iCreatorConference2020 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 22 Oct 2020 14:04:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองธุรกิจ ‘Podcast’ น่าสนใจแค่ไหนหาก ‘แบรนด์’ ต้องลงทุน https://positioningmag.com/1302914 Thu, 22 Oct 2020 12:14:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302914 หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ Podcast แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ซึ่ง Podcast ไม่ได้เป็นเพียงออดิโอคอนเทนต์ แต่เป็นมีเดียเอนเตอร์เทนเมนต์ที่เผยแพร่เสียงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยมีลักษณะคล้าย ๆ รายการวิทยุ ที่จะมีผู้ดำเนินรายการออกมาเล่าเรื่อง พูดคุย แต่จะมีการแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอน ๆ หรือแบ่งหัวเรื่องอย่างชัดเจน โดยเนื้อหาจะมีหลากหลายแนว สามารถฟังเพลิน ๆ ระหว่างเดินทาง ทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ

COVID-19 ยิ่งดัน Podcast โต

โดยช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 การฟัง Podcast ก็เปลี่ยน โดย Spotify เจ้าของแพลตฟอร์ม Music Steaming รายใหญ่ของโลกได้ระบุว่า สัดส่วนการฟัง Podcast บนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 19% และฟัง Podcast ผ่านอุปกรณ์ในบ้าน เช่น ทีวี, ลำโพง มากขึ้น ขณะที่การฟังผ่านรถยนต์และหูฟังกลับลดลง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเพราะผู้บริโภคไม่ได้เดินทางไปทำงานอีกต่อไป ขณะเดียวกัน พวกก็มักจะหาอะไรฟังเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำอาหาร, ทำงานบ้าน และเวลาที่อยู่กับครอบครัว

อย่างไรก็ตาม แม้ Podcast จะเริ่มเห็นเทรนด์การเติบโต แต่ในฝั่งของ ‘แบรนด์’ Podcast เป็นสิ่งที่น่าสนใจแค่ไหน โดยภายในงาน iCreator Conference 2020 ก็ได้เชิญกูรูด้าน Podcast ได้แก่ ชินทัต พรหมโชติ จาก KooHoo Podcast, นทธัญ แสงไชย จาก Salmon Podcast และ พลสัน นกน่วม จาก GetTalks Podcast มาพูดคุยกันในหัวข้อ “การมาของ Podcast ทำไมแบรนด์ถึงควรลงทุน”

โอกาสโตเยอะ เพราะ Content กว้าง

หากย้อนไปเมื่อ 3 ปีก่อน Podcast ถือเป็นสิ่งใหม่ที่คนยังไม่รู้จัก แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันคือ ผู้ฟังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับสื่อก็เริ่มหันมาผลิต Podcast มากขึ้น ส่งผลให้แบรนด์ก็เริ่มให้ความสนใจที่จะลงโฆษณาใน Podcast มากขึ้น และด้วยเนื้อหาคอนเทนต์ที่หลากหลาย มีทั้งรายการท่องเที่ยว, รายการคอมเมดี้ หรือแม้แต่ ‘ละครวิทยุ’ ส่งผลให้กลุ่มผู้ฟังหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม Podcast ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนบางเจน เช่น วัยผู้ใหญ่ที่ยังไม่รู้จักเหมือนวัยรุ่น ดังนั้นยังมีโอกาสเติบโตได้อีก

“ตอนนี้ Podcast ไม่ได้มีแต่เรื่องมีสาระอย่างเดียว แต่เริ่มขยับเข้ามาเรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งมันกว้างกว่าที่เราคิดไว้”

Content แนวพัฒนาตนเองกำลังมาแรง

ด้วยความที่คอนเทนต์มีหลากหลายมาก อาจต้องคอยอัปเดตเทรนด์การจัดอันดับ แต่ส่วนใหญ่คนไทยจะชอบเรื่องลี้ลับ การเล่าเรื่องเกี่ยวกับคดีฆาตกรรม ทฤษฎีสมคบคิด ธุรกิจ การตลาดธรรมะ บันเทิงและข่าว ล้วนได้รับความนิยม แต่เทรนด์ที่เห็นการเติบโตคือ รายการแนวพัฒนาตนเอง ทั้งด้านจิตใจ การเงิน และภาษา โดยเฉพาะรายการในรูปแบบรายวัน เน้นความถี่ในการนำเสนอ ที่ความยาว 18-20 นาที เพราะสามารถฟังได้บ่อยและใช้เวลาไม่นานในการฟัง

“สำหรับครีเอเตอร์หน้าใหม่ คอนเทนต์ทุกแนวเป็นไปได้เสมอ ถ้าเกิดหามุมมองในการเล่าให้เจอ”

สิ่งที่สำคัญพอกับเนื้อหาก็คือ เวลา ที่เราต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าคอนเทนต์มีความเหมาะสม คนฟังอาจรู้สึกว่ารายการยาวได้ แต่ไม่ควรทำให้เขารู้สึกว่านานเพราะนั่นหมายถึงความน่าเบื่อ ซึ่งภาพรวมของ Podcast ในไทยตอนนี้อาจไม่ใช่การเพิ่มจำนวนผู้ฟัง แต่เป็นการเพิ่มจำนวนดาวน์โหลด เพิ่มระยะเวลาการฟังให้มากขึ้น

Podcast อยู่ได้แม้กระทั่ง TikTok

ตอนนี้ Podcast สามารถขึ้นไปอยู่ได้ทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะ TikTok หรือ YouTube แถมยังมียอดวิวดีกว่าที่คิด โดยเฉพาะการมาของ YouTube Premium เป็นตัวช่วยให้คนฟัง Podcast มากขึ้น เพราะสามารถปิดจอแล้ววิดีโอยังเล่น แต่ไม่ใช่ฟังอย่างเดียวในแพลตฟอร์มเดิม แต่อาจจะต้องมีการปรับเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย เช่น ใน TikTok ที่ต้องมีภาพประกอบ ดังนั้น คอนเทนต์เป็นแบบเดียวกัน แต่แค่แยกภาชนะใหม่ แม้กระทั่งหนังสือเสียงก็สามารถทำได้

แบรนด์ไม่รู้ว่า Podcast โฆษณาอย่างไร

อย่างที่รู้ว่าในอดีตคนไม่รู้จัก Podcast นั่นคือความยาก แต่ตอนนี้การทำให้แบรนด์เข้าใจว่าสามารถทำโฆษณาบน Podcast ได้แล้วคือสิ่งที่ยากกว่า เพราะแบรนด์อาจยังนึกไม่ภาพการลงโฆษณาบน Podcast ไม่ออก เพราะมีแต่เสียง แบรนด์ไม่รู้ว่าจะอยู่ตรงไหนได้บ้าง ดังนั้น ความท้าทายในปัจจุบันคือ การสร้างความรู้ให้กับแบรนด์ว่าสามารถทำโฆษณาด้วยภาพและเสียงแบบ Podcast ได้อย่างไรบ้าง ต้องทำให้เขารู้ว่า Podcast เป็นโอกาสใหม่สำหรับแบรนด์ เพราะไม่ใช่แค่การเติบโตที่ยังขยายอีกได้ แต่ Podcast สามารถไปอยู่ได้ในหลายแพลตฟอร์ม

“แม้แบรนด์เองก็เริ่มเข้าใจและเปิดใจกับการทำโฆษณาบน Podcast มากขึ้นแล้ว แต่โจทย์ใหญ่คือการทำให้แบรนด์รู้ว่าเราตอบโจทย์เขาได้อย่างไรบ้างบน Podcast เพราะภาพในวันนี้ Podcast สามารถเป็นได้ทั้งมีเดียและอินฟลูเอนเซอร์

]]>
1302914
How To ปรับตัวฉบับ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ กับการเป็น ‘Content Creator’ ได้ในทุกยุค https://positioningmag.com/1294688 Mon, 31 Aug 2020 07:37:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294688 วงการสื่อหรือนักสื่อสารมวลชน ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีก่อนใครเพื่อน และไม่ใช่ทุกคนที่สามารถปรับตัวจนอยู่รอดมาได้ทุกครั้ง แต่ไม่ใช่กับ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ เพราะขนาด ‘TikTok’ แพลตฟอร์มวัยรุ่นจ๋า เขาก็ยังสามารถนำมาเล่าข่าวได้ ดังนั้น ไปเจาะลึกแนวคิดของคุณสุทธิชัย ที่มาเปิดเผยบนเวที iCreatorConference2020 กัน ว่าทำไมถึงสามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทุกยุคทุสมัยเเบบนี้

อย่า กลัว ที่จะปรับตัว

ความอยากรู้อยากเห็นเป็นหัวใจสำคัญ และต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีเรียนรู้ได้ ดังนั้น ต้องหมั่นติดตามและเปลี่ยนแปลง โดยในช่วงแรกที่ทำหนังสือพิมพ์ การทำข่าวต้องไปสัมภาษณ์เอง ต้องแกะเทปเอง ไม่ได้เป็น MP3 แบบในทุกวันนี้ หากเทปมีปัญหาก็ต้องอาศัยความจำตัวเอง ต่อมาส่งข่าวผ่านทางโทรศัพท์ ถ้าอยู่ข้างนอกก็ต้องอาศัยตู้โทรศัพท์สาธารณะบ้าง ซึ่งยุ่งยากมาก จนมาถึงยุค ‘Social Media’ ที่เปรียบดัง “ของขวัญจากพระเจ้า”

อย่าง Twitter ที่ทำให้สามารถส่งข่าวได้ทันที ซึ่งทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในช่วงที่เคยแนะนำ Twitter ให้กับเพื่อนนักข่าวมาลองใช้ 99% ไม่เอาด้วย เพราะเห็นว่ามันส่งได้ 140 ตัวอักษร เขามองว่ามันสั้นเกินไปที่จะส่งข่าว บอกว่ายุ่งยากที่ต้องทวิตหลาย ๆ ครั้งเพื่อมารวม ดังนั้น ที่หลาย ๆ สื่อไม่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะกลัวที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ

หลายคนอาจจะไม่กล้าเปลี่ยนตัวเอง ไม่กล้าลองใช้ ซึ่งต้องเปลี่ยนความคิด ถ้ามีเครื่องมือใหม่ ๆ ต้องลองก่อน ถ้าไม่เวิร์ก ก็พอ แล้วก็ไปทำอย่างอื่น ยิ่งตอนนี้การเปลี่ยนผ่านเกิดไวขึ้น ถ้าไม่รีบปรับตอนนี้ อนาคตจะยิ่งยาก เพราะทุกวันนี้มีมือถือก็ทำได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งถ่ายทอดสด ไม่จำเป็นต้องลงทุนเป็นล้านเหมือนอดีต”

สูตรตายตัวไม่มี

Social Media ไม่ว่าจะ Facebook, Instagram หรือ Twitter ทุกแพลตฟอร์มเหมือนจัตุรัสกลางเมือง คือ มีคนอยู่แล้ว ไม่เหมือนเว็บไซต์ที่ต้องเรียกคนเข้ามาดู ดังนั้น เมื่อตลาดทมีคนอยู่แล้ว โจทย์คือ ต้องทำให้คนสนใจ ไม่ว่าจะตลาดเล็ก ตลาดใหญ่ ตลาดคนรุ่นใหม่ ก็ต้องเสียบตัวเอง เอาข่าวที่เหมาะสมกับความสนใจของเขาไปนำเสนอ ถ้าที่นั่นมีคน ผมจะเข้าไปให้ได้

อย่าง TikTok ที่มีแต่คนบอกว่า ไม่มีทางเอาข่าวเข้าไปได้ เพราะมันเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอขนาดสั้นเพียง 1 นาที แต่ผมบอกว่า ไม่จริง ผมต้องหาทุกวิถีทางที่จะเข้าไปอยู่ในทุก ๆ แพลตฟอร์มที่เป็นข่าวให้ได้ ดังนั้น ผมจึงเริ่มฝึกฝนปรับตัวเพื่อให้เข้ากับเงื่อนไข ต้องฝึกฝนการเล่าเรื่องให้สั้นลงให้ได้ใน 1 นาที

ตั้งแต่วันที่มี Facebook ผมก็เริ่ม Live โดยที่คนดูบ้างไม่ดูบ้าง แต่สิ่งที่ผมรู้คือ เนื้อหาที่คนสนใจอยากดู หาจากที่อื่นไม่ได้ต้องมาที่นี่ จากนั้นก็ค่อย ๆ สร้างไปทำผิดทำถูกเรียนรู้ไป เพราะว่าในโลก Social นั้นไม่มีสูตรตายตัว มีใครบอกว่าทำอย่างนี้สิถึงจะสำเร็จ ไม่จริง อย่าไปฟังใคร แต่อาจจะเริ่มจากสิ่งที่ชอบก่อนและพัฒนาไป ที่สำคัญต้องทำทุกวัน”

การเล่าเรื่อง หัวใจสำคัญที่ไม่เคยเปลี่ยน

ในความเป็นจริงแล้ว ทุกยุคทุกสมัยมีความสนุก ถ้ามี Passion กับมัน และเนื้อหาความสำคัญของการจับประเด็น ความสำคัญของการเล่าเรื่องไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงวันนี้ ดังนั้น คนอยากรู้อยากเห็นอะไร ไปแสวงหาสิ่งนั้นเพื่อจะเล่าขานต่อไปยังคนที่เราเชื่อว่า เขาก็อยากจะรู้

“หัวใจของมันจะไม่เคยเปลี่ยนแปลงก็คือ การที่เรามีเรื่องที่จะเล่า เล่าอย่างแม่นยำ เล่าอย่างถูกต้อง เล่าอย่างน่าสนใจและสามารถ Inspire คนอื่น นั่นคือคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะเป็น Content Creator ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหน

]]>
1294688