Quick Commerce – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Sep 2020 11:11:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ฟู้ดแพนด้า” ฉีกสงครามฟู้ดเดลิเวอรี่ ปั้น “แพนด้ามาร์ท” ลุย Grocery โมเดล Quick Commerce https://positioningmag.com/1297533 Thu, 17 Sep 2020 09:28:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297533 ฟู้ดแพนด้าลุยฟีเจอร์แพนด้ามาร์ทรับส่งสินค้าอุปโภคบริโภค โมเดล Quick Commerce ที่จะสร้างจุดเปลี่ยนในตลาด การันตีการส่งภายใน 20 นาที นำร่องเปิด 7 โลเคชั่นใน กทม. ฉีกแนวจากสงครามฟู้ดเดลิเวอรี่

ลุย Grocery เต็มตัว ปั้นแพนด้ามาร์ท คุมสต็อกเอง

ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ร้อนแรงในไทย พร้อมกับการแข่งขันอันดุเดือด กลายเป็นตลาด Red Ocean สุดแดงเดือด ผู้เล่นหลายรายอัดโปรโมชันเพื่อดึงลูกค้ากันอย่างถล่มทลาย พร้อมกับการแตกบริการอื่นๆ เพื่อก้าวสู่ความเป็นซูเปอร์แอป

ฟู้ดแพนด้า เป็นผู้เล่นรายแรกๆ ที่ทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2012 เพียงแต่ในช่วงนั้นตลาดเดลิเวอรี่ไม่ได้บูมเหมือนอย่างช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ฟู้ดแพนด้าไม่ได้เป็นเจ้าตลาด ปัจจุบันได้เคลมว่ามีร้านอาหารในมือรวม 90,000 ร้านค้า และมีการให้บริการเกือบครบทั้ง 77 จังหวัดแล้ว คาดว่าในเดือนตุลาคมจะครบทั่วประเทศไทย

แม้ผู้เล่นจะเข้ามาทำตลาดมากขึ้น แต่ฟู้ดแพนด้ายังคงวางจุดยืนที่อาหารเหมือนกับชื่อ แต่เพิ่มเป็น Food and More Deliver ทำให้ปัจจุบันมีบริการส่งอาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภค ยังไม่แตกไปบริการอื่นๆ อย่างส่งพัสดุ หรือส่งคน อย่างผู้เล่นรายอื่น

ล่าสุดฟู้ดแพนด้าได้ปั้นบริการแพนด้ามาร์ท (pandamart)” เพื่อรุกตลาด Grocery หรือสินค้าอุปโภคบริโภคแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งโมเดลนี้ได้ต่อยอดความสำเร็จจากประเทศสิงคโปร์ที่ได้เปิดให้บริการมาเกือบ 1 ปี มีการเติบโต 20-25 เท่า ได้มาปรับใช้ในประเทศไทย

เทรนด์ Quick Commerce มาแรง

ฟู้ดแพนด้าเปิดแพนด้ามาร์ทสาขาแรกที่ซอยลาดพร้าว 116 (Omni Business) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีพื้นที่รวม 400-500 ตารางเมตร ใช้งบลงทุน 3-4 ล้านบาท มีพนักงานที่สาขา 7-10 คน ที่สาขานี้มีแพนด้าคิทเช่น (panda kitchen)” รวมด้วย เป็นเสมือนครัวกลางที่รวมร้านอาหารให้สาขาขายข้ามเขตได้

ความสำคัญของแพนด้ามาร์ทคือ ฟู้ดแพนด้าได้สร้างโกดังสินค้าเอง บริหารจัดการเอง เก็บดาต้าสินค้ายอดนิยม ตอนนี้มีสินค้ารวม 2,700 รายการ มีการดีลซื้อสินค้ากับซัพพลายเออร์ทำให้ได้ราคาที่ถูกกว่าร้านค้าปลีกอื่นๆ

รวมถึงเป็นการต่อยอดโมเดล Quick Commerce การซื้อของออนไลน์ไม่ใช่แค่สะดวก แต่ต้องรวดเร็ว ตอนนี้แพนด้ามาร์ทการันตีการจัดส่งสินค้าภายใน 20 นาที

โทมัส บูซัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด

โทมัส บูซัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า

แพนด้ามาร์ทเปิดที่แรกที่ประเทศสิงคโปร์ ได้รับการตอบรับอย่างดี ยิ่งในวิกฤตการณ์ COVID-19  มองเห็นโอกาสว่าในไทยมีการใช้บริหารธุรกิจ Quick Commerce จำนวนมาก คาดว่าจะได้รับการตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ

ฟีเจอร์แพนด้ามาร์ทจะอยู่ในส่วนหนึ่งของเมนู Shops บนแอปพลิเคชัน โดยจะแบ่งบริการเป็น 2 ส่วน ในส่วนของแพนด้ามาร์ท ซื้อสินค้าภายในโกดังของฟู้ดแพนด้าเอง และในส่วนของร้านค้าปลีกอื่นๆ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต แต่ละสโตร์จะมีพนักงานของฟู้ดแพนด้าประจำอยู่ 1 คน ถ้ามีออเดอร์เข้ามาก็จะเป็นคนหยิบสินค้าเพื่อจัดส่งให้กับคนขับ

จับตลาดคนซื้อของหน้าปากซอย

ทางด้านจักรินทร์ สะสินินผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการแพนด้ามาร์ท บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงอินไซต์ของโมเดลนี้ว่า

จุดแข็งของฟู้ดแพนด้าคือ การส่งอาหารมาตลอด ส่งอาหารรวดเร็ว แต่ตอนนี้มีไรเดอร์ (คนขับ) มากขึ้น ลูกค้ามีความต้องการมากขึ้น เลยมาทำตลาด Grocery ยิ่งตอนนี้พฤติกรรมลูกค้าอยากได้สินค้าเร็วขึ้น ต้องขยายบริการมาตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ตลาดอีคอมเมิร์ซเน้นความไว ความสะดวกอยู่แล้ว ต้องพัฒนาตัวเองมากขึ้น ให้ลูกค้าไม่ต้องรอ ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปซื้อของเอง

การการันตีเวลาในการส่ง 20 นาทีนั้น จักรินทร์บอกว่าจริงๆ แล้วอาจจะใช้เวลาเฉลี่ย 15 นาทีด้วยซ้ำ เมื่อไรเดอร์รับออเดอร์ ส่งออเดอร์มาทางแพนด้ามาร์ท ใช้เลาหยิบของแค่ 2 นาทีก็สามารถจัดส่งได้แล้ว

บริการนี้ต้องการจับกลุ่มวันรุ่น หนุ่มสาว หรือผู้สูงอายุ หรือพฤติกรรม Last Minute ที่สินค้าหมดกะทันหัน ให้เขาเลือกสั่งสินค้าโดยไม่ต้องออกไปซื้อเอง ไม่ต้องเดินไปซื้อที่หน้าปากซอย แต่เราบริการส่งให้

นำร่อง 7 แห่งใน กทม.

ปัจจุบันแพนด้ามาร์ทมีทั้งหมด 7 เขตพื้นที่ใน กทม. ได้แก่ ลาดพร้าว, วัฒนา, สาทร, สุทธิสาร, งามวงศ์วาน, บางนา และธนบุรี หลักในการเลือกเปิดนั้นจะดูจากสถานที่ตั้ง จำนวนประชากร และจำนวนการสั่งของคนละแวกนั้น โดยมีการตั้งเป้าขยายในครอบคลุม 30 แห่งทั่วประเทศ เน้นที่ กทม. และหัวเมืองสำคัญก่อน

หลังจากที่ได้ทดลองเปิดตั้งแต่เดือนมิถุนายน พบว่ามีจำนวนการสั่งเฉลี่ย 400 ออเดอร์/สาขา/วัน มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 300 บาท/บิล ซึ่งเป็นการใช้จ่ายสูงกว่าบริการส่งอาหาร สินค้ายอดนิยม ได้แก่ เครื่องดื่ม ขนม น้ำแข็ง สินค้า Personal Care ช่วงเวลาที่ใช้บริการมากที่สุดเป็นช่วงเที่ยง กับ 17.00-22.00 .

เบื้องต้นทางฟู้ดแพนด้าใจป้ำ เปิดให้ผู้บริโภคได้ลองใช้งาน ถ้าสั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำ 50 บาท ก็ไม่เสียค่าส่ง ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ โดยตอนนี้ยังไม่มีกำหนดว่าหมดเขตเมื่อไหร่

ถ้าถามว่าแล้วอย่างนี้จะมีกำไรหรือ? เพราะไม่มีรายได้จากค่าส่ง จักรินทร์บอกว่า การที่คุมสต็อกได้ คุมไรเดอร์ได้ก็ทำให้อยู่ได้

ปั้นเป็นอีกโมเดลสร้างรายได้

โดยปกติแล้วตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่จะพึงพิงรายได้จากค่า GP จากร้านค้า ค่าโฆษณา และค่าส่งจากลูกค้า แต่ด้วยการแข่งขันอันหนักหน่วง ทำให้ต้องเน้นไปที่การเก็บค่า GP กับร้านค้า

ปัจจุบันฟู้ดแพนด้ามีโมเดลหารายได้ 2 ส่วน 1. Commission การเก็บค่าคอมมิชชั่นจากร้านค้าต่างๆ และ 2. Retail Business การเป็นพาร์ตเนอร์กับผู้เล่นค้าปลีกกับการใช้บริการสินค้าอุปโภคบริโภค

pandamart

ซึ่งในอนาคตแพนด้ามาร์ทอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโมเดล Retail Business ที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการเก็บค่าคอมมิชชั่นก็เป็นได้

ตอนนี้ฟู้ดแพนด้ามีคนขับ หรือไรเดอร์รวม 90,000 คนทั่วประเทศ มีหลักการบริหาร แบ่งโซนเป็นของตัวเองชัดเจน ทำให้แต่ละคนวิ่งไม่ไกลเกินไป ไม่ต้องแย่งงานกัน ได้ค่ารอบเยอะ วิ่งได้ถี่ขึ้น ไรเดอร์สามารถเลือกโซนเองได้ คุมให้วิ่งไม่เกิน 5 กิโลเมตร ทำให้ไรเดอร์ก็แฮปปี้ในการรับงาน

เรียก่าการลุยโมเดล Grocery อาจจะเป็นอีกหนึ่งน่านน้ำที่เหล่าฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องขยายเพื่อขยายฐานลูกค้ามากขึ้นอีกทั้งต้องหนีจากการแข่งขันอันดุเดือดได้ด้วย

]]>
1297533