล่าวไม่สามารถที่จะรีไซเคิลได้ และสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

ผู้บริหารของธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ รายนี้ยังได้กล่าวถึงประเด็นของ ESG ซึ่งธุรกิจหลายแห่งได้พยายามนำประเด็นนี้เข้ามาประกอบในการทำธุรกิจมากขึ้น เขายังได้ชี้ว่า “ESG ไม่ได้เป็นทางเลือก แต่เป็นทางรอดของธุรกิจ” และเขายังเสริมว่า “การนำเรื่อง ESG เข้ามายังเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคาร เช่น การจัดการเรื่องความเสี่ยงขององค์กรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะต้องคิดถึงในหลายมิติ เป็นต้น”

ขณะเดียวกันธนาคารกรุงศรีอยุธยายังได้ตั้งเป้าในปี 2030 จะขยายพอร์ตสินเชื่อ ESG เป็น 15% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด จากปัจจุบันขนาดของพอร์ตสินเชื่อธนาคารอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท และขนาดพอร์ตสินเชื่อ ESG อยู่ที่ 2%

]]>
1391464