Recycle – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Dec 2023 05:12:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ช้อปเพลินใจ แบบรักษ์โลก ส่งต่อของไร้ค่าให้มีค่า ที่ SX REPARTMENT STORE กับ “บูธไทยเบฟ” ใน “งานกาชาด ๑๐๐ ปี ” ตั้งแต่วันนี้ถึง 18 ธ.ค.66   https://positioningmag.com/1455593 Thu, 14 Dec 2023 10:00:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455593

ชวนเที่ยว “บูธไทยเบฟ”  ในงานกาชาด ๑๐๐ ปี  ณ สวนลุมพินี งานดี ๆ เปิดให้เข้าชมฟรี ที่นอกจากจะได้เปิด ชม ชิม เลือกซื้อ สินค้า อาหารมากมายแล้ว ผู้เข้าชมงานยังได้ร่วมทำความดีเพื่อโลกโดยแบ่งปันสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว นำมาส่งต่อ เพื่อสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่น กับ SX REPARTMENT STORE  ใน “บูธไทยเบฟ”  ซึ่งของเหล่านั้นสามารถ Reduce Reuse  และ Recycle เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมไร้ขยะที่ยั่งยืน จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่คัดแยกสิ่งของที่ยังใช้งานได้ นำมาวางจำหน่าย รายได้ทั้งหมดให้แก่สภากาชาดไทย โดยไม่หักค่าใช้จ่าย

ถ้ายังไม่รู้ว่าจะนำสิ่งของเหล่านั้นไปบริจาคที่ไหน ขอแนะนำให้มาที่ “บูธไทยเบฟ” ใน งานกาชาด ๑๐๐ ปี เพียงสำรวจสิ่งของในบ้านที่ไม่ใช้แล้ว แต่จะทิ้งก็เสียดาย นำมาส่งต่อ แบ่งปันเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น ได้ที่ SX REPARTMENT STORE จุด Drop point Station ใน “บูธไทยเบฟ”

นอกจากนี้ ภายใน “บูธไทยเบฟ” จะได้พบกับกิจกรรมส่งมอบความสุขอีกมายมาย ได้แก่  นิทรรศการ ร้านค้าชุมชนราคาพิเศษ ไฮไลท์กิจกรรม เกมสนุก ๆ และของรางวัลมากมาย ในท่ามกลางบรรยากาศที่สุดแสนเพลิดเพลินกับการจำลองร้านค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีต แสดงถึงความโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมตะวันออกผสมตะวันตก ให้คนรุ่นใหม่ได้มาสัมผัสบรรยากาศของย่านร้านค้าของกรุงเทพฯ ในอดีต อีกด้วย

พบกันที่ “บูธไทยเบฟ” โซนที่ 6 บูธหมายเลข 6.19 ในงานกาชาด ๑๐๐ ปี ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 18  ธันวาคม 2566  เวลา 11.00-22.00 น. ณ บริเวณสวนลุมพินี

]]>
1455593
การบริหารจัดการของสวย..ไม่ให้เป็นของเสีย กับการลดโลกร้อน สู่นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน https://positioningmag.com/1431067 Sat, 20 May 2023 04:00:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431067

“ดอกไม้” แสนสวยนานาชนิดมักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกในวาระต่างๆ ตั้งแต่การแสดงความยินดี ความรัก ความเคารพศรัทธา ความห่วงใย ตลอดจนการไว้อาลัยในวาระสุดท้ายของชีวิต

“จากสัญลักษณ์แทนใจ..สู่การตระหนักถึงการบริหารจัดการ”

แต่เดิมเชื่อว่าการมอบหรือส่งต่อของที่มาจากธรรมชาติจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะการณ์ของโลก..แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก๊าซมีเทน อันเกิดจากขยะอินทรีย์ กลับเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้โลกร้อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในระดับต้นๆ โดยหลายประเทศได้มีการหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าว มาตอกย้ำและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข

“อินเดีย..ดอกไม้แห่งความศรัทธา..สู่แนวทางการลดขยะที่ยั่งยืน”

ที่ประเทศอินเดีย กับ ขยะดอกไม้ที่มาจากการบูชาเทพเจ้าในแม่น้ำคงคา ซึ่งตามความเชื่อ ดอกไม้ที่ผ่านการบูชาจะไม่สามารถทิ้งลงถังขยะได้ ทำให้ดอกไม้ประมาณ 8 ล้านตันจบลงที่แม่น้ำสายใหญ่ของประเทศทุกปี ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจึงได้มีแนวคิดรวบรวมดอกไม้ที่ถูกทิ้งเป็นขยะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ มาแปรรูปเป็นกระดาษ ธูป รวมถึงสีน้ำที่สามารถใช้ในเทศกาลสำคัญต่อไปได้ หลายหน่วยงานมองว่ากระบวนการและวิธีการรีไซเคิลขยะจากแม่น้ำและสร้างอาชีพดังกล่าว ถือเป็นการตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ใน ข้อ 12 หรือการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยเป็นการจัดการอย่างถูกต้องเพื่อลดการปล่อยสารเคมีและของเสียเป็นพิษออกสู่ธรรมชาติ และลดของเสียโดยกระบวนการ Reuse และ recycle

“ออสเตรเลีย..เครือข่ายของธุรกิจดอกไม้ที่ใส่ใจความยั่งยืน”

นอกจากนี้ยังมีกรณีตัวอย่างของการจัดการอุตสาหกรรมจัดดอกไม้ขาย หรือ Floristry ในประเทศออสเตรเลีย ที่ได้มีการพบข้อมูลว่าเป็นวงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง เช่นการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงในกระบวนการเพาะปลูก เพื่อรองรับความต้องการในโอกาสวันสำคัญต่างๆ รวมไปถึงการจัดดอกไม้ที่ยังใช้วัสดุประเภทพลาสติก โฟม และอื่นๆ สำหรับทำพวงหรีดหรือซุ้มงานพิธี ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมารีไซเคิลได้ อีกทั้งดอกไม้ทั้งหลายได้กลายสภาพเป็นภูเขาขยะและปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก

Sustainable Floristry Network จึงเกิดขึ้น เพื่อให้นักจัดดอกไม้ได้เข้ามาเป็นเครือข่าย เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ในการเปลี่ยนแปลงฐานรากของ ‘ความไม่ยั่งยืน’ ดังกล่าว ให้หันมาผลิตด้วยเทคนิคและวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ที่สามารถย่อยสลายและรีไซเคิลได้ เพื่อเป็นการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Net Zero emissions) ไม่ใช้สารพิษ และไม่สร้างขยะเพิ่ม โดยได้ดำเนินการคู่ขนานไปทั้งในส่วนของประชาชนผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

“ประเทศไทย..กับความใส่ใจในเรื่องการคัดแยก..และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน”

สำหรับประเทศไทยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ผู้ใช้บริการ ต่างมีแนวคิดเพื่อเลือกมอบสิ่งที่ดี โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจเองได้ขยับตัวให้ไปตามยุคสมัย สรรหาการให้บริการที่หลากหลายขึ้น แทนการให้ดอกไม้สดเพียงอย่างเดียว เช่น ให้ของใช้ หรือ การใช้วัสดุเทียมทดแทนเพื่อการใช้ซ้ำได้ ดีต่อใจ และดีต่อโลกควบคู่กัน

อย่างเช่น ในงานไว้อาลัยที่จะเห็น การใช้พวงหรีดเสื่อ ต้นไม้ จักรยาน พัดลม หรือแม้แต่เครื่องฟอกอากาศ แพร่หลายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม พวงหรีดดอกไม้สด ยังคงเป็นที่นิยมที่สุดอยู่ โดยเฉพาะในงานใหญ่ๆ ของบุคคลสำคัญๆ ที่มีการไว้อาลัยด้วยพวงหรีดหลายพันพวง ทำให้ผู้จัดให้ความสำคัญในการจัดแผนบริหารจัดการรองรับเหตุดังกล่าว เพื่อไม่ให้พวงหรีดที่เป็นตัวแทนการแสดงความไว้อาลัยกลายเป็นขยะที่สร้างมลพิษกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีกระบวนการที่สำคัญคือ “การคัดแยก” แยกวัสดุต่างๆ ตามประเภทและการจัดการตามที่แตกต่างกัน เช่น ไม้ และ โอเอซิส นำไปเป็นพลังงานเชื้อเพลิง กระดาษและพลาสติก นำไปรีไซเคิล และเหลือทีเป็นดอกไม้สด เตรียมไปเข้าสู่กระบวนการทำปุ๋ย

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด หรือ TBR หนึ่งในผู้นำด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว อย่างยังยืนในประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลถึงกระบวนการดังกล่าวว่า TBR ได้ จับมือกับริษัท โอ๊คลิน (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะเชี่ยวชาญด้านการให้บริการดูแลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมเครื่องกำจัดเศษอาหาร หรือขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นปุ๋ย ซึ่งสามารถจัดการดอกไม้สดที่ได้จากพวงหรีดได้เช่นกัน ตัวอย่างงานไว้อาลัยที่มีจำนวนพวงหรีดดอกไม้สดกว่า 2,000 พวง เทียบเป็นขยะอินทรีย์จากดอกไม้สดได้กว่า 3 ตัน เมื่อนำไปผสมเข้าเครื่องจะเหลือเป็นปุ๋ยประมาณ 10% หรือประมาณ 300 กิโลกรัม โดยปุ๋ยที่ได้มีธาตุอาหารเพียงพอในการบำรุงดิน ดูแลพืชได้ สามารถส่งต่อให้กับหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น พื้นที่สีเขียวในสวนสาธารณะต่างๆ

จะเห็นได้ว่าปัญหาขยะและมลพิษไม่ว่าจะเกิดโดยธรรมชาติ หรือเกิดจากการสร้างของมนุษย์ หากขาดกระบวนการในการบริหารจัดการที่ดี และถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญ จากปัญหาเล็กๆ ก็สามารถขยายวงกว้างให้กลายเป็นปัญหาระดับโลกได้ เช่นเดียวกับดอกไม้ที่สวยงาม เมื่อถึงเวลาก็จะไม่กลายสภาพเป็นภูเขาขยะ เพราะได้รับความใส่ใจจากทุกคน รู้จักที่จะสร้างสรรค์แปรรูป เพิ่มมูลค่า ตลอดจนคิดค้นพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้แก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นทางและสร้างให้เกิดยั่งยืน..

]]>
1431067
สยามพิวรรธน์ ชวนลูกค้ารักษ์โลก เปลี่ยนขยะในมือคุณ แลกแต้มชอปปิ้ง VIZ Coins https://positioningmag.com/1394505 Tue, 02 Aug 2022 10:00:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394505

ทุกวันนี้ การดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเรื่องที่หลายองค์กรให้ความสำคัญมากพอๆ กับการเติบโตของธุรกิจ และทุกครั้งที่วางแผนกลยุทธ์การตลาด ก็มักจะบรรจุนโยบายและทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรไว้เสมอ เช่นเดียวกับ สยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกชั้นนำ

สยามพิวรรธน์ เจ้าของและผู้บริหารโครงการระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต กรุงเทพ มีนโยบายและแนวปฏิบัติในเรื่องการดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกๆ พื้นที่ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจ และยังตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกรายแรก ที่พร้อมเดินหน้าผลักดัน “องค์กรขยะเป็นศูนย์” กับการจัดการขยะได้แบบ 360 องศา เพื่อที่จะสร้างความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

ล่าสุด ได้ต่อยอดบริการ Recycle Collection Center หรือ จุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้วแบบไดร์ฟทรู (Drive-Thru) แห่งแรกในประเทศไทย มาสู่การต่อยอดการมีส่วนร่วมเป็นผลตอบแทน กลับคืนให้เป็นสิทธิประโยชน์ในรูปแบบ VIZ Coins สำหรับลูกค้า เพื่อต่อยอดความสำเร็จของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของสยามพิวรรธน์ ภายใต้โครงการ “Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” ที่คำนึงถึงการจัดการขยะแบบครบวงจรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) แล้ว และยังถือเป็นการยกระดับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กร ในโอกาสที่ดำเนินโครงการ Recycle Collection Center มาครบ 1 ปี จากที่เปิดโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม

นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฎิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า

“ตั้งแต่เปิดให้บริการ Recycle Collection Center หรือ จุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้ว แบบไดร์ฟทรู (Drive-Thru) แห่งแรกในประเทศไทย ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนรักษ์โลกจำนวนมากซึ่งมีแนวคิดกับการจัดการขยะที่มีความสอดคล้องกับแนวทางของสยามพิวรรธน์ ที่เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการคัดแยกขยะที่เป็นระบบและครบวงจรทั้งห่วงโซ่ ถือเป็นเรื่องราวดีๆ ที่ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคมและโลกใบนี้”

โดยปีนี้สยามพิวรรธน์ ต่อยอดเพื่อกระตุ้นความสนใจในกระแสรักษ์โลกอย่างต่อเนื่องโดยลูกค้าที่นำขยะมาฝากไว้กับสยามพิวรรธน์ สามารถที่จะแลกเปลี่ยนเป็น VIZ coins ผ่าน ONESIAM Application เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ สยามพิวรรธน์ยังมุ่งหวังว่า เรื่องที่สำคัญที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม คือ การลดปริมาณขยะ และการคัดแยกขยะ นำขยะมารีไซเคิลต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เห็นคุณค่าของขยะ และสร้างค่านิยมให้กับสังคมไทยในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งกันมากขึ้นกว่าเดิม

บริการ Recycle Collection Center ไม่ใช่แค่เปิดพื้นที่ ตั้งจุดรับขยะเหมือนที่ทำกันทั่วไป แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าขยะในมือของลูกค้ากลับคืนเป็น VIZ Coins ผ่าน ONESIAM Application นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และช่วยลดปริมาณขยะด้วยตนเองแล้ว ยังเห็นมูลค่าของการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ที่สามารถนำคะแนนไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ยิ่งตอกย้ำมิติของคำว่า “หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่” อย่างมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

สำหรับวิธีการคิดแต้ม VIZ Coins จะคิดตามมูลค่าน้ำหนักจริงของขยะที่ทำความสะอาด และคัดแยกแล้วจากที่บ้าน โดยลูกค้าจะได้รับ VIZ Coins หลังจากการสแกนคิวอาร์โค้ดที่บริเวณจุดรับขยะ บริเวณลานจอดรถทัวร์ (ด้านหลังสยามพารากอน) โดยเกณฑ์การให้ VIZ Coins จะแยกตามประเภทและน้ำหนัก ต่อ 1 กิโลกรัม เริ่มต้นที่ 1 VIZ Coin สำหรับกล่อง ซองพลาสติก และแก้ว โดยจะได้ 3 VIZ Coins สำหรับกระดาษ และ 5 VIZ Coins สำหรับขวดพลาสติก แต้มสูงสุดที่อลูมิเนียมรับ 30 VIZ Coins

นอกจากการเปลี่ยนขยะในมือลูกค้าให้กลายเป็นแต้มสะสมกลับคืนไปใช้แลกสิทธิประโยชน์แล้ว สิ่งที่ Recycle Collection Center ทำภายใต้โครงการ “Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” นั้น ยังคำนึงถึงกระบวนการทั้งระบบและครบวงจรทั้งห่วงโซ่ โดยขยะที่ลูกค้าฝาก จะถูกส่งต่อไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบ นำมาเข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่งเพิ่มมูลค่า โดยส่วนหนึ่งยังกลับมาวางจำหน่ายบนพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย” ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ด้วยนั่นเอง

แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ก็เป็นหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่ช่วยส่งต่อความสุขให้กับโลก และเพิ่มความเพลิดเพลินในการชอปปิงของลูกค้าด้วยหัวใจที่พองโต

]]>
1394505
รู้จักกับ ‘Bio-bean’ สตาร์ทอัพผู้รีไซเคิล ‘กากกาแฟ’ กว่า 20,000 ตัน ให้เป็น ‘เชื้อเพลิง’ https://positioningmag.com/1283135 Thu, 11 Jun 2020 09:12:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283135 ในปัจจุบัน การบริโภค ‘กาแฟ’ ดูเหมือนจะยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เพราะโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีการบริโภคกาแฟถึง 2 พันล้านถ้วยต่อวัน ขณะที่มีการผลิตกาแฟเฉลี่ยปีละประมาณ 6 ล้านตัน และในแต่ละปีก็จะมีขยะกากเมล็ดกาแฟหลังจากชงกาแฟเกิดขึ้นถึงปีละ 200,000 ตัน ขณะที่ขยะเหล่านั้น เมื่อสลายตัวก็จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

ดังนั้น จะเห็นว่าบริษัทกาแฟหลายรายพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อาทิ Starbucks (SBUX) ได้เริ่มทดลองที่จะนำถ้วยกาแฟที่ใช้แล้วทิ้งมารีไซเคิลใหม่ หรืออย่างกาแฟ ‘Amazon’ ของไทยเอง ก็มี การใช้แก้วไบโอ คัพ (Bio Cup) ซึ่งเป็นแก้วกระดาษรีไซเคิล อย่างไรก็ตาม ‘กากกาแฟ’ มักจะถูกมองข้าม แต่สตาร์ทอัพสัญชาติอังกฤษนาม Bio-bean เริ่มคิดว่าได้พบวิธีที่จะเปลี่ยนขยะให้เป็นทรัพยากรที่มีค่า

ที่ผ่านมา Bio-bean ระดมทุนได้มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 2556 โดยทำหน้าที่รีไซเคิลขยะจากบริษัทต่าง ๆ อาทิ Costa Coffee, สนามบิน London Stansted และเครือข่าย Rail Rail ของสหราชอาณาจักร พร้อมได้รับการสนับสนุนจาก Shell ส่งผลให้ Bio-bean สามารถเปลี่ยนขยะกากเมล็ดกาแฟหลังจากชงกาแฟกว่า 7,000 ตัน/ปี เป็น ‘น้ำมันไบโอดีเซล B20’ นำกลับมาเติมให้รถเมล์ในลอนดอน แต่ก็ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์

ดังนั้น บริษัทจึงเปลี่ยนโฟกัสไปที่ ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ สำหรับใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม อาทิ ฟืน, ถ่านหิน เนื่องจากเชื้อเพลิงเหล่านี้จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อถูกเผา แต่ถ้าใช้กากกาแฟมาแทนที่เชื้อเพลิงที่ใช้คาร์บอนอื่น ๆ ก็จะช่วยลดการปล่อยมลพิษลง 80% เมื่อเทียบกับการส่งพื้นที่ไปฝังกลบ อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤต Covid-19 นี้ Bio-bean ได้รับผลกระทบ เพราะร้านกาแฟในอังกฤษต้องปิดทำการชั่วคราว แต่การดำเนินงานยังดำเนินต่อไป แม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่าปกติ

“เราพยายามที่จะประสบความสำเร็จกับนวัตกรรมของเรา เพราะเราสามารถขยายขนาดได้ คนอื่นอาจรีไซเคิลกาแฟหนึ่งหรือ 10 ตันเรารีไซเคิลได้มากกว่า 20,000 ตัน ตั้งเเต่เริ่มก่อตั้ง George May ผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ Bio-bean กล่าว

ล่าสุด Bio-bean ก็สามารถแปรรูปกากกาแฟเป็นเชื้อเพลิงแข็งได้สำเร็จ ผ่านเครื่องอบแห้งและกระบวนการกลั่นกรองเพิ่มเติมจนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตเม็ดพลาสติกชีวมวล และ ฟืนที่ใช้ในเตาผิง นอกจากนี้ บริษัทยังผลิตสารสกัดรสธรรมชาติจากกากกาแฟผ่านกระบวนการแยกต่างหาก เพื่อให้สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานในหม้อไอน้ำของอุตสาหกรรมโรงเรือนในเชิงพาณิชย์ หรือสำหรับปลูกธัญพืช

“กาแฟมีความร้อนสูงและใช้ตัวเองเป็นเชื้อเพลิงที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ โดยมันให้ความร้อนสูงกว่าฟืนทั่วไป 20% และมีระยะเวลามอดที่นานกว่า 20% เช่นกัน”

Jenny Jones อาจารย์ด้านพลังงานยั่งยืนที่ University of Leeds กล่าวว่า กากกาแฟรีไซเคิลมีศักยภาพเป็นเชื้อเพลิง แต่การประเมินการประหยัดคาร์บอนโดยรวมจะต้องได้รับการประเมินและเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นในการจัดการกับกากกาแฟ เช่น การเผาหรือเปลี่ยนเป็นวัสดุคลุมดินสำหรับพืช เพราะกากกาแฟส่วนใหญ่นั้นมีกำมะถันและไนโตรเจนสูงกว่าไม้ป่า ซึ่งปล่อยก๊าซอันตราย เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์เมื่อถูกเผา

อย่างไรก็ตาม Bio-bean กล่าวว่า เม็ดพลาสติกชีวมวลเชิงพาณิชย์ได้รับการรับรองจากสำนักงานทะเบียนเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนของอังกฤษ โดยระบุว่า กาแฟมี “การปล่อยอนุภาคที่ต่ำกว่าไม้ส่วนใหญ่”

แม้จะถูกเลื่อนออกไปจากการระบาดของ Covid-19 แต่ Bio-bean กล่าวว่า บริษัท วางแผนที่จะขยายการดำเนินงานไปยังยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือในอีกห้าปีข้างหน้า

Source

]]>
1283135