GPSC – ธ.ก.ส. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ทั้งแสงอาทิตย์ และลม ควบคู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมพลังงาน พลิกโฉมภาคการเกษตรของไทยให้ก้าวสู่เกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร และต่อยอดการขอฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียวจาก ธ.ก.ส. ในอนาคต เพื่อร่วมขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 โดย ธ.ก.ส. พร้อมเติมทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) วงเงินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท
นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะร่วมกันศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อหาพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ที่สามารถนำมาพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ โดยที่เกษตรกรยังคงสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมคู่ขนานกันไปในพื้นที่ดังกล่าวได้ พร้อมกับหาแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดในส่วนของไฟฟ้ามาใช้ในภาคเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าพืชผลทางการเกษตรให้สูงขึ้น ซึ่งจะตอบโจทย์การเกษตรอย่างยั่งยืน
นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มีนโยบายสนับสนุนเกษตรกรในการพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ซึ่งความร่วมมือกับ GPSC จะช่วยเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้รับองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ และลมที่เป็นพลังงานสะอาด และมีอยู่ตลอดทั้งปีในประเทศไทย รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเสริมศักยภาพการผลิต เพื่อลดต้นทุนและสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่ง ธ.ก.ส. พร้อมที่จะเชื่อมโยงในการนำความรู้ต่างๆ ของ GPSC ไปยังเกษตรกรเพื่อปรับใช้ในกระบวนการผลิต การแปรรูปเพิ่มมูลค่า ทั้งในส่วนของการผลิตที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้กับเกษตรกรในการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด ในการทำเกษตรอินทรีย์และผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ในส่วนของการขับเคลื่อนการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนร่วมปลูกป่าในพื้นที่ของตนเองและชุมชนผ่านโครงการธนาคารต้นไม้ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) และกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ในชุมชน ปัจจุบันมีธนาคารต้นไม้เข้าร่วมโครงการ 6,838 ชุมชน มีต้นไม้ขึ้นทะเบียนในโครงการ 12.4 ล้านต้น มีสมาชิก 123,845 ราย และมีชุมชนที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวน 62 ชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศในการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ความยั่งยืน
สำหรับแนวทางการดำเนินงานของทั้งสององค์กร จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน โดยคัดเลือกพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพในทุกพื้นที่ ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในส่วนของ GPSC จะนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไปวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เหมาะสม เข้าไปสนับสนุนภาคการเกษตร ทั้งการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม แสงอาทิตย์ และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการบริหารจัดการพลังงาน เข้าไปควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบการใช้งานของภาคการเกษตร ซึ่งจะทำให้การพัฒนาภาคการเกษตรของไทยเป็นเกษตรยุคใหม่ที่มีความยั่งยืน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางพลังงานโลกและแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ที่แสวงหาแนวทางการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วนมากขึ้น
GPSC และ ธ.ก.ส. มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการใช้พลังงานสะอาดในการทำการเกษตรกรรมร่วมด้วย อีกทั้งเกษตรกรยังอาจสามารถต่อยอดเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียว (Green Farming Certificate) ในอนาคต ซึ่งเป็นการการันตีผลผลิตที่ได้จากการเกษตรที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ถือเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งของพัฒนาอาชีพเกษตรกรยุคใหม่ และยังเป็นต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้พลังงานสะอาด ในการยกระดับมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรของไทยที่สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (การพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) เพื่อความยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
#GPSC #GPSCgroup #SmartEnergyForEvolvingLife #SmartFarming #BAAC #GreenCredit
]]>บนพื้นที่ 3,454 ไร่ ในตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง คือที่ตั้งของ “วังจันทร์วัลเลย์” พัฒนาโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ตามนโยบาย Thailand 4.0 สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ประเทศ
วิสัยทัศน์แหล่งนวัตกรรมของ ปตท. ไม่ใช่แค่เพียงนวัตกรรมด้านพลังงานเท่านั้น แต่มองครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ขยายไปถึงภาคเกษตรกรรมและบริการ ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้คนไทยในอนาคต และยังเปิดให้บริษัทที่สนใจเข้าร่วมในระบบนิเวศนี้ได้ทั้งหมด
เมื่อเป็นแหล่งวิจัยนวัตกรรม วังจันทร์วัลเลย์ จึงมีทั้งพื้นที่เพื่อการศึกษา เพื่อปั้นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่รุ่นเยาว์ รวมถึงมีแหล่งที่พักอาศัย แหล่งสันทนาการ พื้นที่ธรรมชาติให้กับนักวิจัย ซึ่งเปิดให้ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาใช้งานได้ด้วย ทำให้ภาพของโครงการนี้มีความสมบูรณ์ครบวงจร มองแบบครบลูปในการสร้างแหล่งนวัตกรรม และครอบคลุมไปไกลกว่าเฉพาะ ปตท.
พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ แบ่งเป็น 3 ส่วนประกอบหลักตามคอนเซ็ปต์ Smart Natural Innovation Platform ได้แก่
1) พื้นที่เพื่อการศึกษา (Education Zone) กลุ่มที่ตอบโจทย์การสร้างการศึกษา คือ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นแหล่งบ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยรุ่นใหม่ของประเทศ ช่วย Up-skill หรือ Re-skill ให้บุคลากร และเป็นตัวกลางสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ รวมถึงมีกลุ่มที่ตอบโจทย์ด้านการพัฒนาทางการเกษตร มุ่งสู่การสร้างประสิทธิภาพผลผลิตและ Smart Farming ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ และ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
2) พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม หรือ Smart Innovation Platform เพื่อยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด โดยออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการไว้อย่างครบวงจร พร้อมรองรับวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ EECi นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ส่วนกลาง และอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center: IOC) ซึ่งมีการวางโครงข่ายเชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะต่างๆ เพื่อบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ต่อยอดในเชิงธุรกิจ
3) พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone) นักวิจัย นักเรียน และชุมชนที่เกี่ยวข้องจะใช้ชีวิตได้จริงในโครงการนี้ เพราะโครงการมีการพัฒนา ที่พักอาศัย โรงแรม ศูนย์การค้า แหล่งนันทนาการ พื้นที่อาคารต่างๆ ยังดีไซน์แบบ Universal Design ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเพื่อดึงดูดบุคลากรชั้นนำให้มาร่วมสร้างสรรค์งานในพื้นที่นี้
วังจันทร์วัลเลย์ ยังได้รับการประกาศเป็น “เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ” (Smart City) จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้น องค์ประกอบภายในโครงการจะพัฒนาตามหลักการ Smart City ครบทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ Smart Economy, Smart People, Smart Living, Smart Environment, Smart Mobility, Smart Energy และ Smart Governance ดังนั้น นอกจากโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบมาตรงกับองค์ประกอบของ Smart City ในหลายด้าน เรายังจะได้เห็นวังจันทร์วัลเลย์เป็นเมืองตัวอย่างของการปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยภายในจะมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานสะอาด กระจายไฟฟ้าสู่ทั้งโครงการด้วยระบบ Smart Grid มีรถประจำทางไฟฟ้ารับส่งภายในพื้นที่ มีทางเดินและทางจักรยานที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
แหล่งพัฒนานวัตกรรมคงเกิดขึ้นจริงไม่ได้เลยถ้าไม่สามารถ “ทดลอง” สิ่งใหม่ได้ ดังนั้น วังจันทร์วัลเลย์จึงประสานงานทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเปิดพื้นที่ให้โครงการนี้เป็น “แซนด์บ็อกซ์” ผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ
โครงการที่ได้ดำเนินการแล้วขณะนี้คือ 5G Play Ground เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการใช้โครงข่าย 5G และ UAV Regulatory Sandbox ทดสอบเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Unmanned Aerial Vehicle หรือก็คือ “โดรน” นั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือหลายฝ่าย ได้แก่
ขณะนี้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 95% จะเสร็จสมบูรณ์ 100% ภายในไตรมาส 3 ปี 2564 ระหว่างนี้โครงการกำลังเปิดรับผู้ที่สนใจและพันธมิตรเพิ่มเติม โดย ปตท. จะทำหน้าที่เป็น Enabler ผู้สร้างระบบนิเวศความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังตัวอย่างแซนด์บ็อกซ์ 5G และ UAV ข้างต้น จุดประสงค์เพื่อมุ่งสู่นวัตกรรมสร้าง New S-Curve ให้กับธุรกิจ
วังจันทร์วัลเลย์มีสิทธิประโยชน์ให้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าใช้บริการในโครงการ ดังนี้
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อีเมล [email protected]
]]>