จากเครื่องชี้วัดธุรกิจจัดส่งอาหาร หรือ Food Delivery ของ LINE MAN Wongnai พบว่าในเดือนพ.ค. 65 จำนวนผู้สมัครเป็นไรเดอร์ในระบบเพิ่มสูงขึ้นกว่า 4.7 เท่า เมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 63 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด แต่การเพิ่มขึ้นของไรเดอร์ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ขยายตลาดและพื้นที่บริการครอบคลุมทั่วประเทศจากเดิมที่มีการให้บริการเพียงไม่กี่จังหวัด
อย่างไรก็ตาม จากการระบาดที่ลดลง ส่งผลให้การใช้ชีวิตเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ หลายคนเริ่มกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ส่งผลให้ไรเดอร์ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากปริมาณงานต่อวันเฉลี่ยที่ลดลง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า Food Delivery น่าจะขยายตัว 1.7-5% หรือมีมูลค่าประมาณ 7.7 – 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งชะลอลงจากที่เติบโตถึง 46.4% ในปี 2564 และ
ในส่วนของรายได้จากค่าจัดส่งอาหารของไรเดอร์ในช่วงระหว่างปี 2563-2565 คาดว่ามีหมุนเวียนในระบบเฉลี่ยประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่ตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พักเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น จากแนวโน้มการสั่งอาหารไปยังที่พักที่ชะลอลง ปริมาณไรเดอร์ในระบบที่มีจำนวนสูง และราคาน้ำมันที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของไรเดอร์ส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจมุมมองและการปรับตัวของไรเดอร์ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน โดยมีมุมมองที่น่าสนใจ ดังนี้
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พักจำเป็นต้องหาวิธีการรับมือ โดยกลุ่มตัวอย่างกว่า 70% ใช้เวลาทำงาน รับออเดอร์ให้มากขึ้น เพื่อให้รายได้กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า รวมถึงการเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นแทน หรือหาอาชีพเสริม ขณะที่บางส่วนเลือกลงทะเบียนในแพลตฟอร์มอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งาน
ด้านแพลตฟอร์ม Food Delivery สัญชาติไทยอย่าง โรบินฮู้ด (Robinhood) ยอมรับว่า นอกจากการแข่งขันเรื่องการทำโปรโมชันเพื่อดึงดูดผู้ใช้แล้ว อีกส่วนที่ผู้บริโภคไม่รู้ก็คือ การเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อแย่งชิงไรเดอร์ เนื่องจากไรเดอร์เป็นอาชีพฟรีแลนซ์ สามารถรับงานได้กับทุกแพลตฟอร์ม ทำให้ทุกแพลตฟอร์มต้องหาทางมัดใจไรเดอร์ อย่างไรก็ตาม โรบินฮู้ดมีจุดแข็งที่ ไม่คิดคอมมิชชั่นจากไรเดอร์ นอกจากนี้กำลังเร่งพัฒนาฟีเจอร์ ทิป เพื่อเป็นรายได้อีกทาง
“เราไม่คิดคอมมิชชั่นไรเดอร์เลย ส่วนแพลตฟอร์มอื่นไรเดอร์ต้องเสีย 15% ดังนั้น เราไม่ได้มีสิทธิพิเศษอะไรให้ไรเดอร์ เพราะผลตอบแทนเราดีกว่าคู่แข่ง” สีหนาท ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด
ส่วน แกร็บ (Grab) มีการมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อย่าง GrabBenefits จะให้บัตรกำนัลส่วนลดค่าน้ำมันสำหรับไรเดอร์ และมีการให้โบนัสพิเศษ และ การจัดโปรแกรมสินเชื่อ เป็นต้น เช่นเดียวกันกับ ไลน์แมน (LINE MAN) ที่จับมือกับพันธมิตรในการมอบบัตรเติมน้ำมันฟรีรายเดือนสำหรับไรเดอร์ที่ขับเป็นประจำและเข้าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ส่วน ลาล่ามูฟ (Lalamove) นอกจากจะมีส่วนลดเงินคืนกับพันธมิตรปั๊มน้ำมันแล้ว จะมีการปรับอัลกอริทึมการรับงาน เพื่อให้ไรเดอร์สามารถรับงานได้คุ้มค่ามากที่สุด เป็นต้น
อีกส่วนที่หลายแพลตฟอร์มเริ่มหาทางออกให้ไรเดอร์ก็คือ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า อย่างโรบินฮู้ดก็พยายามผลักดันให้ไรเดอร์ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เนื่องจากช่วยประหยัดต้นทุนได้ 10 เท่า ซึ่งตั้งแต่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ก็เห็นความต้องการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่นเดียวกันกับ แกร็บ ที่ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับ-ผู้จัดส่งอาหารที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ได้ 10% ของจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี
“ตอนนี้เรามีให้ไรเดอร์ผ่อนซื้อเป็นรายวันตกวันละ 120 บาท ปัจจุบันมีไรเดอร์ที่ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าราว 400 คัน มียอดจอง 1,900 คัน จากไรเดอร์ทั้งหมด 28,000 ราย ปัญหาตอนนี้คือ พาร์ตเนอร์ทั้ง 2 รายของเราผลิตไม่ทัน เราเองก็ต้องมองหาเพิ่มอีกราย ซึ่งเรามองว่าการใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะช่วยไรเดอร์ในระยะยาว” สีหนาท กล่าว
นอกจากสิทธิพิเศษแล้ว ทางศูนย์วิจัยกสิกรได้แนะนำว่าควร ปรับระบบการกระจายงานมาใช้ระบบยิงงาน (Auto assign) ซึ่งเป็นระบบสากลที่ทำให้มีความเท่าเทียมในการกระจายงานให้กับไรเดอร์มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็อยู่ระหว่างจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. … เพื่อเข้ามาช่วยกำกับดูแลผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ของธุรกิจดังกล่าว
หรือ การคิดคำนวณค่าธรรมเนียมควรมีความยืดหยุ่น เช่น ในต่างประเทศผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จัดส่งอาหารนำรูปแบบ FuelSurcharge ตามระยะทางมาปรับใช้ในช่วงที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูง และเมื่อราคาน้ำมันปรับลดลงก็อาจมีการยกเลิกวิธีการคิดดังกล่าว นอกจากการแก้ไขปัญหาเชิงระบบแล้ว ต้องพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการรับงานมากขึ้นและลดปริมาณการยกเลิกออเดอร์ในช่วง Peak Hour การลดระยะเวลาในการรอรับอาหารที่ร้านอาหาร
ในระยะถัดไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องคงจะต้องช่วยกันออกแบบ และสร้างระบบนิเวศของธุรกิจ ภายใต้กฎระเบียบและกฎเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวสามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการต่าง ๆ อาทิ การเปิดรับลงทะเบียนไรเดอร์เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงการได้รับสิทธิต่าง ๆ จากภาครัฐ เป็นต้น
]]>สำหรับ 5 เขต-อำเภอที่มีคนสั่งมากที่สุด กลายเป็นเขตรอบนอกกรุงเทพฯ ได้แก่
สำหรับสาเหตุที่พื้นที่นอกกรุงเทพฯ ติดอันดับพื้นที่ที่มีคนสั่งมากที่สุดเนื่องจากคน Work from Home กันมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่ กรุงเทพฯ ที่มีคนสั่งมากที่สุด คือ เขตจตุจักรและลาดกระบัง ในขณะที่เขตชั้นใน แชมป์เก่าอย่าง ปทุมวันและวัฒนา กลับไม่ติด Top 10 ซึ่งหมายถึงเป็นโอกาสดีของร้านรอบนอกกรุงเทพฯ ส่วนร้านในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ก็ลำบากขึ้นเพราะผู้บริโภคหายไปจากในเมือง
วันอาทิตย์, วันศุกร์ และวันเสาร์ เป็นวันที่มีออเดอร์สูงที่สุดตามลำดับ ช่วงเวลาที่มีออเดอร์สูงที่สุดคือ
ขณะที่ระยะทางเฉลี่ยที่ผู้ใช้ LINE MAN สั่งอาหารคือ 3.19 กิโลเมตร ซึ่งลดน้อยลงจากในอดีต
ในส่วนของ 5 ประเภทร้านอาหารที่คนนิยมสั่งเดลิเวอรี่สูงสุด ได้แก่
ทั้งนี้ เทรนด์ร้านอาหารที่เปลี่ยนไปจากปี 2020 คือ ร้านกาแฟ กลับมาเป็นที่นิยมติด อันดับ 1 จากเดิมอยู่ อันดับ 7 ขณะที่ ร้านก๋วยเตี๋ยว ตกไปอยู่ อันดับ 4 เดิมเป็นอันดับ 1 ส่วน ร้านฟาสต์ฟู้ด ขึ้นมาเป็น อันดับ 7 เดิมไม่ติด Top 10 ในขณะที่ร้านอาหารเกาหลี/ญี่ปุ่น หลุดโผ Top 10 ครั้งแรก
สำหรับ 10 เมนูที่ถูกสั่งเยอะที่สุด ได้แก่ กาแฟ, ชา, โกโก้, ตำปูปลาร้า, คอหมูย่าง, ข้าวมันไก่, ลาบหมู, หมูปิ้ง, หมูสามชั้น และปาท่องโก๋ ตามลำดับ โดยราคาเฉลี่ยต่อจานที่คนกดสั่งมากที่สุด คือ 60-70 บาท
ขณะที่อายุของผู้บริโภคที่สั่งเดลิเวอรี่ ไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก กลุ่มวัยเรียนและ First Jobber อายุ 20-24 ปีสั่งเดลิเวอรี่สูงสุด (22.8%) ตามด้วย กลุ่มวัยทำงาน อายุ 30-34 ปี (22.4%) และ 25-29 ปี (21.9%) เพศหญิง 71.1% เพศ ชาย 28.89%
1.ร้านอาหารสามารถเลือกได้ว่าจะขายแบบ Non-GP หรือ GP หากเลือกขายแบบ Non-GP จะไม่ต้อง เสียส่วนแบ่งรายได้เลย ลูกค้าจ่ายค่าส่งตามระยะทางจริง ส่วนถ้าเลือกขายแบบ LINE MAN GP ลูกค้าจะได้ ค่าส่งเริ่มต้นที่ 0 บาท เลือกสลับระหว่าง Non-GP และ GP ได้เองผ่าน Wongnai Merchant App
2.ร้านใหม่ขายแบบ GP ฟรี ไม่เสียค่าธรรมเนียม 15 วัน สำหรับร้านอาหารที่ไม่เคยเข้าร่วมการขายออนไลน์แบบ GP มาก่อน ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2564 สมัครได้ที่ https://bit.ly/3jwXHov
3.ช่วยร้านกระตุ้นยอดขาย แจกคูปองส่วนลดให้ร้าน โค้ดส่วนลด 80 บาทสำหรับลูกค้าใหม่ พร้อมกับกรอบรูปสำหรับโปรโมตให้ร้านนำไปใช้ได้ฟรี ส่วนลูกค้าทั่วไปมีโค้ดส่วนลด 30 บาท สำหรับการสั่งในทุกออเดอร์จากทั้งร้านอาหาร GP และ Non-GP
4.ยกเว้นค่า GP สำหรับการใช้งานฟีเจอร์ Self Delivery (ระบบร้านรับ-ส่งเอง) และ Pickup (รับที่ร้าน) ไม่คิดค่าธรรมเนียม จากเดิมคิด 5% ของยอดขาย สำหรับร้านที่มีบุคลากรจัดส่งเอง หรือลูกค้าสะดวกมารับที่หน้าร้าน
5.Wongnai Deals #ช่วยเชฟSaveร้าน ช่วยสนับสนุนเชฟร้านอาหารกลุ่มไฟน์ไดนิ่งให้ขายได้ผ่านการขายดีลพรีออเดอร์อาหารล่วงหน้าแบบส่งถึงบ้าน โดยไม่คิดค่า GP
6.ให้พื้นที่สื่อโปรโมตร้านบนช่องทางทั้งหมดของ LINE MAN Wongnai ฟรี และถ่ายภาพอาหารเพื่อโปรโมตร้านให้ฟรีจากช่างภาพมืออาชีพ สำหรับร้านอาหารในพื้นที่ 6 จังหวัดควบคุม กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
นอกจากนี้ LINE MAN Wongnai ยังได้อุดหนุนร้านอาหารในพื้นที่ควบคุม 6 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการงดนั่งรับประทานอาหารที่ร้านและมีวัตถุดิบอยู่เป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถค้าขายได้ตามปกติ โดยนำมาปรุงเป็นอาหารเพื่อส่งมอบต่อให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าในโรงพยาบาลพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงได้เป็นตัวกลางในการบริจาคอาหารให้กับชุมชนต่าง ๆ รวมกว่า 50 ชุมชนทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล
]]>ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) และบริการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 8,000 ล้านบาท และในช่วงวันที่ 5 – 15 มี.ค. ETDA เผยถึงเหตุผลของการสั่งอาหารออนไลน์ เหตุผลแรกคือ ไม่อยากไปนั่งที่ร้านอาหาร ตามด้วยไม่อยากต่อคิว, มี promo code แจกในแอป, และสั่งอาหารออนไลน์เพราะหวั่น Covid-19 โดย 87.85% เป็นการสั่งทานที่บ้าน 46.11% ผู้สั่งทานที่ทำงาน
เพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย ที่ต่างกังวลเรื่องไวรัส พนักงานส่งของจึงเริ่มใช้วิธีดรอปสินค้าที่หน้าบ้านก่อนถึงเวลานัดจริง มากกว่าจะยื่นส่งสินค้ากันตามปกติ รวมถึงแบรนด์เดลิเวอรีก็ออกกฎต่าง ๆ เพื่อปกป้องความปลอดภัยต่อทั้งลูกค้าและพนักงาน ทั้งยืนห่างจากลูกค้า 2 เมตรในการรับส่งสินค้า และผลักดันการชำระเงินผ่านอีวอลเล็ต ทำให้มูลค่าการจัดส่งสินค้าแบบไม่สัมผัสกับลูกค้าปลายทางเติบโตขึ้นถึง 20%
สถานการณ์จะยิ่งผลักดันให้ผู้คนเข้าหาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เมื่อมี 5G ที่จะช่วยภาคการขนส่งและคมนาคมอัจฉริยะ ตั้งแต่การโอนถ่ายดาต้า สร้างการสื่อสารระหว่างคันรถ จนถึงเชื่อมต่อรถทุกคันเข้ากับผังเมืองดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงข้อมูลการจราจรที่ถูกต้องแม่นยำบนรถยนต์ได้ ส่งผลให้การขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์ยิ่งมีโอกาสเติบโตหรือรถอัตโนมัติที่นำทางด้วยแผนที่ภายใต้ระบบอัลกอริทึมของ Location platform โดยคาดว่าจะทำรายได้ 4.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030
และด้วยระบบ Open Location Platform จะยิ่งตอบโจทย์ on-demand economy ที่แข่งขันกันที่ความเร็ว ความสะดวก และความถูกต้องของสินค้า เนื่องจากช่วยตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกโลเคชั่นต้นทางถึงปลายทาง และถูก localize ให้เข้ากับพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีตรอก ซอก ซอย อย่าง Amazon ตั้งเป้าส่งสินค้าถึงปลายทางได้อย่างเรียบร้อยภายใน 30 นาที หรือ Walmart ที่เริ่มให้บริการ same-day delivery ขนส่งด่วนภายในวัน ซึ่งอีคอมเมิร์ซเจ้ายักษ์ในประเทศไทย Lazada หรือ Shopee ก็เริ่มขยายธุรกิจและบริการในลักษณะนี้เช่นกัน
Open Location Platform จะทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอัจฉริยะให้แก่บริษัทผ่านแผนที่ดิจิทัลแบบเรียลไทม์ (Application Programming Interface – API) ขณะที่ชุดพัฒนาโมบายล์ซอฟต์แวร์ (Mobile software developments kits – mSDK) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปักหมุดบริเวณที่ต้องการให้รถโดยสารเข้าไปรับระบบเอไอกับแมชชีนเลิร์นนิ่งที่ทำงานร่วมกันบนแผนที่จะช่วยจดจำเส้นทางใหม่และบันทึกเพิ่มในฐานข้อมูล นอกเหนือจากระบบติดตาม GPS แล้ว แพลตฟอร์มแผนที่ยังสามารถนำเสนอเส้นทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น ๆ แก่คนขับ
#Grab #Get #Foodpanda #Lineman #Fooddelivery #HereTechnologies #Covid19 #Positioningmag
]]>