SME – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 20 Oct 2024 04:57:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 WOOPS Smoothie ปั้นแบรนด์น้ำปั่นฉบับ SME สมูทตี้ขวัญใจชาวออฟฟิศย่านสาทร  https://positioningmag.com/1491903 Thu, 26 Sep 2024 08:17:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491903 หากย้อนกลับไปในช่วงที่ทั่วโลกเผชิญกับการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 เทรนด์การรักษาสุขภาพทั่วโลกรวมถึงในไทย มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกายได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามมา รวมถึงเทรนด์ อาหารเพื่อสุขภาพ ที่มีแบรนด์เฉพาะเกิดขึ้นมากมาย โดยขายความเป็นสินค้าคุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดี มีการใช้วัตถุดิบจากแหล่งเฉพาะ รวมถึงความเป็น Organic เป็นต้น

สอดคล้องกับข้อมูลจาก Mintel ที่เผยว่า ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 35% ให้ความสำคัญกับคุณค่าต่อสุขภาพมากกว่าเรื่องรสชาติ ส่วนผู้บริโภคประมาณ 22% ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องรสชาติเมื่อซื้อเครื่องดื่มมากกว่าคุณค่าต่อสุขภาพ 

จึงในระยะหลายปีให้หลังมานี้ มีร้านน้ำผักผลไม้ที่เป็นที่น่าสนใจและได้รับความนิยมมากขึ้นหลากหลายแบรนด์ อาทิ Erewhon Smoothie น้ำปั่นจากอเมริกาที่สร้างความฮือฮาเรื่องสีสันที่น่าทาน รวมถึงราคาที่แค่เริ่มต้นก็ปาไป 800 กว่าบาท แต่ธุรกิจกลับมีการเติบโตเฉลี่ย 30% ต่อเนื่องทุกปี 

หรือจะเป็น Boost Juice ร้านน้ำปั่นจากออสเตรเลีย ที่กำลังฮิตมาในหมู่วัยรุ่นไทย ซึ่งแบรนด์ขายแค่น้ำผลไม้ปั่น แต่สามารถขยายสาขาไปได้กว่า 600 แห่งใน 15 ประเทศทั่วโลก ตามมาด้วย Plantiful ร้านน้ำผักผลไม้ปั่นที่ได้ฉายาว่าเป็น น้ำปั่น Erewhon สาขาไทย และล่าสุด OH JUICE! แบรนด์น้ำปั่นเพื่อสุขภาพที่แตกไลน์ธุรกิจออกมาจาก โอ้กะจู๋ ร้านอาหารสุขภาพที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เป็นต้น

(ซ้ายมือ)ไอซ์-จักรภัทร มุ่งจิตภิญโญ และ (ขวามือ) ซันนี่-วีรสรณ์ ลิ้มเจริญ เจ้าของร้าน WOOPS Smoothie (วูบส์ สมูทตี้)

ความฝันคนรุ่นใหม่ มีธุรกิจก่อนวัยเลข 3

หากมองแนวโน้มของตลาดอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ ก็ถือเป็นอีกธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องขึ้นทุกปีและน่าสนใจไม่น้อย ซึ่ง ซันนี่-วีรสรณ์ ลิ้มเจริญ และ ไอซ์-จักรภัทร มุ่งจิตภิญโญ คู่เพื่อนซี้เจ้าของร้าน WOOPS Smoothie (วูบส์ สมูทตี้) ก็เป็นอีกหนึ่งผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่เลือกลาออกจากงานประจำ แล้วเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ

ซึ่งทั้งคู่เลือกทำธุรกิจร้าน สมูทตี้ เพราะมาจากประสบการณ์ตรงที่ซันนี่เจอตอนไปออกกำลังกายเสร็จ แล้วอยากดื่มอะไรเย็นๆ คลายร้อน จึงสั่งน้ำผลไม้ปั่นไม่ใส่น้ำเชื่อม แต่ก็ไม่มีความอร่อย จึงบ่นในวงเพื่อนขำๆ ว่า ทำไมไม่ใส่ผลไม้ล้วนลงไปปั่น 

บวกกับความชอบที่ทั้งคู่มีเหมือนกัน คือ เป็นคนรักสุขภาพและชื่นชอบการกินน้ำปั่นกันเป็นทุนเดิม จึงลองใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในครัวบ้านนำผลไม้มาปั่นกินกันเอง โดยไม่ใส่น้ำเชื่อมและน้ำแข็งลงไป ปรากฏว่าเครื่องดื่มก็ออกมามีรสชาติที่ดี ได้ประโยชน์แถมความหวานก็ได้จากผลไม้

โดยเมนูแรกที่ลองทำคือ มิกซ์เบอร์รี่ ที่นำเบอร์รี่มาปั่นรวมกับนมและโยเกิร์ต เมื่อลองทำให้คนรอบตัวชิมและช่วยคอมเมนต์ ช่วยกันพัฒนาสูตรกันกว่า 2-3 เดือน จนมั่นใจว่าไปต่อได้ จึงลองเปิดขายสมูทตี้ทางออนไลน์เป็นครั้งแรกในช่วงเดือน มิถุนายน 2567 โดยใช้พื้นที่ชั้น 2 ของร้านอาหารเกาหลีในซอยสาทร 11 ซึ่งเป็นธุรกิจทางบ้านซันนี่ ที่กำลังจะปิดตัวลงเป็นครัวกลางทำสมูทตี้ 

ซึ่งทั้งซันนี่และไอซ์ ก็มีความรู้ด้านธุรกิจกันมาบ้าง เพราะไอซ์เรียนจบทางด้านนิเทศศาสตร์ แต่มีประสบการณ์การทำงานในแวดวงการตลาด รวมถึงทำแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองคือ MARTIN HANK ซึ่งก็มีแนวโน้มไปได้สวย ผนวกกับความชอบในด้านแฟชั่นที่มีมากกว่าการนั่งทำงานประจำเป็นมนุษย์ออฟฟิศ ไอซ์จึงเลือกลาออกมาโฟกัสที่แบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองเต็มตัว 

ส่วนซันนี่เรียนจบบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด และเคยทำงานในสายการตลาดให้บริษัทอุปกรณ์กีฬาแบรนด์ดัง แล้วก็เห็นว่าเพื่อนซี้อย่าง ไอซ์ ลาออกจากงานแล้วมาเป็นนายตัวเองทั้งธุรกิจก็ไปต่อได้ดี จึงอยากลองหาธุรกิจทำเป็นของตัวเองบ้าง เพราะด้วยวัยที่ใกล้เลข 3 บวกกับใฝ่ฝันอยากมีธุรกิจเล็กๆ เป็นของตัวเอง จึงได้ปรึกษาและชักชวนนำเงินเก็บมาลงขันกันทำธุรกิจด้วยงบหลักล้านบาท 

เริ่มต้นธุรกิจ แม้จะทำการบ้านมาดี แต่ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

แม้ตอนนี้ธุรกิจน้ำปั่นจะมีแต่เจ้าใหญ่ๆ อาทิ Boost Juice Plantiful และล่าสุด OH JUICE! ที่ทุนหนากว่า แบรนด์ติดตลาด สามารถขยายสาขาเข้าไปตามศูนย์การค้าได้ แต่เทรนด์ของน้ำปั่นก็ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในเมืองไทย เพราะปัจจัยอย่างสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน ทำให้ผู้คนมีความต้องการในการบริโภคเครื่องดื่มที่มีความเย็นและสดชื่น ซึ่ง WOOPS Smoothies ที่เป็นแบรนด์น้ำปั่นที่ปั้นขึ้นด้วย SME ตัวเล็กๆ ได้เข้ามาเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาด

แต่ใช่ว่าธุรกิจขายสมูทตี้ออนไลน์ของทั้งคู่จะไปได้สวย เพราะในช่วงเปิดร้านแรกๆ ยอดขายดีเพราะเพื่อนๆ และคนรู้จักมาช่วยกันอุดหนุน แต่พอเวลาผ่านไปก็ได้พบความจริง ที่ทั้งคู่ก็คาดการณ์กันไว้อยู่แล้วว่ายอดขายจะหายไป เหลือเพียง 1-2 แก้วต่อวัน บางวันก็ไม่มียอดสั่งซื้อ และจำต้องทิ้งผลไม้และวัตถุดิบต่างๆ แม้จะเป็นการทิ้งต้นทุนไปเสียเปล่า แต่เพื่อความสดใหม่ของวัตถุดิบที่จะนำมาทำเครื่องดื่ม ทั้งคู่จึงยอมเฉือนเนื้อกันคนละหน่อย ไหนจะต้นทุนเรื่องค่าที่ที่ยังต้องเสียเท่าเดิม ซันนี่และไอซ์จึงกลับมานั่งวางแผนแก้ปัญหาและค่อยๆ เรียนรู้วิธีทำธุรกิจกันไป 

จนเมื่อเห็นว่ามีคนเดินผ่านไปผ่านมาในซอยเยอะ ผนวกกับร้านอาหารเกาหลีได้ปิดตัวลงเหลือเพียงร้านและโต๊ะเก้าอี้ที่ทิ้งไว้เฉยๆ ซันนี่และไอซ์จึงลองย้ายอุปกรณ์ต่างๆ ลงมาที่ชั้นล่าง แบ่งใช้พื้นที่เล็กๆ ในร้าน แล้วปั่นน้ำขายคนที่เดินผ่านไปมา ทำให้ร้านเริ่มมีลูกค้าจากการ Walk in มากขึ้น จนคนยืนรอเต็มฟุตบาท

ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจรีโนเวตร้านเก่า เพื่อเปิดให้ลูกค้าเข้ามานั่งทานน้ำหลบร้อนกันข้างในได้ และซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ในการทำธุรกิจ เช่น เครื่องปั่นที่ใช้แบรนด์ราคาหลักพันปลายๆ ที่มีความแข็งแรงกว่าเดิม รวมถึง เครื่องสกัดเย็นราคาเกือบหมื่น (ที่ช่วยร่นระยะเวลาในการทำเครื่องดื่มได้เยอะ) มาทำเมนูน้ำผลไม้สกัดเย็น เพิ่มเข้ามาเป็นตัวเลือกให้ลูกค้า เป็นต้น

จนในเดือนสิงหาคม WOOPS Smoothie ที่ได้แรงบันดาลใจของชื่อมาจาก เสียงดูดน้ำตอนใกล้จะหมดแก้ว WOOPS (วูบส์) พร้อมคอนเซ็ปต์ ไม่ใส่น้ำแข็ง ไม่ใส่น้ำเชื่อม ก็ได้ฤกษ์เปิดในซอยสาทร 11 อย่างเป็นทางการ

เตรียมขยายอีก 3 สาขา จับโลเคชั่นออฟฟิศ

ด้วยความที่ร้านอยู่ในย่านสำนักงานยอดขายจึงดีในวันทำงาน โดยตลาดลูกค้าหลักๆ จึงเป็นกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ที่จะเข้ามาหาอะไรกินในซอยตอนเที่ยงๆ กลุ่มรองลงมาเป็นนักท่องเที่ยวที่มาพักโรงแรมใกล้ๆ โดยราคาเครื่องดื่มของร้านมีตั้งแต่ราคา 59 บาทไปจนถึงหลักร้อยปลายๆ โดยมียอดขายเฉลี่ย 100 แก้วต่อวัน 

ซึ่งมาจากลูกค้าที่ Walk in กว่า 70% และอีก 30% เป็นลูกค้า Delivery ที่ตามมาจากช่องทาง Online ที่ทางร้านเองก็วางแผนไว้คือ การทำการตลาด ยิงโฆษณาบนแอปฯ Delivery เรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมลูกค้า การทำคอนเทนต์ป้อนลงไปบนโซเชียลเพื่อโปรโมตร้าน การวางแผนจะใช้ KOL ให้เข้ามาช่วยทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมถึงรสชาติเครื่องดื่ม งานอาร์ตเวิร์ก แบรนด์ดิ้งต่างๆ ที่ใช้ภายในร้าน 

ร้านเปิดมาได้ 4 เดือน ทั้งคู่ก็มีปรับแผนกันว่าจะปรับปรุงร้านใหม่ โดยจะแบ่งร้านทำธุรกิจ 2 อย่างคือ ฝั่งหนึ่งเป็นโซนร้านน้ำผลไม้ทำธุรกิจขายน้ำผลไม้ อีกโซนหนึ่งจะทำเป็นธุรกิจรับจัดดอกไม้ที่มีการร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นเพื่อนๆ กันด้วย 

ทำให้นอกจากสำนักงานใกล้ๆ จะมาสั่งดอกไม้เป็นของขวัญได้แล้ว ร้านยังมีดอกไม้เป็นตัวดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูปและใช้บริการมากขึ้น รวมถึงแพลนที่จะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ในการเปิดสาขาเพิ่มอีก 3 สาขา โดยแบ่งเป็นหน้าร้าน 2 ที่ คือ เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ กับ ตลาดละลายทรัพย์ และย่านงามวงศ์วาน ที่จะเปิดเป็นเดลิเวอรี

ทั้งนี้ ทั้งคู่มองว่าตลาดอาหารเครื่องดื่มและของกินต่างๆ เป็นตลาดที่กว้างมาก โดยเฉพาะกับเทรนด์เฮลท์ตี้ที่กระแสมาแรงกว่าเมื่อก่อน ซึ่งเทรนด์เครื่องดื่มสมูทตี้ ที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบัน จะเป็นเรื่องของการแต่งแก้ว เน้นความสวยงาม แต่ที่ร้าน WOOPS ไม่ได้เน้นความหวือหวาในเรื่องการตกแต่ง หรือเมนูแปลกแหวกกว่าใคร แต่เป็นร้านที่อยู่ในคอนเซ็ปต์ Every Day Smoothies กินง่าย ใครๆ ก็มากินกันได้ทุกวัน 

แม้ว่าความสวยงามก็ถือเป็นจุดดึงดูดลูกค้า แต่ทั้งคู่มองอยากเน้นให้ลูกค้ามาซื้อกินมากกว่า เพราะจากที่ลองเปิดร้านเป็นธุรกิจเสริม กลายเป็นว่าธุรกิจสมูทตี้สามารถสร้างรายได้ให้กับซันนี่และไอซ์ได้อย่างจริงจัง ทั้งคู่จึงไม่ได้คิดว่า ธุรกิจที่ทำจะมีการแข่งขันสูงจนร้านไม่สามารถพัฒนาหรือเติบโตต่อไปได้ในอนาคต มีแต่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และอยู่ไปอีกพักใหญ่ๆ 

]]>
1491903
‘KKP Reseach’ มอง 4 ปัจจัยที่ไทยดึงดูดให้ ‘สินค้าจีน’ ทะลัก จนเป็นหนึ่งในประเทศที่ ‘ขาดดุล’ กับจีนเร็วที่สุด https://positioningmag.com/1490967 Thu, 19 Sep 2024 09:17:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1490967 แนวโน้มการเข้ามาของสินค้าจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่หลังโควิด-19 ก็เริ่มเห็นสัญญาณการเร่งขึ้นของการขาดดุลการค้าระหว่างไทยกับจีนอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีน โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้จีนหันมาเร่งเติบโตด้วยการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออก และระบายสินค้าคงคลังด้วยการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอาเซียน

โดย KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มองว่ามี 4 ปัจจัย ที่มีส่วนดึงดูดสินค้าจากจีนให้เร่งเข้ามาไทยมากกว่าในหลายประเทศ คือ

  • ประเทศไทยมีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการนำเข้าสินค้าจากจีน ตัวอย่างเช่น การคิดอัตราภาษีจากสินค้าจีนในระดับต่ำ
  • การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จีนเป็นผู้นำ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า
  • การเกิดขึ้นของอีคอมเมิร์ซไทย โดยคนไทยมีความคุ้นเคยและนิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพิจารณาจากราคา ไม่ยึดติดกับแบรนด์
  • การให้ Free visa กับนักท่องเที่ยวจากจีน ทำให้ไม่มีการตรวจสอบการเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด เปิดช่องทางให้คนจีนเข้ามาทำการค้าทำธุรกิจในไทยได้โดยง่าย

ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้ไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการส่งออกสินค้าจากจีน ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเร่งตัวของการขาดดุลการค้ากับจีนเร็วมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเพิ่มขึ้นจาก 2.5% ของ GDP ในปี 2012 เป็น 7.5% ของ GDP ในปี 2022 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 5 p.p. ซึ่งเกิดจากทั้งการนำเข้ามาเพื่อบริโภคในประเทศเอง และการนำเข้าเพื่อส่งออกสินค้าต่อไปยังต่างประเทศ

Photo : Shutterstock

ส่อง 5 กลุ่มสินค้าที่ทะลักเข้าไทยมากที่สุด

หากพิจารณาพัฒนาการของการค้าระหว่างไทยกับจีนในรายละเอียดอาจสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มสินค้าสำคัญที่น่าสนใจ คือ

  • กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นกลุ่มที่ส่งผลให้มีการขาดดุลมากที่สุด โดยสินค้าที่สำคัญที่ไทยนำเข้าจากจีนค่อนข้างมาก คือ สินค้าในกลุ่ม smartphone ซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายได้ผ่าน e-Commerce Platform ทำให้เห็นภาพว่าอีคอมเมิร์ซ มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการส่งผ่านสินค้าจากจีนมายังไทยมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
  • สินค้าในกลุ่มเครื่องจักร เคยเป็นหนึ่งในประเภทสินค้าที่ไทยเกินดุลการค้ากับจีนจากสินค้าอย่าง Hard Disk Drive อย่างไรก็ดี ในภายหลังสินค้าเครื่องจักรจากจีนเริ่มเข้ามาในตลาดไทยมากขึ้น นำโดย Laptop และเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • สินค้าในกลุ่มยานยนต์ สินค้าที่ขาดดุลกับจีนเป็นอันดับต้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่สินค้าที่เกินดุลการค้ากับจีนเป็นสินค้ารถยนต์ที่ประกอบสำเร็จแล้ว โดยในปี 2022 เริ่มเห็นสัญญาณความเสี่ยงจากการที่ไทยเริ่มขาดดุลการค้ากับจีนในสินค้ารถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV โดยมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นแซงหน้าชิ้นส่วนยานยนต์ทุกประเภท
  • เหล็กกล้าและอะลูมิเนียม พบว่าเหล็กและอะลูมิเนียมขาดดุลการค้ามากขึ้นทุกปีกับจีน โดยมีสาเหตุจากกำลังการผลิตที่เกินอุปสงค์ภายในประเทศจีนที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ สุดท้ายจึงต้องส่งออกเหล็กสำเร็จรูปเหล่านั้นมาที่ประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทย
  • เคมีภัณฑ์และพลาสติก เปลี่ยนจากการเกินดุลการค้าเป็นขาดดุลการค้าในช่วงที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าในปัจจุบันจีนมีการพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม โดยมีกำลังผลิตรวมมากกว่ายุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้รวมกันเสียอีก จีนจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าอีกต่อไป

เมื่อพิจารณาสินค้าในกลุ่มที่มีแนวโน้ม ส่งออกผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มายังประเทศไทย กลุ่มสินค้าที่ไทยมีแนวโน้มขาดดุลกับจีนมากขึ้นแ ได้แก่

  • คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มมากถึง 8.8% ของภาคการผลิตไทย
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าเพิ่ม 3.5 %
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า มีมูลค่าประมาณ 3 %

โดยนับรวมเป็นมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตในกลุ่มที่มีความเสี่ยงนี้คิดเป็นประมาณ 18% ของมูลค่าการผลิตทั้งหมดของประเทศ โดยเริ่มเห็นทิศทางการผลิตที่ชะลอลงแล้วในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้การเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อภาคบริการแบบเก่า คือ กลุ่มค้าปลีกมีโอกาสได้รับผลกระทบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ถึงประมาณ 16% ของ GDP และอาจมีผลกระทบสำคัญตามมาอีกอย่างน้อย 5 เรื่อง คือ

  • รายได้ของธุรกิจมีแนวโน้มถูกกระทบรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ปรับตัวได้ยากกว่า
  • หนี้เสียมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยในปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีแนวโน้มเป็นกลุ่มสินค้าเดียวกันกับสินค้าที่ไทยขาดดุลกับจีนมากขึ้น เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า เหล็ก
  • ดุลการค้ามีแนวโน้มพลิกเป็นขาดดุลในระยะยาว และกดดันค่าเงินบาทจากการนำเข้าสินค้าจีนทดแทนการผลิต
  • เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง จากสินค้าราคาถูกจากจีน
  • รัฐบาลไทยสูญเสียรายได้ภาษี จากการที่การชำระเงินให้กับการซื้อสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มข้ามชาติเหล่านี้ ถูกจ่ายตรงไปยังธุรกิจในต่างประเทศ

ไทยควรรับมืออย่างไร ?

การเข้ามาบุกตลาดของสินค้าจีนอาจมีข้อดีทำให้ซื้อสินค้าในราคาถูกลง แต่ตามมาด้วยผลกระทบด้านลบต่อผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้การออกมาตรการสกัดกั้นหรือตอบโต้สินค้าจากจีนอาจเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนในทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ KKP Research ประเมินว่า ภาครัฐไม่จำเป็นต้องกีดกันสินค้าจากจีนในวงกว้าง หากแต่ควรพิจารณาออกแบบมาตรการรับมือ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และหลักการ ในมิติดังต่อไปนี้

  • Fair competition: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มีการลักลอบ หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อหลบเลี่ยงภาษี หรือเป็นการทุ่มตลาด ทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียผลประโยชน์จากการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม
  • Quality and standards: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนดโดยมาตรฐานสินค้าและอาหารของหน่วยงานภาครัฐไทยหรือไม่?
  •  Strategic industry: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าที่มาแข่งขันกับการผลิตในประเทศในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์สำหรับเศรษฐกิจไทย และการจ้างงานในภาพรวมหรือไม่?

ในกรณีที่สินค้ามีลักษณะที่ตรงตามเกณฑ์ต่าง ๆ ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือธุรกิจไทยในกรณีที่มีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการช่วยให้อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจมีเวลาปรับตัวมากเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมาตรการใดที่จะใช้ในการตั้งรับกับการแข่งขันในสมรภูมิสินค้าที่ดุเดือดมากขึ้นนี้ก็อาจเป็นเพียงการซื้อเวลาให้ผู้ประกอบการได้พอมีเวลาปรับตัว แต่สุดท้ายแล้วผู้ชนะในตลาดนี้จำเป็นต้องแข่งกันด้วยคุณภาพของสินค้า ประสิทธิภาพในการผลิต ความคุ้มค่า รวมไปถึงการบริการที่ตอบโจทย์และได้ความพึงพอใจจากผู้บริโภค นับเป็นโอกาสที่ดีที่ภาคการผลิตไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สร้างนวัตกรรม สร้างแบรนด์ที่มีความแตกต่าง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยภาครัฐอาจต้องช่วยส่งเสริมด้วยการสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาปรับปรุงการผลิต รวมถึงการบุกเบิกตลาดใหม่

]]>
1490967
ทำไม ‘Temu’ ถึงเป็นแพลตฟอร์มที่คนยกให้เป็น ‘ปลาหมอคางดำ’ ผู้มาทำลายระบบนิเวศเศรษฐกิจไทย https://positioningmag.com/1486285 Wed, 14 Aug 2024 11:02:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486285 แม้ไทยมีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจากจีนหลายราย แต่การมาของคง Temu หรือ เทมู-ทีมู อีคอมเมิร์ซจีนที่เข้าไทยมาแบบเงียบ ๆ ไปเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก็ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก เพราะด้วยราคาที่ ถูกแสนถูก จนเกิดเป็นคำถามว่า ผู้ประกอบการไทย จะอยู่รอดได้หรือไม่

ไม่มีสำนักงานในไทย = ตั้งใจเอาเปรียบ

ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย 65% ถูกครอบครองด้วย 3 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ Shopee (49%) Lazada (30%) และ TikTok Shop (21%) แต่สำหรับการมาของ Temu ไม่เหมือนกับแพลตฟอร์มไหน ๆ ก็คือ Temu ไม่มีสำนักงานในไทย ซึ่งแปลว่า ยอด ทุกบาททุกสตางค์ของลูกค้าชาวไทยถูกส่งกลับไปจีน เพราะบริษัท ไม่ได้จ่ายภาษีให้กับประเทศไทย โดย ป้อม ภาวุธ กูรูอีคอมเมิร์ซเมืองไทย ถึงกับเอ่ยปากว่า เห็นเจตนาชัดว่า ต้องการฝ่าฝืนและเอาเปรียบประเทศเรา

“เขาคงไม่เข้าประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพราะในหลายประเทศเขาก็ทำแบบนี้ คือ เปิดเว็บไซต์ให้ซื้อและส่งของจากจีนเข้ามาไทย” ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์โซลูชั่น จำกัด กล่าว

ปัจจุบัน Temu เปิดบริการแล้วใน 49 ประเทศทั่วโลก โดยไทยถือเป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย รวม ๆ แล้ว Temu มีจำนวนแอคเคาท์กว่า 467 ล้านแอคเคาท์ เป็นแอปพลิเคชันที่มี ยอดดาวน์โหลดสูงสุดในปีนี้ และมียอดขายรวมกว่า 14,000 ล้านบาทต่อเดือน

ภาพจาก Shutterstock

ถูกจนสหรัฐฯ ยังโดนตก

เพราะแนวคิดแรกของ Temu คือการ ตั้งราคาขายให้ได้ต่ำที่สุด ดังนั้น Temu จึงทำการ ตัดคนกลางออก ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมต่อกับผู้ผลิตโดยตรง หรือพูดง่าย ๆ สินค้าที่สั่ง ส่งตรงจากโรงงานถึงลูกค้า นอกจากนี้ Temu จะมีฟีเจอร์ให้ลูกค้า รวมกลุ่มกันซื้อสินค้า หรือ Group Buying เพื่อให้ได้สินค้าในราคาที่ถูกลงไปอีก ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าบางชนิดราคาจะ ถูกกว่าท้องตลาด 99% ยังไม่รวมการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ และการจัดส่งอย่างรวดเร็วภายใน 4-9 วัน เพราะต่อให้ของถูก แต่ได้ของช้า คนก็อาจไม่รอ

ด้วยกลยุทธ์ที่เล่นเรื่องราคาเป็นหลัก และการจัดส่งที่รวดเร็ว จึงไม่น่าแปลกกใจที่ Temu จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อย่างในตลาด สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ Temu ทำตลาด Temu ใช้เวลาเพียง 2 ปี ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 17% โดยสิ้นปี 2023 มียอดขายสูงถึง 1.53 หมื่นล้านดอลลาร์ และในช่วงต้นปีที่ผ่านมามียอดผู้ใช้งานกว่า 80 ล้านคน

จะเห็นว่าขนาดสหรัฐฯ ที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 94,003 ดอลลาร์ต่อปี หรือ 3.4 ล้านบาทต่อปี ยังโดน ของถูกตก แล้วคนไทยที่มีรายได้เฉลี่ย 248,468 บาทต่อคนต่อปี จะเหลืออะไร

ข้อกังวลความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

ไม่ใช่แค่ราคา แต่เทคโนโลยีของ Temu ก็ยิ่งทำให้แพลตฟอร์มเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกจุด ด้วย อัลกอริทึม ที่วิเคราะห์ customer journey ของลูกค้าอย่างละเอียด ตั้งแต่การดูสินค้า การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อ ทำให้ Temu สามารถปรับแต่งและเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ Temu ยัง ส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังผู้ขาย ทำให้ผู้ขายสามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามเทรนด์หรือความต้องการของตลาด ซึ่งก็ช่วยให้ผู้ขายไม่ต้องผลิตสินค้าเกินความต้องการ สามารถบริหารจัดการต้นทุนและสต็อกได้ดีขึ้น ซึ่งก็ยิ่งทำให้ต้นทุนสินค้าถูกลง ทำให้ทำราคาสินค้าได้ถูกลงไปอีก

อย่างไรก็ตาม ด้วยการใช้งาน Big Data ทำให้ Temu มีประเด็นเรื่อง ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะจากเหตุการณ์ของ Pinduaduo ที่ Temu ก็อยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันกับ PDD Holdings เคยถูก Google ปักธงแดงเปลี่ยนสถานะแอปฯ ให้เป็น มัลแวร์ เพราะ Pinduoduo เวอร์ชันที่ไม่ได้อยู่ใน Google Play Store มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกับมัลแวร์ โดย ทำหน้าที่ตรวจสอบและสอดแนมผู้ใช้งาน โดยใช้วิธีการ Zero-day แฮกข้อมูลของผู้ใช้งาน เพื่อเข้าถึงและรวบรวมข้อมูลผู้ใช้

Shanghai,China-Nov.29th 2023: Pinduoduo (PDD Holdings) brand logo sign on official website. Chinese company

SME เจ็บสุด

จากทั้งสินค้าราคาถูก เงินทุนที่สามารถลด แลก แจก แถม และทำการตลาดได้มากกว่า เทคโนโลยีที่ดีกว่า คนที่กระทบมากสุดคงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง SME และถ้าผู้ประกอบการไทยลดกำลังผลิตหรือเลิกผลิต การจ้างงานก็ลดลง มีผลต่อเนื่องเป็นทอดๆ ต่อเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด (MI GROUP) ยังมองว่า ทุนจีนที่เข้ามาในไทยนั้นมีลักษณะพิเศษกว่าทุนจากชาติอื่นที่เคยเข้ามา เพราะวิธีดำเนินธุรกิจสไตล์จีนคือ ใช้ระบบนิเวศของตนเองทั้งหมด จึงไม่ส่งผลดีต่อการจ้างงานคนไทยและการใช้วัตถุดิบในประเทศไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยยิ่ง ขาดดุลการค้ากับจีน ซึ่งตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมาโดยตลอด โดยในปี 2023 ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมหาศาลถึง 1.29 ล้านล้านบาท แค่ 2 เดือนแรกของปีนี้ ไทยก็ขาดดุลแล้ว 2.82 แสนล้านล้านบาท

“รัฐบาลควรจะเข้ามาดูแลผู้ประกอบการไทย มีมาตรการปกป้องให้มากขึ้น เพราะถ้าผู้ประกอบการไทยลดกำลังผลิตหรือเลิกผลิต การจ้างงานก็ลดลง มีผลต่อเนื่องเป็นทอดๆ ต่อเศรษฐกิจ”

ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด (MI GROUP)

คนไทยตื่นตัวที่จะแบน Temu

อย่างไรก็ตาม แม้ Temu จะดูน่ากลัวเพราะทั้งการทำราคาสินค้า เทคโนโลยี และเงินทุนมหาศาล แต่จุดอ่อนสำคัญคือ คุณภาพสินค้า และการ ละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างในสหรัฐฯ เอง ทางคณะกรรมการทบทวนเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีน (USCC) ก็ได้ออกมาเตือนถึงเรื่องนี้

ซึ่งในประเทศไทยก็ดูเหมือนผู้บริโภคจะตื่นตัวกับการมาของ Temu โดยชาวเน็ตไทยเองก็ตื่นตัวกับการมาของ Temu โดยพากันไปคอมเมนต์เพจ Temu Thailand ที่มีผู้ติดตามกว่า 3 หมื่นคนว่า “ให้ใช้สินค้าไทย ซื้อของคนไทยและต่อต้านสินค้าจีน เพราะมองว่า การเข้ามาของแอปฯ นี้จะทำให้ผู้ประกอบการไทยย่ำแย่ ด้าน นารากร ติยายน ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ได้ออกมารีวิวการสั่งของจาก TEMU ว่า ห่วย ด้วย

เก็บภาษีไม่ได้ก็บล็อกไปเลย

แม้ว่า Temu จะดูน่ากลัว แต่ไม่ใช่ว่าจะสกัดไม่ได้ โดย ภาวุธ ได้แนะนำถึงภาครัฐว่า ควรใช้กฎหมาย E-Service Tax (VES) ที่ทำให้สรรพากรมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการต่างประเทศจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-service) ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ Facebook (Meta), YouTube, Netflix, Google เป็นต้น

หรือมาตรการขั้นเด็กขาดคือ บล็อกการเข้าถึงคนไทย แบบเดียวกับการบล็อกเว็บไซต์อย่าง พอร์นฮับ รวมไปถึงทำหนังสือไปยัง AppStore, PlayStore เพื่อบล็อก Temu ออกจากการเห็นของคนไทย หรือในกรณีที่ไม่สามารถบล็อก Temu ได้ก็ควร บังคับใช้กฎระเบียบเดิมให้เข้มแข็ง เช่น คุมการนำเข้าสินค้าที่เข้มงวด อย่างให้สินค้าที่ไม่มี มอก. หรือ อย. เข้ามาไทย เพราะสินค้าที่ถูก อาจไม่ได้คุณภาพตามข้อกำหนด

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์โซลูชั่น จำกัด

SME หนีไม่ได้ก็เข้าร่วม

สุดท้ายแล้ว SME ที่เน้นนำเข้าของจากจีนมาขาย อาจจะอยู่ยาก ดังนั้น ควรสร้าง แบรนด์ และเน้นไปที่ คุณภาพสินค้า เพราะสินค้าของ Temu ไม่มีแบรนด์ เน้นทำราคา ไม่สนเรื่องคุณภาพ และที่สำคัญ SME ต้อง หาตลาดใหม่ ๆ เช่น กลุ่มเป้าหมายใหม่หรือการ ส่งออก สุดท้าย ต้องนำ เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพิ่มประสิทธิภาพ ลดการใช้คน

อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่า Temu เปิดให้ผู้ประกอบการไทยขายของบนแพลตฟอร์มได้หรือไม่ แต่ที่เห็นคือ Temu เปิดให้โรงงานและบุคคลบางประเภทสามารถสมัคร Seller Account เพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายได้ ซึ่ง คนไทยสามารถสมัครได้ เพียงแต่แพลตฟอร์มจะอนุมัติหรือไม่ขึ้นอยู่กับทาง Temu ซึ่งข้อดีของการขายของบน Temu คือ การเปิดตลาดใหม่ ๆ ในต่างประเทศ ดังนั้น SMEs ไทยอาจจะลองดูสักตั้ง เผื่อใช้ Temu เป็นอีกแพลตฟอร์มในการขายสินค้าไปต่างประเทศ

]]>
1486285
เปิดใจ 3 แบรนด์ดังจาก “LEAD โดยเซ็นทรัลพัฒนา” หลักสูตรปั้นแบรนด์ตัวจริงเสียงจริง ใส่เกียร์เร่งให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน https://positioningmag.com/1481419 Fri, 12 Jul 2024 10:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481419

ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่มีการเปิดกว้างทางธุรกิจอย่างมาก ไม่ได้มีเพียงแค่ธุรกิจระดับยักษ์ใหญ่อย่างเดียวเท่านั้น แต่มีธุรกิจระดับ SME หรือหลักสูตรปั้นแบรนด์แจ้งเกิดเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อายุยังน้อย แต่มีแพชชั่นในการทำธุรกิจอย่างเต็มเปี่ยม

หลายครั้งก็พบว่าธุรกิจในระดับ SME อาจจะเจอข้อจำกัดบางประการ แม้จะมีแพชชั่น แต่อาจจะขาด “คอนเน็คชั่น” ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างการเติบโตได้ ผู้ประกอบการค้าปลีกอย่าง “เซ็นทรัลพัฒนา” จึงเห็นความสำคัญของการของการปั้นธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

จึงเป็นที่มาของคอร์ส “LEAD โดยเซ็นทรัลพัฒนา” ย่อมาจาก Leading Entrepreneur Advanced Development หลักสูตรรีเทลที่พัฒนาให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้เติบโต และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน พร้อมกับสเกลอัพไปแบบก้าวกระโดด ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เรียนจริง ทำจริง โตจริง” ผ่านการเรียนรู้จากผู้รู้จริงในวงการรีเทล ทดลองตลาดกับพื้นที่ที่มีศักยภาพ และนำสิ่งที่ได้พัฒนามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจจริงอย่างเป็นรูปธรรม

เซ็นทรัลพัฒนาได้เปิดหลักสูตรนี้มาตั้งแต่ปี 2560 ปัจจุบันได้เดินทางมาถึงรุ่น LEAD 5 แล้ว ที่ผ่านมาได้ปั้นผู้ประกอบการในเครือข่ายไปแล้วรวมกว่า 180 ราย ในแต่ละรุ่นจะมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรงเข้าร่วมราวๆ 35-40 ราย

โดยมีเซ็นทรัลพัฒนาเป็น Business Incubator ช่วยให้แบรนด์แข็งแรงขึ้น บน Retail Ecosystem ของ Central Group ซึ่งมีกลุ่มธุรกิจและเครือข่ายพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ สร้างโอกาสให้เติบโตได้หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับการอยู่เคียงข้างและช่วยสร้างความสำเร็จให้กับพันธมิตรคู่ค้าของเซ็นทรัลพัฒนาที่มีอยู่กว่า 15,000 รายทั่วประเทศ

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เริ่มเล่าว่า

“กว่า 40 ปี ที่เซ็นทรัลพัฒนา เติบโตมาพร้อมกับผู้ประกอบการร้านค้า ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ซึ่งมีหลายแบรนด์เริ่มต้นธุรกิจมากับ “ศูนย์การค้าเซ็นทรัล”

กระทั่งเติบโตจนเป็นแบรนด์ระดับประเทศและระดับโลก และด้วย Strong ecosystem ของเซ็นทรัลพัฒนา และการเป็น Place Maker หรือนักพัฒนาพื้นที่ซี่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงต่างประเทศ จึงช่วยสร้างและนำพา Tenant ของเราให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

หลักสูตร LEAD จึงเป็นหนึ่งใน Business Strategy ที่สำคัญของเซ็นทรัลพัฒนา เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ ที่มีแพชชั่น และแนวคิดในการปั้นแบรนด์ สร้างธุรกิจของตัวเอง ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมอยู่ใน Retail Ecosystem ที่แข็งแกร่งของเซ็นทรัลพัฒนา และเติบโตไปด้วยกัน”

ตั้งแต่รุ่นที่ 1 มาจนถึงรุ่นที่ 5 สามารถการันตรีความสำเร็จได้จาก ได้สร้างเครือข่ายของแบรนด์กว่า 180 แบรนด์ สร้างมูลค่าการเติบโตธุรกิจมากถึง 2,500 ล้านบาท มีการสร้างแบรนด์ พัฒนา ในการขยายสาขา และหน้าร้านเพิ่มขึ้นคิดเป็น 165% เทียบกับปีแรกที่ดำเนินโครงการ

เซ็นทรัลพัฒนาเองมีแนวคิดในการสร้างพาร์ทเนอร์ในการเติบโตไปด้วยกัน การที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่สามารถสเกลอัพธุรกิจได้ ก็เป็นผลดีต่อธุรกิจกิจศูนย์การค้าเช่นกัน เพราะเป็นส่วนสำคัญในการดึงทราฟฟิกผู้ใช้บริการเข้าศูนย์

ดร.ณัฐกิตติ์ กล่าวย้ำอีกว่า “ไม่เฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ ที่สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนใน Retail Ecosystem ของเซ็นทรัลพัฒนา ขอย้ำว่า ทุกคนโตได้” Nobody is too small to grow โดยไม่จำเป็นต้องกระโดดเป็นช้อปใหญ่โต อาจค่อยๆ ทดลองตลาด ขยับไปทีละฟอร์แมท เริ่มจากเปิดป๊อปอัพ สโตร์ แล้วค่อยขยายเป็น Permanent Shop

ทางด้าน ผศ.ปิติพีร์ รวมเมฆ ที่ปรึกษาโครงการ LEAD และ CEO & Founder บริษัท แอมบิชั่น คอร์ป จำกัด กล่าวเสริมว่า

“สิ่งที่ผู้ประกอบการได้ประโยชน์จากการที่ผ่านการเข้าร่วมคอร์ส LEAD คือการได้ร่วมกันพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ หรือการทำ Brand Co-creation ที่ได้ทดลองนำแบรนด์ของตนมาร่วมต่อยอดกับแบรนด์อื่นๆ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น

หรือการทดลองสร้าง New business format เพื่อสร้างช่องทางการขายหรือการขยายรูปแบบธุรกิจ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ต่อยอดจากสิ่งที่มีสู่สิ่งใหม่ที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จ มากกว่านี้ยังมีโอกาสเข้าสู่อีโคซิสเท็มที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ได้ต่อยอดธุรกิจได้อย่างยั่งยืน”

สำหรับหลักสูตร LEAD รุ่นที่ 5 ที่เพิ่งจะจบไปนั้น มีผู้ประกอบการทั้งสิ้น 35 แบรนด์ มีหลาย
แบรนด์ที่ตัดสินใจขยายธุรกิจไปกับเซ็นทรัลพัฒนา และมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด จากมีเพียง 3 สาขาก่อนเข้ามาเรียน เมื่อจบหลักสูตร มีขยายไปถึง 17 สาขา หรือจากเดิมทำแต่ออนไลน์ เมื่อได้ทดลองทำตลาดและเห็นโอกาส ก็ตัดสินใจที่จะเข้ามาเปิดเป็นหน้าร้าน

แบรนด์ที่เข้าร่วมคอร์ส LEAD 5 ในปีที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้ ANOTHER CUP, ANYWEAR STUDIO, BABY GIFT, BANGKOK GOLDS, BARKETEK, BEEF EXPRESS, BILIX, BLUETTI, BOTTOMLESS, CHAGEE, COVE, COZZY SAY I DO, FRENCH KITSCH CAFE, F.Y.I. MARKET, GRUMPY, HAEWON, HASS, HOLEN, KIM&CO. MULTI BRAND, LUHMSEN NOODLE, MEMOCLOTHING, MOLTO PREMIUM GELATO, OPTICSQUARE, PETCHPANTRA, POTATO CORNER, RUBBER IDEA, RYUJIN SUSHI, SELF., SKINLAB, TOOM SUSHI, ZEQUENZ, ข้าวนกกระยางคู่ และห้างทองเยาวราชดีเยี่ยม


เปิดใจ 3 ธุรกิจตัวท็อป LEAD รุ่น 5

KIM & CO. ORIGINAL ทำแฟชั่นให้มาเจอกับฟังก์ชั่น

KIM & CO. Multi-brand store คือ Unisex Multi-brand store สไตล์เกาหลี รวบรวมเเบรนด์ Local Fashion & Lifestyle มากกว่า 200 เเบรนด์ และมี House brand คือ KIM & CO. ORIGINAL ภายใต้คอนเซ็ปต์เดียวกัน คือ Affordable yet function เช่น รองเท้าผ้าใบใส่นวัตกรรม Water-proof ทำให้รองเท้าเลอะยาก ง่ายต่อการทำความสะอาด และมี Technology Vulcanization ที่สามารถบิดงอได้ ทำให้ ยืดหยุ่น ใส่สบาย

ต้องตา อาชาเทวัญ เจ้าของแบรนด์ เล่าว่า หลังจากที่เข้าร่วมหลักสูตร LEAD ได้เน้นการสร้าง Product Development โดยการพัฒนา KIM & CO. Original โดยการใช้ Fashion Meet Innovation ให้สินค้ามีความน่าสนใจ พัฒนาให้แฟชั่นกับฟังก์ชั่นไปด้วยกันได้

สามารถอุดจุดอ่อนของตัวเอง จากเดิมที่เน้นทำแค่ KIM&Co. Multi Brand Store แต่การมาโฟกัสที่ KIM & CO. ORIGINAL ช่วยให้เกิดการเติบโตได้เร็วขึ้น ทั้งเรื่องการขยายสาขา หรือการสร้างยอดขาย

รวมถึงมีการต่อยอดธุรกิจได้โดยการสร้างสินค้าใหม่ และขยายแบรนด์ใหม่ เพื่อเติมพอร์ตโฟลิโอของแบรนด์ และขยายฐานลูกค้าให้หลากหลาย ได้แตกไลน์แบรนด์ TIA แบรนด์กระเป๋าระดับพรีเมี่ยม ช่วยสร้างยอดขายให้มากขึ้น

จุดเริ่มต้นของแบรนด์ TIA คือต้องการทำสินค้าที่ไม่มีไซส์ จากเดิมที่ขายรองเท้าที่มีไซส์ ตั้งเเต่ 35-45 ทำให้ต้องมีการจัดการสต็อกมหาศาล จึงอยากลองทำอะไรที่ไม่มีไซส์บ้าง ซึ่งกระเป๋าเป็นสินค้าที่ไม่มีไซส์ทำให้การจัดการสต๊อกง่ายขึ้น

ต้องตา บอกว่า “Vision ของเราคือ ต้องการ Revolutionize life wear with accessible price
โดยการที่เรามองเห็น Pain point เเละสิ่งที่ลูกค้าชอบจากดาต้าที่เรามี เอามาพัฒนา เเละปรับปรุง ผสมผสานทุกอย่างจนออกมาเป็น KIM&CO. ORIGINAL เป็นแนวคิด “Where innovation meets style” ซึ่งจริงๆ แล้วนวัตกรรม เเละแฟชั่นเป็นสิ่งที่ขัดเเย้งกัน แต่เป้าหมายของเราคือ ผสมผสานให้เข้ากัน เพราะเราต้องการที่จะแตกต่าง และเราต้องการให้ลูกค้าได้มากกว่าสิ่งที่เค้าคาดหวังและทำให้เรากล้าที่จะลงทุน กล้าที่จะเติบโตอย่างมั่นคงและมีกลยุทธ์ ทำให้เรากล้าและมั่นใจ จากการมี 3 สาขาเป็น 17 สาขาภายในระยะเวลา 6 เดือน มียอดขาย YTD โตขึ้น 300% ”


SELF. SMOOTHIE น้ำผลไม้ปั่นที่มีสตอรี่

ณภัสสร ฉลาดมานะกุล เจ้าของแบรนด์ เล่าว่า Self. เริ่มต้นจากการทำสมูทตี้ที่ไม่ใช่แค่น้ำผลไม้ปั่นทั่วไป ชื่อเมนูจะไม่ได้ลิงค์กับผลไม้โดยตรง แต่เน้นที่สรรพคุณ และคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับและยังสอดคล้องกับลายหน้าแก้วที่เป็นเอกลักษณ์เรื่องราวเฉพาะแต่ละสูตร

คำว่า Self. ไม่ได้หมายถึงแค่ “mySELF” แต่ยังรวมถึง “Otherself” “Themself” หรือ “Customer Self” ทุกเมนู และสูตรได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ ตั้งต้นจาก Pain-point ของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่ต่างกัน แต่ยังคงรสชาติดี ได้สารอาหารครบถ้วน

“Self สร้างนิสัยการรักสุขภาพที่ไม่ต้องแลกด้วยความพยายามโดยการที่ Self. จะเป็น 1 ใน Journey เป็นไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแบบง่ายๆ ทำให้ลูกค้ารักตัวเองและ ใส่ใจตัวเองได้แบบง่ายๆ โดยให้ลูกค้าเริ่มคุ้นชินกับการมีนิสัยการดื่มสมูทตี้ของ Self. ได้กินผักผลไม้ทั้งชิ้นพร้อมกากใย แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นการดื่ม โดยไม่เติมแต่งใดๆ ซึ่งลูกค้าของ Self. จะซื้อกลับไปปั่นเอง เห็นความแท้และธรรมชาติเอง ซึ่งภายใน 6 เดือนนี้มียอดของลูกค้าที่ซื้อ Ready to blend  แบบ Make yourSELF at home เพิ่มขึ้นถึง 150%”

Self. ได้สร้างแบรนด์ด้วยความใส่ใจในคุณภาพ และจุดยืนที่ชัดเจน ผ่านทั้งตัวสินค้า แพคเกจจิ้ง ลายหน้าแก้วที่ตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวเฉพาะแต่ละแก้ว สีแบรนด์ที่ใช้ หน้าตาของร้าน การบริการต่างๆ รวมถึงการมอบประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงให้กับลูกค้าและสังคม ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

แบรนด์ไม่ได้เป็นแค่น้ำผลไม้ปั่นธรรมดา แต่มีนักโภชนาการคอยดูแลสัดส่วนของสารอาหารโดยเฉพาะแต่ละสูตร เพื่อให้ไม่เกิด Over Consume Sugar หรือได้รับน้ำตาลมากเกินไป

ปัจจุบันแบรนด์ไม่ได้มีแค่สมูทตี้ แต่ยังพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เช่น Self Snack และ สินค้า Self Merchadises สำหรับแฟนๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเพิ่มเติมที่อยากหาขนมที่มีโปรตีนสูง ไฟเบอร์สูง

ไม่มีแป้ง ไม่มีน้ำตาล ไม่มีเนยนมไข่ ยังคงคอนเซ็ปต์ของความธรรมชาติ รวมถึงมีแผนการขยายไลน์สินค้าเพิ่มเติมภายใต้ Self Basic Drink ที่จะมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากขึ้นโดยการ Grab & Go จากปกติที่สามารถซื้อถือกินเลยได้แค่คนละแก้ว แต่จะสามารถซื้อกลับบ้านได้หลายขวด โดยยังคงคอนเซป Pure & Natural เน้นผลไม้เบสิคไม่ผสม เพื่อเพิ่มตัวเลือกให้กับลูกค้า


BOTTOMLESS COFFEE ROASTER โรงคั่วกาแฟครบวงจร

นพพล อมรพิชญ์ปรัชญา เจ้าของแบรนด์ ได้เริ่มเล่าว่า “Bottomless เริ่มต้นจาก Home Coffee lover วางจุดยืนเป็น Specialty coffee สำหรับคอกาแฟ ผ่านมา 10 กว่าปี ในการเอาชนะความความท้าทายในการเติบโต ของ Specialty Coffee คือการที่จะต้องควบคุมคุณภาพของเมล็ดกาแฟ ต้องทำกาแฟคุณภาพอร่อย เข้าถึงง่าย และมีความพิเศษหลากหลาย”

จุดเด่นของ Bottomless ที่แตกต่างจากร้านกาแฟอื่นๆ ทั่วไปคือ การสร้าง Coffee Ecosystem ทั้งระบบ ตั้งแต่การเป็นโรงคั่วกาแฟ ขยายสู่ตลาด B2B OEM และ HORECA, Consultant & Training และการเพิ่มไลน์สินค้าสู่ตลาด B2C เช่น Coffee Capsule, Drip Bag, Coffee Specialty และ Non-Coffee

Bottomless ได้มีการนำเข้าและผลิต วัตถุดิบที่ใช้ในร้านกาแฟเองมาตั้งแต่ต้น เช่น ผงช็อคโกแลต ผงชาไทย มัจฉะ มีครัวกลางผลิตขนม และอาหารที่ใช้ขายในร้านกาแฟ รวมถึงเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์ Keesvanderwesten แบรนด์เครื่องชงกาแฟ ไฮเอนด์จากเนเธอร์แลนด์ และอุปกรณ์กาแฟชั้นนำ ซึ่งทำให้สามารถ Supply เครื่องเข้าร้านได้โดยไม่ขาดตอน

นพพลเสริมอีกว่า สิ่งที่ได้จากหลักสูตร LEAD คือ การรู้สึกว่าเราตัวเล็กลง เพราะเราเข้าใจในเรื่องต่างๆ ลึกขึ้น ทำให้ยังรู้สึกอยากพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้นอีก เพราะการทำธุรกิจเก่งแค่กาแฟคงยังไม่พอ เรื่องการเงินก็สำคัญ รวมถึงได้เน็ตเวิร์กจากเพื่อนๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำหลักสูตร LEAD รุ่นที่ 5 ได้แก่ HOLEN และ COVE

HOLEN
เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ระดับพรีเมี่ยม ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมซื้อเป็นของฝาก ด้วยคาแรคเตอร์ลิงยักษ์จากวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ ที่ออกแบบโดยวิพาสน์พร ศรีพุ่ม และกลุ่มเพื่อน สินค้าขายดีคือยาดมโฮเล่น หอมละมุนจากสมุนไพรไทย เมื่อได้ทดลองตลาดในศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภายใต้หลักสูตร LEAD ทำให้มีการปรับเปลี่ยนสินค้าในรูปแบบ customize และ collaboration กับแบรนด์อื่น สินค้าถูกใจทั้งลูกค้าคนไทยและต่างชาติ มียอดขายเติบโตขึ้นมากกว่าสามเท่า และมีช่องทางจัดจำหน่ายทั่วประเทศ ทั้งออนไลน์และออนไซต์

COVE
เกิดจากความมุ่งมั่นของเอกพล วงศ์ภัทรกุล ในการพัฒนากระเป๋าและกระเป๋าเดินทางที่ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายของลูกค้า ทันสมัย ในราคาที่คุ้มค่าจับต้องได้ หลังเข้าหลักสูตร LEAD ทำให้มีการวางแผนในการออกสินค้าใหม่อย่างเป็นระบบ มีความแม่นยำในการเลือกสินค้าใหม่มากขึ้น ทำให้สามารถเติบโตได้เกือบ 100% ภายใน 1 ปี

สำหรับหลักสูตร LEAD รุ่นที่ 6 ที่เริ่มเรียนในเดือนมิถุนายนนี้ มาในธีม Growth & Sustainability ยังคง Concept เดิม คือเรื่องของการ “เรียนจริง ทำจริง โตจริง” โดยเน้นเรื่อง Growth & Sustainability เพราะเราเชื่อว่าความยั่งยืนของธุรกิจ ส่วนหนึ่งเกิดจากความสำเร็จของแบรนด์ ที่ได้เติบโตไปพร้อมกับเซ็นทรัลพัฒนา

]]>
1481419
‘MAT’ แนะ 5 คันเร่งสำหรับ ‘SME’ กลุ่มคนตัวเล็กที่เจ็บหนักสุดในวิกฤตเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1480996 Wed, 03 Jul 2024 07:39:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480996 ปัจจุบัน 35% ของ GDP ประเทศไทยถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่ม SME ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว เม็ดเงินจาก SME คิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของ GDP ดังนั้น SME จึงถือเป็นกลุ่มที่ยังมีศักยภาพจะขับเคลื่อนประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คนตัวเล็ก จะปรับตัวกับเมกะเทรนด์ และชิงความได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างไร ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เจอ

จะโตอย่างไรในเมื่อ SME เจ็บสุด

ภาพรวมเศรษฐกิจ ทั่วโลก ปีนี้ คาดว่าจะเติบโตเพียง 2% ขณะที่ประเทศที่เคยเติบโตได้ก็เริ่มโตช้าลง อาทิ GDP ของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกอย่าง จีน ที่เคยเติบโตระดับ 10% ก็ปรับลดเหลือ 5% ด้าน ยุโรป และ ญี่ปุ่น โตไม่ถึง 1% ส่วนประเทศ ไทย คาดว่า GDP จะเติบโตประมาณ 2% อย่างไรก็ตาม บริษัทที่จดทะเบียนในไทยคาดว่าจะเติบโตได้เหนือ GDP แปลว่ากลุ่มที่เจ็บตัวที่สุดคือ SME

“ภาพตลาดเปลี่ยนไป โจทย์ของเราคือ ทำอย่างไรให้ธุรกิจไทยปรับตัวทันกับเมกะเทรนด์ และคนตัวเล็กสามารถนำมาใช้เป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่เรายังทำเรื่องนี้ได้ไม่เท่าไหร่ก็เจอกับวิกฤตระยะสั้น คือ เศรษฐกิจโตต่ำ” ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) กล่าว

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT)

A-B-C-D-E 5 คันเร่งสำหรับ SMEs

เศรษฐกิจที่โตต่ำนี้ทำให้ การผลิตอะไรมาก็ขายได้นั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ถ้าจะเติบโตในตลาดที่กำลังซื้อหดก็คือ หาตลาดใหม่ โดยเฉพาะในประเทศ A – Asia Market โดยเฉพาะใน ประเทศเพื่อนบ้าน ที่ยังเติบโตได้ อาทิ กัมพูชา, เวียดนาม ที่ธุรกิจไทยไปโตเยอะ นอกจากนี้ จีนและอินเดีย ที่เป็นสองประเทศใหญ่ โดยธุรกิจอาจเริ่มจากช่องทาง e-commerce และ การสร้างความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

เน้นการ ทำกำไร มากกว่าการเติบโตของยอดขาย เพราะบริษัทใหญ่ต้องดันธุรกิจให้เติบโตตลอดเวลา แต่ SME มีทรัพยากรจำกัด ดังนั้นควรโฟกัสไปที่การทำกำไรมากกว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก SME อาจยอมกำไรน้อยเพื่อ สร้างฐานลูกค้า โดยเน้นที่การสร้าง B – Branding เน้นตลาด Fragment และเล่นกับเรื่อง ความรู้สึก

“เมื่อเราสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งโดยเน้นการสร้างมูลค่าและคุณค่าที่แตกต่าง มุ่งเน้นการสร้างกำไรจากลูกค้าที่เห็นคุณค่าแบรนด์มากกว่าการเน้นยอดขายเพียงอย่างเดียว ดังนั้น SME ต้องหาจุดโฟกัส ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ และถ้าสุดท้ายเราดีจริง อร่อยจริง สุดท้าย ลูกค้าก็ยอมจ่าย แม้เราจะขึ้นราคา”

การหา พันธมิตร หรือ C – Collaboration ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่ช่วยส่งเสริมกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยสร้างแบรนด์ดิ้งเพื่อเข้าถึงผู้ใช้ใหม่ เพิ่มยอดขาย หรือแม้แต่การไปต่างประเทศ เบื้องต้น การหาพันธมิตรจะต้องดูจุดแข็งของแบรนด์ตัวเองและแบรนด์ที่จะคอลแลบด้วย โดยพยายามหลีกเลี่ยงแบรนด์ที่มีความคล้ายคลึงกับแบรนด์ตัวเอง จะฉีกไปคนละอุตสาหกรรมก็ได้

“เราต้องดูว่าตัวเราเก่งอะไร และไปหาคนที่เก่งในด้านอื่น ๆ โดยเอาทั้งจุดแข็งและดาต้ามากองรวมกัน แต่อย่าคิดว่าเราจะคอลแลบกันเพื่อทำการตลาดหรือสร้างแบรนด์ดิ้ง แต่ยังสามารถมองในระยะยาว เช่น การส่งออกไปต่างประเทศ เพราะถ้าเราไปด้วยตัวเอง อาจต้องไปสู้กับเจ้าถิ่นในประเทศนั้น”

อีกเรื่องคือ D – Digital เพราะในวันที่ลูกค้าใช้งาน เอไอ แบรนด์เองก็ต้องใช้ด้วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดต้นทุน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดย SME ถือว่าได้เปรียบกว่าธุรกิจรายใหญ่ เพราะ ไม่ซับซ้อน ลองได้ พลาดได้ นอกจากนี้ หลายเทคโนโลยีสามารถทดลองใช้ได้ฟรี ดังนั้น เริ่มจากคิดว่าอยากทำอะไรให้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น จากนั้นก็ลองหาเครื่องมือมาช่วย

“เราอาจเริ่มจากไมด์เซ็ทที่อยากเปลี่ยน อย่าไปกลัวค่อย ๆ ลอง อาจลองไปเดินงานแฟร์ในต่างประเทศเพื่อหาไอเดียหรือมุมมองการนำเทคโนโลยีมาใช้ เริ่มแรกเราอาจไปก๊อปเขามา จากนั้นก็ค่อย ๆ ต่อยอด”

สุดท้าย E – Equity ความถูกต้อง การดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความถูกต้อง เช่น ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและสังคม การใช้ระบบบัญชีเดียว เพื่อความโปร่งใสและการเติบโตในอนาคต การดำเนินธุรกิจที่ในระยะยาวต้องสามารถสร้างกำไรได้ ไม่ใช่การเติบโตบนฐานของยอดขายจากการตัดราคา

อยู่ด้วยข่าวดีและกำลังใจ

นอกเหนือจากการมองหาตลาดใหม่ ๆ การหาพันธมิตร ใช้เทคโนโลยี อีกสิ่งที่ ดร.บุรณิน มองว่า จะทำให้ธุรกิจยังมีแรงเดินต่อไปได้ก็คือ ข่าวดีและกำลังใจ เนื่องจากบรรยากาศปัจจุบันที่มีแต่ข่าวเชิงลบ ซึ่งอาจส่งผลต่อจิตใจของผู้ประกอบการ

ดังนั้น จะเห็นว่ารัฐบาลในหลายประเทศประกาศยุทธศาสตร์เพื่อให้ความหวังกับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นจีน ที่เน้นใช้นวัตกรรมที่พัฒนาเองผลักดันอุตสาหกรรมในประเทศไป และสร้างผู้ประกอบการหน้าใหม่ด้านเอไอและหุ่นยนต์ หรืออย่าง มาเลเซียและสิงคโปร์ ที่ประกาศลดการแข่งขัน หันมาร่วมมือกัน เพื่อลบจุดอ่อนของกันและกัน เป็นต้น

“ข่าวดีมันคือกำลังใจในช่วงที่เรากำลังเหนื่อย ถ้ามีแต่ข่าวลบ แล้วเศรษฐกิจไม่ดี คนก็คิดแล้วว่าจะไปต่อหรือเลิก ดังนั้น ข่าวดีก็เป็นอะไรที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจมีความหวัง เพราะเศรษฐกิจมันมีช่วงดีและไม่ดี    ผู้ประกอบการก็อาจจะมีกำลังใจรอ” ดร.บุรณิน ทิ้งท้าย

]]>
1480996
“กรุงศรี มั่งมี ช้อป” แอปพลิเคชันสนับสนุนเอสเอ็มอีไทย ซื้อง่าย-ขายคล่อง สแกน QR รับได้ทุกแพลตฟอร์ม รุกหนัก Event Marketing จัดทัพคาราวานโปรโมททั่วไทย https://positioningmag.com/1473768 Tue, 28 May 2024 09:49:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473768

ท่ามกลางการแข่งขันทางการเงินที่ดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงิน Non-Bank หลายค่ายพยายามเอาใจลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยให้มาเปิดบัญชีเพื่อรับโอนจ่ายค่าสินค้าและบริการ ต่างก็พยายามจูงใจด้วยโปรโมชันต่างๆ ให้กับลูกค้ารายใหม่ บ้างให้บริการที่ปรึกษาทางการตลาด หรือช่วยทำสื่อโฆษณาให้ แต่ถ้าจะโหวตว่าผู้เล่นที่น่าจับตามองและมาแรงมากที่สุดในตอนนี้ คงต้องยกให้ กรุงศรี มั่งมี ช้อป เพราะสามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ค้าได้ถูกจุด ด้วยแอปพลิเคชัน กรุงศรี มั่งมี ช้อป (Krungsri Mung-Mee SHOP) ใช้สำหรับรับชำระเงินสำหรับร้านค้า SME มีดีที่ฟังก์ชันรองรับการชำระเงินหลากหลาย และปรับตัวไว เข้าใจโลกดิจิทัลหมุนเร็ว

“เพราะกรุงศรี SME พร้อมช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการร้านค้า SME ทุกระดับ ให้สามารถค้าขาย ทำธุรกิจได้อย่างคล่องตัว จึงส่งแอปพลิเคชัน Krungsri Mung-Mee SHOP เข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ชีวิตพ่อค้าแม่ค้าง่ายขึ้น ด้วยบริการรับชำระเงินเพื่อธุรกิจผ่าน QR Code ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวกที่สุด สำหรับชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของร้านค้า โดยสามารถรับเงินได้ด้วยการสแกน QR Code ของทุกธนาคารหรือ Non-bank ที่ให้บริการ ตอบโจทย์ด้านการเงินและบัญชีให้แก่ผู้ประกอบการ SME ร้านค้า ร้านอาหาร มีความคล่องตัวและสะดวกสบาย จากฟีเจอร์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายทั้งร้านค้าและลูกค้า” คุณดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงจุดเด่นของเครื่องมือดิจิทัลตัวท็อปของกรุงศรี พร้อมเผยข้อดีของ “กรุงศรี มั่งมี ช้อป”

แอปพลิเคชัน กรุงศรี มั่งมี ช้อป (Krungsri Mung-Mee SHOP) จัดได้ว่าแก้จุด Pain Point ของลูกค้าได้ตรงจุด เพราะร้านค้ามั่งมีช้อป สามารถเลือกรับชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ด้วย QR Code ได้หลายช่องทาง เช่น QR PromptPay, QR Credit Card และ Alipay/WeChat Pay  ได้รับเงินเร็ว เงินเข้าทันที เพิ่มเติมด้วยฟีเจอร์แจ้งเตือนพร้อมเสียงพูดให้ทันที จึงวางใจจากภัยมิจฉาชีพ ไม่อยู่ร้านก็ขายได้ หรือจะให้พนักงานขายรับเงินแทนก็สบายใจ

แต่ที่โดดเด่นกว่าใครคือ ผู้ใช้ Krungsri Mung-Mee SHOP สามารถใช้บริการทั้งการขายหน้าร้าน ขายผ่านช่องทางออนไลน์ และโซเชียลคอมเมิร์ซ โดยการสร้าง QR รับชำระเงินและส่งเรียกเก็บเงินทาง Facebook Messenger, Instagram และ LINE ก็ได้ ส่วนผู้ซื้อสินค้าและบริการจะจ่ายด้วยช่องทางใดก็ได้ ทั้งสแกน QR Payment จากโมบายแบงก์กิ้ง แอป หรือจะใช้แอปพลิเคชันบัตรเครดิต Visa / Master Card ก็ยังได้ ที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือนักท่องเที่ยวชาวจีน สามารถใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) AliPay / WeChat Pay จ่ายได้ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ กัมพูชา มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฮ่องกง ก็สามารถสแกนจ่ายได้   Krungsri Mung-Mee SHOP จึงไม่ใช่แค่เครื่องมือดิจิทัลที่ตอบโจทย์ลูกค้าคนไทย แต่ยังเปิดโอกาสทางการค้าสำหรับร้านค้าที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาอีกด้วย พร้อมอำนวยความสะดวกด้านบัญชี โดยจะสรุปยอดขาย แยกยอดขายให้เห็นชัดเจน และตรวจสอบสลิปได้ในแอปเดียว

เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้บริการจริงให้แก่ลูกค้ายังพื้นที่ต่างๆ “กรุงศรี มั่งมี ช้อป” จึงเลือกใช้กลยุทธ์ Event Marketing ส่งเสริมการขาย และสื่อสารการตลาดผ่านกิจกรรม เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองสินค้าและบริการโดยตรงในรูปแบบออฟไลน์ ด้วยขบวนพาเหรด “กรุงศรี มั่งมี ช้อป ใช้กรุงศรี มั่งมี ทุกร้าน” ลงพื้นที่พบปะร้านค้าธุรกิจเอสเอ็มอีในย่านการค้า ตลาดขนาดใหญ่ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

คาราวาน “กรุงศรี มั่งมี ช้อป ใช้กรุงศรี มั่งมี ทุกร้าน” ได้เดินทางโปรโมทยิงตรงถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเน้นตลาดใหญ่ๆ ทั่วกรุงเทพฯ อาทิ ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดเลียบด่วน ตลาดรถไฟศรีนครินทร์ ตลาดนัดจตุจักร จากนั้นจึงได้มุ่งไปยังหัวเมืองใหญ่ที่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ อย่างตลาดตรงข้ามสถานีรถไฟ และ Tamarind Market–หัวหิน ตลาดนินจา-ชลบุรี ตลาดน้ำอัมพวา-สมุทรสงคราม ถนนคนเดินวัวลาย-เชียงใหม่ และจะลงใต้ไปที่ตลาดกิมหยง หาดใหญ่ เพื่อพบปะกับผู้ค้าตลอดเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนนี้

คุณดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

โดยจุดมุ่งหมายของกลยุทธ์นี้ มองถึงการสื่อสารจุดยืนของผลิตภัณฑ์กรุงศรีตัวท็อป อย่าง “กรุงศรี มั่งมี ช้อป” ให้ตรงยังลูกค้าเป้าหมายให้มากที่สุด อีกทั้งมุ่งหวังที่จะตอกย้ำจุดเด่นและผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้งาน แอปพลิเคชัน Krungsri Mung-Mee SHOP อย่างชัดเจน ทั้งยังต้องการ​ดึงดูดความสนใจจากผู้ประกอบการให้มาเป็นลูกค้าของกรุงศรี และยังมองถึงโอกาสที่จะได้กระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าของกรุงศรีให้แน่นแฟ้นมากขึ้นอีกด้วย

พบกับพาเหรดกิจกรรมส่งเสริมการขาย “กรุงศรี มั่งมี ช้อป ใช้กรุงศรี มั่งมี ทุกร้าน” ได้ตามแหล่งค้ายอดนิยมทั่วไทย กิจกรรมดีๆ ที่พร้อมเชิญชวนให้ผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงช่องทางรับเงินดิจิทัลที่ใช้งานง่าย ช่วยสนับสนุนทุกการขายให้คล่องตัว กิจการมั่งคั่งมั่งมียิ่งขึ้น และมีชีวิตง่ายขึ้นได้ทุกวัน

ร้านค้าที่สนใจและมีบัญชีกรุงศรีและใช้งาน KMA krungsri app อยู่แล้ว สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Krungsri Mung-Mee SHOP สมัครใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาของธนาคาร  ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.krungsri.com/th/personal/banking-services/e-solution/mungmee-shop หรือ Krungsri Call Center 1572 และสาขาของธนาคารกรุงศรีอยุธยาทั่วประเทศ

]]>
1473768
GROOV.store ร้านขาย Gadget ออนไลน์ในไทย กับเคล็ดลับขยายธุรกิจไปต่างประเทศ https://positioningmag.com/1444484 Sun, 17 Sep 2023 17:34:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444484 Positioning ได้พูดคุยกับ วีระวัฒน์ วีระประเสริฐศักดิ์ เจ้าของกิจการ GROOV.store ร้านขาย Gadget ออนไลน์ในไทย ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่เริ่มจากความชอบส่วนตัว หรือแม้แต่เคล็ดลับขยายธุรกิจไปต่างประเทศ

ช่วงที่ผ่านมาความสำคัญของสินค้าประเภท Gadget ได้เพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงของเล่นสำหรับคอไอที หรือผู้ที่ชื่นชอบเท่านั้น แต่ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวได้สร้างประโยชน์ต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ไปจนถึงด้านความบันเทิง

วีระวัฒน์ วีระประเสริฐศักดิ์ ได้กล่าวถึงการเริ่มธุรกิจว่าเกิดจากความสนใจเฉพาะทาง โดยวีรวัฒน์มีพื้นฐานสนใจเรื่องเทคโนโลยี และตามอ่านนิตยสารต่างประเทศ ก่อนหน้านี้เขาได้ทำบริษัทเกมกับเพื่อน ในปี 2005 เขาได้เห็นบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Sony ได้ผลิต iToy ออกมา ซึ่งใช้กล้องในการเล่นเกม ซึ่งเหมือนกับบริษัทเกมที่เขากำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งกล้องในสมัยนั้นยังมีคุณภาพไม่ได้ดีด้วยซ้ำ

เขายังได้กล่าวถึงการหาเทรนด์ของผู้บริโภคผ่านวารสารวิชาการ ที่มีงานวิจัยต่างๆ ว่ามีใครทำอะไรบ้าง รวมถึงความชอบส่วนตัวว่าเทรนด์อะไรที่น่าจะมาบ้าง ขณะเดียวกันก็ได้พบปัญหาว่าในประเทศไทยยังไม่มีใครนำสินค้าประเภท Gadget เข้ามาจำหน่ายในไทยมากนัก เลยได้ทดลองนำเข้าสินค้ามาลองใช้ก่อน และเริ่มขายสินค้าจำนวนน้อยก่อน

สำหรับสินค้าที่เขาวางขายแรกๆ แล้วได้เงิน คือ แบตเตอรี่สำรอง ซึ่งเขานำยี่ห้อ Eneloop ของ Panasonic เข้ามาขาย แล้วต่อมาจะเห็นว่าบริษัทจีนได้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการก๊อปปี้สินค้าทั้งบริษัทจีนด้วยกันเอง เราจะเห็นว่าแบตเตอรีสำรองมีความสำคัญต่อใครหลายคน เนื่องจาก Smartphone สมัยนั้นไม่สามารถใช้งานได้ทั้งวัน ต่อมาเห็นว่าตลาดเริ่มมีคนนำเข้าสินค้าจำนวนมาก เลยเลิกนำเข้าสินค้าชนิดนี้

ต่อมาเขาได้นำเข้าสินค้าคือ AR Drone ของบริษัทที่มีชื่อว่า Parrot เป็นบริษัทจากฝรั่งเศส ซึ่งเขามองว่าสินค้านี้ตอบโจทย์ความฝันในวัยเด็กของเขา ซึ่งวีรวัฒน์ได้กล่าวว่าเขานำสินค้ามาขายด้วยความชอบส่วนตัวล้วนๆ จึงไม่ได้เร่งขยายธุรกิจไวมาก

เมื่อทำธุรกิจไปได้สักพัก เริ่มมี Partner ทางการค้าได้ส่งสินค้ามาให้ทดลอง หรือแม้แต่ให้เลือกสินค้าใหม่มาให้ทดลอง 

วีระวัฒน์ วีระประเสริฐศักดิ์ – เจ้าของ GROOV.store

สินค้าขายดีอย่าง Chromecast

เจ้าของ GROOV.store ได้กล่าวถึงกรณีของ Chromecast ของ Google ที่ขายดี โดยวีรวัฒน์ได้เล่าถึงสาเหตุที่ผลิตภัณฑ์ขายดี เพราะ Apple ได้ผลิต Apple TV ออกมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่มีราคาแพง แล้วไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ แล้วด้วยความที่ Apple ได้ล็อก Ecosystem ของตัวเองใน Apple TV จึงไม่ทำให้เกิดการใช้งานในวงกว้างเท่าไหร่ แต่พอ Google ได้เน้นขยายลูกค้าไปในวงกว้าง รวมถึงราคาของ Chromecast ซึ่งมีราคาถูกไม่เกิน 29 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือคิดเป็นเงินไทยไม่เกิน 1,000 บาท)

วีรวัฒน์มองว่าการที่ Google ได้ออก Chromecast มาน่าจะขายดีในวงกว้าง แต่คนขายสินค้าจะได้กำไรไม่มาก เขากล่าวว่าสินค้าดังกล่าวขายออกได้เรื่อยๆ แต่มีจุดพลิกผันที่ทำให้เขาเลิกขายสินค้าอย่าง Chromecast ก็คือ Operator โทรศัพท์มือถือเจ้าหนึ่งในไทยนำเข้ามาจำหน่ายจำนวนมากในราคาเท่ากัน นอกจากนี้การนำเข้า Chromecast ในตอนหลังยังต้องทำเรื่องขออนุญาตนำเข้ากับทาง กสทช. และต้องจ่ายภาษีและมีกระบวนการเพิ่มเติม

เขายังชี้ว่า Chromecast ยังทำให้ลูกค้าสะดวกในการฉายภาพขึ้นจอโทรทัศน์ แม้ว่าโทรทัศน์หลายรุ่นจะมีฟังก์ชันดังกล่าว แต่ความเสถียรนั้นสู้การซื้อกล่องหรือแม้แต่ซื้อ Chromecast มาต่อไม่ได้ด้วยซ้ำ

และยังมีจุดที่ทำให้สินค้าอย่าง Chromecast ขายดีคือเนื่องจากลูกค้ากลุ่มโรงแรมต้องการสินค้าประเภทนี้ในการติดตั้งพร้อมกับระบบทีวีในโรงแรม ซึ่งช่วยทำให้โรงแรมประหยัดค่าซ่อมบำรุงเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่โรงแรมเดินระบบสายเข้าโทรทัศน์ ทำให้มีการซื้อสินค้าจำนวนมาก

วีรวัฒน์มองว่าปัจจุบัน Google หันมาผลิต Chromecast ที่มี Google TV มาด้วยแทน เนื่องจากมองว่า Chromecast ตัวเดิมไม่ได้มีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับบริษัทแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับรุ่นปัจจุบันที่สามารถเก็บเงินกับ Netflix หรือ Hulu ฯลฯ ถ้าอยากนำบริการของตัวเองมาอยู่บน Google TV

Chromecast ในยุคปัจจุบัน – ภาพจาก Unsplash

เจาะลูกค้ากลุ่ม Niche

วีรวัฒน์ยังได้กล่าวว่า กลุ่มลูกค้าที่ได้โฟกัสคือกลุ่มลูกค้าที่เป็น Expat ทำงานในประเทศไทย ทำให้เขาได้ทำเว็บไซต์ ให้เป็นภาษาอังกฤษด้วย แตกต่างกับผู้เล่นรายอื่นๆ ที่เน้นทำเว็บไซต์เป็นภาษาไทยมากกว่า เขาให้เหตุผลว่าสินค้าหลายอย่างที่เขานำเข้ามาขายค่อนข้างเข้าใจยาก และลูกค้าหลายคนเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดีอยู่แล้ว

แต่เขาก็ชี้ว่าการทำเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษยังต้องการที่จะเจาะลูกค้าในกลุ่มละแวกเพื่อนบ้านอย่าง พม่า ลาว เวียดนาม หรือสิงคโปร์ แต่ได้ลูกค้าเป็นจำนวนน้อยมาก แต่วิธีนี้เขาก็มองว่าเป็นความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เขาเคยลองเอาเว็บไซต์ที่เขาทำเป็นภาษาอังกฤษให้เพื่อนของเขาดูแล้วพบว่าส่วนใหญ่มองว่าเว็บไซต์เป็นของชาวต่างชาติมากกว่าคนไทย

แต่ผลของการที่ลองทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ กลายเป็นว่าก่อนช่วงปี 2014 ลูกค้าชาวต่างชาติได้ซื้อสินค้าเป็นสัดส่วน 30-40% ของรายได้รวม ขณะที่ในช่วงรัฐประหารในปีเดียวกันนั่นเองลูกค้าได้หยุดซื้อสินค้าในเดือนพฤษภาคมไปถึง 2 สัปดาห์ (ซึ่งปัจจุบันรายได้กลับมาเหมือนเดิมแล้ว) และยังมีนักท่องเที่ยวรวมถึงชาวรัสเซียที่ลี้ภัยออกนอกประเทศมาอยู่ในไทยที่ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ด้วย

เขายังได้กล่าวว่ายังมีลูกค้าในประเทศอย่างเช่น เนปาล มาซื้อสินค้าด้วย เนื่องจากในประเทศไม่มีสินค้าแนวนี้จำหน่าย

สินค้า Gadget ที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรี – ภาพจาก GROOV.store

ขยายธุรกิจไปยังฮ่องกง เพราะที่ไทยเริ่มไม่เอื้ออำนวย

จุดเปลี่ยนอีกอย่างของวีระวัฒน์คือการขยายธุรกิจไปยังฮ่องกง เขาได้ให้เหตุผลว่าทำให้เจาะลูกค้าต่างประเทศได้มากกว่า เนื่องจากต้นทุนในการทำธุรกิจในประเทศไทยสูงกว่าจากเรื่องของภาษี หรือแม้แต่ค่านำเข้า (อากรสินค้า) ค่าขนส่งสินค้าออกจากประเทศไทย แม้ว่าจะมีบริการขนส่งอย่าง E-Packet ก็ตาม ซึ่งแตกต่างกับฮ่องกง 

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้วีรวัฒน์ต้องขยายธุรกิจไปฮ่องกง เขาได้กล่าวเสริมว่า ประเทศไทยไม่เหมาะกับการเป็น Hub ส่งสินค้า สำหรับประกอบการ SME จากการที่เขาได้เดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว พม่า กัมพูชา บ่อยๆ ลูกค้าจากประเทศเพื่อนบ้านเองก็ไม่ได้มีเงินมาซื้อสินค้ามากเท่าไหร่นัก ขณะเดียวกันเขาก็กล่าวเสริมว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีข้อได้เปรียบในเรื่องเหล่านี้ที่มากกว่า 

วีระวัฒน์ยังได้กล่าวว่าลูกค้าของเขาเองก็ยังได้แนะนำเขาว่าควรจะสั่งสินค้าอะไรเข้ามาขายในไทยด้วย ซึ่งหลายครั้งเป็นหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานด้านการศึกษา และสินค้า Gadget เหล่านี้ได้ช่วยในเรื่องการพัฒนาคน หรือแม้แต่ไอเดีย

เขายังยกตัวอย่างหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัย ได้สั่งสินค้าผ่านบริษัทของเขา เช่น Gadget ที่สแกนคลื่นสมอง ซึ่งมีหลายเกรดสินค้า ปัญหาการตีความด้านภาษี หรือแม้แต่การนำบริษัทเข้าไปขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่าง BOI เอง ถ้าหากมีบริษัทเดิมอยู่แล้วก็เป็นเรื่องยุ่งยาก ซึ่งการไปจดทะเบียนบริษัทใหม่แล้วขอสิทธิ์ BOI กลายเป็นว่าสามารถทำได้ง่ายกว่า

ขณะเดียวกันเขาก็ชี้ว่าการจดทะเบียน หรือข้อกฎหมายในต่างประเทศ ถือว่าเข้าใจได้ง่ายมากกว่า นอกจากนี้การจดทะเบียนหลายบริษัทในประเทศไทยเองก็ยังมีค่าใช้จ่ายมาก โดยเฉพาะด้านบัญชี ซึ่งไม่เหมาะกับ ธุรกิจ SME อย่างที่เขาทำเท่าไหร่นัก

เขายังมองว่าการนำสินค้า Gadget หลายอย่างเข้ามา ควรจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วยซ้ำ

สินค้า Gadget ที่ทางร้านได้จำหน่าย – ภาพจาก GROOV.store

เมื่อต้องขยายธุรกิจไปนิวซีแลนด์

วีระวัฒน์ ได้กล่าวว่าการขยายธุรกิจไปยังประเทศนิวซีแลนด์เนื่องจาก ตอนแรกตัวเขาตั้งใจที่จะมาเที่ยวเท่านั้น ขณะเดียวกันเกิดการแพร่ระบาดของโควิดในปี 2020 ทำให้เขาไม่สามารถกลับไปยังประเทศไทยได้ อย่างไรก็ดีเขาไม่สามารถทำธุรกิจได้เนื่องจากมีวีซ่านักท่องเที่ยว จนกระทั่งเขาขอวีซ่าที่สามารถทำธุรกิจในประเทศได้ เลยตั้งใจที่จะขยายกิจการในประเทศนิวซีแลนด์ในท้ายที่สุด

ในการเริ่มต้นทำธุรกิจที่นิวซีแลนด์ เขากล่าวว่า ได้เริ่มนำสินค้าเข้ามาจำนวนน้อยๆ และคิดว่าเป็นสินค้าที่น่าจะขายดี แม้ว่าในปีแรกที่ทำธุรกิจในนิวซีแลนด์เขามองว่าตลาดมีแต่ผู้เล่นเจ้าใหญ่ และกฎหมายของนิวซีแลนด์ก็คุ้มครองผู้บริโภค ทำให้การนำเข้าสินค้าแล้วมาวางจำหน่ายนั้นยุ่งยากกว่าการเป็นตัวแทนจำหน่าย ทำให้ SME อย่างเขาจะใช้กลยุทธ์เดิมเหมือนในประเทศไทยไม่ได้

นอกจากนี้สินค้าไหนที่ไม่แน่ใจว่าจะขายดีหรือไม่ก็ทดลองขายจำนวนน้อยๆ ดูก่อนว่ากระแสตอบรับดีหรือไม่ และค่อยๆ ศึกษาตลาดในประเทศนี้แบบไม่รีบร้อน รวมถึงติดต่อพาร์ตเนอร์ผู้ผลิตสินค้า Gadget ว่าจะวางขายสินค้าที่นิวซีแลนด์ เพื่อที่จะเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นทางการ

วีรวัฒน์กล่าวเสริมว่า เขาเปิดกิจการในประเทศนิวซีแลนด์ยังเป็นช่วงเวลาที่สินทรัพย์ดิจิทัลกำลังเป็นตลาดขาขึ้น ทำให้คนที่สนใจสินค้าประเภท Gadget ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล และลูกค้าในนิวซีแลนด์มีกำลังซื้อในช่วงเวลาดังกล่าวมากกว่าเดิม เป็นแรงหนุนในการทำกิจการต่อไปได้

เขายังชี้ว่าระบบภาษีที่นิวซีแลนด์ยังถือว่าเข้าใจง่ายกว่า โดยตีภาษีจากราคามูลค่าสินค้า ถ้าหากไม่เกิน 1,000 นิวซีแลนด์ดอลลาร์ ไม่ต้องจ่ายภาษีนำเข้า 15% และอัตราภาษีดังกล่าวยังทำให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวณต้นทุนได้อย่างสะดวก เมื่อเทียบกับที่ไทยที่อากรสินค้านำเข้าแต่ละชนิดมีอัตราภาษีต่างกันไป ส่งผลทำให้ราคาสินค้าเมื่อรวมต้นทุนทุกอย่างแล้วแพงกว่า ซึ่งถ้าหากตั้งราคาสินค้าถูกเกินไป กิจการก็จะอยู่รอดไม่ได้

ข้อแนะนำสำหรับ SME ไทยอยากขยายตลาดไปยังต่างประเทศ

เจ้าของกิจการ GROOV.store ได้แนะนำ SME ที่ต้องการเปิดกิจการหรือทำธุรกิจกับต่างประเทศว่าควรที่จะไปสำรวจตลาดด้วยตัวเองหลายๆ ครั้ง ว่า บ้านเมืองแต่ละที่เป็นอย่างไร สังคมแต่ละที่เป็นอย่างไร พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะเวลาซื้อสินค้า

เขาแนะนำอีกหนึ่งวิธีการคือหรือไม่ก็ต้องซื้อข้อมูลวิจัย (Market Research) เพื่อที่จะได้ตัดสินใจได้ถูกต้อง เขาได้ยกตัวอย่างกรณีล่าสุดที่นิวซีแลนด์ว่าการซื้อสินค้าของคนที่นี่ไม่ได้เหมือนกับคนไทย วิธีคิดคนละแบบกัน ขณะที่ฮ่องกง วีรวัฒน์ มองว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะคล้ายกับคนไทยมากกว่า เนื่องจากฮ่องกงนั้น เดินไปทางไหนก็มีแต่ร้านค้าเต็มไปหมด แต่เขาก็ยอมรับว่ายังเจาะตาดฮ่องกงยังไม่ดีนัก ส่วนใหญ่สินค้าที่ขายได้มักจะมีลูกค้าที่ซื้อเหมาสินค้าจำนวนมาก 

หรือไม่ เขาก็ได้แนะนำให้ลองลงโฆษณาตาม Social Media แบบเล็กๆ น้อยๆ ดูก่อนเพื่อหยั่งเชิงว่าได้ผลอย่างไร

เขายังทิ้งท้ายว่าเป้าหมายสูงสุดคือการผลิตสินค้าของตัวเอง แม้ว่าอายุจะเริ่มเยอะแล้วก็ตาม ถ้าหากวันนึงมีโอกาสเขาก็จะทำ แต่เขาก็ย้ำว่าต้องลองทำก่อน แล้วค่อยหาแนวทางด้านธุรกิจว่าจะทำยังไงต่อ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีสไตล์เป็นของตัวเอง

]]>
1444484
“โลตัส” ตอกย้ำการเป็น “แพลทฟอร์มแห่งโอกาส” พา SME และเกษตรกรไทย เติบโตอย่างยั่งยืน https://positioningmag.com/1371395 Tue, 25 Jan 2022 11:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371395

ต้องบอกว่าทิศทางขององค์กรใหญ่ๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ไม่มีใครที่อยากเติบโตไปแค่คนเดียว ย่อมต้องการให้สังคม และธุรกิจเล็กๆ เติบโตไปด้วยกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างการเติบโตในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มั่นคงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ถึงแม้ว่า “โลตัส” จะเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีก มีสาขา และพันธมิตรทั่วประเทศ แต่โลตัสเองก็ไม่เคยลืมที่จะพาคนตัวเล็กๆ ให้เดินไปด้วยกัน ในปีที่ผ่านมา โลตัสเดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรไทยมากมาย และได้สานต่อความมุ่งมั่นนั้นในปี 2565 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็น “แพลทฟอร์มแห่งโอกาส” อย่างแท้จริง

ในปีที่แล้วโลตัสได้ช่วยเหลือ SME และเกษตรกรไทยเกือบ 7,000 ราย ผ่านโครงการต่างๆ ตั้งแต่การเจรจาทางธุรกิจออนไลน์ทุกเดือน นำไปสู่การเพิ่มสินค้า SME กว่า 1,000 รายการ จำหน่ายในสาขาทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์ รับซื้อสินค้าเกษตรตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางในทุกภูมิภาค ไปจนถึงการเปิดพื้นที่ในศูนย์การค้าให้คนตัวเล็กฟรีท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรอบด้านอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการสนับสนุนที่ครอบคลุมทุกมิติ

นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า

“โลตัส ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีก เรามุ่งมั่นดูแลลูกค้าให้ ‘รู้สึกดีดี ทุกวันที่โลตัส’ ผ่านการบริการ และสินค้าคุณภาพในราคาที่เอื้อมถึง ไปพร้อมๆ กับการดูแลชุมชนและสังคม รวมถึงการสนับสนุนเกษตรกร และผู้ประกอบการ SME ที่เป็นรากฐาน และหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โลตัสสนับสนุนเกษตรกร และผู้ประกอบการ SME มาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นทั้งช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ในกว่า 2,100 สาขาทั่วประเทศ และเป็นพันธมิตรที่คอยสนับสนุนเกษตรกร และผู้ประกอบการ SME ให้มีรากฐานที่มั่นคง และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน”

การสนับสนุนของโลตัสได้ออกแบบมาให้เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการในแต่ละราย ไม่ว่าจะเป็นระดับเริ่มต้น หรือระดับใหญ่ ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ และโอกาสในการเติบโตที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการมีพื้นที่จำหน่ายสินค้า หรือจะเป็นคำแนะนำในการประกอบธุรกิจก็ตาม จากการดำเนินงานตลอดปี 2564 โลตัสยังได้สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพกว่า 1,600 ราย และลดค่าเช่าในศูนย์การค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 1,500 ราย ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME นำเสนอสินค้าต่อฝ่ายจัดซื้อของโลตัส ผ่านช่องทางออนไลน์ (Online Business Matching) โดยได้พัฒนาและเพิ่มคู่ค้ารายใหม่ที่เป็นผู้ประกอบการ SME ที่มีศักยภาพ จำนวน 724 ราย และเพิ่มสินค้า SME คุณภาพ จำนวน 1,125 รายการ ในปีที่ผ่านมา

  • ผู้ประกอบการในระดับเริ่มต้น : มีการจัดอบรมให้ความรู้เบื้องต้น และมอบพื้นที่ในศูนย์การค้าฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 1,670 ราย ได้เปิดบูธจำหน่ายสินค้า ทดลองตลาด และขยายฐานลูกค้าผ่านสาขาของโลตัสทั่วประเทศผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ Food and Art Free Market
  • ผู้ประกอบการในระดับกลาง : เสริมสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม พัฒนาศักยภาพ ยกระดับมาตรฐานสินค้า มาตรฐานคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตรวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เชื่อถือได้ ให้กับผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมในการวางจำหน่ายสินค้าในโลตัส

ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมสูง สามารถวางจำหน่ายสินค้า SME ทั้งในกว่า 2,100 สาขา และช่องทางออนไลน์ของโลตัส เข้าถึงฐานลูกค้าทั่วประเทศ พร้อมโอกาสในการส่งออก

เริ่มต้นปี 2565 โลตัส ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการเป็นแพลทฟอร์มแห่งโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SME ด้วยการจัดโครงการ “รวมพลังลดใหญ่ สนับสนุน SME ไทยให้เติบโตไปด้วยกัน” สนับสนุนคู่ค้า SME กว่า 1,600 รายให้สามารถเพิ่มยอดขาย ผ่านการจัดโปรโมชั่นที่น่าสนใจ การจัดวางสินค้าในพื้นที่พิเศษที่มีความโดดเด่นในสาขาและช่องทางออนไลน์ รวมถึงการสื่อสารให้ลูกค้าและประชาชนรับทราบในวงกว้าง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงของลูกค้าทั่วประเทศ โดยมีสินค้า SME ที่มีคุณภาพและเอกลักษณ์กว่า 17,000 รายการที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งโครงการ “รวมพลังลดใหญ่ สนับสนุน SME ไทยให้เติบโตไปด้วยกัน” จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม – 2 มีนาคม พ.ศ. 2565 ช่วยให้ลูกค้าได้รับรู้และได้เข้าถึงสินค้า SME สนุบสนุนให้ SME ไทยเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

นางสาวศรี ปานสูง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส.ดี.เจ.อินเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “เราได้ทำงานร่วมกับโลตัสมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2550 โดยเริ่มจากการผลิตถุงขยะสีดำให้กับทางโลตัส ในปี 2559 บริษัทและโลตัสได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เราได้ร่วมกันพัฒนาและผลิตถุงขยะที่มีสีและกลิ่นภายใต้แบรนด์โลตัส ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากลูกค้า อีกทั้งโลตัส ยังช่วยเพิ่มขีดจำกัดของบริษัท ทำให้มีสินค้าใหม่ๆออกสู่ตลาดอยู่เสมอ พร้อมยอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่การส่งออกไปยัง โลตัส มาเลเซีย ในปี 2561 ช่วยให้เราสามารถเปิดโรงงานแห่งที่สองขึ้นได้ เพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับการสนับสนุนเกษตรกรไทย โลตัส ยังคงดำเนินโครงการรับซื้อผลผลิตตรงจากเกษตรกร (Direct Sourcing) มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 ได้รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรตรงจากเกษตรกรกว่า 1,400 ครัวเรือน จากทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ รวมผลผลิตที่รับซื้อตรงจากเกษตรกรกว่า 1,820 ตัน เพื่อส่งมอบผักสดคุณภาพสูง ปลอดภัย ในราคาที่เอื้อมถึง ให้กับลูกค้า

โลตัส มีแผนงานที่ชัดเจนในการเพิ่มปริมาณการรับซื้อสินค้าเกษตร และสินค้า SME อย่างน้อย 10% ทุกปี เป็นระยะเวลา 5 ปี ยังคงมุ่งมั่นทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรไทย ที่เป็นรากฐานสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยทำงานจะร่วมกันกับพันธมิตรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพ พร้อมต่อยอดการเป็น “แพลทฟอร์มแห่งโอกาส” ให้กับผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรไทย ให้มีรากฐานที่มั่นคง และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

]]>
1371395
ถอดแนวคิด ‘โทฟุซัง’ เมื่อหน้าใหม่ ‘เงินน้อย’ จะสู้กับเจ้าตลาด ‘เงินหนา’ อย่างไร https://positioningmag.com/1352240 Sat, 18 Sep 2021 14:02:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352240 หากใครติดตามเพจ Torpenguin – ผู้ชายขายบริการ ซึ่งเป็นเพจของ ต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้าน Penguin Eat Shabu ที่จะคอยแนะนำแนวคิดการทำธุรกิจของ SME ล่าสุด ทางเพจก็ได้เชิญ นาม-สุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้งโทฟุซัง ที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยเงินไม่กี่แสนบาทในตลาดที่มีแต่ยักษ์ใหญ่ แต่สามารถยืนหยัดสร้างยอดขายได้ถึง 500 ล้านบาท โดย Positioningmag จะมาสรุปให้อ่านกัน

ทำไมต้องเป็นน้ำเต้าหู้ ?

หากพูดถึง นมถั่วเหลือง หรือ น้ำเต้าหู้ เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วมีจุดแตกต่างกันนิดหน่อย เพราะนมถั่วเหลืองนั้นจะมีการผสมนมผงหรือน้ำมันเพื่อให้ อร่อย ดังนั้น ถ้าใครอยากจะกินน้ำเต้าหู้แท้ ๆ ก็อาจจะต้องตื่นเช้าสักหน่อยเพื่อหาร้านรถเข็น และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ โทฟุซัง (Tofusan)

หากพูดถึงนมถั่วเหลืองแล้วคนจะนึกถึงชื่อแบรนด์ คนก็จะนึกถึง ‘แลคตาซอย’ ‘ไวตามิ้ลค์’ หรือ ‘ดีน่า’ ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะทั้ง 3 แบรนด์นั้นกินส่วนแบ่งตลาดในไทยถึง 97% ไปแล้ว แต่ สุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้งโทฟุซัง มองว่าทั้ง 3 เจ้าใหญ่ไม่มีใครทำโปรดักส์ที่มี รสชาติน้ำเต้าหู้ จริง ๆ สักราย และในตลาดก็ไม่มีใครทำน้ำเต้าหู้รถเข็นที่เก็บได้นาน ดังนั้น นี่น่าจะเป็นโอกาสในการทำตลาด

“ในตอนแรกเราไม่ได้ปักธงที่น้ำเต้าหู้เลย เราทำหลายอย่าง เราเอาเงินไปลงทุนสนามฟุตบอล ทำข้าวเหนียวมะม่วง และน้ำเต้าหู้ ซึ่งมีแค่น้ำเต้าหู้ที่เหลือรอด”

สุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้งโทฟุซัง

ล้มบนกระดาษดีกว่าล้มในสนามจริง

โทฟุซังไม่ได้เริ่มจากแค่แนวคิด ความชอบ แต่ทำรีเสิร์ชก่อน โดยเราไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำว่าตลาดไทยมีมูลค่าเท่าไหร่ ตลาดโลกเท่าไหร่ และสิ่งที่คิดมันเป็นไปได้ไหม คือ ล้มบนกระดาษดีกว่าล้มบนกระดานจริง เราคิดว่ารีเสิร์ชทำให้เราจะรู้ถึงข้อผิดพลาดก่อนที่จะไปเจอสนามจริง ดีกว่าไปลองผิดลองถูกเอง

โดยในช่วงปีแรก โทฟุซังมีเงินลงทุน 5 แสนบาท โดยช่วง 10 เดือนแรกหมดไปกับการหาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งการตลาดและวิธีการทำให้น้ำเต้าหู้เก็บได้นานแต่รสชาติยังดีเหมือนของสด พอไปวิจัยก็พบว่าแต่ละประเทศมีวิธีไม่เหมือนกันเลย ซึ่งเราก็พยายามทำจุดนี้ก่อนจะผลิตโปรดักต์ เพื่อให้สินค้ามีจุดขายที่แตกต่างจากของร้านน้ำเต้าหู้ทั่วไป โดยตั้งธงไว้ต้องเก็บได้ 1 ปี

“เราเชื่อว่าถ้าเราไม่มีเงิน ไม่มีความรู้ ไม่มีคอนเนกชั่น แต่ถ้าให้เลือกสร้างใน 3 อย่างนี้ ความรู้สร้างง่ายสุด แล้วค่อยเอาความรู้ที่สร้างเสร็จไปต่อยอด เพราะความรู้สร้างง่าย และต้นทุนไม่มาก”

จนในที่สุด เราก็พบว่าในตลาดนี้นมถั่วเหลืองพาสเจอไรซ์ไม่มีใครทำเลย เพราะกฎหมายให้เก็บได้ 14 วัน ดังนั้น แบรนด์ใหญ่จะเน้นทำตลาด UHT และ สเตอริไลส์ เพราะไม่ต้องแช่เย็นก็เก็บได้นาน ง่ายต่อการขนส่ง ดังนั้น โทฟุซังจึงเริ่มที่ตลาดพาสเจอไรซ์ก่อน จนปัจจุบันเรากินตลาดไป 80% แม้ตลาดจะไม่ใหญ่มากมีมูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท

“ที่เราเลือกตลาดพาสเจอไรซ์เพราะถ้าไปเเข่งเกมใหญ่ เเข่งมันนี่เกมเราสู้ไม้ได้ เราเลยเลือกตลาดที่มันยากกว่า”

แพ็กเกจจิ้งตัวช่วย Educate ตลาด

การทำ แพ็กเกจจิ้ง ให้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เป็นสิ่งที่โทฟุซังให้ความสำคัญมาก เพราะต้องสร้างความต่างแต่แรกเห็น จากนั้นเมื่อกินแล้วต้องรู้สึกต่าง เพื่อให้เห็นไปเลยว่าแตกต่างอย่างไร ดังนั้น ช่วงแรกโทฟุซังจึงทำ ขวดแก้ว ที่มีความต่างชัดเจน จากรายอื่นเป็นรูปน้ำเทใส่แก้ว มีเม็ดถั่วกระเด็น แต่เราทำเป็นรูป การ์ตูน โดยเราเคยทดลองทำ 2 แบบและพบว่าลายการ์ตูนขายดีกว่า ซึ่งมันพิสูจน์เเล้ว

“สำหรับสินค้าที่วางบนเชลฟ์ ถ้าเหมือนกันหมด ลูกค้าจะหยิบแบรนด์เดิม แต่ถ้ามีความต่างอย่างมีนัยสำคัญ คนจะหยุดอ่านก่อน เคยมีรายงานว่าลูกค้าที่เลือกตัดสินใจซื้อที่เชลฟ์ 60% จะอ่านฉลากก่อนซื้อ”

การที่โทฟุซังทำขวดสี่เหลี่ยมจากที่คู่แข่งทำขวดกลมหมดก็ไม่ใช่แค่สร้างความแตกต่าง แต่เราคิดแล้วว่ามันจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการอธิบายสินค้าได้มากกว่า สามารถเรียงได้มากกว่า ทำให้สต๊อกของได้มากกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ก็มีการทำรสชาติใหม่ ๆ ออกมาเป็นซีซันนิ่ง เช่น งาดำ, ฟักทอง, ถั่วแดง คนจะได้ไม่เบื่อ

ไม่คิดว่าขายได้ในไทย

ในตอนแรกโทฟุซังมองที่จะเน้นทำตลาดส่งออกมากกว่า เพราะมองว่าต่างประเทศมีเทรนด์เรื่องสุขภาพ เมืองไทยอาจจะขายไม่ได้มาก แต่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือก็ควรมีสินค้าขายตามโมเดิร์นเทรดเพื่อให้เห็นว่าขายจริง เพราะต้องยอมรับว่าสินค้าในไทยส่วนใหญ่จะต้องติดหวานหน่อย ดังนั้น ก็หลายคนก็มองว่ามันไม่น่าจะขายได้ แต่อาจเป็นเพราะมีคนไทยสัก 20% ที่ไม่ชอบหวานซึ่งทางเลือกของคนกลุ่มนี้น้อย เราก็เลยโต

ดังนั้น เราเลือกที่จะอยู่ในตลาดที่เล็ก แต่มีโอกาสเติบโต และไม่ต้องเจอกับผู้เล่นเจ้าใหญ่ จากตอนแรกเคยทำทำหวาน 3% และมาทำหวาน 0% ซึ่งกลายเป็นว่า 0% ขายดีกว่าหวาน 3% ถึง 4 เท่า

“ตอนนี้อาจจะหมดยุคการเป็นแมสมาร์เก็ตที่ต้องไปเจอกับผู้เล่นเจ้าใหญ่ที่มีกำลังมหาศาล พร้อมจะฆ่าเราให้ตายทุกวินาที แต่ต้องหาตลาดนิชให้เจอ”

ภาพจาก IG beya.healthymind

ไม่หยุดแค่น้ำเต้าหู้

ย้อนไป 4 ปีที่แล้วเคยเจอวิกฤตหนักสุด เหลือเงินในบัญชีแค่ 10 บาท หรือตอนนี้ขาดทุนติดกัน 2 ปี เพราะพิษโควิดทำให้การเดินทางหายเนื่องจากคน Work from Home รวมถึงไม่มีลูกค้าชาวจีน แต่ที่ผ่านมาได้เพราะมองว่าเราโชคดีที่มีทีมดี และใช้พุทธศาสนาเข้ามาช่วย โดยตอนนี้ยอดขายของโทคุซังกลับมาได้ประมาณ 50-60% แล้ว

แต่คงไม่รอแค่หมดโควิด เราเองก็ตต้องสร้างตลาดใหม่ ๆ อาทิ สินค้าไซส์ลิตรที่เติบโตได้ 40% ตอนนี้เรามีโรงงานใหม่ที่ไม่ได้ทำเเค่พาสเจอไรซ์ ดังนั้น โทฟุซังต้องการพาตัวเองไปเป็น เเพลตฟอร์ม แต่จะรับจ้างผลิตสินค้าที่มีอินโนเวชั่นต่าง ๆ ครบวงจรตั้งเเต่เเพ็กเกจจิ้ง ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงจัดการช่องทางการค้าต่าง ๆ

ส่วนอีกขาจะพัฒนาแพลนท์เบส แต่ไม่เหมือนทั่ว ๆ ไป เพราะตอนนี้มีผู้เล่นในตลาดเยอะ อย่าง CP ก็ทำ ดังนั้น ถ้าจะกระโดดเข้าไปทำต้องแข็งแรงมาก ๆ ดังนั้น ยังมีสินค้าเช่น นมโปรตีนสูงจากแพลนท์เบส หรือการ พัฒนาชีสจากแพลนท์เบสซึ่งต่อยอดมาจากการทำน้ำเต้าหู้

“เราพอใจตั้งเเต่ 4-5 ปีที่เเล้วแล้ว เเต่ที่พาเรามาไกลขนาดนี้เป็นเพราะทีม ซึ่งเป้าหมายตอนนี้เราอยากทำของดี ๆ ให้ผู้บริโภค อยากเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ช่วยเหลือสังคมได้ แต่แน่นอนว่าบริษัทต้องเติบโต เพราะลูกน้องทุกคนต้องได้เงินเดือนเพิ่ม ถ้าบริษัทไม่โตเราก็ไม่มีเงินเพิ่มให้ลูกน้อง”

สรุปวิธีคิดของหน้าใหม่เข้าตลาด

อย่าแข่งในเกมเขาแต่แข่งในเกมเรา แต่ตลาดต้องใหญ่พอด้วย บางคนยึดถือในทางของตัวเองแต่ตลาดเล็กมาก ดังนั้น ดูตัวเองก่อนว่า มีจุดเด่นอะไร และ ตลาดใหญ่พอไหม ซึ่งส่วนนี้อาจจะไม่มีข้อมูลตลาดให้ค้นหาง่าย ๆ เพราะมันใหม่ ดังนั้น อาจจะเริ่มจากอะไรที่เราไม่พอใจ และเราเป็น SME เราต้องปรับตัวให้เร็วกว่าเจ้าใหญ่ เพราะบางทีเขาติดปัญหาบางอย่าง หรือทำงานช้าเกินไป เป็น SME ต้องห้ามช้า นี่เป็นจุดแข็งของ SME จริง ๆ และการวางแผนแบรนดิ้งสำคัญ และต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน อย่าเขวกับกระแสใหม่

นอกจากนี้ การทำความเข้าใจลูกค้ายิ่งสำคัญ อาจเริ่มจากเดินรีเทลเยอะ ๆ แล้วสังเกตตะกร้าของลูกค้าว่าซื้อของเราแล้วซื้ออะไรอีกบ้าง ซื้อของคู่แข่งแล้วซื้ออะไรอีกบ้าง ที่ผ่านมาเคยเดินไปถามตรง ๆ ว่าทำไมถึงซื้อ เพื่อให้ได้อินไซต์ บางอย่าง อย่างบางคนซื้อคู่แข่งมา 10 ปี มันไม่มีเหตุผลให้เปลี่ยน ดังนั้นแปลว่าแบรนด์นั้นมันดีพอ การจะเข้าไปทดแทนมันยากมาก ถ้าเราเข้าใจเรื่องนี้เราจะไม่พยายามแข่งในเรื่องที่ไม่ต้องพยายาม แต่มันมีลูกค้าที่เปลี่ยนทุกวัน อันนี้น่าเข้าไปทำความเข้าใจเขา

]]>
1352240
เปิดลิสต์ ‘สินค้าไทย’ ขายดีบน ‘eBay’ พร้อมผุดโครงการ ‘NextGen’ หนุน SME ลุยตลาดโลก https://positioningmag.com/1348600 Thu, 26 Aug 2021 04:04:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348600 หากจะพูดถึงตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปัจจุบัน แม้อัตราการเติบโตจะสูงแต่การแข่งขันก็สูงไม่ต่างกัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยที่เริ่มขายสินค้ายากขึ้นเพราะผู้ขาย ‘จีน’ ก็เข้ามาขายสินค้าในไทยมากขึ้น เนื่องจากไม่มี boundary เพราะโลกออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการไทยบางรายก็เลยต้องพึ่ง ‘eBay’ (อีเบย์) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติอเมริกันส่งสินค้าออกสู่ตลาดโลก

จิวเวลรี่ อะไหล่รถ อาหารเสริม 3 สินค้าไทยขายดี

อ้างอิงจากการคาดการณ์เทรนด์อีคอมเมิร์ซของ ป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ CEO and Founder tarad.com ได้เคยระบุไว้ว่าตลาด Inbound Cross Border หรือสินค้าที่มาจากต่างประเทศเป็นส่วนที่น่าเป็นห่วง เพราะสินค้าจาก จีน บน 3 มาร์เก็ตเพลสดังของไทยมีสัดส่วนถึง 77% หรือประมาณ 135 ล้านชิ้น ขณะที่สินค้าไทยมีสัดส่วนแค่ 23% หรือประมาณ 39 ล้านชิ้น ดังนั้น ทางรอดของผู้ประกอบการก็คือ Outbound Cross Border หรือการนำสินค้าไทยออกไปขายต่างประเทศ ซึ่งอีเบย์ก็ถือที่เป็นหนึ่งในช่องทางเอาสินค้าไทยออกไปขายต่างประเทศได้

รินทร์ลิตา ศรีโรจนภิญโญ หัวหน้าฝ่ายการตลาด อีเบย์ ประเทศไทย ระบุว่า ผู้ค้าไทยยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปี ทั้งจำนวนร้านค้ารายใหม่ และยอดขายที่เติบโตของร้านค้าเดิมที่มีอายุเกิน 1 ปี โดย 3 กลุ่มสินค้าเด่นที่ขายดีมาก ได้แก่ จิวเวลรี่ เพชรพลอย เครื่องประดับ นาฬิกาหรู ตามด้วย อะไหล่ยนต์ อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ รถบรรทุก มอเตอร์ไซค์ และ สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม อาหารเสริม เครื่องสำอาง ซึ่งสินค้าทั้ง 3 กลุ่มสามารถขายได้ดีในตลาด สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่

จากการศึกษาในปี 2564 นี้ อีเบย์เห็นเทรนด์ 5 กลุ่มสินค้า ที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วได้แก่

  • อะไหล่รถจักรยานยนต์
  • จิวเวลรี่แบบมีพลอยประดับ หรือมีตัวเรือนเป็นเนื้อเงิน เนื้อทองคำ
  • เพชรแบบเป็นเม็ดที่มีใบรับรอง
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลและจัดแต่งเส้นผม
  • ต้นไม้ตกแต่งบ้าน

โดยทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มสินค้าที่เป็นที่นิยมในตลาดที่มีอัตราการเติบโตของยอดขายมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้ว

“95% ของผู้ขายไทย ขายสินค้าไปยังต่างประเทศ ขณะที่ผู้ซื้อไทยส่วนใหญ่จะเน้นซื้อสินค้าประเภทของสะสมเป็นหลัก แต่เราไม่ได้เน้นตลาดในประเทศ เพราะช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีเครดิตการ์ดไม่ถึง 3% ทำให้การซื้อขายบนแพลตฟอร์มยาก ขณะที่ปัจจุบันยังจำกัดวงแค่ของสะสม ทำให้ปัจจุบันอีเบย์ยังไม่มีแผนที่จะทำตลาดโดเมสติก”

Trading Cards สินค้าขายดีสุดบน eBay

ในส่วนของตลาดโลกนั้น สินค้าเฉพาะกลุ่มในอีเบย์นั้นมีการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยในปีที่ผ่านมา สินค้าขายดีและมีมูลค่าสูงที่สุดบนอีเบย์ทั่วโลก ได้แก่

  • การ์ดสะสม เช่น การ์ดกีฬา การ์ดเกม และการ์ดโปเกมอน ที่มีการขายไปแล้วมากกว่า 45 ล้านใบในปี 2563 ด้วยอัตราการขายออกสูงถึงกว่า 90 ใบในหนึ่งนาที
  • กลุ่มอะไหล่ยนต์
  • อุปกรณ์วิดีโอเกม
  • รองเท้าผ้าใบ
  • ของสะสมลักซ์ชัวรี

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2564 อีเบย์มีผู้ซื้อทั่วโลกมากกว่า 159 ล้านคน มีผู้ขายกว่า 19 ล้านคน มีสินค้ามากกว่า 1,500 ล้านรายการ โดยมียอดการใช้จ่ายมากกว่า 22,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 730,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่า โควิดทำผู้ซื้อใจร้อน เน้นส่งด่วน 

“เราเห็นเทรนด์การส่งด่วน แต่มันก็ส่งผลต่อผู้ประกอบการไทยที่ขายสินค้าที่มีน้ำหนักเบา แต่เราก็เห็นการปรับตัวคือขายแบบเป็น ‘เซต’ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาต้นทุน และเพิ่มยอดขาย”

ผุด eBay NextGen เพิ่มจำนวนผู้ขาย

เพราะอีเบย์ไทยไม่ได้ทำตลาดโดเมสติกหรือซื้อขายภายในประเทศเหมือน Shopee, Lazada ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำก็คือ เพิ่มจำนวนผู้ขายใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดโลกผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1.เน้นโครงการสนับสนุนผู้ขาย, 2.ส่งเสริมการขายกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโตสูง ซื้อง่าย ขายคล่อง เป็นที่ต้องการตลาด และ 3.นำระบบชำระเงิน ebay PM ซึ่งเป็นระบบชำระเงินที่อีเบย์ผู้พัฒนามาใช้

โดยอีเบย์ได้พัฒนาโครงการ ‘eBay NextGen’ ที่จะเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยที่ยังไม่เคยค้าขายบนอีเบย์มาก่อน โดยจะให้สิทธิพิเศษ อาทิ

  • อนุมัติให้ลงขายสินค้าในหมวดหมู่ขายดีราคาสูงได้ทันที
  • ได้รับ Selling Limit เพิ่มพิเศษ สามารถขายสินค้าที่มีราคาสูง
  • ฟรีค่าเปิดร้าน eBay Store โดยจะสนับสนุนค่าธรรมเนียมการเปิดร้านนาน 3 เดือน
  • ออกค่าโฆษณาสินค้าให้ 50% สูงสุดไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐ
  • ให้คำปรึกษาโดยทีม Business Development Manager

“ปกติผู้ขายใหม่ในอีเบย์จะมีข้อจำกัดคือ ขายสินค้าได้เดือนละ 10 รายการ ในวงเงินยอดขายรวมกันไม่เกิน 500 เหรียญ หรือประมาณ 16,350 บาท และไม่สามารถขายขายสินค้าในบางหมวดหมู่ได้ เช่นหมวดหมู่สินค้าขายดี แต่เพราะสินค้าขายดีของไทยเป็นจิวเวลรี่ โครงการ eBay NextGen ก็จะช่วยให้ขายของได้เร็วขึ้น”

]]>
1348600