Internet of Things – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 27 Jun 2023 03:33:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์กับ “Nong Pim” นวัตกรรมอุปกรณ์ตรวจวัดจาก ปตท. https://positioningmag.com/1312331 Thu, 07 Jan 2021 04:00:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312331

ฝุ่น PM 2.5 กลับมาอีกครั้งในช่วงหน้าหนาว และอาจจะเป็นเช่นนี้ไปอีกนานหากไม่มีการตระหนักรู้ถึงปัญหา ทำให้สถาบันนวัตกรรม ปตท. วิจัยและพัฒนา “Nong Pim” อุปกรณ์ตรวจวัด “ค่าฝุ่น PM 2.5” ที่สามารถวัดค่าและส่งข้อมูลแสดงผลออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์ หลังทดลองใช้ภายในองค์กรกว่า 1 ปี ขณะนี้พร้อมแล้วที่จะเปิดบริการติดตั้งและสร้างโซลูชันให้องค์กรอื่นที่สนใจ

ฤดูหนาวในช่วง 2-3 ปีหลังของประเทศไทยไม่ได้มีเฉพาะลมหนาว แต่ยังมี “ฝุ่น PM 2.5” ตามมาสร้างความเจ็บป่วยต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก ไร้กลิ่น ทำให้หลายคนไม่รู้สึกถึงความอันตราย จนกว่าจะได้เห็นตัวเลขบนเครื่องวัดค่าฝุ่นจึงจะตระหนักรู้ได้ว่าฝุ่นอยู่รอบตัวเราจริงๆ

ความอันตรายของฝุ่น PM 2.5 คือการเป็นฝุ่นที่เล็กถึง 2.5 ไมครอน เป็นขนาดที่สามารถเล็ดรอดสู่เส้นเลือดฝอย กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ผลกระทบระยะสั้นคือทำให้แสบตา ผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้กำเริบ บางรายอาจมีไข้ ตัวร้อน ส่วนผลระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด จนถึงมะเร็งปอดได้

จากความร้ายแรงเหล่านี้ทำให้การรู้ค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นเรื่องสำคัญ “เกียรติสกุล วัชรินทร์ยานนท์” และ “ศิระ นิธิยานนทกิจ” สองนักวิจัย ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีพลังงานใหม่ สถาบันนวัตกรรม ปตท. เล่าถึงที่มาของการวิจัยพัฒนา “Nong Pim” ว่า โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อเดือนกันยายน 2562 เนื่องจากที่ตั้งของสถาบันนวัตกรรม ปตท. ซึ่งอยู่ใน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่มีเครื่องวัดค่าฝุ่นในบริเวณใกล้เคียงเลย จุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไปถึง 20 กิโลเมตร ทางสถาบันฯ จึงมองว่าควรจะพัฒนาเครื่องมือวัดค่าฝุ่นของตนเองขึ้น เพื่อให้ทราบค่าฝุ่นในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ จึงเกิดเป็นอุปกรณ์  Nong Pim

เกียรติสกุลกล่าวว่า ความแตกต่างของ Nong Pim จากอุปกรณ์วัดค่าฝุ่นอื่นที่มีในตลาด คือ Nong Pim เป็นอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เมื่อติดตั้งแล้วสามารถวัดค่าได้ทุกๆ 10 นาที และส่งสัญญาณข้อมูลแบบออนไลน์ขึ้นสู่ระบบคลาวด์ แสดงผลบนแพลตฟอร์มเว็บไซต์ ทำให้ไม่ต้องใช้คนในการถือเครื่องแบบออฟไลน์เข้าตรวจวัดตามจุดต่างๆ

หลังจากที่สถาบันนวัตกรรมใช้งานไประยะหนึ่ง และปรับปรุงจนใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Nong Pim จึงเริ่มถูกนำไปติดตั้งในหน่วยงานอื่นของเครือ ปตท. เช่น สำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดี-รังสิต พบว่า อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาของหน่วยงานได้ เนื่องจากเดิมหน่วยงานจะต้องอาศัยพนักงานรักษาความปลอดภัยเดินถือเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ตามห้องต่างๆ วันละ 3 ครั้ง ซึ่งเสียเวลาและเสียกำลังคนที่ควรได้ทำงานหลักของตนเอง ดังนั้น เมื่อมีเครื่องตรวจวัดอัตโนมัติทำให้แบ่งเบาภาระส่วนนี้ไปได้

“ประโยชน์ของการรู้ค่าฝุ่น PM 2.5 คือทำให้เราสามารถสร้าง Smart Environment ได้ หากค่าฝุ่นสูงเกินระดับปกติ ระบบจะแจ้งเตือนให้พนักงานทราบ เพื่อให้พนักงานเตรียมตัวรับมือฝุ่น รวมถึงทำให้คนตระหนักรู้ว่าฝุ่นมีอยู่จริง มีผลเสียต่อร่างกายจริง นำไปสู่การศึกษาว่าฝุ่นเกิดจากอะไร และถ้าตนเองยังมีกิจวัตรที่ทำให้เกิดฝุ่นก็จะพิจารณาเลิกทำสิ่งเหล่านั้นต่อไป” เกียรติสกุลอธิบายถึงความสำคัญของโครงการนี้

IoT ทำให้ Nong Pim มีประสิทธิภาพกว่า

ด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับ Nong Pim ศิระอธิบายว่า เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในตลาด แต่คัดเลือกด้านคุณภาพวัสดุ ตัวเครื่องวัดมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ ระบบ Laser Scattering ซึ่งจะยิงแสงเลเซอร์ขึ้นไปในอากาศเพื่อวัดค่าการสะท้อนกลับของแสง ทำให้ทราบว่ามีฝุ่นอยู่ในอากาศมากแค่ไหน เป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่มักจะใช้ในเครื่องฟอกอากาศตามบ้าน

อย่างไรก็ตาม จุดสำคัญของ Nong Pim คือการใช้ ระบบ Narrow-Band IoT ตัวเครื่องสามารถส่งข้อมูลค่าฝุ่นที่ได้ผ่านเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ขึ้นสู่ระบบคลาวด์ และนำไปแสดงผลบนเว็บไซต์ที่ทางสถาบันนวัตกรรมเป็นผู้พัฒนาขึ้น ดังนั้น สถานที่ติดตั้ง Nong Pim เพียงมีปลั๊กเสียบ USB และมีสัญญาณมือถือก็สามารถใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องมีสัญญาณ Wi-Fi จึงติดตั้งง่ายและสะดวก

ขณะนี้ระบบ Nong Pim ตั้งค่าให้วัดค่าฝุ่นทุกๆ 10 นาที ส่วนการแสดงผลแก่ end user จะตั้งค่าความถี่เท่าใดก็ได้ เช่น แสดงผลทุก 10 นาที แสดงผลทุก 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

ส่วนการพัฒนาต่อยอดในอนาคต ศิระกล่าวว่า หัวใจสำคัญคือการพัฒนาเซิร์ฟเวอร์การเก็บข้อมูลและแพลตฟอร์มการแสดงผล เพราะข้อมูลที่ได้จะมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเริ่มเปิดตัวในฐานะโซลูชันธุรกิจ การออกแบบแพลตฟอร์มจะต้องเป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขึ้น (user-friendly)

เปิดบริการแบบ B2B โซลูชันวัดค่าฝุ่นองค์กร

เกียรติสกุลกล่าวต่อว่า ขณะนี้ Nong Pim เริ่มเปิดบริการเป็นธุรกิจแบบ B2B แล้ว โดยรับติดตั้งและออกแบบโซลูชันให้องค์กร สามารถปรับรูปแบบเฉพาะ (customize) เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจต่างๆ ได้ และคิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายรายเดือน

ส่วนการจำหน่ายแบบ B2C ยังอยู่ในแผนงานอีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า ต้องใช้เวลาก่อนเปิดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปเพราะการจำหน่ายรายย่อยจะยุ่งยากกว่าในการซ่อมบำรุงผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการขายจะแตกต่าง ต้องมีทีมขายและการตลาดที่แข็งแรงขึ้น

แม้ว่า ปตท. จะเริ่มจำหน่าย Nong Pim เป็นธุรกิจบริการ แต่เกียรติสกุลกล่าวว่า ภาพรวมโครงการนี้ “ไม่ได้หวังจะสร้างกำไร แต่อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีขึ้น”

“มลพิษทางอากาศทำให้คนเสียชีวิตได้และเคยเกิดขึ้นมาแล้ว” เกียรติสกุลกล่าว “หน้าที่ของนักวิจัยจึงไม่ใช่เริ่มจากเราอยากทำอะไร แต่เราเห็นเหตุผลว่าสิ่งที่ทำมาจะได้ประโยชน์อะไร ออกมาแล้วคนจะอยากใช้ นั่นต่างหากคือแรงผลักดันที่แท้จริงสำหรับนักวิจัย”

สนใจโซลูชัน Nong Pim ติดต่อที่คุณวิชย์กรณ์ สถาบันนวัตกรรม ปตท. โทร.03-524-8385 เวลาทำการวันจันทร์-ศุกร์ 08.00-17.00 น.

]]>
1312331
มองตลาด ‘IoT’ ไทยผ่านตา ‘Things on Net’ ที่เชื่อว่า ‘ความเข้าใจ’ และ ‘อีโคซิสเต็มส์’ ยังเป็นโจทย์ใหญ่ https://positioningmag.com/1312616 Thu, 31 Dec 2020 04:10:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312616 IoT เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในยุคที่มี 5G แบบนี้ เนื่องจากจะเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว สำหรับภาคอุตสาหกรรมเองก็มักนำมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้งยังช่วยเก็บข้อมูลไว้เป็น Big Data สำหรับวิเคราะห์จุดอ่อนจุดด้อย โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 มูลค่าตลาดของ IoT ทั่วโลกจะอยู่ที่ 11.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว ดังนั้น ตลาด IoT จึงเป็นตลาดที่หลายองค์กรให้ความสนใจจะเข้ามาในตลาดนี้ แต่ก็ไม่ได้หมูขนาดนั้น

Things on Net เป็นใคร

รติรส จันทรพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ติงส์ ออน เน็ต (THINGS ON NET CO., LTD.) ผู้ให้บริการโซลูชั่นอินเทอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือไอโอที (Internet of Things: IoT) ครบวงจร กล่าวว่า บริษัท ติงส์ ออน เน็ตคือ เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นด้าน IoT จากโครงข่าย Sigfox Operator โครงข่ายเทคโนโลยีการสื่อสารจากประเทศฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ซึ่งโครงข่ายดังกล่าวเป็นโครงข่ายเดียวในโลกที่สามารถส่งสัญญาณได้ในระดับ Global แบบครบวงจรในคลื่น 920-925 MHz ครอบคลุมพื้นที่กว่า 72 ประเทศ และครอบคลุมประชากรโลกมากกว่า 1.2 พันล้านคน โดยอุปกรณ์ IoT จะสามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณการสื่อสารของ Sigfox ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกแบบโรมมิ่งโดยอัตโนมัติซึ่งใช้พลังงานน้อยเนื่องจากส่งข้อความขนาดเล็ก โดยปัจจุบันมีการส่งข้อความกว่า 3 พันล้านข้อความ

“อย่างหลุยส์ วิตตองก็เป็นลูกค้า โดยใช้ระบบ IoT ติดกับกระเป๋าเดินทาง เมื่อกระเป๋าหายก็สามารถแทร็กได้ว่าไปอยู่ที่ไหน เพราะสามารถส่งสัญญาณได้ในระดับโลก หรือแม้แต่ใช้ IoT เป็นเซ็นเซอร์จับหนูในสนามบิน

รติรส เผือกวัฒนะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ติงส์ ออน เน็ต (THINGS ON NET CO., LTD.)

ไม่ใช่คู่แข่งของใคร

ในด้านการแข่งขันบริษัทมองว่าไม่มี เพราะบริษัทเป็นรายเดียวที่ให้บริการแบบ Global Network และบริษัทจะเน้นให้บริการแบบ B2B ในเขตภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยโฟกัสหลักของบริษัทจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมอย่างอะกรีเคาเจอร์, ทรานสปอร์ตเทชั่น, เฮลท์แคร์, เรียลเอสเตส และอุปโภคบริโภค นอกจากนี้จะเน้นไปที่สมาร์ทซิตี้ เช่น ฝั่ง IoT ดูที่จอดรถว่าว่างหรือไม่ว่าง, ใช้ดูท่อประปาต่าง ๆ ว่ามีรอยรั่วหรือไม่, ใช้บริหารจัดการขยะเพื่อดูว่าถังขยะไหนเต็มหรือไม่เต็ม, ใช้วัดคุณภาพอากาศ เป็นต้น

โดยบริษัทให้บริการแบบ Total Solution ตั้งแต่การให้คำปรึกษา การกำหนดกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้าน IoT รวมทั้งชุดอุปกรณ์เซนเซอร์สำเร็จ แพลตฟอร์มและโซลูชันไอโอที อาทิ Asset tracking management, การบริหารจัดการของเสีย (Waste management), สมาร์ทโซลูชั่นความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety and Environmental), Smart farming, Smart city

“ในเขตอุตสาหกรรมหนึ่งไม่สามารถใช้เทคโนโลยีใครเทคโนโลยีเดียวได้ อย่างของเราจะเน้นให้บริการแบบกว้างส่งสัญญาณได้ไกล แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ส่งทีละเยอะ ๆ 5G ถือว่าตอบโจทย์ ดังนั้นเรากับผู้ให้บริการรายอื่นมีจุดดีจุดด้อยต่างกัน”

ตลาด IoT ไทยไม่หมูเพราะอีโคซิสเต็มส์กระจัดกระจาย

อย่างไรก็ตาม ความยากในการทำตลาด IoT ก็คือ 1.คนทั่วไปยังไม่รู้จักอย่างแท้จริงและองค์กรยังไม่เคยใช้ เพราะส่วนใหญ่จะเข้าใจแค่ด้าน B2C 2.อีโคซิสเต็มส์ยังกระจัดกระจาย อย่างคนมีฝีมือแต่ขาดการรวบรวม ซึ่ง 2 ข้อนี้ถือว่าเป็นโจทย์หลักของบริษัทเพื่อให้คนรู้ว่า IoT มีความหลากหลายอย่างมาก รวมถึงการรวบรวมอีโคซิสเต็มส์ที่กระจัดกระจาย

ทั้งนี้ บริษัทมีกลยุทธ์ 4C ในการทำตลาด 1.Communications มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ 2.Coverage โดยวางเสาสัญญาณได้ครอบคลุมทุกจังหวัด 3.Channel ช่องทางการขายต่าง ๆ และ 4.Co-Partnerships การมีพาร์ตเนอร์เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งพาร์ตเนอร์ด้านคลาวด์ แดชบอร์ด และพาร์ตเนอร์ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาเหล่าดีเวลลอปเปอร์และรวมอีโคซิสเต็มส์ที่กระจัดกระจาย เป็นต้น

“ตอนนี้เราพยายามหาพาร์ตเนอร์ให้ได้มากที่สุดในทุกด้าน เพราะแน่นอนว่า COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน แต่ก็จะยังมีความต้องการในบางกลุ่ม ดังนั้น บริษัทจึงพยายามมุ่งเน้นการสื่อสารไปหากลุ่มลูกค้าให้ได้หลากหลายที่สุด เพราะเราเชื่อว่ายังมีความต้องการ”

เราไม่หยุดอยู่แค่นี้ ในปีหน้าเราจะมีโซลูชันใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาตอบโจทย์ตลาด และพยายามสร้างบุคลากรรวมถึงรวบรวมอีโคซิสเต็มส์ที่กระจัดกระจาย เรามองว่าตลาด IoT ในไทยโตแน่นอน แม้ว่า COVID-19 อาจทำให้ชะลอตัวไปบ้าง แต่ภาครัฐไทยก็พยายามให้การสนับสนุน เพราะ IoT มันช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานรวมถึงช่วยลดต้นทุนได้

]]>
1312616