PTT – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 19 Sep 2024 10:01:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สายน้ำแห่งชีวิต ตอน เพราะเรายังมี… https://positioningmag.com/1490968 Fri, 20 Sep 2024 03:04:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1490968

หญิงสาวรุ่นใหม่ที่ตั้งคำถามกับตัวเองตลอดมาว่า… แม่จะทนอยู่กับโลกเก่า ๆ ไปทำไม ทั้ง ๆ ที่เธออยากพาแม่ย้ายถิ่นฐานไปในที่ที่สบายกว่า โมเดิร์นกว่า อะไรที่ผูกพันแม่ไว้กับที่นี่… สถานที่ ผู้คน ชีวิตที่ดี? หรือใครบางคนที่ทำให้มีหวังขึ้น มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันกับเธอ


]]>
1490968
เจาะลึกบทบาท “สถาบันนวัตกรรม ปตท.” ต้นน้ำเทคโนโลยีพลิกตลาดพลังงาน https://positioningmag.com/1401296 Fri, 23 Sep 2022 04:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401296

เจาะลึกบทบาท “สถาบันนวัตกรรม ปตท.” ต้นน้ำแห่งการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรมที่เป็น ‘Game Changer’ ตั้งแต่ยุคน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วจนถึงยุคยานยนต์พลังงานไฟฟ้า

.

ในอนาคต บทบาทของสถาบันนวัตกรรม ปตท. จะพลิกโฉมตลาดพลังงานและต่อยอดถึงธุรกิจอื่นๆ อย่างไร ติดตามได้ที่นี่

.

#สถาบันนวัตกรรมปตท #PTT #พลังงาน #นวัตกรรมไทย


]]>
1401296
เจาะลึกแบรนด์ “moRE” วัสดุหมุนเวียนจาก ปตท. เริ่มต้นจาก “เยื่อกาแฟ” แปรรูปสู่ “เฟอร์นิเจอร์” https://positioningmag.com/1400085 Thu, 15 Sep 2022 04:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400085

ไปคุยกับ “จิระวุฒิ จันเกษม” นักวิจัยอาวุโส สถาบันนวัตกรรม ปตท. ถึงที่มาของการแปรรูป “เยื่อกาแฟ” เปลี่ยนสิ่งที่ไม่มีค่า สู่การเป็นสินค้าที่ขายได้จริง สร้างอนาคตวัสดุหมุนเวียนที่ช่วยลดภาระสิ่งแวดล้อมโลก

 


 

#moRE #WasteIsMore #PTT #เฟอร์นิเจอร์ #เยื่อกาแฟ #วัสดุหมุนเวียน

]]>
1400085
สรุปทิศทาง “ปิโตรเคมี” หลังยุค COVID-19 ปรับตัวอย่างไรท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน https://positioningmag.com/1395014 Thu, 11 Aug 2022 04:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395014

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่โลกเราได้เจอกับสถานการณ์อันเลวร้ายทั้งโรคระบาดไวรัส COVID-19 ยิ่งในปีนี้ได้เจอตัวแปรใหม่ๆ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจไปทั่วโลก ในวันนี้ขอพาไปทำความเข้าใจตลาด “ปิโตรเคมี” หนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นสารตั้งต้นของหลายธุรกิจ

กลุ่มปตท. ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์  2022 PTT Group The Petrochemical Outlook Forumภายใต้หัวข้อ  “Moving forward in the Post-COVID era” ซึ่งเป็นงานสัมมนาประจำปีของกลุ่ม PRISM Petrochemical Market Outlook ของกลุ่ม ปตท. ปีนี้ได้จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13และเป็นปีแรกที่เปิดกว้างให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนเข้าร่วมงานสัมมนาผ่านทาง FacebookLIVE ที่เพจ PRISM เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก และการปรับตัวของธุรกิจปิโตรเคมีหลังสถานการณ์ COVID-19 โดยมุมมองจากนักวิเคราะห์ PRISM กลุ่ม ปตท. และ วิทยากรรับเชิญ

เนื้อหางานสัมมนา 2022 PTT Group The Petrochemical Outlook Forum มีหลากหลายหัวข้อ ประกอบไปด้วยภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ทิศทางของปิโตรเคมีในอนาคต บรรจุภัณฑ์พลาสติกในยุค New Normal และการจัดการพลาสติกให้เหมาะสม


เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จับตาเงินเฟ้อ

มีการประเมินจากหลายสำนักว่าเศรษฐกิจโลกทั้งในปีนี้ และปีหน้ามีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูง และนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจเริ่มเผชิญความเสี่ยงกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อยังสูง หรือ Stagflation มากขึ้น และในกรณีเลวร้ายนั้น เศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ หรือยุโรป ก็มีความเสี่ยงที่เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในช่วงปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567

พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai Global Markets ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อธิบายในหัวข้อนี้ว่า

“เศรษฐกิจตอนนี้ผันผวนเหมือนคลื่นในทะเลรุนแรง ผ่านไปครึ่งปีแนวโน้มตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างแรง เรื่องเงินเฟ้อคิดว่าจะอยู่ในระดับสูง จากการระบาดของไวรัสโอมิครอน แต่ผ่านไปสักพักหนึ่ง เจอภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อสูงไปอีกสักพัก”

หลายสำนักปรับการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลก เมื่อต้นปียังไม่เกิดสงคราม มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ 4% แต่เมื่อเกิดสงคราม หลายประเทศเจอผลกระทบทำให้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกไม่ถึง 3% สหรัฐฯ อาจจะเติบโตไม่ถึง 2% ส่วนในประเทศจีนเจอการระบาดของ COVID-19 มีการล็อกดาวน์ ไม่อาจโตได้สูงตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้

เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบหนักจากภาวะสงคราม อาจจะโตได้ 3% ในปีนี้ แต่ยังมีความหวังที่จะเติบโตได้จากภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติพร้อมกลับมาไทยมากขึ้น อาจจะสูงถึง 6 ล้านคนในปีนี้ ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ช่วยให้ค่าเงินบาทมาแข็งค่าช่วงปลายปี

ส่วนเงินเฟ้อในไทยสูงไม่แพ้สหรัฐฯและยุโรป แบงค์ชาติมองว่าจะลงได้ต้องรอผ่านไตรมาส 3 การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเป็นวงกว้าง


โลกปิโตรเคมีแห่งอนาคต

โลกปิโตรเคมีในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไป ความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ระบบขนส่ง และห่วงโซ่อุปทานที่เปลี่ยนไป อันนำไปสู่การปรับตัวของโลกยุคใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบอุตสาหกรรมจึงต้องมีการปรับตัวในทิศทางใหม่ พร้อมเปลี่ยนถ่ายสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่กำลังมาถึงเร็วๆนี้

เดชาธร ฐิสิฐสกร Marketing Strategy and Data Science บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“สิ่งของต่างๆ รอบตัวล้วนมีพื้นฐานจากปิโตรเคมีทั้งสิ้น เป็นตัวป้อนวัตถุดิบแก่การผลิตบรรจุภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโดนท้าทายจาก 2 ปัจจัยหลัก เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี แต่ในโลกวันนี้มีหลายปัจจัยมากขึ้น ในปี 2022 มีทั้งเรื่องโรคระบาด ราคาน้ำมัน อากาศที่เปลี่ยนไป การขนส่ง สงคราม ส่งผลกระทบต่อปิโตรเคมีโดยตรง ในส่วนของสงครามก็ส่งผลกระทบ การเกิดใหม่ของขั้วอำนาจฝั่งตะวันออก ตะวันตก ทำให้เกิดการแข่งขันด้านเทคโนโลยี การพัฒนาทางการทหาร การเกิดชนวนสงคราม ส่งผลกระทบต่อซัพพายเชน”

ปี 2021 ประเทศไทยมีการใช้พลาสติกจำนวน 4.968 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 746,431 ล้านบาท โดยที่ 4 อุตสาหกรรมหลักที่กินสัดส่วน 80% ของทั้งตลาด ได้แก่แพ็คเกจจิ้ง 41% เครื่องใช้ไฟฟ้า 16% ก่อสร้าง 15% และรถยนต์ 6%

ในช่วงหลังโรคระบาด COVID-19 โลกมีการเปลี่ยนแปลงมีการใช้ฟู้ดเดลิเวอรี่ การทำงานที่บ้าน ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น การพัฒนา 5G หรือมิติสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปก็มีส่วน ปิโตรเคมีก็ต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เช่นกัน

สำหรับโลกใหม่ของปิโตรเคมี มีปัจจัยหลัก 2 ส่วน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม และธุรกิจใหม่ ในส่วนของสิ่งแวดล้อม การเติบโตของประชากรโลก ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด จึงเกิด Post Consumer Recycled (PCR) Resin มีการรีไซเคิลเม็ดพลาสติกใหม่ กลายเป็นเทรนด์ของโลกที่เริ่มมีการผลิตบรรจุภัณฑ์ครื่องสำอาง เริ่มเห็นโรดแมปในกลุ่มสหรัฐฯ ยุโรป และจีน ประกาศใช้พลาสติกรีไซเคิลในอุตสาหกรรมต่างๆ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2040 เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจะมีการเติบโต 9%

ปัจจัยที่ 2 ธุรกิจใหม่ ที่จะสร้าง New S-Curve เป็นในเรื่องของเทคโนโลยี AI, IoT รวมไปถึงการมาของ EV ที่จะมาดิสรัปต์ธุรกิจเดิม ในไทยมีโรดแมปเข้าสู่ EV ชัดเจน 10 ปีข้างหน้า มีการวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งสร้างจุดชาร์จไฟฟ้า ศูนย์พัฒนาแบตเตอรี่ และฮับการผลิตรถยนต์ กลไกของราคาแบตเตอรี่ถูกลงเรื่อยๆ

หรืออย่างเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ก็มีการใช้พลาสติกในการผลิต ทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการก็เริ่มมีการใช้หุ่นยนต์มากขึ้น เข้าสู่ยุคที่มนุษย์กับหุ่นยนต์ทำงานร่วมกัน

ใช้พลาสติกในยุค New Normal อย่างยั่งยืน

หลังเข้าสู่ยุค New Normal โลกกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอีกครั้ง ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ต่างก็ต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็น การผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล, การออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย ถ้าผู้ใช้พลาสติกรู้จักวิธีจัดการให้เหมาะสม และยังสามารถมีส่วนร่วมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ เพียงแค่รู้จัก Reuse นำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ, ช่วยกันแยกขยะอย่างถูกวิธี และนำไป Recycle และ Upcycle ต่อไป

ธีรัช ศฤงคารินทร์ Marketing Analyst บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“หลังจากโลกเข้าสู่ยุค New Normal โลกให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม หลายคนตั้งคำถามถึงพลาสติกบนเส้นทางความยั่งยืน ว่าจะช่วยโลกได้อย่างไรได้บ้าง อุตสาหกรรมแพ็คเกจจิ้งใช้พลาสติกเยอะมาก ถ้าต้องการลดขยะต้องผลักดันให้มีการรีไซเคิลมากขึ้น เม็ดพลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิล เรียกว่า PCR (Post Consumer Recycled material/Post Consumer Resin) สำหรับประเภทที่นิยมมารีไซเคิล ได้แก่ PET, PP และ HDPE ประโยชน์ของการรีไซเคิล คือ ลดขยะ ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ โดยในปีที่ผ่านมามีความต้องการใช้พลาสติกรีไซเคิลมากกว่า 7 ล้านตัน และคาดว่าจะโตขึ้นไปเป็น 12 ล้านตัน ในปี 2026”

การใช้พลาสติกในไทย 40% เป็นรูปแบบ PE โดยที่ 41% นำไปใช้ทำแพ็คเกจจิ้ง 16% ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 15% วัสดุก่อสร้าง 6% อะไหล่รถยนต์ 6% เส้นใย 2% อุปกรณ์ทางการแพทย์ และ 14% อื่นๆ

เมื่อมีความต้องการรีไซเคิลมากขึ้น ก็มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้ง จากเดิมใช้แก้ว เปลี่ยนเป็นพลาสติก ที่เราเห็นในปัจจุบันเป็น Multi-Layer Film คือฟิล์มหลายเลเยอร์มาประกบกัน แต่ทำให้มีการรีไซเคิลยาก เลยปรับปรุงการออกแบบเป็น Mono Material ใช้วัสดุชนิดเดียว เพื่อทำให้รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น เช่น ถุงขนมที่ผลิตด้วยพลาสติก 3 เลเยอร์ ถ้าเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาใช้วัสดุชนิดเดียวก็จะทำให้รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ซึ่งเริ่มมีผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยีแบบนี้แล้วเช่น ผู้ผลิตน้ำผลไม้ในอังกฤษ ใช้ขวดพลาสติก PET รีไซเคิล 100% ส่วนเนสท์เล่ผลิตซองบรรจุกาแฟที่รีไซเคิลได้

องค์กรให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่นกัน มีการตั้งเป้าหมายในเรื่องความยั่งยืน อย่างเช่น เป๊ปซี่โค ยุโรป ตั้งเป้าว่าในปี 2023 จะไม่ใช้พลาสติกจากฟอสซิลมาผลิตถุงขนมแล้ว ส่วน P&G ตั้งเป้าภายในปี 2030 จะลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ให้ได้ 50% เนสท์เล่ก็ตั้งเป้าที่จะลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ลงภายในปี 2025


พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย ต้องอยู่กันอย่างเป็นมิตร

นิรมล วุฒิพฤกษ์ Manager, Business Planning and Risk Management บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด ให้ข้อมูลว่า

“พลาสติกมีประโยชน์มากมาย ช่วยชีวิตมนุษย์ได้ สามารถใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีอายุยืนนาน มีราคาเอื้อมถึง น้ำหนักเบา ลดการใช้น้ำมันในการขนส่งได้ ปัจจุบันเราเห็นพลาสติก PP อยู่รอบตัวมากมาย ตั้งแต่ของใช้ส่วนบุคคล ของใช้ทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย กล่องอาหาร กล่องข้าว ฝาขวด เก้าอี้ พลาสติกจึงไม่ใช่ผู้ร้าย สามารถรีไซเคิลได้ ต้องรู้จักวิธีจัดการที่ถูกต้อง”

ปัจจุบันกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก มี 2 วิธี

  1. Mechanical Recycling บดอัด ล้างทำความสะอาด และทำเม็ดพลาสติกขึ้นมาใหม่

2.Chemical Recycling นำพลาสติกมาผ่านกระบวนการทางเคมี มีราคาแพง แต่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการใช้พลาสติกอย่างรู้คุณค่า

ผลกระทบจากโรคระบาด ทำให้เราได้เห็นความต้องการใช้พลาสติกมากยิ่งขึ้น ชุด PPE ก็ทำมาจากพลาสติก PP ขวดน้ำเกลือ กล่องอาหาร หรืออุปกรณ์สำหรับทำงานที่บ้านก็เช่นกัน ดีมานด์ของพลาสติก PP หลัง COVID-19 ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป บรรจุภัณฑ์อาหารต้องการความสะอาด รีไซเคิลได้ ด้านสุขอนามัยก็มีความเปลี่ยนแปลง ยังต้องใช้หน้ากากอนามัย และชุด PPE รวมไปถึงสังคมสูงวัย ต้องมีสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้สูงอายุ เช่น ผ้าอ้อม แผ่นรองซับ รวมถึง รถ EV ที่ต้องการน้ำหนักเบา พลาสติกหลายชนิดเข้ามาเป็นส่วนประกอบ รวมถึงแบตเตอรี่ของรถ EV ก็ล้วนประกอบมาจากพลาสติกเช่นกัน


ต้องปรับตัวอย่างยั่งยืน

ปิดท้ายที่ สิรวิชญ์ สมรัตนกุล นักวิเคราะห์การพาณิชย์ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“แนวทางการปรับตัว และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพลาสติกหลังสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงนโยบาย และแผนงานด้านความยั่งยืนของทุกภาคส่วน จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจในอนาคตทั้งในระดับประเทศ ระดับหน่วยงาน องค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างโลกที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น”

จะเห็นได้ว่าปิโตรเคมีล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก บางทีเราอาจจะไม่รู้ตัว แต่หลายๆ สิ่งได้เกิดขึ้นจากปิโตรเคมีทั้งสิ้น ทิศทางต่อไปในอนาคตเราคงได้เห็นปิโตรเคมีแบบยั่งยืนมากขึ้น มีนวัตกรรมที่ทำให้เรามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย

]]>
1395014
บุกร้าน “alt.Eatery” คอมมูนิตี้จุดกระแส “Plant-based” แห่งแรกในไทย https://positioningmag.com/1387150 Wed, 01 Jun 2022 04:10:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387150

บุกร้าน “alt.Eatery” ศูนย์รวมอาหารเครื่องดื่มที่ทำจาก Plant-based ซ.สุขุมวิท 51 ราคาจานหลักเริ่มต้นเพียง 99 บาท เพื่อจุดกระแสความสนใจให้คนไทยเปิดใจลองชิมอาหารทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

alt.Eatery เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ NRPT (บริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด ในเครือ NRF และ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ในเครือ ปตท.) และบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมสนับสนุนด้วยวิสัยทัศน์ร่วมกันที่เห็นว่า Plant-based คืออนาคตของโลก

#altEatery #PlantBased #มังสวิรัติ #NRPT #Sansiri


]]>
1387150
ส่งต่อกำลังใจสู้วิกฤตผ่านเพลง ‘ลมหายใจเดียวกัน’ ในวันที่คนไทยต้องอยู่ร่วมกับโควิด https://positioningmag.com/1381202 Tue, 12 Apr 2022 04:00:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381202

เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่ประเทศไทยเผชิญหน้ากับการระบาดของไวรัส COVID19 ซึ่งถือเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ แต่ทุกครั้งที่ประเทศต้องเผชิญหน้ากับวิกฤต สิ่งที่จะเห็นตามมาคือ ความร่วมแรงร่วมใจ ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในประเทศ รวมถึงกำลังใจดี ๆ ที่มีให้กันเพื่อให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้เหมือนทุก ๆ ครั้ง

เพื่อสะท้อนถึงภาพวิกฤตและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พร้อมทั้งเติมพลังใจให้กับคนไทยอย่ายอมแพ้กับวิกฤตที่ยังคงอยู่ กลุ่ม ปตท. ได้จัดทำ MV เพลง ลมหายใจเดียวกัน ที่อยู่ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน โครงการที่ ปตท. ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือพี่น้องประชาชนคนไทยในช่วงที่การระบาดยังไม่หายไปไหนและมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด-19 สร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน ไปจนกว่าสถานการณ์โรคระบาดจะคลี่คลาย

สำหรับ MV เพลง ลมหายใจเดียวกัน ได้บอกเล่าถึงการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ช่วงแรกที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดและสิ้นหวัง แต่ภายใต้บรรยากาศที่มืดหม่นก็ยังมีเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ตลอดจนบุคคลทั่วไป ที่ต่างทำอย่างเต็มความสามารถเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตให้เบาบางลง นอกจากนี้ MV ยังแสดงถึงพลังและหัวใจของคนไทยที่ไม่ยอมแพ้ และจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เปรียบเสมือนกับ คนในครอบครัวเดียวกัน พร้อมทั้งสื่อถึงความหวัง และอย่าเพิ่งยอมแพ้ เหมือนกับท่อนหนึ่งของเพลงที่ว่า

“ด้วยพลังไทยที่เรารัก เพื่อประเทศไทยที่เป็นเหมือนบ้านของเธอและฉัน จะไม่ยอมเดินกลับหลังจะไม่ยอมหมดความหวังจะก้าวต่อไป ด้วยลมหายใจเดียวกัน”

แม้วันนี้การระบาดของ COVID-19 จะยังไม่หายไป แต่เชื่อว่าคนไทยยังมีกำลังที่จะสู้ต่อไป ไม่ว่าจากนี้วิกฤตจะยังหนักหนาแค่ไหน ไม่ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าคนไทยพร้อมที่จะร่วมกันฝ่าฟัน พร้อมที่จะก้าวข้ามทุกวิกฤต ดั่งแนวคิดที่ว่า “คนไทยทุกคนล้วนมีลมหายใจเดียวกัน”

]]>
1381202
รู้จัก EVme แพลตฟอร์ม ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ครบวงจร เปิดโอกาสให้ได้ลอง พลังงานเเห่งอนาคตที่เข้าถึงได้ https://positioningmag.com/1366942 Thu, 16 Dec 2021 04:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366942

การมาของ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อเทรนด์โลกกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคพลังงานแห่งอนาคต หรือ Future Energy  ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น บริษัทต่างๆ เริ่มคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน รัฐบาลของหลายประเทศตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในประเทศไทย ก็มีการตื่นตัวในเรื่องนี้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ที่มีจำนวนผู้จดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) คันใหม่ เพิ่มขึ้นถึง 72% ค่ายรถยนต์พาเหรดทำการตลาด ภาครัฐออกนโยบายดึงดูดผู้ใช้ เหล่าธุรกิจพลังงานเดินหน้าขยายสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโต

ท่ามกลางความเคลื่อนไหวที่น่าตื่นเต้นนี้ เราได้เห็นเเววรุ่งของเเพลตฟอร์มน้องใหม่อย่าง EVme’ (อีวี มี) ที่เปิดตัวด้วยการเป็นผู้ให้บริการรถยนต์ไฟฟ้าเเบบ ครบวงจรรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ณ ขณะนี้

ความน่าสนใจของ EVme จุดเด่นของบริการ กลยุทธ์ที่จะมาเจาะตลาด เเละทิศทางของธุรกิจจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารู้จัก  EVme ให้มากขึ้นกัน


เป้าหมาย ‘พลังงานเเห่งอนาคต’ ที่เข้าถึงทุกคน

หลังจากโลดเเล่นในวงการเทคโนโลยีระดับโลกมายาวนาน ‘ทอม- สุวิชชา สุดใจ คว้าโอกาสท้าทายตัวเองอีกครั้ง ด้วยการมาทำหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด (EVME PLUS) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

จากประสบการณ์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกเเบบโครงสร้าง วางเเผนกลยุทธ์เเละบริหารจัดการผลิตภัณฑ์กับ Accenture เเละ IBM ในหลายประเทศทั้งในสหรัฐฯ เเละเอเชียเเปซิฟิก ขยับมาสายการเงินเป็นผู้บริหารระดับสูงในธนาคารอย่าง SCB เเละ KTB อยู่ในวงการฟินเทคเเละบล็อกเชน เเละก้าวสำคัญสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า

เขายอมรับว่า งานนี้ ‘ไม่ง่าย’ มีความท้าทายสูง เเต่ก็มีความสนุกเเละเเรงผลักดันของการเป็นผู้บุกเบิกตลาด โดยทุกธุรกิจที่ได้ทำมาหลายอย่างนั้น สามารถนำมาต่อยอดเเละเชื่อมโยงกันได้เสมอ

“ผมหลงรักในโลกเทคโนโลยี เเละอยากพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในเมืองไทย ให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น”

ความตั้งใจนี้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกลุ่ม ปตท. ที่มีการปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยการเดินหน้าพัฒนาธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต และ New S-curve

หนึ่งในพลังงานเเห่งอนาคตที่ กลุ่ม ปตท. เร่งดำเนินการ คือ การเดินหน้าลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าตลอดทั้ง Value Chain ทั้งการผลิตเเบตเตอรี่ ประกอบยานยนต์ ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า-สลับเเบตเตอรี่ เเละบริการด้านยานยนต์ไฟฟ้าเเบบครบวงจรอย่าง  EVme

กลุ่ม ปตท. มองว่า การเข้ามาต่อยอดธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้านั้น จะช่วยส่งเสริมและสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ ให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เเละจะส่งผลที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมของโลกมากขึ้น


EVme เปิดโอกาส ‘ให้ได้ลอง’ 

EVme  ดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านการให้บริการด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม เช่น บริการให้เช่ายานยนต์ไฟฟ้าในรูปแบบ B2B และ B2C บริการข้อมูลเกี่ยวกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าและสถานีซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้าผ่านเเอปพลิเคชัน EVme พร้อมๆ กับการหาโอกาสในผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

“EVme วางโพสิชันเป็นเพื่อนคู่คิด เป็นที่ปรึกษาด้าน EV ทั้งเรื่องตัวรถ การชาร์จเเละการดูแลรักษา ให้กับผู้บริโภค เราเป็น Multi-brand platform ที่จะให้ข้อมูลอย่างเป็นกลางและเป็นธรรม ให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการรถ EV หลากหลายรุ่นตามความชื่นชอบ รวมทั้งสามารถซื้อได้ในราคาพิเศษ ทําให้คุณเป็นเจ้าของรถ EV ได้ง่าย และตรงใจมากยิ่งขึ้น”

คุณสุวิชชา มองว่า เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า จะเข้ามาเปลี่ยนลักษณะการเดินทางเเละพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภค

โดยสิ่งที่จะช่วยทำให้ผู้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานเเล้ว  ขั้นเเรกที่ต้องก้าวผ่านคือ ความกลัว‘  ซึ่ง EVme จะเข้ามาช่วยสร้างประสบการณ์ในจุดนี้ โดยการเปิดโอกาส ให้ได้เห็น ได้ใช้ ได้ลองขับก่อน

“เราเชื่อว่าตลาดจะโตมากขึ้น เมื่อคนไทยได้ลองใช้รถยนต์ไฟฟ้าจริงๆ เราต้องการเป็นเเพลตฟอร์ม EV Lifestyle ที่ทุกคนคิดถึง สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชาร์จ ได้ลองขับรถหลายรุ่น จากที่บ้านไปที่ทำงาน หรือขับไปเที่ยวต่างจังหวัด ซึ่งหากใครกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า อยากศึกษา อยากรู้จักอยากทดลอง แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี  อยากให้ลองมาทําความรู้จักกับ EVme ซึ่งจะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงต้นปี 2565 นี้”


ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ทำให้การใช้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นเรื่องง่าย

ปัจจุบัน EVme นำร่องให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ดาวน์โหลดได้ทันทีทาง AppStore และ Google Play โดยบนเเพลตฟอร์มจะมีรายละเอียดรถ EV หลากหลายค่าย หลากหลายรุ่นทั้ง sedan, hatchback, SUV จากฝั่งจีน ญีปุ่น เกาหลี หรือโซนยุโรปเเละอเมริกา เพื่อตอบโจทย์ทุกการใช้งานของลูกค้า เหมาะสําหรับทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นนั่งคนเดียว ออกทริป รถครอบครัว หรือรถหรูในโอกาสพิเศษ

สำหรับระยะเวลาการเช่าใช้งาน จะเริ่มต้นตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป หรือถ้าใครอยากใช้ยาวๆ เป็นรถคู่ใจประจําบ้านก็สามารถเลือกโปรเเกรม subscribe เป็นรายปีได้ด้วยเช่นกัน ในราคาเริ่มต้นไม่ถึง 4,000 บาท ซึ่งราคานี้จะรวมพรบ. ประกันภัยชั้น 1 ค่าซ่อมบํารุง พร้อม call center 24 ชม. คอยให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน เเละรถยก รถแบตเตอรี่ที่พร้อมให้บริการทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมเชื่อมต่อเเละสามารถค้นหาจุดชาร์จตามสถานที่ต่างๆ บนเเอปพลิเคชัน

EVme กำลังเดินหน้าหารือกับพาร์ทเนอร์ในหลายธุรกิจ เพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการบริการต่างๆ ของ Ecosystem ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้า หรือการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า เช่นการขอสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

“การเเข่งขันในตลาดจะมักมุ่งไปที่วิธีการให้เช่า เเต่เราต้องการนำเสนอสิ่งที่เเตกต่างจากรถยนต์สันดาปด้วย ตอนนี้เราเป็นเจ้าเดียวที่มุ่งเน้นการให้พลังงานสะอาดอย่างเเท้จริง โดยจะให้บริการ Carbon credit ทำให้ลูกค้าเห็นได้ว่าสิ่งที่เขาใช้ สิ่งที่เขาชาร์จนั้นเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีบริการในลักษณะนี้อย่างเต็มรูปแบบเหมือน EVme”


ขับเคลื่อนประเทศสู่  Low Carbon Society

เมื่อถามถึงเเนวทางการบริหารงานของ EVme  คุณสุวิชชาบอกว่า หัวใจสำคัญคือ ‘ Agile’ การทำงานที่รวดเร็ว ตอบสนองกับลูกค้าได้ดี นำความเห็นจากลูกค้ามาปรับเปลี่ยนเเละปรับปรุงเพื่อนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ตอบโจทย์การให้บริการที่เข้าถึงได้มากขึ้น สร้างสรรค์ฟีเจอร์ใหม่ๆ อยู่เสมอ

เเม้จะเริ่มจากทีมเล็กๆ ตามสไตล์สตาร์ทอัพ เเต่ด้วยความที่มีองค์กรใหญ่อย่าง ปตท. ให้การสนับสนุนก็มีส่วนช่วยให้ทีมสามารถดึงคนเก่งๆ ที่มีความสามารถมาร่วมงานได้อย่างต่อเนื่อง จากความน่าเชื่อถือเเละความมั่นคงด้านเงินทุน บวกกับการที่ยังเป็น business model ที่ใหม่มากในตลาดไทย

” EVme จะทําให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Society ทําให้ทุกคนเป็นเจ้าของรถได้ง่ายขึ้น รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นเรื่องทีทุกคนเข้าถึงได้ในชีวิตประจําวันเเละจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป”

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ evme.io  เเละ  Facebook : EVme

]]>
1366942
รู้จักโซลาร์เซลล์ 3 ชนิด ข้อดี-ข้อด้อยคืออะไร? และทำไมยุคนี้โซลาร์ฟาร์มมักลอยอยู่ในน้ำ? https://positioningmag.com/1320970 Tue, 02 Mar 2021 04:00:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320970

ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการใช้ “พลังงานหมุนเวียน” แทนฟอสซิล เพราะเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและยั่งยืนกว่าในการผลิต โดยมี “พลังงานแสงอาทิตย์” เป็นหนึ่งในประเภทพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับความนิยม ในอนาคตเราจะได้เห็นแผง “โซลาร์เซลล์” อยู่รอบตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่กลางที่โล่งกว้าง บนผืนน้ำ ไปจนถึงบนหลังคาบ้าน

เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่นิยม แผงโซลาร์เซลล์ก็ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและมีตัวเลือกหลากหลายขึ้น โซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นจากธาตุซิลิคอนซึ่งมักจะพบในทราย ส่วนแหล่งผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ ประเทศจีนนี่เอง

แม้แผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะผลิตจากธาตุซิลิคอนเหมือนกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างในรายละเอียด ปกติโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิดและมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน ดังนี้

1. “โมโน” – แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Cells)

แผงโมโนเป็นชนิดที่ดีที่สุดในท้องตลาด สามารถสังเกตหน้าตาได้จากลักษณะจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมตัดมุมเรียงต่อกัน ทำให้ดูเหมือนมีจุดขาวๆ อยู่ตลอดทั้งแผง

แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้ผลิตจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เพราะใช้ซิลิคอนชิ้นเดียวในการผลิตเซลล์แต่ละชิ้น ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงตามไปด้วยโดยอยู่ที่ 17-20% และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด สามารถใช้ได้นานมากกว่า 25 ปี

แต่ข้อเสียที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่ดีก็คือ “ราคา” จะสูงตามไปด้วย รวมถึงเป็นชนิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าในการผลิต เพราะการใช้ซิลิคอนชิ้นเดียว ทำให้ต้องมีการตัดซิลิคอนให้ได้รูป และจะมีซิลิคอนเหลือเป็นขยะระหว่างกระบวนการผลิต

ทั้งนี้ เนื่องจากราคาที่สูงทำให้การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น แผงโซลาร์เซลล์แบบพกพา กระเป๋าโซลาร์เซลล์ แต่ประเทศแถบยุโรปมีการใช้แผงแบบโมโนในการตั้งโซลาร์ฟาร์มเช่นกัน

2. “โพลี” – แผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Cells)

แผงโพลีมีคุณภาพรองลงมาจากแผงโมโน หน้าตาของแผงแบบนี้จะดูเหมือนตารางสี่เหลี่ยม โดยบริเวณเหลี่ยมจะไม่มีการตัดมุมเหมือนแผงโมโน

การผลิตแผงโพลีจะใช้ซิลิคอนอัดรวมกันเป็นแผง ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 15-19% เห็นได้ว่าประสิทธิภาพแตกต่างกับแผงโมโนไม่มากนัก แถมยังมีราคาถูกกว่า และลดการทิ้งขยะเศษเหลือของซิลิคอนระหว่างผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อายุการใช้งานก็ยาวนานไม่แพ้กันนัก โดยใช้ได้นานประมาณ 20 ปี

แผงโพลียังมีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี ทำให้เป็นชนิดโซลาร์เซลล์ที่นิยมมากในโซลาร์ฟาร์มเขตเมืองร้อนรวมถึงประเทศไทยด้วย

3. “อมอร์ฟัส” – แผงโซลาร์เซลล์แบบอมอร์ฟัส (Amorphous Solar Cells)

แผงแบบอมอร์ฟัสนั้นเป็นประเภทที่ไม่ได้ใช้ซิลิคอนผลิต แต่เป็นการใช้ Thin Film Technology เคลือบ “สาร” ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ไว้บนแผงที่ทำมาจากแก้วหรือพลาสติก หน้าตาของแผงจะมีลายเส้นตรงถี่ๆ เรียงต่อกัน ไม่ได้เป็นตารางเหมือนอีกสองชนิดข้างต้น

ข้อดีของแผงแบบนี้คือราคาถูกที่สุด และสามารถทำงานได้แม้จะอยู่ในที่แสงน้อย รวมถึงการเคลือบสารบนพลาสติกได้ ทำให้ถูกนำไปปรับใช้กับพื้นที่ที่มีความโค้งมน เช่น ติดตั้งบนพื้นผิวของยานพาหนะ แน่นอนว่าเป็นสารเคลือบ ไม่ใช่ซิลิคอน ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงอมอร์ฟัสจะไม่สูงนัก และอายุการใช้งานสั้นประมาณ 5 ปีเท่านั้น

ปัจจุบันแผงแบบอมอร์ฟัสมักจะใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ต้องการไฟฟ้าต่ำ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา

โซลาร์ฟาร์ม “ลอยน้ำ” กำลังมาแรง

ดังที่กล่าวไปว่าทั่วโลกให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้นมาก จนหลายประเทศตั้งเป้าให้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งไฟฟ้าหลักแล้ว มิใช่เป็นเพียงแหล่งพลังงานเสริมเท่านั้น

นอกจากนี้ ในหลายประเทศมีการตั้งโซลาร์ฟาร์มเพื่อผลิตพลังงาน และหนึ่งในการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มที่นิยมกันคือแบบ “ลอยน้ำ” เพราะมีข้อดีที่เหนือกว่าการติดตั้งบนบกคือ ลดการใช้พื้นที่ดินที่สามารถนำไปทำประโยชน์อื่นได้ และลดการถางป่าหรือโยกย้ายบ้านเรือนประชาชนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว รวมถึงการลอยในน้ำยังมีผลดีกับตัวแผงโซลาร์เซลล์ด้วยเพราะช่วยลดโอกาสเกิดความร้อนเกินขีดจำกัดของแผง

โดยแผงโซลาร์ลอยน้ำสามารถติดตั้งได้ทั้งในอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ทะเล ฯลฯ หรือกรณีตัวอย่างในประเทศจีน มีการใช้เหมืองเก่าเมืองหวยหนาน มณฑลอันฮุย ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้วและมีน้ำท่วมขัง นำพื้นที่มาติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำแทน ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาอีกครั้ง

เมืองไทยก็มีแล้ว! โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเล กลุ่ม ปตท.

ไม่เฉพาะต่างประเทศที่พัฒนาโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ในประเทศไทยก็มีการพัฒนาแล้วเช่นกัน โดย กลุ่ม ปตท. เพิ่งเปิดตัว “โครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล” (Floating Solar on Sea) ไปเมื่อปี 2563 โดยโครงการนี้ตั้งอยู่ที่ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง และถือเป็นโครงการโซลาร์ลอยน้ำทะเลแห่งแรกของประเทศไทย

โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเลโครงการนำร่องนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100 กิโลวัตต์ และเป็นโครงการที่เกิดจากการนำความเชี่ยวชาญหลายแขนงของบริษัทในกลุ่ม ปตท. มาร่วมมือกันผลิตแผงโซลาร์ลอยน้ำ โดยให้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เป็นผู้พัฒนานวัตกรรมเมล็ดพลาสติกเกรดพิเศษ InnoPlus HD8200B เพื่อผลิตทุ่นลอยน้ำ โดยมีการเพิ่มสารต้านการยึดเกาะและลดการสะสมของเพรียงทะเล ซึ่งมีความปลอดภัยเพราะเป็นวัสดุที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานการสัมผัสอาหาร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ทะเล รวมทั้งทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งด้วยสารเติมแต่งที่ป้องกันรังสี UV ทำให้มีอายุการใช้งานนาน 25 ปี ส่วนการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด (CHPP) ในเครือ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ความท้าทายของโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเล คือต้องมีความทนทานต่อรังสี UV ความชื้น และความเค็มในทะเล สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มีคุณภาพ เป็นมิตรกับสัตว์น้ำ การติดตั้งต้องคำนึงถึงการขึ้นลงของน้ำทะเลและคลื่นลม ซึ่งก่อนจะติดตั้งโครงการ ปตท. ได้พัฒนาจนผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้ว

นับจากนี้ ปตท. จะมีการนำไฟฟ้าใช้ในกลุ่มบริษัทเพื่อศึกษาข้อมูลการใช้งาน โดยมุ่งหวังยกระดับให้เป็นธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ (New Energy Business) ของกลุ่ม เพื่อสร้างแหล่งพลังงานใหม่ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโลกใบนี้

]]>
1320970
ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์กับ “Nong Pim” นวัตกรรมอุปกรณ์ตรวจวัดจาก ปตท. https://positioningmag.com/1312331 Thu, 07 Jan 2021 04:00:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312331

ฝุ่น PM 2.5 กลับมาอีกครั้งในช่วงหน้าหนาว และอาจจะเป็นเช่นนี้ไปอีกนานหากไม่มีการตระหนักรู้ถึงปัญหา ทำให้สถาบันนวัตกรรม ปตท. วิจัยและพัฒนา “Nong Pim” อุปกรณ์ตรวจวัด “ค่าฝุ่น PM 2.5” ที่สามารถวัดค่าและส่งข้อมูลแสดงผลออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์ หลังทดลองใช้ภายในองค์กรกว่า 1 ปี ขณะนี้พร้อมแล้วที่จะเปิดบริการติดตั้งและสร้างโซลูชันให้องค์กรอื่นที่สนใจ

ฤดูหนาวในช่วง 2-3 ปีหลังของประเทศไทยไม่ได้มีเฉพาะลมหนาว แต่ยังมี “ฝุ่น PM 2.5” ตามมาสร้างความเจ็บป่วยต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก ไร้กลิ่น ทำให้หลายคนไม่รู้สึกถึงความอันตราย จนกว่าจะได้เห็นตัวเลขบนเครื่องวัดค่าฝุ่นจึงจะตระหนักรู้ได้ว่าฝุ่นอยู่รอบตัวเราจริงๆ

ความอันตรายของฝุ่น PM 2.5 คือการเป็นฝุ่นที่เล็กถึง 2.5 ไมครอน เป็นขนาดที่สามารถเล็ดรอดสู่เส้นเลือดฝอย กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ผลกระทบระยะสั้นคือทำให้แสบตา ผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้กำเริบ บางรายอาจมีไข้ ตัวร้อน ส่วนผลระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด จนถึงมะเร็งปอดได้

จากความร้ายแรงเหล่านี้ทำให้การรู้ค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นเรื่องสำคัญ “เกียรติสกุล วัชรินทร์ยานนท์” และ “ศิระ นิธิยานนทกิจ” สองนักวิจัย ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีพลังงานใหม่ สถาบันนวัตกรรม ปตท. เล่าถึงที่มาของการวิจัยพัฒนา “Nong Pim” ว่า โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อเดือนกันยายน 2562 เนื่องจากที่ตั้งของสถาบันนวัตกรรม ปตท. ซึ่งอยู่ใน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่มีเครื่องวัดค่าฝุ่นในบริเวณใกล้เคียงเลย จุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไปถึง 20 กิโลเมตร ทางสถาบันฯ จึงมองว่าควรจะพัฒนาเครื่องมือวัดค่าฝุ่นของตนเองขึ้น เพื่อให้ทราบค่าฝุ่นในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ จึงเกิดเป็นอุปกรณ์  Nong Pim

เกียรติสกุลกล่าวว่า ความแตกต่างของ Nong Pim จากอุปกรณ์วัดค่าฝุ่นอื่นที่มีในตลาด คือ Nong Pim เป็นอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เมื่อติดตั้งแล้วสามารถวัดค่าได้ทุกๆ 10 นาที และส่งสัญญาณข้อมูลแบบออนไลน์ขึ้นสู่ระบบคลาวด์ แสดงผลบนแพลตฟอร์มเว็บไซต์ ทำให้ไม่ต้องใช้คนในการถือเครื่องแบบออฟไลน์เข้าตรวจวัดตามจุดต่างๆ

หลังจากที่สถาบันนวัตกรรมใช้งานไประยะหนึ่ง และปรับปรุงจนใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Nong Pim จึงเริ่มถูกนำไปติดตั้งในหน่วยงานอื่นของเครือ ปตท. เช่น สำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดี-รังสิต พบว่า อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาของหน่วยงานได้ เนื่องจากเดิมหน่วยงานจะต้องอาศัยพนักงานรักษาความปลอดภัยเดินถือเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ตามห้องต่างๆ วันละ 3 ครั้ง ซึ่งเสียเวลาและเสียกำลังคนที่ควรได้ทำงานหลักของตนเอง ดังนั้น เมื่อมีเครื่องตรวจวัดอัตโนมัติทำให้แบ่งเบาภาระส่วนนี้ไปได้

“ประโยชน์ของการรู้ค่าฝุ่น PM 2.5 คือทำให้เราสามารถสร้าง Smart Environment ได้ หากค่าฝุ่นสูงเกินระดับปกติ ระบบจะแจ้งเตือนให้พนักงานทราบ เพื่อให้พนักงานเตรียมตัวรับมือฝุ่น รวมถึงทำให้คนตระหนักรู้ว่าฝุ่นมีอยู่จริง มีผลเสียต่อร่างกายจริง นำไปสู่การศึกษาว่าฝุ่นเกิดจากอะไร และถ้าตนเองยังมีกิจวัตรที่ทำให้เกิดฝุ่นก็จะพิจารณาเลิกทำสิ่งเหล่านั้นต่อไป” เกียรติสกุลอธิบายถึงความสำคัญของโครงการนี้

IoT ทำให้ Nong Pim มีประสิทธิภาพกว่า

ด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับ Nong Pim ศิระอธิบายว่า เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในตลาด แต่คัดเลือกด้านคุณภาพวัสดุ ตัวเครื่องวัดมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ ระบบ Laser Scattering ซึ่งจะยิงแสงเลเซอร์ขึ้นไปในอากาศเพื่อวัดค่าการสะท้อนกลับของแสง ทำให้ทราบว่ามีฝุ่นอยู่ในอากาศมากแค่ไหน เป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่มักจะใช้ในเครื่องฟอกอากาศตามบ้าน

อย่างไรก็ตาม จุดสำคัญของ Nong Pim คือการใช้ ระบบ Narrow-Band IoT ตัวเครื่องสามารถส่งข้อมูลค่าฝุ่นที่ได้ผ่านเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ขึ้นสู่ระบบคลาวด์ และนำไปแสดงผลบนเว็บไซต์ที่ทางสถาบันนวัตกรรมเป็นผู้พัฒนาขึ้น ดังนั้น สถานที่ติดตั้ง Nong Pim เพียงมีปลั๊กเสียบ USB และมีสัญญาณมือถือก็สามารถใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องมีสัญญาณ Wi-Fi จึงติดตั้งง่ายและสะดวก

ขณะนี้ระบบ Nong Pim ตั้งค่าให้วัดค่าฝุ่นทุกๆ 10 นาที ส่วนการแสดงผลแก่ end user จะตั้งค่าความถี่เท่าใดก็ได้ เช่น แสดงผลทุก 10 นาที แสดงผลทุก 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

ส่วนการพัฒนาต่อยอดในอนาคต ศิระกล่าวว่า หัวใจสำคัญคือการพัฒนาเซิร์ฟเวอร์การเก็บข้อมูลและแพลตฟอร์มการแสดงผล เพราะข้อมูลที่ได้จะมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเริ่มเปิดตัวในฐานะโซลูชันธุรกิจ การออกแบบแพลตฟอร์มจะต้องเป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขึ้น (user-friendly)

เปิดบริการแบบ B2B โซลูชันวัดค่าฝุ่นองค์กร

เกียรติสกุลกล่าวต่อว่า ขณะนี้ Nong Pim เริ่มเปิดบริการเป็นธุรกิจแบบ B2B แล้ว โดยรับติดตั้งและออกแบบโซลูชันให้องค์กร สามารถปรับรูปแบบเฉพาะ (customize) เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจต่างๆ ได้ และคิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายรายเดือน

ส่วนการจำหน่ายแบบ B2C ยังอยู่ในแผนงานอีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า ต้องใช้เวลาก่อนเปิดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปเพราะการจำหน่ายรายย่อยจะยุ่งยากกว่าในการซ่อมบำรุงผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการขายจะแตกต่าง ต้องมีทีมขายและการตลาดที่แข็งแรงขึ้น

แม้ว่า ปตท. จะเริ่มจำหน่าย Nong Pim เป็นธุรกิจบริการ แต่เกียรติสกุลกล่าวว่า ภาพรวมโครงการนี้ “ไม่ได้หวังจะสร้างกำไร แต่อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีขึ้น”

“มลพิษทางอากาศทำให้คนเสียชีวิตได้และเคยเกิดขึ้นมาแล้ว” เกียรติสกุลกล่าว “หน้าที่ของนักวิจัยจึงไม่ใช่เริ่มจากเราอยากทำอะไร แต่เราเห็นเหตุผลว่าสิ่งที่ทำมาจะได้ประโยชน์อะไร ออกมาแล้วคนจะอยากใช้ นั่นต่างหากคือแรงผลักดันที่แท้จริงสำหรับนักวิจัย”

สนใจโซลูชัน Nong Pim ติดต่อที่คุณวิชย์กรณ์ สถาบันนวัตกรรม ปตท. โทร.03-524-8385 เวลาทำการวันจันทร์-ศุกร์ 08.00-17.00 น.

]]>
1312331
PRISM มอง “ธุรกิจพลังงาน” ผสาน Circular Economy หมุนเวียนเพื่อเปลี่ยนโลก https://positioningmag.com/1311058 Mon, 21 Dec 2020 02:00:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311058

มารู้จัก Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน เทรนด์รักษ์สิ่งเเวดล้อมยุคใหม่

เชื่อมโยงกับธุรกิจพลังงานอย่างไรบ้าง ?

.

#PRISM #PTT #ปตท #CircularEconomy #สิ่งเเวดล้อม


]]>
1311058