Lock Down – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 16 Aug 2021 03:50:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 The Day After Crisis เมื่อ COVID-19 สิ้นสุดลง พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างไร? https://positioningmag.com/1346298 Sun, 15 Aug 2021 13:57:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346298 Future Lab Poll สำนักโพลแห่งอนาคต เป็นความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab ร่วมกับ Beluga Data – Online Poll ที่ร่วมกันจัดทำข้อมูลขึ้นมา เพื่อหวังให้ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ในระดับมหภาค

ด้วยท่ามกลางกระแสการแพร่ระบาดอย่างหนักของ COVID-19 ในประเทศช่วงนี้ Future Lab Poll จึงขอประเดิมเลือกหัวข้อ “The Day After Crisis เมื่อ COVID-19 สิ้นสุดลง พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?” เนื้อหาว่าด้วย New Normal หรือความปกติใหม่ของพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นหลังการแพร่ระบาดจบลง

ช่วงเวลาเก็บข้อมูล : เดือนมิถุนายน 2564 (เป็นช่วงสถานการณ์ที่ถูก Lock Down) จำนวน 1,151 ตัวอย่าง กระจายทั่วประเทศไทย ซึ่งเมื่อเทียบกับการเก็บข้อมูลในช่วง พ.ค. 2563 พบว่าตัวเลขบางอย่างมีแนวโน้มเปลี่ยนไปพอสมควร

พฤติกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (หลังสถานการณ์คลี่คลาย) 

1.“วางแผนการเงิน หารายได้เสริม พัฒนาตัวเอง” เพิ่มขึ้น 41%

ภาวะการแพร่ระบาดกระทบเศรษฐกิจหลายภาคส่วนให้หยุดชะงัก ประกอบกับความไม่แน่นอนของเหตุการณ์หลังจากนี้ ผลกระทบเหล่านี้เองสะท้อนถึงผลกระทบด้านความกังวลด้านเศรษฐกิจของคน ทำให้คนใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น, อยากมีอาชีพเสริม ทักษะใหม่ อยากวางแผนการเงินเพิ่มเงินสำรองจ่ายสำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน

(การเก็บข้อมูลช่วง พ.ค.​ 2563 ที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมด้านนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 55.7%)

Photo : Shutterstock

2. “ทำเอง กินเอง ที่บ้าน” เพิ่มขึ้น 41%

นโยบาย Work from Home ทำให้คนใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น นโยบายการปิดร้านอาหารบางส่วน ทำให้กิจกรรมการทำอาหารทานเองที่บ้านเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยม

(การเก็บข้อมูลช่วง พ.ค.​ 2563 ที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมด้านนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 23.6%)

3. “ใช้ออนไลน์ดำเนินชีวิตหลากมิติ” เพิ่มขึ้น 29%

COVID-19 ทำให้อัตราการใช้ Applicaition ออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก ทั้งการดูภาพยนตร์/ซีรีส์, ซื้อของออนไลน์ เรียนออนไลน์ ใช้ App Food Delivery ใช้ Online Banking และหลายคนเลือกพูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนกันผ่านช่องทางออนไลน์

(การเก็บข้อมูลช่วง พ.ค.​ 2563 ที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมด้านนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 21.3%)

Photo : Shutterstock

4. “ติดใจ Work from Home” เพิ่มขึ้น 26%

สถานการณ์การแพร่ระบาดทำให้พนักงานต้องทำงานที่บ้านกันอย่างต่อเนื่อง ทำงานปรับตัวไปกับการ Work from Home ได้อย่างแนบเนียน มีคนสนใจอยากทำงานที่บ้านอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1-2 วัน และสนใจเลือกใช้การประชุมออนไลน์ (VDO Conference)

(การเก็บข้อมูลช่วง พ.ค. ​2563 ที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมด้านนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 29.8%)

5. “การใช้ชีวิตในบ้าน และดูแลสุขภาพ” เพิ่มขึ้น 23%

ข้อนี้ครอบคลุมถึงการใช้เวลาในครอบครัวและที่พักอาศัย ซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าบ้าน และซื้อสินค้าเพื่อความสะอาด สุขอนามัย และเพิ่มภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายในบ้าน เพิ่มขึ้น และต้องการเว้นระยะห่างในพื้นที่สาธารณะ เล่นวิดีโอเกมในที่พักอาศัย ปลูกต้นไม้ภายในบ้านเพื่อความร่มรื่น ผ่อนคลาย

(การเก็บข้อมูลช่วง พ.ค.​ 2563 ที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมด้านเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 38.2%)

Photo : Shutterstock

6. สุขภาพวิถีใหม่ ใช้เทคโนโลยี และเข้าถึงจิตใจ” เพิ่มขึ้น 17%

หัวข้อนี้ครอบคลุมทั้งเรื่อง Telemedicine (หาหมอหรือรับคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านระบบ VDO), ใช้.Wearable Gadget และกิจกรรมดูแลจิตใจอย่างการนั่งสมาธิ, ภาวนา

(การเก็บข้อมูลช่วง พ.ค. ​2563 ที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมด้านนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 17.4%)

พฤติกรรมที่มีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง

การเรียนที่สถานที่จริง เท่าเดิม (0%) 

พฤติกรรมนี้แทบจะเหมือนเดิมเพราะสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ต้องเรียนออนไลน์มาอย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยคาดว่านักเรียน นักศึกษาเริ่มตระหนักว่าไม่อยากเรียนออนไลน์แทนที่การเรียนในสถานที่จริง

พฤติกรรมที่ลดลง

1.กลับไปใช้ชีวิตนอกบ้านตามเดิม ลดลง 43%

คนมองว่าคงออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านน้อยลง ซึ่งข้อนี้ครอบคลุมทั้งการท่องเที่ยว ชมคอนเสิร์ต ไปห้างฯ ดูภาพยนตร์ ไปจนถึงการใช้ขนส่งสาธารณะ

(การเก็บข้อมูลช่วง พ.ค.​ 2563 ที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมด้านนี้ลดลงอยู่ที่ 10.6%)

คอนเสิร์ต
(Photo : Shutterstock)

2. ไปตลาด ซื้อแผงลอย ลดลง 7%

คนคาดว่าจะซื้ออาหารจากตลาดสด, รถเข็น, แผงลอยริมถนลดลง คาดว่าเป็นประเด็นเรื่องสุขอนามัยที่คนระมัดระวัง และจะให้ความสำคัญมากขึ้นในอนาคตถึงแม้การแพร่ระบาดจะจบไปแล้ว

(การเก็บข้อมูลช่วง พ.ค. ​2563 ที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมด้านนี้ลดลงอยู่ที่ 12.8%)

เหล่านี้คือ New Normal ที่ได้จากการทำวิจัยกับผู้บริโภคในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ซึ่งอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนัก น่าติดตามกันต่อไปว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงไปตัวเลขพฤติกรรม New Normal จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

โดยผู้ตอบแบบสอบถาม มีประชากรศาสตร์ ดังนี้

1.เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม

มีสัดส่วนของเพศหญิงที่ 50.91% และเพศหญิงที่ 49.09%

2.ช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม

มีสัดส่วนของอายุสูงสุดที่ช่วงอายุ 35-44 ปี จำนวน 35.88%
รองลงมาอันดับ 2 เป็นช่วงอายุ 25-34 ปี จำนวน 28.5%
รองลงมาอันดับ 3 เป็นช่วงอายุ 45-54 ปี จำนวน 17.12%
รองลงมาอันดับ 4 เป็นช่วงอายุ 18-24 ปี จำนวน 11.29%
รองลงมาอันดับ 5 เป็นช่วงอายุ 55-64 ปี จำนวน 5.73%
และช่วงอายุน้อยที่สุด เป็นช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 1.48%

3.สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

มีสัดส่วนสถานภาพโสดสูงสุดที่ 50.7% รองลงมาสถานภาพแต่งงานแล้วอยู่ที่ 44.1% และรองลงมาสถานภาพเป็นหม้ายอยู่ที่ 2.8% และสัดส่วนน้อยที่สุด คือ สถานภาพหย่าอยู่ที่ 2.3%

4. ระดับการศึกษา

มีสัดส่วนสูงสุดในระดับปริญญาตรีที่จำนวน 53.4%
รองลงมาอันดับ 2 ระดับการศึกษามัธยมปลาย จำนวน 17.3%
รองลงมาอันดับ 3 ระดับการศึกษาอาชีวะศึกษา จำนวน 14.2%
รองลงมาอันดับ 4 ระดับการศึกษามัธยมต้น จำนวน 5.8%
รองลงมาอันดับ 5 ระดับการศึกษาปริญญาโท จำนวน 5.6%
รองลงมาอันดับ 6 ระดับการศึกษาประถมศึกษา จำนวน 2.7%
และสัดส่วนระดับการศึกษาที่น้อยที่สุด เป็นระดับการศึกษาปริญญาเอก และไม่จบ จำนวนเท่ากันที่ 0.4%

]]>
1346298
นักวิเคราะห์ชี้ แม้เป็นประเทศที่ ‘รวยสุดในโลก’ ก็ล็อกดาวน์อีกรอบไม่ได้ หากเจอ Covid-19 รอบ 2 https://positioningmag.com/1285220 Thu, 25 Jun 2020 12:17:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285220 นักวิเคราะห์ประเมินว่า มีความเป็นไปได้ยากมากที่ประเทศต่าง ๆ มีจะกำหนดมาตรการล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง หากเกิดการระบาดระลอกที่สอง เนื่องจากต้องใช้งบถึง 3% ของ GDP ต่อเดือน

บรรยากาศการแจกหน้ากากอนามัยที่ป้ายรถเมล์ในเมืองบาเลนเซีย ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 63 หลังจากรัฐบาลสเปนประกาศผ่อนคลายการล็อกดาวน์ ให้กิจการบางประเภทกลับมาทำการได้ เช่น ไซต์ก่อสร้าง โรงงานผลิต (photo: Rober Solsona/Europa Press via Getty Images)

สถานการณ์การระบาดของไวรัส Covid-19 ในหลายประเทศยังไม่ผ่านพ้นช่วงวิกฤต ขณะที่บางประเทศก็กำลังเผชิญหน้ากับการระบาดระลอกใหม่ อย่างตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกายังพุ่งสูงถึง 45,557 รายเมื่อวันพุธที่ผ่านมาเพียงวันเดียว ขณะที่แคลิฟอร์เนียมีผู้ป่วยมากกว่า 7,000 รายตั้งแต่วันอังคาร เพิ่มขึ้น 69% ภายในสองวัน ส่วนฟลอริดายังคงพบรายงานจำนวนผู้ป่วยรายใหม่อย่างต่อเนื่อง

ตัดภาพมาที่ภูมิภาคเอเชีย ประเทศเกาหลีใต้กำลังต่อสู้กับ “การระบาดรอบสอง” รอบ ๆ กรุงโซลที่เป็นเมืองหลวง ขณะที่ปักกิ่งก็ต้องปิดตลาดสดและบางพื้นที่ หลังจากตรวจพบเชื้อ Covid-19 แม้ว่าตอนนี้จะออกมาประกาศว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวได้แล้ว

Hartmut Issel หัวหน้าหน่วยงาน APAC ของ UBS Global Wealth Management กล่าวกับ CNBC เมื่อวันอังคารว่า ประเทศต่าง ๆ ไม่น่าจะสามารถล็อกดาวน์ประเทศได้อีกครั้ง หากต้องเผชิญกับการระบาดระลอกสอง เพราะการล็อกดาวน์ประเทศทั้งหมด เท่ากับประเทศคุณมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 3% ของ GDP ต่อเดือน ดังนั้นแม้แต่ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกก็ไม่สามารถจ่ายเงินขนาดนั้นได้อีกสองสามเดือน

“การระบาดของไวรัสรอบสองนี้เป็นข้อกังวลสำหรับนักลงทุน…แต่ความแตกต่างที่สำคัญคือ คราวนี้จะไม่มีการล็อกดาวน์ประเทศเหมือนช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถ้าคุณดูการเทขายหุ้นในช่วงเดือนมีนาคม มันไม่ได้มีสาเหตุที่เพราะความกังวลเรื่องไวรัส แต่เป็นเพราะเศรษฐกิจโลกปิดตัว”

ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศลดการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจอีกครั้งในวันพุธ โดยเตือนว่าการเงินของรัฐบาลจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากพวกเขาพยายามที่จะจัดการกับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ ปัจจุบันได้ประเมินว่าจะมีการหดตัว 4.9% ของ GDP ทั่วโลกในปี 2020 ซึ่งมากกว่าที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ 3%

Source

]]>
1285220
เตรียมเฮ! “ไต้หวัน” คลายล็อกการเดินทาง เตรียมแผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว 1 ต.ค. นี้ https://positioningmag.com/1280764 Tue, 26 May 2020 16:23:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280764 “ไต้หวัน” วางแผน 3 ขั้นตอน สำหรับการเปิดการขนส่งและการท่องเที่ยว ที่จะทำให้ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาเที่ยวที่ไต้หวันได้ราวเดือนตุลาคม 63

Taiwan News สำนักข่าวของไต้หวัน รายงานว่า เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ในไต้หวันมีการควบคุมได้แล้ว โดยไม่มีผู้ติดเชื้อใหม่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นเวลา 13 วัน และไม่มีผู้ติดเชื้อจากในประเทศเป็นเวลา 38 วัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไต้หวัน จึงได้ประกาศร่างแผน 3 ขั้นตอนเพื่อผ่อนคลายข้อจำกัดในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในด้านการขนส่งและการเดินทาง ซึ่งรวมไปถึงการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศในขั้นตอนที่สามด้วย

  • ขั้นตอนที่ 1 ระหว่างวันที่ 27 พ.ค. – 31 มิ.ย. ผ่อนคลายข้อจำกัดด้านอาหารและการขายตั๋วรถไฟ

อนุญาตให้ผู้โดยสารรับประทานอาหารระหว่างการเดินทางบนรถไฟ รวมถึงการบริการอาหารบนรถไฟ ทั้งนี้ผู้โดยสารยังต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร และในช่วงวันหยุดเทศกาลเรือมังกรในไต้หวัน (25-28 มิ.ย.) รถไฟธรรมดาได้รับอนุญาตให้ขายตั๋วยืน ส่วนรถไฟความเร็วสูงได้รับอนุญาตให้ขายตั๋วในที่นั่งที่ไม่ได้จองไว้ล่วงหน้า

Photo : Shutterstock
  • ขั้นตอนที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 ส.ค. – 31 ต.ค. สนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ และยกเลิกการบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัย

ในขั้นตอนนี้จะมีการอุดหนุนเงินให้กับการท่องเที่ยวภายในประเทศ สำหรับกลุ่มทัวร์ ที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวอิสระ รวมถึงส่วนลดตั๋วเข้าสวนสนุก ค่าโดยสารรถบัสสองชั้น และส่วนลดอื่นๆ นอกจากนี้มาตรการป้องกันโรคบางอย่างอาจยกเลิกการบังคับใช้ เช่น การบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัย

  • ขั้นตอนที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. – 31 ธ.ค. เปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาไต้หวันได้

เนื่องจากการระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของโลก การเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่าชาติเข้ามาจึงต้องเป็นระยะสุดท้าย ในขั้นตอนนี้การท่องเที่ยวไต้หวัน จะร่วมมือกับศูนย์บัญชาการกลางการแพร่ระบาดของไต้หวัน และกระทรวงการต่างประเทศของไต้หวัน ในการประเมินสถานการณ์สำหรับการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

และจะทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมพื้นที่ชายแดน เที่ยวบินและการคมนาคมระหว่างประเทศ รวมถึงเรือสำราญระหว่างประเทศ

Source

]]>
1280764
ยอดผู้ใช้งาน Facebook พุ่งกระฉูดช่วงล็อกดาวน์ แต่รายได้โฆษณากลับไม่โตตาม https://positioningmag.com/1276205 Fri, 01 May 2020 15:36:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276205 เป็นไปตามคาด ชาวโซเชียลจำนวนมากไหลหลั่งเข้าสู่บริการของ Facebook เนื่องจากการล็อกดาวน์เพื่อสกัดกั้นการระบาดของ COVID-19 ทำให้ชาวโลกต้องอยู่กับบ้านแล้วงดทำกิจกรรมนอกบ้าน ผลคือยอดผู้ใช้เฟซบุ๊กขยายตัว สวนทางกับธุรกิจโฆษณาที่เป็นรายได้หลักของเฟซบุ๊กกลับได้รับผลกระทบเชิงลบ

ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กโชว์ผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2020 ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ว่าภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นส่งให้เฟซบุ๊กได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับหลายบริษัท โดยเฉพาะในส่วนยอดขายโฆษณาที่ไม่เติบโตเท่าที่ควร

เฟซบุ๊กขยายความเรื่องธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ว่าบริษัทกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้คาดว่าผลการดำเนินงานของเฟซบุ๊กจะได้รับผลกระทบจากปัญหาที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ทั้งเรื่องระยะเวลา ภาพรวมการสกัดกั้นโรค ประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลก และความผันผวนของสกุลเงินเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

ตัวเลขน่าสนใจในรายงานครั้งนี้คือจำนวนผู้ใช้งานรายวันหรือ Daily active user ของเฟซบุ๊กทะลุหลัก 1,730 ล้านรายแล้ว เป็นสถิติที่เพิ่มขึ้น 11% ขณะที่ผู้ใช้งานรายเดือนมากกว่า 2,600 ล้านราย เพิ่มขึ้นอีก 10% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า

ส่วนรายได้ของเฟซบุ๊กเบ็ดเสร็จแล้วคิดเป็น 17,740 ล้านเหรียญสหรัฐ โตขึ้นเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับ 15,100 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว เฉลี่ยรายได้ต่อหุ้นคิดเป็น 1.71 เหรียญสหรัฐ

ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 ทำให้เฟซบุ๊กไม่ประกาศตัวเลขพยากรณ์ผลประกอบการไตรมาส 2 หรือทั้งปี 2020 โดยให้เหตุผลว่าบริษัทประสบกับความต้องการหรือดีมานด์ที่ลดลงอย่างมากในตลาดโฆษณา รวมถึงภาวะราคาค่าโฆษณาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กที่ลดลงต่อเนื่องในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายของไตรมาสแรกของปีนี้

ตัวเลขของเฟซบุ๊กนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับ Alphabet บริษัทแม่กูเกิลที่รายงานสถานการณ์บริษัทในลักษณะเดียวกัน นั่นคือในช่วงโค้งสุดท้ายของไตรมาสแรกนั้นเป็นช่วงที่ธุรกิจโฆษณาเริ่มระส่ำระสาย คาดว่าภาวะนี้จะเกิดขึ้นกับบริษัทอินเทอร์เน็ตรายอื่นที่มีรายได้หลักเป็นค่าโฆษณา

ในกรณีของเฟซบุ๊ก นักวิเคราะห์มองว่าฐานผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ยั่งยืน เพราะผู้คนกำลังทยอยกลับไปใช้ชีวิตตามปกติและอาจมีเวลาน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้ฐานผู้ใช้เฟซบุ๊กลดลงอยู่ในระบบก่อนการระบาดในช่วงที่โลกเริ่มปลดล็อกดาวน์

อย่างไรก็ตาม มูลค่าหุ้นเฟซบุ๊กดีดตัวขึ้นมากกว่า 6% สะท้อนว่านักลงทุนพอใจกับผลประกอบการล่าสุดที่เพิ่งประกาศออกมา

Source

]]>
1276205
นักวิชาการแนะ ‘4 มาตรการ’ คุมสุขลักษณะ ‘Street Food’ ให้ปลอดภัยในช่วงผ่อนล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1276516 Fri, 01 May 2020 10:00:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276516 แม้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2563 แต่ก็ได้ผ่อนคลายมาตรการบางอย่างเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผศ.ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล หัวหน้าศูนย์ Food Innopolis @KMITL จึงได้แนะนำ 4 มาตรการ ควบคุมสุขลักษณะร้านอาหารริมทาง (Street Food) ที่เป็นหนึ่งในทางเลือกของประชาชน ซึ่งมีความจำเป็นต้องจัดการมาตรฐานด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด

ระยะห่างยังสำคัญ

ร้านค้าต้องจัดระบบการเข้าคิวสั่ง – รอรับอาหาร โดยใช้หลักการรักษาระยะห่างทั้งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และระหว่างผู้ซื้อด้วยกัน อาทิ การมาร์คจุดเข้าคิว การจัดที่นั่งรอโดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างบุคคล

หมั่นล้างมือและสวมหน้ากากทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขาย

ผู้ขายต้องหมั่นดูแลสุขลักษณะส่วนตัว โดยการหมั่นล้างมืออย่างถูกวิธี สวมใส่หน้ากากอนามัย ไม่พูดคุยเล่นขณะปรุงอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมถึงหมั่นเปลี่ยนหน้ากากอนามัย และผ้ากันเปื้อนเพื่อป้องกันการหมักหมมของสิ่งสกปรก ส่วนผู้ซื้อต้องใส่แมสก์ และล้างมือเสมอ ร้านค้าต้องให้บริการเจลแอลกอฮอล์แก่ผู้ซื้อ รวมถึงขอความร่วมมือให้ผู้ซื้อสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

รักษาความสะอาดของอุปกรณ์

จัดวางอุปกรณ์ให้ไกลเชื้อโรค พื้นผิวสัมผัสทุกจุดที่ต้องมีการวางวัตถุดิบในการปรุงอาหาร อาทิ ชั้นวางวัตถุดิบ พื้นผิววัสดุสำหรับเตรียมประกอบอาหาร หม้อ กระทะ รวมถึงภาชนะใส่อาหาร จะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด และเช็ดให้แห้ง รวมถึงต้องจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หม้อ กระทะ ให้อยู่สูงจากพื้น 60 ซม. เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก

สังคมไร้เงินสด

ร้านค้าควรปรับรูปแบบการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการสัมผัสระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยอาจมีวิธีการชำระเงินที่หลากหลายให้ผู้ซื้อได้เลือกชำระเงินตามความสะดวก

ทั้งนี้ มาตรการควบคุมสุขลักษณะร้านอาหารควรนำมาปรับใช้ในระยะยาว แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลายลง เพื่อให้สอดรับกับ New Normal ของผู้บริโภคที่เลือกสินค้าที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีอันชาญฉลาดมาปรับใช้ในรถเข็นขายอาหารริมทาง เป็นทางเลือกที่สำคัญในการควบคุมสุขลักษณะ

“ระยะเวลาผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ถือเป็นช่วงเวลาพิสูจน์ความสามารถของผู้ประกอบการร้านอาหารริมทาง และสถานประกอบการขนาดเล็กที่ได้รับอนุญาตให้เปิดกิจการก่อน หากผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจอื่น ๆ ให้เรียนรู้แนวทางการจัดการที่ดี และมีโอกาสได้รับการผ่อนปรนในเร็ววัน เป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมให้ดีขึ้นตามลำดับ” ผศ.ดร.นภัสรพี กล่าวทิ้งท้าย

ผศ.ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล หัวหน้าศูนย์ Food Innopolis @KMITL
]]>
1276516