ในงานวิจัย Seasonal Holidays Study ล่าสุดจาก Meta เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมการช้อปช่วงสิ้นปี ซึ่งได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 18,000 คนจาก 12 ตลาดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งรวมไปถึง 1,509 คนจากประเทศไทยในช่วงเดือนธันวาคมปี 2564 พบว่า
คนกลุ่ม Gen Z และ Millennials หันมาช้อปผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากขึ้น โดยเกือบ 80% ของกลุ่มตัวอย่างค้นพบและเลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย 69% ของจำนวนนี้เป็นคน Gen Z และ Millennials ซึ่งกว่า 87% ของนักช้อปโซเชียลมักค้นพบสินค้าใหม่ระหว่างเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ และ 66% เชื่อใจแบรนด์ที่พาร์ตเนอร์กับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาไว้วางใจ
นักช้อปชาวไทย 7 ใน 10 คน ระบุว่ามีแผนจะ ใช้เงินไปกับการซื้อสินค้ามากขึ้นหรือเท่าเดิมกับปีก่อนหน้า และเทศกาล Mega Sale Days ช่วยให้เกิดการค้นพบและเลือกซื้อสินค้าใหม่ ๆ ขณะที่
ผลสำรวจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกพบว่า เทศกาล 12.12 และ 11.11 เป็นเทศกาลลดราคาที่ ได้รับความนิยมที่สุด โดยมีนักช้อปช่วงสิ้นปีเลือกซื้อสินค้าในวันดังกล่าวกว่า 94% และ 90% ตามลำดับ ซึ่งต่างมีหมวดหมู่สินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ
ผลสำรวจชี้ว่า ประสบการณ์การช้อปเริ่มเน้นที่ความบันเทิงและสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในวัน Mega Sale Days โดย 87% ของนักช้อปโซเชียลเคยดูหรือเปิดรับต่อการดูอีเวนต์ไลฟ์ขายของออนไลน์ และพร้อมจะขยับจากการรับรู้สินค้าสู่การตัดสินใจซื้อในไลฟ์เดียว และกว่า 78% เชื่อว่าเครื่องมือ AR ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขา ขณะที่คอนเทนต์ที่นักช้อปได้รับมักมาจากการแนะนำผ่านเครือข่ายส่วนตัวหรือจากเพื่อน (69%) คอนเทนต์สปอนเซอร์ (63%) หรือคอนเทนต์วิดีโอ (53%)
สอดคล้องกับ ทิป-มัณฑิตา จินดา Founder & Managing Director ของ Digital Tips Academy ได้ให้คำแนะนำในงาน Out of Office ว่า การทำ Social Commerce เงินไม่ใช่คำตอบแต่เป็นการ ครีเอทคอนเทนต์ เพราะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการสร้างจุด แตกต่าง และสร้าง คอมมูนิตี้ ให้คนที่พูดคุยเรื่องเดียวกันมาเอ็นเกจเมนต์
“อย่าง น้ำพริกแคบหมูยายน้อย ดังได้เพราะการตลาด บูลลี่ตัวเอง ทำให้ชาวเน็ตชื่นชอบและซื้อของล้นหลาม ทั้งที่น้ำพริกแคบหมูหาซื้อได้ทั่วไป ดังนั้น ถ้าอยากจะขายดีขึ้น คอนเทนต์จะเป็นเรื่องแรก ๆ ที่ต้องครีเอท”
คุณค่าของแบรนด์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับนักช้อปไทย โดย 58% จะเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และ 44% เลือกแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสังคม ในขณะที่ 43% ให้ความสำคัญกับจริยธรรมและคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ Gen Z ให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น นอกจากสินค้าที่ดีแล้ว แบรนด์ทำอะไรให้สังคมบ้าง แต่ไม่ใช่ต้องทำทุกเรื่อง แต่ต้องทำในเรื่องที่เชื่อจริง ๆ ดังนั้น หากอยากมัดใจลูกค้า Gen Z ต้องมี Diversity (ความหลายหลาก), Equity (ความเสมอภาค) และ Inclusion (การยอมรับ)
สุดท้าย การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดย 74% ของนักช้อปชาวไทยเคยส่งข้อความหาธุรกิจร้านค้า โดยระบุว่าความสะดวก รวมถึงการพูดคุยและได้รับการตอบรับทันทีจากคนจริง ๆ เป็นสาเหตุหลักของการเลือกส่งข้อความคุยกับธุรกิจร้านค้า
ดังนั้น การทำประสบการณ์ลูกค้าให้ไร้รอยต่อ (seamless) และเฉพาะบุคคล (Personalization) ดาต้าเป็นเรื่องสำคัญ และควร คิดแบบลูกค้าคิด ให้ลองซื้อของแบรนด์ตัวเองและแบรนด์อื่น ๆ เพื่อให้รู้ถึงกระบวนการการสั่งซื้อว่าง่ายมากน้อยแค่ไหน เพราะตอนนี้ลูกค้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งเสมอ
]]>ชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการเติบโตธุรกิจ ประจำ เฟซบุ๊ก ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน Facebook มีผู้ใช้กว่า 2,600 ล้านคนต่อเดือน และผู้ใช้ Instagram กว่า 1,000 ล้านคนต่อเดือนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้ยังมีผู้ประกอบการกว่า 140 ล้านราย และจากจำนวนผู้ใช้ดังกล่าว Facebook จึงออกนโยบายในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ข้อมูลที่เชื่อถือได้ 2.สนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านอนามัย 3.ต่อต้านข้อมูลเท็จ 4.ให้การช่วยเหลือภาครัฐ ประชาชน และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ ‘ธุรกิจขนาดเล็ก’ ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ซึ่ง Facebook ได้ออกแคมเปญ #SupportSmallBusiness เพื่อช่วยเหล่าเหล่า SME
“กว่า 78% ของ SME บน Facebook ของไทยใช้แพลตฟอร์มเพื่อการแสดงสินค้าและบริการแก่ลูกค้า ราว 9 ใน 10 ระบุว่าโซเชียลมีเดียมีความจำเป็นต่อธุรกิจ และ 94% ระบุว่าการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงโซเชียลมีเดีย มีความสำคัญต่อธุรกิจของพวกเขา”
ในส่วนของขั้นตอนช่วยเหลือได้แบ่งเป็น 2 ส่วน 1.เพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ อาทิ ออกแฮชแท็ก #ร้านดีบอกต่อ เพื่อให้แนะนำร้าน SME ที่ชื่นชอบ และเปิดตัวสติกเกอร์ ‘ร้านดีบอกต่อ’ บน Instagram เมื่อมีใครใช้สติกเกอร์ เนื้อหาดังกล่าวจะถูกนำไปรวมอยู่ใน Instagram Stories ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งาน Stories มากกว่า 500 ล้านคนต่อวัน และ 90% ของผู้ใช้ทั่วโลกติดตามธุรกิจบนแพลตฟอร์ม อีกทั้ง Instagram ยังเป็นพาร์ตเนอร์กับ Grab และ Food Panda เพื่อให้สั่งผ่าน Instagram ได้อีกด้วย
ในส่วนที่ 2.เป็นการช่วยย้ายธุรกิจมาขึ้นออนไลน์ โดยออกคู่มือเคล็ดลับการใช้งานให้กับผู้ประกอบการ อาทิ วิธีใช้ Facebook Live และ Messenger เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมี 3 เทรนด์ที่มาแรง คือ 1.ไลฟ์ช้อปปิ้ง หรือการไลฟ์ขายสินค้า 2.การขายสินค้าผ่านกรุ๊ป ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 6 ล้านกรุ๊ปในไทย และมีผู้ใช้กว่า 45 ล้านคนกระจายอยู่ในกรุ๊ป และ 3.การขายสินค้าผ่าน Messenger หรือ Conversation Commerce
นอกจากฟีเจอร์ใหม่ ๆ และมาตรการสนับสนุนแล้ว Facebook ยังได้เตรียมบริจาคเงินจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้เป็นเงินทุนแก่ SME จำนวน 30,000 ธุรกิจใน 30 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประกาศถึงเงื่อนไขในการรับเงินสนับสนุนในส่วนนี้
“ด้วยวิกฤติที่ผ่านมา มีหลายอุตสาหกรรมหันมาใช้ไลฟ์เพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้า และมีกลุ่มใหม่ ๆ ที่เกิดมากมาย อาทิ จุฬามาร์เก็ตเพลส และสุดท้ายคนไทยมีนิสัยชอบแชร์อยู่แล้ว เราจึงทำแฮชแท็กและสติกเกอร์ร้านดีบอกต่อออกมา”
ปาณพล จันทรสุกรี ผู้ก่อตั้งและแอดมินกลุ่มจุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส กล่าวว่า จุดเปลี่ยนที่เริ่มก่อตั้งกลุ่ม จุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส มาจากการที่เริ่มเห็นยอดขายขนมที่วางขายในกลุ่มเบียดยอดขายของเพจ ซึ่งทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกรุ๊ปบน Facebook ซึ่งมองว่าเสน่ห์ของกรุ๊ปคือ การมี ‘จุดร่วม’ และเป็น ‘ส่วนตัวกว่า’ ซึ่งเหมาะที่จะทำให้เกิด Business Matching อีกทั้งยังใช้เป็นพื้นที่แจ้งโปรโมชันได้อย่างดี
“ต่อให้คนจะออกไปช้อปข้างนอกได้มากขึ้น เพราะเราเริ่มคลายล็อกดาวน์ แต่เชื่อว่ากลุ่มจุฬาฯ มาร์เก็ตเพลสจะยังอยู่ และสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพราะในอนาคนอาจต่อยอดเกิดเป็นงานอีเวนต์ได้”