i-Mobile – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 Nov 2017 03:49:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลุ่มสามารถ แจงปิดฉากถาวร สปอนเซอร์สนามฟุตบอล “ไอโมบาย” เหลือเพียงสปอนเซอร์เสื้อทีมบอล https://positioningmag.com/1146199 Fri, 10 Nov 2017 11:48:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1146199 เป็นเวลาประมาณหกปีที่ชื่อของ ไอโมบาย เป็นคำเรียกติดปากของทั้งคนบุรีรัมย์ และแฟนฟุตบอลที่มาเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล ว่า ไอโมบาย สเตเดียม สนามฟุตบอลประจำทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม (Thunder Castle Stadium) แต่ในวันนี้ ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนชื่อสนามเป็นครั้งแรก เพราะการปิดตัวของธุรกิจมือถือสัญชาติไทยที่เคยมียอดขายรวมแล้วเกือบ 40 ล้านเครื่องอย่างไอโมบาย ของกลุ่มบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น

วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ได้ยุติการเป็นสปอนเซอร์สนามฟุตบอลบุรีรัมย์อย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากบริษัทได้ยกเลิกกิจการมือถือแบรนด์ไอโมบายไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ยังเป็นสปอนเซอร์หลักให้ทีมฟุตบอลปราสาทสายฟ้า โดยเปลี่ยนจากโลโก้ไอโมบาย มาใช้ชื่อ “สามารถ แทน

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กลุ่มสามารถได้แถลงข่าวยุติการผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์ไอโมบาย ที่วางขายมาตั้งแต่ปี 2546 ในนามบริษัท สามารถ ไอโมบาย หลังจากรองรับการเปลี่ยนแปลงจากการแข่งขันในตลาดมือถือที่รุนแรงมากขึ้นไม่ไหว ทำให้บริษัทต้องประสบภาวะขาดทุน จนต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัทสามารถ ดิจิทัล

“เราเข้าไปเป็นสปอนเซอร์สนามแห่งนี้ เพราะเราต้องการสร้างแบรนด์ไอโมบายของเราให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ในฐานะแบรนด์ใหม่ของไทย ซึ่งถือว่าเราประสบความสำเร็จมาก แต่เมื่อเราปิดตัวธุรกิจและแบรนด์นี้ลงไป เราจึงต้องถอนตัวออกมา เพื่อเปิดทางให้รายใหม่เข้ามา” วัฒน์ชัยกล่าว

ตัวเลขของค่าใช้จ่ายในการเป็นสปอนเซอร์สนามแห่งนี้ แม้ไม่ได้มีการเปิดผยให้เป็นที่รับรู้ แต่ก็รู้กันในวงการว่า ในราคามาตรฐาน การสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่อปีจะตกที่ประมาณ 40 ล้านบาท แต่อาจจะมีส่วนลด หรือแพ็กเกจที่ตกลงกับเจ้าของสนามฟุตบอล คือสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด หรือชื่อเล่นว่า ทีมปราสาทสายฟ้า ในขณะที่ราคาการเป็นสปอนเซอร์ทีมฟุตบอล จะอยู่ในเรทที่ประมาณรายละ 10-20 ล้านบาทต่อปี โดยจะได้มีโลโก้ติดที่เสื้อนักกีฬา

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า สปอนเซอร์รายใหม่ของสนามฟุตบอลแห่งนี้ คาดว่าจะเป็น เบียร์ช้าง ของกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภัคดี ที่ปัจจุบันเป็นสปอนเซอร์สนามแข่งรถมูลค่ากว่าสองพันล้าน ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต หรือ บุรีรัมย์ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต (Buriram International Circuit ) สนามกีฬาอีกแห่งที่อยู่ติดกันของเนวินเช่นกัน

เนวินสร้างสนามกีฬาฟุตบอลแห่งนี้เมื่อปี 2555 ด้วยงบลงทุนกว่า 500 ล้าน เบื้องต้นมีความจุ 24,000 ที่นั่ง แต่ได้เพิ่มความจุ ปัจจุบันจุได้ 32,600 ที่นั่ง นับเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานในระดับสากล ถูกบันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่า ที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน ปัจจุบันสนามแห่งนี้นอกจากใช้เป็นที่แข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีผู้ชมเข้ามาซื้อตั๋วเข้าชมสนาม เหมือนสนามฟุตบอลใหญ่ๆ ในต่างประเทศอีกด้วย อีกทั้งเสื้อทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ ยังเป็นเสื้อทีมฟุตบอลที่ขายที่ดีสุดทีมหนึ่งในประเทศไทย

สำหรับธุรกิจไอโมบายนั้น ได้เข้าไปเป็นสปอนเซอร์สนามฟุตบอลในช่วงที่บริษัทขยายแบรนด์ ในปี 2555 เป็นช่วงขาขึ้นของตลาดมือถือ เป็นแบรนด์ของคนไทยที่ต่อกรกับแบรนด์ต่างประเทศ เช่น โนเกีย ซีเมนส์ ได้ในขณะนั้น มียอดขายมากกว่าล้านเครื่องต่อปี เช่นปีในปี 2550 ที่ไอโมบายเคยเคลมว่ามีส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับสองรองจากโนเกีย การเข้าไปเป็นสปอนเซอร์สนามฟุตบอลจึงเป็นการต่อยอดขยายตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างทั่วถึงในวงกว้าง

ปี 2556 เรียกได้ว่าเป็นช่วงพีคของไอโมบาย ที่ทำยอดขายมือถือสูงถึง  3.8 ล้านเครื่อง โดย 1.7 ล้านเครื่องเป็นเครื่องสมาร์ทโฟน มีกำไรสูงสุดอยู่ที่ 807 ล้านบาท จากรายได้รวมที่ 10,300 ล้านบาท โดยในปี  2557 ก็ยังคงเติบโตมีรายได้12,494 ล้านบาท แต่กำไรตกลงอยู่ที่ 710 ล้านบาท

แต่ในช่วงหลัง เมื่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เอไอเอส ดีแทค ทรู หันมาทำตลาดมือถือเฮาส์แบรนด์” ของตัวเอง ในราคาต่ำ ซึ่งเป็นตลาดเดียวกับไอโมบาย ที่ต้องเข้าสู่ขาลง ในปี 2559 รายได้หล่นลงเหลือ 3,461 ล้านบาท ขาดทุน 720 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ขาดทุนอีก 679 ล้านบาท

จนในที่สุดต้องยุติธุรกิขายมือถือ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ จากบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท สามารถ ดิจิตอล จำกัด หันไปทำดิจิทัล เน็ตเวิร์ค ในการทำ ดิจิทัล ทรังค์ เรดิโอให้กับ กสท โทรคมนาคม, ดิจิทัล คอนเทนต์,  IoT และธุรกิจกีฬา ในนาม iSport  เลิกการทำแบรนด์มือถือไอโมบาย และกิจการให้บริการมือถือเอ็มวีเอ็นโอ ทั้งชื่อไอโมบายและโอเพ่นทั้งหมด.

]]>
1146199
สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย ! กลุ่มสามารถ ปิดฉาก i-mobile ทรานฟอร์มสู่ ‘Samart Digital’ https://positioningmag.com/1142024 Mon, 02 Oct 2017 11:33:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1142024 กลุ่มสามารถประกาศเปลี่ยนชื่อกลุ่มธุรกิจสามารถไอโมบาย เป็น สามารถ ดิจิตอล (Samart Digital Company : SDC) ตามแผนการทรานฟอร์มธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่ Samart Digital Life ภายใต้ 5 สายธุรกิจ ครอบคลุมธุรกิจสื่อสาร คอนเทนต์ กีฬา บริหารทรัพย์สิน และ IoT

จากผลพวงของสภาพธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่นับวันดีกรีการแข่งขันจะดุเดือดยิ่งขึ้น ทั้งแบรนด์ข้ามชาติที่เข้ามาทำตลาด ประกอบกับการที่โอเปอเรเตอร์ก็เข้ามาทำตลาดเองด้วย ส่งผลให้ทางไอโมบาย ไม่สามารถสร้างรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้ต้องตัดสินใจเบนเข็มหนีจาก “red ocean” เพื่อหา “blue ocean” ใหม่อีกครั้ง

ธุรกิจจำหน่ายโทรศัพท์มือถือจะไม่ใช่ธุรกิจหลักต่อไป เมื่อธุรกิจไปไม่ได้ก็ต้องเริ่มเปลี่ยน เพราะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด เลยต้องมองหาธุรกิจใหม่มาทำ ในกลุ่มธุรกิจที่มีประสบการณ์ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังไม่มีคู่แข่ง วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว

ทั้งนี้ กลุ่มสามารถ เริ่มเข้ามาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือมาตั้งแต่ปี 1997-1998 หรือเกือบๆ 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การนำซีเมนส์ โนเกีย อีริคสัน ซัมซุง จนมาสร้างแบรนด์ ไอโมบาย ที่จะเริ่มปิดฉากลง เพราะไม่สามารถไปแข่งกับโอเปอเรเตอร์ที่ทำการลดราคาค่าเครื่อง โดยสร้างรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์แทน

การทำธุรกิจของบริษัท สามารถ ดิจิตอล จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับการอนุมัติการเปลี่ยนชื่อบริษัท เมื่อ 27 กันยายนที่ผ่านมา จะรุกเข้าไปใน 5 สายธุรกิจ ประกอบด้วย 1.Digital network ที่ให้บริการด้านการสื่อสารผ่านระบบดิจิตอล ทั้งโทรศัพท์มือถือ และวิทยุ Trunk Radio 2.Digital Content ให้บริการคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ กิน ดื่ม เที่ยว (EDT) ดูดวง 3.iSport ที่จะเน้นธุรกิจกีฬาครบวงจร 4.Zazzet ให้บริการขายฝากสินทรัพย์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ 5.IoT ในการจำหน่ายอุปกรณ์เสริม

เบื้องต้น กลุ่มสามารถฯ วางเป้าหมายในการทรานฟอร์มบริษัทไว้ภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อให้สามารถ ดิจิตอล ขึ้นมาเป็นรายได้หลักของบริษัท โดยจะเริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงต้นปี 2561 ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับทาง กสท โทรคมนาคม ให้บริการวิทยุ Trunk Radio ภายใต้งบลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท

รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจคอนเทนต์ในกลุ่ม EDT ที่จะเน้นการให้บริการมากขึ้น จากเดิมเน้นเฉพาะรายได้จากโฆษณาเป็นหลัก ไม่นับรวมกับธุรกิจใหม่ที่สร้างขึ้นมาอย่าง Zazzet ที่เริ่มให้บริการขายฝากทรัพย์สินที่เริ่มให้บริการไปแล้ว และการจำหน่ายอุปกรณ์เสริมในธุรกิจ IoT

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของรายได้ของกลุ่มสามารถในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่เกือบๆ 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากใน สายธุรกิจโมบายและมัลติมีเดีย (Mobile-Multimedia) คาดว่าจะสร้างรายได้ราว 3 พันล้านบาท จากที่ตั้งเป้าไว้ 4.5 พันล้านบาท ส่วนธุรกิจอื่นๆยังตามเป้าหมายที่วางไว้

ที่มา : mgronline.com/Cyberbiz/detail/9600000100616

]]>
1142024
ปรับครั้งใหญ่! “ไอ-โมบาย” ปั้นแบรนด์ Open จับค้าปลีกมาเจอกับ Non-Mobile https://positioningmag.com/62946 Tue, 05 Apr 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62946
ท่ามกลางการแข่งขันของตลาดสมาร์ทโฟนที่ทวีความดุเดือดขึ้นทุกวัน อีกทั้งฟากฝั่งของโอเปอเรเตอร์ก็หันมาจับตลาดทำสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ของตนเอง ทำให้ “ไอ-โมบาย” ที่เคยเติบโตมากับตลาดนี้จำเป็นต้องหาจุดยืนของตัวเองเสียใหม่เหมือนกัน ในช่วงที่ผ่านมานี้จึงไม่ค่อยได้เห็นความเคลื่อนไหวของไอ-โมบายมากเท่าที่ควร
 
แต่ในปีนี้ถือเป็นบิ๊กมูฟครั้งสำคัญของสามารถ ไอ-โมบายในการที่ก้าวเท้าออกจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียว แต่รุกธุรกิจ Non-Mobile มากขึ้น เพื่อวางคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ให้เป็น Digital Living พร้อมทั้งได้แม่ทัพคนใหม่ที่เป็นเจ้าพ่อวงการค้าปลีก “จักรกฤช จารุจินดา” อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด ขึ้นแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สามารถ ไอ-โมบาย ที่ได้มานั่งเก้าอี้ 3 เดือนแล้ว
 
 
การบ้านชิ้นแรกที่จักรกฤชได้รับมอบหมายให้ทำก็คือการ “พลิกโฉม” ไอ-โมบาย เพื่อให้เป็นที่รับรู้ของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาแบรนด์ค่อนข้างเงียบ และมีภาพลักษณ์ที่เป็นสมาร์ทโฟนราคาถูก การพลิกเกมของจักรกฤชจึงเริ่มต้นจากงานถนัดก่อนเพื่อนเลยก็คือเรื่อง “ค้าปลีก” ขยายจากโทรศัพท์มือถือสู่สินค้าและบริการอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสในการหารายได้เพิ่มขึ้น และให้แบรนด์ใกล้ชิดผู้บริโภค
 
จึงเปิดร้านค้าปลีกในชื่อ “Open Shop” ร้านไลฟ์สไตล์ที่รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ แกดเจ็ต และแตกแบรนด์ย่อยเป้นสินค้าและบริการอีก ได้แก่ O’Life ชุดกีฬา O’Fix ศูนย์ซ่อมมือถือทุกยี่ห้อ O’Pay รับชำระบิลค่าสินค้าและบริการ O’Money บริการโอนเงินต่างประเทศ ผ่านบัตรเติมเงินมือถือ O’café ร้านกาแฟ และ O’Top Up ตู้เติมเงิน 
 
ในช่วงแรกจะทยอยปรับเปลี่ยนจากชอปของไอ-โมบายที่มี 30 สาขา เป็น Open Shop ภายในสิ้นปีนี้ และจะขายแฟรนไชส์อีก 30 สาขา
 
 
“จริงๆ ธุรกิจนี้เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ท้าทาย โจทย์แรกที่ได้มาก็คือ ไอ-โมบายถึงเวลาในการปรับภาพลักษณ์แล้ว จึงเข้ามาพลิกโฉมให้ใหม่ เลยมองว่าค้าปลีกเป็นส่วนที่ง่ายที่สุด เพราะทำแล้วได้เงินเลย จึงเอามาเสริมให้ไอ-โมบาย ตอนนี้ถือว่าได้กำหนดทิศทางมาชัดเจนแล้ว เพียงแต่อาจจะอยู่ในการทดลองตลาด จะต้องมีการปรับเปลี่ยนระหว่างทางเรื่อยๆ ในอนาคตจะมีการรีแบรนด์ให้ไอ-โมบายด้วย เพื่อสลัดภาพของแบรนด์โทรศัพท์มือถืออย่างเดียว แต่อาจจะอีกสักพัก ต้องรอเวลาที่เหมาะสมก่อน” จักรกฤชกล่าวถึงความท้าทายในเก้าอี้ใหม่
 
ทำให้โครงสร้างของธุรกิจของสามารถ ไอ-โมบายเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เหลือเพียงแค่ 2 ธุรกิจหลักก็คือ โมบายล์ และนอน-โมบายล์ ซึ่งธุรกิจนอน-โมบายล์ได้รวมธุรกิจดิจิทัล คอมเมิร์ซ และร้าน Open Shop ล่าสุดได้เข้าไปซื้อธุรกิจ Phoinikas ทำธุรกิจดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เพื่อเสริมศักยภาพตรงนี้มากขึ้น จากเดิมที่บริษัทแบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจโมบายล์, มัลติมีเดีย และบริการเครือข่าย
 
สำหรับทิศทางของธุรกิจโมบายล์ หรือโทรศัพท์มือถือ จะมีการออกจำนวนรุ่นน้อยลง จากที่ 2 ปีก่อนมีการออกเฉลี่ยปีละ 47 รุ่น แต่ปีนี้จะออกเพียงแค่ 10 รุ่นเท่านั้น ในระดับราคาไม่เกิน 7,000 บาท วางจุดยืนให้อยู่ในระดับกลาง และใช้กลยุทธ์เจาะตลาดพิเศษเฉพาะกลุ่ม อย่างเช่น กลุ่มคนฟังเพลง กลุ่มคนดูหนัง จะไม่ได้จับกลุ่มแมสอีกต่อไป และจับกลุ่มเป้าหมายที่เด็กลงให้อยุ่อายุ 25 ปีขึ้นไป
 
รายได้ของสามารถ ไอ-โมบายในปี 2558 มีจำนวน 7,000 ล้านบาท ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้รวม 8,000 ล้านบาท เติบโต 10% แบ่งเป็นโมบายล์ 6,500 ล้านบาท และนอน-โมบายล์ 1,500 ล้านบาท หรือในสัดส่วน 80 : 20 ภายใน 3 ปีตั้งเป้าสัดส่วนรายได้เป็น 50 : 50 และจะต้องมีรายได้มากกว่า 15,000 ล้านบาท
 
 
 
 
 
 
 
 

]]>
62946