Food Safety – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 06 Dec 2022 03:48:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 GPSC – ธ.ก.ส. ศึกษาพื้นที่เกษตร ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ-ลม ประยุกต์ใช้พลังงานสะอาด พลิกโฉมเกษตรสู่ Smart Farming https://positioningmag.com/1411018 Fri, 09 Dec 2022 04:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411018

GPSC – ธ.ก.ส. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ทั้งแสงอาทิตย์ และลม ควบคู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมพลังงาน พลิกโฉมภาคการเกษตรของไทยให้ก้าวสู่เกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร และต่อยอดการขอฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียวจาก ธ.ก.ส. ในอนาคต เพื่อร่วมขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 โดย  ธ.ก.ส. พร้อมเติมทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) วงเงินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะร่วมกันศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อหาพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ที่สามารถนำมาพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ โดยที่เกษตรกรยังคงสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมคู่ขนานกันไปในพื้นที่ดังกล่าวได้ พร้อมกับหาแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดในส่วนของไฟฟ้ามาใช้ในภาคเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าพืชผลทางการเกษตรให้สูงขึ้น ซึ่งจะตอบโจทย์การเกษตรอย่างยั่งยืน

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มีนโยบายสนับสนุนเกษตรกรในการพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ซึ่งความร่วมมือกับ GPSC จะช่วยเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้รับองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ และลมที่เป็นพลังงานสะอาด  และมีอยู่ตลอดทั้งปีในประเทศไทย รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเสริมศักยภาพการผลิต เพื่อลดต้นทุนและสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่ง ธ.ก.ส. พร้อมที่จะเชื่อมโยงในการนำความรู้ต่างๆ ของ GPSC ไปยังเกษตรกรเพื่อปรับใช้ในกระบวนการผลิต การแปรรูปเพิ่มมูลค่า ทั้งในส่วนของการผลิตที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้กับเกษตรกรในการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด ในการทำเกษตรอินทรีย์และผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว  (Green Credit)  วงเงินรวม  20,000  ล้านบาท ในส่วนของการขับเคลื่อนการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนร่วมปลูกป่าในพื้นที่ของตนเองและชุมชนผ่านโครงการธนาคารต้นไม้ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) และกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ในชุมชน ปัจจุบันมีธนาคารต้นไม้เข้าร่วมโครงการ 6,838 ชุมชน มีต้นไม้ขึ้นทะเบียนในโครงการ 12.4 ล้านต้น มีสมาชิก 123,845 ราย และมีชุมชนที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวน 62 ชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศในการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ความยั่งยืน

สำหรับแนวทางการดำเนินงานของทั้งสององค์กร จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน โดยคัดเลือกพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพในทุกพื้นที่ ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในส่วนของ GPSC จะนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไปวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เหมาะสม เข้าไปสนับสนุนภาคการเกษตร ทั้งการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม แสงอาทิตย์ และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการบริหารจัดการพลังงาน เข้าไปควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบการใช้งานของภาคการเกษตร ซึ่งจะทำให้การพัฒนาภาคการเกษตรของไทยเป็นเกษตรยุคใหม่ที่มีความยั่งยืน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางพลังงานโลกและแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ที่แสวงหาแนวทางการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วนมากขึ้น

GPSC และ ธ.ก.ส. มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการใช้พลังงานสะอาดในการทำการเกษตรกรรมร่วมด้วย อีกทั้งเกษตรกรยังอาจสามารถต่อยอดเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียว (Green Farming Certificate) ในอนาคต ซึ่งเป็นการการันตีผลผลิตที่ได้จากการเกษตรที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ถือเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งของพัฒนาอาชีพเกษตรกรยุคใหม่ และยังเป็นต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้พลังงานสะอาด ในการยกระดับมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรของไทยที่สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (การพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) เพื่อความยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


#GPSC #GPSCgroup #SmartEnergyForEvolvingLife #SmartFarming #BAAC #GreenCredit

]]>
1411018
บทบาท “ซีพีแรม” กับความมั่นคงทางอาหารของไทย ไม่ใช่แค่ผู้ใช้วัตถุดิบ แต่รักษาสมดุล ทั้งซัพพลายเชน https://positioningmag.com/1288961 Tue, 04 Aug 2020 10:00:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288961

“ซีพีแรม” บริษัทผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปในเครือซีพี โดยผลิตภัณฑ์ที่เราคุ้นเคยกันดีมักจะได้เห็นการจัดจำหน่ายผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เช่น ข้าวกล่อง ข้าวปั้นโอนิกิริ เบเกอรี่เลอแปง ซาลาเปา ขนมจีบ เบื้องหลังอาหารเหล่านี้มีซีพีแรมเป็นฐานผลิต สามารถสร้างยอดขายต่อปี ในปริมาณเพียงพอสำหรับเลี้ยงประชากร 5.4 แสนคนรับประทานได้ครบ 3 มื้อตลอด 365 วัน

ปริมาณการผลิตอาหารปีละ 140 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูลปี 2562) ออกสู่ตลาดภายใต้แบรนด์ต่างๆ ข้างต้นของ “ซีพีแรม” ไม่ใช่แค่ปริมาณที่มากเท่านั้น แต่ตลอดทั้งซัพพลายเชนยังมีองค์ประกอบหลายชนิดด้วย ถ้าเรามองดูสินค้าแต่ละชิ้นของซีพีแรม เราจะเห็นทั้งวัตถุดิบต้นน้ำอย่างเนื้อหมู เนื้อไก่ ผัก ข้าว และสิ่งที่เราอาจจะนึกไม่ถึงอย่างวัตถุดิบกลางน้ำ เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา จนถึงวัตถุดิบปลายน้ำอย่างแพ็กเกจจิ้งและระบบขนส่งสู่ร้านค้า

เมื่อบริษัทต้องใช้วัตถุดิบมากทั้งในแง่ปริมาณและชนิดสินค้า ซีพีแรมในฐานะผู้ใช้วัตถุดิบรายใหญ่จึงออกนโยบายที่ให้ความสำคัญกับ “ความมั่นคงทางอาหาร” (Food Security) ของประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัตถุดิบอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทานจะสามารถผลิตได้อย่างเพียงพอและยั่งยืนสำหรับคนไทย รวมถึงมีความปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ มีคุณค่าทางโภชนาการ

รากฐานการรักษาความมั่นคงทางอาหารของซีพีแรมเป็นอย่างไร นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ได้นิยามการขับเคลื่อนธุรกิจของซีพีแรมในปัจจุบันคือ การทำธุรกิจที่มีความดีคู่กับความเก่งเป็นเนื้อเดียวกัน อันจะนำไปสู่การรักษาความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ เพราะต้องการรักษาความยั่งยืนให้กับซัพพลายเชน ดูแลไปถึงต้นทางของการผลิตวัตถุดิบด้วย มิใช่เป็นผู้ใช้วัตถุดิบเท่านั้น ซึ่งจะทำให้คนไทยมีอาหารเพียงพอในระยะยาว

“ที่ปรึกษาของเราในซีพี ออลล์คือ อาจารย์ประสิทธิ์ ตันสุวรรณ ท่านกล่าวถึงโมเดลของเนื้อโกเบ คือเวลาเราทานเนื้อแดงเฉยๆ ก็ไม่อร่อย ทานไขมันเฉยๆ ก็ไม่อร่อย แต่เนื้อโกเบที่สอดแทรกไขมันในเนื้อแดงนั้นอร่อยมาก เนื้อโกเบยังมีหลายเกรด ที่เป็นระดับพรีเมียมจริงๆ จะมีไขมันแทรกในเนื้อแดงแบบเป็นเนื้อเดียวกัน แทบจะแยกไม่ออก ดังนั้นความดีคู่ความเก่งของเราต้องทำทุกลมหายใจให้เป็นเนื้อเดียวกัน” วิเศษกล่าว

ความมั่นคงทางอาหาร หนึ่งในเสาหลัก FOOD 3S ของซีพีแรม

นิยาม “ความดี” คู่กับ “ความเก่ง” ของซีพีแรมถูกถอดออกมาเป็นนโยบายสำหรับปฏิบัติ คือ FOOD 3S ได้แก่ Food Safety (ความปลอดภัยทางอาหาร) หมายถึงการผลิตอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ เหมือนกับเป็น “อาหารฝีมือแม่”, Food Security (ความมั่นคงทางอาหาร) ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือการดูแลแหล่งผลิตอาหารให้มีเพียงพอ และสุดท้าย Food Sustainability (ความยั่งยืนทางอาหาร) เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ใช้ในการผลิตอาหาร เช่น ทรัพยากรดิน น้ำ และอากาศ

จะเห็นได้ว่า เรื่อง Food Security (ความมั่นคงทางอาหาร) เป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของนโยบายซีพีแรม และเป็นประเด็นที่มีความท้าทายสูง เพราะถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเกษตรและปศุสัตว์ได้ดีกว่าอีกหลายประเทศในโลก แต่ใช่ว่าทรัพยากรเหล่านี้จะไม่หมดไปหากไม่ดูแลรักษา หรือไม่มีความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

วิเศษยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า เฉพาะซีพีแรมเองมีการใช้เนื้อหมู 9 ล้านกิโลกรัมต่อปี ใช้เนื้อไก่สด 4 ล้านกิโลกรัมต่อปี ใช้ข้าวสาร (รวมทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่) 20 ล้านกิโลกรัมต่อปี ใช้ผักสด 9.5 ล้านกิโลกรัมต่อปี ใช้ไข่ไก่ 220 ล้านฟองต่อปี ด้วยปริมาณมากเช่นนี้ทำให้ซีพีแรม มีความร่วมมือกับทั้งห่วงโซ่อุปทานการผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบอาหารจะยังมีความมั่นคงเพียงพอต่อการผลิตให้กับคนทั้งประเทศ

ยกตัวอย่างโครงการหนึ่งที่ซีพีแรมดาเนินมาต่อเนื่องหลายปีคือ โครงการปูม้ายั่งยืน คู่ทะเลไทย เป็นโครงการร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำลูกปูม้า (young crab) ที่ศูนย์วิจัยฯ เพาะพันธุ์กลับคืนสู่ทะเลไทย เพื่อให้ลูกปูเหล่านี้เจริญเติบโตเป็นแหล่งอาหารต่อไป เพราะถ้าหากไม่มีการเพาะพันธุ์และนำปูกลับคืนทะเล อาจทำให้ปูม้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีวิธีเพาะเลี้ยงปูม้าตั้งแต่เกิดจนโตเต็มวัยได้ ต้องทำการประมงจากทะเลเท่านั้น

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญกับความมั่นคงทางอาหารเช่นกันคือผู้บริโภคปลายทาง เมื่อต้นทางการผลิต มีการสนับสนุนให้ผลิตได้เพียงพอแล้ว ฝั่งผู้บริโภคเองซีพีแรมก็มีโครงการช่วยรณรงค์ให้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรแต่พอดีด้วย เช่น การจัดกิจกรรม “คนรุ่นใหม่ ไร้ Food Waste” ให้นักเรียนนักศึกษา ส่งประกวดคลิปวิดีโอที่สื่อสารถึงเรื่องความสูญเปล่าทางอาหาร (Food Waste) สร้างจิตสำนึก ให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความสูญเปล่าของอาหาร

เพิ่มสินค้าตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์คนไทย

วิเศษกล่าวต่อว่า การสร้างความปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืนทางอาหาร (FOOD 3S) คือ รากฐานที่แข็งแรงสู่การขยายกำลังผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตามเป้าหมายเพิ่มยอดขายปีละ 10% อย่างต่อเนื่อง

ในอนาคต ซีพีแรมจะขยายไปสู่การส่งสินค้าอาหารกึ่งปรุงสำเร็จให้กับร้านอาหารหรือภัตตาคาร ไปจนถึงอาหารเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารเด็ก อาหารสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวซึ่งต้องการดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษอย่างเช่น เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง

โดยซีพีแรมมีการลงทุนปีละ 1% ของยอดขาย (ประมาณ 150-200 ล้านบาท) สำหรับงานวิจัยและพัฒนาอาหารแบบใหม่ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้อาหารของซีพีแรมไปสู่คนไทยได้อย่างหลากหลายกว่าที่เคย

“ทั้งนี้ ไม่ว่าสิ่งที่จะทำหรือเป้าหมายของเรา เป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำเพียงลำพัง เงินจำนวน 1% จะใช้กับการวิจัยเพื่อหาเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่เฉพาะซีพีแรม แต่รวมถึงเทคโนโลยีสำหรับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของซีพีแรมในห่วงโซ่อุปทานของเราทั้งหมด” วิเศษกล่าวปิดท้าย

]]>
1288961