OMRON – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 26 Sep 2024 11:02:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อยู่บ้านก็ตรวจได้! ‘OMRON Complete’ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบใหม่ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้พร้อมกันในเครื่องเดียว  https://positioningmag.com/1491923 Thu, 26 Sep 2024 08:36:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491923 ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประชากรทั่วโลก ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 4 ใน 5 ราย ถือเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพที่สำคัญของนานาชาติ ที่เป็นต้นตอของโรคร้ายแรงอื่นๆ อย่าง โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และ ไตวาย เป็นต้น ข้อมูลยังพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ทั่วโลกมีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างปี 1990 ถึง 2019 จำนวนผู้ที่มีภาวะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าคิดเป็นจำนวน 1.3 พันล้านคน 

โดยข้อมูลของ Journal of Hypertension เผยว่าในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศที่มีความชุกของความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ (อายุ 30–79 ปี) มากที่สุด 5 อันดับ คือ จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทย มีความชุกของความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ เป็นอันดับที่ 13 จาก 16 ประเทศ 

อยู่บ้านก็วัดคลื่นหัวใจได้

หากมองในแง่ของพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของคนไทย โดยส่วนใหญ่จะตรวจสุขภาพกันเพียงปีละ 1 ครั้ง และในการตรวจแต่ละครั้งต้องใช้เวลาค่อนข้างเยอะ ในการตรวจแต่ละโรคแต่ละขั้นตอน ทำให้กว่าจะเจอความเสี่ยงของโรคต่างๆ ก็อาจจะสายเกินไปที่จะรักษาให้หายขาด ซึ่งโรคที่คร่าชีวิตของคนไทยเป็นอันดับต้นๆ คือโรคมะเร็ง แต่นอกจากมะเร็งแล้ว ก็ยังมีโรคแฝงที่เกิดจากโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่ออย่าง เบาหวาน, ความดันโลหิต, ไขมันในเลือด, หัวใจ และไต ที่มีแนวโน้มว่าคนไทยอายุน้อยจะเป็นกันมากขึ้น 

จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย ปี 2566 มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองราว 349,126 ราย และมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 36,214 ราย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลอย่างมาก เพราะกลุ่มผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้สูงขึ้น ทำให้ลูกหลานหลายบ้าน ซื้อหาเครื่องวัดความดันแบบพกพาติดบ้านไว้ เพื่อใช้ดูวัดและตรวจอาการในแต่ละวันของพ่อแม่ผู้สูงอายุในบ้าน 

ถ้าผู้ป่วยเบาหวานมีอินซูลินเป็นไอเท็มสำคัญของผู้ป่วยเบาหวานแล้ว เครื่องวัดความดันก็เป็นไอเทมสำคัญคู่กับผู้ป่วยความดันโลหิตเช่นเดียวกัน แบรนด์ OMRON (ออมรอน) เป็นหนึ่งในแบรนด์ยอมนิยมในกลุ่มอุปกรณ์ดูแลสุขภาพสำหรับใช้งานในบ้าน โดย ออมรอน เป็นผู้พัฒนาและผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการจัดการสุขภาพ บริการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์เพื่อการดูแลสุขภาพสำหรับใช้งานในบ้านและทางการแพทย์ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น 

แต่ด้วยผู้ป่วยความดันโลหิตมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ตามมา เครื่องวัดความดันอย่างเดียวจึงไม่พอ ออมรอน จึงพัฒนา OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา ที่สามารถตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ภายในเครื่องเดียว เพื่อแก้ Pain Point ให้กับผู้ป่วยโรคความดันที่มักมีอาการแฝงของโรคหัวใจ อาทิ ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ไม่ต้องไปใช้เวลารอตรวจที่โรงพยาบาลนานๆ 

ยูซุเกะ กาโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เป็นการตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยปกติ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) มักจะตรวจพบได้ยากและไม่แสดงอาการเนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา การตรวจสุขภาพเป็นครั้งคราวจึงทำให้แพทย์ยากที่จะวินิจฉัยอาการป่วยของผู้ป่วยได้

OMRON Complete จึงถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยผู้ป่วยที่มีอาการสามารถตรวจวัดค่าความดันโลหิตและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ ซึ่งการตรวจวัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วเป็นประจำ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด (โรคสโตรก) และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เครื่องนี้ยังช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าใจและเข้าถึงสุขภาพหัวใจของตนเองได้จากที่บ้าน

จากสถิติพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงและมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วร่วมด้วย จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มโรค อื่นๆ เพราะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นถึง 5 เท่าจากภาวะปกติ รวมถึงเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวสูงได้มากถึง 2-3 เท่าอีกด้วย

OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา ที่สามารถตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ภายในเครื่องเดียว

วัดได้ทั้งความดันและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภายในเครื่องเดียว

เครื่องวัดความดัน OMRON Complete แตกต่างจากเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดั้งเดิม เพราะนอกจากการวัดความดันโลหิตโดยทั่วไปแล้ว ยังสามารถวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และตรวจจับการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ รวมถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ 

เครื่องนี้มีหลักการทำงานคล้ายกับ Smart Watch ในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) เข้ากับการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้เครื่อง OMRON Complete ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามสุขภาพหัวใจได้อย่างใกล้ชิด สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง หรือได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ หรือมีความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ ด้วยฟังก์ชันการทำงานนี้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรึกษากับแพทย์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการรักษาของผู้ป่วยได้ดีขึ้น

โดยเครื่อง OMRON Complete จะใช้ร่วมกับการโหลดแอปพลิเคชัน OMRON Connect โดยการเปิดใช้งานการจับคู่ผ่าน Bluetooth บนคู่บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน จากนั้นพันแขนด้วยผ้าพันแขนที่เชื่อมต่อกับเครื่อง OMRON Complete แล้วกดปุ่ม บันทึก บนสมาร์ทโฟนแล้ววางบนแท่นที่เครื่องวัดฯ จากนั้นกดปุ่ม Start แล้ววางนิ้วโป้งบนอิเล็กโทรดบนเครื่องทั้ง 2 ข้าง จากนั้นนั่งนิ่งๆ จนกว่าผ้าพันแขนจะคลายและรอการนับถอยหลัง 30 วินาที แล้วรอผลการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความดันแบบเรียลไทม์ได้บนสมาร์ทโฟน

เครื่องวัดความดัน OMRON Complete มีการวางจำหน่ายแล้วในประเทศประเทศญี่ปุ่น จีน อเมริกา ยุโรป รวมถึงในประเทศไทย โดยราคาอยู่ที่ 6,690 บาท 

คนอายุน้อย เป็นความดันโลหิตสูงมากขึ้น

ดร.สุรพันธ์ สิทธิสุข เลขาธิการสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือด กล่าวว่า ข้อมูลจากสำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ปัจจุบันจำนวนประชากรทั่วประเทศไทย มีผู้ที่อายุเกิน 60 ปีกว่า 13 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 20.17% ของจำนวนประชากรรวม และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มี 8.9 ล้านคน หรือ 14% ของจำนวนประชากรรวม ถือได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีมากขึ้น

ผนวกกับสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความเร่งรีบและการแข่งขันสูง ยังส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ โดยปัจจุบัน มีการพบผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ 

ซึ่งคนกรุงเทพฯ มีอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตประมาณ 30 – 35% เกิดจากความเครียดและการใช้ชีวิต ส่วนคนในต่างจังหวัด พบอัตราการเกิดโรคความดันโลหิต อยู่ที่ 20% เป็นผู้ป่วยที่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคความดันสูง และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีกว่า 50 % 

นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าป่วยโรคความดันกว่า 65% ยังมีภาวะ AFib กว่า 2% และ 40% ของผู้ป่วยภาวะ AFib จะไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยเหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะ AFib ในชีวิตประจำวัน อาจจะไม่ทราบถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจที่กำลังเผชิญอยู่ในทุกวัน 

ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้ในการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและรณรงค์ให้คนออกกำลังกาย ลดการบริโภคอาหารเค็ม รวมถึงพยายามลดความเครียด และการมีเครื่องมือแพทย์ที่ได้คุณภาพและมาตรฐานถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่จะช่วยให้คนไทยสามารถดูแลความดันโลหิตและหัวใจ รวมถึงช่วยลดและป้องกันโรคหลอดหัวใจและโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องได้

]]>
1491923