Muketing – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Sep 2024 04:56:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะการตลาด ‘สายมู’ อะไรควร ‘Do’ อะไรต้อง ‘Don’t’ จากมุมมองของ 3 แบรนด์ที่ปังกับมูเก็ตติ้ง! https://positioningmag.com/1488252 Mon, 02 Sep 2024 03:09:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488252 ปฏิเสธไม่ได้ว่าการ มูเตลู เป็นอะไรที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน และไม่ใช่แค่มูกับศาสนาพุทธเท่านั้น แต่คนไทยเปิดรับทุกเทพ ทุกศาสตร์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลสำรวจผลว่า คนไทยเกือบ 90% เชื่อเรื่องมู แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ 75% ยอมจ่ายเพื่อมู! ดังนั้น แบรนด์ต่าง ๆ ก็เห็นโอกาสจากจุดนี้ในการทำการตลาด โดยเฉพาะ AIS, KBank และคารวะ โกลบอล ซึ่งทั้ง 3 แบรนด์จะมาบอกเล่าว่าการตลาดสายมู อะไร Do อะไร Don’t

ย้อนดูอินไซต์สายมูชาวไทย

อินไซต์การมูของคนไทยที่ศึกษาโดย สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) พบว่า กว่า 88% เชื่อเรื่องการมู โดยสิ่งที่ขอเป็นอันดับ 1 ก็คือ เรื่องเงิน (44%) ตามด้วย เรื่องโชคลาภ (17%) (ซึ่งก็ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินอยู่ดี) ตามด้วยการมูเรื่อง สุขภาพ (12%) ส่วนการมูเรื่อง การงาน มีเพียง 8% เท่านั้น

แม้เชื่อเรื่องมูเหมือนกัน แต่แต่ละเจนก็มีวิธีมูต่างกัน โดย Gen X เน้นเรื่องการสวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญทำทาน มักขอเรื่องสุขภาพมากกว่าเจนอื่น ๆ ส่วน Gen Y จะ เปิดกว้างให้กับความศรัทธาแบบไร้ขีดจำกัด ได้ทุกศาสนา และความเชื่อ ขอแค่มอบผลลัพธ์ในสิ่งที่ตัวเองต้องการโดยเฉพาะเรื่อง การเงินและการงาน สุดท้าย Gen Z ชอบให้ blend in แบบเนียน ๆ ดังนั้น จะมูในแบบเรื่องของ แฟชั่นและสีสันในชีวิตประจำวัน เช่น ใส่เสื้อผ้าสีมงคล เครื่องประดับมงคลชิ้นเล็ก ๆ หรือตั้งวอลเปเปอร์บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

จะทำมูเก็ตติ้งต้องจริงจัง เชื่อถือได้

สำหรับ เอไอเอส แทบจะเรียกได้ว่าเป็นแบรนด์แรก ๆ ของไทยที่ บุกเบิกการทำมูเก็ตติ้ง เพราะเรื่องของ เบอร์มงคล นั้นออกมานาน 10 ปีเต็ม โดย คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพดเอไอเอส เล่าให้ฟังว่า หนึ่งในข้อพิสูจน์ว่ามูเก็ตติ้งได้ผลก็คือ ยอดขายเบอร์มงคลตลอด 10 ปีไม่เคยตกลงเลย ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร โดยปัจจุบันมียอดขายเฉลี่ยที่เดือนละ 3 หมื่นเบอร์ รวมแล้วเอไอเอสมีรายได้กว่าปีละ 1,000 ล้านบาทจากเบอร์มงคล

โดย คณาธิป มองว่า ถ้าจะทำมูเก็ตติ้งอย่างแรกคือ ต้องเข้าใจตลาดก่อน ดังนั้น ต้องหาอินไซต์ของผู้บริโภคว่าต้องการอะไร ชอบเรื่องอะไร และต้องระลึกไว้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อเรื่องมู ดังนั้น ต้องทำการตลาดให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย และที่สำคัญ ต้องเชื่อถือได้ ดังนั้น เอไอเอสจะต้องมี อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ในศาสตร์ด้านตัวเลขจริง ๆ มาแนะนำ นอกจากนี้ จะต้องทำจริงจังเพราะการทำมูเก็ตติ้งจำเป็นต้องใช้เวลา

คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพดเอไอเอส

เช่นเดียวกับ นันท์ธร พรกุลวัฒน์ Co-Founder และ COO บริษัท คารวะ โกลบอล จำกัด ที่ย้ำเรื่อง ความถูกต้องเชื่อถือได้ ดังนั้น สินค้าของคารวะจะผ่านการ ปลุกเสก อย่างถูกต้อง รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวขององค์เทพให้ถูกต้อง ไม่บิดเบือน แต่ก็ต้อง ยอมรับความเห็นต่าง

“จุดเริ่มต้นของเราเกิดจากเราพบว่า 8 ใน 10 ของคนเหงาขึ้น และต้องเจอกับการตัดสินใจที่ยากขึ้น ทำคนเลยหาของยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งเราอยากทำเพราะมีเครื่องประดับองค์เทพที่ใส่เป็นแฟชั่นได้ มีความโมเดิร์นใส่กับชุดประจำวันได้ เลยเกิดเป็นแบรนด์คาราวะ เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ได้มองเรื่องมูเป็นเรื่องจริงจังขนาดนั้น แต่มีความใกล้ชิดมากขึ้น กล้าล้อเล่น แต่ก็เคารพ”

นันท์ธร พรกุลวัฒน์ Co-Founder และ COO บริษัท คารวะ โกลบอล จำกัด

เข้ากับไลฟ์สไตล์และเชื่อมโยงกับสินค้าแบรนด์

เนื่องจากการมูไม่ใช่เรื่องของคน Gen X อีกต่อไป แต่ Gen Z, Gen Y ก็สนใจเรื่องมู ดังนั้น วราพร วิริยะไชยกุล Co-Department Head – Payment and Foreign Exchange Products Management Department “KBank” มองว่า ต้องปรับให้ทันกับยุคสมัยและ ต้องเข้ากับไลฟ์สไตล์ และเชื่อมโยงกับสินค้าของแบรนด์ โดย Kbank ก็เห็นโอกาสจากการทำการตลาดสายมูโดยคอลแลปกับคารวะในการทำ บัตรเดบิตลายรวมองค์เทพ แม็กซ์พลัส กสิกรไทย ซึ่งมีจำนวนลูกค้าถึง 4-5 หมื่นใบ และลูกค้าบางคน สมัครทุกลาย เพื่อสะสม

นอกจากนี้ Kbank ยังให้วอลเปเปอร์และใบสลิปโอนเงินเป็นลายองค์เทพ เช่นเดียวกันกับเอไอเอส ที่ให้ วอลเปเปอร์ ลายเทพเมื่อซื้อเบอร์มงคล เพราะแบรนด์ควร ตามไปอยู่ในชีวิตประจำวัน อะไรที่อยู่ใกล้ตัว หรืออยู่ติดตัว

“ที่เราต้องลงมาทำเพราะมูเก็ตติ้งเป็นเทรนด์แรง แต่เราก็ต้องดูว่ามันเชื่อมโยงกับสินค้าเราหรือเปล่า ไม่ใช่กระโจนไปทุกเทรนด์  ดังนั้น คัสตอมเมอร์อินไซต์มีความสำคัญมาก เพราะต้องปรับตัวให้ทันผู้บริโภค”

วราพร วิริยะไชยกุล Co-Department Head – Payment and Foreign Exchange Products Management Department “KBank”

เสริมความมั่นใจ ไม่ใช่เสริมให้งมงาย

วราพร ย้ำว่า มูเก็ตติ้งเป็นการเล่นกับความเชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น แบรนด์ต้อง ไม่บิดเบือนความเชื่อ และข้อควรระวังคือ การสื่อสาร และต้องทำให้พอเหมาะพอดี โดยต้องสื่อสารให้ลูกค้าไม่เข้าใจผิด ไม่เช่นนั้นอาจ กระทบกับแบรนด์ เช่นเดียวกันกับ คณาธิป ที่เสริมว่า การตลาดสายมูต้องทำหน้าที่เป็น เครื่องยึดเหนี่ยว หรือเสริมความมั่นใจ ห้ามสัญญา

“ความท้าทายของการตลาดสายมูคือ มันละเอียดอ่อน พร้อมดราม่าได้ตลอด ดังนั้น แบรนด์ต้องอย่าทำเกินพอดี ต้องสื่อสารด้วยความระมัดระวังว่าเป็นแค่เครื่องยึดเหนี่ยว สร้างความมั่นใจ แต่อย่าไปให้คำมั่นว่าใช้แล้วรวย ใช้แล้วหายป่วย อย่าให้เกินพอดีให้ลูกค้ามองเราเป็นที่พึ่งสุดท้าย” คณาธิป เสริม

มูไทยจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์

อย่างไรก็ตาม เทรนด์สายมูไม่ใช่อะไรที่มาแล้วหายไปแน่นอน โดย วราพร เชื่อว่า เทรนด์จะอยู่ยาวและ ยิ่งเข้มข้น ด้วย โดยการมูจะ ใกล้ชิดกับบุคคลมากขึ้น สามารถมูได้ทุกที่ทุกเวลา เหมือนกับที่ใช้วอลเปเปอร์เพื่อมู และต่อไปการมูจะยิ่งแมสมากขึ้น ขณะที่ นันท์ธร มองว่า การมูของไทยสามารถกลายเป็น ซอฟต์พาวเวอร์เมืองไทย เพราะเห็นว่าคนประเทศอื่น ๆ ที่มีความเชื่อเรื่องมูเริ่มมามูกับวัดไทยเยอะ นอกจากนี้มองว่า เทรนด์ต่อไปของไอเทมสายมูคือ การนำวัสดุรักษ์โลกมาใช้มากขึ้น ด้าน คณาธิป มองว่า ต่อไป เทคโนโลยี จะมีบทบาทกับการตลาดสายมูมากขึ้น และมีความ Personalized มากขึ้น

“ตอนนี้มูเก็ตติ้งก็มีการแข่งขันสูง ทั้งในธุรกิจเดียวกันและธุรกิจต่างกัน เพราะเงินผู้บริโภคมีจำกัด เขาก็ต้องพิจารณาว่าจะซื้ออะไร และการเปลี่ยนเเปลงที่มาเร็วไปเร็ว แต่ละเจนก็มีความชอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราต้องปรับให้เขากับกลุ่มเป้าหมาย และทันกระแสเพื่อให้ลูกค้าสนใจ สุดท้าย ต้องทำให้เมหาะสม พอดี ไม่ใช่สร้างความงมงาย และความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญวราพร ทิ้งท้าย

]]>
1488252
รู้จัก Horosociety ผู้จับเทรนด์ “การตลาดสายมู” (Muketing) แบบครบวงจร https://positioningmag.com/1370621 Tue, 18 Jan 2022 04:07:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370621 เทรนด์การตลาดสายมูยังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัว ล้วนเป็นไอเทมมูเตลูได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสร้อยข้อมูล กระเป๋า เสื้อสีมงคล วอลเปเปอร์โทรศัพท์มือถือ ทำให้ในตอนนี้เริ่มมีบริษัทที่รับทำการตลาดสายมูโดยเฉพาะมากขึ้น

หากพูดถึง “การตลาดสายมู” (Muketing) แท้จริงแล้วเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใกล้ตัว และได้เข้ามาแทรกซึมอยู่ในชีวิตคนไทยและคนเอเชียมาเนิ่นนาน จะเห็นได้จากในช่วงเทศกาลปีใหม่ทั้งแบบสากล แบบไทย หรือแบบจีนในทุกๆ ปี หลายแบรนด์มักจะจัดกิจกรรมการตลาดขึ้นโดยใช้กลยุทธ์ที่ล้อไปกับการเปลี่ยนแปลงของดวงชะตา

อาทิ แบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ตมักจะจัดเซตกระเช้าของมงคลประจำปีเพื่อมอบให้คนพิเศษ หรือแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ทำแคมเปญเรื่องการเสริมดวงเสริมฮวงจุ้ย รวมไปถึงแบรนด์รถยนต์ที่มอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าได้รับสิทธิ์ดูดวง เลือกสีรถ และเลขป้ายทะเบียนมงคลกับนักพยากรณ์ชื่อดัง ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ตลาด ‘มูเตลู’ เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด

โดยมีผลสำรวจที่ระบุว่าคนไทยกว่า 52 ล้านคนในปัจจุบันมีความเชื่อในเรื่องของโชคลาง อันเกิดจากสภาวะตึงเครียดจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่ไม่แน่นอน อันเป็นเหตุทำให้ไม่สามารถคาดการณ์และวางแผนอนาคตได้ ดังนั้นการมีสิ่งที่สามารถใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจจึงเป็นตัวช่วยในการดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจของใครหลายคน

อนัญญา โตแสงชัย ผู้ก่อตั้ง และผู้บริหาร บจ.โฮโรโซไซตี้ กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค และการทำตลาดสายมูว่า

“การตลาดสายมู (Muketing) เป็นรูปแบบการตลาดที่สามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้ในทุกระดับฐานะ ทุกเพศทุกวัย ทุกสายอาชีพ คอนเทนต์ประเภทนี้มักได้รับความนิยมและมี Engagement ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคอนเทนต์ประเภทอื่นเนื่องจากคนไทยตลอดจนคนเอเชียมีความชอบ และความเชื่อในเรื่องมูเตลูกันเป็นพื้นฐาน ดังนั้นการผสมผสานศิลปะ (Art) ข้อมูล (Data) ประสบการณ์ (Experience) กับศาสตร์ความเชื่อในยุคดิจิทัลทำให้การทำการทำการตลาดสายมู (Muketing) มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่วงโควิด-19 เรามีลูกค้าให้ความสนใจในเรื่องนี้ และใช้บริการกับเราเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก”

นอกจาก “การตลาดสายมู” (Muketing) ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดแล้ว การตลาดที่ใช้นักพยากรณ์มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ หรือ KOL (Key Opinion Leader) สามารถสร้างกระแสความนิยม สร้างอัตราการรักษาลูกค้า (Customer Retaining Rate) และดึงดูดกำลังซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมหาศาล

โดยมีกรณีศึกษาจากเครือข่ายมือถือ 3 ยักษ์ใหญ่ ที่หลายปีมานี้ต่างก็แข่งขันกันด้วยกลยุทธ์ ‘เบอร์มงคล’ โดยใช้นักพยากรณ์ชื่อดังของเมืองไทยมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งแมน-การิน ศตายุส์ ก็เป็นหนึ่งคนที่โด่งดัง และประสบความสำเร็จจากแคมเปญ ‘เบอร์เสริมชีวิต’ ของเอไอเอส ที่คัดสรรเบอร์มงคลให้กับผู้ใช้งานกว่า 2 ล้านเบอร์ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โดยเบอร์มงคลนั้นยังคงเป็น Segment ใหญ่ของ “การตลาดสายมู” (Muketing) ที่สามารถสร้างมูลค่าสูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

จึงเป็นโอกาสสำหรับ “โฮโรโซไซตี้” (Horosociety) อีกหนึ่งบริษัทที่หันมาจับการตลาดสายมูโดยเฉพาะ มีการผลิตคอนเทนต์ และการวางแผนกลยุทธ์การตลาดสายมูแบบครบวงจร มีประสบการณ์ดูแลลูกค้าที่เป็นแบรนด์ องค์กร เอเจนซี่มากกว่า 200 รายยาวนานกว่า 10 ปี มีบริการการตลาดสายมู 7 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

  1. Presenter & Celebrity Campaign Endorsement การใช้นักพยากรณ์มาเป็นพรีเซ็นเตอร์หรือการใช้ดาราในการช่วยส่งเสริมการขายหรือแคมเปญต่างๆ อาทิ แมน-การิน ศตายุส์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ AIS เป็นต้น
  2. Branded Exclusive Content เนื้อหาคอนเทนต์ความเชื่อสำหรับแบรนด์หรือองค์กร เช่น E-Newsletter หรือ Social Content เกี่ยวกับความเชื่อสำหรับลูกค้าคนสำคัญใน Segment ต่างๆ อย่างกลุ่มธนาคาร และบริษัทประกันภัย เป็นต้น
  3. Branded Exclusive Product or Premium Gift สินค้าหรือของพรีเมียมที่เกี่ยวกับความเชื่อสำหรับแบรนด์หรือองค์กร เช่น กระเป๋าเก็บสมุดบัญชีมงคลสำหรับกลุ่มธุรกิจธนาคาร เป็นต้น
  4. Branded Exclusive Activity and Event กิจกรรมหรืองานอีเวนต์ที่เกี่ยวกับความเชื่อสำหรับแบรนด์หรือองค์กร เช่น อีเวนต์ส่งเสริมการขายให้คู่ค้าของแบรนด์ หรือกิจกรรมทัวร์ทำบุญไหว้พระสำหรับกลุ่มลูกค้าพิเศษหรือผู้ชนะกิจกรรมจากแบรนด์ เป็นต้น
  5. Branded Exclusive Personal Consulting นักพยากรณ์เป็นแขกรับเชิญในการพยากรณ์ศาสตร์ต่างๆ ทั้งในรายการทีวี รายการออนไลน์ และไลฟ์บนแอปพลิเคชันขององค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ อาทิ Shopee, LAZADA รวมไปถึง Owned Media อย่าง BIG C และ Tesco Lotus เป็นต้น
  6. Lead Generation and Data Collection Service การเก็บข้อมูลด้วยการใช้คอนเทนต์ หรือเนื้อหาความเชื่อ เช่น แคมเปญตรวจดวงรับปีใหม่เพื่อนำไปพัฒนาทำ CDP (Customer Data Platform) สร้างความยั่งยืนให้องค์กร
  7. 360 Creative Muketing บริการวางแผน และให้คำปรึกษาการตลาดสายมูแบบสร้างสรรค์ครบวงจรในทุกๆ ด้าน

โดยในปีที่ผ่านมาโฮโรโซไซตี้ ได้ทำกิจกรรมการตลาดให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ อาทิ

  • SCB LINE OA (LINE BCRM) ที่ผู้ติดตามในไลน์สามารถเช็กดวงตัวเองได้
  • เดอะมอลล์กรุ๊ป ในการจัดอีเวนต์ดูดวงสุดพิเศษโดยนักพยากรณ์ชื่อดัง และทำ Lucky Planner ที่รวบรวมเคล็ดลับการใช้ตัวเลข และสีเพื่อให้คนไปปรับใช้ในการเสริมสิริมงคลชีวิต รวมถึงฤกษ์ดีในแต่ละเดือน
  • คาราบาวแดง บริหารจัดการนักพยากรณ์ในแคมเปญลุ้นล้าน ล่าฝัน #โชคดีวันพุธ
  • Grab ในแคมเปญดวงดี ดีลปัง ทั้งการทำนายดวง แจกวอลเปเปอร์เสริมดวง เปิดร้านตะลุยแก้ชง เสริมดวง
  • พฤกษา เรียลเอสเตท กับการทำคอนเทนต์ฮวงจุ้ย รองรับแคมเปญ 11.11 วันดีของคนจะมีบ้านใหม่
  • Shopee Live Official ช่วง Pro Horo โดยนักพยากรณ์ของโฮโรโซไซตี้จะสลับสับเปลี่ยนกันไลฟ์ทุกวันพุธ
  • LINE โดยการทำคอนเทนต์ดูดวงไพ่ยิปซี และเซียมซี ให้ระบบดูดวงอัตโนมัติใน LINE OA
  • กรุงศรี ออโต้ กับการสร้างระบบให้คนทั่วไปเข้ามากรอกข้อมูล เช็กเลขทะเบียนรถและเบอร์โทรศัพท์ แล้วได้รับทำนายกลับไป

ล่าสุดโฮโรโซไซตี้ได้ประกาศลุย Horoscope NFT เพราะเล็งเห็นว่าแนวโน้มในอนาคต NFT จะเป็นตลาดที่เติบโตต่อเนื่อง พร้อมหวังผลักดันธุรกิจสายมูให้เติบโตในตลาดดิจิทัลแบบเต็มตัว โดย Horoscope NFT ชิ้นแรกได้ถูกออกแบบโดย แมน-การิน ศตายุส์ กับผลงานที่ชื่อว่า “ลักกี้ นัมเบอร์ อาร์ติแฟ็คต์” (Lucky Number Artifact)

]]>
1370621