Kirin – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 14 Jun 2024 03:39:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Kirin รุกธุรกิจสกินแคร์ อาหารเสริม ล่าสุดเตรียมควักเงินซื้อหุ้นกิจการ Fancl มูลค่าเกือบ 48,000 ล้านบาท https://positioningmag.com/1478142 Fri, 14 Jun 2024 03:23:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478142 คิริน (Kirin) ผู้ผลิตเครื่องดื่มหลากชนิดของญี่ปุ่น เตรียมควักเงินซื้อหุ้นที่เหลือของกิจการฟังก์เคล (Fancl) แบรนด์สกินแคร์และเครื่องสำอางชื่อดังเข้าพอร์ต เพื่อเสริมกลยุทธ์ของบริษัทที่ต้องการหารายได้นอกจากธุรกิจเครื่องดื่ม โดยดีลดังกล่าวคิดเป็นเงินไทยแล้วมากถึงเกือบ 48,000 ล้านบาท

Nikkei Asia และ Jiji Press รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Kirin ผู้ผลิตเครื่องดื่มหลากชนิดของญี่ปุ่น ได้รุกธุรกิจสกินแคร์และอาหารเสริมเพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดบริษัทได้ประกาศทุ่มทุนมากถึง 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซื้อหุ้นที่เหลือของกิจการฟังก์เคล (Fancl) แบรนด์สกินแคร์และเครื่องสำอางชื่อดังเข้าพอร์ต

สำหรับดีลซื้อหุ้นกิจการ Fancl ทั้งหมดนั้นคิดเป็นเงิน 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 48,000 ล้านบาท ซึ่งผลิตเครื่องดื่มหลากชนิดของญี่ปุ่นได้ให้ราคาพรีเมียมจากราคาซื้อขายมากถึง 28% จากราคาหุ้นเฉลี่ยล่าสุด

Nikkei Asia ยังรายงานข่าวว่าหลังจากการซื้อหุ้นของ Fancl ที่เหลืออยู่แล้วเสร็จ จะมีการนำบริษัทออกจากตลาดหุ้นด้วย

ปัจจุบัน Kirin ถือหุ้นอยู่ใน Fancl อยู่แล้วราวๆ 33% ซึ่งบริษัทได้เริ่มซื้อหุ้นของกิจการดังกล่าวในปี 2019 สัดส่วน 30.3% มูลค่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากบริษัทต้องการที่จะหารายได้เพิ่มเติมในธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากธุรกิจเครื่องดื่มอย่างเบียร์ ที่ยอดขายในญี่ปุ่นลดลงในช่วงที่ผ่านมา

ไม่เพียงเท่านี้ Fancl เองได้รุกเข้าธุรกิจอาหารเสริม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Kirin เข้าซื้อหุ้นบริษัททั้งหมด เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่ตรงกับบริษัทที่ต้องการเติบโตในธุรกิจอื่น โดยตัวเลขจาก Euromonitor ตลาดอาหารเสริมและวิตามินเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 133,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับแบรนด์ Fancl นั้นเคยมีสินค้าวางขายหน้าร้านในประเทศไทยมาแล้ว ก่อนที่บริษัทจะออกจากตลาดในช่วงปี 2009 ซึ่งสินค้าของแบรนด์จากญี่ปุ่นรายนี้ส่วนใหญ่วางขายผ่านพ่อค้าแม่ค้าได้หิ้วสินค้าเข้ามาจำหน่ายในช่องทางออนไลน์

ล่าสุดทาง Kirin ได้ออกมากล่าวว่า บอร์ดบริหารของบริษัทกำลังพิจารณาในเรื่องดังกล่าวอยู่ และจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้

ที่มา – Nippon, Nikkei Asia, CNA

]]>
1478142
Kirin ประกาศซื้อกิจการผู้ผลิตอาหารเสริม Blackmores มูลค่า 42,440 ล้านบาท https://positioningmag.com/1428778 Thu, 27 Apr 2023 05:23:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428778 คิริน (Kirin) ประกาศเข้าซื้อกิจการผู้ผลิตอาหารเสริมและวิตามินแบลคมอร์ส (Blackmores) ในออสเตรเลียด้วยมูลค่าสูงถึง 42,440 ล้านบาท เป็นการส่งสัญญาณว่าบริษัทนั้นต้องการหารายได้จากธุรกิจอื่นๆ นอกจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น

Kirin ผู้ผลิตเครื่องดื่มจากประเทศญี่ปุ่น ประกาศเข้าซื้อกิจการ Blackmores ผู้ผลิตอาหารเสริมและวิตามินชื่อดังจากออสเตรเลีย ด้วยมูลค่า 1,880 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 42,440 ล้านบาท เพื่อที่จะขยายรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่ม

การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวนั้น Kirin ยื่นข้อเสนอซื้อหุ้นของ Blackmores ที่ 95 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อหุ้น ซึ่งมากกว่าราคาปิดของหุ้น Blackmores เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 เมษายน) มากถึง 23.7%

ขณะที่เม็ดเงินที่ใช้ซื้อกิจการ Blackmores จะมาจากทั้งกระแสเงินสดภายในบริษัท รวมถึงเงินกู้บางส่วน

หลังจากการควบรวมกิจการแล้วเสร็จนั้นผู้ผลิตเครื่องดื่มจากประเทศญี่ปุ่นได้ชี้ว่าจะใช้ช่องทางจัดจำหน่ายของบริษัทในการขยายตลาดให้กับ Blackmores รวมถึงผู้ผลิตอาหารเสริมและวิตามินชื่อดังจากออสเตรเลียสามารถใช้นวัตกรรมของ Kirin ในการพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด

สำหรับผู้ผลิตวิตามินรวมชื่อดังจากออสเตรเลียนั้นก่อตั้งบริษัทในปี 1932 โดย Maurice Blackmore และเริ่มขยายธุรกิจในมาเลเซียและสิงคโปร์ในช่วงปี 1976 และเข้ามาทำธุรกิจในไทยในปี 1989 ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีขายตามประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกหลายประเทศ และได้รับความนิยมอย่างสูง

คาดว่าในปี 2023 สัดส่วนรายได้ของ Blackmores นั้น 45% ยังอยู่ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อีก 30% อยู่ในเอเชียแปซิฟิก และอีก 25% นั้นอยู่ในประเทศจีน ซึ่งบริษัทพยายามเจาะตลาดมาเป็นเวลาพักใหญ่

ขณะที่ Kirin มีธุรกิจอยู่ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยธุรกิจสำคัญคือเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลากหลายชนิด ภายใต้บริษัทลูกที่มีชื่อว่า Lion และการซื้อกิจการของ Blackmores นั้นส่งสัญญาณว่าบริษัทพยายามที่จะหารายได้เพิ่มเติมจากประเทศออสเตรเลียจากธุรกิจที่ไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ดีดีลดังกล่าวนี้จะต้องได้รับไฟเขียวทั้งผู้ถือหุ้นของ Blackmores รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลในออสเตรเลีย ซึ่ง Kirin คาดว่าดีลดังกล่าวจะปิดดีลได้สำเร็จในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

]]>
1428778
หย่าไม่ได้ ขอไปเอง! “Kirin” ถอนการลงทุนใน “เมียนมา” หลังเจรจาเผด็จการไม่คืบ https://positioningmag.com/1373855 Mon, 14 Feb 2022 09:41:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373855 บริษัทเครื่องดื่มญี่ปุ่น Kirin Holdings เตรียมถอนการลงทุนใน “เมียนมา” หลังจากบริษัทสรุปได้ว่า “ไม่มีความหวัง” ในการเจรจาเพื่อคลี่คลายปัญหากับหุ้นส่วนธุรกิจซึ่งมีกองทัพเป็นเจ้าของ การตัดสินใจของบริษัทเกิดขึ้นหลังผ่านไปกว่า 1 ปีที่กลุ่มเผด็จการเข้ายึดการปกครอง

Nikkei Asia รายงานว่า Kirin กำลังเริ่มกระบวนการเพื่อปิดกิจการในประเทศเมียนมา ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทดำเนินการผ่านบริษัทร่วมทุนกับ Myanma Economic Holdings (MEHL) บริษัทนี้มีกลุ่มกองทัพทหารเมียนมาเป็นเจ้าของ

ที่ผ่านมาบริษัทเข้าจอยต์เวนเจอร์กับบริษัทกองทัพเมียนมา 2 แห่ง คือ Myanmar Brewery บริษัทนี้ Kirin เข้าถือหุ้นเมื่อปี 2015 และเป็นผู้ผลิตเบียร์ Myanmar Beer เบียร์ที่ขายดีที่สุดของประเทศ ครองตลาด 80% และอีกแห่งหนึ่งคือ Mandalay Brewery เมื่อปี 2017 ทั้งสองบริษัทนี้ Kirin ถือหุ้นข้างมาก 51% ส่วนที่เหลือ 49% บริษัท MEHL เป็นผู้ถือหุ้น

ขณะนี้ Kirin กำลังพิจารณาทางเลือกต่างๆ โดยบริษัทเริ่มกระบวนการปิดบริษัทร่วมทุนทั้งสองแห่งแล้ว แต่ก็ยังเปิดโอกาสที่จะขายหุ้นในส่วนของตนให้กับบริษัทอื่น ซึ่งต้องเป็นการขายหุ้นให้กับบริษัทอื่นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มกองทัพทหารเมียนมา เพราะหากบริษัทยังขายให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนก็จะตามกดดันบริษัทต่อไป

ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีใครสนใจซื้อหรือไม่ และบริษัทจะหาผู้ซื้อได้ตรงคุณสมบัติที่ต้องการหรือไม่ แต่บริษัทตั้งเป้าหมายแล้วว่าจะจบกระบวนการในเมียนมาให้ได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

 

พยายามเจรจา ‘หย่าขาด’ แต่ไม่เป็นผล

Kirin พยายามจะยุติความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหาร MEHL มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่เผด็จการทหารเข้ายึดอำนาจในเมียนมา เนื่องจากเผด็จการทหารเมียนมามีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ แม้ Kirin จะมีความหวังว่า เมื่อตนตัดสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหารได้แล้ว บริษัทจะได้ทำธุรกิจเบียร์ในเมียนมาต่อ แต่สุดท้ายความพยายามของบริษัทไม่เป็นผล

Kirin เมียนมา
โรงเบียร์ Myanmar Brewery ในประเทศ “เมียนมา”

บริษัทพยายามเจรจากับ MEHL แล้ว และมีการนำคดีไปขึ้นศูนย์กลางอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่สิงคโปร์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 แต่สุดท้ายบริษัทตัดสินใจถอนการลงทุนของตัวเองออกแทน เพราะไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้นตามที่หวัง

ก่อนที่จะเกิดการยึดอำนาจ กำไรจากบริษัทร่วมทุนในเมียนมาคิดเป็นสัดส่วน 9% ในมูลค่ากำไรโดยรวมของบริษัท Kirin แน่นอนว่าการเจรจาของบริษัทญี่ปุ่นที่จะตัดสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทหารย่อมยากลำบาก เพราะทั้งสองฝ่ายต่างต้องการผลประโยชน์จากบริษัทเบียร์ที่ทำกำไร

 

บริษัทต่างชาติทยอยถอนการลงทุน

ตั้งแต่เมียนมาเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ประชาธิปไตยมากขึ้นเมื่อปี 2011 บริษัทต่างชาติมากมายซึ่งรวมถึง Kirin ด้วย ต่างพุ่งการลงทุนเข้าสู่ตลาด เพราะเห็นโอกาสการเติบโตที่แข็งแรง

แต่เมื่อเผด็จการทหารกลับยึดอำนาจอีกครั้งเมื่อปีก่อน บริษัทต่างชาติต่างทยอยถอนการลงทุนไปทีละราย โดยการประกาศถอนตัวของ Kirin ถือได้ว่าเป็นบริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่รายแรกที่ประกาศเช่นนี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของบริษัทอื่นๆ

บริษัทต่างชาติอื่นที่ประกาศถอนการลงทุนแล้ว เช่น TotalEnergies บริษัทด้านพลังงานฝรั่งเศสประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2022, POSCO บริษัทค้าเหล็กยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ ก็พยายามจะแยกทางกับ MEHL ที่เป็นหุ้นส่วนเช่นกัน

แต่ก็ยังมีบริษัทต่างชาติที่ยังไม่ตัดสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง เช่น Fujita, Tokyo Tatemono, Yokogawa Bridge Holdings เป็นต้น

Source

]]>
1373855
‘หัวเว่ย’ ยันไม่ปลดพนักงานบริษัทลูก ‘HiSilicon’ แม้รายได้หดเกือบ 90% เพราะถูกคว่ำบาตร https://positioningmag.com/1336920 Mon, 14 Jun 2021 09:12:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336920 ‘หัวเว่ย’ (Huawei) บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนที่คนไทยคุ้นเคย แม้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหัวเว่ยต้องเผชิญกับปัญหาการถูก ‘คว่ำบาตร’ โดยสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้บริษัทในอเมริกาไม่สามารถทำธุรกิจกับหัวเว่ยได้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลโดยตรงกับบริษัท ‘HiSilicon’ ที่ผลิตชิปต่าง ๆ แต่หัวเว่ยก็ยังยืนยันว่าจะไม่ปลดพนักงาน ถึงแม้รายได้จะเกือบเป็นศูนย์ก็ตาม

Catherine Chen ผู้อำนวยการและรองประธานอาวุโสของ Huawei กล่าวว่า บริษัทไม่มีแผนที่จะปรับโครงสร้างบริษัทลูก HiSilicon ที่เป็นบริษัทเกี่ยวกับชิปเซ็ต Kirin ที่หลายคนต้องเคยได้ยินชื่อ แม้ว่าบริษัทจะโดนสหรัฐฯ คว่ำบาตร ซึ่งส่งผลให้ต้องหยุดการผลิตชิปเซ็ตมาเกือบปีแล้วก็ตาม

ในปี 2020 บริษัท HiSilicon มีพนักงานมากกว่า 7,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบัน HiSilicon แทบไม่มีรายได้ เนื่องจากการคว่ำบาตรทำให้ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. (TSMC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นผู้รับเหมาเอาต์ซอร์สที่สำคัญของ HiSilicon ไม่สามารถทำธุรกิจกับหัวเว่ยได้

นั่นหมายความว่ายอดขายของ HiSilicon จะลดลงเหลือศูนย์ไม่ช้าก็เร็ว โดยบริษัทวิจัยของอังกฤษ Omdia เปิดเผยว่า HiSilicon มียอดขาย 385 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี 2564 ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงการลดลง 87% จากช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดขายของ HiSilicon พุ่งสูงสุด ซึ่ง Chen ได้ยืนยันว่าหัวเว่ยไม่มีแผนที่จะลดจำนวนพนักงานของ HiSilicon

HiSilicon บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 ได้พัฒนาชิปสำหรับสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาชิปที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ซึ่ง Chen กล่าวว่า HiSilicon ยังคงพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ต่อไป และสามารถประคองตัวเองได้แม้จะมีการคว่ำบาตร ซึ่งคาดว่าจะคงอยู่เป็นเวลาสองถึงสามปี

เนื่องจากประเทศอื่น ๆ กำลังส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ HiSilicon ได้รับพันธมิตรด้านซัพพลายเชนรายใหม่ที่ไม่พึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ นอกจากนี้ บริษัทกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ เช่น ชิปสำหรับทีวีที่รองรับความละเอียด 8K อยู่อีกด้วย

Source

]]>
1336920
Kirin เบียร์ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น ประกาศ “ตัดสัมพันธ์” หุ้นส่วนในเมียนมาตอบโต้ “รัฐประหาร” https://positioningmag.com/1318149 Fri, 05 Feb 2021 08:24:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318149 คิริน (Kirin) ผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่จากแดนปลาดิบ ประกาศยุติการทำธุรกิจแบบร่วมค้า (Joint Venture) กับบริษัทหุ้นส่วนในเมียนมา ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกองทัพ หลังเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ.

การควบคุมตัวผู้นำทางการเมืองสายประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งรวมถึง “อองซานซูจี” เรียกเสียงประณามจากนานาชาติ ซึ่งทาง Kirin ระบุว่าบริษัท “มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการกระทำล่าสุดของกองทัพพม่า”

“จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เราจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากขอยุติความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท เมียนมาร์ อีโคโนมิก โฮลดิงส์ (Myanmar Economic Holdings Public Company Limited – MEHL) ซึ่งบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการให้แก่กองทัพพม่า”

ผู้ผลิตเบียร์สัญชาติญี่ปุ่นรายนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาสักระยะหนึ่งแล้ว จากการเข้าไปมีสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทเบียร์ที่กองทัพพม่าเป็นเจ้าของ

เมื่อเดือน ม.ค. ทางบริษัทระบุว่า กระบวนการตรวจสอบโดยบุคคลที่ 3 “ยังได้ข้อสรุปไม่ชัดเจน” ว่ารายได้จากการร่วมทุนครั้งนี้ถูกนำไปใช้สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าหรือไม่

Kirin ถูกองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ตรวจสอบของสหประชาชาติกดดันให้ต้องเปิดการสอบสวน หลังมีรายงานว่าเจ้าของบริษัท MEHL ที่เป็นหุ้นส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิกของกองทัพพม่า ซึ่งถูกกล่าวหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และก่ออาชญากรรมสงครามอื่นๆ กับชาวมุสลิมโรฮิงญา

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของสหประชาชาติ ได้เปิดการไต่สวนกรณีกองทัพพม่ากวาดล้างชุมชนชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่เมื่อปี 2017 จนทำให้โรฮิงญากว่า 750,000 คน ต้องหนีตายข้ามไปยังฝั่งบังกลาเทศ ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายละเมิดอนุสัญญา ว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ทางการพม่ายืนกรานปฏิเสธข้อกล่าวหานี้มาโดยตลอด

Kirin เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งใน บริษัท เมียนมา บริวเวอรี จำกัด และ บริษัท มัณฑะเลย์ บริวเวอรี จำกัด จากการจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ MEHL กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ ซึ่งมีผลประโยชน์ครอบคลุมหลายภาคส่วนตั้งแต่อัญมณี ทองแดง โทรคมนาคม เสื้อผ้า และการธนาคาร

Kirin ได้เข้าถือหุ้นส่วนใหญ่ใน มัณฑะเลย์ บริวเวอรี เมื่อปี 2017 ด้วยมูลค่าการลงทุน 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ได้ทุ่มเม็ดเงินซื้อกิจการ เมียนมา บริวเวอรี ไปด้วยวงเงินกว่า 500 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2015

เมียนมา บริวเวอรี เป็นผู้ผลิตเบียร์ขายดีที่สุดในพม่าอย่าง Myanmar Beer ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดเกือบ 80% ตามข้อมูลสถิติที่ Kirin เปิดเผยเมื่อปี 2018

แต่ Kirin ยังไม่ระบุชัดเจนว่า การตัดสัมพันธ์ทางธุรกิจกับหุ้นส่วนรายใหญ่ครั้งนี้ จะหมายถึงการถอนตัวออกจากพม่าด้วยหรือไม่…

Source

]]>
1318149
หัวเว่ยเตรียมเลิกผลิต ‘ชิปเซ็ตคิริน’ ในเดือนหน้า เพราะแรงกดดันจากสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1291706 Sun, 09 Aug 2020 02:28:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291706 นิตยสารการเงิน Caixin ระบุเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ว่าจากผลกระทบของแรงกดดันจากสหรัฐฯ ต่อ ‘หัวเว่ย’ (Huawei) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนกำลังทวีความรุนแรง ส่งผลให้ต้องหยุดผลิตชิปเซ็ต Kirin ที่ใช้สำหรับสมาร์ทโฟนรุ่นเรือธงในเดือนหน้า

ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนอยู่ในช่วงเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ส่งผลให้วอชิงตันกำลังกดดันหลายรัฐบาลทั่วโลกเพื่อบีบการทำธุรกิจกับหัวเว่ย โดยอ้างถึงประเด็นความมั่นคงว่าหัวเว่ยอาจส่งมอบข้อมูลให้รัฐบาลจีนเพื่อการสอดแนม ขณะที่หัวเว่ยเองได้ปฏิเสธข้อกล่าวหน้าดังกล่าวเสมอ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังกำลังพยายามขอให้แคนาดาส่งตัว เมิ่ง หว่านโจว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหัวเว่ย เป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้กับพวกเขาในข้อหาฉ้อโกงธนาคารด้วย

และในเดือนพฤษภาคม กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ออกคำสั่งที่กำหนดให้ซัพพลายเออร์ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์การผลิตให้เลิกทำธุรกิจกับหัวเว่ยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก่อน ส่งผลให้แรงกดดันจากต่าง ๆ ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่บริษัทผลิตชิป HiSilicon ภายใต้หัวเว่ยจะสามารถผลิตชิปดังกล่าวต่อไปได้ ทั้งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะรุ่นแฟลกชิป

“ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนเป็นต้นไป ชิปประมวลผล Kirin ที่ใช้สำหรับรุ่นเรือธงของเราไม่สามารถผลิตได้ นี่เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่สำหรับเรา” ริชาร์ด หยู ซีอีโอฝ่ายธุรกิจลูกค้าของหัวเว่ย กล่าว

ทั้งนี้ แผนก HiSilicon ของ Huawei อาศัยซอฟต์แวร์จากบริษัทในสหรัฐอเมริกา เช่น Cadence Design Systems Inc หรือ Synopsys ในการออกแบบชิปและจ้างการผลิตไปยัง Taiwan Semiconductor Manufacturing Co (TSMC) ซึ่งใช้อุปกรณ์จากบริษัทในสหรัฐอเมริกา

โดย HiSilicon ผลิตชิปหลากหลายประเภทรวมถึงโปรเซสเซอร์ Kirin ซึ่งเป็นขุมพลังเฉพาะสมาร์ทโฟนหัวเว่ยและเป็นชิปประมวลผลของจีนเพียงตัวเดียวที่สามารถเทียบเคียงกับ Qualcomm ในด้านคุณภาพได้

“หัวเว่ยเริ่มสำรวจภาคชิปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยเราลงทุนทรัพยากรจำนวนมากเพื่อการวิจัยและพัฒนาและผ่านกระบวนการที่ยากลำบาก จากกระทั่งเปลี่ยนจากผู้ตามจนกลายเป็นผู้นำในที่สุด” หยู กล่าวทิ้งท้าย

Source

]]>
1291706