OTP – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 30 Dec 2020 07:11:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่อง 10 ปรากฏการณ์ฝั่งไอทีปี 2020 ที่ได้ COVID-19 เป็นป๋าดัน https://positioningmag.com/1312416 Tue, 29 Dec 2020 12:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312416 กำลังจะหมดปี 2020 แล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นปีที่หนักสำหรับโลกและใครหลาย ๆ คนเพราะการระบาดของ ‘COVID-19’ แต่ก็มี ‘บางธุรกิจ’ ที่ได้อานิสงส์ที่ดีจากการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เราไปย้อนรอยความปังจากฝั่งธุรกิจ ‘ไอที’ กันดีกว่าว่ามีธุรกิจไหนที่ปังบ้าง

1. ปรากฏการณ์ ‘เจน-นุ่น-โบว์’ บน ‘TikTok’

สำหรับ ‘TikTok’ ในประเทศไทยเริ่มได้รับความนิยมเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่ภาพลักษณ์นั้นค่อนไปทางที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะหลายคนมองว่ามีแต่เด็ก ๆ เล่น แต่ในปี 2020 เจ้า COVID-19 ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องกักตัวจนเบื่อบ้าน คนเลยต้องหาทางระบายซึ่ง TikTok คือหนึ่งในตัวช่วยนั้น เพราะทั้งมีฟีเจอร์ที่ถูกจริตคนไทยโดยเฉพาะสาย ‘ฮา’ ถูกใจแน่นอน แถมยังมี Challenge มาให้เล่นอีก ดังนั้น TikTok จึงเข้ามาตอบโจทย์ให้การอยู่บ้านมีสีสันมากขึ้น โดยไวรัลที่คนน่าจะจำได้เป็นอย่างดีก็คือ ‘เจน-นุ่น-โบว์’ หรืออย่างแฮชแท็ก #เมษาAtHome ที่ชวนคนไทยมาแชร์คลิปการกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์มียอดวิวรวมถึง 1.9 พันล้านครั้ง

2. ปลุกความเป็น ‘แม่ค้า’ ด้วยสารพัด ‘มาร์เก็ตเพลส’

เพราะห้างร้านต่าง ๆ ต้องปิดลงชั่วคราวในช่วงล็อกดาวน์ แต่เงินที่มีมันช่างร้อนนัก ต้องหาทางระบาย ประกอบกับพ่อค้าแม่ค้า หรือคนที่ว่างงานต้องพยายามหารายได้หรือสถานที่ในการขายของใหม่ ดังนั้น ‘eCommerce’ จึงเป็นทางออกเดียว นั่นเลยทำให้ทั้ง Lazada และ Shopee ต่างโกยลูกค้ารวมถึงพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ได้เพียบ

แต่ที่ถือว่าเป็นทีเด็ดจริง ๆ ต้องเป็น ‘Facebook Group’ เพราะในช่วงล็อกดาวน์เราได้เห็นการเปิดกลุ่มมาเพื่อขายของกันบานเบอะ ที่ดัง ๆ ก็มีอย่าง ‘จุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส’ ที่กลายเป็นต้นแบบให้หลาย ๆ สถาบันมาเปิดกลุ่มขายของบ้าง นอกจากนี้ ‘Facebook Live’ ที่เริ่มดังตั้งแต่ปี 2019 เพราะ ‘บังฮาซัน’ ในปี 2020 ก็ยิ่งปังมากกว่าเดิม โดยการไลฟ์ขายของในไทยเติบโตขึ้นถึง 173% สูงที่สุดในทวีปเอเชียเลยทีเดียว

คนดังชาวจุฬาฯ ฝากร้านในจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส

3. Zoom ตัวช่วยประชุมและดูคอนเสิร์ต!

แพลตฟอร์ม VDO Conference มีมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้แพร่หลายมากนัก เพราะทั้งการทำงานและการประชุมต่าง ๆ ก็มักจะทำกันที่ออฟฟิศเป็นปกติอยู่แล้ว แต่เพราะ COVID-19 ที่ทำให้คนต้อง Work from Home กัน แพลตฟอร์ม VDO Conference ต่างก็เลยได้อานิสงส์ไปเต็ม ๆ แต่ที่โดดเด่นสุดเห็นทีจะเป็น ‘ZOOM’ ที่ปังขนาดที่เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทมีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

และไม่ได้ใช้แค่การทำงานเท่านั้น แต่ยังกระจายไปถึง ‘คอนเสิร์ต’ โดยแสตมป์-อภิวัชร เอื้อถาวรสุข ประกาศจัดคอนเสิร์ต “Stamp แอบดู Birthday Live” เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบรอบ 38 ปีของเจ้าตัว แต่เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้งานครั้งนี้เลือกจัดเป็นคอนเสิร์ตเสมือนจริง (Virtual Concert) บนโลกออนไลน์แทน โดยเปิดขายบัตรทั้งหมด 1,000 ใบ ราคาใบละ 380 บาท ซึ่งก็ขายเกลี้ยงใน 18 ชั่วโมงเท่านั้น

4. ฟู้ดเดลิเวอรี่ New Normal ที่แท้ทรู

อยากกินก็ต้องได้กิน แม้จะออกจากบ้านไม่ได้เพราะล็อกดาวน์ ซึ่งนั่นทำให้บริการ ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่’ กลายเป้นพระเอกของคนไทยในช่วงล็อกดาวน์ไปโดยปริยาย และถือเป็นอีกทางรอดของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยจากเดิมช่วงก่อน COVID-19 ร้านอาหารหลายเเห่งอาจจะมีสัดส่วนการขายหน้าร้านต่อออนไลน์ ประมาณ 90:10 เเต่หลังจากมีโรคระบาด ร้านบางเเห่งอาจมีสัดส่วนมากถึง 70:30 หรือ 50:50 เลยก็ว่าได้

แต่ด้วยความปังของบริการทำให้มี ‘ดราม่า’ ออกมาเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของ ค่าส่วนแบ่งยอดขาย (GP Food Delivery) ที่ร้านอาหารระบุว่าผู้ให้บริการบางรายถือโอกาสขึ้นค่า GP ในข่วงขาขึ้นนี้ ซึ่งนั่นก็ทำให้ 2 แบงก์อย่าง ‘ไทยพาณิชย์’ ที่เปิดตัวบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ของตัวเองในนาม Robinhood และ ‘กสิกร’ ที่เปิดตัว Eatable (อีทเทเบิล) ใช้ช่องว่างนี้โกยลูกค้าด้วยการ ไม่เก็บค่า GP’ และการมาของผู้เล่นใหม่ ๆ แบบนี้ ปีหน้าคงได้เห็นอะไรเดือด ๆ อีกแน่นอน

5. Nintendo Switch ไอเทมสุดปัง

Nintendo เป็นอีกเเบรนด์ที่ได้รับ ‘อานิสงส์ที่ดี’ จากวิกฤต COVID-19 เพราะช่วงล็อกดาวน์คนแห่ ‘เล่นเกม’ ตอนอยู่บ้าน ทำให้ Nintendo สามารถกำไรครึ่งปีเเรกถึง 3 เท่า ปิดที่ 2.13 แสนล้านเยน (ราว 6.3 หมื่นล้านบาท) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และในอาเซียนเอง Nintendo Switch กลายเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ได้รับความนิยมสูงสุดโดยขายดีเป็นลำดับต้น ๆ ใน 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ฮ่องกง และไทย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น Nintendo Switch ขายดีจนขาดตลาด ส่งผลให้จากราคาที่เคยขายกันหลักหมื่นต้น ๆ ก็พุ่งไปถึงกว่า 2 หมื่นบาทเลยทีเดียว

nintendo switch
Photo : Shutterstock

6. มือถือจอพับ

เป็นอีกนวัตกรรมที่ฮือฮาตั้งเเต่ปี 2019 สำหรับ ‘สมาร์ทโฟนจอพับ’ ที่หลายค่ายต่างพยายามโชว์ของกันสุดพลัง และในปี 2020 นี้ เบอร์ 1 ในตลาดโลกอย่าง ‘ซัมซุง’ ก็ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนจอพับรุ่นที่ 2 ก็คือ ‘Samsung Galaxy Z Flip’ สานต่อความสำเร็จของ Samsung Galaxy Fold ส่วนฝั่งของจีนอย่าง ‘หัวเว่ย’ ที่ขับเคี่ยวขึ้นเป็นเบอร์ 1 กับซัมซุง ก็ไม่น้อยหหน้าส่ง ‘Huawei Mate Xs 5G’ ลุยตลาดโดยมีราคาสุดสะพรึงที่ 89,990 บาท

นอกจากนี้ยังมีค่ายในตำนานอย่าง ‘โมโตโรล่า’ ก็เอาด้วย โดยส่ง ‘Motorola razr 5G’ มาประเดิมในสังเวียน แต่ไม่ใช่เเค่จอพับจะเป็นเทรนด์อีกต่อไป เพราะอีกหนึ่งค่ายใหญ่ของจีนอย่าง ‘ออปโป้’ ได้ส่งสมาร์ทโฟนตัวต้นแบบที่หน้าจอยืดได้ หดได้มาให้ชมกันในงาน OPPO X 2021

7. VIDEO Streaming โตกระโดด

อะไรก็ตามที่ทำให้คนแก้เบื่อช่วงล็อกดาวน์ได้สิ่งนั้นเติบโหมด ยิ่งโรงภาพยนตร์ยังไม่เปิดให้บริการ หรือเปิดแต่ก็ยังไม่มีหนังใหม่ ๆ เข้า ก็เลยเข้าทางบริการ ‘Video Streaming’ อย่าง ‘Netflix’ ก็โตพุ่งมาก โดยไตรมาสแรกของปีมีผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 16 ล้านราย หรือเป็นสองเท่าจากจำนวนผู้ใช้งานใหม่ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2019 และไตรมาส 2 ผู้ใช้ใหม่ยังเพิ่มอีก 7 ล้านราย หรือน้องใหม่อย่าง ‘Disney+’ ก็มีผู้ใช้ทะลุ 73.7 ล้านรายภายในเวลา 1 ปีเท่านั้น ส่วนในไทยเองหลายแพลตฟอร์มก็ปังไม่แพ้กันอย่าง ‘LINE TV’ ปัจจุบันมีผู้รับชมถึง 40 ล้านคน โดยมีแม่เหล็กอย่าง ‘ซีรีส์ Y’ หรือแพลตฟอร์มสัญชาติจีนอย่าง ‘Viu’ ก็มีเสียงพากย์ ‘อีสาน’ เจาะตลาดท้องถิ่นอีกด้วย

8. แบน Pornhub

จริง ๆ มีอีกแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งที่ปังแม้ไม่มี COVID-19 ซึ่งก็คือ ‘Pornhub’ ที่แถมยังใจดีแจก Premium ฟรีตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมาจนถึง 23 เมษายน เพื่อดึงดูดให้คนอยู่แต่บ้านไม่ต้องไปไหน แต่ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์ช็อกผู้ใช้ชาวไทย เมื่อ ‘กระทรวงดีอี’ สั่งให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับ เว็บ Pornhub จำนวนกว่า 191 URLs ที่มีเนื้อหาลามก อนาจาร ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือทุกค่ายต้องปฏิบัติตาม จนเหล่าชาวเน็ตผุด #SavePornhub พร้อมกับหา VPN เพื่อที่จะหาทางเข้าเว็บให้ได้อีกครั้ง

9. 5G ที่มาถูกเวลา

จริง ๆ แล้วศึก 5G แข่งขันกันตั้งเเต่ช่วงปลายปี 2019 หรือตั้งเเต่ยัง ‘ไม่มี 5G’ ด้วยซ้ำ โดยจะเห็นว่าค่ายสีเขียวและสีแดงต่างก็แย่งชิงพื้นที่เพื่อ ‘โชว์ศักยภาพ’ ของ 5G ว่าทำอะไรได้บ้าง และหลังจากที่ประมูลคลื่น 5G เสร็จในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นไม่นานก็ต้องเจอกับการ ‘ล็อกดาวน์’ เพราะ COVID-19 ซึ่งช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่แต่ละค่ายได้โชว์ศักยภาพของ 5G ในด้านเฮลท์แคร์ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ทางไกลหรือการใช้ ‘หุ่นยนต์’ ในโรงพยาบาลเพื่อลดการสัมผัส

และเเน่นอนว่าสำหรับผู้บริโภคเองก็ค่อนข้างจะตื่นตัวไม่น้อย เพราะ ‘iPhone 12’ ซึ่งเป็นรุ่นเเรกของค่าย Apple ที่รองรับ 5G ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม โดยหลายคนได้วิเคราะห์ว่ายอดขาย iPhone 12 สะท้อนว่ากระเเสสมาร์ทโฟน 5G ในปีหน้าจะยิ่งแรงขึ้นอีกแน่นอน

10. ดราม่า OTP

อีกหนึ่งดราม่ารับสิ้นปีก็คือกรณี OTP ยืนยันการสมัคร ‘คนละครึ่ง’ โครงการที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศหลังจากมี COVID-19 ของค่าย ‘ดีแทค’ ดัน ‘ล่ม’ ทำให้ลูกค้าของดีแทคต้องเสียสิทธิ์ในการลงทะเบียนโครงการดังกล่าวจนเกิดแฮชแท็ก #dtac และ #คนละครึ่งเฟส2 ติดเทรนด์ทวิตเลย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ดีแทคเองต้องออกมาตรการมาชดเชยลูกค้าเป็นมูลค่า 3,500 บาท นับเป็นความปังส่งท้ายปีของค่ายสีฟ้าที่น่าเห็นใจเลยทีเดียว

]]>
1312416
“กระทรวงการคลัง” เตรียมเพิ่มสิทธิ์ “คนละครึ่ง เฟส 2” ให้กลุ่มวืด OTP https://positioningmag.com/1310741 Wed, 16 Dec 2020 15:29:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310741 กระทรวงการคลัง สั่งรวบรวมตัวเลขผู้ที่มีปัญหาลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 2 ที่ไม่ได้รับ OTP จากเครือข่ายดีแทค โดยจะเพิ่มสิทธิ์ให้ผู้ลงทะเบียนกลุ่มนี้ คาดว่า จะทราบผล 15 มกราคม 2564

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ได้สั่งการให้ธนาคารกรุงไทย รวมรวมตัวเลขผู้ที่เข้ามาลงทะเบียน คนละครึ่ง” เฟส 2 ทั้งหมด ว่า มีส่วนที่เกินจากผู้ที่ได้สิทธิ์ 5 ล้านคนเท่าไร และมีจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว แต่ติดปัญหาไม่ได้รับเลข OTP จำนวนเท่าไร ซึ่งธนาคารกรุงไทย จะรายงานให้กระทรวงการคลังทราบภายใน 2-3 วันนี้ ก่อนจะพิจารณามาตรการเยียวยา ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในกลุ่มนี้

ส่วนผู้ที่ได้รับการยืนยันสิทธิ์แล้ว จะต้องใช้จ่ายภายใน 14 วัน หากไม่ใช้จ่ายตามกำหนด ทางระบบจะตัดสิทธิ์ และ เปิดให้ผู้ที่พลาดโอกาส เข้ามาลงทะเบียนเพิ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ที่มีปัญหาไม่ได้รับ OTP ด้วย คาดว่า น่าจะเปิดให้ลงทะเบียนใหม่ได้ในวันที่ 15 มกราคม 2564

อาคม กล่าวว่า ได้รับรายงานภาพรวมการลงทะเบียนว่า เครือข่ายการให้บริการของเอไอเอส และทรูไม่มีปัญหา แต่จะมีปัญหาเฉพาะเครือข่ายดีแทคเท่านั้น ทำให้หลายคนพลาดสิทธิ์ ซึ่งปัญหานี้เป็นหน้าที่ของ กสทช. ต้องเข้ามาดูคุณภาพสัญญาณการให้บริการ เพราะกรณีนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก

ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลัง รับทราบแนวคิดของนายกรัฐมนตรี ที่จะให้ขยายคนละครึ่ง” ระยะ 3, ระยะ 4 โดยจะต้องพิจารณาภาพรวมโครงการทั้งหมดอีกครั้ง รวมทั้งงบประมาณที่จะนำมาสนับสนุนโครงการด้วย

]]>
1310741