OPEC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 04 Mar 2024 11:12:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สมาชิก OPEC+ ประกาศขยายเวลา “ลดกำลังการผลิตน้ำมัน” หวังรักษาเสถียรภาพของราคา https://positioningmag.com/1464962 Mon, 04 Mar 2024 06:07:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464962 ดูเหมือนว่าราคาน้ำมันทั่วโลกจะยังไม่ลดลงง่าย ๆ เพราะเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รัสเซียและสมาชิก OPEC+ อื่น ๆ ได้ประกาศขยายเวลาการลดการผลิตน้ำมันที่ประกาศครั้งแรกในปี 2023 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตน้ำมันในการเพิ่มราคาตามความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ย้อนไปช่วงเดือนพฤศจิกายน 2023 กลุ่ม OPEC+ ได้มีมติในการปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจจำนวน 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงไตรมาส 1/2024 ล่าสุด กลุ่ม OPEC+ ได้ประกาศขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตไปจนถึงไตรมาส 2/2024 เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า มีแนวโน้มที่จะปรับลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้

โดย ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันชั้นนําจะยังคงลด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ รัสเซียและอิรัก จะลดการผลิตลงเหลือ 471,000 และ 220,000 บาร์เรลตามลําดับ ปรับลดลงจาก 500,000 และ 223,000 บาร์เรล ส่วนประเทศอื่น ๆ ยังคงเดิม อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 163,000; คูเวต 135,000; คาซัคสถาน 82,000; แอลจีเรีย 51,000 และโอมาน 42,000 บาร์เรลต่อวัน

“หลังจากสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 การปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมเหล่านี้จะค่อย ๆ กลับมา อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดด้วย” อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย กล่าว

การขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น โดยราคา West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐทะลุ 80 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในทะเลเหนือแตะระดับสูงสุดของเดือนที่ 83.55 ดอลลาร์

ทั้งนี้ การรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี 2022 ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นถึง 140 ดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้รายได้ทั่วทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และนับตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2022 พันธมิตรผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ ของ 22 ประเทศ ได้ดำเนินการลดกำลังการผลิตไปแล้วมากกว่า 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (bpd)

ที่ผ่านมา ชาติตะวันตกพยายามคว่ำบาตรน้ำมันของรัศเซีย ส่งผลให้รัสเซียต้องหันไปส่งออกน้ำมันไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น จีนและอินเดียแทน

Source

]]>
1464962
ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ทำสถิติสูงสุดของปี หลัง ซาอุดีอาระเบีย-รัสเซีย จับมือลดกำลังการผลิตยาวถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1443635 Wed, 06 Sep 2023 07:30:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443635 ราคาน้ํามันแตะระดับสูงสุดใหม่อีกครั้งสําหรับปีนี้ หลังจากที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานโลกเพิ่มขึ้น +1.8% โดยมีการซื้อขายสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมัน West Texas Intermediate (WTI) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจาก ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC+ ตกลงที่จะลดการผลิตลงอย่างมากและลากยาวไปถึงสิ้นปี

แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยกับสํานักข่าว state-run SPA ว่า ทางประเทศจะลดกำลังการผลิตเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากที่เคยกำหนดว่าจะลดกำลังการผลิตถึงแค่เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ นับตั้งแต่ที่ตัดสินใจลดกำลังการผลิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเหลือเพียง 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า ประเทศจะลดการส่งออกลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลในตลาดน้ำมัน แม้ว่ารัสเซียกําลังพยายามเพิ่มรายได้เพื่อสนับสนุนในการทําสงครามกับยูเครน 

การลดการผลิตโดย OPEC+ ซึ่งถือเป็น ผู้ผลิตน้ํามันดิบ 40% ของโลก ได้ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งส่งผลเสียต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยราคาก๊าซเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้ลอยสูงขึ้นเป็น 3.81 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ซึ่งสูงกว่าช่วงนี้ของปีที่แล้ว 2-3 เซ็นต์

Source

]]>
1443635
จับตา “ราคาน้ำมัน” หลัง OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน https://positioningmag.com/1425996 Mon, 03 Apr 2023 06:11:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425996 หลังจาก OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ล่าสุด สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ พุ่งขึ้น 5.07% เป็น 83.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบ West Texas Intermediate ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 5.17% เป็น 79.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สำหรับการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC+ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิ้นสุดปี 2566 โดยซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า การปรับลดกำลังการผลิตเป็น มาตรการป้องกันการรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน หลังจากที่ รัสเซียจะลดการผลิตน้ำมันลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566

ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ให้คำมั่นว่าจะลดกำลังการผลิตลงตามลำดับ โดย ซาอุดีอาระเบียจะลด 500,000 บาร์เรลต่อวัน และ UAE จะลด 144,000 บาร์เรลต่อวัน รวมถึงการลดกำลังการผลิตอื่น ๆ จากคูเวต โอมาน อิรัก แอลจีเรีย และคาซัคสถาน

“แผนของ OPEC+ สำหรับการลดการผลิตเพิ่มเติมอาจผลักดันราคาน้ำมันให้แตะระดับ 100 ดอลลาร์อีกครั้ง เมื่อพิจารณาจากการเปิดประเทศของจีนและการลดกำลังการผลิตของรัสเซีย ที่ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก” Tina Teng นักวิเคราะห์ของ CMC Markets กล่าว

มีการคาดการณ์ว่าอุปสงค์ของจีนกลับมาที่ 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจากข้อมูลของ Wood Mackenzie จีนสามารถคิดเป็น 40% ของความต้องการที่ฟื้นตัวของโลกในปี 2566

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคมราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 เนื่องจากผู้ค้ากลัวว่าการล้มของธนาคารอาจบั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มค้าน้ำมันและพันธมิตรกำลังหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยในปี 2008 ที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงนั้นมีความผันผวนอย่างมาก

“พวกเขากำลังมองไปยังช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ต้องการหวนนึกถึงปี 2008 ที่ราคาน้ำมันพุ่งจาก 35 ดอลลาร์เป็น 140 ดอลลาร์” Bob McNally ประธาน Rapidan Energy Group กล่าว

Source

]]>
1425996
OPEC+ เตรียมลดการผลิตน้ำมันดิบมากกว่า 1 ล้านบาร์เรล หลังเศรษฐกิจโลกมีโอกาสชะลอตัว https://positioningmag.com/1402836 Mon, 03 Oct 2022 05:42:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402836 กลุ่มประเทศผลิตน้ำมันหรือรวมถึงพันธมิตรประเทศอื่นๆ อย่างรัสเซีย มาเลเซีย คาซัคสถาน (OPEC+) เตรียมที่จะลดกำลังการผลิตลงอีกมากกว่า 1 ล้านบาร์เรล โดยจะมีการประชุมระหว่างประเทศส่งออกน้ำมันในสัปดาห์นี้ที่กรุงเวียนนาเพื่อหารือถึงกำลังการผลิต

แหล่งข่าวของ Reuters ได้กล่าวว่า “ช่วงเวลาการประชุมดังกล่าวนี้ถือเป็นที่จับตามองทั่วโลกอย่างมาก” และยังเป็นการประชุม OPEC ที่จัดขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกด้วย

โดยราคาน้ำมันดิบในปัจจุบันอยู่ในช่วง 80-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งลดลงจากในช่วงไตรมาส 3 มาแล้วกว่า 23% หลังจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงจากการบุกยูเครนโดยรัสเซีย ซึ่งราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงได้เพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจหลายประเทศ และเป็นสาเหตุสำคัญของเงินเฟ้อในหลายประเทศ และถ้าหากกลุ่ม OPEC+ ปรับลดกำลังการผลิตอีกครั้ง ยิ่งเพิ่มโอกาสทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

การปรับลดกำลังการผลิตนั้นส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากราคาที่ลดลงจากความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง รวมถึงค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ประเทศส่งออกน้ำมันหลายประเทศประสบปัญหาค่าเงินอ่อนลงส่งผลต่อรายได้เข้าประเทศเหล่านี้

สำหรับประเทศแรกที่ส่งสัญญาณลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบคือซาอุดีอาระเบีย โดยประเทศจากตะวันออกกลางรายนี้ได้ส่งสัญญาณในเดือนสิงหาคมมาแล้วว่าจะปรับลดกำลังการผลิต และล่าสุดรัสเซียเป็นอีกประเทศที่ส่งสัญญาณอยากให้กลุ่ม OPEC+ ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบมากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

OPEC+ เคยปรับลดกำลังการผลิตมาแล้วช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 เนื่องจากความต้องการน้ำมันลดลงอย่างมาก ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยมีราคาต่ำมาแล้ว 

]]>
1402836
‘โอเปก’ เล็งถอด ‘รัสเซีย’ จากข้อตกลงผลิตเพื่อเปิดทางเพิ่มกำลังการผลิต https://positioningmag.com/1387461 Wed, 01 Jun 2022 12:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387461 มีรายงานว่าผู้แทน องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก หรือ โอเปก (OPEC) มีความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในรัสเซีย และเริ่มพิจารณาระงับข้อตกลงการผลิตน้ำมัน เนื่องจากสงครามทำให้รัสเซียขาดความสามารถในการสูบน้ำมันดิบ

จากรายงานของ The Wall Street Journal ได้อ้างตัวแทนของ OPEC ที่ไม่เปิดเผยชื่อระบุว่า สมาชิกของกลุ่มพันธมิตรพลังงาน OPEC+ กำลังพิจารณาว่าจะระงับรัสเซียจากข้อตกลงการผลิตน้ำมันหรือไม่ เนี่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในรัสเซีย รวมถึงความสามารถในกำลังการผลิตน้ำมันดิบ

ที่ผ่านมา กลุ่ม OPEC+ ยังคงยึดมั่นในข้อตกลงเดิม ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพียง 432,000 บาร์เรล/วัน แม้ว่าสหรัฐฯ และหลายประเทศจะเรียกร้องให้กลุ่ม OPEC+ เพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น หลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครน ซึ่งส่งผลต่อกำลังการผลิตน้ำมันดิบของประเทศโดยมีการคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียทั้งปีจะลดลง 8%

ทั้งนี้ การยกเว้นรัสเซียจากข้อตกลงการผลิตของโอเปกพลัสจะเปิดทางให้ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งสมาชิกรายอื่น ๆ ของโอเปกพลัส สามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันได้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตของโอเปกพลัสและเพื่อชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปของรัสเซีย

Source

]]>
1387461
หาก ‘ราคาน้ำมัน’ พุ่งเเตะ 150 เหรียญต่อบาร์เรล จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ? https://positioningmag.com/1377235 Fri, 11 Mar 2022 11:01:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377235 ซีไอเอ็มบีไทย ประเมินจากสมมติฐาน หากราคาน้ำมันพุ่งถึง 150 เหรียญต่อบาร์เรล พีคสุดคาดจะอยู่ในช่วงไตรมาส 2 เศรษฐกิจหลายประเทศเสี่ยงโตชะลอกว่าคาด จีดีพีไทยรับผลกระทบ ต้นทุนนำเข้าสูง ดันเงินเฟ้ออาจเกิน 5% 

การคว่ำบาตรระหว่างชาติตะวันตกกับรัสเซีย อาจจะลุกลามไปสู่เรื่องพลังงาน อย่างแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การผลิตน้ำมันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งมีการชะลอการผลิตลงจากหลากหลายส่วน ทำให้ทิศทางราคาพลังงานมีแนวโน้มขยับขึ้น

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัยและที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มองว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ทะลุ 100 เหรียญต่อบาร์เรล มีโอกาสจะขยับไปถึง 120 เหรียญต่อบาร์เรล และมีความเป็นไปได้ที่จะสูงขึ้นไปได้อีก

สำนักวิจัยได้ใช้แบบจำลองจาก Oxford Economics เปรียบเทียบผลกระทบทางเศรษฐกิจ (GDP) ในแต่ละประเทศ บนสมมติฐาน กรณีราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยทั้งปี ขยับขึ้น 50 เหรียญต่อบาร์เรล จากสมมติฐาน 100 เหรียญต่อบาร์เรล ไปที่ 150 เหรียญต่อบาร์เรล จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง GDP อย่างไรเมื่อเทียบกับกรณีฐาน 

พบว่า ประเทศที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันสูงขึ้น คือ รัสเซีย และประเทศกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน ขณะที่ประเทศที่ใช้น้ำมันมากๆ อาทิ ไทย อินเดีย ประเทศในอาเซียน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศ จะมีเศรษฐกิจที่ชะลอกว่าคาด นั่นคือ ชะลอกว่ากรณีฐานที่ราคาน้ำมัน 100 เหรียญต่อบาร์เรล

แปลว่า ถ้าราคาน้ำมัน 150 เหรียญต่อบาร์เรล เศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ เพียงแต่จะขยายตัวช้าลงกว่ากรณีฐาน เช่น ไทย อาจจะชะลอได้ 0.3% จากกรณีฐาน โดยก่อนหน้านี้สำนักวิจัยซีไอเอ็มบีไทยประมาณการเศรษฐกิจปี 2565 ไว้ที่ 3.8% ก็อาจจะได้รับผลกระทบให้ชะลอลง 0.3 %

ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า รัสเซีย และประเทศกลุ่ม OPEC ซึ่งได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่สูง จะไม่เร่งรีบเจรจา หรือเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน จนทำให้ราคาน้ำมันย่อลงในทันที

ส่วนประเทศที่ได้รับผลกระทบ คงต้องติดตามกันต่อไป ว่าราคาน้ำมันที่คาดกันว่าจะอยู่ระดับที่สูงเกิน 120 เหรียญต่อบาร์เรล จะทะยานขึ้นไปแตะระดับ 150 เหรียญต่อบาร์เรลหรือไม่ โดยคาดว่าจุดพีคจะอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2″ 

สำหรับประเทศไทย เศรษฐกิจที่ชะลอลง มาจากราคาน้ำมันที่สูง ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูง รวมทั้งเงินเฟ้อของไทยก็มีความเสี่ยงจะสูงขึ้น โดยเงินเฟ้อเฉลี่ยปีนี้มีโอกาสที่ขึ้นไประดับ 4-5% และมีโอกาสที่เงินเฟ้อของไทยจะทะลุ 5% ได้ จากราคาพลังงาน และราคาอาหารสด ในช่วงไตรมาสที่สอง

อย่างไรก็ดี กรณีราคาน้ำมันพุ่งสูงเกิน 150 เหรียญต่อบาร์เรล คงเป็นสถานการณ์ชั่วคราวในไตรมาส 2 หลังจากนั้น ราคาน้ำมันน่าจะย่อลง จากการที่คนเริ่มหาพลังงานทางเลือกมากขึ้น แม้ GDP ของไทย ยังขยายตัวในระดับสูงกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา แต่มีโอกาสเห็นเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

]]>
1377235
‘ซาอุดีอาระเบีย’ ยัน! ไม่มีแผนผลิตน้ำมันเพิ่ม แม้เกิดความผันผวนของราคา https://positioningmag.com/1374464 Fri, 18 Feb 2022 02:57:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374464 ซาอุดีอาระเบีย ส่งสัญญาณว่าจะยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน และจะไม่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงกับรัสเซียและผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่ยังคงจำกัดระดับการผลิตน้ำมันไว้ ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ เกิดความกังวล เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น และความตึงเครียดกับรัสเซียในยูเครนยังเพิ่มความไม่แน่นอนให้ตลาดเชื้อเพลิง

ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี Joe Biden ได้ส่ง Brett McGurk ผู้ประสานงานตะวันออกกลางของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ Amos Hochstein ผู้แทนด้านพลังงานของกระทรวงการต่างประเทศไปยังริยาดเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสงครามที่ดำเนินอยู่ในเยเมนและการจัดหาพลังงานทั่วโลก

โดยเจ้าหน้าที่ซาอุดิอาระเบียสองคนบอกกับ Associated Press ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบียได้แจ้งให้องค์กรของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC+ ทราบถึงความมุ่งมั่นของราชอาณาจักรต่อแผนงานปัจจุบันของกลุ่มในการเพิ่มปริมาณการผลิตอย่างระมัดระวังทุกเดือน

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กษัตริย์ซัลมาน ได้ตรัสกับ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ว่า จะเน้นถึง “ความสำคัญของการรักษาข้อตกลง” ของ OPEC+ พันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันที่นำโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียมีความสามารถในการผลิตประมาณ 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ปัจจุบัน ผลิตอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับการควบคุมของ OPEC+ ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ปัจจุบัน เกณฑ์มาตรฐานราคาน้ำมันดิบซื้อขายที่ประมาณ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี  โดยค่าเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินปกติหนึ่งแกลลอนในสหรัฐอเมริกามีราคาประมาณ 3.50 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 40% จากค่าเฉลี่ย 2.50 ดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด

ที่ผ่านมากลุ่ม OPEC+ ได้ปฏิเสธแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากสหรัฐฯ ที่ต้องการให้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอย่างเห็นได้ชัด โดยตัดสินใจที่จะเพิ่มความระมัดระวังในแต่ละเดือนแทน ขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย เนื่องจากมอสโกต้องเผชิญกับการคว่ำบาตรจากตะวันตกต่อยูเครน

เราได้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมัน และราคาน้ำมันที่สูงและอัตราเงินเฟ้อที่สูงนั้นเป็นวัฏจักรและส่งผลกระทบต่อกันและกัน ผู้ผลิตน้ำมันจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอุปทานเพียงพอกับความต้องการ เพื่อที่ราคาจะไม่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในวงกว้าง ” Amos Hochstein กล่าว

Fatih Birol กรรมการบริหารของ IEA ก็ได้เรียกร้องให้ผู้ผลิต OPEC+ “เพิ่มปริมาณให้กับตลาด” เพื่อลดความผันผวนของราคาที่สร้างภาระให้ครัวเรือน

Source

]]>
1374464
‘OPEC+’ ตัดสินใจเพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน แม้ ‘Omicron’ ระบาดอาจทำให้ความต้องการลดลงก็ตาม https://positioningmag.com/1365360 Fri, 03 Dec 2021 11:25:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365360 OPEC+ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ตัดสินใจที่จะเพิ่มระดับการผลิตน้ำมันในเดือนมกราคม แม้ว่าทั่วโลกกำลังเผชิญกับ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ที่อาจทำให้ความต้องการใช้น้ำมัน โดยเฉพาะภาคการเดินทางลดลง

ก่อนหน้านี้พันธมิตร OPEC+ ที่นำโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ได้ต่อต้านแรงกดดันที่นำโดยสหรัฐฯ ในการเพิ่มผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญเพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่หลายส่วนคาดว่า กลุ่ม OPEC+ จะลดกำลังการผลิตในเดือนมกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเกิดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ส่งประเทศต่าง ๆ ที่เร่งรีบเพื่อกำหนดขอบเขตการเดินทางใหม่และครุ่นคิดมาตรการอื่น ๆ ที่สามารถลดความต้องการน้ำมัน ซึ่งอาจส่งผลต่อราคา

แต่หลังจากการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เป็นเวลากว่าชั่วโมงเล็กน้อยในบ่ายวันพฤหัสบดี สมาชิก 13 คนขององค์กรกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ในกรุงเวียนนาและพันธมิตรทั้ง 10 ของพวกเขาตัดสินใจที่จะ เพิ่มกำลังการผลิตเล็กน้อยที่ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ทุกเดือนเหมือนที่ทำกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

การตัดสินใจดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันมาตรฐานทั้งสองสัญญา WTI และ Brent ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมที่ 62 ดอลลาร์และ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตามลำดับ จากนั้นพวกเขาฟื้นตัวมาเกือบ 67 ดอลลาร์และ 70 ดอลลาร์ ทั้งคู่เพิ่มขึ้นในวันนี้ แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับสูงสุดที่บันทึกไว้ในปลายเดือนตุลาคม

ทั้งนี้ การประชุมกลุ่ม OPEC+ มีขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากสหรัฐฯ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ตัดสินใจที่จะลดปริมาณสำรองทางยุทธศาสตร์เพื่อช่วยลดราคาน้ำมันดิบ หลังจากที่ราคาพุ่งสูงขึ้นซึ่งบั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งสหรัฐอเมริกายินดีกับการตัดสินใจของสมาชิก OPEC+ เพื่อเพิ่มผลผลิต

“เราเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก” เจน ซาซากิ โฆษกทำเนียบขาว กล่าว

อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย บอกกับสำนักข่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าว “อธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าตลาดมีเสถียรภาพและความต้องการดังกล่าวกำลังฟื้นตัว” อย่างไรก็ตาม เขารับทราบว่ามี “ความไม่แน่นอนอยู่มาก” ที่เชื่อมโยงกับตัวแปร Omicron และกล่าวว่า “แน่นอนว่าเราจะติดตามสถานการณ์นี้ไปพร้อมกับประเทศอื่น ๆ เพื่อดูว่ามันส่งผลต่อการเดินทางอย่างไร”

Source

]]>
1365360
ราคา ‘น้ำมัน’ ร่วงต่ำสุดในรอบ 2 เดือน เพราะโควิดพันธุ์ใหม่ระบาด อาจกระทบ ‘การเดินทาง’ https://positioningmag.com/1364279 Sun, 28 Nov 2021 12:29:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364279 ราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าสองเดือน เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือนว่าสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถต้านวัคซีน ทำให้เกิดความกลัวว่าความต้องการเดินทางจะชะลอตัว สวนทางกับการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ราคาน้ำมันดิบลดลง 10.24 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 13.06% ทำให้ราคาอยู่ที่ 68.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ต่ำกว่าระดับ 70 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีความกังวลว่าการเดินทางจะลดลงและการล็อกดาวน์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้อาจกระทบกับอุปสงค์ ในขณะที่อุปทานกำลังจะเพิ่มขึ้น

“ดูเหมือนว่าการค้นพบตัวแปร COVID-19 ในแอฟริกาใต้ตอนใต้กำลังทำให้ตลาดทั่วโลกตื่นตระหนก เยอรมนีจำกัดการเดินทางจากหลายประเทศในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว สิ่งสุดท้ายที่กลุ่มน้ำมันต้องการก็คือ ภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวของการเดินทางทางอากาศ” จอห์น คิลดัฟฟ์ หุ้นส่วนของ Again Capital กล่าว

เมื่อวันอังคารที่ Biden Administration ประกาศแผนการที่จะปล่อยน้ำมัน 50 ล้านบาร์เรลจาก Strategic Petroleum Reserve การเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระดับโลก โดยประเทศที่ใช้พลังงานมากในการระงับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปี 2021 อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร จะออกเงินสำรองบางส่วนเช่นกัน

“การเทขายออกนี้ เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานล้นเกินจำนวนมากในช่วงต้นปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการปล่อยสำรองน้ำมันเชิงกลยุทธ์ในสหรัฐฯ และประเทศผู้บริโภครายใหญ่อื่น ๆ ที่กำลังจะมีขึ้น บวกกับปริมาณน้ำมันใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ทั้งนี้ โอเปกและพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันมีกำหนดจะประชุมกันในวันที่ 2 ธันวาคม เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการผลิตในเดือนมกราคมและต่อ ๆ ไป กลุ่มบริษัทได้ค่อย ๆ ผ่อนปรนการลดกำลังการผลิตครั้งประวัติศาสตร์ตามที่ตกลงกันไว้ในเดือนเมษายน 2020 เนื่องจากไวรัส COVID-19 ทำให้อุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม กลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ OPEC+ ได้ส่งคืน 400,000 บาร์เรลต่อวันสู่ตลาดในแต่ละเดือน

กลุ่มบริษัทยังคงค่อย ๆ ลดกำลังการผลิตลง แม้จะมีการเรียกร้องจากทำเนียบขาวและหน่วยงานอื่น ๆ ให้เพิ่มกำลังการผลิตเนื่องจากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า West Texas Intermediate แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีในเดือนตุลาคม ขณะที่ Brent พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี

Source

]]>
1364279
‘OPEC+’ ยังมีแนวโน้ม “ไม่เพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน” แม้ได้รับแรงกดดันจากนานาประเทศก็ตาม https://positioningmag.com/1360440 Thu, 04 Nov 2021 09:47:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360440 OPEC+ ยังคงตัดสินใจคงกำลังการผลิตเอาไว้ดังเดิม ทั้งที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแทบทุกวันราคาจนแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2014 รวมถึงแม้จะมีแรงกดดันทางการทูตก็ตาม และนั่นอาจหมายถึงราคาพลังงานที่สูงอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้และอาจลากยาวถึงปี 2022

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน กล่าวโทษ OPEC+ ที่ไม่เต็มใจที่จะผลิตน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ขณะที่ญี่ปุ่นและอินเดียก็ได้เข้าร่วมกับสหรัฐฯ ในการพยายามกดดันให้กลุ่มโอเปกเพิ่มขีดจำกัดการผลิตและช่วยลดราคาพลังงาน

“ความคิดที่ว่ารัสเซียและซาอุดีอาระเบียและผู้ผลิตรายใหญ่อื่น ๆ จะไม่สูบน้ำมันมากขึ้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง” ไบเดน กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่การประชุม G-20 ที่กรุงโรม อิตาลี

ด้าน Edward Bell ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐศาสตร์การตลาดของ Emirates NBD ในดูไบ กล่าวว่า “สำหรับตอนนี้ เรายังคงคาดหวังว่าสมาชิก OPEC+ จะยังคงสนับสนุนให้ตลาดน้ำมันตึงตัว โดยใช้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้นเพื่อปรับปรุงบัญชีทางการคลัง”

อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน นโยบายของกลุ่ม OPEC+ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมคือจะคงการผลิตน้ำมันที่ 400,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละเดือน โดยประเทศคูเวต รวมถึงสมาชิกโอเปกอย่าง อิรัก ไนจีเรีย และแอลจีเรีย ได้ออกมาพูดในทำนองเดียวกันว่า องค์กรควรยึดมั่นในแผนปัจจุบัน เนื่องจากตลาดน้ำมันมี ‘ความสมดุล’

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งของผู้บริโภคไม่ได้รู้สึกว่ามัน สมดุลพราะราคาน้ำมันดิบเบรนท์แตะระดับมากกว่า 86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% ในปีนี้ แม้ว่าราคาร่วงลงในวันก่อนการประชุม OPEC มาอยู่ที่ 81.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก็ตาม

West Texas Intermediate เพิ่มขึ้นมากกว่า 70% ในปีนี้ และแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยล่าสุดแตะระดับ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แม้ว่าจะซื้อขายที่ 80.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินของอเมริกาก็อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีเช่นกัน

ด้าน เฮอร์มาน หวาง นักเขียนอาวุโสด้านน้ำมันของ S&P Platts มองว่า แม้จะมีแรงกดดันทั้งหมดจากสหรัฐฯ อินเดีย และญี่ปุ่นให้ปล่อยน้ำมันดิบเพิ่ม แต่ก็มีรัฐมนตรีหลายคนกล่าวถึงอัตรา COVID-19 และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงตามฤดูกาล รวมถึงแนวทางการลดใช้พลังงาน

ดังนั้น ราคาที่พุ่งสูงขึ้นอาจเป็นเพียงชั่วคราว แต่จนกว่าตลาดจะเย็นลง OPEC+ ก็จะเจอการร้องเรียนจากลูกค้ารายสำคัญอีกมาก เนื่องจากผู้นำเข้าน้ำมันผิดหวังที่ไม่สามารถบังคับโอเปกได้มากนัก นอกจากนี้ยังมองว่า การที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศในกลุ่มโอเปกสูบน้ำมันมากขึ้น ก็ขัดแย้งกับเป้าหมายที่ตั้งใจจะเป็นผู้นำในนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก

Source

]]>
1360440