global warming – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 25 Oct 2024 06:42:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยังร้อนได้อีก! ‘UN’ เผย ภายในปี 2100 โลกจะร้อนขึ้น 3.1 องศาเซลเซียล พลาดเป้าเดิมเกือบ 2 เท่า https://positioningmag.com/1495580 Fri, 25 Oct 2024 05:40:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495580 แม้ว่าปัจจุบัน โลกจะมีข้อตกลงปารีสที่ได้กำหนดเพดานอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันผลกระทบที่เป็นอันตรายจากภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวไม่น่าเป็นไปได้ และอาจจะพลาดไปถึงสองเท่าตัวเลยทีเดียว

ในปี 2015 รัฐบาลทั่วโลกได้ลงนามในข้อตกลงปารีส โดยร่วมกันกำหนดเพดานอุณหภูมิโลกให้เพิ่มไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ระหว่างปี 2022-2023 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1.3% เป็นระดับสูงสุดที่เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 57.1 กิกะตัน และปัจจุบันโลกร้อนขึ้นประมาณ 1.3 องศาเซลเซียส

ส่งผลให้ในรายงานของ สหประชาชาติ (UN) ได้ประมาณการณ์ว่า ภายในปี 2100 โลกต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อนมากถึง 3.1 องศาเซลเซียส ซึ่งมากกว่าสองเท่าของการเพิ่มขึ้นที่ตกลงกันไว้เมื่อปี 2015 หากรัฐบาลไม่ดําเนินการมากขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาวะโลกร้อน

“หากเราดูความคืบหน้าสู่เป้าหมายปี 2030 โดยเฉพาะอย่างยิ่งของรัฐสมาชิก G20 พวกเขาไม่ได้ก้าวหน้ามากนัก ต่อเป้าหมายสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน” แอนน์ โอลฮอฟฟ์ หัวหน้าบรรณาธิการวิทยาศาสตร์ที่จัดทำรายงาน กล่าว

อย่างไรก็ตาม ประเทศต่าง ๆ จะรวมตัวกันในเดือนหน้าในการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศประจําปีของสหประชาชาติ (COP29) ในอาเซอร์ไบจาน เพื่อหาข้อสรุปในข้อตกลงที่ทําเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด โดยการเจรจาในครั้งนี้ จะช่วยให้แต่ละประเทศสามารถวางกลยุทธ์ในการลดการปล่อยมลพิษของแต่ละประเทศ

ทั้งนี้ รายงานประเมินว่า แต่ละประเทศต้องให้คํามั่นสัญญาร่วมกันและดําเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างน้อย 42% ภายในปี 2030 และถึง 57% ภายในปี 2035 สําหรับความหวังในการป้องกันภาวะโลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป้าหมายที่น่าจะเป็นไปได้ยาก

Source

]]>
1495580
โลกร้อน ทำให้เกิด ‘ภัยพิบัติ’ เพิ่ม 5 เท่าในช่วง 50 ปี ระบบเตือนภัย ช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น https://positioningmag.com/1350254 Fri, 03 Sep 2021 14:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350254 ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อ ‘ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศ เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา การพัฒนา ‘ระบบเตือนภัยล่วงหน้า’ ช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น เเต่ยังไม่ครอบคลุมในประเทศยากจน 

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO เปิดเผยข้อมูลว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดภัยพิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและน้ำ เช่น น้ำท่วม คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง ไฟป่า พายุโซนร้อนรุนแรงขึ้น’ เเละบ่อยครั้งขึ้น’ 

ตลอด 5 ทศวรรษ ระหว่างปี 1970 ถึง 2019 มีภัยพิบัติดังกล่าวมากกว่า 11,000 ครั้ง คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 2 ล้านคนเเละสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจกว่า 3.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยมากกว่า 90% ของการเสียชีวิตจากภัยพิบัติทางสภาพอากาศ เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา’ เเละสถานการณ์ภัยเเล้งที่รุนเเรงต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 650,000 คน

เเต่ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติโดยรวมก็ลดลงอย่างรวดเร็ว

ศาสตราจารย์ Petteri Taalas เลขาธิการ WMO กล่าวว่า ท่ามกลางตัวเลขสถิติที่เลวร้ายเราก็ยังมีความหวังอยู่

ระบบเตือนภัยล่วงหน้า ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย นำไปสู่การลดอัตราการตายอย่างมีนัยสำคัญ พูดง่ายๆ ก็คือ เราช่วยชีวิตคนได้ดีกว่าในอดีต

ขณะที่การปรับปรุงระบบเตือนภัยกำลังช่วยชีวิตผู้คนได้มากขึ้น เเต่ก็ยัง ‘ไม่ทั่วถึง’ มากนัก โดยเฉพาะในประเทศยากจน เช่น ในทวีปแอฟริกา บางพื้นที่ของละตินอเมริกา ฯลฯ

ปัจจุบันมีเพียงครึ่งหนึ่งจาก 193 ประเทศที่เป็นสมาชิกของ WMO เท่านั้น ที่มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าให้ประชาชน

อีกมุมหนึ่ง จำนวนผู้ที่ต้องเสี่ยงต่อภัยพิบัติก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตของประชากรในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งมีความรุนแรงและความถี่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนเเปลงของสภาพอากาศ

องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อจัดการกับปัญหาเรื้อรังหลังผู้คนจำนวนมากที่ต้องพลัดถิ่นด้วยอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง โดยจะต้องมีการลงทุนมากขึ้น เพื่อจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้ครอบคลุม รวมไปถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะต้องเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในเเผนระดับชาติและระดับท้องถิ่น

 

ที่มา : BBC , WMO 

 

]]>
1350254
รัสเซียทุบสถิติอากาศ “ร้อนที่สุด” ในรอบ 133 ปี ต้องใช้ “หิมะเทียม” ฉลองปีใหม่ https://positioningmag.com/1259034 Tue, 31 Dec 2019 07:09:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259034 ปี 2019 เป็นปีที่อากาศ “ร้อนที่สุด” ในรัสเซีย นับตั้งเเต่เก็บสถิติมาในรอบ 133 ปี โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ในรัสเซียมีปริมาณหิมะสะสมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลถึงขั้นต้องนำ “หิมะเทียม” มาใช้ในการฉลองปีใหม่

สำนักงานด้านสภาพอากาศ Gidromedtsentr ระบุว่า ปีนี้เป็นปีที่ร้อนที่สุดของรัสเซียนับแต่มีการใช้อุปกรณ์สังเกตการณ์มา โดยกรุงมอสโกนั้น มีอุณหภูมิเฉลี่ย 7.6-7.7 องศาเซลเซียสเท่านั้น ทำลายสถิติเก่าของปี 1886 ถึง 0.3 องศา และคาดการณ์ว่าเดือนมกราคม 2020 จะยังมีอากาศที่อบอุ่นกว่าปกติเกือบทั่วทุกภูมิภาคของรัสเซีย

ทั้งนี้ สภาพอากาศของกรุงมอสโกมีการเก็บสถิติไว้ตั้งเเต่ปี 1879 เเละเก็บสถิติทั่วประเทศในปี 1891

ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นทั่วโลก โดยองค์การสหประชาชาติเคยกล่าวไว้เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า ปี 2019 เป็นท็อป 3 ของปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

อากาศของกรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย ในเดือนธันวาคมปีนี้ จึงนับว่า “ร้อนที่สุด” ในรอบศตวรรษนี้ จากปกติที่จะมีหิมะปกคลุมตั้งแต่ช่วงกลางเดือน แต่ท้องฟ้ากลับปลอดโปร่งและแทบไม่มีหิมะตก รีสอร์ตสกีหลายแห่งของมอสโกปิดบริการ และต้นไม้เริ่มแตกยอดรับฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเร็วกว่าปกติอย่างน้อย 3 เดือน

โดยในช่วงนี้ ชาวมอสโกมักจะมาฉลองฤดูหนาวกันอย่างคึกคัก ในระหว่างช่วงเทสกาลปีใหม่ เเต่ปีนี้เเทบไม่มีหิมะปกคลุม ทางการจึงต้องใช้มาตรการนำ “หิมะเทียม” มาจัดเเสดงในสถานที่สำคัญหลายเเห่งกลางเมือง เช่น บริเวณจตุรัสเเดง เพื่อให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้เล่นเเละถ่ายภาพกับหิมะเพื่อส่งท้ายปีเก่า เเละนับเป็นครั้งเเรกที่ใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่งสร้างความเเปลกใจให้ผู้คนไม่น้อยเเละบางคนมองว่าเป็นเรื่องตลกที่รัฐบาลจัดการปัญหาเช่นนี้

ที่ผ่านมาประธานาธิบดีรัสเซีย “วลาดิมีร์ ปูติน” ลังเลที่จะยอมรับความเชื่อมโยงระหว่างภาวะโลกร้อนกับกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เเละในการประชุมประจำปีที่ผ่านมา เขาก็ยังยืนยันว่า “nobody knows” ใครจะไปรู้เรื่องสาเหตุของการเปลี่ยนเเปลงสภาพอากาศ

อย่างไรก็ตาม ปูตินยอมรับว่าผลที่ตามมาจากภาวะโลกร้อน ถือเป็นหายนะที่ร้ายเเรงของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเชื้อเพลิงคาร์บอนรายใหญ่ของโลก เเละรัสเซียมีสภาพอากาศร้อนขึ้นสูงกว่าที่อื่นในโลกกว่า 2.5 %

 

ที่มา : VOA , BBC

ภาพ : @WildWildMoscow via twitter

]]>
1259034