Gaming – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Jun 2023 09:30:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตลาดเดือดสวนทางขาลง ‘Lenovo-HP’ ขอดัน ‘ซับแบรนด์เกมมิ่ง’ ปั้มยอดขายพีซี-โน้ตบุ๊ก https://positioningmag.com/1434588 Mon, 19 Jun 2023 09:16:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434588 อย่างที่รู้กันว่า ตลาดพีซี-โน้ตบุ๊กทั่วโลกหดตัวหนักมาก หลังจากที่เติบโตอย่างสูงในช่วงปี 2020-2021 ที่โควิดระบาดใหม่ ๆ โดยช่วง Q1/2023 ตลาดติดลบ -29% โดยในบรรดาผู้นำตลาด เช่น Lenovo และ Dell Technologies ลดลงมากกว่า -30% ในขณะที่ HP ลดลง -24.2%

ตลาด เกม ยังมีโอกาสสูง

สำหรับสถานการณ์ของ ตลาดประเทศไทย ก็ไม่ต่างจากทั่วโลกเท่าไหร่นัก โดยข้อมูลจาก IDC พบว่าใน Q1/2023 ตลาดมียอดจำหน่ายที่ 566,000 เครื่อง ลดลง -20.3% โดย HP ขึ้นเป็นเบอร์ 1 มีส่วนแบ่งตลาด 18.5% เบียดแชมป์เก่าอย่าง Lenovo ที่ส่วนแบ่งเหลือ 17% ตามมาด้วย และ Asus 15.8%

อย่างไรก็ตาม ไทยถือเป็นประเทศที่มี ตลาดเกมมิ่งเติบโตเร็วเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน อ้างอิงจากข้อมูล Newzoo พบว่า ตลาดเกมของไทยในปี 2021 มีมูลค่าถึง 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตมากถึง 10% ต่อปี โดยมีเกมเมอร์ถึง 32 ล้านราย หรือคิดเป็น 47% ของจำนวนประชากร ขณะที่ปัจจุบันสัดส่วนโน้ตบุ๊กเกมมิ่งของไทยมีสัดส่วนประมาณ 30% ซึ่งแปลว่ายังเติบโตได้อีก

ภาพจาก Shutterstock

ซับแบรนด์เกมมิ่ง สังเวียนใหม่ตลาดโน้ตบุ๊ก

แม้การเติบโตของตลาดไอทีจะชะลอตัวลง แต่ตลาดเกมยังไปต่อได้ เนื่องจากกลุ่มคนเล่นเกมมีกว้างมากขึ้น ไม่ได้มีแค่กลุ่ม ฮาร์ดคอร์ อีกต่อไป โดยพบว่ากลุ่มคนเล่นเกม 70-80% ใช้โน้ตบุ๊กทั้งทำงานและเล่นเกม ส่งผลให้สัดส่วนของ โน้ตบุ๊กเกมมิ่งระดับเริ่มต้น ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องการโน้ตบุ๊กที่ราคาสูงมาก และไม่ได้อยากได้ดีไซน์ที่ดูเป็นเกมเมอร์จริงจังเกินไป

ทำให้ Lenovo จากที่มีแบรนด์เกมมิ่ง Legion ที่เป็นแบรนด์สำหรับฮาร์ดคอร์เกมเมอร์หรือโปรเพลเยอร์ ก็ได้แตกซับแบรนด์เกมมิ่งน้องใหม่ LOQ เข้ามาจับกลุ่มผู้ที่ไม่ใช่ฮาร์ดคอร์เกมมิ่งที่เล่นเกมยามว่างหรือกลุ่มเริ่มต้น ในราคา 20,000-30,000 บาท

“เราเห็นโอกาสอย่างมากในตลาดนี้ เพราะเราเห็นคนทำงานเล่นเกมเป็นงานอดิเรกมากขึ้น ซึ่งเราเห็นเทรนด์ชัดเจนเลย เพราะจากในปี 2020 สัดส่วนสินค้า Legion จะมีสัดส่วนกว่า 40% ที่เหลือเป็น LOQ แต่ปัจจุบัน Legion มีสัดส่วนเหลือแค่ 30%” ธเนศ อังคสิริสรรพ, ผู้จัดการทั่วไป เลอโนโว อินโดจีน กล่าว

เช่นเดียวกันกับ HP ที่ประกาศชัดเจนว่า ทิศทางการทำตลาดไทยก็คือ เกมมิ่ง โดยปัจจุบัน HP มีแบรนด์ OMEN สำหรับจับกลุ่มฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ที่เล่นเกมจริงจัง และซับแบรนด์เกมมิ่งก็คือ Victus by HP นอกจากนี้ แบรนด์อย่าง Acer ที่นอกจากจะมี Predator ก็มีซับแบรนด์ Nitro หรืออย่าง Asus นอกจาก ROG แบรนด์เกมมิ่งก็มี TUF ดังนั้น จะเห็นว่า แทบทุกแบรนด์ตอนนี้แตกซับแบรนด์มาจับกลุ่ม Casual Gamer กันหมดแล้ว

เกมมิ่งเกียร์ ส่วนเสริมที่ยังขายได้

นอกจากขายโน้ตบุ๊กเกมแล้ว อีกสิ่งที่ขาดกันไม่ได้ก็คือ เกมมิ่ง เกียร์ (Gaming Gear) ไม่ว่าจะเป็น เม้าส์, คีย์บอร์ด, หูฟัง เกาอี้ และกระเป๋า ที่เมื่อก่อนจะมีบริษัทที่ขายเกมมิ่ง เกียร์ โดยเฉพาะ เช่น Razor แต่ปัจจุบัน แบรนด์โน้ตบุ๊กเองก็หันมาขายเองมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันแทบทุกแบรนด์ก็ทำเกมมิ่ง เกียร์ของตัวเองมาขายหมดแล้ว อย่าง HP ก็มีแบรนด์ HyperX ที่ HP ซื้อกิจการมาจาก Kingston ในปี 2021

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เหล่าแบรนด์โน้ตบุ๊กเข้ามาทำตลาดเกมมิ่ง เกียร์มากขึ้นไม่ใช่แค่เพราะได้แตกแบรนด์เกมมิ่งออกมา แต่เป็นเพราะ พฤติกรรมลูกค้า ที่เมื่อใช้โน้ตบุ๊กแบรนด์ไหนแล้ว ก็ต้องการจะซื้อ อุปกรณ์เสริม ของแบรนด์นั้น ๆ เพื่อให้ เข้าชุด กัน ดังนั้น ถ้าแบรนด์สามารถขายโน้ตบุ๊กได้ รายได้จากฝั่งเกมมิ่ง เกียร์ก็ตามมาด้วย ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่แต่ละแบรนด์จะแตกเกมมิ่ง เกียร์ของตัวเองออกมาเพื่อเป็น ส่วนเสริม ให้ครบวงจร

HP เราต้องเน้นสร้างอีโคซิสเต็มส์ของเกมมิ่งที่ครบ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์สูงสุด และจากการเติบโตที่เราเห็น เราก็พยายามจะนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ เพื่อดันตลาดให้เติบโต” เดวิด ตัน รองประธานและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอชพี อิงค์

ตลาดไทยครึ่งปีหลังยังดูสดใส

สำหรับตลาดไอทีไทยช่วงครึ่งปีหลัง ธเนศ เชื่อว่าเป็นบวก เนื่องจากเห็นจากฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เงินเฟ้อลดลง อัตราว่างงานลดลง นอกจากนี้ การเลือกตั้ง ที่เพิ่งจบไปก็มองว่าจะยังช่วยเสริม ดังนั้น ด้วยปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณบวกในแง่การจับจ่ายในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่การลงทุนจากฝั่ง องค์กร ก็เห็น สัญญาณบวกตั้งเเต่ต้นปี

อย่างไรก็ตาม ทิศทางของเลอโนโวทั่วโลกพยายามผลักดันฝั่งของ ซอฟต์แวร์และบริการ ให้มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันรายได้จากฝั่งฮาร์ดแวร์มีสัดส่วนประมาณ 61% ลดลงจาก 68% ดังนั้น ทิศทางการดำเนินงานของโลโนโว ประเทศไทยก็จะล้อไปตามกับทั่วโลก โดยเริ่มเจาะลูกค้าองค์กรมากขึ้น มีการเทรนด์พนักงานมากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าเลอโนโวในไทย สัดส่วนรายได้ยังมาจากฮาร์ดแวร์เป็นหลัก

]]>
1434588
ไม่รอด! ‘Google’ เตรียมปิด ‘Stadia’ บริการคลาวด์เกมมิ่ง หลังผู้เล่นมีไม่ถึงล้าน แม้เปิดมานาน 3 ปี https://positioningmag.com/1403250 Wed, 05 Oct 2022 03:50:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403250 บริการ คลาวด์เกมมิ่ง (Cloud gaming) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Gaming on Demand หรือ Gaming as a Service ที่มีแนวคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้เล่นเกมใหม่ล่าสุดได้จากอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพียงแค่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นอีกบริการในฝันของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายราย แต่ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะทำสำเร็จ เพราะ Google เองก็ยังล้มเหลว

หลังจากที่ให้บริการมาแล้ว 3 ปี Stadia บริการคลาวด์เกมมิ่งของบริษัทเทคคอมปานียักษ์ใหญ่อย่าง Google กำลังจะ ปิดให้บริการ โดย Google ระบุว่า จะคืนเงินให้ลูกค้าที่ซื้อฮาร์ดแวร์จาก Stadia อาทิ คอนโทรลเลอร์ รวมถึงเกมที่ซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์ โดยผู้เล่นจะสามารถเข้าถึงบริการได้จนถึงวันที่ 18 มกราคม 2023 นี้เท่านั้น

“มันไม่ได้มีผู้ใช้มากอย่างที่เราคาดหวัง ดังนั้น เราจึงตัดสินใจที่จะเริ่มยุติการให้บริการเกมสตรีมมิ่ง Stadia” Phil Harrison รองประธาน Google กล่าว

สำหรับบริการ Stadia นั้น Google ได้ให้บริการโดยมีแนวคิดที่ว่า ที่อยากให้ผู้คนเข้าถึงการเล่นคุณภาพระดับคอนโซลได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องมีคอมที่สเป็กแรง หรือมีเครื่องเกมคอนโซลอย่าง Play Station หรือ Xbox แต่แค่จ่ายค่าบริการรายเดือนก็สามารถเล่นเกมผ่านคลาวด์ได้เลย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคอนเซ็ปต์จะดี เพราะเหล่าเกมเมอร์จะสามารถเล่นเกมได้โดยไม่ต้องซื้อเครื่องเกม แต่ปัญหาคือ Google ไม่มีเกมของตัวเอง แม้ว่า Google จะพยายามปิดช่องว่างนี้ด้วยการ สร้างสตูดิโอเกมของตัวเอง แล้วก็ตาม แต่ Stadia Games and Entertainment กลับมีอายุแค่ 2 ปีก็ต้องปิดตัวไป แถมยังไม่ได้เปิดตัวเกมของตัวเองด้วยซ้ำ

Stadia พวกเขามีความคิดที่ดี แต่มีรูปแบบธุรกิจที่ไม่ดี พวกเขาพยายามเสนอบริการแบบสมัครสมาชิกโดยไม่มีเกม” Michael Pachter นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ของ Wedbush กล่าว

นอกจากนี้ คอนเซ็ปต์คลาวด์เกมมิ่งไม่ได้มีแค่ Google ที่ทำ แต่ Microsoft ผู้ผลิต Xbox ได้เสนอบริการ Game Pass ที่มีเกมมากมายให้เลือกมากกว่า จนปัจจุบัน Game Pass มีสมาชิกประมาณ 25 ล้านคน ในขณะที่ Stadia มีน้อยกว่าหนึ่งล้านคน และล่าสุด Microsoft เพิ่งประกาศความร่วมมือกับ Samsung ในการเล่นเกม Xbox บนสมาร์ททีวีของ Samsung

“เราอยู่ในภารกิจที่จะนำความสุขและชุมชนของเกมมาสู่ทุกคนบนโลกใบนี้ และการนำแอป Xbox มาสู่สมาร์ททีวีเป็นอีกก้าวหนึ่งในการทำให้วิสัยทัศน์ของเราเป็นจริง” Phil Spencer หัวหน้า Microsoft Gaming กล่าว

]]>
1403250
เปิดแนวคิด IKEA X ROG กับการปั้น ‘เฟอร์นิเจอร์’ สำหรับ ‘เกมเมอร์’ เพราะตลาดเกมไม่จำกัดแค่แบรนด์ ‘ไอที’ https://positioningmag.com/1375439 Fri, 25 Feb 2022 09:09:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375439 หากพูดถึง ‘เกม’ จะเห็นว่ามีการเติบโตมากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้คนมีเวลาอยู่กับบ้านมากขึ้น ทำให้มีเวลาในการเล่นเกมมากขึ้นไปด้วย โดยอ้างอิงข้อมูลจาก ‘DEPA’ พบว่า อุตสาหกรรมเกมไทยมีมูลค่า 34,316 ล้านบาท เติบโตถึง 35% ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าอุตสาหกรรมไหนก็อยากจะหาช่องเข้ามาในตลาดเกม รวมถึง IKEA ที่คอลแลบส์กับ ROG แบรนด์เกมมิ่งในเครือของแบรนด์ ASUS ออก ‘เฟอร์นิเจอร์’ สำหรับ ‘เกมเมอร์’ เพื่อขยายตลาดให้กว้างมากขึ้น

ขายแค่สินค้าไอทีไม่พอ เพราะเกมเมอร์มีเงิน

เจริญ โล่ประคอง ผู้จัดการผลิตภัณฑ์และบริหารการตลาด เอซุส ประเทศไทย กล่าวว่า ในประเทศไทยมีคนเล่นเกมรวมกว่า 30 ล้านคน ส่วนใหญ่จะเป็นวัย 25-34 ปี สอดคล้องกับข้อมูลของ Statista ที่ระบุว่าช่วงดังกล่าวคิดเป็น 31.4% ของเกมเมอร์ไทยซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่สุด ตามด้วย

  • 35-44 ปี 24.8%
  • 18-24 ปี 19.5%
  • 45-55 ปี 16.1%
  • 55-64 ปี 8.1%

นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนเล่นเกมมากถึง 40.8% เป็นกลุ่ม High Income อีก 27.3% เป็นกลุ่ม Medium Income และ 31.9% อยู่ในกลุ่ม Low Income ขณะที่การจับจ่ายเฉลี่ย/คน/ปีอยู่ที่ 1,750 บาท ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำใคร ๆ ก็อยากจะเข้ามาจับตลาดกลุ่มเกมเมอร์

อย่างไรก็ตาม เรื่องของเกมไม่มีแค่ คอมสเปกแรง ๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันอุปกรณ์เสริมอย่าง เม้าส์, คีบอร์ด, หูฟัง, กระเป๋า รวมไปถึง โต๊ะ-เก้าอี้ ก็ถือเป็นอีกอุปกรณ์ที่เหล่าเกมเมอร์มองว่า ของมันต้องมี ยิ่งตลาดไอทีแข่งขันสูง บวกกับเจอปัญหาซัพพลายเชนที่จำกัด การฉีกไปจับ สินค้าไลฟ์สไตล์ ถือเป็นอีกทางเลือกของเหล่าแบรนด์สินค้าไอที อย่าง เอเซอร์ ก็เคยออก Predator Shot เครื่องดื่มชูกำลังจับเหล่าเกมเมอร์มาแล้ว ดังนั้น แบรนด์ ROG เลยขอมุ่งไปทางเฟอร์นิเจอร์ โดยจับกับ อิเกีย (IKEA) เพื่อออกแบบสินค้ากลุ่มเกมมิ่ง

เจริญ โล่ประคอง ผู้จัดการผลิตภัณฑ์และบริหารการตลาด เอซุส ประเทศไทย

ลุยตลาดเกมมิ่งครั้งแรกของ IKEA

แม้ตลาดเกมจะเติบแค่ไหนแต่ อิเกียกลับไม่เคยออกคอลเลกชั่นเกมมิ่ง มาก่อน ดังนั้น การจับมือกับ แบรนด์ ROG (Republic of Gamers) แบรนด์สินค้าเกมมิ่งของ ASUS ในการออก ออกคอลเลกชั่น IKEA Gaming จึงถือเป็นครั้งแรกที่แบรนด์โดดสู่ตลาดเกมมิ่งเต็มตัว

โดยอิเกียได้เริ่มวางจำหน่าย คอลเลกชั่น IKEA Gaming ครั้งแรกในตลาด จีนและญี่ปุ่น เมื่อช่วงต้นปี 2021 จากนั้นได้ขยายไปในตลาด สหรัฐอเมริกา ช่วงเดือนตุลาคม เช่นเดียวกับ ไทย ที่เริ่มทดลองวางจำหน่ายคอลเลกชั่นดังกล่าวในช่วงเวลาเดียวกัน

ถึงอิเกียจะเริ่มทำตลาดเกเมอร์ช้าไปสักหน่อย โดย ธนิตา โรจน์วานิช ผู้จัดการสินค้าแผนกห้องทำงาน อิเกีย ประเทศไทย ยอมรับว่า ที่ผ่านมาเห็นเฟอร์นิเจอร์รีเทลเลอร์รายอื่นอาจจะออกสินค้าเกี่ยวกับเกมมิ่งมาบ้าง เช่น โต๊ะ, เก้าอี้  รวมไปถึงแบรนด์เกมมิ่งเกียร์ต่าง ๆ แต่มองว่าจุดเด่นของอิเกียคือ ทำครบ สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งโซลูชัน ทั้งโต๊ะคอมพิวเตอร์เล่นเกม เก้าอี้เกมมิ่ง และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมั่นใจในคุณภาพ ฟังก์ชัน ดีไซน์ ราคาที่จับต้องได้ และการรับประกันนาน 3 ปี

เรามองว่าเราไม่ได้เชี่ยวชาญหรือเข้าใจคนเล่นเกม แต่เราเห็นการเติบโตตรงนี้ เราจึงร่วมกับพาร์ตเนอร์เพื่อออกแบบสินค้าให้ตรงตามความต้องการของเหล่าเกมเมอร์ให้มากที่สุดเพื่อขยายฐานลูกค้า ซึ่งเราเห็นเจ้าอื่น ๆ เริ่มทำสินค้ากลุ่มเกม แต่มั่นใจว่าเราเป็นเจ้าเดียวที่มีครบโซลูชัน”

ธนิตา โรจน์วานิช ผู้จัดการสินค้าแผนกห้องทำงาน อิเกีย ประเทศไทย

เกมเมอร์ลอยัลตี้สูง เพิ่มโอกาสให้แบรนด์

เจริญ กล่าวว่า พฤติกรรมที่น่าสนใจของเหล่าเกมเมอร์คือ มักไม่ข้ามค่าย โดยจะนิยมซื้อสินค้าเป็นคอลเลกชั่น แสดงให้เห็นถึงความลอยัลตี้ที่สูง อย่างฐานแฟนของ ROG เมื่อซื้อคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กแล้ว อุปกรณ์เสริมก็จะซื้อของแบรนด์ ดังนั้น เชื่อว่าฐานแฟน ROG กว่าหมื่นรายจะมาช่วยเสริมอิเกียด้วยเช่นกัน

“กลุ่มเกมเมอร์ที่มีกำลังซื้อเขาจะไม่ข้ามค่าย ถ้าใช้ของแบรนด์อะไรก็จะซื้อแบรนด์นั้น มันเป็นเรื่องของความ Cool ความเท่ และการจับกับ IKEA จะช่วยเพิ่มการรับรู้ให้กับแบรนด์ได้”

​สำหรับอิเกียที่เดินหน้าใช้กลยุทธ์ Collaboration ไม่ว่าจะเป็นกับแบรนด์หรือศิลปินทุก ๆ ปี ไม่ว่าจะเป็น Lego, แซนดรา โรดส์ แฟชั่นไอคอน, Byredo แบรนด์น้ำหอมจากฝรั่งเศส ซึ่ง ธนิตา ระบุว่า ช่วยให้เกิดผลลัพธ์ในด้านของอแวร์เนสและช่วยขยายฐานลูกค้าได้ดีมาก ดังนั้น เชื่อว่าการจับมือกับ ROG จะช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ และในปีนี้อิเกียก็จะมีการ Collabs กับแบรนด์อย่างน้อย 1 แบรนด์ในปีนี้

“ตั้งแต่ลองขายเราพบว่าไม่ใช่แค่ลูกค้ากลุ่มเกมที่มาซื้อ แต่ลูกค้าทั่วไปก็สนใจเพราะเขาต้องการโต๊ะหรือเก้าอี้ที่นั่งสบาย เพราะเขากังวลเรื่องสุขภาพ ทำให้ยอดใช้จ่ายของลูกค้าทั่วไปและกลุ่มเกมยอดจ่ายไม่ต่างกัน ซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่ซื้อเก้าอี้และโต๊ะจะขายดีสุด ยอดบิลรวม ๆ จะอยู่ราว 7,000 บาท”

หวัง Gaming ดันยอด Work Place

แม้ว่าสินค้ากลุ่ม Work Place จะไม่ใช่กลุ่มหลักของอิเกีย แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากลุ่มสินค้าดังกล่าวเติบโตอย่างมากเพราะเทรนด์ Work From Home, Learn From Home ทำให้สินค้ากลุ่มดังกล่าวมียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 85 ล้านบาท และมีสัดส่วนยอดขายเพิ่มจาก 5-6% เป็น 9% ดังนั้น การมีคอลเลกชั่น IKEA Gaming เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มสัดส่วนสินค้ากลุ่ม Work Place ให้ไปถึง 10% ได้

“ตั้งแต่ที่มีข่าวว่าสินค้า IKEA Gaming ขายในต่างประเทศ เราก็เห็นลูกค้าสอบถามมาเป็นจำนวนมาก และพอทดลองวางจำหน่ายปรากฏว่ายอดขายเติบโตเกินกว่าเป้าที่วางไว้ถึง 300% ดันให้ปีที่ผ่านมายอดขายในกลุ่ม Work Place เติบโตถึง 30% โดยปีนี้เราคาดว่าจะเติบโตได้ 50%”

]]>
1375439
เจาะอินไซต์ตลาด ‘อีสปอร์ต’ กับโอกาสของ ‘แบรนด์’ ในการแทรกตัวสู่ขุมทรัพย์ 2.7 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1303891 Fri, 30 Oct 2020 15:21:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303891 หลายคนคงจะรู้อยู่แล้วว่า ‘เอไอเอส’ (AIS) ผู้ให้บริการโครงข่ายเบอร์ 1 ของไทยได้พยายามที่จะมีส่วนร่วมในการผลักดันอุตสาหกรรม ‘อีสปอร์ตไทย’ ตลอดมา และล่าสุดได้จัดงาน AIS x Techsauce Esports Summit ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นให้ฝั่งของภาครัฐ ภาคธุรกิจเกม ผู้พัฒนาเกม สตรีมเมอร์ นักกีฬา มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อยกระดับอีโคซิสต็มของอีสปอร์ตพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย และก้าวสู่การเป็นผู้นำอีสปอร์ตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตลาดอีสปอร์ตไทยทะลุ 27,000 ล้านบาท

ปีที่ผ่านมามูลค่าตลาดอีสปอร์ตในภูมิภาคอาเซียนอยู่ที่ 137,300 ล้านบาท โดยคิดเป็นรายได้จากอุปกรณ์พกพา หรือ Mobile Gaming ราว 70% หรือ 96,720 ล้านบาท อีกราว 17% มาจากกลุ่มเครื่องเกมคอนโซล จากผู้ผลิตเครื่องเกมอย่างไมโครซอฟท์, โซนี่ และนินเทนโด ส่วนตลาดอีสปอร์ตของไทยในปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึง 22,000 ล้านบาท โดยปีนี้เนื่องจาก COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนมีเวลาอยู่บ้านเล่นเกมมากขึ้น คาดว่าจะเติบโตเป็น 27,000 ล้านบาท และในปี 2021 คาดว่าจะเติบโตแตะ 30,000 ล้านบาท

“ที่น่าสนใจคือ ตลาดอีสปอร์ตในไทยเติบโตต่อเนื่อง 10% ทุกปี และแม้จะไม่สามารถจัดอีเวนต์ออฟไลน์ต่าง ๆ ได้ ทำให้รายได้ในส่วนของการขายบัตรและสินค้าจะหายไป แต่เพราะเกมเกิดจากดิจิทัลดังนั้นจึงสามารถจัดการแข่งขันและเล่นเกมผ่านออนไลน์ได้เหมือนเดิม ถ้ากลับมาจัดอีเวนต์ได้ตลาดก็จะยิ่งเติบโต” อรนุช เลิศสุวรรณกิจ Co-Founder และ CEO ของ Techsauce Media กล่าว

ในส่วนของพฤติกรรมการเล่นเกมพบว่า เกมที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ แนว Multiplayer Online Battle Arena (MOBA) เช่น RoV และ Battle Royale เช่น Free Fire ซึ่งเป็นเกมที่ใช้ความสามารถ ต้องเล่นเป็นทีม ส่งผลให้ได้รับความนิยมและอยู่ได้นานกว่าเกมประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนกว่า 180 ล้านคนในภูมิภาคที่รับชมคอนเทนต์เกี่ยวกับเกม 1 ใน 6 หรือราว ๆ 30 ล้านคนรับชมการแข่งขันอีสปอร์ต และประมาณ 50% ยอมจ่ายเงินให้กับเกม และ 90% ของผู้ที่จ่ายเงิน เป็นการจ่ายเพื่อซื้อไอเทมในเกมที่เล่นฟรี

‘Gaming Marketing’ สร้างภาพลักษณ์ในทางบวก

ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ Director, Sea (Thailand) ระบุว่า เมื่อก่อนสปอนเซอร์ที่สนับสนุนอีสปอร์ตส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ไอทีหรือเกมมิ่งเกียร์ แต่ปัจจุบันแบรนด์ในกลุ่ม ‘FMCG’ ก็เริ่มมีบทบาทในอีสปอร์ตมากขึ้น เพราะสิ่งที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์คือ เกมสามารถสร้าง ‘ภาพลักษณ์’ ให้แบรนด์ในทาง ‘บวก’ อย่างเครื่องดื่ม ‘อิชิตัน’ ที่เข้ามาเป็นสปอนเซอร์เกม ‘Free Fire’ เพื่อสร้างการรับรู้ของสินค้า โดยผลที่ได้กลับมาคือ ยอดขายขึ้นเป็นอันดับ 1 ในตลาดภายใน 2 สัปดาห์แรก

“คนที่ชอบเกมส่วนใหญ่เป็น Young Gen ที่มีความชอบหลากหลาย แต่เกมเป็นสิ่งที่เขาชอบแน่นอน และแบรนด์สามารถใช้เกมเพื่อผลลัพธ์ในหลายด้านไม่ว่าจะการรับรู้หรือยอดขาย และสามารถกระจายได้รวดเร็วเพราะเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่บนดิจิทัล”

ทั้งนี้ การเข้ามาของแบรนด์มีหลายรูปแบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว อย่างระยะสั้น ก็เข้ามาสนับสนุนการแข่งขันเป็นรายรายการ ส่วนระยะยาว คือ การเข้ามาร่วมทำแคมเปญร่วมกันทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ โดยสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ อาทิ ‘KFC’ ที่มีการนำคาแร็กเตอร์ ‘ผู้พันแซนเดอร์’ ไปใช้ในเกม รวมถึงแจกโค้ดเกมเมื่อซื้อชุด ‘The Box’ หรืออย่างการจัด ‘Mrt’ ที่จัดพื้นที่ภายในสถานีในธีมเกมเพื่อสร้างจุดทัชพอยต์กับผู้บริโภค หรือ ‘AIS’ ที่ออกซิมสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ

“หากแบรนด์ที่จะเข้ามาต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าอยากใช้เกมทำอะไร เป้าหมายคืออะไร อย่าง ‘ยาแต้มสิว’ ก็ทำได้ เช่น โยงกับเรื่องเล่นเกมดึก และอีกหนึ่งโอกาสของประเทศไทยคือเป็นประเทศท่องเที่ยว ดังนั้นสามารถโปรโมตการท่องเที่ยวเข้าไปเสริมได้ ยิ่งถ้าดึงดูดงานใหญ่ ไทยก็มีโอกาสเป็นฮับของอีสปอร์ตในภูมิภาคแต่อาจต้องรอหลัง COVID-19”

บุคลากรไทย ‘พร้อม’ แต่ ‘ไม่พอ’

คนไทยเก่งและมีความพร้อมมากโดยเฉพาะครีเอทีฟ ดังนั้น ต่างชาติชอบมาจัดการแข่งขันในไทย แต่อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตมีอีกหลายอาชีพ แต่ยังขาดคนอยู่มากทั้งแคสเตอร์, สตรีมเมอร์ หรือแม้กระทั่งผู้จัดการแข่งขันอีสปอร์ต โอกาสยังเปิดอีกมากสำหรับคนที่อยากเข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ตั้งแต่นักพัฒนาไปจนถึงนักกีฬา รวมถึงอาชีพที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักกายภาพ, นักจิตวิทยา ที่ต้องเข้ามาฝึกนักกีฬา

อย่างวงการสตาร์ทอัพก็มีคนที่ทำเรื่องการพัฒนาเกมอยู่ไม่น้อย แต่ยังถูกจำกัดวงอยู่ในกลุ่มคนที่สนใจธุรกิจเกม แต่จะทำอย่างไร เพื่อให้กลุ่มนี้เชื่อมต่อไปสู่ภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อไปสู่ระดับโลกได้ ทั้งนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมอาจต้องปลูกฝังตั้งแต่สมัยเรียน รวมถึงย่นช่องว่างของคนยุคเก่ากับยุคใหม่ให้เปิดใจถึงอาชีพใหม่ ๆ เกี่ยวกับเกม

]]>
1303891
รู้จัก ‘Project xCloud’ บริการคลาวด์เกมมิ่งของ ‘Microsoft’ เปรียบเหมือน ‘Netflix’ ของโลก ‘เกม’ https://positioningmag.com/1297361 Wed, 16 Sep 2020 09:42:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297361 บริการ Cloud Gaming ถือเป็นอีกหนึ่งในบริการที่น่าจับตามอง ยิ่งในช่วง COVID-19 ที่ดันให้อุตสาหกรรมเกมเติบโตอย่างมาก ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนมองว่ามันคือ ‘โอกาสสำคัญ’ ในตลาดเกม โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายรายในตลาด อาทิ Stadia ของ Google และตอนนี้ Microsoft กำลังจะเข้ามารุกตลาดนี้มากขึ้น

บริการสตรีมเกมใหม่ของ Microsoft ที่ใช้ชื่อว่า ‘Project xCloud’ ที่ให้ชาวเกมเมอร์สามารถเล่นเกม ‘พีซี’ ได้บน ‘มือถือ’ โดยพร้อมให้บริการแล้วบนโทรศัพท์และแท็บเล็ตในระบบปฏิบัติการณ์ ‘Android’ ซึ่งจะมาแข่งขันโดยตรงกับ ‘Stadia’ ของ Google ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปีที่ผ่านมา โดยให้ผู้คนเล่นบนโทรศัพท์ Android, Chromecast Ultra ของ Google และในเว็บเบราว์เซอร์ Chrome บนคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่

สำหรับ xCloud นั้นเปรียบเสมือนเป็น ‘Netflix’ แห่งการเล่นเกม เพราะให้เล่นเกมเเบบ ‘บุฟเฟต์’ โดยจ่ายเงินเพียง 14.99 ดอลลาร์สหรัฐ / เดือน (ราว 480 บาท) สามารถเล่นเกมได้ 150 เกม โดยจะช่วยให้เหล่าเกมเมอร์ได้คุณเล่นเกมคุณภาพสูงซึ่งโดยปกติแล้วต้องใช้คอนโซลเกม Xbox โดยไม่จำเป็นต้องซื้อ Xbox ขณะที่ Google Stadia ให้บริการฟรี แต่คุณต้องซื้อเกมในราคาเริ่มต้นประมาณ 14.99-60 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 480-1,920 บาท) ขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม การจะเล่นได้นั้นต้องใช้เน็ตที่มีประสิทธิภาพเร็วพอที่ 10Mbps และเกมส่วนใหญ่ต้องใช้คอนโทรลเลอร์ Xbox ที่จับคู่กับโทรศัพท์ของคุณผ่านบลูทูธ อย่างไรก็ตาม หลายคนมองว่า บริการนี้อาจช่วยดึงดูดนักเล่นเกมทั่วไปเข้าสู่ระบบนิเวศของ Microsoft เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้เงินหลายหมื่นบาทในการถอย Xbox เพื่อมาเล่น

ทั้งนี้ สำหรับเกมเมอร์ที่ใช้ iPhone และ iPad จะไม่สามารถใช้บริการใหม่ของ Microsoft บนอุปกรณ์เหล่านั้นได้ เนื่องจากกฎของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Apple ที่ป้องกันไม่ให้ใช้บริการสตรีมเกม อย่างไรก็ตาม Apple เพิ่งอัปเดตข้อกำหนดในวันที่ 11 กันยายนเพื่ออนุญาตบริการประเภทนี้ ดังนั้น สาวก iOS อาจต้องรอหน่อย รวมถึง ‘ประเทศไทย’ ที่ยังไม่สามารถใช้บริการ xCloud ได้ เนื่องจาก Microsoft เพิ่งเปิดให้บริการเพียง 22 ประเทศเท่านั้น

Source

]]>
1297361
‘Mixer’ แพลตฟอร์มสตรีมเกมเตรียม ‘ปิด’ หันเป็นพันธมิตร ‘Facebook Gaming’ แทน https://positioningmag.com/1284853 Tue, 23 Jun 2020 15:05:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284853 ถือเป็นเรื่องที่ช็อกสุดเมื่อ ‘ไมโครซอฟท์’ (Microsoft) กำลังปิดตัวแพลตฟอร์มการสตรีมวิดีโอเกมที่มีชื่อว่า ‘มิกเซอร์’ (Mixer) หลังจากการเติบโตไม่เป็นไปตามเป้าที่บริษัทวางไว้ พร้อมเบนเข็มไปเป็นพันธมิตรกับ ‘เฟซบุ๊ก’ (Facebook) แทน

บริษัทไมโครซอฟท์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า บริษัทเตรียมเป็นพันธมิตรกับ Facebook เพื่อเปลี่ยนชุมชนสตรีมมิ่งมิกเซอร์เป็นส่วนหนึ่งของ Facebook Gaming ซึ่งเป็นฟีเจอร์สตรีมมิ่งเกม โดยข้อตกลงดังกล่าวนั้น ฐานผู้ใช้ของ Mixer จะถูกย้ายมาอยู่บน Facebook Gaming ซึ่งการจับมือกันครั้งนี้ ถือเป็นการรวมตัวกันของสองรายใหญ่ในโลกของเกม และการรวมกันครั้งนี้ก็อาจท้าทายผู้นำอุตสาหกรรมอย่าง ‘ทวิช’ (Twitch) ของ ‘อเมซอน’ (Amazon)

“ความสำเร็จของพันธมิตรและสตรีมมิ่งใน Mixer นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการขยายแพลตฟอร์มอย่างไรให้รวดเร็วและกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เห็นได้ชัดว่าเวลาที่ต้องใช้ในการขยายชุมชนในฝันของเราให้ใหญ่ขึ้นนั้น ไม่สามารถทำได้ด้วยประสบการณ์ที่ Microsoft และ Xbox มี ดังนั้นเราจึงตัดสินใจปิดด้านปฏิบัติการของ Mixer และช่วยการเปลี่ยนชุมชนไปสู่แพลตฟอร์มใหม่”

บริษัทปฏิเสธที่จะบอกว่าการจัดการมีมูลค่าเท่าไหร่ ขณะที่โฆษกของ Facebook Drew Symonds ระบุว่า เป็นพันธมิตร “ไม่ใช่การควบรวมกิจการหรือการซื้อกิจการ” โดยเขาได้กล่าวเสริมว่า Facebook Gaming จะรับสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าของ Mixer และชื่อโดเมนที่เกี่ยวข้อง แต่ Microsoft จะรักษาสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของเทคโนโลยี Mixer ไว้

Mixer เป็นแพลตฟอร์มสำหรับไลฟ์สตรีมเกมต่าง ๆ โดยเปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 และในปี 2019 ก็ได้ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อดึงตัวสตรีมเมอร์ชื่อดังอย่าง Ninja และ Shroud มาจากแพลตฟอร์ม Twitch เพื่อขยายฐานผู้ชม แต่ก็ไม่สามารถทำได้อย่างที่ตั้งเป้าเอาไว้

Source

]]>
1284853
‘ซินเน็ค’ จับกระแส ‘New Normal’ ลุยตลาด เกมมิ่งเกียร์-เน็ตเวิร์กกิ้งโปรดักส์ https://positioningmag.com/1281853 Wed, 03 Jun 2020 04:52:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281853 สำหรับใครที่ซื้อสินค้าไอทีไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, สมาร์ทวอชท์, หูฟัง ฯลฯ คงจะต้องเคยเห็นสติกเกอร์ ‘Trusted by synnex’ หรือการรับประกันโดย ‘Synnex’ (ซินเน็ค) ซึ่งก็ไม่ต้องแปลกใจไป เพราะซินเน็คเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไอทีจากผู้ผลิตชั้นนำระดับโลกแทบทุกแบรนด์ แต่เนื่องจากตลาดไอทีที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก ซินเน็คเองก็ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่เพื่อสร้างการเติบโตต่อไป โดยมีหมัดเด็ดคือ ‘Gaming Gear’

นางสาวสุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX กล่าวว่า แม้ผลกระทบจาก COVID-19 จะทำให้หน้าร้านสินค้าไอทีต้องปิดตัวลงจำนวนมาก แต่ยังได้อานิสงค์ของ ‘New Normal’ ที่เปลี่ยนการใช้ชีวิตและการทำงาน เช่น e-Meeting หรือการที่มีเวลาเล่นเกมมากขึ้น ส่งผลให้สินค้าอย่าง ระบบประชุมทางไกล กลุ่มสินค้าเกมมิ่ง โน้ตบุ๊ก กล้องเว็บแคม และสมาร์ทโฟนราคาต่ำกว่า 10,000 บาทก็เติบโตมากขึ้น

ทั้งนี้ ซินเน็คเองโฟกัสตลาดเกมตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยมีรายได้จากกลุ่มเกมมิ่งเกียร์ 2,000 ล้านบาท เป็นเบอร์ 1 ในตลาด ซึ่งปัจจุบันตลาดเกมมิ่งเกียร์มีมูลค่า 5,000 ล้านบาท และด้วยอานิสงส์จาก COVID-19 ที่ทำให้เกมเมอร์มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ซินเน็คมั่นใจว่าจะสามารถเติบโตได้ 20% ทำรายได้ 3,000 ล้านบาท โดยล่าสุดได้เป็นตัวแทนจำหน่ายของแบรนด์ ‘เลเซอร์’ (razer) เกมมิ่งเกียร์ระดับไฮเอนด์แต่เพียงผู้เดียว

“ตลาดเกมมิ่งมีขนาดใหญ่มากทั้งเกม อีสปอร์ต และเกมมิ่งเกียร์มีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท มีผู้เล่นในไทยกว่า 27 ล้านคน คิดเป็น 41% ของประชากร ซึ่ง COVID-19 ทำให้เกมเมอร์เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงซื้อเกมมิ่งเกียร์และโน้ตบุ๊กมากขึ้น โดยในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราทำยอดขายได้มากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 5 เท่า”

สินค้าจำพวกเมมโมรี่การ์ด แฟลชไดรฟ์ แกดเจ็ตราคาสูง และพรินเตอร์มียอดขายลดลงในช่วง COVID-19 เพราะผู้บริโภคไม่สามารถออกไปเที่ยวไหน อีกทั้งยังต้อง Work from Home ส่งผลให้สินค้าเน็ตเวิร์กกิ้งโปรดักส์ อาทิ กล้องวิดีโอตัวเล็ก ๆ โน้ตบุ๊ก และเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กเติบโตขึ้น ดังนั้นซินเน็คจึงขยับมาจับเทรนด์นี้เต็มตัว โดยไม่ได้มีแค่ฮาร์ดแวร์ แต่ยังมีพาร์ตเนอร์ที่ให้บริการโซลูชันการประชุมอีกด้วย อาทิ WebX ของ cisco ก็เป็นพาร์ตเนอร์กับซินเน็ค

“เมื่อก่อนคนใช้ไม่ใช้วิดีโอในการประชุม แต่ตอนนี้มันเป็นของจำเป็น ดังนั้นเราจึงโฟกัสที่ตลาดนี้ นอกจากนี้สินค้ากลุ่มสมาร์ทเฮลท์ก็ขายดี เช่น กล้องวงจรปิดที่จับอุณหภูมิ ซึ่งเราขยับมาถูกทางแล้ว”

ที่ผ่านมา COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกับซินเน็คในด้านซัพพลายเชนบ้าง รวมถึงลูกค้าที่ไม่สต๊อกสินค้า เพราะหน้าร้านถูกปิด แต่หลังจากเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ ภาพรวมตลาดก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านซัพพลายเชนและการสั่งซื้อของจากคู่ค้า ซึ่งในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา ซินเน็คเองก็มีมาตรการช่วยเหลือ ทั้งการพักชำระ และสอนให้ Go Online

“ในไตรมาสแรกยอดนำเข้าเราลดเยอะมาก เพราะซัพพลายมาช้า แต่ตอนนี้ดีขึ้นมาก และหลังจากเปิดห้างลูกค้าสั่งของเพิ่มเยอะมาก ถือเป็นสัญญาณที่ดี นอกจากนี้เรายังเห็นโอกาสจากแพลตฟอร์ม b2b ออนไลน์ของเราที่มีการใช้งานมากขึ้นเป็น 50% ดังนั้นอนาคตเราอาจต่อยอดเป็นบริการฟูลฟิลเมนต์ คือ ไม่ต้องสต๊อกสินค้า แต่เราจะส่งสินค้าให้ลูกค้าเลย”

ปีนี้คาดว่ารายได้ของซินเน็คจะอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท โดยมี Gross Profit (GP) ประมาณ 4% เติบโต 1% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งจากนี้ซินเน็คจะไม่ได้โฟกัสเรื่องของรายได้เป็นหลัก แต่จะเน้นที่ผลกำไร ดังนั้นจะโฟกัสที่สินค้าที่มี GP สูง ๆ ซึ่งเกมมิ่งเกียร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น และในส่วนของภาพรวมตลาดไอทีปีนี้ คาดว่าจะกลับมาคึกคักอีกครั้งในไตรมาส 4 และมองว่าเทคโนโลยี 5G จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในปีหน้า โดยเฉพาะสินค้า IoT ซึ่งเป็นอีกตลาดที่ซินเน็คมีความสนใจ

นางสาวสุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
]]>
1281853
เอาด้วย ‘Amazon’ เปิดตัวเกมใหม่ ‘Crucible’ ลุยตลาด https://positioningmag.com/1280001 Thu, 21 May 2020 13:14:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280001 เรียกได้ว่าแทบจะทำทุกอย่างแล้วสำหรับ ‘Amazon’ ไม่ว่าจะอีคอมเมิร์ซ, Video OnDemand ซึ่งแต่ละอย่างก็ไปได้สวยทีเดียว โดยเฉพาะช่วง COVID-19 นี้ แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ Amazon ทำ แต่น้อยคนนักจะรู้ เพราะไม่ได้เปรี้ยงมากนัก นั่นก็คือ ‘Game’ แต่ต้องถือว่า Amazon กำลังมาถูกเวลา เพราะช่วงนี้กำลังเป็นเวลาทองของอุตสาหกรรมเกมอย่างแท้จริง หากดูถึงผลประกอบการของบริษัทเกมหลาย ๆ รายที่เติบโตในช่วงนี้ เพราะคนเล่นเกมมากขึ้น เพราะต้องกักตัว

สำหรับ Amazon นั้น มีสตูดิโอพัฒนาเกมของตัวเองชื่อ Amazon Game Studios โดยเปิดตัวเกมแรกชื่อ Breakaway เป็นแนว MOBA ในปี 2016 แต่ก็ยกเลิกไปในปี 2017 โดยปัจจุบันมีเกมในมืออยู่ 3 เกมที่เปิดตัวแล้ว คือ เกมออนไลน์ New World และเกมรถแข่ง The Grand Tour

ล่าสุด Amazon Game Studios ได้เปิดตัวเกม Crucible โดยเป็นเกมแนว TPS (Third Person Shooting) หรือเกมยิงมุมมองบุคคลที่ 3 โดยรูปแบบของเกมนั้นจะเล่นเป็นทีม ทีมละ 4 คน โดยต้องต่อสู้เพื่อยึดฐานฝั่งตรงข้าม ซึ่งรูปแบบเกมนั้นใกล้เคียงกับเกม Overwatch และ Fortnite

ตัวละครเกมจากค่าย Blizzard Entertainment ผู้พัฒนาเกม Over Watch

ไม่ใช่แค่สร้างเกม แต่ Amazon ส่งสัญญาณมานานแล้วว่าสนใจในตลาดเกม เนื่องจากเข้าซื้อ Twitch ซึ่งเป็นบริการถ่ายทอดสดการเล่นเกมในราคา 970 ล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ปี 2014 แต่ไม่ได้มีแค่ Amazon ที่พยายามเหยียบขาเข้ามาในตลาดเกม

อย่าง Google เพิ่งเปิดตัวบริการเกมสตรีมมิ่ง Stadia ส่วน Apple ก็เปิดตัว Apple Arcade แพลตฟอร์มรวมเกมแนวอาร์เคดแบบบุฟเฟต์ และ Facebook ก็ได้แยกแอปพลิเคชัน Facebook Gaming แอปไลฟ์สตรีมมิ่งเกมมาเป็นแบบแบบสแตนด์อโลน

Source

]]>
1280001
อะไรไม่โต ‘เกม’ โต เหตุอานิสงส์ ‘ล็อกดาวน์’ ช่วยให้มีเวลาเล่นเพียบ https://positioningmag.com/1278415 Thu, 14 May 2020 02:18:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278415 ในขณะที่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่อุตสาหกรรมเกมกำลังเฟื่องฟู ขนาด Nintendo Switch ราคายังพุ่งไปเท่าตัว ขณะที่ค่ายเกมหลายค่ายก็สามารถทำรายได้อย่างน่าพอใจ อาทิ Electronic Arts หรือ EA เจ้าของเกมฮิต ‘Madden NFL 20’ และ ‘The Sims 4’ ทำรายได้ไตรมาสแรกรวม 1.4 พันล้านดอลลาร์ โตขึ้น 12% หรืออย่าง Activision Blizzard หนึ่งในค่ายเกมยักษ์ใหญ่ของโลก เจ้าของหลากหลายเกมฮิต อาทิ Call of Duty, World of Warcraft, Overwatch ผลประกอบการเติบโตขึ้นถึง 21% เช่นกัน

ภาพจาก Facebook Activision Blizzard

รายได้ของ Activision Blizzard ในไตรมาสแรกปิดที่ 1.52 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกเติบโตขึ้น 21% โดยไตรมาสแรกในปีที่ผ่านมาทำรายได้ 1.26 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่กำไรต่อหุ้นก็อยู่ที่ 0.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น สูงกว่าความคาดหวังของของ Goldman Sachs ที่ตั้งไว้ที่ 0.37 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจุดเปลี่ยนที่ทำให้บริษัทเติบโตมาจากแฟรนไชส์ ​​Call of Duty ที่มีโหมดเกม ‘Call of Duty: Modern Warfare’ ที่วางจำหน่ายเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มียอดขายมากกว่า Call of Duty ภาคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวเกมมือถือ Call of Duty Mobile

“ในสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ทุกวันนี้ ที่ซึ่งมีอัตราการว่างงานสูงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การมีเกมฟรีบนมือถืออาจเป็นหนทางที่ดีอย่างมากในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้” Bobby Kotick CEO กล่าว

นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ยอดขายของบริษัทจะยังได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการล็อกดาวน์ต่อไป และไม่เชื่อว่าปัจจัยเช่นอุตสาหกรรมโฆษณาดิจิทัลที่หดตัวลง หรือ Call of Duty League และ Overwatch League ที่ยกเลิกทัวร์นาเมนต์การแข่งขัน ไม่ได้มีผลกระทบทางการเงินที่สำคัญต่อธุรกิจ แต่มันอาจมีผลกระทบกับเจ้าของทีมอีสปอร์ตในแต่ละประเทศมากกว่า

“การต้องอยู่แต่ในที่พักเป็นเวลา 5 สัปดาห์ และมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปอีกหลายสัปดาห์ มันเป็นประโยชน์อย่างมากกับธุรกิจเกม แม้ว่าการระบาดใหญ่ทำให้การซื้อโฆษณาดิจิทัลจดชะลอ รวมถึงการยกเลิกกิจกรรมการแข่งขัน แต่ไม่น่าจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ”

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมวิดีโอเกมมีการแข่งขันที่สูงขึ้น อย่างค่าย Riot Games ที่มีเกมฮิตอย่าง ‘League of Legends’ กำลังออกเกมแนวชูตติ้งใหม่ ‘Valorant’ ในช่วงฤดูร้อนนี้ ซึ่งมันจะมาแข่งขันกับ ‘Overwatch’ ของ Blizzard และเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาก็เพิ่งเปิดตัวเกมการ์ด ‘Legends of Runeterra’ บนพีซีและมือถือซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ ‘Hearthstone’ ของ Blizzard

Source

]]>
1278415
กลัวจะเบื่อ ‘Facebook Gaming’ เปิดตัวฟีเจอร์ ‘ทัวร์นาเมนต์’ ให้ผู้ใช้จัดแข่งเกมกันเองไปเลย https://positioningmag.com/1272427 Fri, 10 Apr 2020 03:19:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272427 Facebook Gaming ซึ่งเป็นบริการสตรีมเกมจากโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ เพิ่งประกาศฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Tournament บนแพลตฟอร์ม ช่วยให้ผู้ใช้สร้างและจัดการทัวร์นาเมนต์เกมในหลากหลายรูปแบบและสตรีมได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเข้าร่วมหรือติดตามการแข่งขันเกมสดได้อีกด้วย

“สังคมที่ห่างไกลหมายความว่าเราต้องแยกจากกัน แต่เกมก็ยังสามารถพาเรามาอยู่ด้วยกันได้ ดังนั้นเราจึงเปิดตัวฟีเจอร์ทัวร์นาเมนต์บนแพลตฟอร์มเกมเป็นโปรแกรมเข้าถึงตัวเพื่อช่วยให้ผู้คนเชื่อมต่อกันระหว่างการล็อกดาวน์ที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19” Facebook กล่าวในบล็อกโพสต์

ทุกคนสามารถเริ่มหรือเข้าร่วมการแข่งขันในเกม Facebook ได้ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันเกมทั่วไปในหมู่เพื่อนหรือแข่งขันกับผู้ติดตาม โดยผู้ใช้สามารถเลือกเกมออนไลน์ใดก็ได้บนแพลตฟอร์มใดก็ได้สำหรับจัดการทัวร์นาเมนต์ โดยเมื่อเปิดหน้าทัวร์นาเมนต์ ผู้ใช้จะได้รับตัวเลือกให้เข้าร่วมทัวร์นาเมนต์กับเพื่อน Facebook และตัวเลือกเพื่อรายงานการแข่งขัน (Casters) ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นี่ถือเป็ยการเคลื่อนไหวล่าสุดของ Facebook Gaming ที่พยายามแข่งขันกับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเกมชั้นนำอื่น ๆ เช่น Twitch โดยจากรายงานของ Stream Elements ระบุว่า แม้เวลาการรับชมเกมบน Facebook Gaming เติบโตเป็นสองเท่าในปี 2019 แต่บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 3% เท่านั้น ส่วน Twitch ผู้นำในตลาดสตรีมมิ่งเกมครองส่วนแบ่งการตลาด 73% ขณะที่ YouTube มีส่วนแบ่งการตลาด 21%

Source

#Facebook #Facebookgaming #Game #Gaming #Twitch #Covid19 #Youtube #Positioningmag

]]>
1272427