Media Trends – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Nov 2024 07:55:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สำรวจเทรนด์ Social Media Marketing ปี 2025 สิ่งที่แบรนด์ต้องรู้มีอะไรบ้าง? https://positioningmag.com/1499277 Fri, 15 Nov 2024 06:53:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1499277 Social Media ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่แบรนด์ต่าง ๆ ให้ความสำคัญ บทความนี้จึงอยากจะมาอัปเดตเทรนด์ Social Media Marketing ปี 2025 เพื่อให้นักการตลาดและแบรนด์เตรียมความพร้อมในการวางกลยุทธ์พิชิตใจลูกค้าและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจแบบไม่ตกขบวน ก่อนจะก้าวเข้าสู่ปี 2025 ซึ่งเป็นอีกปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายมากมาย   

อยากที่ทราบกันว่า โลกของ Social Media เองก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากใครสามารถจับกระแส หรือ  เทรนด์ได้ก่อนอย่างแม่นยำ นั่นหมายถึงโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น แล้วในปี 2025 ทิศทางและแนวโน้มของ Social Media Marketing จะเป็นอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง

AI อาวุธที่ต้อง (นำมา) ใช้

ช่วงปีที่ผ่านมาคำว่า AI อาจเป็นคำฮิตที่เราได้ยินกันบ่อย แต่ในปี 2025 AI จะถูกนำมาใช้มากขึ้นในแวดวงต่าง ๆ รวมถึงการทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย โดย AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างคอนเทนต์และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของโซเชียลมีเดียให้ดีขึ้น ด้วยการเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล, สร้างเนื้อหา และแม้แต่ตั้งโพสต์อัตโนมัติให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้นักการตลาดมีเวลาสำหรับการคิดสร้างสรรค์และวางกลยุทธ์มากขึ้นแทนที่จะต้องเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการจัดการกับงานซ้ำๆ

ความสำคัญของ AI กับ Social Media Marketing ยังสะท้อนได้จากการประกาศทุ่มการลงทุนด้าน AI ของ Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook, Instagram และ WhatsApp เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มให้ดีเหนือคู่แข่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่แบรนต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงและนำมาผสมผสานให้เข้ากับกลยุทธ์โซเชียล มีเดียของตัวเอง

Short Video ยังไม่ไปไหน

ในปี 2025 Short  Video หรือวิดีโอสั้นยังคงเป็นเนื้อหาที่ได้รับความนิยมและครองส่วนแบ่งการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Instagram, Reels และ YouTube แต่ประเด็นที่น่าสนใจมากไปกว่านั้น คือ ผู้คนจะไม่ได้แค่เลื่อนดูเนื้อหาเฉยๆ แต่กำลังพยายามเชื่อมต่อกับแบรนด์ หากแบรนด์นั้นสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้น่าสนใจในเวลาที่รวดเร็ว

สำหรับวีดีโอสั้นที่สามารถดึงดูดสายตาและเข้าถึงผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว ต้องบอกเล่าเรื่องราวหรือส่งสารที่เป็น Call Value ภายในไม่เกิน 30 วินาที นั่นเพราะว่าปัจจุบันช่วงความสนใจโดยเฉลี่ยของผู้ใช้โซเชียลมีเดียกำลังลดลง โดยแบรนด์ต้องนำเสนอเนื้อหาที่เน้นย้ำถึงคาแรกเตอร์และคุณค่าของแบรนด์ได้ตรงประเด็น มีความสมจริง

นอกจากนี้ ในปี 2025 แบรนด์ที่ได้รับชัยชนะจะไม่ใช่แค่แบรนด์ที่ทุ่มงบ เพื่อให้มีเสียงดังที่สุดในการสื่อสารเท่านั้น เนื่องจากการทำการตลาดผ่านวิดีโอสั้นให้ประสบความสำเร็จ กุญแจสำคัญยังขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการโพสต์ด้วย เพราะการโพสต์เป็นประจำจะเป็นการสร้างการรับรู้และช่วยให้แบรนด์อยู่ในใจของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

AR ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นกระแสหลัก

เทรนด์ที่เราจะเห็นต่อมาของ Social Media Marketing ในปีหน้า ก็คือ Augmented Reality หรือ AR จะไม่ใช่แนวคิดที่ล้ำยุคอีกต่อไป แต่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโซเชียลมีเดีย ที่จะเปลี่ยนวิธีการโต้ตอบระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์และสร้างประสบการณ์ลองสินค้าแบบสมจริง เพื่อช่วยลดความลังเลใจจากการช้อปปิ้งออนไลน์ได้เป็นอย่างดี

สำหรับแบรนด์ที่ต้องการนำ AR มาใช้ประโยชน์ในการทำมาร์เก็ตติ้ง สามารถเริ่มต้นง่าย ๆ เช่น หากเป็นผู้นำแบรนด์ความงาม อาจลองพิจารณาใช้ฟิลเตอร์ที่ให้ผู้ใช้สามารถลองเครื่องสำอางได้เสมือนจริง หรือหากอยู่ในธุรกิจค้าปลีกหรืออีคอมเมิร์ซ อาจใช้ AR มาผสมผสานรวมกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรายใหญ่ อาทิ Instagram และ Snapchat ที่มีการนำเสนอเครื่องมือนี้อยู่แล้วก็ได้ แต่ขอให้เริ่มและลงมือนำมาใช้เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้าและสร้างโอกาสในการเติบโตของแบรนด์

ความถูกต้องตามจริงเป็นสิ่งสำคัญ

ผู้คนเบื่อหน่ายกับโฆษณาที่ดูดีเกินจริง เพราะฉะนั้น ในปี 2025 การนำเสนอคอนเทนต์ที่ถูกต้องตามจริงจึงสำคัญมาก ๆ และเนื้อหาที่สร้างโดย UGC (User Generated Content) หรือ คอนเทนต์ที่ผู้บริโภคหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายผลิตขึ้นมาเอง ด้วยการพูดถึงแบรนด์ที่ประทับใจหรือให้ความสนใจโดยแบรนด์ไม่ต้องเสียเงินจ้างแม้แต่บาทเดียว จะยังคงเป็นหนึ่งในวิธีที่สร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ได้อย่างทรงพลังที่สุด

ดังนั้นแบรนด์ จึงควรสร้างแคมเปญเชิญชวนให้ผู้บริโภคเข้ามาแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการให้ติดแฮชแท็กบน TikTok หรือไฮไลต์การรีวิวบน Instagram ด้วยการกระตุ้นให้ลูกค้าแบ่งปันประสบการณ์ของตนเองเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับจากแบรนด์ ซึ่งไม่เพียงจะเป็นการสร้างคอมมูนิตี้เท่านั้น แต่ยังเพิ่มการพิสูจน์ทางสังคมที่โฆษณาใดๆ ไม่สามารถเลียนแบบได้

Micro Influencer มาแรง

ในอดีตการใช้ Influencer ในการทำมาร์เก็ตติ้ง แบรนด์ส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญที่จะร่วมมือกับ Influencer ที่มีผู้ติดตามหลายล้านคน แต่สำหรับปี 2025 การทำมาร์เก็ตติ้งผ่านรูปแบบนี้ แบรนด์จะหันมาโฟกัสกับ Micro Influencer หรือ Influencer ที่มีผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียประมาณ 10,000 – 100,000 คน

ทำไมแบรนด์ถึงให้ความสำคัญกับ Micro Influencer ? นั่นเพราะว่า เป็นกลุ่มที่มียอด Engagement ค่อนข้างสูง และผู้บริโภคมีแนวโน้มเชื่อในรีวิวของ Influencer กลุ่มนี้จากความน่าเชื่อถือ ดูเรียล และดูจริงใจ ซึ่งจะส่งดีต่อแบรนด์

อย่างไรก็ตาม นอกจากเทรนด์ข้างต้นแล้ว สิ่งที่นักการตลาดและแบรนด์ต้องตระหนักถึงให้มากในปี 2025 กับการทำ Social Media Marketing ก็คือ การวางแผนให้เตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ จากโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น ความผิดพลาดในการประชาสัมพันธ์ การละเมิดข้อมูล หรือโพสต์ที่สร้างความขัดแย้ง

เพราะด้วยการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วของโซเชียลมีเดีย สามารถสร้างและทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ฉะนั้น เมื่อเกิดความผิดพลาด หรือเหตุการณ์ไม่คาดคิด จึงจำเป็นต้องมีแผนบริหารจัดการวิกฤตของโซเชียลมีเดียให้ชัดเจน ซึ่งเป็นอีกสิ่งสำคัญของ Social Media Marketing

ที่มา : Forbes, Medium

]]>
1499277
อัปเดต 10 เทรนด์ ‘Media’ น่าจับตาประจำปี 2023 ที่แบรนด์และนักการตลาดต้องรู้! https://positioningmag.com/1417478 Wed, 01 Feb 2023 04:16:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417478 ผ่านไปแล้วสำหรับเดือนแรกของปี 2023 ปีที่หลายกูรูเชื่อว่าจะเป็นปีที่ผู้บริโภคดีดกลับหลังจากที่ต้องเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 มา 3 ปี ดังนั้น หลายแบรนด์ก็คงเตรียมวางแผนการตลาดเพื่อรับกับการเติบโตรวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดย นีลเส็น ก็ได้ออกมาสรุปถึงเทรนด์ Media ในปี 2023 เพื่อเป็นแนวทางให้เหล่านักการตลาดและแบรนด์ได้ใช้พัฒนากลยุทธ์การตลาดให้โดนใจผู้บริโภคยุคนี้ให้ได้มากที่สุด

1. การดูสตรีมมิ่งจะเหมือนการดูทีวีปกติมากขึ้น

ตั้งแต่การมาของอินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป โดยจากการสำรวจพฤติกรรมของนีลเส็นพบว่า 57% ของผู้บริโภคไทย ดูสตรีมมิ่ง

  • 2% ดูแบบมีโฆษณา หรือ AVOD (Advertising Based Video on Demand)
  • 8% ดูแบบจ่ายค่าบริการรายเดือน หรือ SVOD (Subscription Video on Demand)

อีกเทรนด์ คือ FAST (Free Ad Supported TV) เป็นโมเดลการรับชมสตรีมมิ่งแบบมีโฆษณาโดยไม่จำเป็นต้องสมัครสมาชิก เป็นรูปแบบเดียวกันกับการดูทีวีแบบดั้งเดิมที่จะดูสตรีมมิ่งรายการฟรีทีวีผ่านออนไลน์ ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวเติบโตขึ้นถึง 36% ทั้งนี้ แพลตฟอร์มที่มีผู้ชมสูงสุด คือ 1. YouTube 2. Facebook 3. Netflix 4. TrueID 5. Viu

“สตรีมมิ่งกลายเป็นการดูทีวีปกติไปแล้ว ดังนั้น นี่เป็นโอกาสของแบรนด์และนักการตลาดที่จะเข้าถึงผู้บริโภคผ่านวิดีโอออนดีมานด์ สตรีมมิ่ง และรายการสด เพราะจะเห็นว่าแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งใหญ่ ๆ อย่าง Netflix, Disney+ ก็เริ่มทำแพ็คเกจโฆษณาออกมาแล้ว”

2. More Connected, more content, and more control

นับตั้งแต่ปี 2019-2022 คนไทยใช้ สมาร์ทโฟน (+19%), แท็บเล็ต (+586%) และ สมาร์ททีวี (+73%) สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีอุปกรณ์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังใช้เวลากับอุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้นด้วย โดยใช้เวลากับ สมาร์ทโฟน 3.40 ชั่วโมง/วัน, คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อป 4 ชั่วโมง/วัน และ ทีวีออฟไลน์และทีวีออนไลน์ 5 ชั่วโมง/วัน

อนาคตอุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นมากกว่าอุปกรณ์อัจฉริยะแต่จะเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้แบรนด์ทำการตลาดได้ง่ายขึ้น แบรนด์จำเป็นต้องเตรียมรับมือโดยเฉพาะในแง่อีคอมเมิร์ช ที่จะเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างยอดขาย เทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ทีวีที่สามารถคลิกและช้อปปิ้งได้ผ่านหน้าจอ หรือรถยนต์ไฟฟ้าที่จะมีระบบในการจ่ายเงินผ่านรถเมื่อซื้อของผ่าน drive thru หรือการช้อปปิ้งด้วยคำสั่งเสียงผ่านสมาร์ทโฮม

3. The Age of Authenticity

เมื่อก่อน 3 อันดับแรก ที่คนไทยเชื่อข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า จะเป็น 1. เว็บไซต์ของแบรนด์ 2. แบรนด์สปอนเซอร์ชิป 3.โฆษณาทีวี แต่ปัจจุบันเป็น ยุคของความเรียล แบรนด์ต้องโชว์ความจริงใจต่อผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคไทยยุคใหม่ชอบความเรียล โดยวิธีสร้างความเรียลของแบรนด์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ User-Generated Content หรือ เนื้อหาคอนเทนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเหล่าผู้บริโภคตัวจริงและมีความเกี่ยวข้องกับสินค้า บริการหรือแบรนด์โดยตรง เช่นการรีวิวต่าง ๆ โดยผลสำรวจจาก Nielsen Trust in Advertising พบว่า 84% ของคนไทยเชื่อการบอกต่อจากคนรู้จัก (Word of Mouth) และ 75% เชื่อในรีวิวจากโลกออนไลน์

4. Influencers help build better connections

สืบเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่ 75% เชื่อรีวิวจากสื่อออนไลน์ ดังนั้น อินฟลูเอนเซอร์ จึงเป็นโอกาสของแบรนด์ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ปัจจุบัน ตลาดอินฟลูเอนเซอร์ไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค มีจำนวนอินฟลูเอนเซอร์ราว 2 ล้านราย เป็นรองจากอินโดนีเซียที่มีประมาณ 5 ล้านราย โดย อุตสาหกรรมความงาม เป็นอุตสาหกรรมที่ ใช้อินฟลูเอนเซอร์มากที่สุด

สำหรับ 5 แพลตฟอร์มยอดนิยมในการติดตามอินฟลูฯ ได้แก่ Facebook, YouTube, TikTok, Instagram และ Twitter อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจะติดตามอินฟลูฯ ที่มีความเรียล ความน่าเชื่อถือ แต่ ม่ชอบอินฟลูฯ ที่ฮาร์ดเซลเกินไป

5. Shoppertainment: Content-Driven Commerce

เพราะพฤติกรรมคนไทยชอบความสนุกสนาน ดังนั้น การช้อปปิ้ง ก็ต้อง สนุกสนาน ดังนั้น จะเห็นว่าที่ผ่านมาการขายของผ่านทีวี (ทีวีคอมเมิร์ซ) คนไทยจะชอบดู TV Shopping ทำให้ปัจจุบันกลุ่ม TV Shopping เป็นกลุ่มที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในปี 2022 หรืออย่าง โซเชียลคอมเมิร์ซคนก็จะชอบดูไลฟ์สดขายของ โดยจากผลสำรวจพบว่า 20% ของนักช้อปเคยซื้อของผ่านไลฟ์สด นอกจากนี้ ยังมี Short video content เป็นตัวขับเคลื่อน ส่งผลให้เทรนด์ Shoppertainment กำลังเติบโตมากขึ้นในไทย

6. Digital Audio is Evolving

การฟังเปลี่ยนไปในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคยังคงฟัง จากแค่ฟังผ่านวิทยุกลายเป็น ฟังผ่านออนไลน์ มากขึ้น ไม่ว่าจะผ่านแอปพลิเคชันหรือสตรีมมิ่ง โดยคนไทย 55% ฟังมิวสิกสตรีมมิ่ง และเติบโตขึ้น 35% ดังนั้น จะเห็นว่าอุตสาหกรรมการฟังมีการปรับตัว อย่างสถานีได้เพิ่มช่องทางการฟังให้หลากหลายขึ้น ทั้งจาก คลื่นวิทยุ แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ นี่จึงเป็นโอกาสให้แบรนด์ทำโฆษณาผ่านการฟัง

“วิทยุยังไม่ตายแต่มีการพัฒนาให้เข้าถึงคนได้ง่ายขึ้น 46% ของคนไทยยังฟังวิทยุอยู่ และการโฆษณาผ่านวิทยุยังสามารถเข้าถึงคนในชุมชนได้ดี เพราะคนกลุ่มนี้ยังนิยมใช้เพื่อฟังเพลง ฟังข่าวท้องถิ่น เป็นต้น ดังนั้น วิทยุท้องถิ่นยังเข้าถึงคนท้องถิ่นได้อย่างดี”

7. โฆษณายังขับเคลื่อนเม็ดเงินช้อปปิ้ง

ปีก่อนเม็ดเงินโฆษณาโตขึ้น 9% อยู่ที่ 118.6 ล้านบาท สื่อที่เติบโตมากก็คือ สื่อ Out Door รวมไปถึง รงภาพยนตร์ เนื่องจากคนออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้เงินมากที่สุด คือ ขายตรง/ทีวีโฮมช้อปปิ้ง รองลงมาคือยาสีฟัน และกลุ่ม E-marketplace ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตสูงสุด (+103% จากปี 2021)

ที่น่าสนใจคือ จากผลสำรวจพบว่าผู้บริโภค 69% ซื้อสินค้าหลังจากเห็นโฆษณา โดยแบ่งออกเป็น สื่อดิจิทัล 40% ทีวี 37% และอินฟลูเอนเซอร์ 17% สะท้อนให้เห็นว่าโฆษณายังสำคัญไม่ว่าจะสร้างแบรนด์หรือสร้างยอดขาย

8. Sports Fandom: Big opportunity for brands

จาก 2 ปีที่งดรายการกีฬา มาปี 2022 ทำให้ รายการกีฬาบูมมาก เรตติ้งรายการกีฬาพุ่งแรง รายการกีฬาไหนที่มีทีมไทยเข้าร่วมแข่งขันด้วยจะได้รับเรตติ้งดีเป็นพิเศษ จากรายงานเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์ม การถ่ายทอดสด การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ 2022 (ไทย+โดมินิกัน) ทำเรตติ้งได้สูงสุดของปี 2022 ทั้งช่องทางทีวีและดิจิทัล (Cross-Platform Ratings) ได้รับเรตติ้ง 10.088

ส่งผลให้ สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งเติบโตมาก นับเป็นโอกาสทองของการใช้สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง โดยผลสำรวจพบว่าผู้บริโภค 85% เชื่อในสปอนเซอร์ชิป 61% ตั้งใจจะซื้อสินค้าจากแบรด์ที่เป็นสปอนเซอร์ต่าง ๆ มากกว่าของคู่แข่งหากเทียบราคาและคุณภาพ และ 42% รู้สึกเข้าถึงเชื่อมโยงกับนักกีฬา ปัจจุบัน ฟุตบอลและวอลเลย์บอล เป็นกีฬาขวัญใจคนไทย โดยฟุตบอลมีฐานแฟนมากกว่า 31.9 ล้านคน ส่วนวอลเลย์บอลมีฐานแฟน 28.84 ล้านคน

9. Manage media fragmentation

จากการสำรวจพบว่า 37% ของเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลที่แบรนด์ลงทุนไปนั้นเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะโฆษณาไปไม่ถึงกลุ่มลูกค้าที่เราอยากทาร์เก็ต (Off-Target) เนื่องจากมีเดียในปัจจุบันหลากหลายและกระจายตัว ดังนั้น โจทย์คือแบรนด์หรือนักการตลาดจะวางแผนใช้ยังไงให้ตรงตามเป้าหมาย ทำให้ในปี 2023 นั้น Data ยังเป็นสิ่งที่สำคัญในการหา Right audience หรือกลุ่มทาร์เก็ตลูกค้า และแบรนด์จำเป็นต้องมีการวัดผล เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และสามารถประเมินกับสิ่งที่ลงทุนไป

10. Privacy Controls Become “Need to Have”

ความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญ คนไทยหวงความเป็นส่วนตัวมากขึ้น โดยมีเพียง 19% ของคนไทยที่อนุญาตให้ทุกเว็บไซต์หรือแอปติดตามพฤติกรรมของพวกเขาบนโลกออนไลน์ โดย 57% อนุญาตให้บางเว็บหรือแอปเท่านั้นที่ติดตามได้ โดยกลุ่มที่ หวงความเป็นส่วนตัวสูงสุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่ม Gen Z สิ่งที่จะตามมาคือการยิงโฆษณาที่ยากขึ้น เพราะขาดความแม่นยำหรือยิงไม่โดนกลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ต้องลงเงินมากขึ้น และผลลัพธ์ที่ตามมาอาจจะไม่ได้ตรงตามที่ต้องการ

ความเป็นส่วนตัวกลายเป็นสิ่งที่หลายคนกังวล ส่วนใหญ่กังวลว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้อย่างไร นักการตลาดจึงจำเป็นต้องหาทางระบุวิธีที่ข้อมูลของผู้บริโภคจะถูกนำไปใช้ ตลอดจนมาตรการที่แบรนด์ใช้เพื่อปกป้องข้อมูลนั้น

]]>
1417478