M-Flow – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 28 Oct 2021 07:36:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทดสอบ M-Flow มอเตอร์เวย์ 29 ต.ค. ค้างจ่ายได้ 2 วัน เบี้ยวจ่ายเกิน 12 วัน ปรับหนัก 5,530 บาท https://positioningmag.com/1358974 Thu, 28 Oct 2021 07:07:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358974 มอเตอร์เวย์สาย 9 พร้อมทดสอบ M-Flow 29 ต.ค.นำร่อง 4 ด่าน เปิดลงทะเบียนผูกทะเบียนรถ อัดแคมเปญ 1 แสนสิทธิ์แรกวิ่งฟรี 2 เที่ยว เผยค้างจ่ายเกิน 2 วันปรับ 2 เท่า กรณีไม่เป็นสมาชิกปรับหนัก 10 เท่าเกิน 12 วัน เจอผิด พ.ร.บ.ทางหลวงปรับสูงสุด 5,000 บาท

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม ติดตามและเร่งรัดการพัฒนาและการเปิดให้บริการการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ของกรมทางหลวง (ทล.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ว่า กรมทางหลวง ได้ดำเนินการพัฒนาระบบจัดเก็บบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ด่านทับช้าง 1, 2 และด่านธัญบุรี 1, 2) เพื่อแก้ไขปัญหารถติดขัดหน้าด่าน โดยวางระบบให้สามารถบูรณาการกับ กทพ.ที่มีการพัฒนาระบบ M-Flow ให้เป็นรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน (Single Platform System) โดยด้านเทคนิคและระบบ IT ได้ติดตั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว การอ่านป้ายทะเบียนระบบ AI ของ M-Flow มีความแม่นยำ 98.94% จึงมีความพร้อมช่องทางเก็บเงินค่าผ่านทาง ขั้นตอนการลงทะเบียน และการบริหารจัดการสมาชิก

และมีการพัฒนาระบบลงทะเบียนผ่าน Website/Mobile Application ระบบเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินออนไลน์ (Payment Gateway) ระบบเชื่อมต่อข้อมูลกับจุดให้บริการชำระเงิน Counter Service เสร็จแล้ว ซึ่ง ทล.จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนสมัครสมาชิกและร่วมทดสอบเสมือนจริง (Soft Opening) ในวันที่ 29 ต.ค. 2564 เวลา 09.00 น. และจะเปิดให้บริการระบบ M-flow ภายในต้นปี 2565

เปิดขั้นตอนลงทะเบียน 29 ต.ค. 64

สำหรับขั้นตอนลงทะเบียนนั้น ทล.เตรียมแนะนำการลงทะเบียนการใช้บริการด้วยตนเองผ่านรูปแบบ VTR Motion Register และ Infographic โดยเน้นเนื้อหาการแนะนำระบบ M-Flow ขั้นตอนการลงทะเบียน ช่องทางการลงทะเบียน รูปแบบการชำระเงิน การบังคับใช้กฎหมาย ด่านนำร่อง เป็นต้น

ทล.ได้จัดแคมเปญสำหรับผู้ที่สมัครใช้ M-Flow ได้ฟรี 2 เที่ยว สำหรับจำนวน 100,000 สิทธิ์แรกแบ่งเป็น รถยนต์ 4 ล้อ 80,000 สิทธิ์ รถยนต์ 6 ล้อ 10,000 สิทธิ์ และรถยนต์มากกว่า 6 ล้อ 10,000 สิทธิ์ (1 USER ต่อ 1 สิทธิ์) ที่ลงทะเบียนในวันที่ 29 ต.ค. 2564-31 มี.ค. 2565 โดยสิทธิ์ดังกล่าวจะใช้เมื่อเปิดบริการ M-Flow เต็มรูปแบบ

ส่วนวิธีการและรูปแบบการชำระค่าธรรมเนียมของ M-Flow มีหลากหลายเพื่อความสะดวก ทั้งชำระเป็นรายครั้ง ผ่านบัตรเครดิต/บัตรเดบิต/ผ่านบัญชีธนาคาร/ตัดจาก M-PASS หรือ Easy Pass/ชำระผ่านบาร์โค้ดหรือคิวอาร์โค้ด/เคาน์เตอร์ธนาคาร/เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) โมบายล์แบงกิ้งทุกธนาคาร ฯลฯ หรือชำระเป็นรอบบิล ทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ผ่านบัตรเครดิต/บัตรเดบิต/บัญชีธนาคาร

ค้างจ่ายได้ 2 วัน เบี้ยวจ่ายเกิน 12 วันโดนปรับหนัก 5,530 บาท

ธนศักดิ์ วงศ์ธนากิจเจริญ ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทล. กล่าวว่า เมื่อมีการใช้บริการจะมีระยะเวลาการจ่ายค่าธรรมเนียมภายใน 2 วัน หลังจากใช้บริการกรณีจ่ายเป็นรายเที่ยว หรือ หลังได้รับบิลเรียกเก็บค่าผ่านทางกรณีจ่ายตามรอบบิล ทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน โดยหากไม่ชำระตามกำหนดจะมีค่าปรับ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สำหรับสมาชิก M-Flow ประเภทรถ 4 ล้อ ค่าผ่านทาง 30 บาท กรณีค้างชำระเลย 2 วันแต่ไม่เกิน 12 วัน มีค่าผ่านทาง 30 บาท บวกค่าเสียหาย 2 เท่า คือ 60 บาท รวมต้องชำระ 90 บาท

กรณีค้างชำระเกิน 12 วัน มีค่าผ่านทาง 30 บาท บวกค่าเสียหาย 2 เท่า คือ 60 บาท บวกค่าปรับ 10 เท่า คือ 300 บาท บวกค่าปรับอีก 200 บาท (ซึ่งเป็นค่าปรับตาม พ.ร.บ.กำหนดค่าธรรมเนียมฯ) รวมเงินต้องชำระ 590 บาท

หากไม่ได้เป็นสมาชิก M-Flow ประเภทรถ 4 ล้อ ค่าผ่านทาง 30 บาท กรณีค้างชำระเลย 2 วันแต่ไม่เกิน 12 วัน มีค่าผ่านทาง 30 บาท บวกค่าปรับ 10 เท่า คือ 300 บาท รวมต้องชำระ 90 บาท กรณีค้างชำระเกิน 12 วันจะมีค่าปรับสูงสุดถึง 5,530 บาท ประกอบด้วย ค่าผ่านทาง 30 บาท บวกค่าปรับ 10 เท่า คือ 300 บาท บวกค่าปรับอีก 200 บาท (ค่าปรับตาม พ.ร.บ.กำหนดค่าธรรมเนียมฯ) และบวกค่าปรับ ตาม พ.ร.บ.ทางหลวง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท ในกรณีฝ่าฝืนป้ายบังคับ เหตุเข้าใช้ช่องทาง M-Flow โดยไม่ได้เป็นสมาชิก ซึ่งอัตราค่าปรับส่วนนี้เป็นอำนาจตำรวจทางหลวง

]]>
1358974
เตรียมใช้ M-Flow โละไม้กั้นมอเตอร์เวย์-ทางด่วน รื้อระบบเก็บเงินค่าผ่านทาง ก.พ. 64 https://positioningmag.com/1309334 Mon, 07 Dec 2020 05:51:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309334 อีกไม่นานจะได้ใช้มอเตอร์เวย์และทางด่วนที่ไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow กันแล้ว เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์และทางด่วน ซึ่งผลพลอยได้ที่ตามมา จะช่วยลดปริมาณฝุ่นพิษ PM2.5 ไปด้วยนั้น

โดยล่าสุดกรมทางหลวงได้เริ่มงานติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบ M-Flow ไปแล้ว โดยจะนำร่องบนถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกจำนวน 4 ด่าน ได้แก่ ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 ช่วงต้นปี 2564

ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเป็นสมาชิกระบบ M-Flow ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ และผ่านเว็บไซต์ของ ทล.ได้ช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2563 เป็นการการันตีว่ามีของใหม่ให้ใช้แน่นอน

โดยในช่วงทดลองระบบนั้น จะเป็นการทดสอบระบบเสมือนจริงประมาณกลางเดือน ม.ค. 2564 ทั้งนี้ เพื่อเช็กความพร้อมทั้งในส่วนของผู้ลงทะเบียน และความพร้อมในการทำงานของระบบหลังบ้านทั้งหมดว่ามีการเชื่อมโยงข้อมูลกันถูกต้องหรือไม่

“คาดว่าจะเริ่มมีการทดสอบระบบประมาณ 1 เดือน ซึ่งในช่วงทดลองระบบนั้น ประชาชนที่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก M-Flow แล้ว เมื่อเข้าใช้มอเตอร์เวย์สาย 9 ระบบกล้องจะมีตรวจบันทึกป้ายทะเบียนรถแล้วจะแจ้งเตือนข้อมูลการใช้ เข้าไปในมือถือของสมาชิก แต่จะยังไม่มีการเก็บเงินค่าผ่านทางจากผู้ใช้ทาง โดยยังคงให้ชำระค่าผ่านทางตามวิธีเดิม คือ จ่ายเงินสด หรือ ผ่านบัตร M-Pass หรือ Easy Pass”

ช่องทางชำระเงินหลากหลาย

“ปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล” ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กล่าวว่า หลังทดสอบระบบประมาณ 1 เดือนแล้ว จะเข้าสู่ช่วงแรกในการใช้งานระบบ M-Flow คาดว่าจะประมาณปลายเดือน ก.พ. 2564

โดยจะเปิดให้ชำระค่าผ่านทางได้หลายช่องทาง ทั้งหักผ่านบัญชีธนาคาร สแกนคิวอาร์โค้ด บัตรเครดิต และเดบิต หักผ่านบัตร M-Pass หรือ Easy Pass จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือชำระตามรอบบิล ซึ่งสามารถตรวจสอบการใช้งานผ่านแอปฯ หรือเว็บไซต์ได้

ทางด่วน

ส่วนบริเวณด่านที่จะให้บริการระบบ M-Flow นั้น จะยกไม้กั้นออกและมีการแบ่งช่องทางให้ชัดเจน สำหรับรถใช้ระบบ M-Flow เพื่อให้สามารถวิ่งผ่านไปได้โดยไม่ต้องชะลอ

ส่วนรถที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก จะแบ่งช่องทางทางด้านซ้ายของด่านส่วนหนึ่ง ไว้ให้วิ่งผ่าน โดยยังให้ชำระค่าผ่านทางในรูปแบบเดิมได้ คือ เงินสด /บัตร M-Pass / Easy Pass

ทั้งนี้ ตามแผนงานจะส่งเสริมให้ประชาชนโหลดแอปฯ และลงทะเบียนเป็นสมาชิก เพื่อระบุตัวตนผูกกับระบบ M-Flow ให้มากที่สุด โดยจะใช้เวลาในการประเมินผลประมาณ 5-6 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรคในทุกด้าน ทั้งความเสถียรของระบบ การชำระเงิน

ซึ่งปลัดคมนาคมให้แนวคิดต่อกรมทางหลวงในการตั้ง KPI เพื่อประเมินผลการใช้งาน เพื่อประกอบการพิจารณาเดินหน้าขยายการใช้งานในระยะต่อไป เนื่องจากคาดว่าอาจจะมีโอกาสที่รถยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกเข้าไปใช้ระบบ M-Flow ดังนั้น จะต้องประเมินว่า ระบบการตรวจสอบและติดตาม จะสามารถรองรับได้แค่ไหน โดยเบื้องต้นออกแบบระบบให้ค้างชำระค่าผ่านทางได้ 2 วัน

ทุ่มงบ 340 ล้าน “ติดตั้งระบบ-ถอดไม้กั้น-จ้าง Outsource บริหารจัดการ”

กรมทางหลวง จะมีการลงทุน 4 ส่วน ได้แก่

1. ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบ M-Flow (M-Flow System Infrastructure) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 วงเงินประมาณ 180 ล้านบาท ซึ่งจะเป็น Back Office ระบบหลัก โดยผู้รับจ้างเริ่มงานมาตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. 2563 ซึ่งคาดว่าจะพร้อมสำหรับการเปิดให้ประชาชนโหลดแอปฯ และลงทะเบียนเป็นสมาชิกในปลายเดือน ธ.ค.นี้

2. ติดตั้งระบบกล้องตรวจจับป้ายทะเบียนอัตโนมัติ และจ้างบริหารจัดการระบบ วงเงิน 120 ล้านบาท ซึ่งประมูลจัดซื้อจัดจ้างแล้ว อยู่ระหว่างที่อัยการตรวจร่างสัญญา คาดว่าจะลนามสัญญากับผู้รับจ้างได้ภายในเดือน ธ.ค.นี้

ซึ่งจะเป็นการจ้าง Outsource สัญญาปีต่อปี ดำเนินการติดตั้งกล้องจับป้ายทะเบียน ติดระบบเซ็นเซอร์ ที่ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 พร้อมจ้างบริหารจัดการระบบ และมีหน้าที่ในการแจ้งบิลค่าผ่านทาง เรียกเก็บไปยังผู้ใช้ทาง ติดตามทวงหนี้ หรือเป็น Customer Service ของระบบ M-Flow นั่นเอง

3.ติดตั้งโครงสร้างสำหรับติดตั้งกล้อง ระบบเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ และติดป้ายข้อความ ที่ด่านเก็บเงินทับช้างและธัญบุรี วงเงิน 8.8 ล้านบาท

4. ปรับปรุงกายภาพช่องทางเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง เพื่อรองรับระบบ M-Flow วงเงิน 40 ล้านบาท เช่น แบ่งกั้นช่องจราจร รื้อไม้กั้นหน้าด่าน เป็นต้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง

ปัจจุบันปริมาณจราจรบนมอเตอร์เวย์สาย 9 ผ่านทั้ง 4 ด่าน มีเฉลี่ยประมาณ 250,000 – 3000,000 คันต่อวัน ซึ่งมีปัญหาการจราจรที่ด่านเก็บค่าผ่านทางอย่างมาก

ว่ากันว่า…การใช้เทคโนโลยี AI จัดเก็บค่าผ่านด้วยกล้องตรวจบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ หรือ Automated License Plate Recognition ในการคิดค่าผ่านทางโดยไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ เป็นหลักการทำงานของ Video Tolling ภายใต้ความเร็วที่ 80 กม./ชม. จะรองรับรถได้ถึง 1,200 คัน/ชม. เปรียบเทียบกับช่องทางอัตโนมัติ (M Pass) ปัจจุบันรองรับได้ 500-800 คัน/ชม. ซึ่งเป้าหมายของระบบ M-FLOW จะให้รถวิ่งผ่านได้ที่ความเร็ว 120 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วที่ประกาศใช้บนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ จะเพิ่มความเร็วรถผ่านหน้าด่านและรองรับรถได้ถึง 2,000-2,500 คัน/ช่องทาง หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่า

ทางด่วน กทพ. นำร่องสายรามอินทรา-อาจณรงค์ กลางปี 64

สำหรับระบบ M-Flow ของทางด่วนนั้น กทพ. จะนำร่องที่ทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จำนวน 2 ด่าน คือ ด่านสุขาภิบาล 5 และด่านลาดพร้าว ซึ่ง กทพ. จะลงทุนเพื่อดำเนินงานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-Lane Free Flow) หรือ M-Flow ในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน (Single Platform System) จำนวน 38 ล้านบาท

เพื่อดำเนินการในส่วนของโครงสร้างและระบบซอฟต์แวร์ โดยจะเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบของกรมทางหลวง ที่จะใช้ดำเนินการกับระบบเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ โดย กทพ. จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ และคาดว่าจะเริ่มติดตั้งในเดือน ก.พ. 2564 ใช้เวลา 4 เดือน ให้บริการได้ในเดือน มิ.ย. 2564

และขยายแผนการพัฒนาและขยายการบริการไปยังทางด่วนสายอื่นๆ รวมถึงทางด่วนในสัญญาสัมปทานกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เพื่อให้การบริการเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด

ซึ่งเบื้องต้น กทพ. มีแผนดำเนินงาน บนทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์ 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 นำร่องใช้ระบบ M-Flow ในช่วงเดือน ก.ค. 2564 ที่ด่านสุขาภิบาล 5 และด่านลาดพร้าว ระยะที่ 2 ช่วง เดือน ม.ค. 2565 ขยายไปยังด่านที่เหลือทั้งหมด ระยะที่ 3 ประมาณกลางปี 2565 ขยายไปที่ทางพิเศษกาญจนาภิเษก หรือทางพิเศษศรีรัช และระยะที่ 4 จะใช้ได้ครอบคลุมโครงข่ายทางด่วนทั้งหมด

สำหรับการขยายระบบ M-Flow ไปยังทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 หรือมอเตอร์เวย์สายกรุงเทพมหานคร-ชลบุรี-บ้านฉาง นั้น คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะเพื่อรอให้การใช้งานบนมอเตอร์เวย์สาย 9 มีความเสถียร และแก้ปัญหาอุปสรรคได้ระดับหนึ่ง อีกทั้งระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางของมอเตอร์เวย์สาย 7 ยังเป็นระบบปิด คือเก็บค่าผ่านทางตามจำนวนกิโลเมตรใช้จริง ซึ่งระบบจะมีความซับซ้อน ต่างจากมอเตอร์เวย์สาย 9 ที่เก็บค่าผ่านทางระบบเปิด

จ้าง Outsource บริหารระบบ “ส่องป้าย- แจ้งบิล-ทวงหนี้”

ทั้งนี้ การชำระเงินค่าผ่านทางที่มีทั้ง แบบหักบัญชี หักบัตรเครดิต หรือจะเป็นระบบ postpaid คือ แบบใช้ก่อน…จ่ายทีหลัง หรือการแจ้งเป็นรอบบิล เหมือนบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ ฯลฯ ซึ่ง ทล.จะจัดจ้างเอกชน ( Outsource) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบทั้งหมด

ซึ่งบริษัท Outsource จะต้องแบกรับความเสี่ยง กรณีที่ยังไม่สามารถติดตามรถ หรือติดตามเก็บค่าผ่านทางได้ เพราะอาจจะมีรถสวมทะเบียน รถที่ถูกโจรกรรมมา หรือกรณีป้ายทะเบียนรถลางเลือนทำให้กล้องอาจจะจับภาพได้ไม่ชัดเจน ระบบตรวจทะเบียนคลาดเคลื่อนตามไปด้วย…ปัญหามากมายที่มีโอกาสเกิดขึ้น

ขณะที่กรมทางหลวงและ กทพ.ในฐานะผู้กำกับ จะต้องได้รับค่าผ่านทางครบ 100% ดังนั้น นอกจากระบบ M-Flow จะต้องมีประสิทธิภาพแล้ว บริษัท Outsource ที่จะเข้ามาบริหารจัดการระบบหลังบ้าน จะต้องมีศักยภาพสูงมากเช่นกัน ด้วยค่าจ้าง 120 ล้านบาทต่อปี กับภาระหน้าที่บริหารจัดการระบบ ตรวจสอบรถ เรียกเก็บเงิน ออกบิล ไปจนถึง ติดตามทวงหนี้ ภายใต้เงื่อนไข คือ เงินค่าผ่านทางจะต้องส่งตรงเข้ากรมทางหลวงแบบ 100% ภายในเวลาที่กำหนด …ถือว่าต้องแบกรับความเสี่ยงที่สูงมาก

Source

]]>
1309334