nia – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Aug 2023 05:32:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คุยกับ ‘ผอ. NIA’ ถึงวงการ ‘สตาร์ทอัพไทย’ ในยุคที่มีแต่ ‘FinTech’ ทั้งที่เป็นประเทศเกษตรกรรม https://positioningmag.com/1441348 Thu, 17 Aug 2023 04:41:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441348 หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ NIA หรือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพ, SMEs หรือ Social Enterprise ที่มีนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ ซึ่ง NIA เพิ่งได้ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA คนล่าสุด ที่จะมาฉายภาพของวงการสตาร์ทอัพไทยในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร จุดไหนที่ยังต้องเสริมความแข็งแรง และทิศทางของ NIA จากนี้จะเป็นอย่างไร

สตาร์ทอัพไทยดูเงียบ ๆ

สตาร์ทอัพไทยเกิดใหม่เพิ่มขึ้นมาทุกปี โดยเฉพาะในช่วงโควิดก็มีเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น เพราะคนทยก็คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจากการการจัดอันดับ Global Startup Ecosystem Index 2023 โดย StartupBlink กรุงเทพฯ เติบโตอย่างก้าวกระโดดขยับขึ้น 25 อันดับ เป็นที่ 74 ของโลก แซงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย (อันดับ 87) มาเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน โดยปัจจุบันสตาร์ทอัพไทยมีประมาณ 2,000 กว่าราย โดยในปีหน้าคาดว่าจะแตะประมาณ 3,000 ราย

อย่างไรก็ตาม จำนวนของสตาร์ทอัพนั้นไม่สำคัญเท่ากับการอยู่รอดและเติบโต ซึ่งปัจจุบันไทยเองก็มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นอยู่บ้าง ทั้งสายของ FinTech สายโลจิสติกส์ ซึ่ง NIA ก็อยากจะมีจำนวนของสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นในไทยให้มากขึ้น แต่การจะสร้างยูนิคอร์นได้หนีไม่พ้นการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ หรือ VC CVC ขนาดใหญ่ ที่จะลงเม็ดเงินเพื่อให้เขากลายเป็นยูนิคอร์นแล้วก็หาตลาด ช่วยในการ penetrate ตลาด

“สตาร์ทอัพมันไม่ใช่ Number of Game ไม่ใช่ว่าจำนวนมากมันจะดี ปัญหามันคือ สตาร์ทอัพที่มีอยู่มีการเติบโตอย่างไร นั่นคือสิ่งที่อยากจะมุ่งเน้นด้วย”

FinTech เยอะ ทั้งที่เป็นประเทศเกษตรกรรม

เซกเมนต์ที่สตาร์ทอัพไทยมีเยอะที่สุดก็คือ FinTech ยิ่งโควิดมายิ่งเติบโตจนบางทีก็แข่งกันเอง ดังนั้น NIA เลยอยากจะเน้นใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ เกษตร อาหาร การแพทย์ ท่องเที่ยว พลังงานและสิ่งแวดล้อม อีกส่วนหนึ่งก็คือ เรื่องเกี่ยวกับ Soft Power อย่าง AgriTech (สตาร์ทอัพด้านการเกษตร) ซึ่งในไทยมีแค่ 53 ราย น้อยมาก แล้วอยู่ใน Seed Stage เยอะด้วย

ที่น่าแปลกใจคือ คนที่จบด้านการเกษตรมามีไม่น้อย โดยเฉพาะในแวดวงวิชาการเยอะมาก แต่ปัญหาคือ เขาอาจต้องเพิ่ม Entrepreneurship Mindset เข้าไปเพื่อสร้างให้เขาเป็นผู้ประกอบการ เพราะส่วนใหญ่เขาเรียนจบมาหางานทำเลย ไม่ได้คิดจะทำธุรกิจ อีก pain point ก็คือ เกษตรกรยังไม่ค่อยมีความรู้ด้านเทคโนโลยี ทำให้เกษตรกรยังไม่เข้าใจในเซอร์วิสของสตาร์ทอัพ นี่ก็เป็นโจทย์ของ NIA ในการแมตช์สตาร์ทอัพกับเกษตรกร

FinTech นี่น่าจะคิดเป็นครึ่งหนึ่งของสตาร์ทอัพไทย ส่วนหนึ่งมองว่ามันน่าจะทำง่ายกว่า สเกลได้ไวที่สุด แต่เกษตรกว่าจะสเกลได้ต้องพยายามใช้คนในพื้นที่ช่วยนะ มีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ดังนั้น ไม่แปลกใจหรอกทำไมเราเห็น FinTech เยอะสุด”

อยากให้สตาร์ทอัพไทยเป็นตัวเลือกแรกของรัฐ-เอกชน

การสนับสนุนสตาร์ทอัพขององค์กรใหญ่มี 3 มิติ ได้แก่ สร้างบริษัทลูกขึ้นมาเป็นสตาร์ทอัพ, เอาเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเพื่อ take หุ้น หรือ ช่วยในเรื่องของการเป็นสร้าง brotherhood ทำตลาด สร้างตลาด และเอาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าด้านไหนก็เป็นประโยชน์ ช่วยให้ระบบนิเวศนวัตกรรมของสตาร์ทอัพดีขึ้นแน่นอน

อย่างไรก็ตาม เราอยากให้ทั้งองค์กรใหญ่และภาครัฐ ให้ความสำคัญกับการเลือกสตาร์ทอัพไปใช้งานก่อนจะใช้องค์กรใหญ่ โดยเฉพาะภาครัฐที่ใช้งานสตาร์ทอัพไทยน้อยมาก ซึ่งต้องยอมรับว่า ถ้าเขียน TOR ตามปกติหน่วยงานรัฐ โดยทั่วไปสตาร์ทอัพเข้าไม่ได้ เพราะเขาไม่มีประสบการณ์ ดังนั้น อยากให้มีกระบวนการพิเศษในการที่จะส่งเสริมสตาร์ทอัพให้สามารถมาใช้บริการอื่น ๆ Government for Startup พวกนี้

“ไม่ค่อยเห็นภาครัฐใช้งานสตาร์ทอัพ ตัวอย่างชัด ๆ มีแค่ QueQ ไปใช้กับโรงพยาบาล ใช้กับการจองวัคซีน เข้าชมอุทยาน แต่เราอยากมีแบบนี้มากขึ้น”

อยากเห็นการสนับสนุนอะไรจากรัฐบาลใหม่

อยากเห็นการสนับสนุนที่เป็นในทิศทางเดียวกัน เพราะตอนนี้มันมีหลายหน่วยงานซึ่งอาจจะต้องมาร้อยเรียงกัน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการทั่วไปว่า แต่ละคนมีบทบาทเสริมหนุนกันยังไงบ้าง ต้องไม่ซ้ำซ้อนกันแต่เสริมกันได้ แล้วก็ต้องการให้ตัวนโยบายของรัฐบาลใหม่ ให้ความสำคัญกับธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้น แล้วก็ส่งเสริมให้มีตลาดของภาครัฐมากขึ้นอย่างที่บอก

อีกส่วนคือ ข้อกฎหมายหลาย ๆ ตัวที่เป็นปัญหา สำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรมที่อยากให้ปลดล็อกมากขึ้น ปัจจุบัน NIA เสนอไปแล้วคือ ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ ร่าง พ.ร.บ. สตาร์ทอัพ ซึ่งตอนนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาของกฤษฎีกา

อีกข้อคือ กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของหุ้น โดยเฉพาะตัว ESOP (Employee Stock Ownership Plan) เพราะเขาอยากให้มีหุ้นที่เขาสามารถที่จะไปปล่อยออกไปได้ง่ายขึ้น แล้วก็โฟลว์กลับมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งอันนี้ในตัวของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมีข้อจำกัด แล้วอีกส่วนหนึ่งที่อยากจะทำให้สตาร์ทอัพ คือเรื่องของ ภาษี Tax Income ที่ควรจะต้องมี เรทพิเศษ เพื่อที่จะกระตุ้นให้สตาร์ทอัพสามารถที่จะเติบโตได้

จะได้เห็นอะไรใหม่ ๆ จาก NIA

NIA จากนี้จะมีการปรับกระบวนการของการให้ทุนให้มีความรวดเร็วมากขึ้น สามารถกระจายตัวของการให้ทุนได้มากขึ้น ไปสู่กลุ่มต่าง ๆ ได้มากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ อาจจะมีการปล่อยลักษณะเป็น คูปองนวัตกรรม ไม่ต้องผ่านกระบวนการทั้งหมดเหมือนการให้ทุนตามปกติ นอกจากนี้ NIA ก็มีแผนจะร่วมกับสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย แล้วก็ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เพื่อจะได้กระจายทุนได้ดีขึ้น ตรงจุด

“หลาย ๆ คนอาจจะบอกว่าเข้าถึงแหล่งเงินทุนมันยาก ไม่รู้จะเข้ายังไง ไม่รู้จะเขียนยังไง ต้องทำยังไงบ้าง เราก็จะทำให้มันทำได้ง่ายขึ้น และเวลาเราจะให้ทุนไป มันต้องผ่านคณะกรรมการดำเนินการเยอะ ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนาน เราก็จะทำให้มันเร็วขึ้น และจากนี้เราจะพยายามเน้นที่ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก จากที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าการให้ทุนเราจะกระจาย ซึ่งอาจจะวัดผลกระทบที่จับต้องได้ไม่ชัดเจน เลยอยากจะทำมันจับต้องได้”

เป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของ NIA

ในส่วนของเป้าหมายระยะสั้นของ NIA จากนี้จะเป็นการปรับทิศทางการทำนวัตกรรมให้ ตอบโจทย์รายอุตสาหกรรม มากขึ้น การทำเครือข่ายผู้ประกอบการ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก มาทำลักษณะของการทำร่วมกันใน value chain ให้มากขึ้น รวมถึงสานต่องาน Startup Thailand และ Incubation Program ให้ลงไปทั่วมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ในระยะยาว ที่อยากจะมีอีเวนต์ใหญ่ของประเทศที่เหมือน Web Summit ที่คนทั่วโลกต้องมา อาจจะเป็น Thailand Innovation Fairพราะเรามองว่าการจัดอีเวนต์เป็นแตกแยก ๆ ไปเยอะ อิมแพคมันไม่เกิด ซึ่งอีเวนต์ใหญ่เราอยากทำให้เกิดขึ้นภายในปีหน้า

“ท้ายที่สุดแล้ว NIA อยากให้สตาร์ทอัพไทยเป็น DeepTech Startup มากขึ้น เพราะจะอยู่ได้ยาว ก๊อปปี้กันยาก และเรื่องของนวัตกรรมต้องเป็น agenda หลักของประเทศ ตั้งแต่เรื่องของสร้างเทคโนโลยี การสร้างระบบที่มันเสริมเอานวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ ซึ่งต้องทำร่วมกันทั้งประเทศ เพื่อช่วยให้ไทยไปสู่เป้าหมายการขึ้นเป็นอันดับที่ 30 ของ Global Innovation Index ภายในปี 2030 จากปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 43 จาก 132 ประเทศทั่วโลก

]]>
1441348
วิเคราะห์ ‘5 อนาคต’ ที่จะเปลี่ยนหลังจบ COVID-19 ตั้งเเต่เศรษฐกิจ พฤติกรรม และโครงสร้างสังคม https://positioningmag.com/1276011 Wed, 29 Apr 2020 09:58:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276011 การระบาดของ COVID–19 ได้สร้างผลกระทบวงกว้างและรุนแรงเป็นอย่างมาก แม้ในด้านจำนวนผู้เสียชีวิตอาจดูไม่รุนแรงหากเทียบภัยพิบัติอื่น ๆ แต่ด้วยการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วทำให้เกิดความวิตกกังวลไปทั่วทุกมุมโลก ทั้งนี้ สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม หรือ IFI ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบของภาวะวิกฤติดังกล่าวที่จะเป็นตัวแปรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีสิ่งที่น่าจับตามอง ได้แก่

Three Asian people wearing mask standing distance of 1 meter from other people keep distance protect from COVID-19 viruses and people social distancing for infection risk and disease prevention measures.

ประเทศจีนจะเป็นศูนย์กลางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)

จีนเป็นประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งส่งผลให้ภาคการผลิตของจีนหยุดชะงัก และมากระทบต่อทุกภูมิภาคทั่วโลก ทั้งผู้ผลิตต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ รวมถึงผู้บริโภค แต่จีนสามารถเข้าสู่ระยะฟื้นฟูได้รวดเร็วด้วยมาตรการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับจีนมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เพียงพอที่สามารถสร้างแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศได้ง่าย ไม่ต้องพึ่งพิงเศรษฐกิจจากภายนอก และในขณะที่จีนกำลังจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลายประเทศกำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาด จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจและเศรษฐกิจของจีนที่จะฟื้นกลับมาด้วยอัตราเร่งในขณะที่พื้นที่เศรษฐกิจอื่นอย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกายังบอบช้ำ

สังคมที่เริ่มคุ้นชินกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Familiarity)

ที่ผ่านมาการเข้าถึงและการเรียนรู้เทคโนโลยียังแพร่หลายเฉพาะในบางกลุ่ม แต่ COVID-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนต้องดำรงชีวิตแบบเว้นระยะจากสังคม จึงเปิดรับเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะมาช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอกมากขึ้นแม้จะต้องมีการปรับตัวในการใช้งาน เช่น การเติบโตของการใช้งานระบบประชุมออนไลน์ การใช้เงินดิจิทัล การดูหนังออนไลน์ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้บริโภคมีความคุ้นชินและเปิดรับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น และนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้เราก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลเร็วกว่าที่คาดการณ์

Back view of Asian business woman talking to her colleagues about plan in video conference. Multiethnic business team using computer for a online meeting in video call. Group of people smart working from home.

ทิศทางอุตสาหกรรมกับการพึ่งพาตัวเอง

สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่สร้างรายได้และการจ้างงาน แต่จากวิกฤติ COVID–19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบริการ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการเดินทาง ท่องเที่ยว ค้าส่งและค้าปลีก บันเทิง ร้านอาหารและร้านค้า ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบน้อยจะเป็นกลุ่มบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและบริการที่มีมูลค่าสูง รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของความสามารถในการพึ่งพาตัวเองที่เชื่อมโยงกับทิศทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ

female supermarket cashier in medical protective mask and face shield working at supermarket. covid-19 spreading outbreak

ธุรกิจสตาร์ทอัพจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น

ที่ผ่านมาธุรกิจสตาร์ทอัพล้วนเกิดขึ้นเกิดจากความต้องการแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภค และเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยการลงทุนของนักลงทุน แต่เพราะ COVID–19 ทำให้ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานมากกว่าความต้องการใหม่ ๆ นักลงทุนจะชะลอการลงทุนเพราะต้องสำรองเงินไว้เพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่ในขณะเดียวกันอาจเป็นโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพกลุ่มดิจิทัลและกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาเร่งด่วน หรือตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค

Young startup businessmen teamwork brainstorming meeting to discuss the new project investment.

การฟื้นฟูเศรษฐกิจต้องอาศัยภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่

การดำรงชีวิตแบบเว้นระยะห่างทางสังคมรวมถึงการปิดประเทศ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้แรงงาน ธุรกิจบริการ ผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดเล็ก ซึ่งผลกระทบจะยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้นหากกินเวลานาน แต่ผู้ที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีเงินสำรองสูง มีธุรกิจรองรับหลากหลาย หรืออยู่ในภาคการผลิตที่พร้อมจะกลับมาได้รวดเร็ว ทั้งนี้ เมื่อวิกฤตการณ์ผ่านพ้นไป ภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่จะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมาก แต่ภาครัฐจะต้องดูแลไม่ให้เกิดการผูกขาดและเกิดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขัน และต้องทำงานร่วมกับธุรกิจขนาดใหญ่อย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการจ้างงาน และฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

Road worker cleaning city street with high pressure power washer, cleaning dirty public transport stops, Moscow, Russia

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรรม (องค์การมหาชน) กล่าวว่า แนวทางการรับมือในภาวะวิกฤตินี้ สามารถแบ่งได้ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การรับมือก่อนเกิดเหตุ หรือ การใช้เทคนิคทางระบาดวิทยาและข้อมูลต่าง ๆ มาเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งประเทศไทยผ่านจุดนั้นมาแล้วและกำลังอยู่ในขั้นที่ 2 คือ การรับมือระหว่างเกิดเหตุ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด เช่น การรักษา การกักตัว การปิดพรมแดน ควบคู่ไปกับการเตรียมการและสื่อสารมาตรการ

สุดท้าย ขั้นที่ 3 การฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและคลายความกังวลให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการการเงินการคลังเพื่อประคองเศรษฐกิจ มาตรการช่วยเหลือแรงงานและนายจ้าง และนอกเหนือจากมาตรการดังกล่าวสำหรับการฟื้นฟูและการเยียวยาแล้ว ภาครัฐยังจำเป็นต้องกำหนดมาตรการที่มีความต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ สร้างศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และสร้างความสามารถให้กับประเทศในการพัฒนาแบบพึ่งพาตัวเองในระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังต้องส่งเสริมนวัตกรรมต้องที่มีพลานุภาพในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านอีกด้วย

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรรม (องค์การมหาชน)
]]>
1276011