Line Myshop – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 04 Nov 2020 13:51:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘LINE SHOPPING’ ปรับใหญ่พร้อมลุยสมรภูมิ ‘Social Commerce’ มั่นใจขึ้นเบอร์ 1 ใน 3 ปี https://positioningmag.com/1304454 Wed, 04 Nov 2020 12:59:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304454 ย้อนไป 2 ปีก่อน ‘LINE SHOPPING’ คือ ‘Market Place Aggregator’ ที่ร่วมเอา ‘Market Place’ เจ้าดังอย่าง Lazada, JD Central, Shopee รวมถึงเว็บไซต์อื่น ๆ มาไว้ในที่เดียว แต่หลังจากมี ‘LINE MyShop’ ที่เป็นฟีเจอร์ใหม่สำหรับผู้ใช้ LINE Official Account (LINE OA) ทาง LINE SHOPPING ก็ปรับใหม่โดยจะดึงเฉพาะ LINE MyShop เข้ามาอยู่เท่านั้น แถมยังดึงเอา ‘ป้าตือ’ เข้ามาสร้างสีสันอีกด้วย ทั้งหมดที่ทำก็เพื่อขึ้นเป็น ‘เบอร์ 1’ ของตลาด ‘Social Commerce’

ให้ความสำคัญ ‘LINE MyShop’ อันดับ 1

แรกเริ่มเดิมทีนั้น LINE OA เป็นหนึ่งในเครื่องมือการตลาดที่เน้นสร้าง Loyalty เพื่อเก็บรักษาฐานลูกค้า แต่ก็มีผู้ใช้งานส่วนหนึ่งที่นำมาเป็นช่องทางในการปิดการขาย เพราะลูกค้ามักจะแอดไลน์เข้ามาพูดคุยเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนจะตัดสินใจซื้อ และส่งหลักฐานการโอนเงินผ่านไลน์อีกที

ในขณะที่ปีนี้อีคอมเมิร์ซมีการเติบโตสูงขึ้นเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยกว่า 83% เคยซื้อของออนไลน์ และ 71% ซื้อของผ่านมือถือ ดังนั้น ไลน์จึงถือโอกาสนี้เพิ่มฟีเจอร์ ‘LINE MyShop’ เข้าไปใน OA เพื่อให้ร้านค้าสามารถขายของได้สะดวกขึ้น โดยร้านค้าสามารถจัดการสถานะออเดอร์โดยตรง, ทำลิสต์รายการสินค้า และสามารถชำระเงินผ่าน LINE Pay หรือ LINE BK ได้เลย โดยปัจจุบัน LINE MyShop มีจำนวน 50,000 ราย จาก LINE OA ทั้งหมด 3 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่โพสิชั่นของ ‘LINE SHOPPING’ ในตอนแรกคือ ‘Market Place Aggregator’ ที่รวมเว็บไซต์และมาร์เก็ตเพลสต่าง ๆ รวมถึงแอคเคาท์ของ LINE MyShop ด้วย ซึ่งนั่นทำให้ทรานแซคชั่นกระจัดกระจาย ดังนั้น ไลน์จึงตัดสินใจที่จะตัดเว็บไซต์และมาร์เก็ตเพลสออกแล้วดึงเฉพาะ LINE MyShop อย่างเดียวเพื่อให้ลูกค้าหาร้านค้าเจอได้ง่ายขึ้น

คนใช้ไลน์ซื้อขายกันอยู่แล้ว แต่เราแค่ทำให้เป็นที่เป็นทางมากขึ้น มีเครื่องมือ มีตัวช่วยในการโปรโมต คนซื้อ-ขายได้เหมือนเดิม แต่ถูกค้นพบได้ง่ายขึ้น เลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอีคอมเมิร์ซ LINE ประเทศไทย กล่าว

เลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอีคอมเมิร์ซ LINE ประเทศไทย

ดึง ‘ป้าตือ’ LIVE เรียกแขก

หลังจากที่ร้านค้าใน LINE SHOPPING เปลี่ยนตัวเองเป็นแพลตฟอร์มให้กลายเป็นร้านค้าโซเชียล (ที่เปิดร้านบน LINE MyShop เท่านั้น) ทำซึ่งถือเป็นการทำ ‘Social Commerce’ แบบเต็มตัว ซึ่งตลาดนี้คิดเป็นสัดส่วนถึง 62% ของ E-Commerce โดยเลอทัดมองว่า Social Commerce ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 แกนหลัก ได้แก่ 1.Entertainment ด้วย Content ที่สนุกความบันเทิง 2.Engagement นักช้อปสามารถมีส่วนร่วมกับผู้ขายได้ทุกเมื่อ และ 3.Commerce การซื้อขายบนแพลตฟอร์มโซเชียลที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว

ดังนั้น นอกจากจุดแข็งของจำนวนผู้ใช้ไลน์ 47 ล้านคน รวมถึงฟีเจอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแล้ว ทาง LINE SHOPPING ได้ร่วมมือกับ ‘ป้าตือ’ สมบัษร ถิระสาโรช จัดทำรายการ ‘LINE SHOPPING x TUES LIVE’ ที่เป็นการผสมผสานรายการทอล์กโชว์เข้ากับ Live Commerce เพื่อสร้างประสบการณ์ Chat & Shop ผ่านการไลฟ์ขายของกันสด ๆ สำหรับแบรนด์ไหนที่ต้องการนำสินค้าโปรโมตผ่านรายการ ซึ่งรายการจะเผยแพร่ทุกวันอังคาร เวลา 20.00 – 22.00 น. นำเสนอตอนแรกในวันที่  10 พ.ย. 2563 โดยในช่วงที่ทดสอบลอนช์รายการไปมีผู้เข้าชมกว่า 4.4 แสนราย

“เสน่ห์ของ Social Commerce คือ เราสามารถคุยกันต่อได้ ทำให้สามารถต่อรองขอของแถม ขอส่วนลด เพราะมันเป็นการพูดคุยกัน ซึ่งทำให้โอกาสปิดการขายผ่านแชทอยู่ที่ 45% ส่วนเว็บไซต์มีโอกาสปิดที่ 3% ท่านั้น และแม้ว่าราคาจะเป็นส่วนหนึ่งในการปิดการขายแต่สิ่งที่เราจะเน้นคือ วิธีการนำเสนอ ซึ่งการไลฟ์เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้

ป้าตือ สมบัษร ถิระสาโรช

3 ปีขึ้นเบอร์ 1 Social Commerce

ปัจจุบัน LINE SHOPPING โดยมีผู้ใช้แอคทีฟ 3 ล้านราย/เดือน โดยปีนี้ยอดเพจวิวเติบโตขึ้น 191% จำนวนคำสั่งซื้อเติบโต 44% และมูลค่าคำสั่งซื้อ (GMV) เติบโต 95% เฉลี่ยที่ประมาณ 1,000 บาท/คำสั่งซื้อ โดยปีนี้ LINE SHOPPING เน้นสร้างประสบการณ์การใช้งาน ทำให้เอนเตอร์เทนเมนต์มากขึ้น ใช้งานง่ายขึ้นเพื่อจับตลาด Social Commerce มากขึ้น เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ผู้เล่นเบอร์ 1 ใน 3 ปี (2564-2566)

และในส่วนของร้านค้า LINE SHOPPING ตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปี LINE MyShop ทั้ง 50,000 รายจะต้องเข้าสู่แพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้วางเป้าว่าจำนวน LINE MyShop จะเติบโตเป็นเท่าไหร่ แต่มองว่ายังมีโอกาสเติบโตอีกมากเนื่องจาก LINE OA มีกว่า 3 ล้านแอคเคาท์ โดยเริ่มเห็นแนวโน้มของแบรนด์ใหญ่ที่เข้ามาเปิด LINE MyShop เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“เรามองว่าการพัฒนา LINE SHOPPING ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาครั้งสำคัญ ที่เป็นการผสานรวมและนำเอาความแข็งแกร่งของทุกเซอร์วิสบน LINE Ecosystem มาสร้างความสะดวกสบาย เพื่อเป็นอันดับหนึ่งแพลตฟอร์ม Social Commerce ตัวจริงที่ให้คนโซเชียลได้แชทและช้อปปิ้งบน LINE”

]]>
1304454
LINE ปั้น Influencer Commerce ท้าชน IG จับเน็ตไอดอลรีวิวสินค้า พร้อมรวบปิดการขาย https://positioningmag.com/1287325 Mon, 13 Jul 2020 11:22:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287325 เพราะช่วง Covid-19 ที่ผ่านมา ทำให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอาจมีมูลค่าถึง 2 แสนล้านบาท เติบโตราว 25% และอีกตลาดที่เติบโตล้อตามไปคือ ‘อินฟูลเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง’ (Influencer Marketing) หรือการรีวิวสินค้าจาก Net Idol หรือ KOL ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การรีวิวสินค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในแพลตฟอร์ม Social Media อย่าง Facebook, Instagram, YouTube และก็ Blog ต่าง ๆ ดังนั้นนี่จึงเป็นเหมือนช่องว่างของ ‘LINE’ ที่ไม่สามารถโดดเข้ามาในตลาดนี้ได้สักที

ชนอินสตาแกรมเข้าอย่างจัง

จริง ๆ แล้ว Influencer Marketing ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ หรือกลยุทธ์ใหม่แต่อย่างใด ถ้าย้อนกลับไปในช่วงที่เฟื้องฟูจัดๆ น่าจะ 5-6 ปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่า Instagram เป็นผู้บุกเบิกศาสตร์นี้เลยก็ว่าได้ ทำให้มีการใช้อย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ แต่สิ่งที่ทำให้ Instagram จุดติดกับกลยุทธ์นี้ก็คือเหล่าเซเลบริตี้ ดารา และเน็ตไอดอลคนมีชื่อเสียง ต่างใช้แพลตฟอร์มนี้สื่อสารกับแฟนคลับ ไม่ว่าจะเป็นลงรูป หรือแจ้งข่าวสาร พูดคุยกับแฟนคลับ สามารถรู้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจากผู้ติดตาม จึงเกิดเป็นช่องทางให้แบรนด์เริ่มนำสินค้าให้คนมีชื่อเสียงรีวิวผ่าน IG มากขึ้น

โอกาสของ Influencer Marketing ยังคงมีต่อเนื่องจนถึงยุคปัจจุบัน เนื่องจาก 60% ของผู้บริโภคเลือกเชื่อรีวิว แม้รู้ว่าถูกจ้าง ดังนั้นจะเห็นว่าหลายแพลตฟอร์มอย่าง ‘ทวิตเตอร์’ ก็มีการจ้างบล็อกเกอร์ หรือเซเลบในทวิตในการรีวิวสินค้า หรือแม้แต่ LINE เองก็มีช่องทางสำหรับเน็ตไอดอล เซลบริตี้ต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับสื่อสารกับแฟน ๆ จนเกิดเป็นใช้ ‘LINE IDOL’ เปิดไปเมื่อปี 2561

โปรเจกต์นี้ LINE ต้องการดึงคนดังมาเปิด LINE Official Account (LINE OA) แต่ไม่ใช่แค่เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างแฟนคลับและผู้ติดตามเท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางการสร้างรายได้ให้กับเหล่า Influencer ที่ถูกจ้างทำโฆษณาต่าง ๆ แต่กลับแทบไม่มีความเคลื่อนไหวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาจเป็นด้วยข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้ติดตามของ Influencer ที่ต้องมีอย่างน้อย 1 ล้านคนเลยทีเดียว

Influencer Commerce รีวิวปุ๊บ ปิดการขายได้ปั๊บ

ในปีนี้ LINE จับ LINE IDOL มาปัดฝุ่นอีกครั้ง หลังจากที่อีโคซิสเต็มส์ของ LINE ที่พร้อมมากพอ ไม่ว่าจะเป็นการไลฟ์สดผ่าน LINE OA ได้ ทำให้ Influencer สามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ ๆ ได้ นอกจากนี้ยังทำลายข้อจำกัดของจำนวนผู้ติดตามของ Influencer ในการสร้าง LINE OA ให้ครอบคลุมอินฟลูเอนเซอร์ตั้งแต่ระดับ Macro Influencer (ผู้ติดตาม 100,000 คนขึ้นไป) จนถึงระดับ Micro Influencer (ผู้ติดตาม 500 คนขึ้นไป)

และที่ขาดไม่ได้ คือ ฟีเจอร์ LINE MyShop ที่ทำให้จากนี้ไม่ใช่แค่การรีวิวเพื่อสร้างการรับรู้ แต่สามารถจบการขายผ่านการแปะลิงก์สินค้าใน LINE Myshop ได้เลย จึงเกิดเป็น Influencer Commerce ฟีเจอร์ใหม่ที่เปิดตัวในไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งจะช่วยสร้างความแตกต่างให้ LINE Idol ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการรีวิวเพื่อสร้างการรับรู้เหมือนแพลตฟอร์มอื่น ๆ และปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในจุดแข็งของ LINE OA คือ การสื่อสารที่เห็น 100% ขณะที่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ กำลังมีประเด็นเรื่อง ‘การมองเห็น’ ที่อาจจะไม่เต็ม 100%

จับมือ Tellscore ป้อนเน็ตไอดอลเข้าแพลตฟอร์ม

จะทำ Influencer Commerce ก็ต้องมีอินฟูลเอนเซอร์ก่อน ดังนั้น LINE จึงจับมือกับ Tellscore แพลตฟอร์มอินฟูลเอนเซอร์เอเจนซี่ที่มีอินฟูลเอนเซอร์ในระบบกว่า 40,000 คน รวมถึงมี ‘อัลกอริทึม’ ที่จะช่วยคัดกรองอินฟูลเอนเซอร์ที่เหมาะจะทำตลาดให้กับแบรนด์ โดยดูจาก 1.เอนเกจเมนต์ของอินฟูลเอนเซอร์ 2.ยอดการติดตาม 3.ภาพลักษณ์ที่เหมาะกับแบรนด์ และ 4.อัตราการปิดการขาย เบื้องต้น LINE ตั้งใจที่จะดึงอินฟูลเอนเซอร์ของ Tellscore เข้ามาในระบบให้ได้ 500 คน

ส่วนนักการตลาดและแบรนด์ที่สนใจ สามารถติดต่อผ่าน LINE หรือ Tellscore ได้ เบื้องต้นแพ็กเกจแบ่งออกเป็น 2 แบบ 1.Micro Influencer (Personal Account) จำนวน 50 คน เน้นการกระจาย 2.Macro Influencer จำนวน 5 คน สำหรับเน้นสร้าง Impact โดยรายได้จะแบ่งเปอร์เซ็นต์กัน 3 ส่วน ได้แก่ อินฟูลเอนเซอร์, LINE และ Tellscore แน่นอนว่ารายได้ของอินฟลูเอนเซอร์อาจจะได้น้อยลงกว่าการรับงานเอง เเต่การที่มี LINE และ Tellscore ช่วยหาลูกค้าเพิ่มให้ ก็น่าจะเป็น Win-Win ทั้งคู่

จะเวิร์กไหม? เพราะใคร ๆ ก็ใช้ Influencer 

ที่ผ่านมา LINE พยายามเข็นบริการใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความถี่ในการใช้งาน เพราะแม้จะมีผู้ใช้ถึง 46 ล้านคน แต่ฐานก็นิ่งมานาน อีกทั้ง LINE เองเป็นแพลตฟอร์มแชทเบส ไม่เหมือน Social Media ดังนั้น แม้จะมีการใช้งานเฉลี่ยที่ 60 นาที/คน/วัน แต่หลัก ๆ อาจจะยังเน้นใช้งานแชทมากกว่าที่จะหาดูรีวิวหรือซื้อสินค้า ดังนั้นการซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซโดยตรง หรือหาดูรีวิวจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ อาจจะเป็นความคุ้นชินของผู้บริโภคไปแล้ว

ดังนั้น ไม่รู้ว่าแผนที่ LINE พยายามเปลี่ยนจาก Conversation มาเป็น Conversion จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน แต่ก็ไม่แน่ เพราะการลด ‘การมองเห็น’ ที่คนในโซเชียลกำลังเจอ อาจเป็นตัวช่วยให้ LINE สามารถดึงพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาทำตลาดผ่าน LINE มากขึ้นก็ได้

]]>
1287325
เจาะลึกทิศทาง E-commerce ปี 2020 ที่จากนี้จะกลายเป็นการ ‘งัดข้อ’ ของ Social Media และ E-marketplace https://positioningmag.com/1282872 Wed, 10 Jun 2020 06:58:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282872 ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. ที่ยังไม่มีการ ผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ช่องทาง E-commerce ถือเป็นช่องทางที่เติบโตเป็นอย่างมาก เพราะผู้บริโภค ไม่มีทางเลือก โดยคุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด หรือ Priceza ได้ออกมาวิเคราะห์ถึงการเติบโตและความเป็นไปจากนี้ของ E-commerce พร้อมย้ำว่าแม้หมด COVID-19 แต่การขายของออนไลน์ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอดในยุคนี้

ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด หรือ Priceza

สรุปภาพ E-commerce ปี 2019

ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ในปี 2019 โดยสัดส่วนของมูลค่าอีคอมเมิร์ซเทียบกับมูลค่าค้าปลีก โดยจีนเป็นเบอร์ 1 มีสัดส่วน 25% ตามด้วยเกาหลีใต้ 22% อังกฤษ 22% สหรัฐฯ 11% และอินเดีย 3% เช่นเดียวกันกับประเทศไทยคิดเป็น 3% ของมูลค่าค้าปลีก หรือมีมูลค่าราว 183,300 ล้านบาท

ในปี 2019 นี้สัดส่วนมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเฉพาะ B2C (Business-to-Consumer) และ C2C (Consumer-to-Consumer) พบว่าช่องทาง E-Marketplace (Lazada, Shopee) มีสัดส่วน 47% เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีสัดส่วนเพียง 35% ส่วน Social Media (Facebook, Instagram, Line) มีสัดส่วนลดเหลือ 38% จากปีที่ผ่านมามีสัดส่วน 40% ส่วนช่องทางทางเว็บไซต์ Official ลดเหลือ 18% จากปีที่ผ่านมามีสัดส่วน 25% 

ทั้งนี้ ผู้นำตลาดของ E-Marketplace ในปี 2019 เป็น Shopee มีสัดส่วน 54% ส่วน Lazada มีสัดส่วน 46% ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดใน Social Media โดย Facebook มีสัดส่วน 42% ตามด้วย LINE 34% Instagram 19% และสุดท้าย Twitter 5%

E-commerce ปี 2020 คาดทะลุ 220,000 ล้านบาท

ขณะที่ปี 2020 คาดว่าจะเติบโต 35% มีมูลค่า 220,000 ล้านบาท โดยใส่ปัจจัยอย่าง ‘COVID-19’ ไปในคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสัดส่วนการขายของออนไลน์ใน 3 ส่วนหลักจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ แต่ที่สังเกตเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 นี้คือ ผู้ประกอบการที่ไม่เคยทำออนไลน์มาก่อนเข้ามาทำออนไลน์ โดยช่องทางแรกที่เข้ามาคือ ‘Social Media’ โดยเฉพาะการใช้ ‘Live Commerce’ ซึ่งคาดว่ามีการเติบโตหลายเท่าตัว ดังนั้นมีโอกาสที่สัดส่วน Social Commerce จะเติบโตมากขึ้น

ทั้งนี้ หากจัดอันดับสินค้าขายดีในช่วงก่อนเกิด COVID-19 (ม.ค.-ก.พ.) เทียบกับช่วงเกิด COVID-19 (มี.ค.-เม.ย.) พบว่า สินค้าสุขภาพและความงามเติบโตขึ้น 34% สินค้าอุปโภคบริโภค 34% หนังสือ 27% เครื่องใช้ไฟฟ้า 22% คอมพิวเตอร์ 4% เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน 2% ขณะที่สินค้าที่มีการซื้อขายลดลงได้แก่ สมาร์ทโฟนลดลง -27% อุปกรณ์กีฬา Outdoor -28% เสื้อผ้าและแฟชั่น -41% สุดท้ายที่ลดลงมากที่สุดคือ รถยนต์และยานพาหนะ -44%

Social Media งัดข้อ E-marketplace

จะเห็นว่า E-marketplace ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ช่องทางซื้อขาย แต่ตอนนี้พยายามปรับตัวเป็น Social Media โดยจะเห็นว่าเริ่มมีฟีเจอร์คล้าย ๆ กับ Social มากขึ้น เช่น ฟีเจอร์แชท, ฟีเจอร์ไลฟ์ ดังนั้นในปี 2019 สัดส่วนการซื้อขายของ E-marketplace จึงเติบโตมากขึ้น ขณะที่ล่าสุด Facebook ได้เปิดตัว ‘Facebook Shops’ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วน LINE เองก็มี LINE MyShop ดังนั้นเชื่อว่าจากนี้จะเป็นการงัดข้อกันระหว่าง Social Media และ E-marketplace

ขณะที่ การช่องทางการเปิดเว็บไซต์ของตัวเองกำลังโดนกลืนไปเรื่อย ๆ เนื่องจากต้องลงทุนสูงและมีความเข้าใจสูงกว่าช่องทางอื่น ๆ เพราะต้องทำการตลาดออนไลน์เอง ดังนั้นผู้เล่นหน้าใหม่ไม่ไปลงทุน เพราะปิดใน E-marketplace และ Social ได้ง่ายกว่า แต่ก็มีคู่แข่งมากเช่นกัน ขณะที่ข้อดีของเว็บไซต์ของตัวเอง คือ สามารถควบคุมทุกอย่างเองได้

“ตอนนี้ผู้เล่นทุกรายพยายามดึงผู้ใช้จบการขายได้ในแพลตฟอร์มของตัวเอง อย่างคุยใน Facebook แต่ไปจบการขายที่ LINE แพลตฟอร์ม Facebook ก็ไม่ชอบใจ LINE เองก็คิดเช่นเดียวกัน ดังนั้นมันเป็นเกมของแพลตฟอร์ม ต่างฝ่ายต่างอยากให้คนใช้เวลาบนแพลตฟอร์มตัวเองที่สุด”

ออฟไลน์ยังเป็น ‘วิถีชีวิต’ แต่ห้ามละเลย ‘ออนไลน์’

อย่างไรก็ตาม คนไทยยังคงซื้อของออฟไลน์ เพราะห้างสรรพสินค้ายังเป็น ‘วิถีชีวิต’ ของคนไทย แม้ว่าจะไปไม่ใช่เพื่อซื้อของ ดังนั้น COVID-19 อาจทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโตถึง 35% แต่ยังเชื่อว่าช่องทางออฟไลน์ยังคงเป็นช่องทางหลักที่ผู้บริโภคคุ้นชิน ดังนั้น COVID-19 คงไม่ได้ทำให้ช่องทางอีคอมเมิร์ซมีสัดส่วน 30% ในค้าปลีก ปีนี้อย่างมากอาจจะมีสัดส่วน 4-5% และพฤติกรรมที่จะเห็นมากขึ้นแน่นอนคือ การซื้อของแบบ Omni-Channel หรือเลือกของออฟไลน์เทียบราคาออนไลน์

“สุดท้าย ออนไลน์เป็นช่องทางที่มีต้นทุนน้อยกว่า และมีการเติบโตสูงกว่าออฟไลน์ ดังนั้นไม่อยากให้ผู้ประกอบการออฟไลน์ละเลยการขายของบนออนไลน์ ตอนนี้ E-commerce ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอดในยุคนี้”

]]>
1282872