Frasers Property – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 22 Feb 2023 01:19:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Frasers Property ตั้งเป้าปี 2025 ขึ้น Top 5 แบรนด์อสังหาฯ ไทย ชูกลยุทธ์ Real Estate as a Service มัดใจลูกค้า https://positioningmag.com/1420190 Tue, 21 Feb 2023 13:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1420190 เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ประกาศเป้าภายในปี 2025 ขึ้นแท่น Top 5 แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ในไทย หลังจากได้ปรับโครงสร้างธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังชูกลยุทธ์ Real Estate as a Service มัดใจกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่มของบริษัท รวมถึงนำเรื่อง ESG เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจด้วย

ธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงทิศทางของบริษัทในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าหลังจากนี้ หลังจากบริษัทได้รวมธุรกิจของอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละบริษัท (เช่น Golden Land หรือแม้แต่ TICON) เข้ามาภายใต้ชายคาเดียวกันเป็นที่เรียบร้อยในช่วงที่ผ่านมา

เขาได้กล่าวถึงธุรกิจของบริษัทแม่ก็คือ Fraser Property ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ TCC Group ว่าปัจจุบันมีทรัพย์สินในการบริหารราวๆ 1 ล้านล้านบาทอยู่ใน 22 ประเทศทั่วโลก และทำให้เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ได้เรียนรู้การทำธุรกิจจากต่างประเทศผ่านบริษัทแม่ด้วย

และเขายังย้ำว่าประเทศไทยเป็น Strategic Location สำคัญของ Fraser Property อีกด้วย

เศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายในปีนี้

ธนพลมองว่าประเทศไทยยังมีความท้าทาย และต้องเดินหน้าทางธุรกิจแบบระมัดระวัง โดยปัจจัยสำคัญคือเรื่องเงินเฟ้อ แล้วก็การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศ เขาได้กล่าวถึงการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ จากประเด็นของเงินเฟ้อนั้นอาจกระทบกับบริษัท

เขายังกล่าวเสริมว่า การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางรวมถึงแบงก์ชาติของไทยทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้บริษัทต้องระมัดระวังมากขึ้น ไม่เพียงเท่านี้เขายังชี้ว่าคู่แข่งทางธุรกิจก็เพิ่มมากขึ้น หลายธุรกิจเริ่มหันมาทำธุรกิจแข่งกับบริษัทเช่นกัน

มองแต่ละธุรกิจนั้นมีช่วงเวลาดี-แย่ ต่างกันไป

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ได้กล่าวว่าธุรกิจของบริษัทที่ประกอบไปด้วย 3 ธุรกิจย่อยๆ ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม รวมถึง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมนั้นมีช่วงเวลาดี-แย่ต่างกันไป

โดยกลุ่มที่กำลังได้รับผลดีนั้นไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมนั้นได้รับผลดีจากการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้ามา จากช่วงก่อนหน้านี้ขณะที่กลุ่มสำนักงานให้เช่าอาจมีช่วงเวลาที่ดี แต่ก็พบกับคู่แข่งที่เข้ามาเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมได้รับผลดีจากตลาด E-commerce บูม แต่ก็กำลังจะเป็นจุดสูงสุด

ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยนั้น สินค้าอย่างบ้านเดี่ยวกำลังกลับมาเติบโตอีกครั้ง ขณะที่กลุ่มทาวน์โฮมนั้นเพิ่งจะฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด เนื่องจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและหนี้ในครัวเรือน

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยยังคงเป็นรายได้หลักของบริษัทในปี 2023 นี้

เป้าธุรกิจในปี 2023 นี้

ธนพลได้กล่าวถึงแต่ละธุรกิจในปี 2023 ในแต่ละกลุ่มธุรกิจของบริษัท

  1. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัทเตรียมที่จะขยายธุรกิจไปยังบ้านเดี่ยวราคา 60-120 ล้านบาท รวมถึงบุกตลาดคอนโดมีเนียมแบบโลว์ไรส์ ราคาราวๆ 3-5 ล้านบาท
  2. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้ลูกค้าอีกราวๆ 150,000 ตารางเมตร รวมถึงเมืองอุตสาหกรรมพื้นที่มากถึง 4,600 ไร่ในจังหวัดสมุทรปราการ คาดว่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงกลางปีนี้
  3. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม เตรียมเปิดตัว Silom Edge ในช่วงไตรมาส 2

ปัจจุบันรายได้หลักของบริษัทอยู่ที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 75% รองลงมาคืออสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมอยู่ที่ 17% และอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมที่ 8%

ผลักดัน Real Estate As A Service เพิ่มคุณค่าให้กับแต่ละโครงการ

นอกจากนี้ในแผนปี 2025 ทางบริษัทยังมีกลยุทธ์ Real Estate As A Service มาใช้ในทุกธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น ด้านความปลอดภัยมีระบบแสกนใบหน้า ระบบอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการจอดรถยนต์ เป็นต้น หรือแม้แต่การจับมือกับพาร์ตเนอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อช่างอาคาร เป็นต้น

ขณะที่อสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมรวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมก็จะมีโมเดลในเรื่องของความยืดหยุ่น ลูกค้าสามารถจ่ายเงินได้ตามการใช้งานที่ต้องการ เช่น ในกรณีการใช้คลังสินค้าก็มีการคิดค่าใช้จ่ายทั้งแบบการใช้รายครั้ง ไปจนถึงการใช้งานตามพาเลทของสินค้า

อสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมรวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม จะมีสัดส่วนต่อรายได้รวมของบริษัทเพิ่มมากขึ้นในปี 2025

แผนงานบริษัทหลังจากนี้

ธนพลยังได้กล่าวถึงแผนงานของบริษัทเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าของปี 2025 นั้นประกอบไปด้วย

  1. Peopleด้วยเป้าหมายในการมุ่งสู่การเป็น Employer of Choice หรือบริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วย บริษัทได้มุ่งดูแลพนักงานซึ่งเป็นหัวใจหลักขององค์กร เพื่อเพิ่มความสามารถและขยายศักยภาพ ควบคู่กับการสนับสนุนให้ทุกคนในองค์กรมีเส้นทางการเติบโตในอาชีพอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการลาไปดูแลลูก หรือแม้แต่การลาไปผ่าตัดแปลงเพศ การทำงานแบบ Flexible มากขึ้น รวมถึงการทำให้พนักงานรวมถึงครอบครัวมีความภูมิใจในงานที่ทำ เช่น จดหมายจาก CEO เป็นต้น
  2. Planet – ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นและคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ซึ่งธนพลมองว่าเรื่องนี้มีอิทธิพลในการทำธุรกิจมากขึ้น และลูกค้าหลายรายเริ่มต้องการสิ่งนี้ โดยเฉพาะลูกค้าจากฝั่งตะวันตก ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการไปในหลายด้าน เช่น ความพยายามในการปรับปรุงอาคารให้ได้อาคารสีเขียว การสร้างสัมพันธ์กับชุมชน เป็นต้น
  3. Purpose – เพิ่มเติมจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ และสร้างแบรนด์ให้คนจดจำ

สร้างแบรนด์ติด Top 5 ให้ได้ภายในปี 2025

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) มองว่าที่ผ่านมาจากผลสำรวจแบรนด์อสังหาฯ ไม่ค่อยมีใครนึกถึงเฟรเซอร์สฯ เท่าไหร่นัก และจะเริ่มสร้างแคมเปญให้ผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์ของบริษัทเพิ่มมากขึ้นหลังจากนี้

ขณะที่รายได้นั้นในเป้าหมายปี 2025 เขามองว่าบริษัทจะเติบโตได้เฉลี่ยปีละ 15% มองถึงความยั่งยืนและคุณภาพของรายได้เป็นหลัก

นอกจากนี้ในระยะยาวบริษัทตั้งเป้าที่จะมีสัดส่วนรายได้จากอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมรวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะบาลานซ์รายได้ให้กับบริษัท ซึ่งปัจจุบันเขาชี้ว่ารายได้ของคลังสินค้าบางแห่งนั้นมากกว่ารายได้ของ Office ให้เช่าบางโครงการด้วยซ้ำ

ธนพลได้กล่าวว่าบริษัทตั้งเป้าว่าต้องการให้บริษัทเป็น Top 5 แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ภายในปี 2025 และต้องการมีมูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านบาทหลังจากนี้ด้วย

]]>
1420190
พร้อมบุกตลาด! “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” อสังหาฯ ครบวงจรรายแรกของประเทศ จัดทัพเตรียมขึ้นแท่น Top 3 ในปี 2566 https://positioningmag.com/1302899 Fri, 23 Oct 2020 04:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302899

“เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” จัดกระบวนทัพ ลุยตลาดอสังหาฯ รวบ 3 กลุ่มธุรกิจครอบคลุมประเภทที่อยู่อาศัย-อุตสาหกรรม-พาณิชยกรรม ไว้ภายใต้แพลตฟอร์มเดียว รวมสินทรัพย์มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท พร้อมก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำระดับ Top 3 ของธุรกิจอสังหาฯ ไทย ในปี 2566 ด้วยกลยุทธ์ One Platform…อสังหาฯ ครบวงจร แพลตฟอร์มที่ยั่งยืน”

หลังการจัดโครงสร้างบริษัทฯ เพื่อรวมทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจศักยภาพสูงให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกันสำเร็จ ในที่สุด “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ก็พร้อมรุกตลาดในฐานะผู้นำกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ที่มีสินทรัพย์หลากหลาย ครบวงจรรายแรกในตลาดประเทศไทย โดยมี “ธนพล ศิริธนชัย” ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคงสู่ความยั่งยืน

ธนพลเล่าถึงจุดเริ่มต้นและการสยายปีกลงทุนในไทยของกลุ่ม “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้” ว่า เมื่อปี 2556 กลุ่มทีซีซี ของตระกูล สิริวัฒนภักดี ได้เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ Fraser and Neave (F&N) บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ที่ทำธุรกิจหลายประเภท ซึ่งมีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี โดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ ซึ่งในภายหลังได้แยกกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกจาก F&N และใช้ชื่อ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด โดยมี “ปณต สิริวัฒนภักดี” ขึ้นเป็นกรุ๊ปซีอีโอ (Group CEO) โดยเป็นผู้วางกลยุทธ์รวมถึงทิศทางการบริหารงานที่สร้างสินทรัพย์ให้เติบโตจากเริ่มต้นที่ 3 แสนล้านบาท เป็น 9 แสนล้านบาทในปัจจุบัน

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ขยายการลงทุนเข้ามายังในประเทศไทย ในปี 2560 โดยปักหมุดลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ One Bangkok ซึ่งเป็นโครงการมิกซ์ยูสชั้นนำ ประกอบด้วยพื้นที่ออฟฟิศ โรงแรม รีเทล มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท และ ในปี 2562 ได้ดำเนินการเข้าซื้อกิจการบริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ไทคอน และรีแบรนด์เป็น “บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (FPT)” ต่อมาในปี 2563 ได้ควบรวมกิจการของ “บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์” เสร็จสิ้น ทำให้พอร์ตอสังหาฯ ของบริษัทเติบโตครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทเพื่อที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม และ พาณิชยกรรม ด้วยมูลค่าสินทรัพย์สูงถึงกว่า 1 แสนล้านบาท

3 กลุ่มธุรกิจศักยภาพ สร้างสมดุลฝ่าวิกฤต

จากการรวบรวมธุรกิจทั้งหมดมาอยู่ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกัน ทำให้พอร์ตอสังหาฯ ของบริษัทในปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 1 แสนล้านบาท (ไม่รวมการลงทุนโครงการ One Bangkok) และทำให้การลงทุนมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น ดังนี้

1. ที่อยู่อาศัย – ผ่านกลุ่มธุรกิจ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม”

บริษัทฯ จะยังคงพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยภายใต้แบรนด์เดิมที่ผู้บริโภคคุ้นเคย เช่น โกลเด้นทาวน์ โกลเด้นนีโอ โกลเด้นซิตี้ เดอะแกรนด์ เป็นต้น สำหรับกลุ่มธุรกิจนี้ ทำรายได้ 9 เดือนแรก (ม.ค. – ก.ย. 2563) ไปแล้ว 1.11 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมีโครงการกว่า 59 โครงการ ครอบคลุมกรุงเทพ ปริมณฑล และต่างจังหวัด

 

2. อุตสาหกรรม – ผ่านกลุ่มธุรกิจ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล”

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมแบบครบวงจร โดยพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าทั้งแบบพร้อมให้เช่า (Ready-Built) และแบบสร้างตามความต้องการของลูกค้า (Built-to-Suit) ในทำเลยุทธศาสตร์กว่า 50 แห่งทั่วประเทศ รวมพื้นที่ให้เช่า 3 ล้านตร.ม. ทำรายได้ 9 เดือนแรก (ม.ค. – ก.ย. 2563) แล้ว 1.7 พันล้านบาท

3. พาณิชยกรรม – ผ่านกลุ่มธุรกิจ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล” ปัจจุบันมีอาคารสำนักงานและมิกซ์ยูส 5 แห่งในกรุงเทพฯ ได้แก่ โครงการสามย่านมิตรทาวน์, อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์, อาคารสาทรสแควร์, ปาร์คเวนเชอร์ และอาคารโกลเด้นแลนด์ รวมพื้นที่บริหาร 2.4 แสนตร.ม.

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจโรงแรมและเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ 1,100 ห้อง อาทิ โรงแรมดับเบิ้ล ยู กรุงเทพ, โรงแรมโมเดน่า และ ดิ แอสคอท สาทร แบงคอก เป็นต้น สร้างรายได้ 9 เดือนแรก (ม.ค. – ก.ย. 2563) กว่า 1.2 พันล้านบาท

 

เหตุผลที่เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย มีการลงทุนหลากหลาย จนกลายเป็นบริษัทแรกในไทยที่มีการลงทุนอสังหาฯ แบบครบวงจรและให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มธุรกิจนี้ ธนพลให้เหตุผลว่า การลงทุนลักษณะนี้มีข้อดี 3 ประการคือ

1) เพิ่มความสามารถในการกระจายความเสี่ยง (Diversification) ด้วยการบริหารสินทรัพย์หลากหลายประเภทที่มีลูกค้าหลายกลุ่ม

2) ส่งเสริมการประสานงานร่วมกัน (Synergy) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจศักยภาพสูงของทุกกลุ่มด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อสร้าง Ecosystem ทางธุรกิจที่สนับสนุนการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ตลอดจน ได้ประโยชน์จาก Economy of Scale ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ดียิ่งขึ้น

3) สร้างความยืดหยุ่นและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ท้าทาย (Resilience) ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการของบริษัทฯ

แพลตฟอร์มเดียวกันสู่การสร้างแบรนด์ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย”

หลังจากรวมทุกกลุ่มธุรกิจเป็นหนึ่งเดียว จะทำให้เฟรเซอร์สทำงานบนแพลตฟอร์มเดียวกัน และสอดคล้องกัน โดยธนพลวางกลยุทธ์ One Platform ที่ทำให้บริษัทฯสามารถให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างครอบคลุมตรงโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า โดยการรวมกันบนแพลตฟอร์มเดียวจะเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่บริษัทฯ เพราะจะมีรายได้จากหลายช่องทาง และรายได้ประจำ (Recurring Income) เพิ่มมากขึ้น ทำให้บริษัทฯสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยจะดำเนินตามแผน ONE-TO-THREE ซึ่งหมายถึง “ONE platform TOwards being a trusted brand and the top THREE in all asset classes” หรือ การรวมธุรกิจเป็นหนึ่งเดียวด้วยแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับ Top 3 ของทุกกลุ่มธุรกิจ ในปี 2566

ธนพลกล่าวว่า แต่ละกลุ่มธุรกิจจะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องและคาดว่าในปี 2566 มูลค่าสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 5-10%

ด้านสัดส่วนรายได้ปัจจุบันมาจากที่อยู่อาศัย 75-80% และมาจากอสังหาฯ เพื่อเช่า (อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม) 20-25% แต่ในอนาคตมองว่าจะผลักดันให้รายได้อสังหาฯ เพื่อเช่าเพิ่มขึ้นเป็น 30% เพื่อสร้างความสมดุลในพอร์ตให้มากขึ้น

“แต่ละกลุ่มธุรกิจยังมีโอกาส กลุ่มที่อยู่อาศัยแม้จะมีคู่แข่งแต่ยังมีดีมานด์ในตลาด ด้านธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่ายังมีแนวโน้มเติบโตสูงมากเพราะการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซและ COVID-19 ที่เป็นตัวเร่งให้ผู้ผลิตต้องการกระจายสต็อกสินค้าไว้หลายประเทศ ส่วนโครงการพาณิชยกรรม เช่น อาคารสำนักงาน แม้จะมีการปรับไปทำงานแบบ Work from Home บ้าง แต่บริษัทจำนวนมาก ยังคงต้องการใช้พื้นที่สำนักงาน เพียงแต่ปรับรูปแบบการใช้งานไปไปในลักษณะของ Hot Desk มากขึ้นเท่านั้น” ธนพลกล่าว

 

 

]]>
1302899