iPrice – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 28 Sep 2020 01:16:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิด 11 เทคนิคการทำ SEO ปรับโครงสร้างเว็บไซต์ให้เตะตา Google https://positioningmag.com/1288349 Sun, 27 Sep 2020 17:08:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288349 iPrice ร่วมกับ Team Digital เปิดผลสำรวจคอร์สการตลาดออนไลน์ยอดนิยม พบว่า Facebook Ads คือเทรนด์การตลาดมาแรงที่อาจช่วยกู้ภัย COVID-19 ได้ รวมถึงการทำ SEO ก็นิยมไม่แพ้กัน

เพราะ Facebook Ads และ SEO เป็นคอร์สที่ได้รับความนิยมสูงสุด iPrice จึงได้สัมภาษณ์คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Team Digital เพื่อสอบถามเทรนด์ประจำปี 2020 เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ประกอบการที่สนใจ Digital Marketing ทั้งสองรูปแบบนำไปประยุกต์ใช้งานฝ่าวิกฤต COVID-19 ไปด้วยกัน ดังนี้

อ.ต้น จตุพล ทานาฤทัย ผู้ก่อตั้ง ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สอนคอร์ส SEO สถาบัน Team Digital เผยว่า

“เทรนด์ SEO กู้ภัย COVID-19 ตอนนี้ควรเน้นเพิ่ม Organic Search Traffic ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการเขียนบทความถือเป็นเคล็ดลับดั้งเดิมที่ยังได้ผลชะงัด แม้จะยังไม่มีตำราบอกกฎตายตัวว่าหนึ่งบทความควรมีความยาวเท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด แต่ก็ควรทำ Research เล็กๆ ก่อนเขียน เช่น นำคีย์เวิร์ดหลักไปค้นหาใน Google แล้วจับเว็บไซต์ Top 10 มาหารเฉลี่ยความยาวของบทความ เป็นต้น

และนอกจากใส่คีย์เวิร์ดหลักเข้าไปใน H1 แล้ว อย่าลืมตั้งค่า H2-H6 (คล้ายกับคำถามที่พบบ่อย หรือหัวข้อย่อย) ลงไปด้วย  ในปัจจุบันการค้นหาด้วยเสียงผ่านผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Siri หรือ Google Assistant และอื่น ๆ กำลังได้รับความนิยม (สถิติในสหรัฐอเมริกาพบมากถึง 50%) โดยการค้นหาด้วยเสียงนี้ Google จะเน้นหาผลลัพธ์จาก Featured Snippet ซึ่งเป็นข้อความสั้นๆ บนเว็บไซต์ที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

11 เทคนิค ปรับโครงสร้างเว็บไซต์ให้เตะตา Google

1. Mobile-Friendliness

ระบบเว็บไซต์ที่รองรับการแสดงผลบนมือถือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ใช้งานหน้าเว็บ (Page Experience) ที่ Google ใช้ในการจัดอันดับเว็บต่างๆ

2. HTTPS Security (SSL)

การเข้ารหัสความปลอดภัยข้อมูลของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ใช้งานหน้าเว็บ (Page Experience) ที่ Google ใช้ในการจัดอันดับเว็บต่างๆ

3. Page Speed

ความเร็วของการโหลดหน้าเว็บ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ Google ใช้ในการจัดอันดับ ได้รับความนิยมหลังจาก Google อัปเดต Algorithm ที่ชื่อว่า Mobile Speed Update ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นมา

4. Technical SEO

การปรับโครงสร้างทางเทคนิคของเว็บไซต์ เพื่อให้ Google Bot เข้ามาบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น

5. Search Intent หรือ Keyword Intent

วิธีการเขียนคอนเทนต์ตามคีย์เวิร์ดหรือความต้องการของผู้ใช้งาน Google โดยยึดหลัก SEO และใส่คอนเทนต์นั้น ๆ เข้าไปในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ (Keyword Mapping) เช่น หน้าโฮมเพจ, หน้าหมวดหมู่, หน้าสินค้า, หน้าบทความหรือ Blog และหน้าที่เสนอบริการฟรี ๆ ให้ลูกค้า เป็นต้น

6. Core Web Vitals

หน้าเว็บที่มอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ โดยมุ่งเน้นด้านการโหลด การโต้ตอบ และความเสถียรของภาพ ประกอบด้วย Largest Contentful Paint (LCP) คือการวัดประสิทธิภาพการโหลด, First Input Delay (FID) คือการวัดการโต้ตอบ และ Cumulative Layout Shift (CLS) คือการวัดความเสถียรของภาพ ซึ่ง Google จะนำเอา Core Web Vitals มาเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ใช้งานหน้าเว็บ (Page Experience) ที่ใช้ในการจัดอันดับเว็บต่าง ๆ ในปี 2021

7. RankBrain

Algorithm ของ Google ที่เป็น AI โดยจะประมวลผลจากประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ (UX signals) ที่มีต่อผลการค้นหา (SERP) ของ Google การปรับเว็บไซต์และคอนเทนต์ให้เข้ากับ RankBrain เป็นสิ่งสำคัญถ้าอยากให้เว็บไซต์ติดอันดับดี ๆ เป็นเวลานาน

Photo : Shutterstock
8. Schema Mark Up

การเขียนโปรแกรมหรือ Coding เข้าไปในเว็บไซต์ เพื่อให้ Google แสดงข้อมูลจากเว็บไซต์ได้มากขึ้น เช่น คะแนนรีวิว, จำนวนการรีวิว, วัน, เวลา และราคา เป็นต้น เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ และเพิ่มอัตราการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์จากผลการค้นหา (SERP) ของ Google

9. E-A-T Rating

ย่อมาจาก E = Expertise คือความชำนาญหรือเชี่ยวชาญ, A = Authoritativeness คือการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และ T = Trustworthiness คือความน่าเชื่อถือ E-A-T Rating จึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ สำหรับ SEO และการเพิ่ม Conversion Rate ในตอนนี้

10. Link Building & Social Signals

ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการทำ SEO ยิ่งคุณภาพของเว็บไซต์ที่สร้างลิงก์ให้มีความน่าเชื่อถือมากเท่าไหร่ Google ยิ่งจัดอันดับให้เว็บไซต์ของลิงก์ปลายทางน่าเชื่อถือมากเท่านั้น รวมถึง Backlinks จาก Social Media ด้วย

11. Conversion Rate Optimization

การปรับเว็บไซต์เพื่อให้เกิด Conversion เพิ่มมากขึ้น บางเว็บไซต์ติดอันดับ SEO ดี แต่รายได้ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการทำธุรกิจไม่มาก็ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ

]]>
1288349
เปิดเทรนด์ 5 คอร์สการตลาดออนไลน์ยอดฮิตช่วง COVID-19 คนไทยเรียน Facebook Ads มากสุด https://positioningmag.com/1288347 Fri, 28 Aug 2020 15:25:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288347 iPrice ร่วมกับ Team Digital เปิดผลสำรวจคอร์สการตลาดออนไลน์ยอดนิยม พบว่า Facebook Ads คือเทรนด์การตลาดมาแรงที่อาจช่วยกู้ภัย COVID-19 ได้  

โดยที่ iPrice Group จับมือกับ Team Digital (บริษัท ทีมดิจิทัล จำกัด) สถาบันจัดอบรม สัมมนาการตลาดออนไลน์ เผยเทรนด์ Digital Marketing ฝ่าวิกฤต COVID-19 จับตลาด New Normal ให้อยู่หมัด ซึ่งก็เป็นไปตามคาดว่า ความสนใจในตัว Facebook Ads ของคนไทยดูจะมีมากกว่าการตลาดออนไลน์ประเภทอื่น โดยมีผู้เข้าอบรม 22.81% แบ่งเป็นนามบริษัท 38% และในนามบุคคล 62%

5 อันดับคอร์สการตลาดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

จากข้อมูลของ Team Digital พบว่า นอกจากคอร์ส Facebook Ads แล้ว คนไทยยังสนใจคอร์สการตลาดออนไลน์อื่นๆ เพิ่มเติม โดยมี 5 อันดับคอร์สที่ได้รับความนิยมสูงสุดดังนี้

Facebook Ads

มีผู้สนใจเลือกเรียนสูงถึง 22.81% ในจำนวนคอร์สทั้งหมด 9 ประเภท เพราะ Facebook เป็น Social Media ที่คนไทยเลือกใช้ในการแชร์ข้อมูล เรื่องราว รวมไปถึงการหารายได้มากที่สุด ถึงแม้ Facebook จะมีช่องทางแชทด้วย แต่ส่วนใหญ่คนไทยจะเลือกใช้งาน LINE แยกต่างหากเพื่อการแชทมากกว่า การทำ Digital Marketing ผ่านช่องทาง LINE จึงมีบทบาทที่สำคัญไม่ต่างกัน

อ.วุธ สรกฤช พิชยดนัยกุล ผู้เชี่ยวชาญและผู้สอนคอร์ส Facebook Ads & Marketing ของ Team Digital เผยว่า “เมื่อการตลาดออฟไลน์โดนมรสุม COVID-19 เล่นงาน ผู้ประกอบการจึงปรับเข้าหาการตลาดออนไลน์มากขึ้น” การยิง Facebook Ads จึงเป็นเหมือนการลงทุนเพื่อให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเห็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการของคุณมากที่สุด แต่การจะยิง Facebook Ads ให้คุ้มค่า ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายก็ควรต้องตามกฎระเบียบ และ Algorithm อัพเดตใหม่ๆ และบ่อยครั้งของ Facebook ให้ทัน ด้วยเหตุนี้ ผู้สนใจเรียนทั้งในนามองค์กรและบุคคลจึงเลือกเรียนคอร์ส Facebook Ads มากที่สุด

SEO

เป็นคอร์สที่ได้รับความนิยมรองจาก Facebook Ads มีผู้ร่วมอบรมคิดเป็น 15.35% ของคอร์สเรียนทั้งหมด สำหรับผู้ที่เคี่ยวกรำในวงการ SEO จะรู้ดีว่า การทำ SEO ไม่ใช่เพียงการเลือกคีย์เวิร์ดมาเขียนบทความ หรือทำคลิป YouTube เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการปรับโครงสร้างต่างๆ บนเว็บไซต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ Google Bot เข้ามารวบรวมและบันทึกข้อมูลของเว็บไซต์ และมอบคะแนน SEO ให้กับเว็บไซต์มากขึ้น อันตามมาด้วยการติดหน้าแรกๆ บน Google

อ.ต้น จตุพล ทานาฤทัย ผู้ก่อตั้ง (Founder) ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สอนคอร์ส SEO ของสถาบัน Team Digital บอกว่า “การทำ Search Marketing เพื่อกู้ภัย COVID-19 ตอนนี้ควรเน้น Organic Search Traffic จากการทำ SEO มากกว่า Paid Search Ads เพื่อประหยัดงบประมาณให้องค์กร และต้องปรับโครงสร้างเว็บไซต์ให้เข้าตากรรมการอย่าง Google Bot อีกด้วย”

Photo : Shutterstock

Advanced Digital Marketing

เป็นคอร์สสอนการวางกลยุทธ์ให้ครอบคุลมการทำการตลาดออนไลน์ ส่วนใหญ่ผู้สนใจเข้าร่วมคอร์สนี้มักมีพื้นฐานเบื้องต้นมาบ้างแล้ว แต่ต้องการทราบทฤษฎีและกลยุทธ์การวางแผนเพิ่มเติม คอร์สนี้จึงมีผู้สนใจเป็นอันดับที่สาม คิดเป็น 14.5% ของผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด และยังเป็นคอร์สที่มีผู้เรียนนามบริษัทมากที่สุดอีกด้วย

LINE OA หรือ LINE Official Account

เมื่อก่อนอาจดูเหมือนง่ายหากต้องการทำการตลาดผ่าน LINE แต่เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา LINE อัพเดตเป็น LINE OA ที่มาพร้อมฟีเจอร์มากมาย แต่ก็มาพร้อมค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย การที่ LINE เป็นแอปฯ ที่คนไทยเลือกใช้บริการแชทมากที่สุดทำให้ผู้ประกอบการน้อยใหญ่ยังนิยมลงทุน และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตอบแทนคุ้มค่าที่สุด การตามเทรนด์ฟีเจอร์อัพเดตของ LINE OA จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

Shopee/Lazada

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ตีตลาดไทยได้อยู่หมัด ผู้ค้าน้อยใหญ่ล้วนพากันหารายได้จากการวางขายสินค้ากับทั้งสองแพลตฟอร์มนี้ กลายเป็นเทรนด์ค้าขายที่เข้ามาตีตลาดออนไลน์ในไทยแบบไม่ทันตั้งตัว ยิ่งในช่วงปิดประเทศป้องกัน Covid-19 ที่ทำให้ผู้ค้าออฟไลน์ขาดรายได้ แพลตฟอร์มขายสินค้าทั้งสองนี้จึงเป็นเหมือนตัวช่วยหารายได้ คอร์สนี้จึงมีผู้เข้าร่วมอบรมมากเป็นอันดับที่ 5 (10.87%)

ดูเนื้อหาเต็มได้ที่ iPrice Thailand

]]>
1288347
“ไทย” ยึดแชมป์ส่งสินค้าธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” เร็วสุดในอาเซียน https://positioningmag.com/1241242 Fri, 02 Aug 2019 12:17:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241242 การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซนอกจากมีปัจจัยหนุนจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลแล้ว จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการขนส่งมาช่วยเสริมศักยภาพอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อย่างต่อเนื่อง

ผลสำรวจของ Google&Temasek ระบุว่าปี 2025 มูลค่าอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจแตะ 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ งานวิจัยของ iPrice เรื่องเทรนด์สายงานอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า อัตราการจ้างงานในสายอาชีพนี้เพิ่มขึ้น 40.7% จากปี 2016 ถึงปี 2018

ปัจจัยสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ “เติบโต” มาจากกระบวนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและน่าเชื่อถือตรวจสอบได้ ถือเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการสั่งซื้อสินค้าผ่านช้อปปิ้ง ออนไลน์

“อีคอมเมิร์ซ” ไทยส่งเร็วสุด 2.5 วัน

iPrice ร่วมมือกับ Parcel Perform ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ในด้านการเช็กสถานะสินค้าให้กับบริษัทขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซกว่า 600 รายทั่วโลก รายงานความพึงพอใจของลูกค้าอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากผลสำรวจลูกค้า 80,000 คน ทั้งในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ไทยเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีระบบขนส่งสินค้าเร็วที่สุดเฉลี่ย 2.5 วัน ขณะที่มาเลเซียใช้ระยะเวลาขนส่งสินค้านานที่สุดโดยเฉลี่ย 5.6 วัน หากนับระยะเวลาขนส่งโดยเฉลี่ยทั่วทั้งภูมิภาคจะอยู่ที่ 3.8 วัน

อินโดนีเซีย เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีค่าเฉลี่ยระยะเวลาขนส่งสินค้าตามมาตรฐานอีคอมเมิร์ซอาเซียน อยู่ที่ 3.8 วัน นับเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ เพราะอินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะจำนวนมาก มีประชากรมากที่สุดและการจราจรติดขัดมากที่สุด ขณะที่สิงคโปร์ประเทศมีพื้นที่เล็กที่สุดในภูมิภาคแต่มีระยะเวลาขนส่งสินค้าเฉลี่ยถึง 3.3 วัน

3 ประเทศลูกค้าพอใจจัดส่งสินค้า

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 34% ของผู้บริโภค เห็นว่าการจัดส่งพัสดุยังคงเป็น “จุดด้อย” ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กว่า 90% มีคำร้องเรียนและข้อเสนอแนะเชิงลบจากลูกค้าเกี่ยวกับการจัดส่ง “ล่าช้า” รวมไปถึงการสื่อสาร และการติดตามพัสดุ ซึ่งการจัดส่งพัสดุที่รวดเร็วมักสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

หากเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้พบว่า ลูกค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศสิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ได้รับความพึงพอใจกับกระบวนการจัดส่งสินค้ามากกว่าลูกค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

การจัดส่งสินค้า “รวดเร็ว” มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า หากเวลาส่งสินค้ามากขึ้น ความพึงพอใจจะลดลง 10 – 15% ในแต่ละครั้ง โดยมีลูกค้า 34% ในอาเซียนไม่ประทับใจการบริการขนส่งสินค้าปัจจุบัน

พบว่าการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าด้านการคาดคะเนระยะเวลาการขนส่งสินค้า และอัพเดตการขนส่ง และสามารถดำเนินการได้ตามกำหนดเวลาจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้าได้

อย่างไรก็ตาม มีการร้องเรียนจากลูกค้ากว่า 90% ที่มาพร้อมคำติชมในด้านลบ ทั้งความล่าช้าในการจัดส่งสินค้า การไม่ติดต่อสื่อสารในเรื่องสถานะของสินค้า รวมไปถึงคุณภาพสินค้าที่ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง ส่วนใหญ่ร้านค้าจะรับผิดชอบด้วยการคืนเงิน หรือเปลี่ยนสินค้า ซึ่งกว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้าที่ตนเองต้องการจริงๆ อาจต้องเสียเวลาเป็นสองเท่า บางกรณีอาจนานเป็นเดือน

เขียนและวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล

]]>
1241242
ค้าขายอีคอมเมิร์ซต้องรู้ จับตา 3 ไฮไลต์ แพลตฟอร์มไหนมาแรง https://positioningmag.com/1207052 Tue, 08 Jan 2019 07:58:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1207052 มาดูกันว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาไฮไลต์ที่เกี่ยวกับธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” มีอะไรกันบ้าง เพราะธุรกิจนี้กราฟจะขึ้นหรือลงมักจะเกิดจากปัจจัยหลายด้านหลอมรวมกัน เช่น เทศกาลปีใหม่ ช่วงหยุดยาว และแคมเปญต่างๆ ซึ่ง iPrice ได้รวบรวมไฮไลต์สำคัญแห่งปี โดยแบ่งเป็น 3 เรื่องที่น่าสนใจ

1) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับการค้นหามากที่สุดในประเทศไทย 2) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในประเทศไทย และ 3) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง มาดูกัน!

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับการค้นหามากที่สุดในประเทศไทย

  • Lazada เลื่อนแคมเปญ Lazada Birthday ช้าลง 1 เดือน แต่ผลตอบรับมากกว่าเดิม

โดยปกติแล้วแคมเปญ Lazada Birthday มักทุกจัดขึ้นในเดือนมีนาคมของทุกปี แต่ไม่ใช่ในปี 2561 ที่ Lazada ประกาศเลื่อนการเฉลิมฉลองออกไปเป็นวันที่ 25-27 เมษายน 2561 อย่างไรก็ตาม กระแสตอบรับก็ใช่ว่าจะลดลงแต่อย่างใด จากการเก็บข้อมูลโดยใช้ Google Trends พบว่า แคมเปญ Lazada Birthday คือแคมเปญที่มีผู้ค้นหาข้อมูลมากที่สุดแห่งปี ต่างจากข้อมูลเมื่อปี 2560 ที่เทศกาล 11.11 Sale และ 12.12 Sale เป็นแคมเปญที่มีผู้ค้นหาข้อมูลมากที่สุด

  • JD Central เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561

หลังข่าวจับมือกันระหว่าง JD.com และ Central โดยร่วมกันถือหุ้นคนละครึ่ง และก็ถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการของร้านค้าอีคอมเมิร์ซลูกผสมนาม JD Central เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา จากการเก็บข้อมูล Map of E-commerce Q3 พบว่า ร้านค้าอีคอมเมิร์ซน้องใหม่นี้มีการเติบโตหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นถึง 3200%, ลำดับของจำนวนการดาวน์โหลดแอปเพิ่มขึ้นมา 2-3 เท่าตัว, จำนวนผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% (Facebook, Line และ IG) และมีจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นกว่า 35% (จาก 79 เป็น 107 คน)

  • เทศกาล 12.12 Sale ชนะเทศกาล 11.11 Sale

เป็นอีกหนึ่งปีที่มีผู้ค้นหาข้อมูลในเทศกาล 12.12 Sale มากกว่า 11.11 Sale จากการเก็บข้อมูลโดย Google Trends ทั้งๆ ที่ถ้ามองโดยภาพรวมแล้วเหมือนผู้คนจะให้ความสนใจในเทศกาล 11.11 Sale มากกว่า ไม่ว่าจะด้วยการเฉลิมฉลองวันคนโสดก็ดี หรือการจัดอีเวนต์ก่อนก็ตาม แต่อาจเป็นเพราะเดือนธันวาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปีที่เหล่านักช้อปต่างพากันหาซื้อของขวัญสำหรับวันพ่อ วันคริสต์มาส หรือวันขึ้นปีใหม่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงไม่แปลกที่การรอซื้อสินค้าลดราคาอีกสักนิดจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในประเทศไทย

หากจะถามว่าร้านค้าอีคอมเมิร์ซไหนที่มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากที่สุด คงไม่แปลกที่หลายคนจะคาดเดาได้ว่าต้องเป็น ‘Lazada’ อย่างแน่นอน แม้ปีนี้คำตอบจะยังคงเหมือนเดิม แต่ iPrice ก็จับประเด็นที่น่าสนใจมาวิเคราะห์ให้ลองจับตามองกัน

Lazada

ร้านค้าเจ้าถิ่นที่กระแสไม่เคยตก เก็บข้อมูลครั้งใดกราฟก็แสดงผลนำอยู่เสมอ มาปีนี้แม้ผลจะชี้ชัดการเป็นผู้นำอยู่ แต่ช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมยอดผู้เข้าชมสินค้ากลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด (แม้จะกลับมาเพิ่มขึ้นเหมือนเดิมหลังจากนั้น) จากผลการศึกษาข้อมูลอาจสามารถวิเคราะห์ได้หลายประเด็น อาทิ การจัดแคมเปญที่ไม่ตอบโจทย์นักช้อปในช่วงเวลาดังกล่าว, พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยเลือกซื้อสินค้าทางออฟไลน์หรือร้านค้าออนไลน์ที่จำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะมากกว่า, อาจเป็นไปได้ที่ค่านิยมของการใช้บริการแบบ B2C ลดลง เพราะนักช้อปชื่นชอบบริการแบบ C2C ที่ร่นระยะห่างระหว่างผู้ค้ากับผู้บริโภคมากกว่า หรือจริงๆ แล้วการที่ JD Central เปิดตัวส่งผลกระทบกันแน่ อันนี้คงต้องจับตามองกันต่อไป

Shopee

มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์สูงขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นประเด็นที่น่าจับตามองมากที่สุดในปี 2561 เลยก็ว่าได้ เพราะจากข้อสันนิษฐานประเด็นที่ Lazada มียอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ลดลงช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นจังหวะเดียวกับที่ Shopee เริ่มมีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน จากที่ต้นปีช่วงเดือนมกราคมจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ต่างกันประมาณ 40 ล้านคน แต่เมื่อลองนำข้อมูลส่งท้ายปีช่วงเดือนพฤศจิกายนมาเปรียบเทียบพบว่า มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ของ Shopee เพิ่มขึ้นต่างจาก Lazada เพียง 23 ล้านคนเท่านั้น ถือเป็นข้อมูลที่น่าติดตามว่ากราฟของ Shopee จะพุ่งขึ้นไปแตะ Lazada เมื่อไหร่? ไม่แน่ว่าอาจเป็นปี 2562 นี้ก็เป็นได้

Zilingo

ร้านค้าสายแฟชั่นที่เมื่อมกราคม 2561 มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์อยู่ที่ 485,500 คน แต่จากการเก็บข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน พบว่า มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นราว 3 เท่าตัว หรือกว่า 188% โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากที่สุดอยู่ที่ 4,902,300 คน และเมื่อนำข้อมูลจาก Map of E-commerce ไตรมาสที่ 2 และ 3 มาเปรียบเทียบกันยังพบอีกว่า นอกจากจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่มากขึ้นแล้ว การจัดอันดับทางแอปพลิเคชั่น (PlayStore) Zilingo ยังขยับจากอันดับที่ 11 มาเป็นอันดับที่ 5 ในไตรมาสที่ 3 อีกด้วย ถือเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซสายแฟชั่นที่น่าจับตามองว่าในปี 2562 Zilingo จะมีไม้เด็ดอะไรเผยออกมาให้ชมอีกบ้าง

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปี 2561 ถือเป็นปีทองอีกปีหนึ่งสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญส่งท้ายปีคือ Tokopedia ได้รับเงินระดมทุนกว่า 1.1 พันล้านจากอาลีบาบาและซอฟท์แบงก์ เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ถือเป็นอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่สัญชาติอินโดนีเซียที่เป็นหนึ่งในกำลังขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคให้น่าจับตามองยิ่งขึ้น ยังไม่นับ Bukalapak ที่ก้าวขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นอันดับที่ 4 ของอินโดนีเซียอีกด้วย และยังมีอีก 2 ประเด็นที่น่าจับตามองในปี 2562 ได้แก่ การที่ Shopee ขยับเข้าใกล้ Lazada ถึง 66% จากข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2561 และจำนวนผู้เข้าชมแพลตฟอร์มร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 10 อันดับแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้น 53% โดยเฉลี่ยในปี 2561


ขั้นตอนการศึกษา

  • เก็บข้อมูลจาก Google Trends ประจำปี พ.ศ. 2561 โดยใช้คีย์เวิร์ดเป็น 5 ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ได้รับการค้นหามากที่สุดแห่งปี ใช้ค่า Search Interest Index เป็นค่าดัชนีที่บ่งชี้ถึงความสนใจในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซนั้นๆ ใน Google ซึ่ง 100 หมายถึงมีค่าความสนใจสูงสุด และ 0 คือมีค่าความสนใจต่ำที่สุด
  • เก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์จาก SimilarWeb ในแต่ละเดือนทั้งจากภูมิภาค และประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2561

เขียนและวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล iPrice

]]>
1207052
เปิดที่มา ผู้ร่วมก่อตั้งอาลีบาบา ภูมิหลัง-ความสัมพันธ์ กว่าจะเป็นธุรกิจมูลค่า 5 แสนล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1188600 Thu, 20 Sep 2018 01:00:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1188600 เมื่อเร็วๆ นี้ Jack Ma (แจ็ค หม่า) ได้ประกาศลาออกจากอาลีบาบาหลังจากที่สร้างสมประสบการณ์ความสำเร็จมานานกว่า 19 ปี ปัจจุบันเขาเป็นชายผู้มีอายุ 54 ปี อันมากไปด้วยความสำเร็จที่เริ่มจากอพาร์ตเมนต์เล็กๆ สู่การเป็นอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ที่มีมูลค่ากว่า 420 พันล้านเหรียญ พร้อมกับการประกาศแต่งตั้ง Daniel Zhang (แดเนียล จัง) เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประธานบริหารของอาลีบาบากรุ๊ปแทน

แจ็ค หม่า ถือเป็นหน้าเป็นตาของอาลีบาบา แต่หากลองมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่านอกจากเขาแล้วยังมีบุคคลสำคัญผู้ร่วมก่อตั้งอีก 17 คน ที่ร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่กับเขามาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.. 2542 คำถามที่ตามมาหลังจากข้อมูลนี้ก็คือ แล้วพวกเขาคือใครกันบ้าง? เป็นเหตุให้ iPrice เริ่มศึกษาข้อมูลบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของอาณาจักรอาลีบาบาถึง 18 คน (รวมแจ็ค หม่า) จากนั้นนำมาคิดวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นอินโฟกราฟิกเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจแก่ผู้อ่าน

จากการศึกษาข้อมูลพบว่า มีข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับสายอาชีพของกลุ่มผู้ก่อตั้ง พวกเขาไม่ได้จบการศึกษาจากสาขาวิชาใกล้เคียงกัน เช่น การสื่อสารมวลชน, วาณิชธนกิจ (การธนาคารเพื่อการลงทุน), การพัฒนาเว็บไซต์, การศึกษาศาสตร์ และอีกหลากหลายสาขาวิชา

ความสัมพันธ์ระหว่างแจ็ค หม่า และผู้ก่อตั้งมาจากหลายช่องทางด้วยกัน อาทิ อดีตเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย, อดีตเพื่อนร่วมงาน, อดีตนักศึกษา (ช่วงที่เขาเป็นวิทยากร) และกลุ่มบุคคลผู้มีจิตศรัทธาต่อวิสัยทัศน์ของแจ็ค หม่า ในบรรดา 18 ผู้ก่อตั้งอาลีบาบานี้ มี 3 คู่ในกลุ่มสมาชิกที่น่าสนใจ คือ Jack Ma และ Cathy Zhang, Shi Yu Feng และ Jin Yuanying, Toto Sun และ Lucy Peng

ในบรรดาผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 18 รายนั้น มีผู้หญิง 6 คน ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เช่น Lucy Peng ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอของ Lazada เมื่อเดือนมีนาคม พ.. 2561 ที่ผ่านมา นอกเหนือจากนี้ผู้ก่อตั้งเกือบทั้งหมดล้วนมีบทบาทสำคัญในการบริหารอาลีบาบากรุ๊ป และบริษัทในเครือ

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลเชิงลึกของผู้ร่วมก่อตั้งแต่ละคนที่น่าติดตาม เช่น ภูมิหลัง และความสัมพันธ์ของพวกเขากับแจ็ค หม่า เป็นต้น 

Jack Ma (แจ็ค หม่า)

  • แจ็ค หม่า เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.. 2507 ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน (ช่วงคอมมิวนิสต์) ในปี พ.. 2531 ได้สำเร็จการศึกษาระดับภาษาอังกฤษจากสถาบันครูของหางโจว จากนั้นเขาได้กลายเป็นวิทยากรด้านการค้าระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยหางโจว ไดอานี (Hangzhou Dianzi University) ต่อมาเขาได้ก่อตั้ง China Yellow Pages (CYP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตแห่งแรกของจีน มากไปกว่านั้นแจ็ค หม่า ยังเป็นผู้บริหารการจัดการบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับกระทรวงการค้าทั้งในและนอกประเทศของจีนอีกด้วย ในปี พ.. 2542 เขาเริ่มการประชุมกับผู้ร่วมก่อตั้งอีก 17 คน ในอพาร์ตเมนต์ของเขาเพื่อร่วมวางกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซแห่งแรก หรือปัจจุบันก็คืออาณาจักรอาลีบาบาอันเลื่องชื่อในปัจจุบัน
  • ปัจจุบัน แจ็ค หม่า เป็นทั้ง CEO และประธานบริหารของอาลีบาบากรุ๊ปซึ่งเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาตั้งแต่ปีแรกของการก่อตั้ง (.. 2542) อาลีบาบามีจำนวนผู้ใช้บริการทางโทรศัพท์ประมาณ 617 ล้านคนต่อเดือน และผู้ใช้งาน 552 ล้านคน ในตลาดค้าปลีกของจีน (Tmall.com และ Taobao) 
  • ปัจจุบัน แจ็ค หม่า มีอายุ 54 ปี เขาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทอาลีบาบากรุ๊ปภายใน 1 ปี เพื่อทุ่มเทกับการให้คำปรึกษาและคอยสนับสนุนแดเนียล จัง ผู้ที่จะเข้ามาสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา

Jin Jianhang (จิน เจียงฮาง)

  • จิน เจียงฮาง เป็นนักเรียนหัวกะทิที่มีผลงานยอดเยี่ยมจาก Fudan Journalism School และเคยทำงานที่สื่อมีเดียชื่อดังของจีนมากมาย อาทิ Zhejiang Daily และ Intl. Business Daily
  • การพบกันครั้งแรกของ จิน เจียงฮาง และแจ็ค หม่า เกิดขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์เกี่ยวกับ China Yellow Pages ด้วยความที่เขาเป็นนักข่าวสายธุรกิจทำให้มีโอกาสได้พบกันหลายครั้งในช่วงที่แจ็ค หม่า ขึ้นเป็นประธานของ Ministry of Foreign Trade and Economic Co-operation (MOFTEC) ของ EDI Centre หรือปัจจุบันรู้จักกันในชื่อกระทรวงพาณิชย์ของประเทศจีน ซึ่งแจ็คหม่าได้เสนอตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการให้เขา
  • ต่อมาในปี พ.. 2542 แจ็ค หม่า ได้เริ่มก่อตั้งอาลีบาบากรุ๊ปร่วมกับกลุ่มเพื่อนและคนที่ไว้วางใจอีก 17 คน ซึ่งรวมไปถึง จิน เจียงฮาง ด้วย

Joseph Tsai (โจเซฟ ไซ)

  • โจเซฟ ไซ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านกฎหมาย ก่อนพบกับแจ็ค หม่า เขาเป็นนายธนาคารลงทุนที่มีรายได้ประมาณ US$700k ต่อปี
  • ด้วยแรงบันดาลใจจากความสามารถและความคิดของแจ็คเกี่ยวกับอาลีบาบา ทำให้เขากล้าที่จะทิ้งรายได้จากงานปัจจุบันสู่การเข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งในปี พ.. 2542 ด้วยรายได้ US$50 ต่อเดือน
  • ปัจจุบัน โจเซฟ ไซ เป็นรองประธานบริหาร, ผู้ร่วมก่อตั้งของอาลีบาบากรุ๊ป และยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองของบริษัทรองจากแจ็ค หม่า

Lucy Peng (ลูซี เปิง)

  • ลูซี เปิง มีพื้นฐานด้านการศึกษาคล้ายคลึงกับแจ็ค หม่า เธอเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นอาจารย์ด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ของ Zhejiang University ต่อมาได้แต่งงานกับ Sun Tongyu ในปี พ.. 2540
  • เธอเลิกเป็นอาจารย์ในปี พ.. 2542 เพื่อร่วมสนับสนุนสามีของเธอด้วยการเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาลีบาบา
  • เธอเพิ่งได้รับตำแหน่ง CEO ของ Lazada ภายหลังจากที่อาลีบาบาร่วมลงทุนกว่า US$2 พันล้านใน Marketplace

Cathy Zhang (เคธี่ จาง)

  • เคธี่ จาง พบกับแจ็ค หม่า ครั้งแรกที่ Hangzhou Teacher’s Institute หลังจากจบการศึกษาได้ไม่นานพวกเขาได้ตัดสินใจแต่งงานกัน
  • ในปี พ.. 2542 แจ็ค หม่าได้เผยแผนการของเขาที่มีต่ออาลีบาบากับเธอร่วมกับผู้ก่อตั้งคนอื่นๆ
  • เคธี่ จาง เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งอาลีบาบา แต่ปัจจุบันเธอผันตัวเป็นแม่และภรรยาที่ดีให้กับครอบครัว

Eddie Wu (เอ็ดดี้ วู)

  • เอ็ดดี้ วู จบการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก Zhejiang University of Technology ในปี พ.. 2539 ต่อมาได้ร่วมงานกับ China Yellow Pages
  • ในปี พ.. 2540 เขาได้ติดตามแจ็ค หม่าไปกรุงปักกิ่งและได้มีโอกาสช่วยเขาจัดการเว็บไซต์ของ MOFTEC
  • เดินตามแจ็ค หม่าด้วยการเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาลีบาบาพ่วงท้ายด้วยตำแหน่งโปรแกรมเมอร์คนแรกของอาลีบาบากรุ๊ป

James Sheng (เจมส์ เฉิ่ง)

  • เจมส์ เฉิ่ง ได้เรียนรู้ศิลปะดั้งเดิมมาตั้งแต่อายุยังน้อย เขานำการออกแบบที่ชื่นชอบมาปรับใช้ในเชิงพาณิชย์ เขาเริ่มคุ้นเคยกับแจ็ค หม่า ช่วงที่บริษัทของเขาได้รับการว่าจ้างให้ออกแบบเว็บไซต์ของ China Yellow Page
  • เขาได้เข้าร่วมการประชุมที่อพาร์ตเมนต์ของแจ็ค หม่า และกลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเมื่อปี พ.. 2542
  • ปัจจุบัน เจมส์ เฉิ่ง เป็นผู้ออกแบบโลโก้รูปรอยยิ้ม, ผู้ร่วมก่อตั้ง และยังเป็นรองประธานอาวุโสของอาลีบาบาอีกด้วย

Lou Wensheng (โหลว เหวินเชิง)

  • โหลว เหวินเชิง และแจ็ค หม่า จบการศึกษาที่เดียวกันคือ Hangzhou Teacher’s Institute ภายหลังพวกเขาได้ร่วมงานกัน   
  • เขาตัดสินใจร่วมงานกับ China Yellow Pages ทันทีที่เห็นแจ็ค หม่า โปรโมตบริษัทผ่านสารคดีเรื่อง Oriental Horizon TV ในปี พ.. 2538

Simon Xie (ไซม่อน เซีย)

  • ไซม่อน เซีย จบการศึกษาสาขาการจัดการด้านการเงินจาก Shenyang University of Technology ต่อมาได้ทำงานให้กับ China National Air Separation Engineering Co., Ltd. ด้วยความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ เขาได้พัฒนาทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานของเขา
  • ปี พ.. 2539 เป็นปีที่เขาและแจ็ค หม่า ได้พบกันครั้งแรกที่ China Yellow Pages ด้วยบุคลิกภาพเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครของแจ็ค หม่า ทำให้เขาตัดสินใจร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาลีบาบาแม้จะต้องทิ้งรายได้จำนวนมากจากงานด้านการเงินของเขาก็ตาม

Jin Yuanying (จิน หยวนหยิง)

  • จิน หยวนหยิง เป็นนักเรียนของแจ็ค หม่า จาก Hangzhou Dianzi University ภายหลังได้รับการสนับสนุนจาก Jane Jiang และ Han Min ให้เข้าร่วมกับอาลีบาบา

Zhou Yuehong (โจว เยว่ฮง)

  • โจว เยว่ฮง เป็นสถาปนิก Java เจอแจ็ค หม่า ครั้งแรกที่ Hangzhou Dianzi University ด้วยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เขาได้พัฒนาโค้ดหลักของขอบข่ายงาน MVC – WebX ซึ่งเป็นโค้ดหลักแรกของ Taobao

Shi Yufeng (ชิ ยูเฟิ่ง)

  • ในปี พ.. 2542 ชิ ยูเฟิ่ง ทำงานที่ Central Weather Bureau ด้วยความสนใจด้านเทคโนโลยีทำให้เขาตัดสินใจเข้าร่วมกับอาลีบาบาในภายหลัง
  • เอ็ดดี้ วู เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาลีบาบา เขาเป็นผู้เห็นการมีตัวตนของชิ ยูเฟิ่ง ในโลกอินเทอร์เน็ต และด้วยความชื่นชอบที่เหมือนกันทำให้ เอ็ดดี้ วู แนะนำชิ ยูเฟิ่งกับแจ็ค หม่า จากนั้นเขาก็ตัดสินใจเข้าร่วมกับอาลีบาบา

Sources:

]]>
1188600
ใครครอง! เผยโฉมหน้า 3 ร้านค้าอีคอมเมิร์ซสายแข็ง 6 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://positioningmag.com/1186928 Sun, 09 Sep 2018 23:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1186928 ปัจจุบันนอกจากประเทศจีนที่ได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินให้กำเนิดอีคอมเมิร์ซมูลค่ามหาศาลหลายรายแล้ว ยังมีประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหล่านักลงทุนพากันจับตามอง ด้วยเหตุนี้ iPrice จึงหยิบยกเอา Map of eCommerce งานวิจัยที่เก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมสินค้า ยอดผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน และยอดผู้ติดตามในสื่อโซเชียลของทุกๆ ไตรมาสมาวิเคราะห์ จนได้ผลลัพธ์ว่า ใครคือ 3 ร้านค้าอีคอมเมิร์ซสายแข็งที่แท้จริงใน 6 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซียอินโดนีเซียสิงคโปร์เวียดนามฟิลิปปินส์ และไทย

มาเลเซีย

ถือเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่นักลงทุนมือทองพร้อมร้านค้าอีคอมเมิร์ซหน้าใหม่พากันเข้ามาตั้งถิ่นฐาน จนอาจเรียกได้ว่าเมืองหลวงอย่างกัวลาลัมเปอร์หาคนพื้นเมืองเดินผ่านไป-มายากเข้าไปทุกที

• LAZADA ยังคงเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซเจ้าประจำตามคาด ซึ่งมียอดผู้เข้าชมสินค้ารายเดือนเฉลี่ยสูงถึง 28 ล้านคน แต่หากนำข้อมูลมาเทียบกับไตรมาสแรกของปีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าถือว่าลดลงถึง 20 ล้านคนเลยทีเดียว (จาก 48 เป็น 28 ล้านคน) แต่ในทางกลับกันจำนวนยอดผู้ติดตามทาง Facebook ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกถึง 3 ล้านคน (จาก 22 เป็น 25 ล้านคน)

• Shopee ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสูงสุดจาก AppStore และ PlayStore ทั้งไตรมาสที่ 1 และ 2 มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน 12.3 ล้านคน ซึ่งลดลงจากไตรมาสแรก 1.4 ล้านคน

• 11 Street ร้านค้าอีคอมเมิร์ซสัญชาติเกาหลี มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือน 6.4 ล้านคน พร้อมเป็นที่หนึ่งในด้านจำนวนผู้ติดตามสูงสุดทาง Twitter (45,331 คน) แต่ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทาง AppStore ลดลงมาอยู่อันดับที่ 4 จาก 3 (Zalora ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3)

อินโดนีเซีย อีคอมเมิร์ซท้องถิ่นแรง

ถือเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ที่กำลังมาแรงที่สุดในขณะนี้ ด้วยประชากรที่มีมากกว่าทุกประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ทำให้ร้านค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศนี้มียอดเข้าชมเป็นร้อยล้านคนโดยเฉลี่ยต่อเดือน

• Tokopedia ร้านค้าอีคอมเมิร์ซสัญชาติอินโดนีเซีย มียอดผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือนโดยเฉลี่ยถึง 111 ล้านคน จึงเหมือนเป็นการบอกกลายๆ ว่าประเทศนี้นักอนุรักษ์นิยมที่เลือกช้อปจากร้านค้าสัญชาติเดียวกับตนเอง ซึ่งในไตรมาสนี้ Tokopedia ได้ขยับอันดับจากที่ 2 มาเป็นที่ 1 ในส่วนของยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจะอยู่อันดับที่ 2 จาก AppStore และอันดับ 3 จาก PlayStore (ไตรมาสแรกอยู่ที่อันดับที่ 2)

• Bukalapak อีกหนึ่งร้านค้าสาย Local ที่ชาวอินโดนีเซียคุ้นหูเป็นอย่างดี มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 85 ล้านคน ซึ่งลดลงจากไตรมาสแรกประมาณ 8 ล้านคน แต่ก็ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 จากอันดับที่ 3 ในไตรมาสแรกอยู่ในอันดับที่ 4 จากจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งจาก AppStore และ PlayStore

• LAZADA ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ไม่ว่าประเทศใดในภูมิภาคก็ต้องรู้จัก มีจำนวนผู้ติดตามทาง Facebook มาเป็นอันดับที่ 1 (25.2 ล้านคน) แต่จำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนลดลงอย่างน่าใจหาย (จาก 117.5 เป็น 50 ล้านคน) แต่จำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งจาก AppStore และ PlayStore ขยับขึ้นจากอันดับที่ 4 เป็น 3 (AppStore) และอันดับที่ 3 เป็น 2 (PlayStore) จากไตรมาสแรก

วียดนาม

อีกหนึ่งตลาดอีคอมเมิร์ซแบบ Non-Eng Speaking ที่กำลังมาแรง มีเจ้าตลาดเป็นร้านค้าสาย Local

• LAZADA ถือเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซสาย International ที่บุกตลาดในทุกประเทศ มียอดผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือนโดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 ถึง 32 ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรก 10 ล้านคน) แต่ผู้ติดตามทาง Facebook ที่ขยับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก 3 ล้านคน (จาก 22 เป็น 25 ล้านคน) ในด้านจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจะอยู่ในลำดับที่ 2 ทั้งจาก AppStore และ PlayStore

• The Gioi Di Dong ร้านค้าอีคอมเมิร์ซสัญชาติเวียดนามที่ครองอันดับที่ 2 มาตั้งแต่ไตรมาสแรก มียอดผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนในไตรมาสสองที่ 29.6ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรก 9.5ล้านคน) แต่ได้ขยับตำแหน่งจาก 7 ขึ้นเป็น 5 ของยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใน AppStore

• Shopee อีกหนึ่งร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ผลัดกันรุกผลัดกันรับกับ LAZADA มาโดยตลอด ในไตรมาสนี้มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 24.6 เป็น 26.4 ล้านคน พร้อมยอดผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งจาก AppStore และ PlayStore สูงสุดอีกด้วย

ฟิลิปปินส์

ถือเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ที่อัดแน่นไปด้วยร้านค้าอีคอมเมิร์ซสาย Local แม้ร้านค้าที่ติดอันดับต้นๆ จะเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซสาย International เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม

• LAZADA มีจำนวนผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 30 ล้านคน พร้อมครองตำแหน่งอันดับที่ 1 ในสื่อโซเชียลมีเดียยอดนิยมอันได้แก่ Twitter, Instagram และ Facebook

• Shopee แน่นอนว่าประเทศใดมี LAZADA ก็ต้องมี Shopeeถึงแม้จำนวนผู้เข้าชมสินค้ารายเดือนโดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 นี้ จะไม่มากเท่าใดนัก (จาก 9.1 ลดลงมาเหลือ 8.4 ล้านคน) แต่ก็เป็นร้านค้าที่ครองตำแหน่งผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสูงสุดทั้งจาก AppStore และ PlayStore มาตั้งแต่ไตรมาสแรก

• ZALORA ที่นอกจากเป็นแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังแล้ว ยังติดอันดับร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่สาวๆ ทั้งหลายล้วนรู้จักเป็นอย่างดี สำหรับตลาดฟิลิปปินส์ ZALORA ถือเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซยอดนิยมติดอันดับ 3 โดยมียอดผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนราว 1.6 ล้านคน แม้จะลดจากเดิมในไตรมาสแรกถึง 1.4 ล้านคนก็ตาม ควบคู่ไปกับการติดอันดับที่ 3 ด้านจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งจาก AppStore และ PlayStore

สิงคโปร์

ตลาดอีคอมเมิร์ซเล็กๆ ที่อาจมีพื้นที่เพียงจังหวัดหนึ่งในไทยเท่านั้น แต่มูลค่าอีคอมเมิร์ซกลับไม่ได้เล็กตามพื้นที่ไปด้วย พิสูจน์ได้จากร้านค้าอีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง LAZADA ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศนี้

• Qoo10 ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่มีชื่อเสียงใน 2 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ มาเลเซีย และสิงคโปร์ แต่ต่างกันที่ความนิยม ซึ่งในตลาดสิงคโปร์นี้ Qoo10 เป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่มียอดผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนราว10 ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรกราว 3.4 ล้านคน) ต่างจากจำนวนผู้เข้าชมสินค้าในประเทศมาเลเซียที่มีเพียง 9 แสนคนเท่านั้น ในส่วนของยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งจาก AppStore และ PlayStore จะอยู่ในอันดับที่ 3

• LAZADA มีผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน 6.5 ล้านคน แม้จะเป็นมีประเทศต้นกำเนิดมาจากสิงคโปร์ แต่เพราะ Qoo10 เปิดมาก่อน LAZADA จึงมี Brand Royalty อย่างไรก็ตาม ร้านค้านี้ก็มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสูงสุดทั้งจาก PlayStore และ AppStore

• Shopee ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่มักติดอันดับ 1 ใน 4 ของทุกประเทศอยู่เสมอในตลาดนี้ Shopee มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ 1.8 ล้านคน มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป็นอันดับที่ 2 ตั้งแต่ไตรมาสแรก พร้อมยอดผู้ติดตามทาง Facebook ที่ขยับจาก 9 ล้านคน มาเป็น 11.3 ล้านคน ได้ภายในระยะเวลาเพียงไตรมาสเดียว

ประเทศไทย

ส่วนใหญ่ร้านค้าอีคอมเมิร์ซสาย Local ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้มักเป็นร้านที่เคยประกอบธุรกิจแบบออฟไลน์มาก่อน แล้วมาขยายธุรกิจเป็นออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

• LAZADA ปฎิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ถ้าคนไทยคิดจะช้อปสินค้าออนไลน์ก็ต้องคิดถึงร้านค้าอีคอมเมิร์ซนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนสูงถึง 40 ล้านคนพร้อมมีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสูงสุดทั้งจาก AppStore และ PlayStore เสริมทัพด้วยการมียอดผู้ติดตามสูงสุดทั้งจาก LINE (20.4 ล้านคน) และ Facebook (25.2 ล้านคน)

• Shopee มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนที่ 15 ล้านคน พร้อมมีผู้ติดตามทาง Instagram เกือบ 3 แสนคน มากกว่าไตรมาสแรกประมาณ 1 หมื่นคน

• Chilindo ร้านค้าอีคอมเมิร์ซสัญชาติไทยรูปแบบการประมูลสินค้า ปัจจุบันมียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ย 5 ล้านคนต่อเดือน (ลดลงจากไตรมาสแรกประมาณ 7 ล้านคน) มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งจาก AppStore และ PlayStore มาเป็นอันดับที่ 3

เรื่องโดย : ขนิษฐา สาสะกุล iPrice

]]>
1186928
iPrice วิเคราะห์สงครามอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย https://positioningmag.com/1136078 Sun, 13 Aug 2017 19:28:01 +0000 http://positioningmag.com/?p=1136078 ตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นตลาดที่ร้อนระอุ เมื่อยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซจากประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง Amazon ตัดสินใจเข้ามาเปิดตลาดในประเทศสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

ไม่ใช่เพียงร้านค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศสิงคโปร์เท่านั้นที่จะต้องเตรียมรับมือกับการเข้ามาของ Amazon แต่อีคอมเมิร์ซในประเทศอื่นๆ ก็จะต้องเตรียมรับมือต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนี้เช่นกัน

iPrice ได้ทำการศึกษาร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ทำตลาดอยู่ในประเทศไทย และได้จัดทำ The Map of E-Commerce หรือ สงครามอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย โดยให้ผู่ที่สนใจสามารถเลือกฟิลเตอร์ร้านค้าได้หลายตัวเลือก เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (วัดค่าจาก Similarweb), จำนวนแอปฯ ดาวน์โหลด (Google Play) และจำนวนผู้ติดตามในโลกโซเชียล 

ที่ iPrice ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 และพบผลการศึกษาที่น่าสนใจ 5 ข้อดังต่อไปนี้

ราชาแห่งอีคอมเมิร์ซของประเทศไท

น่าจะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าราชาในตลาดอีคอมเมิร์ซคงจะหนีไม่พ้นยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada ที่ทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดย Lazada มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บและผู้ติดตามโซเชียลมีเดียมากที่สุดในประเทศไทย ถึงแม้ Lazada จะเป็นยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย แต่ก็จะชะล่าใจไม่ได้สำหรับการเข้ามาของ Amazon โดยรายละเอียดว่าเหตุใด Lazada จึงได้เป็นราชาแห่งอีคอมเมิร์ซมีดังต่อไปนี้

1. จำนวนผู้เข้าชมสูงสุดในประเทศไทย (41,680,000 ครั้ง)

2. จำนวนแอปฯ ดาวน์โหลดสูงสุด (50,000,000 ดาวน์โหลด)

3. จำนวนผู้ติดต่อใน LINE สูงสุด (18,894,000 ผู้ติดตาม)

4. จำนวนผู้ติดต่อใน Facebook สูงสุด (17,539,000 ไลค์)

5. ถึงแม้ว่า Lazada จะได้อันดับที่ 6 สำหรับจำนวนผู้ติดตามใน Instagram (84,088 คน) ซึ่งชัดเจนว่า Instagram ไม่ใช่เครื่องมือหลักในการสื่อสารต่อกลุ่มลูกค้าของ Lazada อย่างไรก็ตาม Lazada สามารถตีตื้นขึ้นสู้ Carnival ได้อย่างแน่นอน ซึ่งมีจำนวนผู้ติดตามใน Instagram อยู่ที่ 261,000 คน

การทำตลาดอยู่ในประเทศไทยกว่า 5 ปีนี้แสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์เชิงรุกของ Lazada ในการเข้าทำตลาดใน 6 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกันนั้น ส่งผลให้ Lazada ขึ้นเป็นราชาในตลาดได้ และที่สำคัญกลยุทธ์การใช้การสื่อสารแบบ Integrated Communication ถือเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือใช้ช่องทางโซเชียลช่องทางเดียวกันสำหรับทุกประเทศนั่นเอง

10 อันดับสุดยอดอีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ในประเทศไทยมีแต่เว็บเทคโนโลยีและทั่วไป

เมื่อจัดอันดับสุดยอดร้านค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยตามจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์แล้วนั้น พบว่าอีคอมเมิร์ซเว็บไซต์อันดับ 1 ถึง 9 นั้นเป็นร้านค้าที่ขายสินค้าประเภททั่วไปและเทคโนโลยี โดยมีการจัดลำดับดังต่อไปนี้ Lazada TH, 11 Street TH, Shopee TH, Chilindo, Notebook Spec, J.I.B, Central Online, Tarad, Advice,และ Konvy

โดยอันดับที่ 10 เป็นเว็บไซต์ Konvy.com ที่เป็นร้านขายสินค้าประเภทแฟชั่น โดยสินค้าที่วางขายเป็นเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิวแบรนด์ต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ

จากการศึกษาพบว่าชาวไทยนิยมซื้อเสื้อผ้าจากแบรนด์ร้านค้าที่ขายในช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook และ Instagram มากกว่า เนื่องจากแบรนด์เหล่านี้มีการออกแบบเสื้อผ้าที่มีสไตล์น่าสนใจและอินเทรนด์กว่าเสื้อผ้าที่วางขายในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทั่วไป จึงทำให้เว็บอีคอมเมิร์ซที่ขายเสื้อผ้าแฟชั่นนั้นไม่ได้รับความสนใจ ทำให้เว็บ Konvy.com เป็นเพียงเว็บแฟชั่นเว็บเดียวที่สามารถขึ้นเป็นสุดยอดสิบอันดับได้

***การต่อสู้ที่ดุเดือดระหว่างคู่แข่งจากต่างประเทศ

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 3 อันดับได้แก่ Lazada, 11street และ Shopee ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บไซต์ที่มาจากต่างประเทศและเห็นโอกาสในการทำตลาดในประเทศไทย จึงได้เข้ามาขยายฐานการทำธุรกิจในประเทศไทย โดย Lazada ต้นกำเนินมาจากบริษัท Rocket Internet ประเทศเยอรมนี 11Street มาจากประเทศเกาหลีใต้ และ Shopee มาจากประเทศสิงคโปร์ ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทบริษัทที่มีความเป็นอินเตอร์เนชั่นแนล

ในขณะที่อันดับ 4 นั้นได้แก่เว็บไซต์ Chilindo ซึ่งเป็นเว็บไซต์ผลิตโดยคนไทย ซึ่งเป็นเว็บขายสินค้าออนไลน์ประเภททั่วไปที่ให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่านการประมูล สิ่งนี้จึงเป็นรูปแบบการขายที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ Chilindo สามารถสู้กับเว็บต่างชาติเหล่านั้นได้

การเข้ามาของเว็บ 11Street จากประเทศเกาหลีนั้น เข้ามาเขย่าบัลลังก์ของราชาอย่าง Lazada ได้อย่างน่ากลัว เนื่องจาก 11Street ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของปี พ.ศ. 2560 ว่าจะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งบริษัทจะใช้กระแสนิยมเกาหลี และจำนวนสินค้าที่หลากหลายในการสร้างจุดเด่นให้กับแบรนด์ของตนเอง

นอกจากนี้การทุ่มงบประมาณให้กับการสื่อสารทางการตลาดถือเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากมีการเจาะตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นคนกรุงเทพฯ วัยทำงาน ซึ่งนิยมใช้การขนส่งสาธารณะ

โดยใช้การโฆษณากลางแจ้งอันได้แก่ BTS Station ซึ่งโฆษณาที่เด่นที่สุดคงจะหนีไม่พ้น BTS Siam ที่ใคร ๆ ก็ต้องติดตากับแบรนด์ 11Street ที่มีการใช้เหล่าคนมีชื่อเสียงมาโปรโมตเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ 11Street มียอดผู้เข้าชมขึ้นเป็นอันดับสอง ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าชมกว่า 9,632,000 ต่อเดือน

Shopee ซึ่งเปิดตัวโดยการทำธุรกิจในรูปแบบ C2C ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้พื้นที่แก่ผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อมาแลกเปลี่ยนทางการค้า Shopee เพิ่งระดมทุนรอบใหม่เพื่อนำมาใช้สำหรับการขยายตลาดและเพิ่มรูปแบบของธุรกิจเป็นแบบ B2C

ขณะเดียวกัน Shopee จะโฟกัสในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือให้ตอบสนองต่อผู้ใช้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายใช้แอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้น จึงทำให้แอปฯ Shopee มียอดดาวน์โหลดกว่า 1 ล้านดาวน์โหลดและมียอดผู้เข้าชมกว่า 3,500,000 ต่อเดือน

***ผู้นำด้านโซเชียลมีเดียในประเทศไทย

ยอดผู้เข้าชมต่อเดือน, จำนวนแอปฯ ดาวน์โหลดและผู้ติดตามทาง Facebook สูงสุด

ถ้าหากเปรียบเทียบร้านค้าสัญชาติไทยแล้วนั้น ร้านค้า Chilindo ขึ้นเป็นที่หนึ่งในสามด้านได้แก่จำนวนผู้เข้าชมต่อเดือนกว่า 3,056,000 ครั้ง, จำนวนแอปฯ ดาวน์โหลดสูงสุดกว่า 500,000 ดาวน์โหลดและผู้ติดตามทาง Facebook สูงกว่า 3,510,000 ไลค์

Chilindo มีจุดขายที่แตกต่างจากร้านค้าโดยทั่วไปเนื่องจากมีการขายสินค้าในรูปแบบประมูล ซึ่งให้ผู้ซื้อสินค้าประมูลสินค้าเริ่มต้นที่ราคา 1 บาท จุดขายนี้ทำให้ Chilindo เป็นที่สนใจของผู้ใช้ นอกจากนี้บริษัทยังมีการทำการตลาดบน Facebook ที่แอคทีฟ โดยมีการนำเสนอสินค้าผ่านวีดีโอและ GIF ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งแต่ละโพสต์ได้รับความสนใจและสร้าง engagement ได้สูง

***เจ้าแม่ Instagram 

Canival ซึ่งเคยเป็นร้านขายรองเท้าสตรีทแบรนด์เล็กๆ ในมุมหนึ่งของสยามสแควร์ในอดีต ตอนนี้ได้เข้ามาเล่นในตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มตัว จนสามารถเอาชนะยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada ได้ด้วยการใช้ Instagram รุกตลาดแฟชั่น ร้าน Carnival มีผู้ติดตามสูงสุดกว่า 261,000 ผู้ติดตามบน Instagram

Carnival ให้ความสำคัญกับรูปภาพที่โพสต์บน Instagram โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของรูปภาพทั้งด้านแสง, สี และการวางสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และสามารถถ่ายทอดรายละเอียดของรองเท้าได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้แต่ละโพสต์จะมีการบอกรายละเอียดที่ลูกค้าต้องการอย่างชัดเจน อาทิ จำนวนสินค้า, ไซส์ และราคาของสินค้าที่วางขาย รวมถึงช่องทางในการสั่งซื้อที่สะดวก Instagram จึงเป็นจุดแข็งที่ทำให้ Carnival ประสบความสำเร็จในการทำตลาดแฟชั่นด้วย Instagram

***เจ้าพ่อ LINE

LINE เป็นแอปพลิเคชันแชทที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย ร้านค้าอีคอมเมิร์ซหันมาให้ความสนใจในการใช้ LINE สำหรับติดต่อและส่งข่าวสารให้กับลูกค้ามากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาบริษัทที่ใช้ LINE ในการทำธุรกิจ

พบว่า 8 บริษัทเป็นบริษัทจากประเทศไทยได้แก่ Wemall, Karmarts, Powerbuy, Jaymart, Pomelo, Shop 24, Central Online, Beauticool และอีก 2 บริษัทมาจากต่างประเทศ ได้แก่ Lazada และ Shopeeแสดงให้เห็นว่าบริษัทสัญญาติไทยเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมากกว่าบริษัทจากต่างชาติ นี่คงเป็นช่องว่างที่บริษัทจากต่างประเทศสามารถพัฒนาเพื่อใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

***เปลี่ยนจากมีหน้าร้านเป็นออนไลน์

ในยุคที่อีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็ว ร้านค้าที่มีหน้าร้านหันมาจับโอกาสในการทำตลาดออนไลน์มากขึ้น หนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจได้แก่ร้านค้า J.I.B ซึ่งเริ่มต้นจากการเป็นร้านขายคอมพิวเตอร์ที่เซียร์ รังสิต จนประสบความสำเร็จและมีสาขากว่า 140 สาขาในปัจจุบัน

คุณจิ๊บผู้ก่อตั้ง J.I.B ซึ่งเล็งเห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจออนไลน์ได้ทดลองขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกจนมีรายได้กว่า 800,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเขารู้สึกเซอร์ไพรส์กับรายได้ผ่านทางออนไลน์อย่างมาก จึงทำให้เขาเห็นโอกาสในธุรกิจออนไลน์และหันมาโฟกัสในการทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันร้านค้า J.I.B มีผู้เข้าชมกว่า 245,000 ครั้งต่อเดือน ทำให้เป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมสูงสุดเป็นอันดับที่ 6

ตามมาติดๆ ก็คือห้าง Central ซึ่งเป็นห้างที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย Central เห็นโอกาสในธุรกิจออนไลน์จึงได้แตกไลน์ธุรกิจออนไลน์ภายใต้ชื่อ Central Online ซึ่งนโยบายคือการนำห้างมาอยู่เพียงปลายนิ้ว Central Online มีผู้เข้าชมกว่า 2,039,500 ครั้งต่อเดือน ทำให้เป็นเว็บไซต์อันดับ 7 ที่มีผู้เข้าชมสูงสุด Central Online เป็นหนึ่งบริษัทที่น่าจับตามองเนื่องจากพวกเขาเคยเป็นร้านออฟไลน์ที่หันมาสนใจด้านออนไลน์ ชาวไทยคงต้องจับตามองว่าร้าน Central Online จะสามารถใช้ชื่อเสียงและประวัติที่สั่งสมมานานในประเทศไทยในการทำธุรกิจออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จได้หรือไม่

ข้างต้นนี้คือการค้นหาที่น่าสนใจทั้ง 5 ข้อจากสงครามอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ถ้าหากต้องการใช้ Interactive Content ชิ้นนี้ สามารถไปที่ : The Map of E-Commerce Thailand 


ที่มา : manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9600000082628

]]>
1136078