iflix – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 Jun 2020 03:26:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Tencent’ ปิดดีลซื้อ ‘Iflix’ เดินหน้าลุยตลาดสตรีมมิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://positioningmag.com/1285539 Mon, 29 Jun 2020 02:55:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285539 เรียกได้ว่าดุเดือดตั้งแต่ปีที่ผ่านมาสำหรับตลาด ‘สตรีมมิ่ง’ เพราะว่ามีเจ้าใหญ่อย่าง Disney ได้เปิดตัว Disney + และ Apple ก็มี Apple TV และยังมีผู้เล่นอีกหลายรายที่เตรียมเปิดบริการ ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มีผู้เล่นที่ล้มหายตายจากไปอย่าง Hooq เป็นต้น

เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง (Tencent Holdings) บริษัทผู้ให้บริการเกมและโซเชียลเน็ตเวิร์กยักษ์ใหญ่ของจีน

ล่าสุด แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งระดับภูมิภาคอย่าง ‘Iflix’ ก็ได้โดนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตของจีนอย่าง Tencent ซื้อกิจการไปเรียบร้อย โดยให้เหตุผลว่าเพื่อขยายการเข้าถึง WeTV แพลตฟอร์มสตรีมของตัวเองในภูมิภาค อีกทั้ง Tencent จะได้รับเนื้อหาเทคโนโลยีและทรัพยากรของ iFlix และขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่สำคัญของการเติบโต

“สิ่งนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของเราในการขยาย WeTV แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งสากลของเราให้ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมอบเนื้อหาคุณภาพสูงระดับนานาชาติและระดับท้องถิ่นให้แก่ผู้ใช้ในหลากหลายประเภทและภาษา” Tencent กล่าว

ทั้งนี้ ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่คาดว่าจะมีมูลค่าที่หลักสิบล้านเหรียญเท่านั้น ขณะที่พนักงานปัจจุบันของ Iflix ส่วนใหญ่รวมถึง Marc Barnett CEO จะยังคงรักษาบทบาทของตนไว้

“ลำดับความสำคัญในปัจจุบันของเราคือ การทำให้แน่ใจว่าการทำงานร่วมกับธุรกิจที่มีอยู่ของเราราบรื่นและการรักษาจุดแข็งของ Iflix”

สำหรับ Iflix เป็นแพลตฟอร์มสัญชาติมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2557 จนถึงปัจจุบันได้ระดมทุนทั้งสิ้น 348 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีรายงานว่าบริษัทกำลังพิจารณาที่จะเปิดตัวในออสเตรเลียในปีนี้ แต่ต่อมาก็ยกเลิกแผนการในขณะที่มองหาการระดมทุนเพิ่มเติม และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัทที่อยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ลดพนักงานประมาณ 50 คนออก ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจประสบปัญหาทางการเงินที่กระท่อนกระเเท่นมากว่า 2 ปี ปัจจุบัน Iflix มีผู้ใช้งานประมาณ 25 ล้านรายจาก 13 ประเทศในหลายภูมิภาค

Source

]]>
1285539
Update ตั้งแต่ ‘HOOQ’ ไป แพลตฟอร์มไหนยังอยู่ และอีกกี่รายที่กำลังจะมา https://positioningmag.com/1276822 Tue, 05 May 2020 06:36:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276822 ถือว่าใจหายอยู่สำหรับ ‘HOOQ’ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งที่ทำตลาดมากว่า 5 ปีได้เลิกกิจการไปด้วยเหตุ ‘สู้ต้นทุนไม่ไหว’ ดังนั้นเราจะมา Update กันว่ายังมีผู้ให้บริการที่ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ และมีผู้เล่นอีกกี่รายที่เตรียมบุกตลาดไทย บอกได้คำเดียวเลยว่าตลาดนี้ไม่ใช่ Blue Ocean อีกต่อไปแล้ว

Netflix (เน็ตฟลิกซ์)

แพลตฟอร์มยอดฮิตของไทยและของผู้ใช้ทั่วโลก ที่เริ่มต้นมาจากธุรกิจให้เช่า DVD ผ่านทางเว็บไซต์ และแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวด้วยระบบ Movie Recommendation ช่วยแนะนำภาพยนตร์เรื่องใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า และพัฒนามาเป็น Online Streaming ในปี 2007 และต่อยอดจนมี Original Content ของตัวเองและเติบโตจนให้บริการกว่า 190 ประเทศ มีผู้ใช้กว่า 160 ล้านราย และคาดว่าปีนี้อาจทะลุ 190 ล้านราย

Viu (วิว)

หนึ่งในบริการดูหนังและซีรีส์ที่เติบโตเร็วสุดของเอเชีย ที่เริ่มให้บริการเมื่อปี 2017 โดยกลุ่มบริษัท PCCW Media (พีซีซีดับเบิลยู มีเดีย) พร้อมได้พันธมิตรเป็น 3 ช่องทีวีจากเกาหลี ได้แก่ SBS, KBS และ MBC ทำให้มีจุดเด่นด้านคอนเทนต์เกาหลีและเอเชีย ทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์และรายการวาไรตี้ แถมมาพร้อมกับโมเดล ‘ฟรีเมียม’ ให้ ดูฟรี ไม่เสียเงิน แต่มีโฆษณาและได้แค่ความคมชัดภาพแบบ SD แต่ถ้าอยากดูแบบ Full HD ไม่มีโฆษณา สามารถสมาชิกได้ในราคา 119 บาท/เดือน โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการกว่า 41.4 ล้านคน มียอดเข้าชมกว่า 5.7 พันล้านครั้ง จากการให้บริการใน 6 ประเทศ

WETV (วีทีวี)

หลังจากที่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘เทนเซ็นต์’ ได้ให้บริการแพลตฟอร์ม Tencent Video ในประเทศจีน จนปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 200 ล้านคน/วัน มีออริจินอลคอนเทนต์กว่า 80 เรื่อง ก็มาถึงช่วงขยายการเติบโต โดยเปิดตัว แพลตฟอร์ม ‘WeTV’ ในไทยประเทศแรกต่อจากจีน โดย WeTV มีจุดเด่นด้านซีรีส์จากจีนและเอเชีย ที่น่าจะถูกใจคอภาพยนตร์กำลังภายใน และสาว (วาย) อย่าง ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ซึ่งรูปแบบการใช้บริการมีทั้งดูฟรีและพรีเมียม ถ้าอยากดูชัด ดูเร็ว และไม่มีโฆษณาคั่นก็จัดเลย เดือนละ 59 บาท

iFlix (ไอฟลิกซ์)

ไอฟลิกซ์เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2014 โดยเน้นเจาะตลาดเกิดใหม่เป็นหลักหรือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 28 ประเทศ นอกจากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วยังมี ประเทศอื่น ๆ อาทิ เนปาล, บังกลาเทศ, ซิมบับเว, แทนซาเนีย  โมร็อกโก และยูกันดา มีสมาชิกรวมกว่า 15 ล้านคน ในส่วนของคอนเทนต์จะเน้นความหลากหลายทั้งฝรั่ง จีน เกาหลี การ์ตูน มีหมด แถมบางคอนเทนต์ยังอัพเดตเร็วมาก ฉายจาก US ไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็มีซับไทยแล้ว ขณะที่รูปแบบการให้บริการก็มีทั้งฟรี iflixFREE และรูปแบบบริการแบบจ่ายค่าบริการสมาชิก ดูได้ไม่อั้นบน iflixVIP ในราคา 100 บาท/เดือน

LINE TV (ไลน์ทีวี)

แอปซีรีส์, ละครย้อนหลังและรายการวาไรตี้ยอดฮิตของคนไทย แถมมีออริจินอลซีรีส์ของตัวเองด้วย และที่ดีงามที่สุดคือ ดูฟรี แต่มีโฆษณานะ

ออริจินอล คอนเทนต์ ของ LINE TV ในปี 2563

AIS Play (เอไอเอส เพลย์)

แพลตฟอร์มคอนเทนต์จากโอเปอเรเตอร์ของไทยที่ให้ดูฟรีไม่จำกัดค่าย โดย AIS มี Netflix และ Viu เป็นพันธมิตร และมีคอนเทนต์ครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทีวีสด ภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คอนเสิร์ต รวมถึงออริจินอลซีรีส์ ‘คลับสะพานฟาย’ ที่พึ่งเปิดตัวปีนี้ แต่สำหรับใครที่อยากจะดู 10 ช่องพรีเมียม มีค่าบริการที่ 119 บาท/เดือน

True ID (ทรู ไอดี)

เป็นแพลตฟอร์มจากโอเปอเรเตอร์และสามารถดูได้ไม่จำกัดค่ายเช่นกัน แต่ True ID จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจาก AIS Play ตรงที่ มีกีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ ให้ชม แน่นอนว่าดูฟรีเฉพาะบางคู่ และสามารถเช่าหนังพรีเมียมได้ในราคา 149 บาท โดยหนังใหม่ใน True ID นั้นมาเร็วมาก แต่หนังฟรีก็มี รวมถึงออริจินอลคอนเทนต์ด้วย เช่น ‘Voice สัมผัสเสียงมรณะ’

Doonee (ดูนี่)

แพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่ให้ดูฟรี 30 วันเมื่อสมัคร แถมราคาเเพ็กเกจก็หลากหลาย ทั้งรายวัน 9 บาท รายเดือน 150 บาท และรายปี 1,500 บาท โดยคอนเทนต์ที่โดดเด่นจะเป็นภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา อย่าง hell kitchen, Master Chef และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มคนไทย แน่นอนว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

MONOMAX (โมโนแมกซ์)

คงไม่ต้องบอกสรรพคุณ ใครที่เป็นแฟนหนังและซีรีส์ในช่อง Mono29 ก็ตามไปดูต่อกันผ่านแพลตฟอร์มได้ ล่าสุดเตรียมเอาซีรีส์ “WESTWORLD Season 3” (เวสต์เวิลด์ ซีซั่น 3) มาลงด้วย แฟน ๆ ก็ตามรอได้เลย ใครสนใจก็สมัครดูได้ ให้ดูฟรี 30 วันเช่นกัน ใครติดใจก็สมัครต่อได้ในแพ็กเกจ 250 บาท/เดือน และ 2,500 บาท/ปี

Flixer (ฟลิกเซอร์)

แพลตฟอร์มที่มีจุดยืนชัดเจน ว่ารวบรวมคอนเทนต์จากญี่ปุ่น โดยเฉพาะ ‘การ์ตูน’ ไม่ว่าจะเป็นฮีโร่ มาส์กไรเดอร์ ขบวนการเซ็นไท อุลตร้าแมน กันดั้ม อีกทั้งยังมีรายการแนวพาเที่ยว พาชิม บันเทิงวาไรตี้สนุก ๆ มากมาย โดยบริษัท ฟลิกเซอร์ จำกัด ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เป็น บริษัทดรีม เอกซ์เพรส หรือ DEX ที่เป็นผู้นำด้านลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากญี่ปุ่นในไทยมานานกว่า 18 ปี โดย Flixer สามารถดูฟรีและแบบพรีเมียมในราคา 89 บาท

POPS (พ็อพส์)

แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจาก POPS Worldwide (ประเทศไทย) ที่เปิดตัวในเวียดนามปีที่ผ่านมา และเตรียมขยายให้ครอบคลุมทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย POPS จะคล้าย ๆ Flixer ที่เน้นคอนเทนต์การ์ตูน แต่เป็นฝั่งซูเปอร์ฮีโร่อเมริกัน อาทิ ไอรอนแมน (Ironman) วูล์ฟเวอรีน (Wolverine) เอ็กซ์เมน (X-MEN) เบลด (BLADE) และออริจินัลคอนเทนต์ที่มีพันธมิตรเป็นเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง บี้-เดอะสกา, ต่อ-ตอปิโด หรือทีมอีสปอร์ตระดับท็อปของไทยอย่าง เบคอน ไทม์ โดยสามารถดูฟรี

รายนามยักษ์ใหญ่ที่กำลังเข้ามา

จากลิสต์รายชื่อ ดูเหมือนจะมีแค่ ‘Netflix’ รายเดียวที่เป็นรายใหญ่ระดับโลก ที่เหลือเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาคและผู้ให้บริการในไทย ขณะเดียวกัน ผู้เล่นรายใหญ่ที่ยังไม่มาไทยก็กำลังเดินหน้าทำตลาดอื่น ๆ ในโลก อาทิ Disney + ของ Disney เจ้าของแฟรนไชส์พันล้านอย่าง Marvel และ Star wars, Amazon Prime Video โดย Amazon,  Apple TV+ จาก Apple,  HBO Max เจ้าของซีรีส์สุดฮิตอย่าง Game of throne และ Hulu นอกจากนี้ยังมีรายที่ยังไม่เปิดตัวอย่าง Peacock โดย NBCUniversal และไม่ใช่แค่ฝั่งยุโรป แต่เอเชียก็ยังมีผู้เล่นรายใหญ่ ๆ อีกนอกจาก ‘เทนเซ็นต์’ ที่เปิดตัว WeTV ในไทย อาทิ iQiyi (อ้ายฉีอี้) ฉายา Netflix ของจีน โดยมีเจ้าของคือ Baidu และ YouKu โดย Alibaba

ขนาดยังมาไม่ครบ ก็ทำเอาผู้เล่นระดับภูมิภาคไปแล้ว ถ้าวันที่ผู้เล่นเหล่านี้ทำตลาดครบทุกประเทศ ผู้เล่นที่เล็กกว่าจะใช้แผนไหนเพื่อสร้างรายได้ให้อยู่รอด คงต้องรอดูกันยาว ๆ

#Netflix #Viu #HOOQ #WETV #LINETV #iFlix #Doonee #MONOMAX #Flixer #Pops #TrueID #AISPlay #Disney+ #AmazonPrimeVideo #AppleTV+ #HBOMax #Hulu  #Peacock #iQiyi #YouKu #Positioningmag

]]>
1276822
ดูให้ตาแฉะ! รวม 8 แพลตฟอร์มดูหนัง-ซีรีส์ พร้อมอัพเดตโปรดูฟรีในช่วงกักตัว https://positioningmag.com/1269594 Tue, 24 Mar 2020 07:23:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269594 ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดแบบนี้ หลายคนต้องทำงานที่บ้านและแน่นอน ต้องเบื่อกันเป็นธรรมดา ดังนั้นเราจะมารวบรวม 8 แพลตฟอร์ม ที่ให้บริการคอนเทนท์ในไทย พร้อมอัพเดตโปรโมชั่นและราคาแพ็กเกจต่าง ๆ ที่ออกมาในช่วงวิกฤตนี้ สำหรับใครที่สนใจหาซีรีส์ชมก็เตรียมตัวเลยจ้า แต่อย่าดูจนเสียการเสียงานนะ

Netflix (เน็ตฟลิกซ์)

แพลตฟอร์มยอดฮิตของไทย อย่างซีรีส์ ‘crash landing on you’ ก็เกิดกระแส ‘สหายผู้กอง’ ฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองมาแล้ว ล่าสุดมีแพ็กเกจใหม่ในราคา ‘99 บาท’ สำหรับดูผ่านมือถือหรือแท็บเลต ส่วนแพ็กเกจที่สามารถดูได้ทุกดีไวซ์จะอยู่ที่ 279 – 349 และ 419 บาท/เดือน นอกจากจ่ายผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตแล้ว ยังสามารถซื้อ เน็ตฟลิกซ์ การ์ด บัตรเติมเงินที่สามารถหาซื้อได้จากร้านสะดวกซื้อกว่า 14,000 สาขาทั่วไทยได้ด้วย ส่วนใครสมัครตอนนี้ ได้ดูฟรี 30 วันนะ

Viu (วิว)

แพลตฟอร์มที่มีจุดเด่นด้านคอนเทนต์เกาหลี ทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์และรายการวาไรตี้ และเอเชียที่ให้ ดูฟรี ไม่เสียเงิน แต่จะต้องดูโฆษณาและได้แค่ความคมชัดภาพแบบ SD แต่ถ้าอยากดูแบบ Full HD ไม่มีโฆษณาก็มีค่าสมาชิกที่ 119 บาท/เดือน แต่ในช่วง Covid-19 นี้ ทาง VIU มีแคมเปญ “ฝ่าวิกฤตโควิด-19 มาติด Viu (วิว) ดูซีรีส์ฟรีชิว ๆ 14 วัน” โดยการแจกโค้ดฟรีให้แฟนซีรีส์ได้รับชมคอนเทนต์บันเทิงทั่วเอเชียฟรีตลอด 14 วัน ซึ่งสามารถรับโค้ดดูฟรีที่ลิงก์ https://bit.ly/2vBVbXw และมองหาโค้ดลับดูฟรีได้เลย ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 11 เมษายน 2563 จำนวนจำกัดวันละ 500 โค้ดเท่านั้น

HOOQ (ฮุค)

บริษัทร่วมทุนระหว่าง Singtel, Sony Pictures Television และ Warner Bros ที่มีทั้งคอนเทนต์ซีรีส์และภาพยนตร์ ฮอลลีวูดรวมถึงคอนเทนท์ไทยด้วย (หนังไทยมีเพียบ) และด้วยสถานการณ์ที่คนต้องอยู่กับบ้านเพราะโควิด-19 ทาง HOOQ ก็เปิดให้ดูโคนันฟรี ทั้งหมด 929 ตอน, เดอะมูฟวี่ และตอนพิเศษ ดูออนไลน์ที่บ้านได้เลยแบบไม่ต้องล็อกอิน หรือใครอยากดูคอนเทนต์อื่น ๆ ก็ดูฟรี 30 วัน ค่าสมัครอยู่ที่เดือนละ 119 บาท นอกจากนี้ยังมีแพ็กเกจ 3 เดือน 6 เดือน และเช่าดูเป็นเรื่องด้วย

WETV (วีทีวี)

แพลตฟอร์มของบริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีจุดเด่นด้านซีรีส์จากจีนและเอเชีย ที่น่าจะถูกใจสาว (วาย) อย่าง ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ซึ่งใครอยากหาซีรีส์ที่เต็มไปด้วยหนุ่มหล่อสาวสวย หรือสาวกหนังจีนกำลังภายในก็เข้าไปดูเถอะจ้ะ ถ้าใครไม่อยากเสียเงินเดือนละ 59 บาท เพื่อแพ็กเกจ VIP ก็สามารถดูฟรีได้แต่มีโฆษณาและดูได้ช้ากว่าเพื่อน ๆ นะ

LINE TV (ไลน์ทีวี)

แอปซีรีส์, ละครย้อนหลังและรายการวาไรตี้ยอดฮิตของคนไทย แถมมีออริจินอลซีรีส์ของตัวเองด้วย และที่ดีงามที่สุดคือ ดูฟรี (แต่มีโฆษณานะจ้ะ)

iFlix (ไอฟลิกซ์)

ไอฟลิกซ์เน้นความหลากหลาย มีคอนเทนต์รวมกว่า 40,0000 ชั่วโมง ทั้งฝรั่ง จีน เกาหลี การ์ตูน มีหมด แถมบางคอนเทนต์ยังอัพเดตเร็วมาก ฉายจาก US ไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็มีซับไทยแล้ว ขณะที่ราคาแค่ 100 บาท/เดือน และดูฟรีเดือนแรกด้วยนะ น่าคบสุด ๆ

Doonee (ดูนี่)

แพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่ให้ดูฟรี 30 วันเมื่อสมัคร แถมราคาเเพ็กเกจก็หลากหลาย ทั้งรายวัน 9 บาท รายเดือน 150 บาท และรายปี 1,500 บาท โดยคอนเทนต์ที่โดดเด่นจะเป็นภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา อย่าง hell kitchen, Master Chef และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มคนไทย แน่นอนว่าคอนเทนท์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

ล่าสุด ดูนี่ออกเเคมเปญ #ดูนี่กู้ชาติ #ดูฟรี19วัน โดยเข้าไปคอมเมนต์ว่า #ดูนี่กู้ชาติ ใต้ภาพเเคมเปญในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘DOONEE ดูนี่ ดูซีรีส์ออนไลน์’ เมื่อได้โค๊ดก็นำไปกรอกที่ลิงก์นี้ได้เลย https://bit.ly/2wBvAyi (อย่าลืม Log-in ด้วยนะ) ตั้งแต่วันนี้ – 12 เมษายน 2563

MONOMAX (โมโนแมกซ์)

คงไม่ต้องบอกสรรพคุณ ใครที่เป็นแฟนหนังและซีรีส์ในช่อง Mono29 ก็ตามไปดูต่อกันผ่านแพลตฟอร์มได้ ล่าสุดเตรียมเอาซีรีส์ “WESTWORLD Season 3” (เวสต์เวิลด์ ซีซั่น 3) มาลงด้วย แฟน ๆ ก็ตามรอได้เลย ใครสนใจก็สมัครดูได้ ให้ดูฟรี 30 วันเช่นกัน ใครติดใจก็สมัครต่อได้ในแพ็กเกจ 250 บาท/เดือน และ 2,500 บาท/ปี

#Netflix #Viu #HOOQ #WETV #LINE TV #iFlix #Doonee #MONOMAX #Positioningmag

]]>
1269594
OTT EFFECT วิดีโอ สตรีมมิ่ง กระหึ่มจอ ได้เวลาวางกติกา? https://positioningmag.com/1124371 Wed, 03 May 2017 22:55:02 +0000 http://positioningmag.com/?p=1124371 กำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สำหรับบริการ Over-the-Top (OTT) โดยเฉพาะในฟากของบริการสื่อสารและแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่า บริการ “วิดีโอ สตรีมมิ่ง” หรือแอปดูหนัง ซึ่งมีทั้งผู้เล่นจากต่างประเทศ และไทย ทั้งหน้าเก่าและรายใหม่เข้ามาในตลาด จนถูกคาดหมายว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทีวีในอีกไม่ช้า ทำให้ กสทช. ต้องลุกขึ้นมากำหนดกติกาให้กับ OTT 

ด้วยจุดเด่นในเรื่องความสะดวกในการรับชมจากอุปกรณ์ต่างๆ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เครื่องพีซี เกมคอนโซล เรียกว่าอยู่ที่ไหนก็รับชมได้ทุกที่ทุกเวลา และตามต้องการ (on demand) ขอให้เชื่อมอินเทอร์เน็ตได้เป็นพอ

แม้ว่าการให้บริการ OTT จะยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่ด้วยการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ง่ายขึ้น จากทั้งผู้ให้บริการมือถือและบรอดแบนด์ รวมทั้งยอดการใช้สมาร์ทโฟนที่เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี แถมอัตราค่าสมาชิกซึ่งปัจจุบันเรียกเก็บในอัตรา 99 -119  บาทต่อเดือน และมีแนวโน้มที่ราคาค่าบริการจะลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้บริการนี้ได้รับความสนใจจากผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น

จากการวิเคราะห์ตลาด OTT ของ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานอนุกรรมการ กำหนดกรอบการทำงานเกี่ยวกับ OTT ได้แบ่งกลุ่มผู้ให้บริการ OTT  ในไทย มี 4 กลุ่มใหญ่ๆ (ดูกราฟิก ผู้ให้บริการ OTT ในไทย)

มีทั้งผู้ให้บริการเพย์ทีวีเดิม เช่น พีเอสไอ และค่ายทรู ที่เพิ่มเติมบริการ OTT เพื่อไม่ตกเทรนด์ และผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่หันมาให้บริการ OTT เช่น เอไอเอส Play และสถานีทีวี ที่เพิ่มช่องทาง OTT เพื่อรองรับพฤติกรรมคนดูมัลติสกรีน

อีกกลุ่มที่ต้องจับตาคือ ผู้ให้บริการ OTT อิสระ มีทั้งค่ายของไทย คือ Hollywood TV, DOONEE, Primetime ส่วนต่างประเทศ คือ ยูทิวบ์ เฟซบุ๊ก ไลน์ทีวี และ Netflix, iFlix

ในกลุ่มที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ คือ Facebook, YouToube, Line TV  ข้อมูลจากสมาคมโฆษณาดิจิทัล (DAAT) พบว่าผู้ให้บริการกลุ่มนี้ทำรายได้จากโฆษณา มูลค่าตลาดรวม 5,007 ล้านบาท โดยผู้ให้บริการทำรายได้สูงสุดในเวลานี้ คือ Facebook  2,842 ล้านบาท ตามมาด้วย YouTube 663 ล้านบาท) และ Line TV และผู้ประกอบการช่องโทรทัศน์ 502 ล้านบาท

จากการที่ Facebook  ได้ประกาศแนวทางในการทำธุรกิจในรูปแบบเดียวกับ YouTube จะยิ่งทำให้การแข่งขันของผู้ให้บริการเหล่านี้เพิ่มดีกรีความคึกคักยิ่งขึ้น และส่งผลให้มูลค่าตลาดโฆษณาดิจิทัล วิดีโอ ในปี 2558-2559 เพิ่มสูงขึ้น 23%  และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น 4,502 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมรายได้ของ Facebook

ได้เวลากำกับดูแล

เมื่อตลาด OTT มีแนวโน้มเติบโตแบบฉุดไม่อยู่ ด้วยหลายปัจจัย ทั้งพฤติกรรมคนดูมัลติสกรีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ การเติบโตสมาร์ทโฟน ความพร้อมของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 4G และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมทั้งคอนเทนต์ใหม่ๆ ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ผู้ประกอบการทั้งเก่าและใหม่ที่ดาหน้าเข้าสู่ตลาด ทั้งช่องทีวี โทรคมนาคม รวมทั้งผู้ประกอบการอิสระที่มีบทบาทสูงมาก

ทำให้ กสทช. จึงต้องวางแนวทางในการกำกับดูแลกิจการ OTT  ด้วยการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อร่วมกันพิจารณารายละอียดต่างๆ โดยมี พ.อ.นที เป็นประธานคณะอนุกรรมการ บอกถึงว่า เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันในทุกแพลตฟอร์ม และเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงต้องมีการพิจารณาเรื่องการกำกับดูแลกิจการ OTT  ส่วนรายละเอียดต่างๆ เช่น จะต้องขอใบอนุญาตจาก กสทช.หรือไม่ จะต้องกำกับคอนเทนต์ด้วยหรือไม่นั้น จะต้องรอผลสรุปจากอนุกรรมการ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน

เพราะประเด็นของ OTT ที่คนในวงการมองเห็นตรงกัน ทุกวันนี้ OTT มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมีการกำกับ ทั้งเรื่องของการเก็บภาษี การออกใบอนุญาต รวมถึงเนื้อหา ที่ต้องให้เกิดเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นการแพร่ภาพออกอากาศให้คนจำนวนมากได้รับชม

มาดูในฟากของผู้ประกอบการ OTT อิสระ หรือผู้ให้บริการดูหนังออนไลน์ ก็ออกมาเคลื่อนไหวทำตลาดกันอย่างคึกคัก

ฮอลลีวูด ทีวี เลี่ยงคอนเทนต์ชนผี เน้นการ์ตูน-ฮอลลีวูด

ฮอลลีวูด ทีวี ถือเป็นผู้บุกเบิกให้บริการดูหนังออนไลน์ หรือวิดีโอออนดีมานด์รายแรกๆ ในตลาดไทยมาได้ 3 ปีในไทย เพราะมองเห็นเทรนด์การเติบโตของธุรกิจนี้ โดยปัจจุบันมีสมาชิกแบบรายเดือน 150,000 ราย และรับชมหนังไปแล้วกว่า 20 ล้านครั้ง ในปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มสมาชิกเป็น 3 แสนราย

โดยมีอยู่ในมือคิดเป็นจำนวนภาพยนตร์กว่า 4,000 เรื่อง จำนวนซีรีส์กว่า 438 ซีซัน (12,136 เอพิโสด) หรือรวมๆ แล้วกว่า 10,000 ชั่วโมง ครอบคลุมภาพยนตร์ฮอลลีวูด จีน เกาหลี อินเดีย ซีรีส์ต่างๆ

เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง คอนเทนต์ที่เป็นไฮไลต์ของฮอลลีวูด ทีวี คือ การ์ตูน หรือคอนเทนต์สำหรับเด็ก คิดเป็นสัดส่วน 40% ของคอนเทนต์ทั้งหมด ที่เหลือ 60% เป็นคอนเทนต์สำหรับผู้ใหญ่ ก็คือภาพยนตร์ และซีรีส์ต่างๆ กลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นคนดูของฮอลลีวูด ทีวีจึงเป็นกลุ่มเด็ก และคอดูหนัง แต่กลุ่มคนที่เป็นสมาชิกที่จ่ายเงินจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 30 ปีขึ้นไป ที่ซื้อให้ตนเอง และลูกดู

พิรุฬห์ พิหเคนทร์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอลลีวูด มูฟวีส์ เอจี จำกัด  เล่าถึงสาเหตุที่เน้นคอนเทนต์เด็กเพราะมองว่าเด็กมีเวลาดูคอนเทนต์ได้มากกว่าผู้ใหญ่ ทำการบ้านเสร็จ หรือกลับจากโรงเรียนก็มีเวลาดู ยุคนี้เวลาออกไปทานข้าวนอกบ้านก็เห็นพ่อแม่ให้ลูกๆ ดูการ์ตูนกัน และอีกอย่างก็คือกลุ่มคนที่ซื้อเป็นพ่อแม่เด็ก ซื้อครั้งเดียวสามารถดูได้ทั้งบ้าน จะมีคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ทั้ง 2 กลุ่มอยู่

ตลาดวิดีโอออนดีมานด์ในไทยเวลานี้ เป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคให้ความสนใจขึ้น แต่ผู้เล่นบางคนก็อยู่ยาว บางคนก็อยู่สั้น ต้องมีสายป่านยาวจริงๆ ต้องหาจุดยืนของตัวเองให้เจอ บางรายเน้นคอนเทนต์ด้านซีรีส์ บางรายเน้นด้านภาพยนตร์ แต่ละคนจะมีแต่ละมุมต่างไป ฮอลลีวูด ทีวีจึงต้องสรรหาคอนเทนต์แปลกๆ เพิ่มความน่าสนใจในตลาด

ส่วนคู่แข่ง นอกจากผู้ให้บริการเดียวกันแล้ว เว็บเถื่อนก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเพราะไม่มีต้นทุนอะไรเลย วิธีการของฮอลลีวูด ทีวีก็คือพยามหลีกเลี่ยงคอนเทนต์ที่เหมือนกับเว็บเถื่อน เพราะสู้เรื่องความเร็วไม่ได้ แต่บางคอนเทนต์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้มีชนกันบ้าง

 สำหรับค่าบริการของฮอลลีวูด ทีวีอยู่ที่เดือนละ 199 บาท ถือเป็นราคาในระดับกลาง เพราะผู้เล่นรายอื่นมีตั้งแต่ 100 บาท ไปจนถึง 420 บาท หลักการตั้งราคาเพราะมองว่าอยู่ในระดับ 200 บาท เป็นราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้ ถ้าตั้งถูกเกินไปก็มองว่าสินค้าไม่ดี แต่ถ้าแพงเกินไปก็ไม่สนใจ

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ฮอลลีวูดได้ใช้งบลงทุนรวม 1,000 ล้านบาท ในแต่ละปีจะใช้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับคอนเทนต์ และเทคโนโลยีในปีนั้น และในปีนี้วางเงินลงทุนอีก 400 – 500 ล้านบาท เป็นการใช้งบลงทุนมากที่สุดเท่าที่ผ่านมา ลงทุนทั้งคอนเทนต์ และการผลิตอุปกรณ์ Hardware  ภายใต้ชื่อ  DOT ที่จะมาช่วยตอบโจทย์เรื่องการดูหนังบนจอทีวี เพราะมองเห็นเทรนด์การดูคอนเทนต์ผ่านหลายหน้าจอ บางคนชอบดูหน้าจอใหญ่ๆ และเป็นการขยายฐานผู้ชมด้วย

โดยการจับมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีจาก Silicon Valley สหรัฐอเมริกา ชื่อ eyeIO ซึ่งเป็นบริษัทด้านระบบ Streaming จะเข้ามาช่วยในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบีบอัดข้อมูล และอุปกรณ์สำหรับดูหนังบนจอทีวี โดยคาดว่าจะวางจำหน่าย DOT ได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ แต่ยังไม่เปิดเผยราคาขาย ตั้งเป้ายอดขาย 1 แสนตัว

ในปี 2559 ที่ผ่านมา ฮอลลีวูด ทีวีมีรายได้ 500 ล้านบาท เติบโตกว่า 20% ปัจจุบันฮอลลีวูด ทีวีอยู่ในจุดคุ้มทุนแล้ว แต่มีการลงทุนต่อเนื่อง คาดว่าในปีนี้จะมีกำไร โดยยอดรายได้ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าแบบสมาชิกรายเดือน และลูกค้าที่ซื้อหนังใน Store ในปีนี้หลังจากที่มีอุปกรณ์ DOT เข้ามา ตั้งเป้าการเติบโตอีกเท่าตัวหนึ่งเป็น 1,000 ล้านบาท

ส่วนกระแสข่าวที่ว่า กสทช.เตรียมควบคุมบริการ OTT ให้มีการขอใบอนุญาต พิรุฬห์ บอกว่า ผู้ประกอบการมีการพูดคุยกับทาง กสทช.อยู่ตลอด แต่ละเดือนจะมีการเรียกคุยแต่ละรายอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนตัวยินดีปฏิบัติตามกฎอยู่แล้ว ตอนนี้ยังเป็นการพูดคุยอย่างมีเหตุผลอยู่ ยังไม่มีการออกมาตรการโดยตรง ซึ่งอาจจะต้องรอดูคำสั่งจากทาง กสทช.อีกที

iflix  สู้ดูหนังเถื่อนด้วยราคา 100 บาท

ส่วนค่าย iflix (ไอฟลิกซ์) เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 มา 2 ปีแล้ว ต่อจากมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ปัจจุบันขยายตลาดไป 10 ประเทศทั่วเอเชีย ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา บรูไน มัลดีฟส์ ปากีสถาน เวียดนาม และเมียนมา เวลานี้ไทยได้กลายเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของไอฟลิกซ์ทั่วโลก มีสมาชิก 1 ล้านราย จากสมาชิกรวม 5 ล้านราย ตลาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่อินโดนีเซีย รองลงมาเป็นฟิลิปปินส์

ถึงแม้ว่าในไทยจะมีสมาชิก 1 ล้านแล้ว แต่จำนวนแอ็กทีฟยังอยู่หลักแสน เพราะยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่นิยมดูหนังผ่านช่องทางผิดลิขสิทธิ์ทั้งทางเว็บไซต์และแผ่นผี กลายเป็นความท้าทายอย่างหนักของไอฟลิกซ์ กลยุทธ์หลักนอกจากเรื่องคอนเทนต์ที่มีภาพยนตร์ ซีรีส์แล้ว ไอฟลิกซ์จึงต้องลดค่าบริการลงมา 100 บาท เพื่อจูงใจ

อาทิมา สุรพงษ์ชัย หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท ไอฟลิกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในตลาดวิดีโอออนดีมานด์ตอนนี้ไม่ได้แข่งกับผู้ให้บริการด้วยกัน แต่ต้องแข่งกับเว็บเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์ ตลาดตรงนี้ใหญ่กว่าผู้เล่นที่ถูกลิขสิทธิ์รวมกันทั้งหมดอีก การที่จะต้องต่อสู้ต้องมีคอนเทนต์ที่หลากหลาย และราคาคุ้มค่า ต้องทำให้ชนะเว็บเถื่อนให้ได้ ทำให้ผู้บริโภคได้รู้ว่าจ่ายในราคาเท่านี้ก็ได้ดูหนังถูกลิขสิทธิ์แล้ว”

หลักการตั้งราคาค่าบริการเดือนละ 100 บาทของไอฟลิกซ์ จะอิงจากราคาแผ่นซีดีเถื่อน 1 แผ่น เลือกที่จะตั้งราคาให้ผู้บริโภคตัดสินใจง่าย แล้วสื่อสารง่ายๆ 100 บาทดูได้ทุกอย่างไม่อั้น ไม่มีจ่ายเพิ่ม ไม่มีโฆษณา โดยต้องทำทุกอย่างให้ง่ายที่สุด ให้เขาทดลองใช้ เพราะถ้าซับซ้อนผู้บริโภคจะไม่สนใจ ซึ่งราคา 100 บาท ถือว่าถูกที่สุดในตลาด รายอื่นๆ ราคาค่าบริการเฉลี่ย 199-450 บาท

เมื่อประเมินเรื่องการแข่งขันในตลาดของแอปดูหนังแล้ว อาทิมา บอกว่า การแข่งขันทุกรูปแบบทั้งคอนเทนต์ ราคา และประสบการณ์ของผู้ใช้ บางรายจะเน้นคอนเทนต์แบบเอ็กซ์คลูซีฟ บางรายเน้นคอนเทนต์เกาหลี จะขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าต้องการคอนเทนต์แบบไหน

คอนเทนต์ของไอฟลิกซ์จะเน้นกลุ่มแมส กลุ่มที่ยอดนิยมจะเป็นซีรีส์ฝรั่ง ซีรีส์เกาหลี หนังฝรั่ง และหนังไทย ตอนนี้มีปริมาณคอนเทนต์รวม 30,000 ชั่วโมง มีคอนเทนต์ พาร์ตเนอร์รวม 170 ราย ทั้งฮอลลีวูด และพาร์ตเนอร์ในไทย

กลยุทธ์ต่อไปในประเทศไทย จะพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจมากขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้า พาร์ตเนอร์เป็นแบรนด์สินค้าต่างๆ ที่นำไอฟลิกซ์เป็นสิทธิพิเศษให้ลูกค้าของแต่ละแบรนด์ ปัจจุบันได้ทำกับ ซัมซุง, ดีแทค, ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์แล้ว กลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จในหลายๆ ประเทศ อย่างอินโดนีเซียที่โอเปอเรเตอร์รายใหญ่อย่าง Indosat ได้ซื้อบริการไอฟลิกซ์ไปแจกลูกค้า ทำให้ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น เมื่อลูกค้าได้ทดลองใช้ก็มีสิทธิ์ที่จะใช้บริการต่อ

Original Content ยังไม่ใช่แนว

ส่วนการผลิตคอนเทนต์แบบเอ็กซ์คลูซีฟ เหมือนอย่างที่ไลน์ทีวีทำเพื่อเรียกฐานผู้ชม ของไอฟลิกซ์ก็มี Original Content ของตนเองอยู่เช่นกัน แต่กำลังเพิ่งเปิดกล้องและฉายที่มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีแผนลงทุนทำ แม้จะมีผู้ผลิตเข้ามาเสนออยู่เรื่อยๆ แต่ยังไม่มีรายถูกใจ ยังเชื่อมั่นว่าคอนเทนต์ที่มีอยู่โดนใจผู้บริโภคมากพอแล้ว

ถึงอย่างไรก็ตาม ไอฟลิกซ์ก็ยังมีข้อจำกัดหนึ่งที่ยังไม่สามารถสู้กับเว็บเถื่อนได้ก็คือ “ความเร็ว” หนังแต่ละเรื่องที่จะเข้ามาในระบบต้องใช้เวลาเฉลี่ย 12 เดือน ไม่ใช่หนังใหม่ที่เพิ่งออกโรง เพราะลิขสิทธิ์ที่ไอฟลิกซ์ได้เทียบเท่ากับลิขสิทธิ์แผ่นซีดีแบบมาสเตอร์ เป็นผู้ได้ลิขสิทธิ์อันดับสุดท้ายรองจากทีวีเคเบิล และโทรทัศน์ นอกจากคอนเทนต์ประเภทซีรีส์จะเข้าระบบเร็วแบบวันรุ่งขึ้นก็สามารถดูได้แล้ว

Netflix บุกตลาดด้วยซับไตเติล-พากย์ไทย

ที่ต้องจับตาคือ ค่ายยักษ์ใหญ่ ผู้ให้บริการวิดีโอ สตรีมมิ่ง อันดับ 1 อย่าง Netflix  ที่มียอดสมาชิกทั่วโลก 100 ล้านคนใน 190 ประเทศ หลังจากให้บริการอย่างไม่เป็นทางการมาปีกว่า ก็ได้เปิดตัวเป็นทางการ ด้วยภาษาไทยทั้งซับไตเติล และพากย์ไทย เสร็จสรรพ เพื่อขยายฐานสมาชิกใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

Netflix สร้างความแตกต่างด้วยเนื้อหาผลิตขึ้นเองทั้งหนังและซีรีส์ ทำให้มีเนื้อหาที่สร้างเองมากกว่า 400 เรื่อง ยาวรวมกันมากกว่า 1,000 ชั่วโมง โดยใช้งบลงทุนเนื้อหาไปแล้ว 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

มารอบนี้ นอกจากเรื่องของภาษาไทยแล้ว คนไทยจะได้ดูซีรีส์ที่มีซับไทยพร้อมกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก  ยังเน้นเรื่องของความง่ายในการใช้งานจากการที่เป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตทีวี ทำให้สามารถใช้งานผ่านสมาร์ททีวีได้ทันที หรือจะเลือกใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ก็จะมีการเชื่อมต่อข้อมูลกันตลอดเวลา

ขณะเดียวกัน ยังใช้ Machine Learning นำมาวิเคราะห์พฤติกรรมการรับชมเพื่อนำเสนอภาพยนตร์ที่เหมาะสมให้แก่ผู้ใช้รายบุคคลมากขึ้น

รายได้หลักของ Netflix จะมาจากสมาชิกเพียงอย่างเดียว ไม่มีโฆษณามาคั่น โดยอัตราค่าบริการจะมี 3 แพ็กเกจ แพ็กเกจ  280 บาท/เดือน ดูได้ 1 เครื่อง แพ็กเกจ 350 บาท ดูได้พร้อมกัน 2 เครื่อง รองรับความคมชัดสูง Ultra HD 4K และ HDR และสูงสุดคือ 420 บาทต่อเดือน ดูได้พร้อมกัน 4 เครื่อง และรองรับ Ultra HD 4K และ HDR ซึ่งขณะนี้จะให้รับชมฟรี 1 เดือน

ผู้บริหารของ Netflix  มองว่าตลาดเมืองไทยน่าสนใจ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังดูผ่านทีวีเป็นหลักถึง 40%  และรับชมผ่านสมาร์ทโฟน 15%  สอดคล้องกับผู้ใช้ทั่วโลกที่ดูผ่านทีวีเป็นหลัก ประมาณ 65% และที่เหลืออจะดูผ่านอุปกรณ์อื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้ว คนไทยจะดูผ่านอุปกรณ์ 3-5 ชนิด ขึ้นอยู่กับว่ารับชมช่วงเวลาใด

การทำตลาดเวลานี้ ยังไม่เน้นเรื่องของผลกำไร แต่จะมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์ในการับชมให้ผู้บริโภคชาวไทย ด้วยความหลากหลายของภาพยนตร์และซีรีส์ ที่ทั้งผลิตเอง และซื้อลิขสิทธิ์มาจากผู้ผลิตหนังค่ายต่างๆ โดยจะเน้นตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล

เรียกว่าเวลานี้ บริการ  OTT หรือ วิดีโอ สตรีมมิ่ง กำลังร้อนแรงไปทั้งตลาด ทั้งฟากของผู้ให้บริการ และหน่วยงานรัฐ ส่วนผลจะออกมาเป็นอย่างไร ไม่นานเกินรอ ได้รู้กัน

]]>
1124371
ไอฟลิกซ์ เตรียมขยายทั่วโลก หลังปิดดีลเพิ่มทุน 3 พันล้าน https://positioningmag.com/1118717 Thu, 09 Mar 2017 05:14:27 +0000 http://positioningmag.com/?p=1118717 หลังจากที่ตีตลาดเอเชีย และเป็นอันดับต้นๆ สำหรับผู้ให้บริการดูหนังออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไอฟลิกซ์เตรียมขยายธุรกิจสู่ตะวันออกกลาง, แอฟริกา และตลาดใหม่ๆ ทั่วเอเชีย เพราะตะวันออกกลางและแอฟริกามีการคาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสูงถึง 880 ล้านคนภายในปี 2563 กลายเป็นตลาดน่าสนใจ

ล่าสุด ไอฟลิกซ์ ผู้ให้บริการดูซีรีส์และหนังออนไลน์ ประกาศปิดดีลเพิ่มเงินทุนกว่า 3 พันล้านบาท (90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อรองรับการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลก

โดยการเพิ่มทุนครั้งนี้ได้การลงทุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่รายใหม่ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ลิเบอร์ตี้ โกลบอล จำกัด มหาชน ผู้ให้บริการสื่อบันเทิงและโทรคมนาคมรายใหญ่ระดับโลกที่มีรายการโทรทัศน์ บันเทิง กีฬา และธุรกิจอื่นๆ รายที่สองคือ บริษัท เซน (Zain) ที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและโทรคมนาคมในตะวันออกกลางและแอฟริกา และมีผู้ถือหุ้นเดิม ได้แก่ บริษัท สกาย มหาชน, แคทชา กรุ๊ป และ เอเวอร์ลูชั่น มีเดีย แคปิตอล

มาร์ค บริทท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ไอฟลิกซ์ เผยว่า “ไอฟลิกซ์พร้อมจะขยายสู่ตลาดใหม่ๆ ทั่วโลก นอกเหนือจากภูมิภาคเอเชียและ ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา การร่วมทุนในครั้งนี้จะเสริมให้เรามีศักยภาพในการเพิ่มคอนเทนต์และบริการที่ดียิ่งขึ้น ให้กับสมาชิกไอฟลิกซ์ในแต่ละประเทศได้สนุกกับคอนเทนต์ที่ต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา”

ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากกว่า 2.5 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งพวกเขามีความต้องการที่จะเข้าถึงรายการที่ตนชื่นชอบโดยที่ไม่ยุ่งยาก เป้าหมายของเราคือให้ผู้บริโภคเหล่านั้นทุกคนสามารถเข้าถึงไอฟลิกซ์ได้

การเติบโตของไอฟลิกซ์สะท้อนให้เห็นการเติบโตในธุรกิจคอนเทนต์ที่เป็นการรับชมแบบออนดีมานด์ ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ที่เลือกเสพสื่อตามใจต้องการ

ไอฟลิกซ์เปิดตัวครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี 2558 มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และตั้งมาตรฐานใหม่ในการรับชมรายการทีวีและหนังแบบวิดีโอ ออน ดีมานด์   (Video on Demand) ด้วยกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกในแต่ละประเทศ จนจำนวนผู้ใช้รายวันเพิ่มมากขึ้นกว่า 27 เท่า และมีการชมคอนเทนต์ไปแล้วกว่า 5 พันล้านนาทีนับตั้งแต่เปิดให้บริการ

มีพันธมิตรกับสตูดิโอและผู้จัดจำหน่ายคอนเทนต์กว่า 170 เจ้าทั่วโลก ทั้งจากฮอลลีวู้ด ยุโรป สตูดิโอในระดับภูมิภาคและประเทศไทย

หลังจากเปิดให้บริการในประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา บรูไน มัลดีฟส์ ปากีสถาน เวียดนาม และล่าสุดไอฟลิกซ์ร่วมกับเซน (Zain) เพื่อนำไอฟลิกซ์สู่ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เดินหน้าขยายบริการระดับโลกสู่ประเทศในตลาดเกิดใหม่

]]>
1118717
อะโดบีเสริมพลังไอฟลิกซ์ (iflix) พร้อมขยายแผนธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://positioningmag.com/1110863 Thu, 15 Dec 2016 04:06:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=1110863 อะโดบี ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ผนึกกำลังร่วมกับ ไอฟลิกซ์ (iflix) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทีวีชั้นนำของโลก เพื่อบุกตลาดเกิดใหม่ โดยล่าสุดบริษัททั้งสองเปิดเผยถึงการทำข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว  โดยในช่วงสองสามปีข้างหน้า ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ไอฟลิกซ์จะเริ่มต้นใช้งาน Adobe Marketing Cloud ซึ่งประกอบด้วยชุดโซลูชั่นระดับโลกสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการแคมเปญ และการปรับแต่งตามกลุ่มผู้ชม เพื่อรองรับการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว และตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดเกิดใหม่ (emergingmarkets) ทั่วโลก

ไอฟลิกซ์ ก่อตั้งขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อปี 2557 โดยนับเป็นบริการอินเทอร์เน็ตทีวีชั้นนำที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความร่วมมือกับสตูดิโอและผู้จัดจำหน่ายชั้นนำของโลกกว่า 160 ราย เพื่อนำเสนอรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และอื่นๆ หลายพันเรื่องให้แก่สมาชิก  โซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของอะโดบีจะช่วยให้ไอฟลิกซ์มอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าในด้านบริการวิดีโอออนดีมานด์ (VOD) บนอุปกรณ์พกพา โดยนำเสนอคอนเทนต์ที่ปรับแต่งตามรสนิยมที่หลากหลายของสมาชิกแต่ละราย  โซลูชั่นของอะโดบีสามารถปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งนับเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญสำหรับไอฟลิกซ์ ที่ต้องการเสริมสร้างความเป็นผู้นำในตลาดเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง

Adobe Marketing Cloud ซึ่งบริษัทวิเคราะห์ทั่วโลกระบุว่าเป็นโซลูชั่นดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด จะช่วยให้ไอฟลิกซ์ได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า และช่วยให้ทีมงานฝ่ายการตลาดสามารถออกแบบ วางแผน ดำเนินการ จัดการ และปรับปรุงแคมเปญการตลาดผ่านหลากหลายช่องทาง เพื่อมอบประสบการณ์สุดประทับใจให้แก่ลูกค้า  ทั้งนี้ ไอฟลิกซ์จะติดตั้งโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของอะโดบี ซึ่งได้แก่ Adobe Analytics สำหรับการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าผ่านทางเว็บไซต์ โมบายล์แอพ และแพลตฟอร์มวิดีโอของไอฟลิกซ์ และ Adobe Audience Manager สำหรับการทำความเข้าใจอย่างรอบด้านเกี่ยวกับรสนิยมและความต้องการของสมาชิกแต่ละราย  นอกจากนี้ยังมี Adobe Media Optimizer ซึ่งให้ภาพรวมที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแคมเปญ และช่วยให้สามารถใช้งบประมาณด้านการตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในส่วนของเครื่องมือค้นหา โซเชียลมีเดีย และดิสเพลย์ ขณะที่Adobe Campaign จะช่วยให้ทีมงานของไอฟลิกซ์สร้างความภักดีด้วยการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในแบบส่วนตัว

นายเดวิด โกลด์สไตน์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียของ ไอฟลิกซ์ กรุ๊ป กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือ การสร้างสรรค์ประสบการณ์ส่วนตัวที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่สอดคล้องกับรายการที่ผู้ใช้ชื่นชอบ หรือแนะนำผ่านทางอีเมล์  เทคโนโลยีของอะโดบีช่วยให้เราสามารถสร้างโปรไฟล์ลูกค้าแบบครบวงจร และรับทราบเกี่ยวกับรสนิยมและความต้องการของลูกค้า  การแนะนำรายการคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับรสนิยมที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้าถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง  เทคโนโลยีของอะโดบีช่วยให้เราได้รับทราบข้อมูลสำคัญทั้งหมดเกี่ยวกับลูกค้า โดยรวมอยู่ในมุมมองเดียวกัน ดังนั้นเราจึงสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาที่รวดเร็วมากขึ้น  ด้วยชุดเทคโนโลยีระดับโลกที่มอบเสถียรภาพในการใช้งานและความยืดหยุ่นในการปรับขนาดได้เหนือกว่าโซลูชั่นอื่นๆ เราจึงมั่นใจว่าอะโดบีจะเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งและช่วยสนับสนุนความพยายามของเราในการนำเสนอคอนเทนต์คุณภาพสูงให้แก่ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น”

นายวีอาร์ ศรีวัตศาน กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอะโดบี กล่าวว่า“ปัจจุบัน ลูกค้าคาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม  ด้วยเหตุนี้ การตอบสนองความคาดหวังดังกล่าวจะทำให้ไอฟลิกซ์แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ ในตลาด  อะโดบีรู้สึกยินดีที่ได้รับความไว้วางใจจากไอฟลิกซ์ในฐานะพันธมิตรเชิงกลยุทธ์สำหรับการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว และเราจะทำงานร่วมกับทีมงานของไอฟลิกซ์อย่างใกล้ชิด เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้าแต่ละราย โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกและการแบ่งเซ็กเมนต์อย่างถูกต้อง”

“ทุกวันนี้ การบริโภคสื่อบนอุปกรณ์พกพามีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป  ไอฟลิกซ์และอะโดบีเข้าใจถึงความจำเป็นในการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ด้วยการนำเสนอประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง หลากหลาย และสอดรับกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายบนทุกอุปกรณ์ พร้อมความสามารถในการผสานรวมข้อมูลจากส่วนต่างๆ เข้าไว้ในมุมมองหนึ่งเดียวที่รอบด้านและครบถ้วนสมบูรณ์  อะโดบีจะจัดหาเครื่องมือสำคัญๆ เพื่อส่งเสริมการเติบโตที่รวดเร็วของไอฟลิกซ์ในช่วงหลายปีนับจากนี้” มันซาร์ อิมาม ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายลูกค้าของอะโดบีที่ดูแลเกี่ยวกับไอฟลิกซ์

เกี่ยวกับไอฟลิกซ์

ไอฟลิกซ์ (iflix) เป็นผู้นำบริการสตรีมและดาวน์โหลดซีรีส์และหนังระดับโลกในตลาดเกิดใหม่ ที่มีรายการทีวีและหนังมากมายจากทั่วโลกให้เลือกรับชมหลายหมื่นชั่วโมงแบบไม่อั้น ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์สุดเอ็กซ์คลูซีพที่ไอฟลิกซ์ได้สิทธิ์ฉายเป็นที่แรก ภาพยนตร์และซีรีส์รางวัล รวมถึงรายการต่างๆ จากทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งไอฟลิกซ์มีความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบความบันเทิงให้กับทุกคนเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการสตรีม หรือดาวน์โหลดในราคาสุดคุ้ม โดยสามารถรับชมได้ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก ทีวี ฯลฯ ที่ไหนก็ได้เมื่อไรก็ได้ ไปสนุกกันเลยที่ http://www.iflix.com

เกี่ยวกับ Adobe Marketing Cloud

Adobe Marketing Cloud ช่วยให้องค์กรต่างๆ ใช้งาน big data ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมัดใจลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสร้างเนื้อหาทางการตลาดที่ออกแบบมาเฉพาะตัวสำหรับลูกค้า ผ่านทางอุปกรณ์ดิจิตอลทั้งหลาย โซลูชั่นทั้ง 8 ใน Marketing Cloud ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน เพื่อให้นักการตลาดมีเทคโนโลยีทางการตลาดที่มุ่งเน้นทางด้านการวิเคราะห์ การจัดการประสบการณ์บนเว็บและแอพพลิเคชั่น การทดสอบและการกำหนดเป้าหมาย การโฆษณา การจัดการกลุ่มเป้าหมาย วิดิโอ การมีส่วนร่วมทางสังคม และการโฆษณาอย่างสอดประสานกัน เมื่อใช้งานร่วมกับ Adobe Creative Cloud จะทำให้สามารถสร้างสินทรัพย์ทางด้านการสร้างสรรค์สำหรับทุกช่องทางการตลาดได้รวดเร็วขึ้น แบรนด์ทั่วโลกหลายพันแบรนด์ รวมทั้งสองในสามองค์กรใน Fortune 50 ต่างใช้บริการ Adobe Marketing Cloud อยู่ในปัจจุบัน

เกี่ยวกับบริษัทอะโดบี ซีสเต็มส์ อินคอร์เปอร์เรทเต็ต

อะโดบีเปลี่ยนโลกผ่านประสบการณ์ด้านดิจิตอล รายละเอียดเพิ่มเติม www.adobe.com/sea

ติดตามอะโดบีผ่านเฟสบุ๊กที่ https://www.facebook.com/AdobeSEA/

]]>
1110863