Series Y – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 15 Oct 2020 00:16:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดคู่มือการใช้งาน ‘ซีรีส์วาย’ ที่แบรนด์ต้องรู้ หากอยากได้ใจ ‘สาววาย’ สายเปย์ https://positioningmag.com/1301473 Wed, 14 Oct 2020 14:55:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301473 คงไม่ต้องอธิบายถึงกระแส ‘ซีรีส์วาย’ ในไทยว่าเติบโตแค่ไหน เพราะจะเห็นว่าค่ายต่าง ๆ พร้อมใจกันผลิตซีรีส์วายป้อนตลาดกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ทีวี ธันเดอร์ ที่ประกาศชัดว่าจะเน้นผลิตซีรีส์วายให้เเพลตฟอร์ม OTT หรืออย่าง WeTV ก็ตั้งเป้าจะเสริมทัพวายซีรีส์ในปีนี้อีก 6-8 เรื่อง ขณะที่ LINE TV เองที่มีซีรีส์วายมากสุดในไทยถึง 33 เรื่อง ก็เตรียมส่งซีรีส์วายชุดใหม่กว่า 10 เรื่องลงจอในครึ่งปีหลังนี้ ดังนั้น ถึงเวลาที่ ‘นักการตลาด’ จะต้องศึกษา Insight เหล่า Y-economic ว่าจะเป็นกำลังอย่างไรให้กับ ‘แบรนด์’ ได้บ้าง

ลำดับขั้น Boys Love

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า LINE Insight ได้ทำการศึกษา Y-economic ในไทย โดยพบว่า 80% ของผู้ชมซีรีส์วายหรือ ‘Boys Love’ ในไทยรับชมผ่าน LINE TV หรือคิดเป็น 18.9 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุ 18-25 ปี รองลงมาเป็น 25-34 ปี และในจำนวนดังกล่าวสามารถแยกเหล่า Boys Love ได้เป็นลำดับขั้น ดังนี้

New Adopters : กลุ่มที่เพิ่งเข้ามาดูแค่เรื่องแรกเรื่องเดียวแล้วจบไป

Core watchers : กลุ่มที่เริ่มติดหลังจากรับชมเรื่องแรกไป และเริ่มมีการจับกลุ่มคุยกับเพื่อน ๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีปริมาณใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน

Fandom : กลุ่มที่ดูแล้วชอบมาก พร้อมกับมี Activity มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งกลุ่มนี้น่าสนใจมาก เพราะพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อให้ซีรีส์และนักแสดงที่เขารัก ‘ดัง’ ไม่ว่าจะการปั่นยอดวิวด้วยการเปิดทิ้งไว้, การซื้อสื่อ Out of Home เพื่อโปรโมตศิลปินให้เป็นที่รู้จัก, พร้อมตามไปสนับสนุนในงานอีเวนต์ และพร้อม ‘เปย์’ สินค้าที่ศิลปินเป็นพรีเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ เหล่า Fandom ยังมีอิทธิพลมากบนโซเชียลมีเดียด้วย

“เจอศิลปินยังไงก็ต้องให้ของนะ แม้เราไม่มีจะกิน นี่คือ Passion ของ Fandom”

ซีรีส์วายมีเยอะ แต่เลือกดูจากอะไร

เพราะตลาดซีรีส์วายที่มาแรงแบบไม่มีอะไรมาหยุด แน่นอนว่าเหล่าค่ายผู้ผลิตจึงสร้างซีรีส์วายออกมาเต็มไปหมด แต่ไม่ใช่ว่าเหล่า Boys Love จะดูทุกเรื่อง แต่มีปัจจัยในการเลือกชมดังนี้

1.Main Actor นักแสดงที่แสดงด้วยกันมีเคมีเข้ากันแค่ไหน

2.Story and Plot เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจหรือไม่

3.Producer / Trailer ความน่าสนใจของโปรดิวเซอร์และตัวอย่างของซีรีส์ที่ปล่อยออกมา

4.Novel เพราะ 80% ของซีรีส์สร้างมาจากนิยาย ดังนั้นเขาจะเลือกว่าเคยอ่านหรือไม่

“ส่วนใหญ่ New Adopters และ Core watchers จะรู้จักซีรีส์ผ่าน Social Media โดยคอนเทนต์จะถูกสร้างและช่วยสร้างจาก Fandom เพราะเมื่อเขาเลือกแล้วเขาจะช่วยโปรโมตให้”

ภาพลักษณ์และผลลัพธ์เมื่อแบรนด์ใช้ ‘ซีรีส์วาย’

เมื่อก่อนสปอนเซอร์จะเข้าซีรีส์วายยากมาก แต่ก็มีแบรนด์ที่กล้าจะลองทำตลาด ซึ่งภาพลักษณ์ที่ผู้ชมซีรีส์วายรู้สึกต่อแบรนด์คือ trendy, cheerful, new lifestyle, popular และ Brave แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่แบรนด์ ‘Over Use Actor’ หรือบังคับให้ขายของจนเกินไป เหล่า ‘Fandom’ จะรู้สึกว่า ‘Fake’ ดังนั้น ถ้าจะทำตลาดกับเซ็กเมนต์นี้ต้องระวังส่วนนี้ให้ดี เพราะอย่าลืมว่า Fandom มีอิทธิพลด้าน Social Media

และเมื่อเทียบสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกัน ถ้าสินค้าหนึ่งมีวายแอคเตอร์เป็นพรีเซ็นเตอร์ กลุ่ม Boys Love จะตัดสินใจซื้อโดยทันที หรือถ้าใช้อีกแบรนด์หนึ่งอยู่ก็จะเปลี่ยนแบรนด์ทันที หรือถ้าไม่เคยก็พร้อมที่จะลอง

“ทุกคนตอบเหมือนกันหมด โดยไม่ต้องคิด คือ ใช่ – ซื้อ ไม่มีการคิด มีพาวเวอร์ขนาดนั้น”

ไทอิน ยังไงให้เวิร์ก

การไทอิน (tie-in) หรือการนำสินค้าเข้าไปในฉาก ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการใช้เยอะมากในซีรีส์วาย แต่การไทอินนั้นมีหลายแบบ แต่แบบที่ใช้แล้วประสบผลสำเร็จที่สุดคือ 1.Product Movement หรือมีการจับ ขยับ เคลื่อนไหวไปมา ต่อมา 2.Product Experience หรือมีการดื่ม กิน ใช้งาน และ 3.Special Scene หรือซีนพิเศษ แต่ Product Placement หรือวางสินค้าเฉย ๆ ไม่มีใครจำได้

อย่างไรก็ตาม แต่ละวิธีนั้นมีความเสี่ยง เพราะถ้ายัดเยียดมากไปจะทำให้เกิดภาพลบ ขณะที่ Special Scene ยังไม่เห็นผลใน แง่ลบ เพราะมันคือการเขียนบทใหม่ขึ้นมาจากสิ่งที่ Y-Watchers อยากดู เช่น ฉากที่กุ๊กกิ๊กกัน ซึ่งที่ไม่มีผลในแง่ลบเพราะแบรนด์ endorse ให้ Y-Watchers ได้ดู แต่ไม่มีให้ดูในเนื้อเรื่องหลัก

เมื่อดูจากพฤติกรรมจากพฤติกรรมและตัวเลขการเติบโต และไม่ใช่แค่ในไทยแต่เป็นกระแสของเอเชีย ดังนั้น อาจถึงเวลาแล้วที่แบรนด์ต้องลอง เปิดรับ เอาซีรีส์วายมาเป็นเครื่องมือในการทำการตลาด เพราะหากทำสำเร็จเหล่า Fandom ไม่ใช่แค่พร้อมเปย์และสนับสนุนทั้งศิลปินและแบรนด์ไปจนสุดทาง

]]>
1301473
จับตากระแส ‘ซีรีส์วาย’ หลังจาก #คั่นกู ดังกระจาย โกยยอดวิวกว่า ‘480 ล้านวิว’ https://positioningmag.com/1279930 Thu, 21 May 2020 11:45:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279930 ในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวโซเชียลคงได้เห็นแฮชแท็ก #คั่นกู ผ่านตากันมาบ้างแน่ ๆ ยิ่ง #คั่นกูตอนจบ ที่มีการทวิตกว่า 4.8 ล้านทวิต ขึ้นเป็นแฮชแท็กอันดับ 1 ของโลกในเวลานั้นเลยทีเดียว แต่หลายคนคงจะสงสัย ว่าเจ้าแฮชแท็กนี้มันคืออะไร ซึ่งจริง ๆ แล้วมันมาจากคำผวนชื่อ ‘ซีรีส์วาย’ ยอดฮิต ‘เพราะเราคู่กัน’ (2 gether The Series) ที่มียอดวิวมียอดวิวรวม มากกว่า 480 ล้านวิว ทั้งไทยและต่างประเทศยันฝั่งยุโรปเลยทีเดียว ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถามว่า ซีรีส์วายยัง Niche อยู่ไหม หรือ Mass นานแล้ว

เมื่อก่อน Niche เดี๋ยวนี้ Mass

สำหรับคำว่า ‘วาย’ มีต้นกำเนิดมาจากคำว่า ‘Yaoi’ ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงเรื่องรักโรแมนติกระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย (Boy’s love) โดยหนัง-ซีรีส์วายนั้นมีมาเป็น 10 ปีมาแล้ว เพียงแต่เดิมได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มยังไม่แพร่หลาย แต่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ความนิยมดังกล่าวเริ่มแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีช่องทีวีดิจิทัลและแพลตฟอร์มวีดีโอคอนเทนต์เพิ่มขึ้นมากมาย

LINE TV ได้ให้ความเห็นเสริมว่า คอนเทนต์ประเภทสายวายชวนจิ้น ถือเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบ ดังนั้นผู้ผลิตที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จึงได้ผลิตซีรีส์วาย ประกอบมิติเชิงสังคมที่มีการเปิดกว้างและรับความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้คอนเทนต์ซีรีส์วายกลายเป็นอีกหนึ่ง ‘ความแมส’ หรือความนิยมกระแสหลักจนมาถึงทุกวันนี้ อย่างใน ‘LINE TV’ ซีรีส์วายถือเป็นกลุ่มคนดูที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด อย่าง En of Love สามารถสร้างยอดชมเพิ่มสูงถึง 142%

ผู้ชมหลักไม่ใช่ LGBT แต่เป็น ผู้หญิง แถมยัง เปย์หนัก

จริง ๆ แล้ว LINE TV พบว่ากลุ่มผู้ชมแมส มีความหลากหลาย ทุกเพศทุกวัย แต่ที่มากที่สุดคือ ฐานผู้ชม เพศหญิงอายุ 18 – 25 ปี อย่าง En of Love สามารถขยายฐานไปถึงกลุ่มคนดูอายุ 65 ปีได้อย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นจะเห็นว่าซีรีส์วายมาพร้อมกับโอกาสใหม่ ๆ ในการเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งในอนาคตอาจไม่ใช่แค่กลุ่ม LGBT หรือสาววายเท่านั้น แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถดูได้ทุกเพศทุกวัย

อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ สาวกซีรีส์วายนั้นคล้าย ๆ เหล่า ‘โอตะ’ คือ ‘พร้อมเปย์’ มาก เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นคอมมูนิตี้ และพร้อมที่จะสนับสนุน ‘คู่จิ้น’ หรือ ‘ศิลปิน’ แถมยังมี Loyalty สูงมาก และถ้าหากดูจากอายุกลุ่มผู้ชมแล้วจะเห็นว่าเป็นนักเรียนนักศึกษา ดังนั้นยังไม่มีภาระอะไร จึงพร้อมเปย์แน่นอน

ถ้าปังก็ไปไกลหลายประเทศ เพราะ คอนเทนต์หายาก

แม้จะเป็นที่ยอมรับมากขึ้น กลุ่มผู้ชมก็กว้างขึ้น แต่คอนเทนต์ยังไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น โดยแต่ละค่ายสามารถผลิตได้อย่างน้อย 1-2 เรื่อง/ปี นอกนั้นเป็นซีรีส์ทั่วไป อย่าง LINE TV ที่ถือเป็นแพลตฟอร์มที่รวมซีรีส์วายไว้มากสุดในไทยถึง 33 เรื่อง ยังผลิตซีรีส์วายของตัวเองเพียงเรื่องเดียว คือ BKPP The Series

ส่งผลให้ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไหน กลุ่มคนที่สนใจก็จะติดตาม ดังนั้นจึงเห็นกระแสคนไทยที่ดูซีรีส์วายของต่างประเทศ เช่นเดียวกับต่างประเทศที่ดูคอนเทนต์ไทย ดังนั้นภาพรวมของซีรีส์วายสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดนั้นค่อนข้างใหญ่ เพราะดังไกลข้ามประเทศ อย่างประเทศจีนเป็นอีกประเทศที่มีฐานผู้ชมซีรีส์วายใหญ่มากอย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีฐานแฟนคลับติดตามดาราคู่จิ้นจำนวนมาก และในแง่ของผู้ผลิต ประเทศไทยถือเป็นเบอร์ต้น ๆ ของภูมิภาค

จากนี้คงต้องจับตาว่ากระแสซีรีส์วายจะไปได้ไกลแค่ไหน ในเมื่อสังคมในปัจจุบันเปิดรับความหลากหลายมากขึ้น ไม่แน่ว่าในอนาคตละครไทยอาจจะมีตัวละคร ชายจิ้นชาย หรือ หญิงจิ้นหญิง ถูกใส่ไปเป็นเรื่องปกติเพื่อเรียกกระแสนิยมก็เป็นไปได้

]]>
1279930