For All Well-Being – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 18 Nov 2022 13:51:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก RISC by MQDC ศูนย์วิจัยฯ เพื่อ “ความเป็นอยู่ที่ดี” ของทุกชีวิต ลงลึกงานวิจัย 5 ด้าน “เปลี่ยนโลก” สู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1408286 Thu, 17 Nov 2022 10:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408286

โลกของเรายังต้องการงานวิจัยและนวัตกรรมอีกมากเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและ “ความเป็นอยู่ที่ดี” ให้กับทุกชีวิตอย่างยั่งยืน RISC by MQDC จึงได้รับการก่อตั้งขึ้นมากว่า 10 ปี เพื่อรวบรวมนักวิจัยและนวัตกรเข้ามาสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ โดยมีการทำงานวิจัยลงลึกไปใน 5 ด้าน (RISC’s 5 Hubs Research) ที่จะช่วย “เปลี่ยนโลก” ไปสู่ความยั่งยืนทั้งในวันนี้และสู่อนาคต

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) บอกว่า  ศูนย์วิจัยแห่งนี้เน้นการค้นคว้า ทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านคุณภาพชีวิตแห่งแรกในเอเชีย เพื่อสร้าง “ความเป็นอยู่ที่ดี” หรือ For All Well-being ให้กับทุกชีวิตบนโลก โดยงานวิจัยที่ดำเนินการอยู่สอดคล้องกับเป้าหมายสากลและนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals)

การจะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสรรพสิ่งบนโลกได้ย่อมมีหลายมิติที่ต้องคำนึงถึง จากปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าปัญหาความไม่สมดุลบนโลกมีหลากหลาย เช่น การขาดแคลนทรัพยากรโลก สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม มลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น คุณภาพน้ำแย่ลง สภาพภูมิอากาศแปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของเจเนอเรชั่นและสังคม รวมไปถึงความสุขจากภายในก็เป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิตที่ดีเช่นกัน

RISC by MQDC จึงมีการทำงานวิจัยลงลึกเป็น 5 ด้าน (RISC’s 5 Hubs Research) ซึ่งครอบคลุมทุกแกนของความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทุกชีวิต และเป็นการบูรณาการหลายศาสตร์เข้ามาสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ โดยงานวิจัยเหล่านี้ได้นำไปประยุกต์ใช้จริงในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตลอดกระบวนการ ทั้งในระดับอาคาร ระดับชุมชน และระดับเมือง นอกจากนั้นยังนำองค์ความรู้นี้ต่อยอด เพื่อประโยชน์ของสังคมในด้านต่างๆ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดย RISC’s 5 Hubs Research ที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนต่อคุณภาพชีวิตของเรา ได้แก่

1.การสร้างสมดุล – เกื้อกูลหลายชีวิต (Plants & Biodiversity หรือ งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ)

“ศึกษาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริม เกื้อกูลกัน หาวิธีส่งเสริมศักยภาพของพืชพันธุ์ในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย”

การศึกษาและวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองสร้างสมดุลระบบนิเวศ โดยหาแนวทางกระบวนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กับการรักษาและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถพัฒนาเมืองไปพร้อมกับการรักษาระบบนิเวศอย่างเข้าใจและถูกต้องตามวัฏจักรชีวิตของทุกสิ่งมีชีวิต ศึกษาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริม เกื้อกูลกัน หาวิธีส่งเสริมศักยภาพของพืชพันธุ์ในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

2. เพิ่มคุณภาพอากาศ (Air Qualityหรือ งานวิจัยด้านคุณภาพอากาศ)

“ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อผู้อยู่อาศัยในอาคารโดยตรงและส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้น”

เริ่มจากกระบวนการก่อสร้างที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศ และกระบวนการออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดี การเลือกวัสดุที่ปลอดสารพิษ ระบบเครื่องกลที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร และจากสภาพอากาศปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ที่เพิ่มปริมาณขึ้นทุกปี ส่งผลต่อสุขภาพ ภาวะเศรษฐกิจ สังคมในด้านต่างๆ จึงต้องหาวิธีช่วยลดปัญหาทางด้านอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยใช้นวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น

3. สร้างความสุขให้เราทุกคน (Happiness Science หรือ งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แห่งความสุข)

“ศึกษาการสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยา และวิจัยประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญาณสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีและความสุขได้” 

ศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของคนทุกช่วงวัย ด้วยการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ผลกระทบของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ความเครียดและความกังวลของวัยผู้ใหญ่ ความเสื่อมถอยด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ เพื่อหาปัจจัยที่เสริมสร้างความสุขในแต่ละช่วงวัย  นำความรู้มาประยุกต์การออกแบบให้สอดคล้องและเอื้อต่อการใช้ชีวิต ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

รวมทั้งศึกษาด้านระบบประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านการวิจัยจากสัญญานสมองด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจการรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ เพื่อคัดแต่สภาพแวดล้อมที่สร้างการรับรู้เชิงบวก (Positive Perception) และหาแนวทางในการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล สมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

4. ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและยั่งยืน (Materials & Resources หรือ งานวิจัยด้านวัสดุและการใช้ทรัพยากร)

“ศึกษาวิจัยวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร การใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลกในรูปแบบต่างๆ รวมถึงมุ่งมั่นหาแนวทางการลดคาร์บอนของโลกด้วยเทคโนโลยีอนาคต”

พัฒนาวัสดุใหม่ (Innovation materials) เพื่อสร้างคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being materials) ทั้งการเพิ่มความคงทนของวัสดุ วัสดุที่ช่วยลดแนวโน้มอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัย วัสดุปลอดสารพิษลดแนวโน้มความเจ็บป่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี  วัตถุดิบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงปรับกระบวนการก่อสร้างลดการเหลือเศษวัสดุ และพัฒนาวัสดุก่อสร้างจากขยะพลาสติก เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุที่คาร์บอนต่ำ หรือการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อช่วยลดภาวะโลกรวน

5. พร้อมรับมือโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง (Resilience หรือ งานวิจัยศาสตร์ความพร้อมรับมือ)

 “ศึกษาแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโลก ตลอดจนคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น จนนำไปสู่แนวทางการพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ในอนาคต ตั้งรับและลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น”

โลกเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งปัญหามลภาวะทางอากาศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน สังคม ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวน (Climate change) ศึกษาและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และวางแผนการสร้างอาคารและเมือง เพื่อสามารถตั้งรับได้ในทุกสถานการณ์ ทั้งการเตรียมตัวก่อนเกิดเหตุการณ์ การจัดการขณะเกิดเหตุ และการฟื้นฟูภายหลัง  เพื่อสร้างการ “อยู่รอด (Survive) ปรับตัว (Adapt) และเติบโต (Grow)”

ในอนาคต RISC by MQDC  มีแผนขยายขอบเขตงานวิจัยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) มากถึง 13 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย ในการร่วมเป็นพลเมืองโลกที่ร่วมเปลี่ยนโลกไปด้วยกัน ด้วยการนำงานวิจัยสร้างประโยชน์ ต่อยอดสู่ชุมชน สังคม และเมือง เกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน สร้างประโยชน์ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อทุกชีวิตอย่างยั่งยืน

ผู้ที่สนใจองค์ความรู้งานวิจัย 5 ด้าน สามารถดูย้อนหลังได้จาก RISC Talk 2022 ทั้ง RISC 5

Research Hubs ได้ที่ https://bit.ly/3SSXbjo

]]>
1408286
‘MQDC’ ย้ำมาตรฐานระดับเวิล์ดคลาส คว้ารางวัล ‘LEED Gold’ ในโครงการ “เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ” https://positioningmag.com/1364937 Thu, 02 Dec 2021 10:00:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364937

สำหรับ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) คือเกณฑ์มาตรฐานรับรองอาคารเขียว ที่ให้ความสำคัญครอบคลุมการออกแบบอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม การก่อสร้าง การดำเนินการ และการบริหารงาน ที่มุ่งสู่การดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นโปรแกรมชั้นนำระดับนานาชาติสำหรับการออกแบบและก่อสร้างอาคารอย่างยั่งยืน การได้รับการรับรองจาก LEED เปรียบเสมือนได้รับการรับรองว่ามีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง

เพราะการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัยในทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้อยู่อาศัยให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งการอนุรักษ์พลังงาน การบริหารจัดการน้ำ และการจัดการขยะ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย

ดังนั้น บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) จึงให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ในทุกโครงการ รวมถึงโครงการ เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในโครงการมาสเตอร์พีซของ MQDC และของประเทศไทยในประเภทที่อยู่อาศัย

และอย่างที่เกริ่นไว้ในตอนแรกว่า รางวัล ‘LEED’ ถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานรับรองอาคารเขียว เป็นรางวัลที่ได้ยอมรับในระดับโลกจากสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council : USGBC) และสำหรับในประเทศไทย MQDC เป็นอีกหนึ่งผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ที่สามารถคว้ารางวัลดังกล่าว

โดย MQDC คว้ารางวัล LEED Gold” (Leadership in Energy and Environmental Design) ประจำปี 2021 ในการพัฒนาโครงการ “เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ” ด้วยคะแนนสูงที่สุดในประเภทที่อยู่อาศัย และได้รับ LEED Certification ในระดับ Gold

สำหรับเดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เป็นโครงการที่อยู่อาศัยมาตรฐานสากลระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ของเมืองไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย MQDC ทำงานร่วมกับ Atelier Ten บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยมีความมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุด สร้างมาตรฐานที่อยู่อาศัยระดับโลก ภายใต้หลักการ For All Well-Being’ ส่งเสริมสุขภาพของผู้อยู่อาศัยและสร้างการใช้ชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ดังนั้น เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ จึงไม่ใช่แค่มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม แต่ยังตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดี ดูแลสิ่งแวดล้อม และมุ่งเน้นความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ผู้อยู่อาศัยทุกห้องสามารถดื่มด่ำกับความงดงามโดยรอบ มีการนำระบบหมุนเวียนและฟอกอากาศให้บริสุทธิ์กลับเข้าไปในอาคาร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยทั้งในด้านไลฟ์สไตล์และสุขอนามัย

อีกทั้ง ยังถูกออกแบบให้รองรับการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี (Resilient Design) อย่างเช่น ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือเหตุการณ์ทางสังคมอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีการ บริหารจัดการน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำนวัตกรรมที่ลดการใช้น้ำ ทั้งยังไม่มีการปล่อยน้ำเสียจากโครงการไปสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ (Zero Waste Water) ยิ่งไปกว่านั้นหากเกิดกรณีน้ำท่วม สามารถที่จะดึงน้ำมากักเก็บก่อนที่จะปล่อยกลับสู่แม่น้ำ

นอกจากนี้ เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ยังเพียบพร้อมด้วยมาตรฐานบริการระดับสูงภายใต้แบรนด์ “แมนดาริน โอเรียนเต็ล” แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแห่งที่ 7 ของโลก ในมาตรฐานที่เทียบเท่าโครงการที่พักอาศัยที่ดีที่สุดในนิวยอร์ก ลอนดอน โตเกียว หรือ เซี่ยงไฮ้

“เราภูมิใจกับรางวัล LEED Gold อย่างมาก เพราะตอกย้ำความสำเร็จและความมุ่งมั่นของ MQDC ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ตามปรัชญาของเราคือ “For All Well-being” รางวัลที่ได้รับยิ่งจะทำให้ MQDC มุ่งมั่นพัฒนามากขึ้น เพื่อสร้างมาตรฐานของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก” นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าว

สำหรับเกณฑ์มาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) คือเกณฑ์มาตรฐานรับรองอาคารเขียว ที่ให้ความสำคัญครอบคลุมการออกแบบอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม การก่อสร้าง การดำเนินการ และการบริหารงาน ที่มุ่งสู่การดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยประเมินมาตรฐานโครงการ ครอบคลุมด้านต่าง ๆ 7 ด้าน ประกอบด้วย:

  • พื้นที่พัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Sites)
  • การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Water Efficiency)
  • การดูแลจัดการพลังงานและบรรยากาศ (Energy & Atmosphere)
  • การเลือกใช้วัสดุและทรัพยากร (Material & Resources)
  • คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environment Quality)
  • นวัตกรรมการออกแบบ (Innovation in Design)
  • การให้ความสำคัญกับปัจจัยท้องถิ่น (Regional Priority)

โดย เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ได้คะแนนเต็มในส่วนของนวัตกรรมการออกแบบ (Innovation in Design) และในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Sites) ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาพื้นที่ใช้สอยร่วมกับชุมชน การควบคุมความร้อนของอาคาร การรองรับปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน รวมถึงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งได้อย่างดีเยี่ยม เปรียบเทียบแล้วเราได้คะแนนสูงเกือบ 90% และได้คะแนนพิเศษจาก LEED เพิ่มเติมด้วย

“ตั้งแต่วันแรกของพัฒนาโครงการ ทาง Atelier Ten และ MQDC มุ่งมั่นและทุ่มเทอย่างมาก ทั้งในด้านของคุณภาพโครงการ การอยู่อาศัย และการดูแลสิ่งแวดล้อม เราจึงเก็บทุกรายละเอียด เราจึงมั่นใจว่า เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล” จะเป็นแนวทางมาตรฐานใหม่ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ความยั่งยืน” ดร. นรี ภิญญาวัฒน์ Director ของ Atelier Ten ประจำกรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา ควบคุมการออกแบบและพัฒนาโครงการให้กับ MQDC กล่าว

ทั้งนี้ MQDC ดำเนินธุรกิจการพัฒนา ลงทุน และจัดการอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย บ้าน คอนโดมิเนียม โครงการคอมมูนิตี้ ดิสทริค และ ธีมโปรเจกต์ รวมถึงธุรกิจค้าปลีกและโรงแรม ภายใต้แบรนด์ “แมกโนเลีย” (Magnolias) “วิสซ์ดอม” (Whizdom) ดิ แอสเพน ทรี (The Aspen Tree) มัลเบอร์รี่ โกรฟ (Mulberry Grove) และเดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Forestias) พร้อมยึดมั่นการดำเนินธุรกิจภายใต้คำมั่นสัญญา ‘For All Well-Being’ เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้อยู่อาศัยและสร้างการใช้ชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

]]>
1364937
เปิด 4 เทรนด์อนาคตแห่ง “การอยู่อาศัย” จากงานวิจัยถ่ายทอดแนวคิดสู่โครงการอสังหาฯ ของ MQDC ภายใต้แนวทาง ‘For All Well-Being’ https://positioningmag.com/1288003 Thu, 16 Jul 2020 10:00:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288003

FutureTales Lab และ RISC สองศูนย์วิจัยในเครือ MQDC วิจัยพบ 4 เทรนด์การอยู่อาศัยที่สำคัญและส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ความต้องการพื้นที่มากกว่าความสะดวก, เศรษฐกิจติดบ้าน, ประชากรเพื่อโลกอนาคต และ แนวคิดผู้สูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัย สู่การออกแบบที่ตอบโจทย์ในทุกโครงการที่อยู่อาศัยของ MQDC พร้อมเปิดอาณาจักร “เดอะ ฟอเรสเทียส์” (THE FORESTIAS) โครงการบนถนนบางนา กม.7สร้างขึ้นเพื่อความยั่งยืน

“วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า บริษัทได้จัดตั้งศูนย์วิจัยขึ้นมา 2 แห่ง เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความต้องการ และการตัดสินใจเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในระยะยาวของผู้บริโภค สำหรับนำไปเป็นฐานคิดก่อนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตามแนวทาง ‘For All Well-Being’ สร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสรรพสิ่งบนโลกอย่างยั่งยืน

โดยศูนย์วิจัย 2 แห่งดังกล่าว ได้แก่ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab) ทำการวิจัยเกี่ยวกับเทรนด์อนาคตเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และนำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นประโยชน์เผยแพร่สู่สาธารณะ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center – RISC) ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับลูกค้า ตามคอนเซ็ปต์ For All Well-Being เช่น วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม

4 เทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคต

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) เปิดเผยถึงผลวิจัยของ FutureTales Lab พบว่า แนวความคิดของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อบ้านในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

1) Prioritizing Space Over Convenience คนเราจะใส่ใจกับพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น มากกว่าความสะดวกในการเดินทาง เพราะสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะส่งผลต่อการทำงานในอนาคต คนเราสามารถทำงานที่บ้านได้ ดังนั้น การตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยจึงไม่จำเป็นต้องอยู่กลางใจเมือง อาจจะเปลี่ยนจากการเลือกคอนโดมิเนียมขนาดเล็กใกล้รถไฟฟ้า มาเป็นบ้านนอกเมืองที่มีพื้นที่มากขึ้น มีสวนหย่อม ไปจนถึงการเลือกเปลี่ยนบ้านพักตากอากาศมาเป็นที่อยู่อาศัยประจำ

2) Everything at Home หรือ เศรษฐกิจติดบ้าน จากปัจจัยเดียวกันคือ ‘โรคระบาด’ ทำให้ผู้คนเคยชินกับการ Work From Home และทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้าน ความเคยชินนี้ส่งผลในทางเดียวกับข้อแรกคือคนต้องการพื้นที่ในบ้านสูงขึ้น แม้แต่คอนโดฯ ก็อาจจะเน้นให้มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีพื้นที่ส่วนกลางเพียงพอ สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้เหมาะสม เช่น ทำอาหาร ออกกำลังกาย

3) Citizen of The Future ประชากรกลุ่มเจนเนอเรชัน Z (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1997-2012) จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลกับวิถีของโลก ลักษณะสำคัญของประชากรกลุ่มนี้คือ ใช้ชีวิตกับเทคโนโลยีตลอดเวลา และให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ต้องการช่วยปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น คนกลุ่มเจนฯ Z จะนิยมผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ดีขึ้น

4) Age-In-Place ผู้สูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากมีประชากรเจนฯ ใหม่แล้ว ประชากรผู้สูงวัยก็จะมีอายุยืนยาวขึ้น และวัตถุประสงค์การใช้ชีวิตของผู้สูงวัยคือต้องการการดูแลทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพอารมณ์ ดังนั้นต้องมีการช่วยเหลือดูแลที่เหมาะสมตามวัย และได้อยู่ร่วมกับครอบครัว เพื่อน และชุมชนที่จะเป็นรากฐานทำให้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

จากเทรนด์การอยู่อาศัยเหล่านี้ เชื่อมโยงมาสู่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ นำโดย “รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต” หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ยกตัวอย่างเทรนด์การดูแลสิ่งแวดล้อมของโลกนั้น RISC ได้พัฒนาการออกแบบโครงการเพื่อให้ใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าที่สุด เป็นที่มาของ MQDC Standard การออกแบบที่ช่วยป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ในระยะยาว โดยหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุบางอย่างอย่างเด็ดขาดเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบก่อสร้างตามหลัก Sustainovation

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือการดูแลเรื่องคุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพมนุษย์ ทำให้ทุกโครงการของ MQDC ตั้งแต่ปี 2561 จะมีการติดตั้งเครื่อง ERV หรือ Energy Recovery Ventilation ช่วยถ่ายเทหมุนเวียนอากาศดีเข้ามาในที่อยู่อาศัยและเพิ่มปริมาณออกซิเจน ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ก็สามารถติดตั้งแผ่นกรอง PM 2.5 เพิ่มเข้าไปได้

นำไปใช้ในทุกโครงการของ MQDC

วิสิษฐ์กล่าวต่อว่า จากการค้นคว้าของศูนย์วิจัยในเครือ MQDC ทำให้บริษัทสามารถนำแนวคิดเหล่านี้ไปพัฒนาโครงการเมกะโปรเจ็กต์ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” (THE FORESTIAS) โดยโครงการนี้เป็นโครงการที่มีป่าธรรมชาติ 30 ไร่อยู่ภายใน พร้อมพื้นที่สีเขียวปกคลุมมากกว่า 70% ของโครงการ ช่วยลดความเครียดและสร้างสุขภาวะที่ดี

เดอะ ฟอเรสเทียส์ยังมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม ทั้งคอนโดฯ วิสซ์ดอม (Whizdom) สำหรับคนวัยทำงาน บ้านเดี่ยวแบบคลัสเตอร์ มัลเบอร์รี่ โกรฟ (Mulberry Grove) และคอนโดฯ ดิ แอสเพน ทรี (The Aspen Tree) ที่รองรับผู้สูงวัยได้ตลอดชีวิต

โปรเจ็กต์นี้ไม่ได้มีเพียงแต่ MQDC เท่านั้น บริษัทยังร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกอีกหลายรายในการพัฒนาเดอะ ฟอเรสเทียส์ ได้แก่ ซิกส์เซนส์ (Six Senses) แบรนด์ผู้เชี่ยวชาญที่พักระยะสั้นและระยะยาว F & P (Thailand) เป็นที่ปรึกษาและร่วมออกแบบโครงการ ITEC Entertainment ผู้ออกแบบไลฟ์สไตล์ด้านสันทนาการและประสบการณ์เพื่อผู้อยู่อาศัย Atelier Ten ร่วมวางแผนการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน รวมถึง Huawei ซึ่งจะช่วยสร้างแพลตฟอร์มสมาร์ท ซิตี้ให้เกิดขึ้นบนโครงการนี้

ปัจจุบัน MQDC มีการพัฒนาโครงการไปแล้ว 24 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 3 แสนล้านบาท มีโครงการที่สร้างเสร็จและโอนกรรมสิทธิ์แล้ว เช่น แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ ณ ไอคอนสยาม และ เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ตลอดจนคอนโดฯ แบรนด์วิสซ์ดอมอีกหลายทำเล นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ของบริษัท อาทิ วิสซ์ดอม อเวนิว รัชดา-ลาดพร้าว, วิสซ์ดอม สเตชัน รัชดา-ท่าพระ, วิสซ์ดอม คอนเนค สุขุมวิท, วิสซ์ดอม เอสเซ้นส์ สุขุมวิท, วิสซ์ดอม อินสปาย สุขุมวิท ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและระหว่างขาย ได้แก่ เดอะ ฟอเรสเทียส์ , เดอะ สแตรนด์ และมัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท พร้อมกับโครงการอีก 3-5 โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษา

แต่ไม่ว่าจะเป็นโครงการไหน บริษัทจะยังคงคอนเซ็ปต์ ‘For All Well-Being’ เสมอ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพกายใจที่ดี โดยเฉพาะในโลกหลัง COVID-19 เช่นนี้

]]>
1288003