PROEN – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Aug 2022 09:39:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดรหัส PROEN ล้าง KUB สัญญาณชีพ “บิทคับ” โคม่า!!? https://positioningmag.com/1397016 Mon, 22 Aug 2022 08:15:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397016 บทความโดย ibit ผู้จัดการออนไลน์
ถอดรหัสโปรเอ็น คอร์ปหรือ PROEN ยอมขาดทุนเหรียญ KUB กว่า 52 ล้านบาท ล่มสัญญาพาร์ตเนอร์บิทคับวงในเชื่อเพราะเห็นสัญญาณหายนะ หลังโดนใบเหลืองจากก... ให้แก้คุณสมบัติเหรียญ KUB แต่ยังดื้อแพ่ง นับวันรอใบแดง สั่งห้ามซื้อขาย แถมดีลเอสซีบีเอ็กซ์ ยังโดนเทอย่างไม่มีกำหนด ได้กลับมา 20 ล้านบาท ดีกว่าไม่ได้ จับตาบจ.พันธมิตรรายอื่น ทยอยสลายก๊วนถอนตัว 

จากกรณีที่ บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) (PROEN) ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยนายกิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า เมื่อวันที่ 17 .. 65 ที่ผ่านมา บริษัทได้ทำหนังสือถึงบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (Bitkub) แจ้งใช้สิทธิยกเลิกสัญญา และขอยกเลิการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

โดยบริษัทให้เหตุผลระบุว่า หลังจากบริษัทได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ตามประกาศของสำนักงาน ก...เรื่องการลงทุนหรือการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงราคาเหรียญ KUB และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ PROEN จึงได้ทําหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการบริษัท PROEN ได้อนุมัติการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท บิทคับ บล็อคเซน เทคโนโลยี จำกัด (Bitkub) โดยบริษัทจะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทคริปโตเคอร์เรนซีสกุลเงิน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับ Bitkub เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นในการเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator Node POSA) แบบ Proof of Stake Alliance ในระบบบล็อกเชน Bitkub Chain

โดยมีเงื่อนไขการเข้าร่วมโดยบริษัทต้องซื้อเหรียญ KUB จาก Bikub จำนวน 250,000 เหรียญ KUB มูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 72,949,815 บาท หรือคิดเป็นราคาเฉลี่ยประมาณ 291.80 บาท และได้รับเหรียญ KUB เข้าบัญชีบริษัท และไม่ให้บริษัทขายและ/หรือแลกเปลี่ยนเหรียญดังกล่าวเป็นระยะเวลาก่อนวันที่ 31 .. 66 โดยบริษัทได้รับประกันราคาซื้อคืนในราคาที่ไม่ต่ำกว่าต้นทุนเมื่อครบกำหนดเวลา

PROEN ถอนตัวแบบเจ็บๆ

จากเงื่อนไขดังกล่าว ในเมื่อ PROEN เป็นผู้บอกเลิกสัญญาก่อนที่จะครบกำหนด 31 .. 65 แล้วส่งที่เกิดขึ้นคือผลขาดทุนจากเหรียญ KUB นั้น บริษัทต้องแบกรับภาระเองใช่หรือไม่ หากเทียบราคาต้นทุนที่ PROEN ใช้เงินลงทุน 72.75 ล้านบาทในการเข้าถือเหรียญ KUB จำนวน 2.5 แสนเหรียญ ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 291.80 บาท / 1 KUB

ปัจจุบัน (20 ..65 เวลา 21.30 .) ราคา KUB อยู่ที่ประมาณ 80 บาท ทำให้ PROEN ขาดทุนเหรียญละ 211.80 บาท หรือคิดเป็น 72.58% มูลค่าการขาดทุนรวมทั้งสิ้น 52.88 ล้านบาทบาท จากต้นทุนทั้งหมด 72.75 ล้านบาท

PROEN เผ่นเห็นสัญญาณหายนะ?

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เพราะเหตุใด PROEN จำต้องยอมรับผลขาดทุนแบบเจ็บปวด จำนวนกว่า 52 ล้านบาท ทำไมไม่อดทนยอมถือ KUB ต่อจนครบกำหนด 31 .. 66 หรืออีกประมาณ 9 เดือนกว่า ก็สามารถขายคืนให้บิทคับในราคาต้นทุน ตามสัญญาและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ คือได้เงินคืนครบตามจำนวนที่ลงทุน 72.75 ล้านบาท แต่กลับเลือกเอาส่วนที่เหลือแค่ 20 ล้านบาทคืน

หรือว่า? ผู้บริหาร PROEN ได้เห็นสัญญาณร้ายอะไรบางอย่าง ที่อาจจะก่อให้เกิดหายนะกับบิทคับในอนาคตอันใกล้ ก่อนที่จะครบกำหนดสัญญาหรือไม่ จึงได้รีบยกเลิกสัญญา และถอนเงินทุนออกมา แม้จะขาดทุนหนัก แต่ก็ยังได้อะไรติดไม้ติดมือกลับมาบ้าง หากรอให้ถึงวันนั้นอาจจะเสียหายหนักกว่านี้ หรือไม่เหลืออะไรเลยหรือไม่?

ตีจากก่อน ก... สั่งเพิกถอน KUB

บุคคลในแวดวงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล และนักเทรดคริปโต ได้ให้มุมมองต่อการถอนตัวจากการลงทุนเหรียญ KUB ของ PROEN ในครั้งนี้ ประเด็นหลักไม่น่าจะเกิดจากตลาดคริปโตฯ ผันผวน หรือราคา KUB ที่ปรับตัวลดลงมาอย่างมาก เพราะหากเป็นประเด็นนี้จริง เมื่อครบกำหนดสัญญา ก็สามารถขายคืนให้บิทคับในราคาต้นทุนตามสัญญาที่ทำไว้อยู่แล้ว

แต่ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่ปัญหาของตัวเหรียญ KUB เอง ที่สำนักงานงาน ก... ออกมาระบุชัดเจนว่า บิทคับให้คะแนนเหรียญตัวเองสูงเกินมาตรฐานแบบไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้เหรียญขาดคุณสมบัติเข้ามาเทรดในกระดานคริปโต ซึ่ง ก... ได้มีคำสั่งให้ บิทคับ ทำการแก้ไข แต่กลับไม่มีการแก้ไขจากบิทคับแต่อย่างใด อีกทั้งยังยืนยันว่าเหรียญ KUB มีมาตรฐานและเหมาะสมเข้ามาเทรดในกระดานตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว

สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการ ก... เมื่อวันที่ 30 มิ.. 65 มีมติสั่งการให้บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากมีการให้คะแนนเหรียญตัวเองสูงกว่ามาตรฐานและไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ขาดคุณสมบัติเข้ามาซื้อขายในกระดานสินทรัพย์ดิจิทัล โดยให้แก้ไขคุณสมบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 .. 65 โดยจะครบกำหนด 30 .. 65

ต่อมาเมื่อวันที่ 25 .. 65 ทาง บิทคับ ได้ทำหนังสือขอขยายระยะเวลาออกไป ซึ่ง ก... ได้ขยายเวลาให้ตามที่ร้องขอ โดยกำหนดให้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาทำการของสำนักงาน ก... ในวันที่ 4 .. 65

แต่เมื่อถึงเส้นตาย ก... ทางบิทคับ กลับโต้แย้งว่า เทคโนโลยีของเหรียญ KUB เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่พร้อมแก่การให้บริการตั้งแต่วันแรกที่มีการออกและเสนอขายให้แก่นักลงทุน ดังนั้น บริษัทฯ จึงเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เหรียญ KUB เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีโครงสร้างเครือข่ายบล็อกเชนที่ได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การท้าทายอำนาจ ... โดยไม่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขคุณสมบัติของเหรียญ KUB ของ บิทคับ ในครั้งนี้ เริ่มมีหลายฝ่ายออกมาประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่เหรียญเจ้าปัญหาตัวนี้ อาจถูก ... สั่งห้ามซื้อขาย หรือถอดถอนออกจากการดานคริปโตได้ ซึ่งหากเกิดเป็นจริงขึ้นมา อาจนำไปสู่ความพังพินาศของใครต่อใครเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายย่อย

นอกจากเรื่องความดันทุรังของบิทคับแล้ว บิทคับเองยังมีปัญหากับ ก... จนนำไปสู่บทลงโทษ ทั้งการตักเตือน และปรับอีกหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระบบ ที่มีนักลงทุนร้องเรียน หรือการรวมหัวกับ Market Maker แทรกแซงราคาเหรียญ จนถูก ก...สั่งปรับไปแล้วหลายครั้ง ซึ่งล้วนแล้วแต่ถูกลดทอนความน่าเชื่อถือจากพันธมิตรลง

SCBX เททำพาร์ตเนอร์ฝันค้าง

ไม่เพียงเท่านี้ พันธมิตร ที่เข้ามาลงทุนเหรียญ KUB เอง นอกจากจะเป็นการเอื้อประโยชน์หรือสนับสนุนทางธุรกิจแล้ว ต่างมุ่งหวังกำไรจากราคาเหรียญที่พุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน แต่กลับตรงกันข้ามตลาดคริปโตเข้าสู่ขาลง จนราคาย่ำแย่ อยู่ที่ปัจจุบันไม่ถึง 100 บาท จากเคยขึ้นไปสูงสุดกว่า 500 บาท ทำให้ความน่าสนใจของ KUB หมดลง

ขณะที่ปัจจัยบวกที่พันธมิตรต่างคาดหวังจะให้เข้ามาช่วยสนับสนุนราคาเหรียญกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง คือ กรณีที่กลุ่มไทยพาณิชย์ ในนามบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ประกาศเข้ามาร่วมทุนซื้อหุ้นในสัดส่วน 51% มูลค่ารวมกว่า 1.78 หมื่นล้าน ซึ่งสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่วงการตลาดคริปโตฯ ในประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะเพียงแค่ประกาศความสนใจก็ทำให้มูลค่าของเหรียญ และมูลค่าองค์กรบิทคับติดจรวดขึ้นไปทันที

ระยะเวลาล่วงเลยนับตั้งแต่ 2 .. 64 รวมระยะเกือบ 9 เดือนแล้วกลับไม่มีวี่แววความคืบหน้าแต่อย่างใด

และดูท่าจะกลายเป็นฝันค้างเสียแล้ว สำหรับกลุ่มบิทคับเมื่อยานแม่เอสซีบีเอกซ์ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 .. 65 ประเด็นสำคัญว่า การตรวจสอบกิจการ หรือดีลดิลิเจนท์ อาจจะเป็นเป็นที่พึงพอใจของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะในส่วนสาระสำคัญที่น่าจะเกิดปัญหา หรือไม่เป็นไปตามที่ต่างฝ่ายต่างคาดหวังไว้ระหว่างกัน รวมทั้งยืนยันถึงนโยบายการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเอสซีบีเอกซ์ จะดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์และข้อกำหนดของ Regulator ที่เกี่ยวข้องก่อนจบอย่างสวยหรูว่า ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างกระบวนการสอบทางธุรกิจ และระหว่างการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง โดยมีการขยายเวลาการเข้าทำธุรกรรมออกไปจากกำหนดการเดิม แบบไม่ขอระบุช่วงเวลาที่ชัดเจน

ประเด็นดังกล่าว ทำให้แวดวงตลาดทุนต่างพากันเชื่อว่า งานนี้ก็คือการบอกเทแบบสุภาพนั่นเอง ขณะที่แวดวงรายย่อยทั้งสายหุ้นและสายเหรียญต่างก็บ่นอุบเพราะโดนแกงนั่นเอง

เมื่อโอกาสจะทำกำไรจากดีล เอสซีบี เอกซ์ มันจบลงไป ความน่าสนใจการลงทุนกับบิทคับทั้งรูปแบบพาร์ตเนอร์ หรือลงทุนในเหรียญมันก็หมดไปโดยปริยาย ไม่แปลกที่พาร์ตเนอร์ธุรกิจที่แห่เข้ามาประกาศร่วมลงทุนในช่วงเวลานั้นจะเริ่มทยอยถอนตัว เพราะโอกาสในการทำกำไรมันจบลงแล้ว ประตูนี้แทบจะปิดไปแล้ว…

จะมีก็แต่คำพูดปลอบประโลมกันเองของนักลงทุนรายย่อยที่ยังเชื่อใจในตัว ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ว่าท้ายสุดดีลจะเกิดขึ้น ราคาเหรียญจะกลับมา แต่ความเจ็บปวดที่ต้องกัดฟันถือเหรียญต่อไปทั้งที่มีแต่โอกาสเป็นขาลงมันเจ็บกว่า ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ความต้องการถือเหรียญนี้ลดลงไปมาก นักลงทุนเข้ามาเพื่อลงทุนเมื่อกำไรไม่เห็น ทุนมีแต่หด ใครล่ะจะยอมขาดทุน ยิ่งบิทคับไม่ยอมแก้ไขคุณสมบัติเหรียญตามคำสั่งก...ที่เป็นผู้ควบคุม ก็เหมือนนักฟุตบอลที่โดนใบเหลืองจากกรรมการไปแล้ว ยังดื้อแพ่งจะทำผิดอีก ก็มีแต่รอใบแดงจากกรรมการเท่านั้น นั่นยิ่งทำให้คุณค่าของเหรียญลดลงไปด้วย เพราะทุกคนก็ต่างกังวลว่าต่อจากนี้ ก...จะมีบทลงโทษ หรือคำสั่งออกมาเช่นไร และเมื่อพิจารณาจากราคาเหรียญในปัจจุบัน พร้อมกับปฏิกิริยาของผู้ก่อตั้ง ก็พอรู้แล้วว่าคงไม่ได้รับคำชื่นชมเป็นแน่ ตอนนี้ยังพอใกล้หลักร้อยหน่อย หลังจากนี้อาจไม่ใช่แล้ว

จับตาพันธมิตรรายอื่นๆ

เป็นที่ทราบกันดีว่านอกจาก PROEN แล้วบิทคับยังมีพันธมิตรหรือพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจอีกมากมายที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ตัดสินใจเข้าไปร่วมลงทุนถือเหรียญ KUB ด้วย โดยปัจจุบันหลายฝ่ายเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นการทยอยถอนตัวเกิดขึ้น

ส่วนพันธมิตรที่น่าสนใจ และเคยเป็นข่าว ได้แก่ บมจ.ทีวี ไดเร็ค หรือ TVD ทำสัญญาซื้อเหรียญ KUB Coin ที่ราคา 104.26 บาท/เหรียญ จำนวน 125,000 เหรียญ ใช้เงินทุนราว 13 ล้านบาท โดยทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงรองรับในระดับ 12% หรือจำนวน 15,000 เหรียญ ราคาซื้อคืนที่ 90 บาท ระยะเวลาสัญญา 1 ปี ซึ่งเหตุการณ์ของ TVD เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับ PROEN ซึ่งในช่วงเวลานั้น ทั้ง 2 บริษัทออกมายืนยันความเป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจที่ได้รับการรับประกันราคาซื้อคืนจากกลุ่มบิทคับที่แตกต่างกันไป และก็นำมาซึ่งระบบ 2 มาตรฐานทางธุรกิจที่รายใหญ่ได้ประโยชน์หรือสิทธิพิเศษมากกว่านักลงทุนรายย่อยซึ่งต้องยอมรับชะตากรรมกับราคาที่ร่วงลงในชีวิตประจำวัน

นอกจากบริษัทจดทะเบียน 2 รายข้างต้นแล้ว ยังมี บจ.อีกหลายแห่งที่ทำสัญญาและร่วมลงทุนกับบิทคับในลักษณะดังกล่าว อาทิ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ลงทุน 225,000 KUB คิดเป็นเงินลงทุน 60.77 ล้านบาท โดยมีการรับประกันราคา (Price Guarantee) ซื้อคืนขั้นต่ำเมื่อครบกำหนด

บริษัท ทีพีซีเอส จำกัด (มหาชน) หรือ TPCS ลงทุน KUB จำนวน 247,106 เหรียญ มูลค่าลงทุน 35 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยเหรียญละ 141 บาท ไม่มีการรับประกันราคาซื้อคืนขั้นต่ำ ขณะที่บริษัทย่อย คือ บริษัท ทีพีซีเอกซ์ จำกัด (TPCX) เข้าลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท จำนวน 62,500 เหรียญ ต้นทุน 312 บาท มีการประกันราคาซื้อคืนขั้นต่ำ

บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO ได้ชี้แจงว่า บริษัทได้ลงนามในข้อตกลง Memorandum of Understanding (MOU) เพื่อเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Node Validator) ในลักษณะ Sharing Node ไม่จำเป็นต้องลงทุนเหรียญ KUB เพิ่มเติม แต่มีเงื่อนไขกำหนดให้ฝาก KUB ที่ได้รับผลตอบแทนจากการเป็น Node Validator ในช่วงปีก่อนหน้านี้ มูลค่า 3.96 ล้านบาท (31 มี..65)

บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SIS ลงทุน 250,000 KUB มูลค่ารวม 67,113,829.80 บาท มีประกันราคาซื้อคืนขั้นต่ำไม่ต่ำกว่าราคาทุน

ส่วนบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC เป็นเพียงผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Node Validator) ด้วยการนำ facilities ที่บริษัทมีอยู่แล้วไปมีส่วนร่วมในการเป็น Node Validator ไม่ได้เข้าลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล มีเพียงเหรียญ KUN ที่ได้รับเป็นค่าธรรมเนียมจากการเป็น Node Validator เท่านั้น

 อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียง บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) (PROEN) หรือ PROEN พันธมิตรของบิทคับแค่เราเดียวที่มองเห็นสัญญาณร้ายบางอย่าง จึงรีบถอยฉากออกมาก่อนที่จะได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ ซึ่งก็ต้องจับตาดูท่าทีของพันธมิตรรายอื่นๆ จะเดินหน้าหรือถอยฉากออกมาเหมือนกับ PROEN หรือไม่?

Source

]]>
1397016