GPSC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 03 Jan 2023 03:09:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 GPSC Young Social Innovator : ผลิตภัณฑ์เซรั่มจากเห็ดเยื่อไผ่ จากนวัตกรรมสู่ธุรกิจเพื่อสังคม https://positioningmag.com/1413387 Fri, 23 Dec 2022 04:30:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413387

ในวันนี้ผลิตภัณฑ์เซรั่มจากเห็ดเยื่อไผ่ จากนวัตกรรมสู่ธุรกิจเพื่อสังคม แบรนด์ “NUALLAOR” จากบริษัท กลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด เป็นหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จของเยาวชนภายใต้โครงการ GPSC Young Social Innovator เป็นโครงการที่ GPSC ได้เปิดโอกาสให้เยาวชน ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ ที่มุ่งแก้ปัญหา สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และสามารถเป็นต้นแบบและใช้งานได้จริง สามารถต่อยอดสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาด โดยมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและองค์กรเพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต ถือกำเนิดขึ้นจาก Co-founder เยาวชน 3 คน ในโครงการ YSI  ได้นำนวัตกรรมสารสกัดจากเห็ดเยื่อไผ่ สู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เซรั่มบำรุงผิวที่เหมาะกับทุกสภาพผิวของคนไทย ผ่านการวิจัยและได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ระดับอาเซียน นับเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง ของเยาวชนในโครงการ YSI ภายใต้การสนับสนุนของ GPSC


ติดตามเส้นทางความสำเร็จของ “NUALLAOR” ผลิตภัณฑ์จาก บริษัทกลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด

คุณณัชชา จองมูลสุข เยาวชนโครงการ YSI รุ่นที่ 4 ปี 2021 ปัจจุบันเป็น Co-Founder บริษัท กลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด เจ้าของแบรนด์ NUALLOR กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ กับความสำเร็จในการส่งผลิตภัณฑ์ตัวแรกออกสู่ตลาด ไว้ว่า “จากเมื่อก่อนที่เราทำเองทุกขั้นตอนตั้งแต่ปลูกเยื่อไผ่เอง ขูดวุ้นเอง เอามาต้มเอง กวนเอง ทำเป็นเซรั่ม จนกระทั่งเจอ YSI แล้วได้เข้าร่วมทำเซรั่ม ที่ทำในห้องแลป ที่ปลอดเชื้อ ได้เห็นกระบวนการทางอุตสาหกรรม และพัฒนาสูตรมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน”

“เป้าหมายในอนาคตเรา เราต้องการที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นไปอีก แต่ไม่ได้มองแค่เรื่องธุรกิจเท่านั้น เรายังมองถึงการนำความรู้ ความเข้าใจ ตั้งแต่การเพิ่มผลผลิตเห็ดเยื่อไผ่ของเราเข้าสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนเพาะเห็ดเยื่อไผ่และส่งออก เป็นการสร้างรายได้ ที่อย่างยืนได้” คุณญาณวรุฒม์ สุวรรณแพร่ เยาวชนโครงการ YSI รุ่นที่ 4 ปี 2021 ปัจจุบันเป็น Co-founder บริษัทกลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด เจ้าของแบรนด์ NUALLAOR กล่าว


GPSC มีส่วนช่วยสนับสนุนอย่างไร

คุณณรงค์ชัย วิสูตรชัย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสรัฐกิจสัมพันธ์และกิจการสาธารณะ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เยาวชนในโครงการ YSI ทีมนี้เป็นทีมที่มีศักยภาพ และสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้

“เราได้รับความร่วมมือที่ดีจาก สวทช. ให้เข้ามาพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดย GPSC ได้สนับสนุนและส่งเสริม รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และให้ความชาวเหลือในการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.  GPSC เป็นพี่เลี้ยงในเรื่องการทำการตลาดของผลิตภัณฑ์ ทำให้น้องๆ สามารถกลับไปพัฒนา บริษัทตัวเองและนำไปสู่ธุรกิจ Startup ต่อไปได้” คุณณรงค์ชัย กล่าว

ผลิตภัณฑ์ Bamboo Mushroom Intensive Moisturizing  Serum หรือผลิตภัณฑ์เซรั่มจากเห็ดเยื่อไผ่ ได้นักวิจัยเครื่องสำอางมืออาชีพ จากโรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. มาช่วยพัฒนาสูตรตำรับให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น


จุดเด่นและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์

คุณสักรินทร์ ดูอามัน เจ้าหน้าที่พัฒนาสูตรแม่บท โรงงานต้นแบบผลิตภัณฑ์อนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. เปิดเผยว่า ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับน้องๆ ในโครงการนี้ โดยคัดเลือกสารสกัดให้เหมาะกับสภาพผิวของคนไทย

“เราจะเห็นว่าสภาพผิวคนส่วนใหญ่จะแห้งกร้านมาก ดังนั้นเซรั่มตัวนี้จึงออกแบบมาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่สภาพผิว โดยเติมสาร Natural Moisturizing Factor เข้าไปและเพิ่มเติมโดย Sodium Hyaluronate ใช้ทั้งหมด ขนาด 3 โมเลกุล ที่มีคุณสมบัติช่วยกักเก็บน้ำ และล็อคความชุ่มชื้นให้ผิวอิ่มฟู โดยนำมาหาอัตราส่วนที่เหมาะกับทุกสภาพผิว และเลือกเซรามาย 3 โมเลกุลออกแบบพิเศษ สามารถกระจายตัวในชั้นของน้ำได้ดี เติมลงไปทำให้เทคเจอร์ของเซรั่มตัวนี้ มีความใสแต่สามารถมอบความชุ่มชื้นให้กับผิวได้” คุณสักรินทร์ กล่าว

ในขั้นตอนการผลิตนั้น โรงงานที่ผลิตอยู่ภายใต้มาตรฐานเทคโนโลยี Asean GMP Cosmetics ซึ่งในขั้นตอนการผลิต ได้ทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ ทดสอบความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้นการผลักดันต่อยอดนวัตกรรมสารสกัดจากเห็ดเยื่อไผ่สู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทำให้น้องๆ ได้พัฒนาตนเอง และเรียนรู้สู่การเป็น Startup อย่างเต็มตัว


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ YSI รุ่นที่ 4

คุณรุ่งทิพย์ ถาโน เยาวชนโครงการ YSI รุ่นที่ 4 ปี 2021 ปัจจุบันเป็น Co-founder บริษัท กลอเรียส ไนซ์ที้ จำกัด เจ้าของแบรนด์ NUALLAOR กล่าวไว้ว่า “การเข้าร่วมในโครงการ YSI จะต้องนำผลิตภัณฑ์ส่งเข้าประกวด และต้องเตรียมตัวกันอย่างเข้มข้น โดยทั้ง 3 คน อ่านหนังสือ และศึกษาเยอะมาก มีความตั้งใจมากในการทำโครงการนี้”

“คณะกรรมการให้คำแนะนำมาเยอะมากๆ ก็มาพิจารณาดูว่าอันไหนที่ทำได้ และอันไหนที่ยังมีข้อจำกัดอยู่ เราได้ทำอะไรหลายๆ อย่าง ทำให้ตัวเรามีความรู้สึกภูมิใจ และดีใจ ที่ประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้ ส่วนต่อไป เราก็จะออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ของเราเอง มีการวางแผนการตลาด และวางแผนโมเดลธุรกิจ ส่งเอกสารการจดทะเบียนอย.กันเอง ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ยากเช่นกัน ต้องพยายามและหาข้อมูลกันเยอะ” คุณรุ่งทิพย์ กล่าว


ติดตามข่าวสารและสั่งซื้อสินค้าได้ที่

Facebook : Nuallaor Official

Twitter : @Nuallaor_of

Instagram : @nuallaor_official

#GPSC #GPSCgroup #SmartEnergyForEvolvingLife #GPSCYoungSocialInnovator #NUALLAOR #bamboomushroom #สวทช.

 

]]>
1413387
GPSC – ธ.ก.ส. ศึกษาพื้นที่เกษตร ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ-ลม ประยุกต์ใช้พลังงานสะอาด พลิกโฉมเกษตรสู่ Smart Farming https://positioningmag.com/1411018 Fri, 09 Dec 2022 04:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411018

GPSC – ธ.ก.ส. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ทั้งแสงอาทิตย์ และลม ควบคู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมพลังงาน พลิกโฉมภาคการเกษตรของไทยให้ก้าวสู่เกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร และต่อยอดการขอฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียวจาก ธ.ก.ส. ในอนาคต เพื่อร่วมขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 โดย  ธ.ก.ส. พร้อมเติมทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) วงเงินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะร่วมกันศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อหาพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ที่สามารถนำมาพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ โดยที่เกษตรกรยังคงสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมคู่ขนานกันไปในพื้นที่ดังกล่าวได้ พร้อมกับหาแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดในส่วนของไฟฟ้ามาใช้ในภาคเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าพืชผลทางการเกษตรให้สูงขึ้น ซึ่งจะตอบโจทย์การเกษตรอย่างยั่งยืน

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มีนโยบายสนับสนุนเกษตรกรในการพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ซึ่งความร่วมมือกับ GPSC จะช่วยเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้รับองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ และลมที่เป็นพลังงานสะอาด  และมีอยู่ตลอดทั้งปีในประเทศไทย รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเสริมศักยภาพการผลิต เพื่อลดต้นทุนและสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่ง ธ.ก.ส. พร้อมที่จะเชื่อมโยงในการนำความรู้ต่างๆ ของ GPSC ไปยังเกษตรกรเพื่อปรับใช้ในกระบวนการผลิต การแปรรูปเพิ่มมูลค่า ทั้งในส่วนของการผลิตที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้กับเกษตรกรในการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด ในการทำเกษตรอินทรีย์และผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว  (Green Credit)  วงเงินรวม  20,000  ล้านบาท ในส่วนของการขับเคลื่อนการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนร่วมปลูกป่าในพื้นที่ของตนเองและชุมชนผ่านโครงการธนาคารต้นไม้ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) และกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ในชุมชน ปัจจุบันมีธนาคารต้นไม้เข้าร่วมโครงการ 6,838 ชุมชน มีต้นไม้ขึ้นทะเบียนในโครงการ 12.4 ล้านต้น มีสมาชิก 123,845 ราย และมีชุมชนที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวน 62 ชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศในการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ความยั่งยืน

สำหรับแนวทางการดำเนินงานของทั้งสององค์กร จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน โดยคัดเลือกพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพในทุกพื้นที่ ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในส่วนของ GPSC จะนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไปวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เหมาะสม เข้าไปสนับสนุนภาคการเกษตร ทั้งการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม แสงอาทิตย์ และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการบริหารจัดการพลังงาน เข้าไปควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบการใช้งานของภาคการเกษตร ซึ่งจะทำให้การพัฒนาภาคการเกษตรของไทยเป็นเกษตรยุคใหม่ที่มีความยั่งยืน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางพลังงานโลกและแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ที่แสวงหาแนวทางการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วนมากขึ้น

GPSC และ ธ.ก.ส. มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการใช้พลังงานสะอาดในการทำการเกษตรกรรมร่วมด้วย อีกทั้งเกษตรกรยังอาจสามารถต่อยอดเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียว (Green Farming Certificate) ในอนาคต ซึ่งเป็นการการันตีผลผลิตที่ได้จากการเกษตรที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ถือเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งของพัฒนาอาชีพเกษตรกรยุคใหม่ และยังเป็นต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้พลังงานสะอาด ในการยกระดับมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรของไทยที่สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (การพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) เพื่อความยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


#GPSC #GPSCgroup #SmartEnergyForEvolvingLife #SmartFarming #BAAC #GreenCredit

]]>
1411018
GPSC ประกาศผลผู้ชนะเลิศโครงการ “GPSC Greenovation Startup Sandbox” https://positioningmag.com/1409098 Fri, 25 Nov 2022 03:13:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409098

กลับมาอีกครั้งกับโครงการ GPSC Greenovation Startup Sandbox ในรอบ Final Pitching Day เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศนักพัฒนาธุรกิจรุ่นใหม่ด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. และ บริษัทในกลุ่ม GPSC ได้แก่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด หรือ CHPP และ บริษัท นูออโว พลัส จำกัด หรือ NUOVO PLUS ร่วมผลักดันนักคิดคนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ตลอดระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันแรกจนมาถึงรอบสุดท้าย ในวันนี้ ทีมเข้าร่วมโครงการได้พัฒนาไอเดียนวัตกรรมขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด ภายใต้โจทย์ “เราจะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยใช้นวัตกรรมพลังงานสะอาดที่คุณสามารถเข้าถึงได้?” โดยได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิดจาก Mentor รวมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรม Workshop สุดเข้มข้น รับคำปรึกษา และต่อยอดไอเดียธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับเงินทุนรวมมูลค่ากว่า 600,000 บาท เพื่อนำไปต่อยอดแผนงานและพัฒนาไอเดียธุรกิจ ในรอบ Final Pitching Day การนำเสนอผลงานครั้งสุดท้ายของทั้ง 3 ทีม ได้แก่ “ทีม ควายงาน” ผู้คิดค้น “BuffBox” เครื่องมอเตอร์ไฟฟ้ารุ่น ต้นแบบช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยของไทย “ทีม Onecharge” ที่ร่วมมือกับพันธมิตร มุ่งขยายเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมขยายการติดครอบคลุมทั่วประเทศ และ “ทีม Electron+” เจ้าของไอเดีย FTE (Flexible thermoelectric) Cooling in Automotive เทคโนโลยีการทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับโซลาร์เซลล์ ช่วยลดอุณหภูมิภายในรถยนต์ไฟฟ้าแบบเฉพาะจุด

ดร.รสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับโครงการ GPSC Greenovation Startup Sandbox ถือเป็นโอกาสสำหรับน้องๆ ที่ยังเป็น Young Generation ที่มีไอเดียในเรื่องนวัตกรรมพลังงานสะอาด ความท้าทายของน้องๆ คือ เวลาเราคิด Project หรือคิดว่าเราจะช่วย Environment อย่างไร เราคิดอย่างเดียวก็ไม่เกิดอะไร แต่ถ้าเราลงมือทำได้ เราก็สามารถที่จะทำให้ความฝันเราเกิดเป็นความจริง ความท้าทายก็คือว่าแล้วการลงมือทำ จะต้องใช้งบประมาณเท่าไร นี่เป็นสิ่งที่ GPSC สามารถที่จะเสริมให้น้องๆ มีโอกาสในการที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ได้

เกณฑ์การตัดสินของเราประกอบไปด้วยหลายๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโจทย์ของงานว่าการพัฒนานั้นต้องสร้างความยั่งยืนอย่างไร ตอบสนองคุณค่าต่อเราและสังคมอย่างไรต่อไป ในแง่ของการพัฒนาต่อยอดในเชิงธุรกิจ ในเรื่องของความพร้อมของบุคลากรและทีมงานที่คณะกรรมการนำมาเป็นเกณฑ์การพิจารณาทั้งหมด ทั้ง 3 ทีมงาน ทำได้ดีทั้งสิ้น ความท้าทาย คือ เราต้องมาตัดสินน้องๆ Startup ต่างๆ ที่อาจจะยังไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนเลย เราพยายามจะเอาหลักเกณฑ์สักอันมาจับว่าใครที่เหมาะสมจะเป็นผู้ชนะ ตลอดระยะเวลาที่หลายๆ เดือนที่ทำงานร่วมกันกับน้องๆ มา ก็จะมีการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ตรงไหนที่ทีมไหนยังขาดอยู่ ทางพี่ๆ ก็พยายามจะช่วยสนับสนุนเติมไปให้ หรือภาพของธุรกิจก็เราจะค่อยๆ Grooming น้องทุกคน พอมาถึงวันนี้ทุกคนมีภาพที่ครอบคลุมได้ทั้งหมดทุกมิติ อันนี้คือ Challenge คุณวัชรพงศ์ อินทะเคหะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการพาณิชย์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด หรือ CHPP (บริษัทในกลุ่ม GPSC ผู้พัฒนานวัตกรรมการจัดการพลังงานและสาธารณูปโภค) กล่าว

โดยทีมที่ทำผลงานได้ออกมาดีที่สุด สามารถคว้าตำแหน่งสุดยอดไอเดียนักพัฒนาธุรกิจรุ่นใหม่ด้านพลังงานไฟฟ้า คือทีม ELECTRON PLUS+ มาพร้อมผลงาน เทคโนโลยีการทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดอุณหภูมิภายในรถยนต์ไฟฟ้าแบบ FTE cooling in Auto Motive หรือการทำความเย็นจาก Flexible thermoelectric ในยานยนต์ เฉพาะจุด ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในรถยนต์ EV ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทีม ELECTRON PLUS+ ผู้ชนะเลิศโครงการ GPSC Greenovation Startup Sandbox ได้เล่าถึง Pain Point ในการสร้างนวัตกรรมนี้ คือ มองการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นรถยนต์ไฟฟ้าที่โฆษณาว่าวิ่งได้ 500 กิโลเมตร แต่จริงๆ แล้ว พอนำไปใช้งานแล้วได้ไม่ถึง อาจจะวิ่งได้แค่ 450 กิโลเมตร ดังนั้นจากตรงนี้เองเราก็เลยไปหาในส่วนของสาเหตุหลักๆ ก็มาจากแอร์ที่ใช้อยู่ในรถยนต์ที่เป็นในส่วนของ Compressor นั่นเอง เราจึงต้องทำการแก้ปัญหาโดยที่เปลี่ยนระบบทำความเย็นใหม่โดยที่ไม่ต้องไปใช้ Compressor แล้วใช้เทคโนโลยีของเราเข้าไปแทน หนึ่งสิ่งถ้าเทียบกับตัว Compressor ที่เราได้พูดไปในส่วนของ Pain Point ตัวนั้นทำให้เกิดในส่วนของภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกร้อน ซึ่งตัวเทคโนโลยีของเราไม่ได้ทำให้เกิดพวกนั้นเลย ของเราเป็น Green Technology พูดง่ายๆ เป็นพลังงานสะอาดที่ตอบโจทย์กับโครงการนี้

GPSC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจไฟฟ้าจากนวัตกรรมพลังงานสะอาดเพื่อความยั่งยืน และยังแสวงหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางพลังงานที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสะอาดที่จะเป็นเทรนด์ที่สำคัญของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัลที่มีแนวโน้มการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และมีเป้าหมายเดียวกันที่จะเดินหน้าไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่ง GPSC กำหนดเป็นเป้าหมายหลักเพื่อขับเคลื่อนสู่องค์กร Net Zero ภายในปี 2060

#GPSC #GPSCgroup #SmartEnergyForEvolvingLife #GreenovationStartupSandbox


]]>
1409098
GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร https://positioningmag.com/1346319 Fri, 20 Aug 2021 10:00:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346319


GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร เปิดโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน G-Cell ด้วยเทคโนโลยี SemiSolid แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถผลิตแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงานและสามารถใช้กับ EV Car พร้อมเป้าหมายสู่การเป็นผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาค และมีระบบ Ecosystem ที่มีประสิทธิภาพ

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่าแนวโน้มในการใช้แบตเตอรี่จะเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าในอนาคต จากการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้ EV Car ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีพลังงานที่ว่านี้ แบตเตอรี่จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยการลดโลกร้อนได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

“เราเชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่สำคัญคือแบตเตอรี่ ที่จะเป็นจิ๊กซอร์ให้มีการใช้ EV Car เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายได้ จึงเป็นที่มาของการลงทุนและเปิดตัวโรงงานต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยี SemiSolid เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายวรวัฒน์ กล่าว

เทคโนโลยี SemiSolid จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพและสร้าง Ecosystem ให้กับอุตสาหกรรม EV เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้ประเทศไทย เป็นแหล่งผลิต EV Car และเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้ โดยสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ 30:30 เป้าหมายสำคัญคือต้องการใช้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิต EV Car การที่จะเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้จะต้องมี Ecosystem ที่พร้อมและมีประสิทธิภาพที่จะนำมาประกอบรถยนต์

ห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ หรือ Experience Center

นางรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC กล่าวว่า

GPSC ได้สร้างห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ หรือ Experience Center ขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวแบตเตอรี่เพื่อให้ประชาชนที่สนใจ รวมทั้งเด็กและเยาวชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ และเป็นความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่ว่าสามารถนำมาใช้ในชีวิตได้อย่างไรบ้าง

ภายใน Experience Center ประกอบด้วย

Battery Story ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของแบตเตอรี่จากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ถูกพัฒนามาค่อนข้างมาก จนมาถึงยุค LIthuim-ion, Lithuim Sulphur และยุค Technology Solid

GPSC ได้นำเอาเทคโนโลยี SemiSolid ซึ่งเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เป็น Process Innovation ที่ได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นเทคโนโลยีของบริษัทสตาร์อัพ 24M Technologies, Inc. หรือ 24M จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย GPSC ได้รับลิขสิทธิ์และจัดจำหน่ายในประเทศและภูมิภาค โดยในเบื้องต้นจะผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้กับ กลุ่ม ปตท. และพร้อมที่จะขยายกำลังการผลิตตามความต้องการของตลาดไปสู่ระดับการเชื่อมโยงการซื้อขายในภูมิภาค

“GPSC อยู่ระหว่างศึกษา เทคโนโลยีอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น Lithium Sulphur เมื่อ Product Innovation ทำได้สำเร็จ ก็สามารถนำมาใช้ใน Process นี้ได้ด้วย เราต้องการให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการคือมีขนาดเล็ก และ เบา” นางรสยากล่าว

เชื่อว่า SemiSolid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ 24M จะทำให้กระบวนการผลิตสั้นลงและประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น และสามารถนำวัตถุดิบที่ไม่จำเป็นออกไป การออกแบบช่วยป้องกันการผสมกันของวัตถุ โดยแบ่งเป็น Unit ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกัน

ดังนั้นเทคโนโลยีที่นำมาใช้จะทำให้ G-Cell มีความปลอดภัย และน่าจะ Recycle ได้ง่ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ในอนาคตที่กำลังมุ่งไปสู่โลกสีเขียวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

ส่วนของความน่าเชื่อถือ (Reliability) หรือการต่อเชื่อม Chain และการให้บริการกับทางกลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เป็นแบรนด์ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับกับลูกค้า

Casting & Converting

เป็นส่วนที่อธิบายกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ โดยเริ่มต้นจาก Foil Cutting เป็นลำดับแรก หลังจากนั้นทำการ Coating ตัวต่อตัว เพื่อลดการปนเปื้อน

ต่อมาเป็นขั้นตอน Combining & Sealing เพิ่มความปลอดภัยของ Unit Cell จากนั้นเป็นขั้นตอน Pouch Cell Assembly ทำ Stacking & Packing และการนำไปบ่มในห้อง Aging Room บ่มเพาะจนมีความมั่นใจว่าสินค้ามีความปลอดภัย โดยมี Robot ควบคุมดูแลภายในห้อง จากนั้น Stack และเก็บข้อมูลของแบตเตอรี่ และคอย Monitor

Line up process

ในส่วนนี้ จะเป็นการนำเสนอระบบกักเก็บพลังงาน หรือEnergy Storage System (ESS) ขนาดใหญ่ จะอยู่ในหมวดของ Large ESS หรือผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ G-Box (CI) และ G-BOX (CI MAX) สำหรับเชิงพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) การใช้แบตเตอรี่ G-Cell ในรถสามล้อไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ 80 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เครื่องยนต์เงียบ ไม่มีมลภาวะ

“สำหรับการติดตั้งแท่นชาร์จแบตเตอรี่ เป็นความตั้งใจของ ปตท. ที่ต้องการให้มีการติดตั้งแท่นชาร์จทั่วประเทศ ทุกสถานีน้ำมันที่มีความเป็นไปได้ ตลอดจนจุดสำคัญต่างๆ เช่น บนคอนโดมีเนียม” นายวรวัฒน์กล่าว


]]>
1346319