shopback – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 27 Aug 2021 07:07:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก ‘ShopBack’ แพลตฟอร์มที่ให้มากกว่าโปรโมชั่นที่ดีเพราะมี ‘เงินคืน’ ทุกครั้งที่ซื้อ https://positioningmag.com/1348857 Fri, 27 Aug 2021 10:00:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348857

ตั้งแต่ COVID-19 ระบาด เชื่อว่าหลายคนที่ไม่เคยช้อปของออนไลน์มาก่อนตอนนี้คงจะใช้กันจนชินแล้ว แต่ในเศรษฐกิจแบบนี้ หลายคนต้องรัดเข็มขัด จะซื้อของทั้งทีก็ต้องรอโปรโมชั่นจะได้คุ้ม ๆ ดังนั้น Positioning จะพาไปรู้จัก ‘ShopBack’ (ช้อปแบ็ค) อีกหนึ่งตัวเลือกในการช้อปปิ้งที่ทำให้คุ้มยิ่งขึ้นด้วย ‘เงินคืน’


ทำไมต้องซื้อผ่าน ShopBack?

หากพูดถึงชื่อมาร์เก็ตเพลสเจ้าดังในไทยคงจะไม่พ้น Lazada, Shopee, Supersports, ThisShop, Tops Online, Sephora, Foodpanda, Grab ซึ่งเป็น Top ของเมืองไทย สิ่งที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ ทั้งหมดเป็น ‘ตัวกลาง’ ในการขายสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เปรียบได้ดังกับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมสินค้าเอาไว้ โดยแพลตฟอร์มจะมีรายได้จากส่วนแบ่งการขายหรือค่าคอมมิชชั่น

แน่นอนว่ามีโปรโมชั่นส่วนลดมากมาย แต่จะดีกว่าไหมถ้าซื้อของแล้วได้เงินคืนจริง ๆ แบบที่ถอนเป็นเงินสดมาใช้ได้ ไม่ใช่แค่ใช้ภายในแพลตฟอร์ม


กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย

หากขาช้อปที่รู้จักกับ ‘Ebates’ เว็ปที่รวบรวมเอาร้านค้าออนไลน์จากทั่วอเมริกามากมายมารวบรวมไว้ โดยจะมีการให้ cash back หรือเงินคืนทุกครั้ง ‘ShopBack’ ก็เหมือนกับ Ebates ที่จะเป็นตัวกลางที่รวมอีมาร์เก็ตเพลสหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทั้ง Lazada, Shopee, JD CENTRAL หรือแม้แต่แพลตฟอร์มด้านไลฟ์สไตล์อื่น ๆ อาทิ Expedia, Grab

แน่นอนว่าโปรโมชั่นต่าง ๆ ของแต่ละแพลตฟอร์มยังจะมีเหมือนเดิม แม้จะซื้อผ่าน ShopBack ก็ตาม แต่ที่ได้เพิ่มเติมก็คือ ‘เงินคืน’ ซึ่งแต่ละร้านค้าก็จะมีเปอร์เซ็นการคืนที่แตกต่างกันไป เมื่อลูกค้าเก็บสะสมได้ 50 บาทขึ้นไป ลูกค้าก็จะสามารถถอนเป็น ‘เงินสด’ เข้าบัญชีตัวเองได้เลย (มีค่าธรรมเนียมการถอนเงิน 5 บาท แต่ยอดเกิน 150 บาทขึ้นไปไม่มีค่าธรรมเนียม)

ดังนั้น ถ้าอยากได้ความคุ้มยิ่งขึ้น จากนี้จะช้อปสินค้าจากร้านไหน ๆ ก็ให้กดผ่าน ShopBack ก่อน เพื่อที่จะได้โปรโมชั่นทั้งจากแพลตฟอร์มนั้น ๆ และมารับเงินคืนอีกต่อจาก ShopBack ซึ่งปัจจุบัน ShopBack มีพาร์ทเนอร์กว่า 150 รายตั้งแต่มาร์เก็ตเพลสและบริการด้านไลฟ์สไตล์อื่น ๆ ตั้งแต่ด้านอาหาร ท่องเที่ยว การเดินทาง และอื่น ๆ

ทำไมถึงให้เงินคืน

อย่างที่บอกไปตั้งแต่ตอนต้นว่าแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสมีรายได้จากค่า ‘คอมมิชชั่น’ จากแบรนด์ที่มาขายสินค้า เช่นเดียวกันกับ ShopBack ที่ทำรายได้จากค่าคอมมิชชั่น เพียงแต่ ShopBack เลือกที่จะแบ่งคอมมิชชั่นนั้นมาเป็นเงินคืนให้ลูกค้าเพื่อจูงใจให้ทำการซื้อในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งถือว่าเป็นโมเดลที่ Win-Win ทั้งแพลตฟอร์มและลูกค้า โดย ShopBack จะแบ่งให้ลูกค้า 80% อีก 20% เป็นรายได้ของแพลตฟอร์ม

ShopBack เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2014 ในฐานะสตาร์ทอัพสัญชาติสิงคโปร์ และเข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2017 ปัจจุบันให้บริการใน 8 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เวียดนาม ไทย ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ มีลูกค้าใช้งานกว่า 4.5 แสนราย/วัน 50% กลับมาซื้อซ้ำจากครั้งแรก และที่ผ่านมามีการคืนเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาทเลยทีเดียว

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง


บริการเทียบราคาจบในแอป

แน่นอนว่าการซื้อของแล้วได้ทั้งส่วนลดและเงินคืนจะคุ้มแล้ว แต่จะยิ่งดีกว่าไหมหากเราสามารถ ‘เทียบราคาสินค้า’ ของแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อหาร้านค้าที่มีราคาดีที่สุดได้ เชื่อว่านักช้อปหลายคนจะตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นคงต้องเทียบราคากับแต่ละแพลตฟอร์มก่อน ขณะที่ ShopBack มีพันธมิตรอยู่กว่า 150 ราย ทำให้สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าระหว่างแอปต่าง ๆ ได้เพียงลูกค้าเสิร์ช จากนี้ก็ไม่ต้องเข้าแอปนั้นออกแอปนี้เพื่อเทียบราคา แต่เข้า ShopBack ที่เดียวพอ

นอกจากนี้ ShopBack ยังมีฟีเจอร์ Watch List ตัวที่ช่วยในการเตือนเวลามีโปรโมชั่นของสินค้าที่ลูกค้าเลือกกดเซฟไว้ และ VDO Shopping ที่จะเป็นคลิปรีวิวสินค้าสั้น ๆ ในแอป เพื่อให้ลูกค้าเห็นรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อ และเพิ่มความคุ้มด้วย E-voucher หรือคูปองส่วนลดขาย เมื่อไปช้อปตามร้านก็ใช้คูปองส่วนลด On Top จากร้านค้านั้น ๆ ได้อีกต่อ


ในอนาคต อาจจะมีตัว ShopBack GO ซึ่งเป็นอีก model ที่ให้ลูกค้าสามารถได้รับเงินคืนเมื่อช้อปสินค้า offline ซึ่งมีเปิดตัวไปแล้วที่สิงค์โปร์ และจะเริ่มมี ‘แบรนด์’ ที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์โดยตรงกับ ShopBack มากขึ้น

สำหรับใครที่เก็บเงินรอช้อปโปรโมชั่น 9.9 นี้ ShopBack ก็มีคูปองส่วนลดสูงสุด 9,999, 999 และ 99 บาท จาก Shopee, Lazada, Supersports, ThisShop, Sephora, Foodpanda, Grab, Tops Online มีสินค้าราคา 1 บาท และโปรโมชั่นเงินคืน on top อีกสูงสุดถึง 30% ใครที่อยากจะได้ความคุ้ม ๆ ก็โหลด ShopBack มาลองใช้ได้เลย → https://app.shopback.com/jwAA56Ru0ib

]]>
1348857
‘ShopBack’ มองตลาดอีคอมเมิร์ซครึ่งปีหลังยังเดือด และ ‘วิดีโอ’ จะยิ่งมีอิทธิพลในการช้อป https://positioningmag.com/1342388 Wed, 14 Jul 2021 12:52:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342388 หากพูดถึง ‘ShopBack’ แพลตฟอร์มสะสมรางวัล และ เงินคืนบนอีคอมเมิร์ซ ซึ่งขาช้อปหลายคนอาจผ่านหูผ่านตามาบ้าง เพราะ ShopBack ให้บริการมา 4 ปีแล้ว โดย กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย ก็ได้มาคาดการณ์ถึงตลาดอีคอมเมิร์ซในครึ่งปีหลัง รวมถึงเทรนด์ที่จะได้เห็นในอนาคต

โดย กวิน มองว่าในช่วงครึ่งปีหลังตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโต เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ยังคงเป็นตัวกระตุ้นเพราะการเดินทางไปจับจ่ายยังจำกัด ซึ่งเป็นภาพชัดเจนมาตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรกในเดือนเมษายน-พฤษภาคมปี 63 ขณะที่โปรโมชันสำคัญของเหล่าอีมาร์เก็ตเพลสยังคงเป็นแคมเปญดับเบิลเดย์ อาทิ 11.11, 12.12 ที่น่าจะทำโปรโมชันแรงมาก ๆ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภค

ในส่วนของเทรนด์ที่จะเริ่มเห็นจากนี้และในระยะยาวคือ แบรนด์หันมาขายออนไลน์เองโดยไม่พึ่งอีมาร์เก็ตเพลส เนื่องจากแบรนด์ต้องการ ข้อมูล เพื่อนำไปต่อยอดทางการตลาดทั้งการทำแบรนดิ้งต่าง ๆ ดังนั้น งบการตลาดจากนี้จะลงน้ำหนักไปกับส่วนนี้ โดยกลุ่มแรกที่จะเห็นคือ กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม, แฟชั่น ดังนั้น ShopBack ก็มีแผนจะเพิ่มพันธมิตรรายใหม่แบบโดยตรงมากขึ้น

นอกจากนี้ ที่น่าจับตามองคือ วิดีโอ เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย ดังนั้น คอนเทนต์วิดีโอน่าจะเป็นเทรนด์ของอนาคตและจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อ ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลัง ShopBack จึงร่วมมือกับครีเอเตอร์จาก TikTok กว่า 100 ราย นำคลิปวิดีโอรีวิวสินค้ามานำเสนอบนแพลตฟอร์มเพื่อให้รายละเอียดสินค้า โดยครีเอเตอร์จะได้ส่วนแบ่งรายได้ ซึ่งจากการทดลองพบว่า ผู้รับชมวิดีโอกว่าครึ่งมีการคลิกต่อเพื่อเข้าไปเลือกชมสินค้าและบริการ

กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย

จากปัจจัยจากการระบาดของ COVID-19 กลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์วิดีโอ รวมถึงการทำโปรโมชันที่จูงใจ เชื่อว่าจะทำให้ ผู้ใช้งานและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน ShopBack มียอดดาน์โหลดมากกว่า 18 ล้านครั้ง มีผู้ใช้งานกว่า 4.7 ล้านคน เป็นผู้หญิง 60% และชาย 40%

โดยกลุ่มอายุ 18-24 ปี มีสัดส่วน 11%, 24-34 ปี 42%, 34-44 ปี 29% และอายุ 45 ปีขึ้นไป 18 ผู้ใช้งานที่แอคทีฟราว 4.5 แสนราย/วัน มีอัตราการใช้ซ้ำ 50% มีการเข้าใช้งานผ่านแอนดรอยด์ 63% IOS 36% PC 1% และสำหรับกลุ่มสินค้าที่มียอดการสั่งซื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มความงาม, เสื้อผ้าและรองเท้าผู้หญิง, อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน, ของชำ และโมบายและแท็บเล็ต

]]>
1342388