Net Zero – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 09 Sep 2024 13:39:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SCB ปักหมุด Net Zero 2050 ยุทธศาสตร์เปลี่ยนพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด สู่ “สินเชื่อสีเขียว”  https://positioningmag.com/1489292 Mon, 09 Sep 2024 13:08:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489292 ธุรกิจในปัจจุบัน กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความท้าทายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน ทำให้การดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตของผู้คนจำต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทิศทางสังคมคาร์บอนต่ำหรือการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมากขึ้น

หลายภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีการปรับเปลี่ยนนโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนขึ้น อาทิ ประเทศอิตาลี องค์กร SACE ซึ่งเป็น Italian Export Credit Agency ให้การสนับสนุนธุรกิจ SME ในการเข้าถึงเงินทุน โดยการให้ Green Guarantee ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ก็ประกาศจุดยืนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 โดยจะลดการพึ่งพาการใช้พลังงานฟอสซิลและพลังงานจากถ่านหินลง พร้อมทั้งหันมาสนับ  สนุนการใช้พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น รวมถึง ประเทศจีน มีการออกนโยบาย Dual Credit Policy ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ผลิตรถที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการผลิตและใช้งานรถยนต์น้ำมัน โดยมีเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2603 

Net Zero ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือ ทางรอด

ส่วนประเทศไทย มีนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลายธุรกิจประกาศนโยบาย Net Zero กันถ้วนหน้า เพราะแรงจูงใจในเรื่อง “ภาษี” หรือ “ดอกเบี้ย” ที่ลดลง ทำให้หลายองค์กรต้องลุกขึ้นมาจริงจังด้านสิ่งแวดล้อม 

ในวงการธนาคาร ที่เผชิญกับความท้าทายจากการถูกดิสรัปต์โดยเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการปิดสาขา ปรับตัวสู่การทำธุรกรรมต่างๆ บนมือถือ เมื่อผู้คนหันมาทำธุรกิจกรรมออนไลน์กันมากข้ึน ค่าธรรมเนียม ที่เป็นหนึ่งในรายได้ของธนาคารเองก็หายไป ทำให้ทางรอดของธนาคารต่างๆ จึงอยู่ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์สินเชื่อและการลงทุน 

ก่อนหน้านี SCB ได้ประกาศนโยบาย Digital Bank with Human Touch ที่มีการใช้ AI เข้ามาช่วยในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อย 100% หรือ AI Advisory Chatbot แชตบอตให้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน ซึ่งเป็นการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว

ความท้าทายในเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธนาคารจึงมากกว่าธุรกิจอื่นๆ เพราะต้องมีทั้งในด้านของ “องค์กร” และ “ลูกค้า” เพราะการปล่อยสินเชื่อก็ถือเป็นการสนับสนุนธุรกิจแล้ว

ล่าสุด SCB ตั้งเป้าสู่ Net Zero ด้วยแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ถือเป็นธนาคารรายแรกๆ ที่ปักเป้า Net Zero อย่างจริงจัง เพราะธนาคารต้องเจอหลายปัจจัย โดยเป้าหมายนี้มี 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่ 

1) Net Zero 2025 : ปล่อยสินเชื่อสีเขียววงเงิน 150,000 ล้านบาท ภายใน 2025 โดยปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2024 ได้สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 111,000 ล้านบาท (นับตั้งแต่ปี 2023) 

2) Net Zero 2030 : ปรับการดำเนินงานภายในองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030 

3) Net Zero 2050 : เป็นธนาคารไทยแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อธุรกิจ ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อทั้ง 2.3 ล้านล้านบาท สู่พอร์ตสินเชื่อสีเขียวทั้งหมด

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ความยั่งยืน คือ โอกาสบนความท้าทาย ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอด เพราะการที่ธนาคารต้องประกาศเรื่องความยั่งยืนนั้นมีทั้งโอกาส และความท้าทาย โดยโอกาสจากเม็ดเงินลงทุน และการจ้างงาน ซึ่งบทบาทของธนาคารในเรื่องความยั่งยืน จึงเป็นเรื่องของการสนับสนุนเงินทุน ซึ่งเม็ดเงินที่โลกจะลงทุนสู่ Net Zero หรือการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นั้นมีจำนวนกว่า 39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,323 ล้านล้านบาท ทำให้ธุรกิจธนาคาร สามารถสนับสนุนและจัดสรรเงินทุน เพื่อรองรับการดำเนินการด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบต่อ  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีธรรมาภิบาล”

‘S-C-B’ 3 แกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

แนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน สำหรับการส่งต่อความยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้อง ด้วยกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของธนาคาร โดยแบ่งเป็น 3 แกนหลัก คือ S-C-B 

1) S หรือ Sustainable Banking การสนับสนุนการเงินที่ยั่งยืนเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจกับคู่ค้า และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ไปด้วยกัน เช่น สินเชื่อสีเขียว หรือ Green Loan ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ช่วยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจหันมาปรับตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับความยั่งยืน ซึ่งหากทำได้ตามเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด ธุรกิจนั้นก็จะได้ผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง เป็นต้น

2) C หรือ Corporate Practice Excellence คือการสร้างองค์กรแห่งความยั่งยืน มุ่งเน้นการนำธนาคารไทยพาณิชย์ให้เป็นองค์กร Net Zero หรือ องค์กรแห่งความยั่งยืนครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ภายในปี 2030 จากการดำเนินงานภายในองค์กร อาทิ การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศภายในสำนักงานไว้ที่ 25 องศา โดยตั้งค่าเปิด-ปิดก่อนเวลาทำการ 1 ชม. หรือ การเปลี่ยนมาใช้น้ำยาล้างแอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การติดตั้ง Solar Looftop ที่สำนักงานใหญ่และศูนย์ฝึกอบรม รวมถึงการเปลี่ยนขวดน้ำดื่ม เพื่อใช้ในกิจกรรมองค์กรเป็นพลาสติกรีไซเคิล 100% หรือ ขวด rPET ปีละ 1.3 ล้านขวด ที่สามารถลดคาร์บอนได้กว่า 60%

3) B หรือ Better Society เป็นการพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคมผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ อาทิ การพัฒนาเยาวชนผ่านการสนับสนุนทางการศึกษาและการให้ความรู้ทางการเงิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนและการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึง การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นโครงการ Smart University และ Smart Hospital โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการแล้วกว่า 400,000 ราย 

ปี 2050 ทุกธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 100%

ทางด้าน ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า 

“ธนาคารได้วางกรอบพันธกิจในการผลักดันเป้าหมาย Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน (Scope 3 Category 15 Investment) ภายในปี 2050 คือ ลดความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอธนาคารจากปัญหาภาวะโลกร้อน หนุนการเปลี่ยนแปลงผ่านการทำงานร่วมกับลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจภายใต้การสนับสนุนการลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และยังช่วยลดโลกร้อน”

ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับข้อตกลง Paris Agreement ที่ทุกประเทศจะช่วยกันควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสต่อปี ตามมาตรฐาน SBTi (Science Based Targets Initiative) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด จากกรอบการดำเนินงานที่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ที่กว่า 8,800 องค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกได้ให้คำมั่นตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ไว้

ตรงกับวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของธนาคารที่เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนและสร้างความพร้อมให้กับเศรษฐกิจไทยต่อความท้าทายและโอกาสของสังคมคาร์บอนต่ำ มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ผ่านผลิตภัณฑ์ (Sustainable Finance) ที่ครบถ้วนในทุกกลุ่มลูกค้าและอุตสาหกรรม โดยดำเนินการผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ

1) บริหารพอร์ตสินเชื่อสีเขียว

ธนาคารได้เน้นการสนับสนุนพอร์ตสีเขียวในธุรกิจไฟฟ้า และลดการปล่อยกู้ในธุรกิจถ่านหิน โดยมีการปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.98 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน สามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดธุรกิจโรงไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ในการลดการปล่อยก๊าซ GHG เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ด้วยยอดสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนคงค้างปี 2023 กว่า 79,000 ล้านบาท ครองสัดส่วนกว่า 61% ของสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนที่สูงกว่าธนาคารชั้นนำของโลก ที่รวมกันอยู่ที่ 53% 

โดยจะเน้นการตั้งเป้าหมาย Net Zero ตามกลุ่มลูกค้าอย่าง กลุ่มธุรกิจพลังงานต่างๆ รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมองค์กรเคมีเวชภัณฑ์ ซึ่งธนาคารได้พิจารณาสินเชื่อโครงการของธนาคาร (Project Finance) ที่ได้เตรียมเงินทุนสนับสนุนการเงินยั่งยืนระหว่างปี 2023-2025 รวมกว่า 150,000 ล้านบาท และปัจจุบันได้อนุมัติวงเงินดังกล่าวไปแล้วกว่า 111,000 ล้านบาท

2) สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน 

ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินยั่งยืนที่ครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกขนาดในแต่ละอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อาทิ ลูกค้าเอสเอ็มอี ธนาคารมุ่งเน้นการสนับสนุนโซลูชันเพื่อธุรกิจรักษ์โลกเพื่อผู้ประกอบการ SMEs (SCB SME Green Finance) รวมทั้งกิจกรรม Business Matching ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น สร้าง Ecosystem สำหรับเอสเอ็มอี ด้วยการความร่วมมือส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้ผู้ประกอบการทั้งหน่วยงานราชการ สมาคม สมาพันธ์ และ พันธมิตรทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มลูกค้าบุคคล ธนาคารนำเสนอสินเชื่อที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ สินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งพัฒนาช่องทางดิจิทัลของธนาคาร ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนผ่าน SCB EASY เป็นต้น 

3) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

โดยผลักดันการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบสู่ การยกระดับการเงินที่ยั่งยืน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ และเพื่อผลักดันการสนับสนุนแก่ลูกค้าและสังคมไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำ Equator Principles (EP) ซึ่งเป็นกรอบการบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันการเงิน ที่นำมาตรฐานสากล Best Practices มาใช้เป็น กรอบแนวทางในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ควบคู่กับการให้สินเชื่อในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการประเมินโครงการตามหลักการ EP ไปแล้วทั้งสิ้น 53 โครงการ คิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 75,500 ล้านบาท 

]]>
1489292
KBank ESG Highlight กับการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1485029 Mon, 05 Aug 2024 03:22:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485029 ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรที่วางใจได้ สร้างคุณค่า และส่งมอบความยั่งยืนให้กับทุกคน ด้วยการดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน โดยดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม พร้อมให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรมบนหลักธรรมาภิบาลที่ดีและบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักการแนวคิด ESG ที่ธนาคารนำมาผนวกเข้ากับทุกการดำเนินงาน

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ธนาคารจึงไม่หยุดที่จะพัฒนาการทำงาน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและสากล เกิดเป็นผลการดำเนินงานดังนี้

Environmental – มุ่งมั่นสู่การเป็น Net Zero และสนับสนุนให้ทุกคนสามารถปรับตัวสู่สังคมไร้คาร์บอนและอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ

  • สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ลดได้ 74% จากปีฐาน (ปี 2563) และมีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต ส่งผลให้ได้รับการรับรองความเป็นกลางทางคาร์บอนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) มาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (2561-2566)
  • สนับสนุนสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะมียอดสะสมเป็น 94,670 ล้านบาท (2565-มิถุนายน 2567) และมียอดสะสมเป็น 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2567 นี้
  • วางแผนกลยุทธ์ลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด
  • พัฒนา Climate Solutions อย่างครบวงจรในทุกมิติที่มากกว่าการเงิน ทั้งเรื่องความรู้ด้าน ESG เพื่อธุรกิจ ให้คำปรึกษาเชิงเทคนิค และการจับคู่ธุรกิจกลุ่ม ESG บูรณาการศักยภาพทั้งโซลูชัน องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของภาคธุรกิจไปสู่โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อใน Carbon Ecosystem ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต
  • ผนึกกำลังร่วมกับ 25 องค์กรชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เชื่อมโยงการทำงานของทั้ง 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคการเงินและการธนาคาร องค์กรและธุรกิจต่างประเทศ จัดตั้ง “เครือข่ายธุรกิจเพื่อการจัดการสภาพภูมิอากาศประเทศไทย” (Thailand Climate Business Network: ThaiCBN) เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน

Social – มอบความรู้และส่งเสริมวินัยทางการเงินบนพื้นฐานของการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ หรือResponsible Lending รวมทั้งการให้ความสำคัญแก่การดูแลพนักงานและสังคม ภายใต้การดำเนินงานที่เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกท่าน

  • ให้ความรู้ทางการเงินการลงทุน สิ่งแวดล้อม และทักษะต่าง ๆ แก่ผู้ด้วยโอกาส 53,886 คน ในปี 2566
  • ให้ความรู้ด้าน Cyber Security สื่อสารผ่านช่องทางโซเชียล มีเดียของธนาคาร เข้าถึงผู้อ่าน 2 ล้านคน
  • ส่งเสริมความหลากหลายและการปฏิบัติด้านแรงงานอย่างเท่าเทียม มีการพัฒนาศักยภาพและทักษะพนักงานผ่าน หลักสูตรต่าง ๆ รวมทั้งดูแลด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
  • ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างเหมาะสม
  • มีการประเมินสิทธิมนุษยชนแบบรอบด้าน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินงานของธนาคารตั้งอยู่บนแนวทางของการเคารพสิทธิมนุษยชน

Governance – ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกด้านของลูกค้า

  • ยอดสินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ผ่านการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% มูลค่า 389,240 ล้านบาท
  • ประเมินและบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงด้านความยั่งยืนESG และ Climate Risk
  • ดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และหลักธรรมาภิบาลที่ดี โดยปฏิบัติตามมาตรฐานและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งของประเทศไทยและระดับสากล
  • รวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการของธนาคารให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน

ธนาคารกสิกรไทย พร้อมเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคธุรกิจ ลูกค้า  ผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรแหล่งความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนภาคการเงินและตลาดทุน บูรณาการศักยภาพ ต่าง ๆ เพื่อสร้างสมดุลให้เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ช่วยขับเคลื่อนทุกความต้องการของลูกค้า รวมถึงคว้าโอกาสที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

 

]]>
1485029
“สยามพิวรรธน์” เปิดตัว ONESIAM Drinking Water น้ำดื่มกระป๋องอะลูมิเนียม ย้ำภาพพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1455735 Fri, 15 Dec 2023 09:55:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455735

ต้องบอกว่านโยบายด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ESG ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป ภาคธุรกิจไม่ว่าจะหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน สร้างผลกระทบต่อโลกให้น้อยที่สุด ไปจนถึงเป้าหมาย Net Zero กันถ้วนหน้า

ในประเทศไทยเราเริ่มเห็นหลายองค์กรที่มีนโยบายที่จริงจังต่อการดูแลสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นก็คือ “สยามพิวรรธน์” ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ได้มีพันธกิจในการพัฒนาจุดหมายปลายทางระดับโลกสู่ความยั่งยืน

ล่าสุดสยามพิวรรธน์ได้เปิดตัว ONESIAM Drinking Water เป็นน้ำดื่มกระป๋องอะลูมิเนียม ที่นำไอเดียน้ำดื่มรักษ์โลกด้วยบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มจากอะลูมิเนียม เป็นวัสดุที่ขึ้นชื่อว่าสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% ด้วยกระบวนการรีไซเคิลเพื่อเปลี่ยนขยะเป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ถือว่าเป็นผู้เล่นค้าปลีกรายแรกในไทยที่เปิดตัวน้ำดื่มรักษ์โลก

เบื้องหลังของ ONESIAM Drinking Water ได้จับมือร่วมกับพาร์ทเนอร์อีก 2 ราย ผลงานการออกแบบโดยสมชนะ กังวารจิตต์ Executive Creative Director ของ Prompt Design นักออกแบบผู้คว้ารางวัลออกแบบระดับโลกกว่า 200 รางวัล และผลิตโดย Greenery Water ผู้ผลิตน้ำดื่มกระป๋องอะลูมิเนียมแบรนด์แรกของไทย

นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฎิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า

“สยามพิวรรธน์เตรียมเปิดศักราชปี 2567 ด้วย ONESIAM Drinking Water ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทำขึ้นภายใต้นโยบายบริหารจัดการขยะแบบ 360 องศาอย่างครบวงจร มุ่งสู่เป้าหมายการขับเคลื่อนสู่องค์กรขยะเป็นศูนย์ หรือ Zero Waste โดยการรังสรรค์น้ำดื่มในบรรจุภัณฑ์กระป๋องอะลูมิเนียมที่ดีไซน์ลวดลายบนกระป๋องแบบพิเศษ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยการรีไซเคิลได้อย่างไม่รู้จบ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่จากการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตวัตถุดิบอะลูมิเนียมได้ถึง 95% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการรีไซเคิลอะลูมิเนียม 1 กิโลกรัม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 9.13 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2eq) อีกทั้งตัวกระป๋องสามารถบีบอัดง่าย ทำให้ช่วยลดพื้นที่จัดเก็บเพื่อเตรียมนำกลับไปรีไซเคิล”

โครงการน้ำดื่ม ONESIAM ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของสยามพิวรรธน์ เพื่อบรรลุเป้าหมายลดปริมาณการฝังกลบขยะจากการดำเนินงาน 50% ภายในปี 2030 และเดินหน้าสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2050 ซึ่งการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์น้ำดื่มเป็นอะลูมิเนียมนี้ จะเพิ่มศักยภาพในการนำขยะกระป๋องไปรีไซเคิล ช่วยลดการจัดการขยะแบบฝังกลบอย่างเป็นระบบ ช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากรในการผลิตใหม่

สำหรับกระป๋องน้ำดื่ม ONESIAM Drinking Water เป็นผลงานการออกแบบโดย “สมชนะ กังวารจิตต์” Executive Creative Director ของ Prompt Design นำแนวคิดที่สะท้อนตัวตนของ ONESIAM ที่เปรียบเสมือน Single Planet นำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งในด้านความมั่นใจ ความกระตือรือร้น และความอัศจรรย์ ผสมผสานกับลายเส้นที่หลากหลายให้ความรู้สึกสนุกสนาน เกิดพลังงานในการสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการพิมพ์แบบเปิดให้เห็นสีเนื้อกระป๋อง เพิ่มลูกเล่นความโดดเด่นคล้ายการปั๊มนูน และสร้างความแตกต่างให้ผู้พบเห็นสนุกไปกับงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว

สมชนะ กล่าวเสริมว่า”โจทย์ในการดีไซน์กระป๋องน้ำดื่ม ONESIAM Drinking Water เป็นการตอบโจทย์เทรนด์โลกที่หันมาใช้กระป๋องกันมากขึ้น เรียกได้ว่าต่อไปกระป๋องจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยมีการดีไซน์ในการพิมพ์สีน้อยลง ใช้เพียงแค่สีเงิน และสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีของ ONESIAM  SuperApp และใช้ซูเปอร์เทคนิคในการเล่นกับไฟมากขึ้น ทำให้เรียบหรู ดูแพง รับเทรนด์ Quiet luxury”

นอกจากนี้ยังมีพาร์ทเนอร์คนสำคัญอีกหนึ่งรายนั่นก็คือ Greenery Water ผู้ผลิตน้ำดื่มกระป๋องอะลูมิเนียมแบรนด์แรกของไทย ที่มีเป้าหมายในการลดขยะจากขวดน้ำดื่มพลาสติกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมากถึง 6,000 ล้านขวดต่อปี ซึ่ง Greenery ได้เริ่มเปิดตัวน้ำดื่มกระป๋องมาได้ 3 ปีแล้ว

ONESIAM Drinking Water ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิลไม่ต่ำกว่า 70% ในการผลิต ส่วนอีก 30% เป็นอะลูมิเนียมใหม่ เนื่องจากประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ ซึ่งอะลูมิเนียมเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ชั่วชีวิต เป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างไม่รู้จบ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดของเสียตกค้างในระบบนิเวศ จากการนำบรรจุภัณฑ์กระป๋องอะลูมิเนียมใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นกระป๋องใบใหม่อีกครั้ง ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพ 100%

นอกจากนี้ ลูกค้าและประชาชนทั่วไป สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูและส่งต่อโลกที่น่าอยู่สำหรับทุกคน โดยนำกระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาทิ้งที่เครื่องอัดกระป๋องที่ตั้งในศูนย์การค้าในเครือของสยามพิวรรธน์  หรือนำกระป๋องมาคัดแยกแล้วนำมาฝากที่ Recycle Collection Center หรือ RCC จุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดแบบไดร์ฟทรู (Drive-Thru) ที่บริเวณจุดจอดรถทัวร์ หลังสยามพารากอน และบริเวณทางออก 4 ชั้น G (ฝั่งธนาคารกรุงเทพ) สยามพารากอน และจะเริ่มดำเนินการที่ไอคอนสยาม ในต้นปี 2567

น้ำดื่ม ONESIAM Drinking Water จะนำร่องใช้ในองค์กรสำหรับพนักงาน และเริ่มวางจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2566 ที่ร้าน Loft ชั้น 2 สยามดิสคัฟเวอรี่ และ ชั้น 3 ไอคอนสยาม, Grab & Go ชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ และผ่าน ONESIAM SuperApp รวมทั้งยังมีแผนวางขายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending machine) ในสยามพารากอน และ สยามเซ็นเตอร์ ในต้นปี 2567

]]>
1455735
“ไทยพาณิชย์” ปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน 5.2 หมื่นล้านใน 9 เดือนแรก เร่งเครื่องธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero https://positioningmag.com/1450827 Wed, 08 Nov 2023 03:40:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450827

ในยุคปัจจุบันภาคธุรกิจได้ให้ความสำคัญถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เลยทำให้ได้ยินคำว่า ESG หรือ Net Zero กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งตอนนี้ไม่ใช่แค่เทรนด์ หรือกระแสที่ทำแค่ชั่วครู่ชั่วคราว แต่เป็นยุทธศาสตร์ที่องค์กรได้วางกันในระยะยาว เราจึงได้เห็นหลายบริษัทกำหนดเป้าเส้นทางสู่ Net Zero ภายในกี่ปีกันมากขึ้น

ทั้งนี้ในเป้าหมายที่จะไปสู่ Net Zero นั้นจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งองค์กร ลูกค้า รวมถึงภาคสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อในการลงทุนต่างๆ ด้วยเช่นกัน

“ธนาคารไทยพาณิชย์” เป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยให้เส้นทาง Net Zero ประสบความสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น ล่าสุดได้ประกาศความสำเร็จให้การสนับสนุนการเงินยั่งยืน (Sustainable Finance) ตลอด 3 ไตรมาสแรก ทะลุ 52,000 ล้านบาท คิดเป็น 52% ของเป้าหมาย 3 ปี ที่ตั้งไว้ 1 แสนล้านบาทภายในปี 2025 เดินหน้าปรับการดำเนินงานภายในธนาคารสู่ Net Zero ในปี 2030 พร้อมผลักดันการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมโดยรวมสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืน

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารไทยพาณิชย์ดำเนินธุรกิจอยู่คู่กับคนไทยมากว่า 116 ปี เรายึดมั่นในการดำเนินองค์กรเพื่อความยั่งยืนบนหลักการธรรมาภิบาลโดยตระหนักถึงการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร ลูกค้า และสังคมโดยรวม เมื่อทั่วโลกกำลังเผชิญความท้าทายทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการนำนโยบาย ESG เข้ามาผสานไว้ในแผนธุรกิจเพื่อรักษาขีดความสามารถและการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ Net Zero จากการดำเนินงานภายในของธนาคารภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อ และการลงทุนภายในปี 2050 โดยมุ่งเน้นการนำพาองค์กร ลูกค้า และสังคม ให้ก้าวไปข้างหน้า สร้างการเติบโตทางธุรกิจและเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน”

สำหรับเป้าหมายเส้นทาง Net Zero ของไทยพาณิชย์นั้น มีแนวทางปฏิบัติใน 3 ส่วน ได้แก่

  1. ปรับภายในองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030

ธนาคารได้เริ่มทยอยปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานใหญ่เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ ลดการใช้พลังงานในอาคาร 10-15% ด้วยการเพิ่มแสงสว่างในอาคาร การเปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED และระบบถ่ายเทความร้อนในอาคารเตรียมการติดตั้ง Solar Cell ที่สำนักงานใหญ่ เปลี่ยนเป็นเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่า 3,000 เครื่องรวมถึงเปลี่ยนการใช้รถยนต์เป็นรถ EV100% โดยคาดว่าการดำเนินการทั้งหมดจะสำเร็จ 100% ภายในปี 2028

  1. สนับสนุนสินเชื่อยั่งยืนให้ลูกค้าสู่ Net Zero ภายในปี 2050

ธนาคารต้องการมีส่วนในการผลักดันให้ลูกค้าทุกกลุ่มเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ Low Carbon Economy เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางของ Net Zero ร่วมกัน ผ่านการสนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ในรูปแบบต่างๆ ให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม โดยมีเป้าหมายการให้สินเชื่อและการลงทุนจำนวน 100,000 ล้านบาทภายในปี 2025 พร้อมด้วยการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับองค์กรให้แก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถปรับตัวรองรับกับโลกใหม่ที่ยั่งยืนไปด้วยกันได้

  1. สร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมตระหนักรู้

ให้ความรู้แก่ลูกค้าธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ และ SME เพื่อปรับตัวสู่ความยั่งยืน โดยปีนี้มีลูกค้าสนใจเข้าร่วมกว่า 500 บริษัท ดำเนินโครงการการช่วยเหลือสังคมเพื่อความยั่งยืนของสังคม และสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 14 โครงการหลัก อาทิ โครงการปลูก และอนุรักษ์ป่าโครงการจัดหาแหล่งน้ำการพัฒนาชีวิตเยาวชน และชุมชนที่ดำเนินการมามากกว่า 30 ปี มุ่งเน้นผลักดันให้ภาคธุรกิจ และประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน เพื่อให้คนไทยเห็นภาพตรงกันว่าเราต้องเคลื่อนเรื่องนี้ไปด้วยกัน

สำหรับสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน 52,000 ล้านบาทในระยะเวลา 9 เดือนแรกของปี 2023 ครอบคลุมการสนับสนุนลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคาร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในกว่า 11 อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ อาทิ การท่องเที่ยว พลังงาน และภาคการผลิต เป็นต้น โดยมุ่งเน้นโครงการเปลี่ยนผ่านสู่ไฟฟ้าพลังงานทางเลือกจำนวน 12,600 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 10,000 ล้านบาท การสนับสนุนการเงินที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่า 26,100 ล้านบาท รวมทั้งธุรกิจ SME SSME และลูกค้าบุคคลอีกกว่า 3,000 ล้านบาท

ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญ ผ่านการทำหน้าที่ของสถาบันการเงินหลักของประเทศด้วยความมุ่งมั่น และจะเป็นผู้นำในการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนแก่ลูกค้าทุกระดับ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศและโลกไปสู่เป้าหมาย Net Zero และการรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ตลอดจนร่วมสนับสนุนในการให้ความรู้แก่องค์กรต่างๆ ในการบูรณาการแนวทางความยั่งยืนให้เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้ทุกคนสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

#SCB #SCBSustainability

]]>
1450827
สยามพิวรรธน์เสริมทัพทีมงาน Global Sustainability เดินหน้าสร้างมาตรฐานใหม่สู่ความยั่งยืนระดับโลก https://positioningmag.com/1446807 Thu, 05 Oct 2023 13:00:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446807

กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก เจ้าของและผู้บริหาร สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการพัฒนาโครงการจุดหมายปลายทางระดับโลกที่นำความยั่งยืนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เสริมทัพทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาความยั่งยืน (Global Sustainability Team) ร่วมขับเคลื่อนหลากหลายโครงการที่ส่งผลกระทบเชิงบวกเชื่อมโยงด้านธุรกิจ ผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างมาตรฐานของความยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับแบรนด์ดังและองค์กรชั้นนำระดับโลก 

นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฎิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้นำในการขับเคลื่อนความยั่งยืนของกลุ่มสยามพิวรรธน์ และดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของสยามพิวรรธน์สู่ Net Positive Impact และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050

หัวใจสำคัญคือ เราใช้หลักการความยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งบริษัทด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นต่อการสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับผู้คน และเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย วันนี้เราพร้อมยกระดับความยั่งยืนไปอีกขั้น ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร และองค์กรชั้นนำระดับโลก ใช้ธุรกิจเป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเท่าเทียม รวมทั้งการใช้แนวคิดอารยสถาปัตย์ในการออกแบบทุกโครงการ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าโอกาส ตลอดจนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อร่วมฟื้นฟูและส่งต่อโลกที่ดีให้กับทุกคน”

อดิเรก อำนวยกาญจนสิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิศวกรรมและก่อสร้างโครงการ รับผิดชอบบริหารจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน (Sustainable energy management) 

“การบริหารจัดการพลังงานอย่างยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราศึกษาและปรับวิธีการทำงานเพื่อหาโซลูชั่นที่ดีที่สุด เพื่อประหยัดพลังงานได้สูงสุด และไม่กระทบต่อการให้บริการลูกค้า ทั้งการปรับเปลี่ยนหลอดไฟและอุปกรณ์ต่างๆ  เรากำลังมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์การใช้งาน ทั้งในด้านบริหารจัดการอาคารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การใช้พลังงานสะอาด เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน”

สุทธิรัตน์ ภาณววัฒน์ ผู้บริหารสายงานสื่อสารองค์กรและแบรนด์ดิ้ง สยามพิวรรธน์ ผู้ร่วมพัฒนากรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มสยามพิวรรธน์

“สยามพิวรรธน์ยึดมั่นในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไอคอนสยามนับเป็นโครงการแรกที่ใช้แนวคิดในการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืนอย่างเต็มรูปแบบครบทุกมิติ เชื่อมธุรกิจสู่ผู้คนและสิ่งแวดล้อม สร้างประโยชน์และความเจริญรุ่งเรืองให้กับชุมชนสังคม ผู้ประกอบการโดยรอบและประเทศชาติกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการบนแนวคิดความยั่งยืนที่ได้รับการกล่าวขานและเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ”

นภนิศ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการผู้บริหารกลุ่มงานสร้างสรรค์ประสบการณ์และกลยุทธ์ ผู้ร่วมออกแบบพื้นที่ของโครงการที่จะยกระดับการใช้ชีวิตให้ก้าวไปอีกขั้นของความยั่งยืน (Taking sustainable living to the next level)

เรามุ่งสร้างสรรค์และพัฒนาโครงการ ให้เป็นพื้นที่ที่จะโชว์เคสเทคโนโลยีที่ทำให้การใช้ชีวิต
ในทุกๆวันของเราสะดวกสบายขึ้น แต่ยังคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว ให้เรื่องพลังงานทดแทนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ดูเป็นเรื่องยาก ให้เป็นเรื่องที่เข้าถึงและเข้าใจง่าย ลูกค้าของเราจะได้มีโอกาสใกล้ชิดกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น รวมถึงสร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อทรัพยากรที่อยู่รอบตัวด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ”

ศิวาภรณ์ เอี่ยมแก้ว ผู้อำนวยการ Corporate Partnership หนึ่งในทีม Global Sustainability ดูแลด้านการผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผสานแนวคิดสู่การสร้างความยั่งยืนร่วมกัน

“ความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ เป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างผลลัพธ์ให้เกิดเป็นรูปธรรม และจับต้องได้ สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญกับคู่ค้าและพันธมิตรที่จะร่วมกันต่อยอดความแข็งแกร่ง และเดินหน้าไปสู่เป้าหมายความยั่งยืนร่วมกัน นอกจากนั้น เรายังมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ศักยภาพและเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้เกิดแนวทางความร่วมมือด้านความยั่งยืนที่จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วน ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะนำไปสู่การหาจุดร่วมที่ทำให้ทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ หรือ “Win-Win Collaboration”

ดาริน เรืองโรจน์  ผู้อำนวยการ กลุ่มงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หนึ่งในผู้นำทีม Sustainability ที่ร่วมขับเคลื่อนแผนงาน และดำเนินโครงการความยั่งยืนสู่มาตรฐานสากล

“เราให้ความสำคัญในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือ decarbonization เพื่อเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และตั้งเป้าสู่การเป็นศูนย์การค้าแรกในไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด 100% ในปี 2030  เรายังให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  และมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหาขยะในประเทศไทยอย่างยั่งยืนผ่านโครงการ “Siam Piwat 360o Waste Journey to Zero Waste” เพื่อบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร” 

วรกร สมการสมัย ผู้จัดการฝ่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หนึ่งในทีม Sustainability ที่ร่วมดำเนินโครงการความยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

“เรามีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนเมืองต้นแบบเป็นศูนย์กลางที่ใส่ใจฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมใจกลางเมือง ด้วยโครงการ Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste ส่งเสริมให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกองค์กรมีการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า สร้างความตระหนักรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ด้วย Recycle Collection Center หรือ RCC ซึ่งเป็นจุดรับวัสดุสะอาดที่ไม่ใช้แล้วแบบ Drive-Thru แห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดให้ทุกคนสามารถนำขยะที่ทำความสะอาดและคัดแยกแล้วมาให้ทางสยามพิวรรธน์นำไปส่งต่อเพื่อ
ดำเนินการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่(Recycle) รวมถึงการอัพไซเคิล(Upcycle) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกับพันธมิตร ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์” 

]]>
1446807
“สยามพิวรรธน์” เดินหน้าสู่ Net Positive Impact ตั้งเป้าศูนย์การค้าแรกในไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี 2030 https://positioningmag.com/1446422 Tue, 03 Oct 2023 01:45:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446422

เทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระแสอีกต่อไป ในโลกธุรกิจนั้นได้กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมกับตั้งเป้าเป็นเป้าหมายใหญ่ขององค์กรอีกด้วย เราจึงได้เห็นหลายองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG หรือตั้งเป้าหมายเรื่อง Net Zero กันถ้วนหน้า


สร้าง Net Positive Impact พร้อมจับมือพันธมิตรทุกภาคส่วน

“สยามพิวรรธน์” เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรายใหญ่ เจ้าของและผู้บริหาร สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมายาวนาน ไม่ใช่เพิ่งเริ่มทำเมื่อเป็นกระแส แต่ทำมากว่า 10 ปีแล้ว ได้เดินหน้าสู่ Net Positive Impact ตั้งเป้าศูนย์การค้าแรกในไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี 2030 และเป้าหมายใหญ่คือ Net Zero ในปี 2050

พร้อมกับเตรียมนำนำร่องยกระดับย่าน “ปทุมวัน” สู่แนวคิดการสร้างสรรค์เมืองให้เป็นย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ ซึ่งสยามพิวรรธน์ไม่ได้สร้างแค่ศูนย์การค้าอย่างเดียวอีกต่อไป แต่สร้างเมืองขนาดย่อมๆ สร้างพื้นที่ให้คนใช้ชีวิต

นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า

“สยามพิวรรธน์ใช้แนวคิดและมาตรฐานการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจนได้รับการยอมรับจากแบรนด์ชั้นนำของโลกมาอย่างยาวนาน  ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับคนจำนวนมาก และเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย สยามพิวรรธน์จึงใช้ธุรกิจเป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาสและพัฒนาศักยภาพของคน ส่งเสริมให้ผู้คนที่มีส่วนร่วมกับสยามพิวรรธน์ได้เติบโตและประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กับเรา  คำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกๆ พื้นที่ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า  การนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ในปีนี้  สยามพิวรรธน์ยังมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ศักยภาพ และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมขับเคลื่อนเมืองต้นแบบมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางที่ใส่ใจฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมใจกลางเมือง ผลักดันเรื่องพลังงานหมุนเวียน บริหารจัดการขยะแบบ 360 องศา และเตรียมพร้อมประกาศลงนามความร่วมมือเรื่องความยั่งยืนกับแบรนด์ระดับโลกในต้นปี 2024 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050”

สยามพิวรรธน์จะเป็นค้าปลีกแห่งแรกในประเทศไทยที่ร่วมมือกับแบรนด์ดังและองค์กรชั้นนำระดับโลก ผนึกกำลังด้านความยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติร่วมกันอันเป็นการดำเนินธุรกิจตาม Global Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานในระดับสากล


พลังงานสะอาด-จัดการขยะ เป้าหมาย Net Zero

นราทิพย์เสริมว่า สยามพิวรรธน์ประกาศเป็นศูนย์การค้ารายแรกที่จะทำ Net Zero ภายในปี 2050 แต่แนวทางที่จะทำไม่ใช่เพิ่งเริ่มทำ มีการทำมามากกว่า 10 ปีแล้ว พร้อมกับมีพันธมิตรมากมายทำให้เกิดพลังงานทางเลือก

ที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์ได้บรรจุการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานสะอาด พลังงานทางเลอืก การจัดการบริหารขยะ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โดยเริ่มต้นจากการอนุรักษ์พลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟ LED ช่วยประหยัดพลังงาน และการใช้ระบบ AI ในการควบคุมการทำงานของระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร เป็นต้น ตลอดจนขยายผลไปสู่การใช้พลังงานสะอาด โดยการนำนวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อปมาติดตั้งที่ไอคอนสยาม สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อ/ปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 550 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ต่อปี

ร่วมมือกลุ่มบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมกันพัฒนาและติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป (Solar Rooftop) บนพื้นที่สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ กว่า 20,000 ตารางเมตร ให้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้กว่าปีละ 4,800,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 4,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายองค์กรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ให้กับโลกของเราโดยร่วมมือกับพันธมิตรติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการที่ศูนย์การค้า

ในขณะนี้ สยามพิวรรธน์กำลังศึกษาร่วมกับองค์กรชั้นนำทางด้านพลังสะอาดของประเทศไทยอีกหลายแห่ง อาทิ บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท  บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) โดยมุ่งเพื่อให้ทุกศูนย์การค้าภายในกลุ่มสยามพิวรรธน์ใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ Renewable Energy (RE) โดยร่วมมือกับองค์กรชั้นนำ ในการจัดหาพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการผลิตที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในพื้นที่ศูนย์การค้าต่างๆ โดยมีเป้าหมายใช้พลังงานหมุนเวียน 30% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ที่สยามพิวรรธน์บริหารจัดการเอง ภายในปี 2026 และ 100% ภายในปี 2030

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการขยะต่างๆ ผ่านโครงการ Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste ส่งเสริมให้คนไทยจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยจุดบริการรับขยะ (Recycle Collection Center ; RCC) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร นำขยะที่ทำความสะอาด และคัดแยกแล้วส่งต่อเข้ากระบวนการรีไซเคิล (Recycle) เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือนำมาเข้าสู่กระบวนการอัพไซเคิล (Upcycle) เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยส่วนหนึ่งยังกลับมาวางจำหน่ายบนพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย” (ECOTOPIA) โดยมีเป้าหมายลดปริมาณการฝังกลบของขยะจากการดำเนินงาน 50% ภายในปี 2030

รวมไปถึงปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) จึงร่วมสนับสนุน Synnex ในโครงการ ทิ้งให้ถูกที่่กับ Trusted By Synnex E-Waste โดยจะเปิดจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ Electronic Waste (E-waste) ณ. บริเวณ NextTech สยามพารากอน


เปิดยุทธศาสตร์พัฒนาย่านปทุมวัน

สยามพิวรรธน์เป็นหัวหอกในการนำร่องยกระดับย่านปทุมวันสู่ย่านต้นแบบอัจฉริยะภายใต้แนวคิด SMART ECO -DISTRICT ผ่านความร่วมมือกับ “รศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล” ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC-CEUS) ขับเคลื่อนย่านปทุมวันสูย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ เพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรักษาบทบาทการเป็นผู้นำย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป

“ปทุมวันเป็นศูนย์กลาง Shopping Destination สำหรับชาวไทย ชาวต่างประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย โดยมี ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ทั้งแนวดิ่งและแนวราบหลากหลายให้เลือกเดินตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน และพื้นที่แห่งนี้ยังมีสถานศึกษา สถาบันกวดวิชา สำนักงาน อาคารมิกซ์ยูส และอื่นๆ อีกมากมาย การที่สยามพิวรรธน์เป็นหัวหอกในการนำร่องยกระดับย่านปทุมวันสู่ย่านต้นแบบอัจฉริยะภายใต้แนวคิด SMART ECO-DISTRICT จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรักษาบทบาทการเป็นผู้นำย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป” 

มีการวางโรดแมปของยุทธศาสตร์นี้ ตั้งแต่ปัจจุบัน ไปจนถึงช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 เริ่มจัดทำวิสัยทัศน์ และผังยุทธศาสตร์ย่านปทุมวันก่อน

สยามพิวรรธน์มีพันธกิจสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนเพื่อให้บรรลุ “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย” และ เพื่อโลกที่ดีขึ้นของทุกคน

 

]]>
1446422
“เซ็นทรัลพัฒนา” ย่อยเรื่องยั่งยืนให้เข้าถึงง่าย กับงาน “The Urgent Project – Better Future is Now” https://positioningmag.com/1405344 Wed, 26 Oct 2022 04:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405344

ในช่วงหลายปีมานี้ได้เห็นหลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องภาวะโลกร้อน ภาวะโลกรวน การรณรงค์รักษาต่างแวดล้อมต่างๆ ภาคธุรกิจต่างมีเป้าหมาย Net Zero กันเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

เราจึงได้เห็นงานอีเวนต์ต่างๆ หรือ Expo ใหญ่ๆ ที่ออกมาพูดถึงเรื่อง Sustainable กันแบบล้นหลาม มีทั้งในแง่ของวิชาการ และภาคปฏิบัติ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างการรับรู้ บอกให้ทราบถึงปัญหาโลกร้อน

แต่ต้องบอกว่า ตอนนี้ทาง “เซ็นทรัลพัฒนา” ได้จัดงาน “The Urgent Project – Better Future is Now” เป็นครั้งแรกของงาน Sustainability Experiential Space ใจกลางเมืองที่เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 1 โซน Beacon เริ่มตั้งแต่วันนี้ -30 ต.ค 65

งานนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นการย่อยเรื่องความยั่งยืนที่ใครๆ ต่างพูดถึงกัน ให้เข้าใจง่ายมากที่สุด เป็นการเชื่อมโยงเข้ากับไลฟ์สไตล์ ทั้งการใช้ชีวิต การกิน การแต่งกาย ทุกอย่างรอบตัวล้วนมีส่วนช่วยโลกได้ ผ่านการจำลองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งอสังหาริมทรัพย์ไทยเพื่อความยั่งยืน มุ่งมั่นสร้างโลกที่ดีขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ Imagining better futures for all พร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero 2050 ด้วยกลยุทธ์ Power of Synergy ได้จับมือร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ได้แก่ กลุ่ม ปตท.(PTT Group) นำโดย EVme, on-ion และ Swap & Go, บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG, บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด, บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด, บริษัท ธนบุรีพานิชย์ จำกัด, บริษัท อีวี ไพรมัส จำกัด และ บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด ร่วมด้วยพันธมิตรอีกมากมายขับเคลื่อนแนวทางด้านความยั่งยืน ภายในงาน “The Urgent Project – Better Future is Now” งานด่วน งานร้อน ของคนรักโลก

นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า

“เซ็นทรัลพัฒนา เราเดินหน้าพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน ในฐานะของ‘นักพัฒนาพื้นที่’ แห่งอนาคตที่เชื่อมโยงและสร้างสมดุลระหว่าง People และ Planet เข้าด้วยกัน ด้วยการเป็น Center of Life เพื่อดูแลทั้งผู้คน ชุมชนในทุกที่ที่เราไปตั้งอยู่ พร้อมส่งต่อโลกและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับผู้คนในรุ่นต่อๆ ไป”

สำหรับงาน “The Urgent Project – Better Future is Now” ครั้งแรกกับ Sustainability Experiential Space ใจกลางเมือง พบกับโซนไฮไลท์ภายในงาน ได้แก่

 

  • Urgent Island พื้นที่ทดลอง ‘เร่งด่วน-เรียนรู้-กู้โลก’ เปลี่ยนการรักษ์โลกให้เป็นเรื่องสนุกจากเซ็นทรัลพัฒนา ทั้ง Central Pattana Sustainability Story, Live Better, Eat Better, Style Better
  • Pavilion for Betterment Zone 1:

– พบกับ Interactive game ‘Mission 1.5’ จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกันจุดประกายไอเดียช่วยโลก

– VOLT City EV รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนแบบ 100% ดีไซน์สวยแบบ Minimal ในราคาที่จับต้องได้ สามารถชาร์จไฟบ้านได้ใช้ปลั๊กปกติได้เลย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

– SCG Green Choice ฉลากที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยส่งเสริมในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยที่ดี มาเป็นตัวช่วยผู้บริโภคในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้ง่ายยิ่งขึ้น

– เนสท์เล่ชวนคุณมาดูแลฟื้นฟูโลกของเราไปพร้อมกัน เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน มาร่วมเล่นเกมแยกขยะ มาดูกันว่าเพียงแยกขยะแค่ 1 ชิ้นลงถังรีไซเคิล เราสามารถช่วยโลกให้น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร

– Loopers แพลตฟอร์มรวบรวม และส่งต่อเสื้อผ้ามือสองคุณภาพดี ให้เสื้อผ้าทุกตัวถูกใช้ และถูกดูแลอย่างรู้คุณค่าตลอดอายุการใช้งาน

  • Pavilion for Betterment Zone 2:

– พบกับ บูธกิจกรรมจาก กรุงเทพมหานคร ที่นำแนวทางการจัดการขยะ และ เวิร์คช็อปต่างๆ ที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม

– Evolt X SC GRAND ร่วมกันออกแบบกระเป๋าผ้าจากวัสดุรีไซเคิล 100% รับปรึกษาเรื่องการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

– Tempered คาเฟ่แนวใหม่ ที่ทำด้วยใจเพื่อโลก โซน Chocolate Lab เป็น Zero Waste เปลือกจากโกโก้เรายังนำไปทำชาและปุ๋ย โซน Café ใช้บรรจุภัณฑ์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Biodegradable Grade

– SCG Bi-ionครั้งแรกกับประสบการณ์อาบป่ากลางเซ็นทรัลเวิลด์พร้อมสัมผัสอากาศสะอาดปลอดภัยที่สร้างได้จากระบบ SCG Bi-ion

– CIRCULAR T-Shirt Club ผลิตจากวัตถุดิบสิ่งทอรีไซเคิล 100% ไม่ผ่านการฟอกย้อม ช่วยลดการใช้น้ำ และลดการใช้ยาฆ่าแมลง ในการปลูกฝ้ายใหม่ ช่วยประหยัดพลังงาน และ ช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 อีกทั้งยังช่วยลดขยะที่เกิดขึ้น จากกระบวนการผลิต

– Yindii (ยินดี) แอปพลิเคชั่นส่งอาหารส่วนเกินจากร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านขายของชำ โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ต ในราคาถูก โดยเป้าหมายเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมจากสภาวะโลกร้อน

นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนายังมุ่งสู่การเป็นองค์กร Retail-Led Mixed-Use Developer รายแรกสู่ Net Zero ในปี 2050ผ่านการดำเนินกลยุทธ์สำคัญ 2 ส่วนคือ

1. INSIDE-OUT: สร้างสรรค์ Culture ของภายในองค์กร โดยได้นำร่อง Green Initiatives ไปแล้วหลายโครงการด้วยกัน อาทิ สร้างมาตรฐานอาคารเขียวระดับสากล ด้วยการติดตั้งเซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในทุกโครงการ พัฒนาอาคารอัจฉริยะหรือ Building Automation การติดตั้ง Recycle Station นอกจากนี้ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชน ตั้งเป้าปลูกต้นไม้ให้ได้ 1 ล้านต้น

2. OUTSIDE-IN: ส่วนที่เป็นการ creating shared value สร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย นําเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติเป็นแนวทางใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ กระจายรายได้ให้กับชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริมวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ท้องถิ่น, สังคม : เป็น Public space ที่ยกระดับคุณภาพชีวิต มีพื้นที่สีเขียว มีพื้นที่ออกกำลังกาย มีพื้นที่ workshop และสิ่งแวดล้อม สร้าง collaboration เพื่อไปสู่ circular economy ทุกๆ โครงการใหม่ของเราจะเน้นเรื่อง Green และ Energy

พลาดไม่ได้กับไฮไลต์อีกมากมาย! อีเวนต์สำหรับสายรักษ์โลกจากเซ็นทรัลพัฒนาผนึกพลังทุกภาคส่วนโชว์เคสทั้ง How-to และ Inspiration ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ พร้อมกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย…The Urgent Project – Better Future is Now รักโลก รอไม่ได้ ตั้งแต่วันที่ 21-30 ต.ค. 65 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ชั้น 1 โซน Beacon

 

]]>
1405344