Mobile Ad – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Apr 2021 07:15:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไขข้อข้องใจ ‘Mobile Ad’ ยังเวิร์กไหม ในยุคที่คนใช้แต่แอปฯ เดิม ๆ https://positioningmag.com/1327383 Fri, 09 Apr 2021 06:29:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327383 แน่นอนว่าในยุคที่ทุกคนใช้สมาร์ทโฟน ก็คงจะได้พบเจอกับโฆษณาอยู่ในทุก ๆ วันที่เปิดหน้าจอ ไม่ว่าจะมาจากแอปโซเชียลมีเดีย หรือแอปฯ ที่ดาวน์โหลดมาใช้ฟรี ๆ แต่ในยุคที่คนเราใช้งานอยู่แค่ไม่กี่แอปฯ ต่อวัน โฆษณาเหล่านี้จะได้ผลจริงหรือ? นี่คงเป็นคำถามที่หลายคนคงสงสัย ซึ่งทาง คุณนพพล ธรรมรักขิต ผู้อำนวยการของบริษัท คอลลี่ (Cauly) ในเครือวายดีเอ็ม (ประเทศไทย) ดิจิทัลเอเจนซีด้าน Mobile App User Acquisition จะมาอธิบายให้ฟัง

3 ช่องทางหลักโฆษณาบน Mobile Apps

คุณนพพลอธิบายว่า จริง ๆ แล้วโฆษณาบนโมบายแอปฯ จะมีอยู่ 3 ช่องทางหลัก ได้แก่

1.Social Media เช่น Facebook ที่เวลาเราไถฟีดมักจะเจอกับโฆษณาเกม

2.App Store Search

3.Mobile Ad Networks หรือแบนเนอร์โฆษณาที่ไปฝังอยู่ในแอปฯ ต่าง ๆ อย่างแอปฯ ที่ใช้ฟรีก็จะมีโฆษณามาคั่น

คุณนพพลอธิบายต่อว่า การใช้ Mobile Ad Networks เป็นเหมือนการปืนใหญ่ที่ยิงหาผู้บริโภคได้ในจำนวนมาก แน่นอนว่าปัจจุบันผู้บริโภคอาจจะใช้งานอยู่ไม่กี่แอปฯ ในชีวิตประจำวัน แต่จริง ๆ แล้ว Mobile Ad Networks แทรกซึมไปตั้งแต่ตอนดาวน์โหลดแอปฯ แล้ว ดังนั้น จำนวนแอปฯ ที่ใช้ในแต่ละวันไม่ใช่ประเด็น แต่เป็นความถี่ในการใช้โมบายที่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็นโฆษณา แต่สุดท้าย เป้าหมายไม่ใช่จำนวนคนเห็นแอด แต่เป็นจำนวนดาวน์โหลด ซึ่งข้อดีของการโฆษณาบน Mobile Apps คือผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้ทันที

“ที่ผ่านมาลูกค้า 99% ต้องการให้การันตี และ 99% ก็ล้มเหลว เพราะเราไม่สามารถการันตีได้ว่าจะมีคนเห็นกี่คน แต่เราสามารถประเมินผลจากคุณภาพของตัวแอปฯ ได้ โดยเจ้าของแอปฯ ต้องรู้ว่าผู้ใช้ 1 คนสร้างเงินให้แอปฯ กี่บาท เพื่อจะนำเงินมาเป็นตัวเซตต้นทุนมาร์เก็ตติ้ง แล้วมาดูว่าใช้ช่องทางไหนดีที่สุด”

นพพล ธรรมรักขิต ผู้อำนวยการของบริษัท คอลลี่ (Cauly) ในเครือวายดีเอ็ม (ประเทศไทย) ดิจิทัลเอเจนซีด้าน Mobile App User Acquisition

Mobile Ad เหมาะกับใคร

โมบายแอปฯ ที่ใช้งาน Mobile Ad ส่วนใหญ่ก็คือ ‘แอปฯ ที่ต้องการยูสเซอร์’ ซึ่งกลุ่มที่ซีเรียสที่สุดในการโกยคนก็คือ ‘เกม’ เพราะเขาพัฒนาเกมมาเพื่อจะทำเงิน ดังนั้น เกมจะเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่ใช้งาน Mobile Ad อีกส่วนก็คือ ‘อีคอมเมิร์ซ’ นอกนั้นอาจจะไม่ได้รู้สึกว่าการเพิ่มยูสเซอร์เป็นสิ่งที่ต้องทุ่มเงินขนาดนั้น แค่ใช้สื่ออื่น ๆ ที่มีในมือก็พอแล้ว ดังนั้น ลูกค้าของคอลลี่ราว 90% เป็นบริษัทเกม

“อย่างค่ายเกมจีนจะทุ่มตลาดมาก เน้นขายเร็ว พอทำกำไรได้จุดหนึ่งก็พอ ขนเกมใหม่มาทำตลาด ขณะที่ค่ายเกมฝั่งยุโรปจะใช้เงินน้อยกว่า เน้นการ Track ประสิทธิภาพของเม็ดเงินที่ลงไป แต่ที่เหมือนกันทุกที่ก็คือ เขาจะไม่หวังทำเงินจากเกม ๆ เดียวตลอดไป”

แม้การระบาดของ COVID-19 จะทำให้ตลาดเกมเติบโตมาก เพราะคนว่าง แต่เชื่อว่าจะได้เห็นผลกระทบครึ่งหลังปีนี้ เพราะเป็นเรื่องเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคไม่มีเงิน ‘เติมเกม’ ดังนั้น เกมก็ได้รับผลกระทบแต่อาจจะช้ากว่าที่อื่น

การ ‘โกง’ ปัญหาใหญ่ Mobile Ad

อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้เกิดการ ‘โกง’ (Fraud) โดยใช้ ‘Bot’ ดาวน์โหลดแอปฯ ทำให้เจ้าของแอปฯ ต้องเสียเงินค่าแอดฟรี ๆ ดังนั้น คอลลี่จึงพัฒนาระบบ Anti-Fraud พร้อมทั้งคัดคุณภาพของผู้ใช้งาน (ไม่ใช่แค่โหลดแต่เล่นจริง) นอกจากนี้ คอลลี่ยังมี Mobile App Network กว่า 12,000 แอปฯ ทั่วโลก ทำให้คู่แข่งในตลาดของคอลลี่มีไม่มาก และอีกจุดแข็งคอลลี่คือ อยู่ในเครือวายดีเอ็ม (ประเทศไทย) ทำให้สามารถมีบริการที่ครบวงจร อาทิ การจัดหาอินฟลูเอนเซอร์ในการทำแคมเปญ

“ความท้าทายของเรา คือ เทคโนโลยีที่ต้องพัฒนาให้ทันกับความคาดหวังของลูกค้า และชาเลนจ์หลัก ๆ เรื่องการเติบโต เพราะการเติบโตของตลาดเกมอาจจะชะงักจากที่ปี 2020 เติบโต 50%”

ปัจจุบัน คอลลี่มีการทำ Campaign ให้กับลูกค้าในไทยไปแล้วกว่า 500 campaign ภายในระยะเวลา 3 ปี โดย 70% เป็นลูกค้าไทย 30% เป็นลูกค้าต่างชาติ

]]>
1327383