KANAPOT – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 10 Apr 2020 11:56:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เมื่อ ‘หน้ากากผ้า’ ทำหน้าที่มากกว่าอุปกรณ์ ‘ป้องกัน’ แต่เป็นสินค้า ‘แฟชั่น’ ในยุคโควิด https://positioningmag.com/1272750 Fri, 10 Apr 2020 11:30:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272750 ในช่วงโควิด-19 ระบาด แน่นอนว่าห้างร้านต่าง ๆ ที่ถูกปิดตัวไป และหนึ่งในสินค้าที่ได้รับผลกระทบก็คือ ‘แฟชั่น’ เพราะไม่ใช่แค่ขายของออฟไลน์ไม่ได้ แต่ทางออนไลน์ก็ไปไม่ไหว โดยข้อมูลจาก ‘Priceza’ ระบุว่าสินค้าที่ขายดีในออนไลน์เป็นกลุ่มอุปโภคบริโภค แต่สินค้าแฟชั่นและบิวตี้กลับดร็อปลงอย่างเห็นได้ชัด อาจเพราะไม่ต้องออกจากบ้านไปไหน อีกทั้งยังไม่มีอารมณ์ที่จะอยากแต่งตัวอีก ส่งผลให้แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นปรับตัวมาผลิต ‘หน้ากากผ้า’ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ดูเหมือนมันจะไปไกลกว่านั้น เพราะกลายเป็นว่ามันได้กลายเป็น ‘สินค้าแฟชั่น’ ในยุคนี้ไปแล้ว

หน้ากากผ้าจากแบรนด์ Varithon Boutique แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น

เดือนเดียวมีกว่า 10 แบรนด์

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นการปรับตัวของแบรนด์สินค้าแฟชั่นที่เริ่มเปลี่ยนสายการผลิต จากเดิมตัดเย็บเสื้อผ้า หันมาผลิตหน้ากากผ้าแทน แค่ที่เห็นผ่าน ๆ ตาก็ทะลุกว่า 10 แบรนด์ไปแล้ว แต่ที่เห็นชัด ๆ ก็มี ‘ซาบีน่า’ ที่ตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ เปิดไลน์หน้ากากผ้านาโนแทนที่การผลิต ‘ชุดชั้นใน’ โดยตั้งเป้าที่ 1 แสนชิ้น/เดือน หรือแบรนด์อย่างชุดชั้นในชาย ‘J.Press’ ก็ยังออกมาทำหน้ากากขาย

หรืออย่างแบรนด์แฟชั่นขวัญใจชาวจีนอย่าง ‘นารายา’ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงเพราะนักท่องเที่ยวชาวจีนไม่มาไทย ก็หันมาผลิตหน้ากากผ้าเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ Varithorn Boutique, KANAPOT, Smileyhound, PAINKILLER Atelier, CARNIVAL, erawon, Greyhound และ GQ GQWhite™ ที่น่าสนใจคือ นอกเหนือจากแบรนด์ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นแล้ว แบรนด์ที่ทำเครื่องนอนหรือเฟอร์นิเจอร์ก็เข้ามาทำตลาดนี้ด้วย อาทิ Dmask จากบริษัท ดี พีลโล 999 (ประเทศไทย) ที่เคยทำชุดเครื่องนอน หรืออย่างแบรนด์ pasaya ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องนอนเหมือนกัน

ราคาตั้งแต่หลักสิบไปถึงหลักร้อย

หลังจากที่เบนเข็มมาทำหน้ากากผ้า ทุกแบรนด์ต่างก็จัดเต็มพร้อมดึงเอาจุดเด่นในการออกแบบของแบรนด์ตัวเองมาบวกรวมกับเทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าและตัวตนให้กับสินค้าและผู้ใส่ ราคาจึงแตกต่างกันไปในแต่ละแบรนด์ ตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักร้อย อย่าง นารายาที่ขายชิ้นละ 50 บาท หรือสูงมาอีกนิดอย่าง GQ ที่ใช้เทคโนโลยี GQGuard สะท้อนหยดน้ำและละอองน้ำ และใช้เส้นใย Perma เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย 99.9% ในราคา 150 บาท บางรายก็สามารถใส่ฟีลเตอร์เพิ่มเติมได้อีก รวมถึงใช้ผ้าที่เป็นลวดลายสวยงามมาใช้เพื่อไม่ให้จำเจ

ลาย Limited ก็มา

แม้ว่าหน้ากากผ้าจะสามารถซักได้หลายครั้ง สามารถนำกลับมาใช้ได้หลายรอบ ดังนั้นผู้บริโภคแต่ละคนอาจไม่จำเป็นต้องซื้อเยอะ เลยกลายเป็นว่าสิ่งที่ดึงดูดใจในตอนนี้ไม่ใช่แค่ ‘คุณสมบัติ’ แต่ ‘ลวดลาย’ ก็กลายเป็นเรื่องสำคัญ อย่างโปรเจกต์พิเศษ ‘Co-with 19’ โดย เฟซบุ๊กเพจ GroundControl ด้วยการขายหน้ากากผ้ารุ่น Limited COVID Edition ที่ออกแบบโดยนักออกแบบ 19 คน ที่ได้แรงบันดาลใจจากเพลงของ 19 ศิลปิน เพื่อนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งก็ถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว

ไม่ใช่แค่หน้ากาก แต่ลามไปยันหมวก

อย่างแบรนด์ N.E.D ไม่ได้ออกหน้ากากผ้าเหมือนใคร แต่ออกหมวกที่มาพร้อมหน้ากากใส ที่กันได้ทั้งแดด ฝุ่นละออง น้ำลายที่อาจจะเข้ามาสัมผัสกับใบหน้าของผู้สวมใส่ หรืออย่างแบรนด์ Issue อีกแบรนด์หน้ากากที่มาพร้อมกับหมวกสุดชิค

เรียกได้ว่า การที่แบรนด์แฟชั่นหรือแบรนด์อื่น ๆ ที่นำจุดแข็งของตัวเองมาประยุกต์ใช้ต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่เพื่อให้เข้าสถานการณ์ ถือเป็นปรากฏการณ์และกรณีศึกษาอย่างดีที่อาจไม่ได้เห็นกันง่าย ๆ หากไม่เกิดวิกฤติ รวมถึงต้องยอมรับว่า ‘หน้ากากผ้า’ ไม่ได้ใส่เพื่อเพียงแค่ป้องกันเราจากเชื้อโรคอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็น ‘เครื่องประดับ’ ที่แสดงถึงตัวตนชิ้นหนึ่งไปแล้ว

]]>
1272750