Group M – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 10 Mar 2022 12:37:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะลึก 6 แนวโน้ม ‘พฤติกรรมผู้บริโภค’ และ 4 วิวัฒนาการโลก ‘Data’ ที่จะมีผลต่อการตลาดในปี 2022 https://positioningmag.com/1377022 Thu, 10 Mar 2022 09:18:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377022 ด้วยความที่คนไทยอยู่กับ pandemic มาสองปีเศษแล้ว และแม้ว่าจะเข้าสู่ wave ที่ 5 แต่เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น รวมถึงผู้บริโภคมีการปรับตัวและมีความรู้ความเข้าใจในการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมและมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น โดย มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร ในเครือกรุ๊ปเอ็ม ได้ออกมาวิเคราะห์ถึงแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ ๆ รวมถึงวิวัฒนาการของโลก Data เพื่อเป็นแนวทางให้กับแบรนด์และนักการตลาดใช้สำหรับการวางแผนการตลาดในปีนี้

ในส่วนของพฤติกรรมผู้บริโภค ณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร Head of Strategy มายด์แชร์ ได้สรุป 6 เทรนด์ ที่จะได้เห็นในปี 2022 ดังนี้

1. การกลับใช้ชีวิตในสังคมแบบเกือบปกติโดยมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น (Mindful Togetherness) อันจะส่งผลต่อรูปแบบของการใช้ชีวิตร่วมกันในลักษณะ ดังนี้

– Phygital Community: การผนึกรวมระหว่างช่องทางจำหน่ายหน้าร้านและการขายออนไลน์ (physical + digital) ที่จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์และสร้าง engage กับผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

– Contactless Connection: ประสบการณ์ไร้สัมผัสจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นสำหรับช่องทางการจำหน่ายหน้าร้าน รวมถึงการออกแบบสินค้าที่นำเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในเรื่องของความสะอาดและสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น

– Omnichannel Retail: แบรนด์จะต้องปรับตัวในยุค post-pandemic โดยการรวบข้อมูลจากช่องทางต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สร้าง touchpoint ต่าง ๆ ให้เกิดการซื้อและรับสินค้าสะดวกทั้ง online และ offline

2. ผู้บริโภคยังคงหาประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดจากการอยู่บ้านต่อไป? (Homebody Economy?) ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ดังนี้

– Hometainment: หรือ home + entertainment ที่แบรนด์หรือแพลตฟอร์มควรสนองประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคให้เหนือความคาดหมายกว่าเดิม

– Statement of Place and Space: การออกแบบหรือการสร้างคุณค่าและประสบการณ์ของสถานที่ให้มีคุณค่าและความหมายที่ลึกซึ้งและหลากหลายกว่าเดิม

– Survive or Alive?: แบรนด์ควรทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงการมีชีวิตอยู่เพื่อทำตามสิ่งที่ต้องการ

3. เทรนด์ที่ผู้บริโภคย้อนนึกถึงช่วงเวลาในอดีตที่น่าจดจำ (Nostalgia Reminiscing)

– Down the Memory Lane: เทรนด์วินเทจจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในกลุ่ม Gen Y Gen Z แต่ด้วยความที่เราอยู่ในยุค digital เทรนด์ข้อนี้ก็อาจจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเติมเต็มวิถีของผู้บริโภคด้วย

4. ยุคของโลกเสมือนจริง (Live More Than One Life)

– Mega Metaverse: กระแสที่มาแรงในช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งเทคโนโลยีที่แบรนด์สามารถนำพาผู้บริโภคไปอยู่ในโลกเสมือนจริงอีกโลกนึงนี้ได้ผ่านเทคโนโลยีอย่าง AR/ VR นอกจากจะทำให้แบรนด์สามารถ engage กับผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งแล้ว ยังทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริงอีกด้วย

– No More Middle Man: การเกิดขึ้นของ blockchain ได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการกระจายอำนาจ (decentralize) เกิดขึ้น ผลพวงของการกระจายอำนาจทางด้านการเงินที่ทำให้เกิด cryptocurrency ที่ว่ายังกระจายไปสู่วงการเกมและศิลปะอีกด้วย

5. ยุคที่ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญและความใส่ใจกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น ทั้งกับตัวเอง คนใกล้ตัว และสังคม สิ่งแวดล้อม (Brighter, Bolder, Better, Build Back) ซึ่งผู้บริโภคแสดงออกมาในรูปแบบของ

 – Play a Part: การมีส่วนร่วมในกระแสสังคม

– Well – Balance Wellness: การใส่ใจเรื่องสุขภาพ

6. เทคโนโลยีจะเข้ามาเติมเต็มประสบการณ์และ journey ของผู้บริโภคได้มากกว่าเดิม (Interactive Future)

– Voice, Visual, Video, and Virtual Assistant: ที่จะกระตุ้นและเพิ่มประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบโต้ตอบของผู้บริโภคและเติมเต็มช่องว่างที่ผู้บริโภคอาจมีในใจระหว่างการช้อปปิ้งทางกายภาพและประสบการณ์ออนไลน์

– Shoppable Media: สื่อที่เป็นได้มากกว่าการสร้าง awareness และ engagement หรือการทำหน้าที่ในการปิดการขายได้เลย ทำให้ journey ของผู้บริโภคกระชับกว่าเดิม

– In Control and On Demand: เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่าง ๆ บนโลกออนไลน์จะเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในการควบคุม จัดการกับเวลาหรือคอนเทนต์ที่จะเข้าถึงได้ตามความสะดวกและเหมาะสม

ด้าน มทินา แรงกล้า Head of Data Intelligence กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของแนวโน้มข้อมูลว่า สามารถแบ่งแนวโน้มโลกของข้อมูลออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ดังนี้

1. แบรนด์ต้องมี Right data ไม่ใช่ Big Data

เก็บข้อมมูลมากไปใช่ว่าจะดี เพราะบางทีอาจเป็นข้อมูลขยะที่ใชประโยชน์อะไรไม่ได้ ดังนั้น นอกจากการเก็บข้อมูลแล้วยังต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง หรือ Right Data ซึ่งจุดสำคัญคือ การตั้งคำถามเพื่อโฟกัสหา Right Data โดยไม่ควรถามคำถามที่กว้างเกินไป แต่ต้องเป็นคำถามที่หาเพื่อแก้ไขปัญหาให้แบรนด์หรือสิ่งที่แบรนด์อยากได้ ดังนั้น แบรนด์ต้องเริ่มจาก คำถามที่ใช่ เพื่อหา Right Data

2. ยุคของการทำงานร่วมกันระหว่าง มนุษย์ และ AI (Precisely Human)

แม้ว่าปัจจุบัน แบรนด์จะใช้ AI, Chat Bot, Machine Learning, Predictive Marketing มากขึ้น แต่แน่นอนว่าไม่มีอะไรมาแทนได้ 100% ดังนั้น มนุษย์และ AI ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เช่น คนเป็นผู้ติดตามเทรนด์ต่าง ๆ รวมถึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ส่วน AI ก็ใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หากลุ่มเป้าหมาย เพราะ AI ทำได้เร็วกว่ามนุษย์ แต่สิ่งสำคัญคือต้องให้ Right Data กับ AI ด้วย

3. นักการตลาดต้องให้ความสำคัญกับ 1st Party Data ให้มากขึ้น

คนทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) มากขึ้น ดังนั้น จะเห็นว่าแบรนด์ต่าง ๆ อย่าง Apple เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แน่นอนว่านักการตลาดจะยิ่งเข้าถึงผู้บริโภคได้ยากขึ้น ดังนั้น ควรตเริ่มมาโฟกัสการเก็บ 1st Party Data ที่เกิดจากแพลตฟอร์มของตัวเองมากขึ้น แต่อาจต้องทำให้ผู้บริโภค “ไม่รู้สึกเหมือนว่าแบรนด์ทำการตลาด” เช่น หากแบรนด์ต้องการชวนลูกค้ามาลงทะเบียนเพื่อเก็บข้อมูล อาจเสนอส่วนลดให้ เป็นต้น

4. ยุคของ Metaverse และการเตรียมรับมือกับ data ที่จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่

ในช่วงการระบาดที่ผ่านมา เริ่มเห็นแบรนด์ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AR และ VR เช่น การใช้เพื่อให้ลูกค้าดูห้องพัก, การทำ Virtual Tour เพื่อให้ลูกค้าเห็นบริการต่าง ๆ ซึ่งหลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่าจะเก็บข้อมูลจากการใช้ AR, VR อย่างไร คำตอบคือ การที่ผู้บริโภคหยุดมองจุดใดจุดหนึ่งเป็นพิเศษ ก็สามารถเก็บเป็นข้อมูลได้ และในอนาคตจะช่วยให้แบรนด์ที่สนใจการทำตลาดผ่าน Metaverse รู้ว่าควรทำต้องทำอย่างไร

]]>
1377022
จับตา 7 กลุ่มอุตสาหกรรม และพฤติกรรมผู้บริโภค กับผลกระทบจาก COVID-19 https://positioningmag.com/1275105 Fri, 24 Apr 2020 15:19:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275105 Group M ได้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั้ง 7 กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับจากวิกฤตไวรัส COVID-19 พร้อมคำแนะนำแก่นักการตลาด เพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง

เปิดพฤติกรรมคนไทยในช่วงกักตัว

GroupM กลุ่มเอเยนซี่รายใหญ่ในไทย ได้จับมือกับเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ รวมถึงพาร์ตเนอร์อย่าง คันทาร์ ผู้นำด้านการวิจัยและไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ทำการสรุปภาพรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศ และระดับธุรกิจสินค้าและบริการในแต่ละหมวดหมู่ พร้อมเสนอข้อแนะนำถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับนักโฆษณาและการตลาด เพื่อที่จะได้เข้าใจ เตรียมตัว และปรับแผนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นผ่านบทความ Coronavirus in Thailand – Trends & Implications for Brands and Marketers

จากข่าวการเริ่มระบาดของไวรัส COVID-19 ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างได้ร่วมกันออกมาตรการต่างๆ เพื่อร่วมกันสกัดและลดความเสี่ยงให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ ตัวอย่างของมาตรการเหล่านี้ได้แก่

  • การนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแพร่ระบาดของไวรัส
  • การรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการป้องกันตัวเองผ่านการรักษาความสะอาดเช่นการสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมืออย่างถูกต้อง
  • การตั้งข้อกำหนดให้พนักงานบริษัทได้ทำงานจากที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านพื้นที่เสี่ยง
  • การออกข้อกำหนดเพื่อปิดพื้นที่ส่วนกลาง สถานที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า
  • การประกาศเลิกเทศกาลสงกรานต์ประจำปี
  • การหยุดการให้บริการชั่วคราวของ 5 สายการบินจากจำนวน 6 สายในประเทศไทย การปิดน่านฟ้าและการกำหนดให้มีการกักตัว 14 วันสำหรับคนไทยเพื่อป้องกันไม่ให้นักเดินทางจากประเทศที่เป็นเขตพื้นที่โรคเสี่ยงได้เข้ามายังในประเทศไทย
  • การประกาศเคอร์ฟิวห้ามไม่ให้ประชาชนออกจากบ้านในช่วงเวลาระหว่าง 00 – 04.00 น.

กังวลเรื่องเงิน และสุขภาพ

สำหรับมาตรการและเหตุการณ์ข้างต้นที่ทางรัฐบาลได้ออกมาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสนั้น ได้ส่งผลโดยตรงต่อการหยุดชะงักของกลไกต่างๆ ของประเทศ ทั้งในแง่เศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของผู้บริโภค จากผลวิจัยโดยคันทาร์พบว่าคนไทยมีความกังวลมากขึ้นในเรื่องของความปลอดภัยและสถานภาพทางการเงินของตัวเองมากขึ้น โดย

  • 66% ของผู้บริโภคไทยเริ่มหันมาให้ความสำคัญในด้านการวางแผนการใช้เงิน
  • 54% เป็นห่วงถึงอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทย
  • และอีก 52% เริ่มมีความกังวลต่อสุขภาพของตนเอง

ซึ่งตัวเลขนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับผลการวิจัยผู้บริโภคของ กรุ๊ปเอ็ม ที่พบว่าพฤติกรรมการค้นหาแพ็คเกจประกันชีวิตหรือโปรแกรมที่รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงคุณภาพของ Group M กับผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศพบว่าคนไทยเริ่มมีความตระหนักและมีการกล่าวถึงโคโรนาไวรัสตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมโดยเฉพาะบนสื่อโซเชียลมีเดีย โดยมีการพูดถึงมากขึ้นภายหลังจากที่มีการเรียกชื่อไวรัสนี้ใหม่เป็น COVID-19 และมีความตื่นตัวหลังจากมีข่าวผู้เสียชีวิตรายแรก

ใช้ทวิตเตอร์พูดถึง COVID-19 มากสุด

ทั้งนี้ข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ระบุว่าระหว่างเดือนมกราคมจนถึงกลางเดือนมีนาคม มีการกล่าวถึงเรื่องเชื้อไวรัส COVID-19 จากผู้บริโภคชาวไทยมากกว่า 148 ล้านข้อความ โดยแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้ในการพูดและกล่าวถึงสถานการณ์นี้คือ Twitter อยู่ที่ 65% และอีก 20% อยู่บน Facebook

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่น่าสนใจของคนไทยภายหลังจากการที่ภาครัฐและเอกชนส่วนใหญ่ได้ร่วมมือกันรณรงค์ให้ประชาชนกักตัวและทำงานจากที่บ้านพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงในการใช้เวลาบนแพลตฟอร์มทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนหน้าอย่างเช่น เรื่องของฝุ่น PM2.5

พบว่าคนไทยมีการปรับตัวโดยพึ่งพาการใช้จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์และอีคอมเมิร์ซมากขึ้น โดย

  • 52% เริ่มสมัครดู Streaming แบบจ่ายเงิน
  • 44% เริ่มสั่งอาหารออนไลน์ (หรือสั่งมากขึ้น) ทั้งนี้การสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มผ่านช่องทางออนไลน์ได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 116%

จับตา 7 กลุ่มอุตสาหกรรม จะเปลี่ยนไปอย่างไร

ยานยนต์

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้มีการเลื่อนการจัดงานใหญ่ประจำปีอย่าง บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2020 ครั้งที่ 41 ออกไป ในทางกลับกันสำหรับมุมมองทางด้านเศรษฐกิจ พบว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะลดพฤติกรรมการใช้เงินลง และเริ่มที่จะวางแผนการใช้เงินอย่างรัดกุมมากกว่าปีที่ผ่านๆ มา จึงมีการคาดการณ์ว่าความต้องการในการซื้อที่มีต่อสินค้าหมวดยานยนต์จะลดลงกว่าปีที่แล้ว

การเลื่อนการจัดงานมอเตอร์โชว์ส่งผลให้โอกาสในการเข้าถึงแบรนด์ค่ายรถยนต์ต่างๆ ลดลง โดยแบรนด์ควรทำการปรับกลยุทธ์เพื่อเข้าหาผู้บริโภคที่ยังมีความต้องการซื้อผ่านการใช้ Search Engine Marketing รวมไปถึงการให้โปรโมชั่น และข้อเสนอที่น่าสนใจเพื่อที่จะทำการปิดการขายกับผู้บริโภคที่มีความสนใจอยู่แล้วให้เร็วที่สุด

อสังหาริมทรัพย์

การระบาดของไวรัสในระยะแรกที่ประเทศจีน ส่งผลถึงการหยุดสายงานผลิตเหล็กเส้นซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับโครงการก่อสร้างที่ต้องหยุดชะงักเนื่องจากการขาดวัสดุ รวมทั้งการเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งจากไทยและต่างประเทศ

 

สำหรับฝั่งผู้บริโภค เช่นเดียวกันกับผู้บริโภคในหมวดหมู่ยานยนต์ที่ผู้บริโภคไทยเริ่มที่จะลดการใช้เงิน และมีการวางแผนที่จะประหยัดเงินมากขึ้น และจากสถานการณ์ Lockdown ในขณะนี้ทำให้การเข้าถึงตัวแทนการขายเป็นไปได้ยากขึ้น แต่ทั้งนี้แบรนด์สามารถที่จะประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลแทนการโฆษณาแบบปกติ เช่น การใช้ Search Engine Marketing เพื่อเข้าถึงผู้ที่มีความต้องการซื้อโดยตรง และต่อเนื่องด้วยการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการขายผ่านทาง VDO Conference หรือ Short Video เพื่อให้คำแนะนำและพาชมสถานที่ในแบบ Virtual Reality แทนการไปชมสถานที่จริงคือช่องทางที่จะสามารถกระตุ้นยอดขาย

การท่องเที่ยวและบริการ

การเข้ามาของไวรัสโคโรนาได้ทำลายสถิติอุปสงค์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวในและต่างประเทศ ไปจนถึงนโยบายขององค์กรต่างๆ ที่ให้พนักงานงดการเดินทางไปต่างประเทศและต่างจังหวัดโดยไม่จำเป็น

ในสถานการณ์นี้แบรนด์จะต้องรักษาความน่าเชื่อถือและพร้อมรับฟังเสียงจากผู้บริโภคให้มากที่สุด และอย่างใจเย็นที่สุด เนื่องจากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่นนี้ส่วนมากจะมาพร้อมกับอารมรณ์ของผู้บริโภค และสามารถนำมาซึ่งกระแสดราม่าในทางลบให้กับแบรนด์ได้

ดังนั้นในทุกการสื่อสารที่ออกจากแบรนด์จะต้องมาพร้อมกับความโปร่งใส และความพร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและด้วยความจริงใจ ทั้งนี้แบรนด์สามารถปรับกลยุทธ์จากการใช้การสื่อสารเพื่อการตลาดไปเป็นการสื่อสารเพื่อองค์กรแทน และท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของไวรัสที่ยังคงมีอยู่ในตอนนี้ การสร้างความมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibilities และ Corporate Social Contributions) ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับแบรนด์

สินค้าความงาม และแฟชั่น

การ Lockdown มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค การปิดร้านค้าต่างๆ รวมถึงการที่ผู้บริโภคไม่สามารถที่จะออกไปใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตได้ในแบบปกติ เช่น การช้อปปิ้ง หรือการออกไปเสริมความงาม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อกลุ่มผู้หญิงและผู้ที่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ จริงอยู่ที่ว่าการใช้สินค้าในหมวดหมู่นี้อาจจะน้อยลง

แต่จากข้อมูลที่สำรวจมายังพบว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังคงมีความกังวลต่อภาพลักษณ์โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการประชุมผ่านระบบดิจิทัลจากที่บ้าน ถ้าไม่ได้มีการแต่งหน้าหรือแต่งตัวผู้บริโภคกลุ่มนี้จะไม่ยอมเปิดเผยใบหน้าที่แท้จริงผ่านวิดีโอคอลเลยเด็ดขาด ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีการทำงานจากที่บ้านก็ตามจะพบว่าผู้บริโภคยังคงมีความต้องการที่การแต่งหน้าและแต่งตัว ทั้งนี้เพื่อเป็นการคลายความเครียด และสามารถที่จะถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดีย

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการอยู่บ้านส่งผลถึงพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับความงาม และแฟชั่นที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดทั้งวัน ดังนั้นเมื่อพอว่าผู้บริโภคมีทั้งความต้องการในสินค้าและมีเวลาให้กับสื่อประเภทต่างๆ มากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่นักการตลาดไม่ควรปล่อยผ่านในการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ผ่านทั้งออนไลน์ร่วมกับออฟไลน์ โดยเฉพาะการใช้สื่อโทรทัศน์ผ่านรายการประเภทข่าวและรายการบันเทิง

นักการตลาดยังสามารถใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ การค้นหาข้อมูลออนไลน์ และโปรโมชั่นเพื่อสร้างโอกาสในเพิ่มยอดขาย และสามารถใช้โอกาสสร้างแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นในช่วง Lockdown ผ่านคอนเทนต์หรือการใช้กลยุทธ์สร้างแรงบันดาลใจผ่าน KOL ในช่วงทำงานที่บ้าน

เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคมีการลดลงการโปรโมทสินค้าที่เป็นแบบซองในร้านสะดวกซื้อต่างๆ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำหรับแบรนด์อีกด้วย

สินค้าอุปโภคบริโภค

การประกาศภาวะฉุกเฉินไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสินค้าในกลุ่มนี้มากนักเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนและอาหารถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค

ดังนั้นแบรนด์จึงต้องรักษาระดับการสื่อสารต่อผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และสร้างความความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่าจะไม่เกิดการขาดแคลนสินค้าผ่านการใช้สื่อดิจิทัลร่วมกับสื่อโทรทัศน์

ในช่วงที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสะอาดเป็นพิเศษ แบรนด์ยังสามารถเสริมเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างถูกสุขลักษณะ อีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ให้ผู้บริโภคได้เพลิดเพลินกับการใช้ชีวิตที่บ้านก็คือ การสร้างแรงบันดาลใจในบ้านผ่านการทำอาหารหรือการทำความสะอาดบ้าน

นอกจากการนี้การสร้างเครื่อข่ายหรือพันธมิตรกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจการขนส่งให้ทั่วถึงก็นับเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ด้วยเช่นกัน

ร้านอาหาร

นับเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ต้องส่งเสริมการให้บริการผ่านการซื้อ และบริการจัดส่งถึงบ้านแทนการรับประทานในร้านตามปกติ ซึ่งสำหรับมุมในเรื่องการจัดส่งถึงบ้าน ร้านอาหารที่อยู่ในหมวด QSR จะมีข้อได้เปรียบด้านประสบการณ์มากกว่าร้านอาหารทั่วไป

ทั้งนี้ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำการรักษามาตรฐานต่างๆ ทั้งการจัดส่ง ด้านคุณภาพ ด้านเวลา ด้านศูนย์บริการข้อมูลแก่ผู้บริโภค และด้านสุขอนามัยและความสะอาดซึ่งถือเป็นหัวใจของธุรกิจร้านอาหารในช่วยเวลานี้ การร่วมมือกับแพลตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์สามารถเพิ่มพื้นที่การให้บริการในการเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นอีกด้วย

 

แบรนด์จะต้องไม่ลืมเรื่องของการสร้างการจดจำ และรักษาการรับรู้ของผู้บริโภคผ่านการใช้สื่อโทรทัศน์และ Search Engine Marketing เพราะช่วงเวลานี้ผู้บริโภคจะทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้นกว่าสถานการณ์ปกติ

สำหรับร้านอาหารปกติสามารถนำเสนอโปรโมชั่นและส่วนลดพิเศษ เพื่อเป็นการดึงผู้บริโภคให้เกิดการกลับมาที่ร้านเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติได้อีกด้วย

ธนาคาร และสินค้าเทคโนโลยี

ภาวะฉุกเฉินถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางของผู้บริโภค แต่เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการและซื้อสินค้าทั้งหมดผ่านทางสมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย แบรนด์สามารถยกกลยุทธ์การให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลมาเป็นจุดขาย เพื่อสร้างประสบการณ์ความสะดวกสบายของระบบดิจิทัลแทนการใช้เงินสด โดยที่แบรนด์ต้องพัฒนาแพลตฟอร์มการใช้งานผ่านระบบดิจิทัลให้ง่ายต่อผู้บริโภคให้มากที่สุด

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้แบรนด์ยังควรที่จะเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงการให้บริการแบบตัวต่อตัวอย่าง Call Centre หรือ VDO Conference เมื่อลูกค้ามีปัญหาหรือมีความต้องการพิเศษ

สำหรับแบรนด์สินค้าประเภทเทคโนโลยี ควรจับมือกับการแฟลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชและบรรดาผู้ให้บริการการขนส่งเพื่อสร้างการเข้าถึงผู้บริโภค

]]>
1275105