joylada – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 17 Feb 2023 11:26:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองเส้นทางแคมเปญ “มีความรู้ก็อยู่รอด” จาก “AIS อุ่นใจ CYBER” ที่สะท้อนว่า “ไม่ใช่แค่วิธีการ แต่เนื้อหา และเป้าหมายการทำงานก็สำคัญ” https://positioningmag.com/1419481 Fri, 17 Feb 2023 13:00:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419481

การใช้ชีวิตประจำวันของเราในทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องจนแทบจะแยกกันไม่ออก และแน่นอนว่านอกจากประโยชน์ก็ต้องมีโทษที่เป็นเหมือนเงาตามตัวของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะจากมิจฉาชีพ ปัญหาไซเบอร์บูลลี่ และเฟคนิวส์ต่าง ๆ โดย เอไอเอส (AIS) ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่พยายามสร้าง ภูมิคุ้มกันไซเบอร์ ให้คนไทยมาตลอด ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER

เป้าหมายที่ไม่ใช่แค่ให้กระทรวงศึกษารับรองหลักสูตรแล้วจบไป

แต่ที่ผ่านมา เราเห็นกลยุทธ์การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่น่าสนใจอย่างมากของเอไอเอส เพื่อที่จะเข้าหาคนไทยให้ได้มากที่สุด


คอลแลปฯ ‘จอยลดา’ สร้างนิยายแชทเข้าถึง Gen Z

จอยลดา (joylada) แพลตฟอร์มนิยายแชทที่มีผู้ใช้บนแพลตฟอร์มกว่า 10 ล้านคน และกว่าครึ่งเป็นกลุ่ม Gen Z ดังนั้น หากต้องการจะเข้าหาวัยรุ่น ทำไมจะไม่จอยกับจอยลดา จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่ เอไอเอส จะมองเห็นโอกาสในการเผยแพร่หลักสูตร อุ่นใจ CYBER โดยร่วมกับจอยลดา

เพราะต้องยอมรับก่อนว่าถ้าแค่นำเสนอเนื้อหาแบบดั้งเดิมแบบวิชาการ คงไม่มีใครอยากจะเปิดอ่าน แต่ถ้าเป็นในรูปแบบของ Edutainment คือต้อง บันเทิง ไปพร้อม ๆ กับได้ความรู้ หลักสูตรอุ่นใจ CYBER เลยถูกย่อยออกมาเป็น นิยายแชท 7 เรื่อง ที่สะท้อนปัญหา 7 ด้านและ 7 ทักษะที่ควรรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการบูลลี่ การวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสถานการณ์ที่วัยรุ่นต้องเผชิญในชีวิตจริง ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยากที่วันรุ่นจะอินไปกับนิยาย

หลังจากที่ปล่อยแคมเปญไปเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม นิยายแชททั้ง 7 เรื่องก็มียอดวิวสูงถึง 2.8 ล้านครั้ง จนถึงปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่สะท้อนให้เห็นก็คือ การเข้าใจถึง Insight กลุ่มเป้าหมายของเอไอเอส ที่คิดแล้วว่าจะนำเสนอแค่หลักสูตรแล้วคาดให้วัยรุ่นมาศึกษามันไม่ได้ แต่ต้องปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์และความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นของเอไอเอสไม่ใช่แค่สร้างหลักสูตรแล้วจบไป แต่ต้องการให้เข้าถึงจริง ๆ


#มีความรู้ก็อยู่รอด หนังโฆษณาย่อยง่าย ไม่ต้องตีความ ไม่ทำร้ายใคร

หลังจากที่เคยใช้ออกโฆษณา เพราะเราทุกคนคือเครือข่าย ที่นำเสนอในแบบดราม่าจริงจัง พร้อมสะท้อนถึงปัญหาที่เยาวชนต้องเผชิญจากการมาของอินเตอร์เน็ตจากปัญหาการบูลลี่ การติดเกม จนมาสู่แคมเปญโฆษณาชุดใหม่ มีความรู้ก็อยู่รอด ที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในบริบทปัจจุบันที่มีเรื่องของมิจฉาชีพ ปัญหาเฟคนิวส์ และทุกปัญหาอาจนำไปสู่การสูญเสีย

หากแคมเปญที่ร่วมกับจอยลดาเน้นการเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น แคมเปญโฆษณา มีความรู้ก็อยู่รอด ก็จะเป็นอะไรที่แมสมากกว่า ดังนั้น การทำการสื่อสารออกมาในรูปแบบ หนังโฆษณา จึงเป็นช่องทางที่น่าจะเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างได้มากที่สุด แต่สิ่งสำคัญและความท้าทายของเอไอเอส คือ คอนเทนต์ที่ต้องโดนใจ เพราะถ้าเป็นเรื่องสาระ ความรู้ หลายคนอาจมองเป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ โฆษณาก็ไม่ประสบความสำเร็จ


ดังนั้น ในหนังโฆษณาจึงออกแบบมาให้ ย่อยง่าย ไม่ต้องตีความ และไม่ทำร้ายใคร ซึ่งจะเห็นว่าโฆษณาออกมาในแนวคอมมาดี้เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย มีการเล่าเรื่องผ่าน ผี ที่เป็นเรื่องความเชื่อที่อยู่คู่คนไทย แถมแสดงให้เห็นถือความร้ายแรงของปัญหาที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตจริง ๆ และตัวละครมนุษย์หนึ่งเดียวที่ถูกบูลลี่เรื่อง เขี้ยวยักษ์ ก็เป็นลักษณะที่ ไม่มีจริง ดังนั้น การบูลลี่รูปร่างหน้าตาในโฆษณาจะไม่ทำร้ายหรือบูลลี่ใครในทางอ้อม

หลังจากปล่อยแคมเปญไปช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน โฆษณามีความรู้ก็อยู่รอดสามารถเข้าถึงคนไทยกว่า 30 ล้านคน ทั่วประเทศผ่านสื่อ สื่อโฆษณาทีวี, ป้ายโฆษณา และสื่อออนไลน์ยอดนิยมต่าง ๆ ช่วยสร้างกระแสตื่นตัวในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่ม KOLs ที่ออกมาโพสต์เล่าผ่านประสบการณ์ส่วนตัวผ่านช่องทางอย่าง TikTok แสดงให้เห็นว่าโฆษณาดังกล่าวถูกสร้างจาก Insight จริง สามารถทำให้ทุกคนฉุกคิดถึงปัญหา และสามารถย่อยง่ายจนทำให้เข้าถึงคนในวงกว้าง





AIS อุ่นใจ CYBER X Capital

มาในปี 2023 เอไอเอสยังคงหา วิธีการสื่อสารใหม่ ๆ และในครั้งนี้ก็มาในรูปแบบการทำ Quiz เพื่อหา ตัวตนบนโลกออนไลน์ โดยเป็นการร่วมกับ Capital สื่อออนไลน์ชื่อดังภายใต้โปรเจกต์ Cyber Survivor ซึ่งใน Quiz ก็เหมือนเป็นการ สอนให้รู้เท่าทันไซเบอร์ แบบเนียน ๆ รวมถึงยังเป็นเหมือนการ เตือนสติ ผ่าน 5 คาแรกเตอร์

เพราะระหว่างการทำ Quiz เพื่อหาตัวตน เชื่อว่าต้องมีฉุกคิดบ้างแหละว่าตัวเองมีพฤติกรรมอย่างไรบนโลกออนไลน์ ซึ่งตรงนี้ก็อาจช่วยให้ผู้ทำ Quiz ได้สำรวจตัวเองจนนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมการอยู่ในโลกออนไลน์ของตัวเองในอนาคต


เล่าเรื่องผ่านการ์ตูน สร้างวิธีการใหม่ ๆ ให้เข้าถึงผู้คน

นอกจากนี้ เอไอเอสยังร่วมกับค่ายการ์ตูนไทยระดับตำนาน ขายหัวเราะ สตูดิโอ ส่งการ์ตูนชุด เมื่อผมตกหลุมรักขึ้นไม่ไหว รับวัน Safer Internet Day ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการสานต่อกลยุทธ์ Edutainment เหมือนกับที่เคยทำกับจอยลดา แต่เปลี่ยนจากย่อยเนื้อหานิยายแชทมาอยู่ในรูปแบบของ การ์ตูน ซึ่งทำให้เข้าถึงได้ง่ายและหลากหลาย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ไปจนถึงประชาชนทั่วไป ซึ่งต้องยอมรับว่าขายหัวเราะ ครีเอเตอร์ด้านการเล่าเรื่องผ่านการ์ตูนที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน

ทุกวันนี้ภัยไซเบอร์มาในหลายรูปแบบ มิจฉาชีพยังคงสรรหาสารพัดรูปแบบการหลอกลวง ทำให้ตัวเลขของผู้เสียหาย ทำให้เราเห็นถึงการทำงานของเอไอเอสที่ไม่หยุดที่จะตั้งคำถามเพื่อหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ในการที่จะทำให้ลูกค้ามีทักษะดิจิทัล เข้าใจ รู้เท่าทัน ภัยไซเบอร์

ถึงวันนี้หลักสูตรอุ่นใจ CYBER ได้ถูกนำไปขยายผลผ่าน สพฐ. แล้วกว่า 29,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันเราจะเห็นถึงเส้นทางการพาหลักสูตรดังกล่าวไปให้มากกว่าแค่ในห้องเรียน ด้วยเป้าหมายที่อยากให้คนไทยเข้าใจเรื่องดังกล่าวให้มากที่สุด ผ่านแคมเปญที่มีการคิดวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายมาเป็นอย่างดี และหาวิธีสื่อสารที่ตรงกลุ่มที่สุด ที่สำคัญเอไอเอสเลือกจะร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการทำงานในปัจจุบันเราสามารถร่วมกับผู้เชี่ยวชาญได้ ไม่จำเป็นต้องทำเองทุกอย่าง

]]>
1419481
ก้าวใหญ่ ‘อุ่นใจ ไซเบอร์’ ของ ‘เอไอเอส’ ’กับการผนึก 4 องค์กรรัฐ ติดอาวุธ ‘เยาวชนคนไทย’ รู้ทันการใช้ดิจิทัล https://positioningmag.com/1401081 Wed, 21 Sep 2022 10:00:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401081

จากข้อมูลของ We Are Social พบว่าช่วง 6 เดือนแรกคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 9.06 ชั่วโมงต่อวัน แค่เฉพาะเวลาที่ใช้กับโซเชียลมีเดียอยู่ที่ 2.59 ชั่วโมงต่อวัน เรียกได้ว่า โลกออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้าน อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ก็จริง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีโทษ และนี่คือสิ่งที่ เอไอเอส (AIS) ตระหนักและพยายามจะสร้าง ภูมิคุ้มกันไซเบอร์ ให้กับเยาวชนและคนไทยทั่วไปมาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว


ทำไม ภูมิคุ้มกันไซเบอร์ ถึงสำคัญ

จริง ๆ การใช้อินเตอร์เน็ตแบบไม่รู้เท่าทัน ไม่ใช่แค่เกิดผลเสียกับสภาวะจิตใจเท่านั้น แต่ส่งผลไปถึงสุขภาพกายอีกด้วย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบายว่า การที่คนใช้เวลากับออนไลน์มากขึ้นก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย เช่น ภาวะเนือยนิ่ง ลดการออกกำลังกาย การขยับตัว การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สายตาที่ต้องใช้ ดังนั้น แม้ไม่ได้ทำงานออฟฟิศก็เกิดออฟฟิศซินโดรมได้

ส่วนสุขภาพจิตก็มีทั้งความเครียดโดยตรงและโดยอ้อม อาจก่อให้เกิดความก้าวร้าวจากออนไลน์ได้ด้วย นำไปสู่ความเครียดที่สูงขึ้น และถ้าเป็นเยาวชนที่อยู่ออนไลน์มาก ๆ ก็จะส่งผลต่อทักษะการอ่านเขียน แม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้ผ่านออนไลน์แต่ถ้าเกิน 2 ชั่วโมงก็อาจส่งผลเสียได้


ยกระดับภูมิคุ้มกันไซเบอร์ด้วยหลักสูตร 4P4ป

หากพูดถึงการสร้าง ภูมิคุ้มกันไซเบอร์ ของเอไอเอส คงต้องย้อนไปตั้งแต่ช่วงปี 2562 ที่ถือกำเนิดภายภารกิจ อุ่นใจ ไซเบอร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient : DQ) โดยทางเอไอเอสได้มีทั้งการทำหลักสูตรการเรียนการสอนที่นำมาจากต่างประเทศ หรือใครหลายคนน่าจะจำโฆษณา “ถ้าเราทุกคนช่วยกัน เพราะเราทุกคนคือเครือข่าย” ที่สะท้อนถึงปัญหาที่เยาวชนต้องเผชิญจากการมาของอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการติดเกม, การบูลลี่ (Bully)

“แน่นอนอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์มากมาย แต่มันก็มีโทษเช่นกัน ดังนั้น ในฐานะผู้ให้บริการ Digital Service Provider และเรามุ่งมั่นตั้งใจทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือ สังคมและสิ่งแวดล้อม เราจึงตั้งใจจะเสริมสร้าง DQ ตั้งแต่ปี 2562” นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS ย้ำ

สำหรับหลักสูตร อุ่นใจ ไซเบอร์ นั้น เอไอเอสระบุว่าเป็นการต่อยอดและร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้เข้ากับบริบทของคนไทย ผ่ายการนำเสนอเป็น 4 Professional Skill Module หรือ 4P4ป ที่ครอบคลุมทักษะดิจิทัล ดังนี้

  1. Practice: ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. Personality: แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์
  3. Protection:  เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์
  4. Participation: รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม

ที่ผ่านมา เอไอเอสพยายามผลักดันหลักสูตรอุ่นใจ ไซเบอร์ เพื่อให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจับมือกับ จอยลดา (joylada) แพลตฟอร์มแพลตฟอร์มนิยายแชทชั้นนำเพื่อ ย่อยเนื้อหา 4P สู่นิยายแชท 7 เรื่อง หรือการนำหลักสูตรไปทดลอง ทดสอบ เสมือนจริงใน Sandbox และมีคุณครูพร้อม นักเรียน ที่เข้าเรียนและสอบผ่านไปแล้วกว่า 160,000 คน นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมา ดังนั้น จึงถึงเวลาที่จะขยายผลของหลักสูตรดังกล่าว


ผนึก 3 กระทรวง 1 มหา’ลัยดันหลักสูตรเข้าถึงคนไทย

เพื่อขยายผลของหลักสูตรให้เข้าถึงเยาวชนและคนไทยในวงกว้าง เอไอเอสได้ร่วมมือกับ 3 กระทรวงหลักของประเทศ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ได้พัฒนาหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีออกแบบให้อยู่ในลักษณะขอกราฟิกหรือแอนิเมชัน และมีกระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. ที่ช่วยรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรด้านการศึกษา ที่พร้อมให้นักเรียนสามารถเข้ามาเรียนได้ เช่นเดียวกับกระทรวงมหาดไทยที่ส่งต่อไปยังโรงเรียนในสังกัดเช่นกัน

ทั้งนี้ การร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้หลักสูตรอุ่นใจ ไซเบอร์ถูกส่งต่อไปยังสถานศึกษากว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะยิ่งช่วยให้เป้าหมายของเอไอเอสที่ต้องการผลักดันให้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เข้าถึงเยาวชน 5 ล้านคนให้ได้เร็วที่สุด

“หลักสูตรจะยิ่งช่วยสร้างความตระหนักรู้ด้านดิจิทัลเปรียบเสมือนเป็นการ ติดอาวุธสำหรับใช้งานดิจิทัล ให้กับเยาวชนและคนไทยทั่วไป ดังนั้น ยิ่งหลักสูตรเข้าถึงคนได้มาก ประโยชน์ก็ยิ่งเกิดมาก” สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ทิ้งท้าย

สำหรับผู้ที่สนใจเรียนหลักสูตร อุ่นใจ ไซเบอร์ สามารถเรียนออนไลน์ได้ที่ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th/ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

]]>
1401081
AIS x Joylada’ กับภารกิจเสริม ‘ภูมิคุ้มกันไซเบอร์’ Gen Z ผ่าน ‘นิยายแชท’ 7 เรื่องราว https://positioningmag.com/1392774 Sat, 16 Jul 2022 04:00:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392774

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมักจะมาพร้อมกับด้านมืด ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีก็อย่างเรื่อง Cyberbully ดังนั้น การรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยี ถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญอย่างมาก และ เอไอเอส (AIS) ก็พยายามจะสร้าง ภูมิคุ้มกันไซเบอร์ ให้กับเยาวชนและคนไทยทั่วไป ผ่านการร่วมมือกับ จอยลดา (joylada) แพลตฟอร์มนิยายแชทชื่อดังของไทยในการถ่ายทอดเนื้อหาที่ย่อยง่ายในแบบ Edutainment


ภูมิคุ้มกันต้องยั่งยืน

หากพูดถึงการสร้าง ภูมิคุ้มกันไซเบอร์ ของเอไอเอส ต้องย้อนไปตั้งแต่ช่วงปี 2018 ตั้งแต่ประกาศว่าจะเป็น Digital Service Provider ทำให้เอไอเอสจึงเริ่มหาพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนมาพัฒนาหลักสูตรให้เข้ากับคนไทย

“มันเกิดจากความท้าทายมากกว่าความกังวล ด้วยพฤติกรรมที่คนใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น เราจะทำอย่างไรเพื่อให้คนไทยมีภูมิคุ้มกัน และต้องต้องยั่งยืนด้วย” สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าว

สำหรับ การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีทางไซเบอร์ หรือ Cyber Wellness เอไอเอสได้แบ่งเป็น 2 ด้าน

  • การป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยการพัฒนาเครื่องมือด้านเทคโนโลยี : อาทิ AIS Secure Net, Google Family Link และล่าสุดบริการสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน AIS Spam Report Center
  • การสร้างองค์ความรู้ ปลูกจิตสำนึก ส่งเสริมทักษะการรับมือทางดิจิทัล: โดยได้พัฒนาหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายและต่อเนื่อง อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรมสุขภาพจิต และรับรองโดย กระทรวงศึกษาธิการ นับเป็นหลักสูตรด้านดิจิทัลครั้งแรกของประเทศ

“แรกเริ่มเราเคยลองนำหลักสูตรจาก Singtel มาใช้ แต่เนื่องจากหลักสูตรไม่เข้ากับบริบทคนไทย เราจึงร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายพัฒนาหลักสูตรเพื่อคนไทย และเปิดให้เรียนรู้ได้ฟรีบนแพลตฟอร์ม AIS LearnDi”


จาก 4 หลักสูตรสู่นิยาย 7 เรื่อง

หลักสูตรของเอไอเอสแบ่งเป็น 4P หรือ 4ป ได้แก่

  • Practice: ปลูกฝังการใช้งาน เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
  • Personality: ปกป้องความเป็นส่วนตัว
  • Protection: ป้องกันภัยออนไลน์
  • Participation: ปฏิสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้สื่อสารออนไลน์อย่างเหมาะสม

ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อาทิ การเป็นการ์ตูนสำหรับกลุ่มเด็ก และโรลเพลย์สำหรับวัยผู้ใหญ่ ล่าสุด เอไอเอสได้ร่วมกับ จอยลดา (joylada) แพลตฟอร์มแพลตฟอร์มนิยายแชทชั้นนำเพื่อ ย่อยเนื้อหา 4P สู่นิยายแชท 7 เรื่อง

“เราต้องการให้หลักสูตรเข้าถึงคนทุกกลุ่ม แต่แน่นอนว่าการนำเสนอหลักสูตรแบบเดิมคงเข้าไม่ถึง โดยเฉพาะวัยรุ่น Gen Z ดังนั้น เราจึงมองว่าควรปรับให้เป็นนิยาย เราจึงร่วมกับจอยลดา ปัจจุบันมีผู้ใช้บนแพลตฟอร์มกว่า 10 ล้านคน กว่าครึ่งเป็นกลุ่ม Gen Z”

สำหรับเนื้อหานิยายแชท 7 เรื่อง ที่สะท้อนปัญหา 7 ด้านและ 7 ทักษะที่ควรรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ ได้แก่

  • เพื่อเธอ เพื่อฝัน เพื่อฉันคนใหม่: ถ่ายทอดเรื่องราวการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
  • หนึ่งคลิก… พลิกอนาคต: ถ่ายทอดเรื่องราวร่องรองบนโลกออนไลน์
  • ขอเป็นนายแค่ 5 นาที: สะท้อนเรื่องราวอัตลักษณ์ไซเบอร์และมารยาททางไซเบอร์
  • ความฝันของอันดา: ถ่ายทอดการจัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุณพ่อผู้พิทักษ์: การจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล
  • รู้ไว้ใช่ว่า…ฉบับป้ามหาภัย: ถ่ายทอดทักษะการรู้เท่าทันสื่อ
  • อย่าลาสแกรนมา: ทักษะการจัดสรรหน้าจอ

“นิยายทั้ง 7 เรื่องถ่ายทอดโดยนักเขียนยอดนิยมทั้ง 7 คนบนแพลตฟอร์ม ซึ่งตอนแรกเรากังวลว่ามันเป็นข้อมูลที่จะย่อยยาก แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นสถานการณ์ที่ต้องเจอทุกวัน ทั้งการบูลลี่ การวิพากย์วิจารณ์ เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ๆ โดยนักเขียนก็ถ่ายทอดออกมาให้เอนเตอร์เทนต์เมนต์มาก ๆ” ศาสตรา วิริยะเจริญธรรม กรรมการผู้จัดการ จอยลดา กล่าว

ปัจจุบัน จอยลดามีผู้ใช้งานแอคทีฟกว่า 3 ล้านรายต่อเดือน มียอดใช้งานเฉลี่ยวันละ 90 นาที และมีนิยายแชทใหม่ ๆ เดือนละกว่า 120,000 เรื่อง


เล็งขยายหลักสูตรสู่โรงเรียนกว่า 3 หมื่นแห่ง

สำหรับนิยายทั้ง 7 เรื่องคาดว่าจะมียอดผู้เข้าอ่านรวมกว่า 1-2 ล้านราย ขณะที่หลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ ที่ยังอยู่ในช่วงทดลองนั้นมียอดครูและนักเรียนเข้าเรียนรู้กว่า 3 แสนรายทั่วประเทศ โดยเอไอเอสเตรียมขยายหลักสูตรดังกล่าวไปสู่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และจะขยายไปสู่โรงเรียนนอกสังกัดสพฐ. อาทิ โรงเรียนในสังกัดกทม. และโรงเรียนอาชีวะ เป็นต้น

นอกจากนี้ เอไอเอสมีแผนจะร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อทำ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะไซเบอร์ของคนไทย ในอีก 6 เดือน และจะทำการวัดผลซ้ำอีก 1 ปี

“โควิดเร่งให้คนใช้ดิจิทัลเป็นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ปัญหาไม่ใช่การเข้าไม่ถึง แต่เป็นเรื่อง Wisdom คือจะใช้ยังไงให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อ มีสติในการใช้งานมากขึ้น และเราไม่หยุดที่จะหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อทำให้คนไทยมีทักษะดิจิทัลและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

สำหรับใครที่สนใจอ่านนิยายทั้ง 7 เรื่องก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Joylada” และทาง Microsite (joylada.com/aisxjoylada)  นอกจากนี้ ทุกการอ่านของทุกคนจะช่วยสมทบทุนบริจาคให้แก่ “มูลนิธิสายเด็ก 1387”  ภายใต้แคมเปญ Let’s Level up ฝ่าภารกิจอัปเลเวลความรู้ สู่สุขภาวะดิจิทัลที่ดีอีกด้วย

]]>
1392774